วันเสาร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2560

การประกาศสงครามของสหรัฐอเมริกา

รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาในมาตรา 1 ข้อ 8 ระบุว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญให้อำนาจรัฐสภา (Congress) ประกาศสงคราม (to declare War) ที่ผ่านมาในอดัตจนกระทั่งปัจจุบัน รัฐสภาสหรัฐอเมริกาได้เคยมีการประกาศสงครามมาแล้ว 11 ครั้งใน 5 สงครามที่แตกต่างกัน ล่าสุดคือในสงครามโลกครั้งที่สอง และรัฐสภาสหรัฐอเมริกาได้อนุญาตให้มีการใช้กำกลังทหารหลายครั้ง ซึ่งล่าสุดคือในวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 2002 รัฐสภาได้มีมติร่วมของทั้งสองสภาอนุญาตให้กองกำลังทหารในอิรัก เพื่อสนับสนุนให้ประเทศสมีความสามารถในการใช้กำลังทหารในสงครามหรือการขัดกันทางอาวุธ รัฐสภาสหรัฐอเมริกาได้ออกกฎหมายจำนวนหนึ่งที่ให้อำนาจแก่ประธานาธิบดีหรือฝ่ายบริหารและจะได้รับอนุญาตโดยการออกกฎหมายเพื่อประกาศสงคราม การเกิดขึ้นของสถานะสงครามที่มีอยู่ หรือการประกาศสถานะการณ์ฉุกเฉิน 

การประกาศสงครามอย่างเป็นทางการในช่วงที่ผ่านมาตั้งแต่รัฐบาลของประะานาธิบดีจอร์จ วอชิงตันจนกระทั่งปัจจุบันมีจำนวน 11 ครั้งโดยเป้นการประกาศสงครามต่อรัฐบาลต่างชาติที่ประกาศผ่านรัฐสภาและประธานาธิบดีมีจำนวน 5 สงคราม คือ สงครามในปี ค.ศ. 1812 กับรัฐบาลสหราชอาณาจักร สงครามกับเม็กซิโกในปี ค.ศ. 1846 สงครามกับสเปนในปี ค.ศ. 1898 สงครามโกลครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่ 2 ในแต่ละสงคราม ประธานาธิบดีได้ร้องขอต่อรัฐสภาให้ประกาศสงครามอย่างเป็นทางการโดยเป็นหนังสือหรือนำเสนอด้วยวาจาต่อการประชุมร่วมสองสภา ในเนื้อหาที่ประกาศสงครามประธานาธิบดีมักอ้างว่ามีเหตุผลที่น่าเชื่อถือในการทำสงคราม เช่น เกิดการโจมตด้วยอาวุธในอาณาเขตของสหรัฐอเมริกาหรือต่อประชาชน และการโจมตีดังกล่าวมีผลหรือเป็นภัยคุกคามต่อสิทธิหรือผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาในฐานะประเทศที่มีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง ในศตวรรษที่ 19 การประกาศสงครามทั้งหมดอยู่ในรูปของร่างกฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบโดยรัฐสภา ในศตวรรษที่ 20 การประกาศสงครามทั้งหมดอยู่ใรูปของมติร่วมของสองสภา ในการพิจารณาของรัฐสภาจะใช้เสียงส่วนใหญ่ทั้งในชั้นสภาผู้แทนราษฎร์และวุฒิสภาและลงนามเป็นกฎหมายโดยประธานาธิบดี การประกาศสงครามครั้งล่าสุดได้ออกเป็นกฎหมายในวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1942 โดยเป็นการประกาศสงครามต่อโรมาเนียในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

ในสมัยประธานาธิบดีแม๊คคินลีย์ได้นำเสนอร่างประกาศสงครามต่อสเปนในปี ค.ศ. 1989 ต่อรัฐสภาและได้รับความเห็นชอบในวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1989 หลังจากที่สเปนได้ปฏิเสธข้อเสนอของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่ให้สเปนสละอำนาจอธิปไตยเหนือคิวบาและอนุญาตให้คิวบาเป็นรัฐอิสระ ข้อเสนอดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากทั้งสองสภาและเป็นกฎหมายในวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 1898 โดยเนื้อหากฎหมายได้ประกาศรับรองให้คิวบากลายเป็นรัฐที่มีเอกราชและเรียกร้องให้สเปนถอนกำลังทหารจากเกาะคิวบาโโยให้อำนาจประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาสามารถใช้กำลังทหารจากมลรัฐต่างๆ เเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ตามกฎหมายได้  สงครามกับสเปนเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1898 ไม่ได้มรการโจมตีประเทศสหรัฐอเมริกา แต่เป็นความพยายามของสหรัฐอเมริกาที่จะระงับการต่อต้านของชาวคิวบาต่อสเปน สนับสนุให้คิวบาเป็นรัฐเอกราช และสร้างรัฐบาลที่เข้มแข็งมีเสถียรภาพและความสงบสุขในประเทศกลับคืน ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่สหรัฐอเมริกาต้องการ

ส่วนศตวรรษที่ 20 ประธานาธิบดีวิลสันพยายามรักษาความเป้นกลางในช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งประธานาธิบดีวิสันเห็นว่าการตัดสินใจของเยอร์มันนีในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1917 ที่จำกัดเรือดำน้ำของทุกชาติในเขตสงคราม รวมทั้งเรือของประเทศที่เป็นกลาง จึงถือว่าเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้เพราะมีผลต่อสิทธิอธิปไตยของสหรัฐอเมริกาที่เดิมได้รับการยอมรับจากเยอร์มันนี ดันั้น ประะานาธิบดีวิลสันจึงได้เสนอรัฐสภาให้ประกาศสงครามต่อเยอร์มันนีในวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1971 โดยอ้างว่าสงครามดังกล่าวผลักดันให้รัฐสหอมริกาเข้าสู่สงครามด้วย ซึ่งรัฐสภาก็ได้ผ่านความเห็นชอบและประธานาธิบดีลงนามในวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1917  แต่ชะลอการประกาศสงครามกับออสเตรียและฮังการีไปจนกระทั่งเดือนธันวาคมจึงประกาศสงครามกับทั้งสองประเทศเพิ่มเติม เนื่องจากเยอร์มันนี้เป็นพันธมิตรในสงครามและกลายเป็นเครื่องมือต่อต้านสหรัฐอเมริกา ซึ่งรัฐสภาสหรัฐฯได้ผ่านความเห็นชอยโดยทันที

ประธานาธิบดีรูสเวลท์ เรียกร้องให้มีการประกาศสงครามต่อญี่ปุุ่นในวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1941 เนื่องจากสหรัฐอเมริกาการโจมตีทางทหารโดยตรงโดยญี่ปุ่น ทหารและประชาชนขาวอเมริกาในฮาวายและเกาะบริเวณแปซิฟิก  สภาผู้แทนราษฎร์และรัฐสภาได้ผ่านความเห็นชอบต่อข้อเสนอประกาศสงครามดังกล่าวและประธานาธิบดีรูสเวลท์ได้ลงนามประกาศใช้เป็นกฎหมายในวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1941 และได้ประกาศสงครามดับเยอร์มันนีด้วยโดยแยกเป็นมติต่างหาก ซึ่งถือว่าเป็นสภาวะสงครามเกิดขึ้นระหว่างสหรัฐอเมริกากับสองประเทศ

ต่อมาในวันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 1942 ประธานาธิบดีรูสเวลท์ได้ประกาศสงครามกับบัลแกเรีย ฮังการี และโรมาเนียที่ถูกครอบงำโดยเยอร์ใันนี้เนื่องจากประเทศดังกล่าวได้มีกิจกรรมสงครามกับสหรัฐอเมริกาและประเทศดังกล่าวก็ได้ประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกา รัฐสภาได้มีมติเห็นชอบประกาศสงครมกับทั้งสามประเทศ แต่มติแยกจากกัน ซึ่งประธานาธิบดีได้ลงนามเป็นกฎหมายในวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1942 ในช่วงศตวรรษที่ 20 รัฐสภาสหรัฐอเมริกาก็ได้ผ่านความเห็นชอบให้ประกาศสงครามในลักษณะคล้ายกันอีก 8 ประเทศ โดยให้ประธานาธิบดีมีอำนาจสั่งการกองทัพทั้งหมดของสหรัฐอเมริกาและทรัพยากรของรัฐบาลในการดำเนินการทางทหารต่อรัฐบาลเป้าหมายและทำให้ความขัดแย้งยุติลงได้สำเร็จ

วันศุกร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ผลกระทบของโครงสร้างพื้นฐานด้านความมั่นคงของชาติ

ประเด็นเกี่ยวกับเรื่องความมั่นคงของชาติมักให้ความสำคัญกับการป้องกันประเทศด้านการทหาร อาวุธนิวเครียส์ และภับคุกคามจากไซเบอร์ ซึ่งประเด็นเหล่านี้มีความสำคัญกับการกำหนดขอบเขตและระบุถึงความมั่นคงของชาติ แต่รัฐในฐานะประเทศชาติควรพิจารณาทบทวนรวบรวมความกังวลภัยคุกคามภายในประเทศ เช่น โครงสร้างพื้นฐาน การควบคุมสภาพอากาศ และความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ เป็นต้น โครงสร้างพื้นฐานของประเทศที่ไม่เชื่อมโยงเป็นระบบและผุพังอาจเป็นความกังวลที่ต้องกลับมาพิจารณาทบทวน

การเปิดเผยและกำหนดขอบเขตนิยามของโครงสร้างพื้นฐานมีความสำค้ญต่ออนาคตของประเทศในการเข้าใจความคาดหวังและข้อจำกัด ที่ผ่านมา การเกิดสงครามกลางเมืองเป็นข้อโต้แย้งที่ว่าความมั่นคงของชาติควรตีความแบบกว้างหรือแบบแคบ ตามแนวทางดั้งเดิม คำว่า "ความมั่นคงของชาติ" ประเทศส่วนใหญ่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับภัยคุกคามจากภายนอกประเทศหรือภัยคุกคามด้านการทหาร แต่การตีความเริ่มเปลี่ยนแปลงโดยมีการเริ่มขยายความหรือขยายขอบเขตนิยามของความมั่นคงของชาติให้กว้างขึ้นหลังการเกิดเหตุการณ์ 11 กันยายน 2001ซึ่งถือได้ว่าเป็นภัยคุกคามประเทสภายใหม่ที่มีผลต่อความมั่นคงของชาติที่ชาวอเมริกาต้องเผชิญ

ปัจจุบันนี้ ความมั่นคงของชาติได้รับการนิยามอย่างหลวมๆ และมีความหลากหลายของประเภทความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นของประเทศนั้น ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2010 ประธานาธิบดีโอบามาได้ประกาศยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Strategy หรือ NSS) ในศตวรรษที่ 21 โดยนิยามความมั่นคงของชาติหมายความรวมถึง ความมั่นคงทางการทหาร ความมั่นคงทางพลังงาน ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม และชีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ นิยามที่ขยายดังกล่าวของความมั่นคงของชาติเสริมรับกับความพยายามของสหรับอเมริกาในการรวบรวมความมั่นคงมาตุภูมิกับความมั่นคงของชาติเข้าด้วยกัน โดยให้มีการสอดประสานอย่างไร้รอยต่อระหว่างหน่วยงานรัฐบาลกลาง มลรัฐและท้องถิ่นในการป้องกัน ปกป้อง และตอบสนองต่อภัยคุกคามและภัยพิบัติตามธรรมชาติ การรวมดังกล่าวปรากฎในคำสั่งฝ่ายบริหารว่าด้วยการเตรียมความพร้อมทรัพยากรด้านการป้องกันประเทศ

ในวันที่ 16 มีนาคม 2012 ประธานาธิบดีโอบามาได้ประกาศคำสั่งฝ่ายบริหารว่าด้วยการเตรียมความพร้อมทรัพยากรด้านการป้องกันประเทศ ซึ่งระบุว่าสหรัฐอเมริกาต้องมีขีดความสามารถพื้นฐานหลักด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมที่สามารถตอบสนองความต้องการด้านการป้องกันประเทศและสามารถในการเสริมสร้างความเหนือชั้นทางด้านเทคโนโลยีของอุปกรณ์การป้องกันประเทศในช่วงสันติสุขและในช่วงภาวะฉุกเฉินได้ นิยามของการป้องกันประเทศระบุในข้อ 801(j) ว่า การป้องกันประเทศหมายถึงโครงการสำหรับการผลิตหรือสร้างทางการทหารและพลังงาน โครงสร้างพื้นฐานทางทหารและโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญยิ่งยวด (critical infrasrtucture) ที่สนับสนุนต่อประเทศอื่น ความมั่นคงปลอดภัยภายในประเทศ การเก็บรักษาอาวุธและทรัพยากร กิจกรรมอวกาศและอื่นๆที่เกี่ยวข้องโดยตรง ซึ่งตามนิยามดังกล่าว สหรัฐอเมริกาต้องมีขีดความสามารถในการจัดให้โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญดังกล่าว ตัวอย่างเช่น ระบบการเงินที่ให้บริการตลอดเวลาเพื่อเชื่อมโยงสื่อกลางทั่วโลก โรงงานพลังงานและโครงข่ายพลังงาน ท่อส่งก๊าซและน้ำมัน ระบบบำบัดน้ำเสีย โรงกลั่นน้ำมันและเคมี ระบบขนส่ง และการสื่อสารทางการทหาร

โครงสร้างพื้นฐานสามารถแบ่งออกได้สองประเภทคือทางกายภาพและทางไซเบอร์ ซึ่งเป็นระบบที่มีความสำคัญต่อการดำเนินการขั้นต่ำของเศรษฐกิจและรัฐบาล เช่นกรณีของพายุเฮอร์ริเคนคาตีน่าได้ก่อให้เกิดการพังทลายอย่างมากมายและสูญเสียชีวิตเป็นตัวอย่างที่ดีของการสูญเสียอขงระบบโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพและความจำเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ฟื้นตัวได้ดี นอกจากนี้ เนื่องจากความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีและการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัล ภัยคุกคามทางไซเบอร์หรือการโจมตีทางออนไลน์ต่อโครงสร้างพื้นฐานกลายเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติ โดยเฉพาะการดำเนินการโดยผู้ก่อการร้าย เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะการเชื่อมโยงของโครงข่ายโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ กิจกรรมทางเศรษฐกิจสมัยใหม่ปัจจุบันผ่านหรืออิงระบบไซเบอร์ซึ่งมีความอ่อนแอหรือจุดอ่อนมากกว่าโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ ในช่วงสี่ปีที่ผ่านมา แฮ็กเกอร์ต่างชาติได้ขโมยโค้ดและแผนผังของโครงข่ายท่อส่งน้ำมันและประปา รวมทั้งโครงข่ายส่งไฟฟ้าของสหรัฐอเมริกาและเจาะเข้าระบบโครงข่ายกระทรวงพลังงานมากกว่า 150 ครั้ง 
การให้นิยามการป้องกันประเทศตามคำสั่งฝ่ายบริหารของประธานาธิบดีว่าด้วยการเตรียมความพร้อมการป้องกันประเทศ โครงสร้างพื้นฐานสำคัญเป็นเงื่อนไขสำคัญในการกำหนดมาตรการป้องกัน ดังนั้น การสร้างหรือซ่อมบำรุงโครงสร้างพื้นฐานที่มีความมั่นคงปลอดภัยมากขึ้นและเชื่อมถือได้ในการต้องเผชิญกับภัยคุกคามจากต่างชาติและภัยพิบัติตามธรรมชาติควรเพิ่มลำดับความสำคัญขึ้น และการส่งเสริมการเติบโตของประเทศ มุมมองในแง่ความก้าวหน้าของความมั่นคงของชาติควรสอดคล้องกับการให้ความสำคัญและเสริมสร้างรากฐานในทุกแง่มุมไม่ใช่เฉพาะโครงสร้างพื้นฐานเท่านั้น แต่ควรครอบคลุมถึงสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน การควบคุมสภาพภูมิอากาศ การศึกษา และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ 
ดังนั้น โครงสร้างพื้นฐานเป็นแหล่งหนึ่งที่เสริมสร้างความแข็งแกร่งของประเทศที่อยู่่ภายในประเทศ ด้วยการมีมาตรการเชิงป้องกันและการประกันว่าโครงสร้างพื้นฐานมีความน่าเชื่อถือได้ในการให้บริการในกรณีมีภัยคุกคามจากผู้ก่อการร้ายและภัยพิบัติจากธรรมชาติ 

โดรนและกฎหมายว่าด้วยสงคราม

แม้ว่าปัจจุบันนี้ กฎหมานยสงครามจะสามารถครอบคลุมเรื่องของโดรน แต่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่รวดเร็วอาจล้ำหน้ากฎหมายในไม่ช้า เทคโนโลยีอากาศยานทางทหารไร้คนขับ (Unmanned Aerial Systems หรือ UAS) ซึ่งนิยมเรียกว่า โดรน ถูกกำกับดูแลภายใต้กฎหมายเดียวกันทหารที่มีอาวุธปืน กล่าวคือกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศและหลักกฎหมายว่าด้วยการขัดกันทางอาวุธ (Law of armed conflict principles) ที่ใช้บังคับกับทหารสามารถใช้บังคับกับโดรนเช่นเดียวกัน กฎบัตรสหประชาชาติมาตรา 51 รักษาสิทธิของรัฐในการป้องกันตนเอง (self-defense) ภายใต้สถานการณ์ที่ถูกโจมตีด้วยอาวุธ สหรัฐอเมริกาและรัฐอื่นเห็นด้วยว่าสิทธิป้องกันตนเองขยายไปถึงกรณีการป้องกันตนเองจากการคาดการณ์ด้วย (Anticipatory self-defense)  องค์ประกอบของการป้องกันตนเองภายใต้กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศในบริบทของสงครามต่อการก่อการร้ายได้ทำให้มีการขยายขอบเขตดังกล่าวออกไป สำหรับกรณีของโดรนเน้นให้เห็นว่าเป้นการโจมตีทางยุทธการทหารที่ไม่สามารถดำเนินการได้โดยกองกำลังพิเศษแบบดั้งเดิม

หลักกฎหมายว่าด้วยการขัดกันทางอาวุธบรรจุอยู่ในอนุสัญญากรุงเฮกและเจนีวา รวมทั้งโปรโตคอลเพิ่มเติมที่เรียกว่ากฎหมายทนุษยธรรมระหว่างประเทศ หลักกฎหมายว่าด้วยการขัดกันทางอาวุธกำหนดว่าการใช้กองกำลังติดอาวุธที่เกี่ยวพันกับการขัดกันทางอาวุธระหว่างประเทศ (International Armed Conflict หรือ IAC) หรือ การขัดกันทางอาวุธที่ไม่ใช่ระหว่างประเทศ (Non-International Armed Conflict หรือ NIAC) ต้องปฏิบัติตามหลักการได้สัดส่วน (proportionality) และความแตกต่าง (distinction) กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การได้สัดส่วนป้องกันรัฐจากการใช้กำลังที่จะส่งผลให้เกิดความเสียหายข้างเคียง ส่วนความแตกต่างกำหนดให้รัฐต้องใช้กำลังในกรณีที่พลเรือนและทหารสามารถแบ่งแยกจากกันได้ ในการประชุมของสมาคมกฎหมายระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา นายฮารอล์ด โกท (Harold Lho) ที่ปรึกษาด้านกฎหมายของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐอเมริกาได้กำหนดนิยามของการป้องกันทางกฎหมายของสงครามที่เป้นเป้าหมายของสหรัฐอเมริกาและระบบอาวุธล้ำสมัยไว้ว่าอิงหลักปกป้องตนเองของกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศและหลักการได้สัดส่วนและหลักความแตกต่างของหลักกฎหมายว่าด้วยการขัดกันทางอาวุธ ดังนั้น สหรัฐอเมริกาจึงถือว่าโดรนมีสถานะเช่นเดียวกันกับอาวุธรูปแบบดั้งเดิมและอยู่ภายใต้หลักกฎหมายเดียวกัน

แม้ว่าโดรนจะอยู่ภายใต้กฎหมายที่มีอยู่เดิมในปัจจุบัน เทคโนโลยีและพัฒนาการของเรื่องสงครามโดยทั่วไปต้องหันกลับมาพิจารณาทบทวนใหม่ โดรนถูกใช้งานเพิ่มขึ้นในการจัดการกับเป้าหมายเฉพาะบุคคลหรือการทำลายเป้าหมายเฉพาะ ในปากิสถาน การโจมตีโดยใช้โดรนเพิ่มขึ้นจากครั้งเดียวในปี ค.ศ. 2004 เป็น 117 ครั้งในปี ค.ศ. 2010 (ข้อมูลจาก The Long War Journal.Org) โดรนถูกใช้งานโดยหน่วยงานที่ไม่ใช่ทหาร เช่น CIA ที่ใช้งานโดรนในการโจมตีเป้าหมายเพิ่มขึ้นในหลายประเทศ จึงกล่าวได้ว่าการใช้งานโดรนได้ถูกขยายและเสริมสร้างขีดความสามารถของหน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่ทหารในการดำเนินการโจมตีเหมือนทหารเพิ่มขึ้นด้วยต้นทุนที่ถูกในแง่ของความสูญเสียของบุคลากร นอกจากนี้ โดรนใช้งานประกอบร่วมกับงานข่าวกรองภาคพื้นดินมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการใช้ระบบอาวุธจัดการกับเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีคำถามเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับเป้าหมายและความสำคัญของหลักการกฎหมายว่าด้วยการขัดกันทางอาวุธ โดยเฉพาะหลักความจำเป็นทางมหาร (military necessity)
หากพิจารณาในแง่ของเป้าหมายและความจำเป็นทางทหาร โดรนกำหนดทางเลือกที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติและแม่นยำในการใช้กำลัง การใช้งานโดรนตามขอบเขตของสหรัฐอเมริกา สหประชาชาติหรือกองกำลังท้องถิ่นและตำรวจไม่ต้องเกี่ยวข้องกับการใช้กำลังเพื่อต่อสู้ การใช้งานโดรนสามารถผนวกรวมการตัดสินเป้าหมายร่วมกันได้ เช่น ทหารสิบคนจำเป็นต้องมีการตัดสินเป้าหมายสิบอย่างที่แตกต่างกัน และแต่ละคนก็จะมีความกังวลในความปลอดภัยของตนเองมากกว่าโดรนซึ่งไม่มีความสูญเสียชีวิต ดังนั้น ประเด็นจึงเป็นเรื่องความจำเป็นทางทหาร ข้อโต้แย้งในการใช้งานโดรนคือการใช้งานโจมตีมีความ
ง่่ายมาก แนวคิดเรื่องความจำเป็นทางทหารที่มาจากหลักความได้สัดส่วนและความแตกต่างจึงจำเป็นต้องได้รับการทบทวนในการใช้งานโดรน เพราะโดรนสามารถรุกล้ำเข้าอาณาเขตของประเทศเป้าหมายได้ ในขณะที่กองกำลังทหารไม่สามารถรุกล้ำเข้าได้ การขยายศักยภาพดังกล่าวต้องมีการกำหนดนิยามของการใช้งานโดรนและเป้าหมายที่แท้จริงใหม่ว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งในการรักษาการแพ้ต่อศัตรู

อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ยังคงค้างคาอยู่เกี่ยวกับการใช้งานโดรนซึ่งมีแนวโน้มจะมีความสำคัญเพิ่มขึ้น เพราะเทคโนโลยีก้าวหน้ามากขึ้น ปัจจุันนี้โดรนควบคุมโดยนักบินหนึ่งคนโดยการควบคุมระยะไกล เหมือนกับเครื่องบินทั่วไป กิจกรรมของโดรนส่วนใหญ่สามารถทำงานแบบอัตโนมัติได้ ดังนั้น จึงไม่ยากที่จะจินตนาการได้ว่าในอนาคตนักบินหนึ่งคนสามารถควบคุมโดรนได้หลายลำหรือเป็นฝูงโดรน โดรนอาจจะสามารถถูกโปรแกรมให้ตอบสนองอัตโนมัติในบางสถานการณ์ เช่น การตอบโต้เพื่อป้องกันตนเองหรือการหลบหลีกจากการโจมตีของศัตรู ระบบอาวุธอัตโนมัติแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของการวิจัยและพัฒนาของเทคโนโลยีทางทหาร และในไม่ช้ามีความจำเป็นในทางกฎหมายที่ต้องแยกโดรนติดอาวุธออกจากอาวุธดั้งเดิมทั่วไปในระบบกฎหมายสงคราม เช่น อาจมีอนุสัญญาว่าด้วยอาวุธไร้คนบังคับ (unmanned weapons convention) เป็นต้น

ประเด็นเรื่องอัตโนมัติเน้นย้ำในเรื่องของเป้าหมาย ซึ่งมีข้อพิจารณาว่าโดรนควรจะยอมให้ตัดสินใจได้เองว่าในการจู่โจมเป้าหมายหรือไม่ อย่างไร ในประเด็นนี้สร้างปัญหาทางกฎหมายในหลักกฎหมายว่าด้วยการขัดกันทางอาวุธ เช่น อาวุธที่สามารถดำเนินการได้โดยอัตโนมัติจะต้องยึดหลักความแตกต่างหรือไม่ ประเทศที่เป้นสมาชิกสนธิสัญญาอ็อตตาวาที่ห้ามระเบิดต่อต้านบุคคลแบบอัตโนมัติเพราะอาวุธดังกล่าวไม่สามารถแบ่งแยกความแตกต่างได้ว่าเป็นพลเรือนผู้บริสุทธิ์หรือทหารคู่ต่อสู้ หรือในกรณีที่โดรนที่มีอาวุธอัตโนมัติสามารถรับรู้ว่ามีการยอมจำนนและจับตัวเชลย กรณีที่เกิดขึ้นในสงครามอ่าวเปอร์เซียคือหน่วยกองกำลังรีพับลิกันได้ยอมจำนนต่อโดรนรุ่นบุกเบิกของสหรัฐอเมริกา แต่ประเด็นปัญหาที่ยากที่สุดในเรื่องอัตโนมัติคือผู้ใดจะเป็นคนรับผิดชอบกรณีที่โดรนที่มีอาวุธอัตโนมัติก่อให้เกิดความเสียหาย หลักกฎหมายว่าด้วยการขัดกันทางอาวุธระบุห่วงโซ่ของความรับผิดชอบที่ได้ขยายจากการใช้กำลัง แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าใครบ้างที่ต้องรับผิดชอบกิจกรรมหรือพฤติกรรมของโดรน
โดยสรุป โดรนได้เพิ่มขีดความสามารถทางด้านทหารอย่างรวดเร็วและกว้างขวางมากขึ้น แม้ว่าจะถูกกำกับดูแลภายใต้กฎหมายสงครามอาจในไม่ช้าอาขจก้าวล้ำนำกรอบกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดรนอาจเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาดิจการสงคราม แต่เทคโนโลยีดังกล่าวมีทั้งข้อดีและข้ดเสีย โดรนมีขีดความสามารถในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมาก ในอนาคตมีความเป็นไปได้ว่าโดรนอาจกลายเป็นเหมือนอาวุธที่ใช้กันทั่วไป ดังนั้น กฎหมายสงครามอาจต้องมีการปรับให้ทันสมัยกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและสร้างสมดุลให้เกิดความเป็นธรรม

วันพุธที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2560

กลยุทธ์การจัดการสื่อมวลชน

นอม ชอมสกี้ นักวิชาการชื่อดังระดับโลกได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับการบริหารจัดการสื่อมวลชนเพื่อโฆษณาชวนเชื่อและชักจูงประชาชน ซึ่งในหนังสือได้ระบุว่าที่ผ่านมาในอดีต รัฐบาลหลายรัฐบาลได้กำหนดกลยุทธ์โฆษณาชวนเชื่อที่มีประสิทธิภาพ และโดยที่นิยมใช้ในการบริหารสื่อมวลชนโดยมีวาระซ่อนเร้น ทั้งนี้เนื่องจากมาจากความเชื่อที่ว่าสื่อมวลชนมีอิทธิพลต่อการบริหารความคิดเห็นของคนและสาธารณะชนอย่างสูง โดยสามารถสร้าง กระตุ้น ชะลอ หยุด หรือระงับการเคลื่อนไหวทางสังคม สามารถสนับสนุนให้เกิดสงครามที่ชอบธรรม วิกฤตการเงินชั่วคราว หรือกระตุ้นให้เกิดกระแสของอุดมการณ์ทางความคิดของสังคมได้ แม้ว่าปรากฏการณ์ของสื่อมวลชนในฐานะผู้ผลิตหรือสร้างความจริงภายจิตใจหรือชักจูงความคิดความเชื่อของคนหรือกลุ่มคนได้ แต่นักวิชาการยังคงหาวิธีการศึกษาและตรวจสอบกลยุทธ์ที่นิยมใช้ เพื่อให้เข้าใจเครื่องมือทางจิตวิทยาเหล่านี้ ศาสตราจารย์นอม ชอมสกี้ได้นำเสนอแนวปฏิบัติที่นิยมใช้และยอมรับว่าค่อนข้างมีประสิทธิภาพ โดยได้นำเสนอ 10 กลยุทธ์ที่นิยมใช้ ดังนี้
1. กลยุทธ์การหันเหความสนใจ  องค์ประกอบสำคัญของการควบคุมสังคมคือกลยุทธ์ในการสร้างกระแสหันเหความสนใจเพื่อให้สาธารณะชนสนใจไปทางอื่นโดยไม่สนใจหรือละเลยประเด็นสำคัญและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นซึ่งมักถูกำหนดโดยชนชั้นนำทางการเมืองหรือกลุ่มกุมอำนาจทางเศรษฐกิจด้วยเทคนิคของการปล่อยข้อมูลข่าวสารที่ไม่สำคัญทั่วไปเพื่อให้เกิดการหันเหความสนใจ กลยุทธ์นี้มีความจำเป็นในการป้องกันความสนใจของประชาชนในความรู้ประเด็นที่สำคัญที่อาจทำให้เกิดการลุกขึ้นมาต่อต้านหรือคัดค้าน การรักษาระดับของความสนใจของประชาชนให้หันเหจากปัญหาทางสังคมที่แท้จริงโดยให้สนใจกับประเด็นหรือสิ่งที่ไม่สำคัญ ทำให้ประชาชนยุ่งไม่มีเวลามาคิด
 2. กลยุทธ์สร้างประเด็น/ปัญหาใหม่ขึ้นมาแล้วนำเสนอการแก้ไขปัญหา วิธีการนี้มีสามขั้นตอนประกอบด้วย การสร้างปัญหา การตอบสนองต่อปัญหา และการจัดการแก้ไขปัญหา (problem -reaction- solution) การสร้างประเด็นปัญหาคือสถานการณ์ที่อ้างถึงต้นเหตุที่ทำให้เกิดการตอบสนองต่อปัญหา แล้วก็ดำเนินการแก้ไขปัญหานั้นได้สำเร็จ ซึ่งจะทำให้ประชาชนหันไปสนใจปัญหาใหม่และแนวทางการแก้ไขปัญหาว่าจะสามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาใหม่นั้นได้หรือไม่ และจะทำให้ประชาชนลืมหรือเลิกติดตามปัญหาเดิมที่แท้จริงไประยะหนึ่ง
3.  กลยุทธ์ค่อยสร้างระดับการยอมรับของประเด็นที่ไม่ยอมรับ ซึ่งกลยุทธ์นี้จะค่อยๆดำเนินการปล่อยข้อมูลข่าวสาร โดยใช้ระยะเวลาในการดำเนินการอาจจะหลายปีติดต่อกัน มักจะใช้กับประเด็นปัญหาที่มีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก เช่น การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ หรือการปฏิรูประบบราชการโดยการลดกำลังคน อัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้น และการเพิ่มค่าแรง เป็นต้น ซึ่งกลยุทธ์นี้นิยมใช้ในช่วงทศวรรษที่ 1980 และ 1992
4. กลยุทธ์ชะลอหรือดึงเวลา โดยเป็นวิธีการที่ยอมรับกับการตัดสินใจที่ไม่เป็นที่ถูกใจสาธารณชนเพราะนำเสนอทางเลือกที่เจ็บปวดแต่มีความจำเป็น เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากสาธารณชนในการบังคับใช้นโยบายหรือมาตรการดังกล่าวในอนาคตซึ่งจำเป็นต้องนำเสนอความคิดว่าเป็นการเสียสละในอนาคตเพื่อลดความเสียหายในปัจจุบัน ประการแรกเพราะความพยายามไม่ให้เกิดความเสียหายในปัจจุบัน สาธารณะชนมักมีแนวโน้มที่จะคิดว่าทุกอย่างจะดีขึ้นในอนาคต และทำให้ยอมรับการเสียสละที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ง่ายกว่า เจ็บปวดหรือเสียหายในปัจจุบัน โดยการให้สาธารณะมีเวลามากขึ้นในการคุ้นชินกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นและยอมรับในที่สุดว่าหลีกเลี่ยงไม่ได้
5. กลยุทธ์นำเสนอสาธารณะในฐานะเด็กน้อย โดยการใช้การโฆษณาประชาสัมพันธ์กับสาธารณะด้วยน้ำเสียงแบบเด็กเพื่อปิดจุดอ่อน โดยให้ผู้ชมหรือผู้ฟังมีมุมมองว่าบริสุทธิ์ จะได้โอนอ่อนผ่อนตาม
6. กลยุทธ์ใช้อารมณ์ การใช้แรงจูงใจทางอารมณ์เพื่อลดการใช้ความคิดแบบมีเหตุผลเป็นกลยุทธ์คลาสสิกประการหนึ่งด้วยการสร้างกรอบความคิดแบบจบในตัวแบบสั้นๆ ด้วยการให้การวิเคราะห์เหตุผลประกอบเพื่อดึงอารมณ์ความรู้สึกและการมีส่วนร่วมของสาธารณชนส่วนใหญ่ ซึ่งอาจนำไปสู่การขาดการยับยั้งชั่งใจและปลูกฝังความคิด การสร้างแรงปรารถนา ความกลัว ความกังวล หรือชักจูงพฤติกรรมของผู้คนได้
7. กลยุทธ์รักษาความเฉื่อยชาและไม่สนใจของสาธารณะ ด้วยการทำให้สาธารณะชนไม่สามารถเข้าใจเทคโนโลยีและวิธีการในการควบคุมและทำให้ตกเป็นทาส คุณภาพของการศึกษาที่จัดให้กับชนชั้นล่างต้องแย่และปานกลางเท่าที่เป็นไปได้เพื่อยังคงรักษาช่องว่างระหว่างชนชั้นล่างกับชนชั้นบนตามที่วางแผนไว้
8. กลยุทธ์ส่งเสริมสาธารณชนพึงพอใจกับสิ่งที่มีอยู่รอบตัวหรือสิ่งทั่วไปในชีวิตประจำวัน ด้วยการส่งเสริมให้สาธารณะชนเชื่อว่าข้อเท็จจริงหรือประเด็นร้อนเหล่านั้นเป็นสิ่งไม่น่าสนใจ โง่เขลา ไม่ดี หรือไม่มีการศึกษา
9. กลยุทธ์การยอมรับผิด โดยการให้บุคคลรู้สึกว่าความโชคร้ายหรือกล่าวโทษว่าตนเองมีส่วนผิดด้วยในเรื่องนั้น เพราะเกิดจากความล้มเหลวด้านสติปัญญา ความสามารถ หรือความพยายามของตนเอง แทนที่จะลุกขึ้นมาต่อต้านต่อระบบหรือนโยบายดังกล่าว ดังนั้น ประชาชนจึงรู้สึกยอมรับเป็นความผิดของตนเองแทน

10. กลยุทธ์การจัดสรรความรู้ กล่าวคือปัจจุบันรัฐบาลหรือผู้นำในสังคมมีเทคโนโลยีหรือวิธีการที่รู้จักบุคคลดีกว่าที่บุคคลนั้นรู้จักตัวเอง ในช่วงห้าสิบปีที่ผ่านมาความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยได้สร้างช่องว่างเพิ่มขึ้นระหว่างความรู้ของสาธารณะและความรู้ที่ชนชั้นผู้นำรู้ อันมาจากเทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีด้านประสาทวิทยา และจิตวิทยาประยุกต์ ระบบที่ก้าวหน้าดังกล่าวได้ดำเนินการกับความเข้าใจที่ซับซ้อนของมนุษย์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ที่น่าสนใจคือระบบดังกล่าวมีความคุ้นเคยมากขึ้นกับคนทั่วไปมากกว่าเขาเข้าใจตัวเอง หมายความว่าส่วนใหญ่ระบบใช้ประโยชน์จากการควบคุมและอำนาจที่มากขึ้นเหนือคนทั่วไปมากกว่าคนเหล่านั้นทำกับตนเอง