วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2567

คำพูดที่ถูกบังคับได้รับความคุ้มครองหรือไม่

ในปี ค.ศ. 1935 นายเจโฮวอท รูทเทอร์ฟอร์ซึ่งเป็นผู้นำลัทธิได้ประกาศว่าการเคารพเชิดชูธงชาติสหรัฐอเมริกาเป็นการฝ่าฝืนคำสอนตามพระคัมภีร์ที่มิให้มีการทำความเคารพรูปภาพและกระตุ้นให้สาวกในชุมชนไม่ให้ทำด้วย การเรียกร้องของนายรูทเทอร์ฟอร์นำไปสู่คำพิพากษาของศาลสูงสุดพิจารณาว่ามลรัฐสามารถกำหนดให้นักเรียนโรงเรียนของรัฐต้องทำความเคารพธงชาติ  ในปี ค.ศ. 1941 ท่ามกลางสงครามโลกครั้งที่สองศาลสูงสุดวินิจฉัยในคดี Minersville School District vs Gobitis ว่าคำสั่งของโรงเรียนรัฐบาลท้องถิ่นในมลรัฐเพนซิวาเนียที่ขับไล่สาวกของลัทธิของนายรูทเทอร์ฟอร์ที่ปฏิเสธการทำความเคารพธงชาติชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งคำพิพากษาดังกล่าวได้รับการวิจารณ์อย่างกว้างขวาง จากหนังสือทั่วประเทศ สองปีถัดมาในคดี West Virginia vs Barnette ศาลสูงสุดได้กลับคำพิพากษาด้วยคะแนนเสียง 6 ต่อ 3 เสียงที่คำสั่งของโรงเรียนในมลรัฐเวอร์จิเนียตะวันตกได้ขับไล่นักเรียนที่ปฏิเสธทำความเคารพธงชาติเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 ศาลให้ความเห็นว่าความไม่คงเส้นคงวาในการตีความบทบัยญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1ที่ปกป้องสิทธิของบุคคลในการพูดตามความคิด แต่ก็เปิดโอกาสให้หน่วยงานของรัฐในการบังคับอะไรที่ไม่อยู่ในจิตใจด้วย 

ในปี ค.ศ. 1977 ในคดี Wooley v. Maynard ศาลพิจารณาคำฟ้องของครอบครัวในมลรัฐนิวแฮมเชียร์ซึ่งถูกฟ้องร้องถึงสามครั้งกรณีเนื่องจากนายเมย์นาร์ดไม่ยอมใช้ป้ายทะเบียนรถยนต์ที่มีคำขวัญของมลรัฐว่า "Live Free or Die" นายเมย์นาร์ดเป็นสมาชิกของลัทธิของนายรูทเทอร์ฟอร์ซึ่งต่อต้านการแสดงข้อความคำขวัญของมลรัฐบนป้ายทะเบียนรถยนต์ด้วยเหตุผลว่าขัดกับความเชื่อทางศาสนาและทางการเมืองของเขา ศาลสูงสุดวินิจฉัยว่ากฎหมายนิวแฮมเชียร์ที่บังคับให้บุคคลต้องใช้ป้ายทะเบียนรถยนต์ที่มีคำขวัญของมลรัฐไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพระากฎหมายดังกล่าวบังคับให้บุคคลเป็นผู้ขนส่งข้อความและเป้นป้ายโฆษณาเคลื่อนที่
ในปี ค.ศ. 1980 ในคดี Pruneyard Shopping Center vs Robins, ศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาปฏิเสธข้ออ้างของเจ้าของศูนย์การค้าในแคริฟอร์เนียที่ว่าคำพิพากษาของศาลสูงสุดของมลรัฐแคริฟอร์เนียที่วินิจฉัยว่าสิทธิตามรัฐธรรมนูญของมลรัฐของนักเรียนสามคนในคดีดังกล่าวซึ่งแจกจ่ายเอกสารทางการเมืองในพื้นที่ของศูนย์การค้าเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 เจ้าของศูนย์การค้ายังอ้างหลักการตามคดี Wooley และคดี Barnette, ซึ่งทรัพย์สินถูกใช้ในลักษณะที่สนับสนุนการเผยแพร่ข้อมูลทางการเมืองที่เขาไม่เห็นชอบด้วย แต่ศาลไม่เห็นด้วยกับเหตุผลดังกล่าวในการใช้กับกรณีตามคดีนี้เพราะไม่มีใครเชื่อว่าศูนย์การค้าเป็นผู้สนับสนุนข้อมูลทางการเมืองดังกล่าวที่มีการแจกจ่ายในบริเวณที่จอดรถยนต์ในบริเวณศูนย์การค้า
ในปี ค.ศ.  2006 ในคดี Rumsfield v Forum for Academic and Institutional Rights, ศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาพิจารณาข้อเรียกร้องของโรงเรียนกฎหมายหลายแห่งว่าบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับโซโลมอน (Solomon Amendment) ที่ระงับการอุดหนุนเงินงบประมาณสนับสนุนโรงเรียนโดยเลือกปฏิบัติในการคัดเลือกทหาร โรงเรียนกฎหมายโต้แย้งว่ากฎหมายดังกล่าวบังคับให้โรงเรียนต้องสนับสนุนการแสดงออก เช่น การคัดเลือกหรือเกณฑ์ทหารในบริเวณโรงเรียนซึ่งไม่สอดคล้องกับแนวคิดหรือความเชื่อของตนเองที่นายจ้างไม่ควรมีการเลือกปฏิบัติคนรักเพศเดียวกัน ซึ่งตนเองไม่เห็นด้วย ศาลสูงสุดมีมติเอกฉันท์ในการปฏิเสธข้ออ้างของโรงเรียน โดยให้เหตุผลว่ากฎหมายดังกล่าวไม่ได้ทำให้โรงเรียนต้องพูดหรือกล่าวอะไรทั้งสิ้น ในทางปฏิบัติได้อนุญาตให้โรงเรียนสามารถไม่เข้าร่วมจากการนำเสนอข้อมูลการเกณฑ์ทหารของกลุ่มประท้วง นอกจากนี้กฎหมายดังกล่าวมุ่งกำกับดูแลพฤติกรรมมากกว่าคำพูด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น