วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

อะไรคือเสรีภาพในการพูด


บทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 ได้ให้ความคุ้มครองการจำกัดเสรีภาพการพูดและการแสดงออก แต่มีประเด็นว่าอะไรคือ การพูด (Speech) ที่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ในปี ค.ศ. 1968 มีขอบเขตแค่ไหน ?  ศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาได้พิจารณาประเด็นดังกล่าวในคดี United States v. O'Brien, 391 U.S. 367 (1968) ซึ่งเป็นกรณีที่นายโอไบอันซึ่งเผาใบฉลากเกณฑ์ทหาร (draft card) ในระหว่างที่มีการคัดเลือกทหารเกณฑ์ ซึ่งนายโอไบอันได้อ้างว่าการกระทำเผาฉลากดังกล่าวได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 เพื่อการกระทำดังกล่าวต้องการแสดงออกเพื่อคัดค้านการเข้าไปทำสงครามเวียดนามของรัฐบาล ศาลสูงสุดพิจารณาว่านายโอไบอันถูกลงโทษสำหรับพฤติกรรมซึ่งเผาใบฉลากเกณฑ์ทหาร แต่ไม่ใช่สิ่งที่นายโอไบอันพยายามจะแสดงออกเกี่ยวกับการต่อต้านสงคราม โดยศาลสูงสุดวางเกณฑ์ในการพิจารณาว่าทั้งองค์ประกอบของคำพูดและพฤติกรรมนำเสนอว่ากฎของรัฐบาลมีเหตุผลเพียงพอ หากอยู่ภายใต้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ หากมีผลประโยชน์ของรัฐบาลที่สำคัญ หากผลประโยชน์ของรัฐบาลไม่เกี่ยวข้องกับการจำกัดหรือกีดกันการแสดงออก และหากเป็นข้อจำกัดต่อเสรีภาพตามบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 ไม่ได้มากกว่าผลประโยชน์ดังกล่าว

อนึ่ง เกณฑ์ในคดีโอไบอันได้ถูกศาลใช้เป็นบรรทัดฐานในคดีต่อ ๆ มา เช่น ในคดี Texas v.  Johnson ศาลสูงสุดพิจารณาการประท้วงนโยบายของรัฐบาลซึ่งผู้ประท้วงได้เผาธงชาติ ณ การประชุมพรรครีพับรีกัน ศาลสูงสุดด้วยคะแนนเสียง 5 ต่อ 4 เสียงได้กลับคำพิพากษาที่ตัดสินให้นายจอห์นสันมีความผิดในฐานเผาธงชาติเนื่องจากการเผาดังกล่าวครบองค์ประกอบของการสื่อสารเพื่อสื่อบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 และเป็นคำพูดที่ประท้วงดังกล่าวตามบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 ในคดี  Buckley v Valeo ยกประเด็น ว่าเงินในรูปของการบริจาครณรงค์หาเสียง หรือค่าใช้จ่ายในการรณรงค์หาเสียงเป็นรูปแบบหนึ่งขิงคำพูดหรือไม่ ศาลสูงสุดตัดสินว่าอาจจะเป็นโดยให้ข้อสังเกตว่าการรณรงค์ในสมัยใหม่เป็นไปไม่ได้ที่จะไม่ใช้เงิน

ในคดี South Florida Free Beaches v Miami ที่ตัดสินโดยศาลอุทธรณ์เขต 11 ศาลอุทธรณ์ตัดสินว่าข้อโต้แย้งที่ว่าการบังตับใช้กฎหมายของเมืองไมอามี่ ที่ห้ามการเปลือยกายในสถานที่สาธารณะเป็นการจำกัดสิทธิตามบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 ซึ่งโจทก์ต้องการสื่อสารปรัชญาว่าร่างการมนุษย์เป็นหนึ่งเดียว ศาลไม่เห็นด้วยกับข้อโต้แย้งดังกล่าว และให้ความเห็นว่าการเปลือยกายต้องเชื่อมโยงกับกิจกรรมที่แสดงออก เช่น การเต้น หรือละคร เพื่อยกประเด็นของบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1  

ในคดี Doe v Reed (2010) ศาลสูงสุดได้พิจารณาว่าคำร้องขอรัฐบาลจัดทำการออกเสียงประชามติเป็นคำพูดภายใต้ความหมายของบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 หากเป็นคำพูดตามบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 การเปิดเผยชื่อของผู้ร้องโดยรัฐเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 ตุลาการ 8 คนเห็นด้วยว่าการลงนามในคำร้องขอจัดทำประชามติเป็นการกระทำที่แสดงออกที่สื่ออยู่ในบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 แต่ผู้พิพากษาสกาเลียเห็นว่าการลงนามเป็นการกระทำทางนิติบัญญัติ จึงไม่อยู่ภายใต้สิทธิเสรีภาพของคำพูดหรือการแสดงออก แต่เห็นด้วยว่าประเด็นในคดีนี้คือ ผู้ลงนามในคำร้องดังกล่าวมีสิทธิตามบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 หรือไม่ในปกปิดชื่อหรือตัวตนของผู้ยื่นคำร้อง ตุลาการทั้ง 8 คนเห็นว่ากรณีดังกล่าวไม่มีสิทธิ แม้ว่าสภาพการณ์เฉพาะที่เกิดขึ้นของการจัดให้มีการทำประชามติอาจก่อให้เกิดสิทธิในการปกปิดชื่อตนเอง 




การกำกับดูแลคำพูดเชิงพาณิชย์


ที่ผ่านมาศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาได้วางหลักการในการกำกับดูแลคำพูดเชิงพาณิชย์ (commercial speech) โดยเฉพาะการโฆษณาบนสื่อต่าง ๆ  ซึ่งศาลอนุญาตให้รัฐบาลกำกับดูแลคำพูดเชิงพาณิชย์ได้เข้มงวดกว่าคำพูดทั่วไป หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือคำพูดเชิงพาณิชย์ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญน้อยกว่าคำพูดหรือการแสดงความเห็นทั่วไป โดยศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาให้เหตุผลว่าอำนาจของรัฐบาลในการกำกับดูแลกิจกรรมเชิงพาณิชย์ตามรัฐธรรมนูญค่อนข้างกว้างซึ่งรวมถึงอำนาจในการกำกับดูแลคำพูดที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางพาณิชย์ด้วย นัยตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 เป็นต้นมามีข้อพิพาทหลายคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกา โดยศาลสูงสุดได้วินิจฉัยกฎหมายที่เกี่ยวกับการโฆษณาสินค้าหรือบริการหลายฉบับซึ่งมีการฟ้องร้องว่ากีดกันการแสดงออกความเห็น เช่น ในคดี Virginia State Board of Pharmacy (1976) ศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาวินิจฉัยว่ากฎหมายที่ห้ามการโฆษณายาที่ต้องมีใบสั่งของแพทย์ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ศาลสูงสุดให้ความเห็นว่าการโฆษณาหรือนำเสนอข้อมูลด้านราคามีความสำคัญต่อการตัดสินใจของประชาชนผู้ซื้อยาค่อนข้างมาก และให้เหตุผลว่าบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 คุ้มครองสิทธิในการได้รับข้อมูล (right to receive information) และสิทธิในการพูด (right to speak) ของประชาชนด้วย อันเป็นผลประโยชน์ของเสรีภาพในการพูดหรือการแสดงออก ดังนั้น มลรัฐมีหน้าที่ต้องให้ความคุ้มครองสิทธิดังกล่าว   
ต่อมาในคดี City of Cincinnati v Discovery Network เกี่ยวข้องกับกฎของรัฐบาลท้องถิ่นที่ห้ามวางตู้ขายหนังสือพิมพ์สำหรับแจกจ่ายสิ่งพิมพ์ที่มีวัตถุประสงค์เชิงพาณิชย์เป็นหลักในเขตพื้นที่สาธารณะ เช่น ในปลิวโฆษณาจำหน่ายสินค้าหรืออสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น โดยวัตถุประสงค์หลักของการห้ามดังกล่าวเพื่อความสวยงามของเมือง ศาลสูงสุดสหรับอเมริกาด้วยคะแนนเสียง 6 ต่อ 3 เสียงตัดสินว่ากฎดังกล่าวไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ โดยให้เหตุผลว่าตู้แจกจ่ายหนังสือพิมพ์บรรจุสิ่งพิมพ์เชิงพาณิชย์ไม่ได้มีความน่าเกลียดมากไปกว่าตู้หนังสือพิมพ์ทั่วไป ดังนั้น กฎดังกล่าวจึงเป็นการจำกัดสิทธิในการแสดงออกโดยมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ โดยอิงการกำกับดูแลเนื้อหาเป็นหลัก ในกรณีนี้ ศาลสูงสุดใช้เกณฑ์พิจารณาที่เข้มงวด  
หลังจากนั้นอีกสี่ปีถัดมาในคดี Central Hudson Gas & Electric v Public Service Commission ศาลสูงสุดวางเกณฑ์ในการประเมินการกำกับดูแลคำพูดเชิงพาณิชย์ซึ่งใช้กันในหลายคดีในเวลาต่อมา ในเกณฑ์ในคดี Central Hudson ตระหนักถึงความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของการกำกับดูแลที่จำกัดการโฆษณาสินค้าและบริการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือหลอกลวงผู้บริโภค เกณฑ์ดังกล่าวกำหนดว่ารัฐบาลต้องแสดงให้เห็นว่าการกำกับดูแลในลักษณะดังกล่าวส่งผลโดยตรงต่อผลประโยชน์หลักและไม่ได้จำกัดสิทธิในคำพูดมากเกินความจำเป็น 
ในคดี 44 Liquormart v Rhode Island (1996) ศาลสูงสุดวินิจฉัยว่ากฎหมายของมลรัฐที่ห้ามการโฆษณาราคาของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีความสำคัญในหลายแง่มุม ประการแรกศาลปฏิเสธข้อเสนอแนะในหลายคดีในอดีตว่ามลรัฐมีสิทธิในการจำกัดการโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งไม่ดีงามมากกว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจ ศาลสูงสุดระบุว่าอำนาจในการห้ามสินค้าโดยสิ้นเชิงไม่ได้ใช้อำนาจที่ลดน้อยลงในการจำกัดการโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับสินค้า ประการสุดท้ายผู้พิพากษาหลายคนเห็นว่าเกณฑ์ในการจำกัดคำพูดเชิงพาริชย์ที่ไม่ได้หลอกลวงหรือทำให้เข้าใจผิดควรถูกตรวจสอบด้วยความเข้มงวดระดับปานกลาง  
ในปี ค.ศ. 2001 ศาลสูงสุดหลีกเลี่ยงการตอบคำถามในประเด็นว่าเกณฑ์ที่เหมาะสมในการกำกับดุแลคำพูดเชิงพาณิชย์ในคดี United States v United Foods และ Lorillard Tobacco Co. v Reilly ศาลตัดสินในคดดี United Foods ว่ากฎหมายที่กำหนดให้ ผู้ที่เพาะปลูกเห็ดต้องสนับสนุนทางการเงินแก่การโฆษณาเห็ดในภาพรวมว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากกฎหมายดังกล่าวทำให้เป็นคำพูดที่ไม่เต็มใจถูกบีบบังคับ (compelled speech) และในคดี Lorillard ศาลสูงสุดตัดสินว่ากฎหลายฉบับของมลรัฐแมสซาชูเซตส์ที่จำกัดการโฆษณาสินค้าบุหรี่และยาสูบไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยยืนยันใช้เกณฑ์ในลักษณะเดียวกัน   
อนึ่ง เกณฑ์ Central Hudson มีหลักการดังนี้
การกำกับดูแลที่มีผลต่อคำพูดเชิงพาณิชย์ไม่ละเมิดบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) คำพูดที่ถูกกำกับดูแลเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย (๒) คำพูดทำให้เข้าใจผิดหรือหลอกลวง (๓) ผลประโยชน์ของรับบาลในการจำกัดคำพูดมีสาระสำคัญมากกว่า การกำกับดูแลดังกล่าวมีผลโดยตรงต่อผลประโยชน์ของรัฐบาล และ (๔) การกำกับดูแลมีความเหมาะสมในการทำให้บรรลุผลประโยชน์ของรัฐบาลเท่าที่จำเป็น (โดยแคบ)


วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

คดี Cherokee Indian Cases (1830s)

ในคดี Cherokee Nation v. Georgia (1831) และ Worcester v. Georgia (1832) ศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกาพิจารณาถึงขอบเขตอำนาจของรัฐบาลในการกำกับดูแลคนชาติเผ่าพื้นเมืองดั้งเดิมของอเมริกาเหนือว่าควรเป็นอำนาจของรับบาลกลางหรือรัฐบาลท้องถิ่น ในคดีนี้ศาลสูงสุดวินิจฉัยว่าศาลสูงสุดไม่มีอำนาจในการพิจารณาคดีข้อเรียกร้องของคนพื้นเมืองอินเดียแดงภายในสหรัฐอเมริกา ซึ่งในคดี Worcester ศาลวินิจฉัยว่ารัฐบาลกลางของสหรัฐอเมริกาเท่านั้นที่มีอำนาจในการกำกับดูแลหรือจัดการกับคนพื้นเมือง ไม่ใช่รัฐบาลของมลรัฐหรือรัฐบาลท้องถิ่น

ในปี ค.ศ. 1828 มลรัฐจอร์เจียได้ออกกฎหมายหลายฉบับในการจำกัดสิทธิของชาวอินเดียแดงเผ่าเชอโรกี กล่าวคือกฎหมายดังกล่าวได้กำหนดให้คนพื้นเมืองเชอโรกีต้องอพยพออกจากพื้นที่อยู่อาศัย คนพื้นเมืองเชอโรกีได้โต้แย้งว่าสนธิสัญญาที่มีการเจรจากับรัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ประกันว่าคนเผ่าเชอโรกีจะสามารถมีที่ดินทำกินและมีความเป็นอิสระจากการปกครองของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา แต่การเจรจาในครั้งดังกล่าวในสมัยประธานาธิบดีแอนดรูว แจ็คสันไม่ประสบผลสำเร็จ คนเผ่าเชอโรกีโดยผู้นำจอห์น รอส (หัวหน้าคณะผู้เผยแพร่ศาสนา) ได้ร้องขอคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวต่อศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาเพื่อห้ามมิให้มลรัฐดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าว ศาลสูงสุดวินิจฉัยว่าศาลไม่มีอำนาจพิจารณาคดีและไม่อาจตัดสินคดีได้ ศาลเริ่มต้นโดยการแสดงความเข้าอกเข้าใจในความโชคร้ายของคนเผ่าพื้นเมืองเชอโรกี และยอมรับว่าคนพื้นเมืองได้ถูกรุกรานโดยผู้บุกเบิกชาวยุโรปที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานใหม่ในอเมริกา ซึ่งทำให้ชาวพื้นเมืองเชอโรกีเดิมกลายเป็นคนต่างชาติในแผ่นดินดั้งเดิมของตน แต่เมื่อมีการรวมชาติสหรัฐอเมริกา คนพื้นเมืองเชอโรกีก็กลายเป็นคนในชาติสหรัฐอเมริกา ด้วยเหตุผลดังกล่าว เมื่อรัฐธรรมนูญให้อำนาจศาลในการพิจารณาคดีที่ฟ้องร้องโดยคนต่างชาติไม่ใช่คนในชาติ คนเผ่าอินเดียแดงไม่ใช่คนต่างชาติ ดังนั้น ศาลจึงไม่มีอำนาจในการพิจารณาคดีนี้ได้จึงต้องยกคำฟ้อง 
ในขณะเดียวกันในปี ค.ศ. 1830 มลรัฐจอร์เจียได้ออกกฎหมายอีกฉบับที่กำหนดให้ประชาชนต้องได้รับใบอนุญาตก่อนที่จะตั้งถิ่นฐานในเขตพื้นที่ของคนเผ่าเชอโรกี กลุ่มของนักเผยแพร่ศาสนาที่อาศัยในเขตดังกล่าวปฏิเสธที่จะขอรับใบอนุญาตจากมลรัฐ คณะเผยแพร่ศาสนาเป็นกลุ่มที่ต่อต้านความพยายามของมลรัฐในการโยกย้ายถิ่นฐานของคนพื้นเมือง คณะเผยแพร่ศาสนาจึงถูกฟ้องร้องดำเนินคดต่อศาลมลรัฐจอร์เจีย ซึ่งคณะเผยแพร่ศาสนาถูกพิพากษาให้มีความผิด จึงมีการอุทธรณ์ไปยังศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาโดยการอ้างว่าศาลมลรัฐจอร์เจียไม่มีอำนาจในการพิจาณณาคดีดังกล่าว ในการพิจารณาคดีดังกล่าว ศาลสูสุดได้วินิจฉัยว่าคนเผ่าเชอโรกีเป็นหน่วยทางการเมืองที่แยกต่างหากที่ไม่สามารถกำกับดูแลได้โดยมลรัฐ กฎหมายใบอนุญาตของมลรัฐจอร์เจียจึงขัดรัฐธรรมนูญและศาลจึงกลัยคำพิพากษาในกรณีการกำหนดโทษแก่คณะเผยแพร่ศาสนา

 ในชั้นแรกศาลชี้ว่าหลักฐานระบุว่าชุมชนคนพื้นเมืองถูกมองว่าเป็นคนชาติที่แยกจากคนอเมริกานั้นต้องย้อนกลับไปในระยะเริ่มแรกที่มีการอพยพตั้งรกรากของชาวยุโรป ศาลให้เหตุผลว่าปัจจุบันนี้ สนธิสัญญาและกฎหมายของสหรัฐอเมริกาพิจารณาเขตพื้นที่อินเดียแดงซึ่งแบ่งแยกเด็ดขาดจากมลรัฐ แต่ต่อมามีการรวมชาติเกิดขึ้นโดยรัฐบาลกลาง ดังนั้น มีเพียงรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกาสามารถเจรจาเงื่อนไขในประเด็นที่ดินของอินเดียแดงและการใช้ที่ดินดังกล่าว มลรัฐไม่มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญในการจัดการกับคนชาติดังกล่าวแต่ประการใด มลรัฐจอร์เจียไม่อาจออกกฎหมายใบอนุญาตและดำเนินคดีกับผู้เผยแพร่ศาสนาที่ฝ่าฝืนกฎหมายฉบับดังกล่าวได้ ทั้งนี้ คณะผู้เผยแพร่ศาสนายังคงถูกจำคุกอยู่จนกระทั่งปี ค.ศ.  1833  เมื่อผู้ว่าการมลรัฐจอร์เจียคนใหม่เจรจาให้มีการปล่อยตัวในเวลาต่อมา คนเผ่าเชอโรกีในมลรัฐจอร์เจียถูกโยกย้ายถิ่นที่อยู่โดยบังคับใช้กำลังในปี ค.ศ. 1838 ตามสนธิสัญญาเรียกว่า "the Trail of Tears" ปัจจุบันนี้คำวินิจฉัยของคดี  Worcester ไม่มีผลผูกพันอีกต่อไป ศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาวินิจฉัยว่ามลรัฐอาจกำกับดูแลเขตพื้นที่คนเผ่าอินเดียแดงภายในอาณาเขตมลรัฐของตนเองได้

การกำกับดูแลธุรกิจบังเทิงสำหรับผู้ใหญ่

ในปี ค.ศ. 1976 ในคดี Young v American Mini Theaters (1976) ศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาวินิจฉัยว่ายืนยันความชอบด้วยกฎหมายของเทศบัญญัติเมืองอีรีสในมลรัฐดีทรอย์ที่กำหนดผังเมืองซึ่งห้ามโรงภาพยนต์ไม่ให้ตั้งอยู่ใกล้บริเวณชุมชนที่อยู่อาศัยหรือภายในระยะ 1,000 ฟุตของพื้นที่เขตธุรกิจสำหรับผู้ใหญ่ โดยกฎหมายอนุญาตสถานที่ตั้งว่าต้องอยู่ภายใน 5% ของเมืองและที่ดินส่วนใหญ่ไม่ได้มีไว้ขายหรือไม่ให้โอกาสสำหรับธุรกิจที่สามารถทำผลกำไรได้เท่านั้น ศาลให้ความเห็นว่ากฎหมายดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของชุมชน 
ต่อมาในคดี City of Renton v Playtime Theatres (1986) ศาลสูงสุดต้องเจอปัญหาในลักษณะเดียวกัน กล่าวคือ เมืองเรนทอนในมลรัฐวอชิงตันได้ออกเทศบัญญัติกำหนดผังเมืองที่ห้ามมิให้โรงภาพยนต์สำหรับผู้ใหญ่ตั้งอยู่ในบริเวณเขตชุมชนอยู่อาศัย โบสถ์ สวนสาธารณะ หรือโรงเรียน เป็นต้น ศาลสูงสุดวินิจฉัยว่าเทศบัญญัติดังกล่าวไม่ได้มีเจตนารมย์หลักในการจำกัดภาพยนต์สำหรับผู้ใหญ่ (ซึ่งเป็นเนื้อหาของการแสดงออก) แต่วัตถุประสงค์ของเทศบัญญัติดังกล่าวคือเพื่อจัดการกับผลกระทบทางลบที่อาจเกิดขึ้นจากการมีธุรกิจบังเทิงสำหรับผู้ใหญ่ในเขตพื้นที่ดังกล่าว เช่น ปัญหาโสเภณี อาชญากรรม หรือทำให้เขตพื้นที่มีมูลค่าลดต่ำลงเพราะกลายเป็นแหล่งอาชญกรรม เป็นต้น ศาลสูงสุดวินิจฉัยว่ากฎหมายดังกล่าวมีความเป็นกลางทางเนื้อหา ศาลสูงสุดจึงรับรองเทศบัญญัติที่ใช้การตรวจสอบเข้มงวดน้อยลง โดยเกณฑ์ที่ใช้ของศาลใช้ได้กับความเป็นกลางทางเนื้อหาทั้งในกฎที่กำกับระะยเวลา สถานที่ และพฤติกรรม อย่างไรก็ตามศาลสูงสุดเสียงข้างน้อยโต้แย้งว่าข้อจำกัดตามกฎหมายอิงเนื้อหาของภาพยนต์เป็นหลักและดังนั้นกฎหมายควรต้องสอดคล้องกับมาตรฐานที่มีอยู่ที่ใช้กับการกำกับดูแลอิงเนื้อหาของการแสดงออก
ในคดี Barnes v Glen Theater ศาลสูงสุดได้พิจารณา ประเด็นเรื่องการเปลือยกายในสถานที่สาธารณะกล่าวคือ มลรัฐอินเดียน่าได้ดำเนินคดีกับสถานบริการที่จัดให้มีการเต้นเปลือยกาย แม้ว่าศาลเสียงส่วนใหญ่เห็นว่าควรใช้เกณฑ์การชั่งน้ำหนัก (Balancing Test) แต่ศาลสสูงสุดก็ใช้เกณฑ์โอไบอันในการพิจารณากรณีนี้ ศาลสูงสุดสรุปว่าผลกระโยชน์ของมลรัฐในการคุ้มครองศีลธรรมหรือการป้องกันผลกระทบลำดับสองที่ส่งผลทางลบของธุรกิจบังเทิงมีเหตุผลเพียงพอ ดังนั้น บังคับใช้กฎหมายของมลรัฐอินเดียน่าในการห้ามมิให้มีการเปลือยกายในสถานที่สาธารณะ เช่น โรงภาพยนต์และคลับ เป็นต้นจึงชอบด้วยรัฐธรรมนูญ แต่ศาลก็ให้ความเห็นว่าหากการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวกับการแสดงทั่วไปอาจฝ่าฝืนบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1
ในคดี City of Erie v Pap's A.M., ศาลสูงสุดสรุปว่าการห้ามเปลือยกายในที่สาธารณะของมลรัฐเพนซิวาเนียไม่สามารถบังคับใช้ได้กับนักเต้นเปลือยกายในบาร์หรือสถานบังเทิงของผู้ใหญ่ เพราะกฎหมายไม่ได้มุ่งยับยั้งการเต้นแบบยั่วยวนของนักเต้นเปลือยกาย แต่วัตถุประสงค์ของกฎหมายคือการห้ามการกระทำประเภทที่นำไปสู่บรรยากาศที่รุนแรง คุกคามทางเพศ สร้างมลพิษต่อสาธารณะ โสเภณี การแพร่กระจายของโรคทางเพศ และผลกระทบที่เลวร้ายอื่น เช่นเดียวกันกับคดีก่อนหน้านี้ศาลสูงสุดใช้เกณฑ์โอไบอันในการพิจารณาสำหรับกฎที่กำกับดูแลเนื้อหา ศาลสูงสุดให้ความเห็นว่าหากมีการใส่กางเกงในอาจจะช่วยลดผลกระทบลงอย่างมากในสายตาของศาล เรียกว่าผลกระทบลำดับสอง (secondary effect) และศาลชอบที่จะพิจารณาสิทธิของชุมชนเพื่อส่งเสริมศีลธรรมอันดีของชุมชน 
ต่อมาในคดี City of Los Angeles v Alameda Books (2002) ศาลสูงสุดเสียงส่วนใหญ่ (5 ต่อ 4 เสียง) วินิจฉัยว่าเห็นชอบกับกฎหมายที่ห้ามจัดตั้งบริษัทที่ทำธุรกิจบังเทิงสำหรับผู้ใหญ่มากกว่าหนึ่งบริษัทในตึกเดียวกัน โดยใช้หลักผลกระทบลำดับสอง ศาลสูงสุดให้เหตุผลว่ากฎหมายดังกล่าวไม่ใช่กฎที่กำกับดูแลเนื้อหาแบบเป็นกลาง พราะลักษณะของกฎหมายนี้เป็นการจำกัดการใช้ที่ดินมากกว่าการจำกัดการแสดงออก ผู้พิพากษาเสียงส่วนน้อยโต้แย้งว่าเป็นกฎหมายที่มีผลเกี่ยวพันกับเนื้อหาและมลรัฐก็ไม่มีหลักฐานเพียงพอในการแสดงว่าการมีสองธุรกิจบังเทิงสำหรับผู้ใหญ่ในตึกเดียวกันส่งผลทางลบอย่างไร                       

วันเสาร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การแสดงสัญลักษณ์ทางศาสนาในที่สาธารณะ


ประเด็นเรื่องการแสดงสัญลักษณ์ทางศาสนาในสถานที่สาธารณะเป็นประเด้นหนึ่งที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ค่อนข้างมากและกลายเป็นประเด็นกฎหมายรัฐธรรมนูญในหลายประเทศ ในสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศเสรีนิยมอย่างสูงประเด็นเรื่องนี้ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลสูงสุดเพื่อให้วางหลักเกณฑ์ ความหลากหลายของคนในสหรัฐอเมริกามีทั้งคนที่มีความเชื่อทางศาสนาแบบสุดโต่งที่คัดค้านภาพวาดเกี่ยวข้องกับศาสนาที่อยู่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ หรือการสนับสนุนให้ยกย่องศาสนาโดยการสร้างสัญลักษณ์ไม้กางเขนบนรัฐสภา ซึ่งก็มีกลุ่มคนคัดค้าน ประเด็นปัญหาเหล่านี้อาจนำไปสู่การแตกแยกและทะเลาะวิวาทในชุมชนและแพร่ขยายไปก็เคยมี จึงมีความจำเป็นต้องลากเส้นแบ่งว่าอะไรทำได้หรืออะไรทำไม่ได้หรือไม่ควรทำเกี่ยวกับสัญลักษณ์ทางศาสนา รัฐบาลมักเป็นด่านแรกที่ต้องลากเส้นแบ่งดังกล่าว แต่หากมีผู้ไม่เห็นด้วยก็จะนำคดีไปสู่การวินิจฉัยของศาล เพื่อให้ลากเส้นแบ่งแยกความแตกต่างว่าสิ่งใดทำได้โดยชอบด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญและสิ่งใดทำไม่ได้
คดีที่สำคัญคือคดี Lynch (1984) และ County of Allegheny (1989) ทั้งสองคดีเกี่ยวข้องกับการติดตั้งภาพแสดงการกำเนิดของพระเยซูในที่สาธารณะในช่วงเทศกาลคริตมาส ศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาได้วางหลักเกณฑ์ในคดี Lynch ว่าสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าในมลรัฐโรดไอร์แลนด์ไม่ได้ฝ่าฝืนบทบัญญัติสิทธินับถือศาสนา (Establishment Clause) หลักเกณฑ์ดังกล่าวนิยมเรียกว่า เกณฑ์เลมอน (Lemon Test) ซึ่งมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้ การกระทำของรัฐบาลที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติสิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนา เว้นแต่ (๑) มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญในทางความเชื่อศาสนา (๒) ต้องไม่มีผลกระทบต่อการห้ามหรือจำกัดความเชื่อทางศาสนาอย่างมีนับสำคัญ และ (๓) ต้องไม่ทำให้ความขัดแย้งหรือความเกี่ยวข้องระหว่างศาสนาและรัฐบาลขยายตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามการใช้เกณฑ์เลมอนของศาลสูงสุดถูกตั้งคำถามโดยผู้พิพากษาเสียงข้างน้อยโดยเรียกร้องให้ใช้เกณฑ์เดิมจะเหมาะสมกว่าห้าปีต่อมา ศาลสูงสุดใช้เกณฑ์เลมอนกับคดี Allegheny  และสรุปว่าสถานเลี้ยงเด็กฝ่าฝืนบทบัญญัติสิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนา ลักษณะแตกต่างที่สำคัญคือเมืองแพทูเก็ตจัดแสดงสัญลักษณ์ตริสต์มาส เช่น ซานต้าครอส์และรูปปั้นสัตว์พลาสติกช้างและกวางเพื่อการเฉลิมฉลองในช่วงเทศกาลมากกว่าการสนับสนุนศาสนา แต่ในกรณีของเมืองออลเลทเอนีย์ที่มีการจัดแสดงใบพอยน์เซตเทียของสถานเลี้ยงเด็ก ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของคริสต์มาสไม่ใช่สัญลักษณ์ศาสนาแต่อย่างใด

ในปี ค.ศ. 1995 ในคดี Capitol Square Review Board, ศาลสูงสุดพิจารณาในประเด็นว่าไม้กางเขนที่กลุ่มเหยียดผิวหัวรุนแรงที่เรียกว่า KKK ณ บริเวณหน้าศาลาว่าการของรัฐบาลมลรัฐของมลรัฐโฮไอโอ้อาจถือเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติสิทธิสรีภาพในการนับถือศาสนา คำพิพากษาสรุปว่าสถานที่ดังกล่าวเป็นสถานที่สาธารณะซึ่งในอดีตใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมเพื่อแสดงความคิดเห็น ศาลสูงสุดให้เหตุผบว่าการวางไม้กางเขนดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการสนับสนุนความเชื่อทางศาสนา เกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาในกรณีนี้ไม่ใช่ประเด็นว่าวิญญูชนทั่วไปอาจมองว่าไม้กางเขนเป็นการสนับสนุนศาสนาคริตส์ แต่ประเด็นที่แท้จริงในคดีนี้คือรัฐบาลของมลรัฐโฮไอโอ้ส่งเสริมศาสนาและการส่งเสริมดังกล่าวไม่ใช่เมื่อองค์กรเอกชนจะได้รับอนุญาตให้ใช้สถานที่สาธารณะเพื่อแสดงออกความเชื่อทางศาสนาต้องเท่าเทียมกันกับกรณีขององค์กรอื่น

วันอังคารที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

คดีเผาธงชาติ


 การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ "Symbolic expression" เป็นคำที่ใช้อธิบายการแสดงออกความคิดเห็นที่ผสมผสานองค์ประกอบเชิงพฤติกรรม ศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาสร้างความชัดเจนในเรื่องนี้ในการตีความในหลายคดีว่าการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 ในหลายคดีเป็นคดีที่มีการวิจารณ์ค่อนข้างมาก ซึ่งคดีที่โดดเด่นคือคดี  Texas vs Johnson, 491 US 397 (1989) ศาลได้กลับคำวินิจฉัยในการพิพากษาความผิดทางอาญากับคนที่แสดงออกความไม่พอใจนโยบายของรัฐบาลโดยการเผาธงชาติ คดีนี้จึงเป็นกรณีที่เกี่ยวข้องกับการเผาสัญลักษณ์อย่างอื่นซึ่งศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาได้ประกาศว่าเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาพฤติกรรมที่แสดงออกดังกล่าว เช่น ในคดี United States v. O'Brien, 391 US 367 (1968) ซึ่งเป็นกรณีที่นายพอล โอไบอันได้เผาใบฉลากเกณฑ์ทหาร จึงถูกฟ้องร้องโทษฐานเจตนาทำลายใบฉลากเกณฑ์ทหาร ศาลสูงสุดยืนยันว่านายโอไบอันมีความผิดตามกฎหมาย แต่ใช้เกณฑ์ใหม่เพื่อให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประท้วง โดยศาลสูงสุดระบุว่ารับรองความชอบด้วยกฎหมายของกฎหมายที่กำกับดูแลพฤติกรรมที่แสดงออกอาจมีความผิด หากวัตถุประสงค์หลักของกฎหมายไม่เกี่ยวข้องกับการกีดกันการแสดงออกความคิดเห็น กรณีดังกล่าวนี้กฎหมายกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชอบด้วยกฎหมายไว้แคบอย่างชัดเจน และกฎหมายเปิดช่องทางเลือกอื่นให้แสดงออกได้ เกณฑ์นี้นิยมเรียกว่าเกณฑ์โอไบอัน แต่มีนักวิชาการวิจารณ์คำพิพากษานี้อย่างกว้างขวาง
ในปี ค.ศ. 1970 นายแดเนียล สแชทแต่งชุดทหารและแสดงละครล้อเลียนต่อต้านสงครามในสถานที่เกณฑ์ทหารในมลรัฐฮูสตัน ศาลเห็นว่านายแดเนียลไม่มีความผิดในการสวมชุดทหารเพราะเป็นการแสดงละครไม่ได้มีเจตนาลบหลู่ทหาร กฎหมายที่ใช้ดำเนินคดีนายแดเนียลไม่ได้แบ่งแยกความแตกต่างของเนื้อหาของการแสดงออกและขัดต่อบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 ในหลายปีต่อมา นายฮาโรลด์ สเป็นส์ถูกดำเนินคดีภายใต้กฎหมายการใช้ธงชาติอย่างไม่เหมาะสมด้วยการแขวนธงชาติที่มีเครื่องหมายสันติภาพติดบนหน้าต่างของห้องพัก ศาลสูงสุดตัดสินว่าข้ออ้างของมลรัฐที่ต้องการส่งเสริมให้มีการเคารพธงชาติหรือรักษาธงชาติไว้เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของชาติไม่เกี่ยวข้องกับการจำกัดการแสดงออก จึงวินิจฉัยให้นายแดเนียลไม่ต้องรับผิด
ท้ายที่สุด ในคดี   Texas vs Johnson ศาลสูงสุดได้กลับคำพิพากษาที่ลงโทษการเผาธงชาติ ซึ่งในขณะนั้นมลรัฐ 48 มลรัฐได้มีกฎหมายห้ามลบลู่ธงชาติ ศาลสรุปว่าการเผาธงชาติเป็นคำพูดประเภทหนึ่งซึ่งได้รับความคุ้มครองและพิจารณาต่อไปว่าการลบหลู่ธงชาติของนายจอห์นสันมีวัตถุประสงค์เพื่อสื่อสารข้อความทางการเมือง และศาลให้ความเห็นต่อไปว่ากฎหมายที่เป็นกลางในการกำกับดูแลเนื้อหา เช่น กฎหมายที่ใช้บังคับกับการเผาธงชาติที่เป็นการทั่วไปอาจชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ต่อมาในปี ค.ศ. 1989 รัฐสภาสหรัฐอเมริกาได้ผ่านกฎหมายคุ้มครองธงชาติเนื่องจากรัฐสภาไม่พึงพอใจแนวทางคำพิพากษาของศาลสูงสุดในคดีจอห์นสัน ศาลสูงสุดในคดี United States v. Eichman, 496 US 310 (1990) ยังคงตัดสินเข้าข้างผู้ประท้วงที่จุดไฟเผาธงชาติหน้ารัฐสภาซึ่งศาลวินิจฉัยว่ากฎหมายดังกล่าวเป็นความพยายามในการจำกัดคำพูดหรือการแสดงออกที่ไม่พึงพอใจของรัฐบาล คำพิพากษาดังกล่าวนำไปสู่ความพยายามในการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่จะลงโทษพฤติกรรมหรือการกระทำที่เผาหรือลบหลู่ธงชาติ แต่ก็ไม่สำเร็จ




คดีสำคัญในประเด็นสิทธิคนรักร่วมเพศ


ที่ผ่านประเด็นสิทธิคนรักร่วมเพศในสหรัฐอเมริกาเป็นเองที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง  ศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกาได้พิจารณาประเด็นดังกล่าวในช่วงทศวรรษที่ 1980 เป็นครั้งแรกในคดี Bowers v. Hardwick, 478 US 186 (1986) ซึ่งประเด็นแห่งคดีคือกฎหมายของมลรัฐจอร์เจียที่กำหนดโทษทางอาญาต่อบุคคลที่มีพฤติกรรมร่วมเพศแบบวิตถารชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ แม้ว่ากฎหมายดังกล่าวจะบังคับใช้กับทั้งกรณีการรักร่วมเพศเดียวกันหรือต่างเพศกัน ศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาเลือกที่จะวินิจฉัยเฉพาะประเด็นความชอบด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญในการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวเท่านั้น ซึ่งข้อเท็จจริงปรากฎว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจที่บุกเข้าไปบ้านของนายฮาร์ดวิกส์เพื่อจับกุมในข้อหาเมาแล้วขับและไม่ปรากฎตัวต่อศาล และพบว่านายฮาร์ดวิกส์หลับนอนกับผู้ชายด้วยกันในห้องนอนของตนเอง เจ้าหน้าที่ตำรวจและอัยการตั้งข้อหาพฤติกรรมร่วมเพศแบบวิตถาร (แต่ต่อมาก็ได้ขอยกเลิกข้อหาดังกล่าว) ในคดีนี้ ศาลสูงสุด (5 ต่อ 4 เสียง) วินิจฉัยเฉพาะประเด็นสิทธิส่วนตัว (right of privacy) ภายใต้บทบัญญัติกระบวนการชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งศาลเสียงส่วนใหญ่เห็นว่าสิทธิส่วนตัวไม่ได้ขยายไปถึงพฤติกรรมทางเพศแบบวิตถาร  โดยให้เหตุผลประกอบในทำนองว่ากฎหมายของมลรัฐจอร์เจียที่มีบทลงโทษทางอาญาแก่บุคคลรักร่วมเพศสำหรับพฤติกรรมทางเพศที่วิตถารชอบด้วยรัฐธรรมนูญเพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้รับรองสิทธิพื้นฐานของคนที่มีพฤติกรรมทางเพศแบบวิตถารไว้ และพฤติกรรมดังกล่าวก็ขัดต่อวัฒนธรรมทางสังคมที่ดีงาม สำหรับต่อมาในปี ค.ศ. 1999 ศาลสูงสุดของมลรัฐจอร์เจียวินิจฉัยว่ากฎหมายดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญของมลรัฐจอร์เจีย

ในปี ค.ศ. 1996 ศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาได้พิจารณาประเด็นเรื่องสิทธิคนรักร่วมเพศในคดี Romer v. Evans ประเด็นแห่งคดีคือบทบัญญัติรัฐธรรมนูญของมลรัฐโคโลราโดซึ่งประชาชนเห็นชอบ 54% และไม่เห็นชอบ 46% ที่ห้ามมลรัฐหรือหน่วยงานรัฐในการยอมรับหรือรับรองกฎหมายที่ให้เอิ้อหรือคุ้มครองสิทธิคนร่วมร่วมเพศ ศาลเสียงส่วนใหญ่ (6 ต่อ 3 เสียง) วินิจฉัยว่าบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญของมลรัฐโคโลราโดขาดเหตุผลเพียงพอและละเมิดสิทธิที่ได้รับความคุ้มครองที่เท่าเทียมกันของคนรักร่วมเพศ ศาลเสียงข้างน้อยวิจารณ์คำพิพากษาเสียงส่วนใหญ่ว่าเป็นการเลืกข้างในสงครามวัฒนธรรม

ต่อมาในคดี Boy Scouts of America v Dale เป็นคดีที่นักวิชากการเรียกว่าสิทธิไม่เข้าร่วมสมาคม (Right not to associate) กล่าวคือ สมาคมลูกเสือมีสิทธิที่จะกีดกันชาวเกย์ไม่ให้เข้าร่วมสมาคมของตนเองโดยถือว่าเป็นสิทธิในแารแสดงออกตามบทับญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 ซึ่งยอมรับให้สิทธิเสรีภาพแก่สมาคมในการแสดงออกที่จะไม่ยอมรับสมาชิกที่อาจสร้างปัญหากับวัตถุประสงค์ของสมาคมหรือกลุ่ม ต่อมาในปี ค.ศ. 2003 ศาลสูงสุดได้พิจารณาคดี Lawrence v. Texas ซึ่งมีการฟ้องร้องว่ากฎหมายของมลรัฐเท็กซัสได้กำหนดโทษทางอาญาพฤติกรรมการร่วมเพศแบบวิตถารของคนรักร่วมเพศ แต่จะไม่ลงโทษหากพฤติกรรมในทำนองเดียวกันเกิดกับกรณีต่างเพศกัน ศาลสูงสุดเสียงส่วนใหญ่ (5 ต่อ 4 เสียง) พิจารณาในประเด็นกระบวนการชอบด้วยกฎหมายในสารบัญญัติ (Substantive due process) และการคุ้มครองที่เท่าเทียมกัน (equal protection) โดยเสียงส่วนใหญ่ได้วินิจฉัยกลับแนวทางคำพิพากษาในคดี Bowers v. Hardwick ที่วางหลักไว้เดิมว่ามลรัฐไม่มีอำนาจหรือเหตุผลที่ชอบด้วยกฎหมายในการกำกับดูแลพฤติกรรมทางเพศของผู้ใหญ่ที่ยินมยอมพร้อมใจ เนื่องจากเป็นสิทธิส่วนบุคคล หลังจากคำพิพากษาดังกล่าว 12 มลรัฐได้ยอมรับการแต่งงานของเพศเดียวกัน และในหลายมลรัฐ ศาลสูงสุดของมลรัฐ เช่น มลรัฐแมสซาซูเซส ไอโอว่า และคอนเน็ตติกัส ได้วินิจฉัยว่าการห้ามเพศเดียวกันแต่งงานเป้นการขัดต่อรัฐธรรมนูญของมลรัฐ ในบางมลรัฐ รัฐสภาของมลรัฐได้ออกกฎหมายอนุญาตและรับรองการแต่งงานของเพศเดียวกัน

ในปี ค.ศ. 2013 คดี United States v. Windsor ศาลตัดสินว่าบทบัญญัติกฎหมายการป้องกันการแต่งงาน (Defense of Marriage Act) ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญโดยการให้เหตุผลว่าขัดกับหลักการคุ้มครองที่เท่าเทียมกัน (Equal Protection Principles) ที่อยู่ในบทบัญญัติกระบวนการชอบด้วยกฎหมาย (Due Process Clause) ของบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 5 ศาลเสียงส่วนใหญ่ ( 5 ต่อ 4 เสียง) ระบุว่าการพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบแล้วจำเป็นต้องให้มีการเลือกปฏิบัติลักษณะที่ผิดปกติ การจัดการกับปัญหาของการยังยั้งที่รัฐบาลกลางยอมให้มลรัฐกำหนดนิยามและขอขเขตของการแต่งงาน   ซึ่งนำไปสู่การตีความกฎหมายรัฐบาลกลางที่ไม่ยอมรับการแต่งงานของเพศเดียวกันไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เช่น การยื่นขอรับภาษีคืน แม้ว่าคู่แต่งงานมีการแต่งงานโดยชอบด้วยกฎหมายโดยการรับรองจากมลรัฐ ในความเห็นแย้งชี้ว่าคำพิพากษานี้อาจนำไปสู่การประกาศว่าการที่มลรัฐห้ามเพศเดียวกันแต่งงานเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญ ดังนั้น เรื่องดังกล่าวควรให้มลรัฐพิจารณาเอง

ทั้งนี้ ไม่ว่าบทบัญญัติศรัทธาและเครดิตอย่างมาก (Full faith and credit clause) จะกำหนดให้มลรัฐไม่อนุญาตให้มีการแต่งงานระหว่างเพศเดียวกันได้ปฏิเสธที่จะยอมรับความชอบด้วยกฎหมายของการแต่งงานที่ดำเนินการโดยชอบด้วยกฎหมายในอีกมลรัฐหนึ่งซึ่งกลายเป็นประเด็นที่ยังคงเปิดกว้างอยู่ ศาลได้เปิดคำถามว่าการห้ามเพศเดียวกันแต่งงานของมลรัฐขัดกับบทบัญญัติการคุ้มครองที่เท่าเทียมตามบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบบัที่ 14 หรือไม่ ในปี ค.ศ. 2014 ศาลชั้นต้นของสหรัฐอเมริกาในมลรัฐยูท่าห์และโอกาโฮม่าได้ตัดสินว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญของมลรัฐที่ประกาศว่าการแต่งงานต้องต่างเพศกันเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา ซึ่งคำถามดังกล่าวอาจขึ้นไปสู่การพิจารณาของศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาในไม่ช้า

วันจันทร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การแก้ไขรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา



 นับตั้งแต่รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาใช้บังคับในวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1789 มีการแก้ไขปรับปรุงจำนวนทั้งสิ้น 33 ครั้ง ที่ผ่านมามีข้อเสนอขอแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติรัฐธรรมจำนวน 11,539 ฉบับ โดยเสนอต่อรัฐสภาและเมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบก็จะส่งให้แต่ละมลรัฐให้ความเห็นชอบและให้สัตยาบัน  ทั้งนี้ มีการแก้ไขปรับปรุงจำนวน 27 ฉบับที่มีการให้สัตยาบันโดยมลรัฐในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญ การแก้ไขสิบครั้งแรกได้รับการยอมรับและให้สัตยาบันทันทีซึ่งเรียกโดยรวมว่า บัญญัติสิทธิพื้นฐานของพลเมือง (Bill of Rights) โดยระบุสิทธิพื้นฐานของพลเมืองที่รัฐมีหน้าที่ต้องพิทักษ์และปกป้อง   อนึ่ง การแก้ไขปรับปรุงอีกจำนวน 6 ฉบับรัฐสภาให้ความเห็นชอบและส่งไปยังมลรัฐเพื่อให้สัตยาบัน แต่ยังไม่มีการให้สัตยาบันในทางเทคนิค การแก้ไขจำนวน 4 ฉบับยังคงค้างพิจารณาอยู่และเปิดกว้างในถกเถียง อีกสองฉบับตกไปโดยปริยาย
ผู้ร่างรัฐธรรมนูญตระหนักถึงความแตกต่างระหว่างรัฐบัญญัติที่เป็นกฎหมายทั่วไปกับรัฐธรรมนูญ จึงกำหนดเงื่อนไขของการแก้ไขปรับปรุงรัฐธรรมนูญที่มีความเข้มงวดมากกว่า กระบวนการและเงื่อนไขของการแก้ไขปรับปรุงรัฐธรรมนูญปรากฎอยู่ในมาตรา  5 ของรัฐธรรมนูญเอง ซึ่งกำหนดสองขั้นตอน คือ ข้อเสนอแก้ไขปรับปรุงรัฐธรรมนูญต้องได้รับความเห็นชอบและส่งให้มลรัฐให้สัตยาบันโดยในขั้นตอนแรกนั้น รัฐสภาโดยมีจำนวนเสียงส่วนใหญ่สองในสามของทั้งวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร์ และในขั้นตอนที่สอง ต้องประกอบด้วยรัฐสภาของสองในสามของจำนวนมลรัฐ เพื่อให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติที่แก้ไขปรับปรุงต้องได้รับความเห็นชอบ (สัตยาบัน) โดยวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้  (๑) โดยความเห็นชอบของรัฐสภาจำนวน 3 ใน 4 ของจำนวนมลรัฐทั้งหมด (38 เสียงของมลรัฐ) ภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือ (๒) การประชุมในวาระให้สัตยาบันของมลรัฐในการประชุมแห่งชาติ โดยต้องมีคะแนนเสียงอย่างน้อย 3 ใน 4 ของจำนวนเสียงมลรัฐทั้งหมด (38 เสียงของมลรัฐ) ภายในระยะเวลาที่กำหนด ปัจจุบันมีการประชุมในแบบ ๑ เป็นส่วนใหญ่
ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว การแก้ไขปรับปรุงอาจถูกบล๊อกได้โดยมลรัฐ 13 มลรัฐที่อาจคัดค้านการแก้ไขปรับปรุงไม่ว่าจะอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร์หรือวุฒิสภา ดังนั้น การแก้ไขปรับปรุงรัฐธรรมนูญจึงไม่สามารถทำได้ง่าย ซึ่งเท่ากับเป็นการเพิ่มความสำคัญให้กับคำพิพากษาของศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกา เพราะการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงผลทางกฎหมายของคำพิพากษาศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาโดยการแก้ไขปรับปรุงรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นได้ยากยกเว้นในกรณีมีคะแนนเสียงใกล้เคียงกันและเป็นประเด็นที่สาธารณะโต้แย้งอย่างมาก ซึ่งศาลอาจเปลี่ยนแปลงเองในเวลาต่อมา
นอกจากนี้ ในหลายครั้งศาลสูงสุดเองก็ได้พิจารณายืนยันความชอบด้วยกฎหมายของบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งศาลสูงสุดพิจารณากระบวนการยื่นข้อเสนอแก้ไขปรับปรุงและการให้สัตยาบัน รวมทั้งเนื้อหาของบทบัญญัติที่แก้ไขก็ถือว่าอยู่ภายใต้การตรวจสอบของศาล ไม่ถือว่าเป็นคำถามทางการเมือง (Political Question) ตัวอย่างเช่น ในคดี Hawke v. Smith (1920) ศาลสูงสุดตีความว่าการให้สัตยาบันของมลลรัฐโฮไอโอในบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 8 ที่ถูกคัดค้านว่ารัฐธรรมนูญของมลรัฐโฮไอโอกำหนดให้มีการทำประชามติในประเด็นที่ผู้มีสิทธิลงคะแนนอาจไม่เห้นชอบด้วยกับการให้สัตยาบันของรัฐสภาของมลรัฐฯ ศาลสูงสุดสรุปว่ากฎหมายของรัฐบาลกลางกำหนดตามมาตรา 5 ของรัฐธรรมนูญที่กำหนดเป็นการเฉพาะในการให้สัตยาบันกฎหมายของมลรัฐ จึงเหนือกว่ากระบวนการให้สัตยาบันของมลรัฐที่ขัดหรือแย้งดังกล่าว ต่อมาในคดี National Prohibition Cases, 253 US 650  (1920)  ศาลตีความรับรองความชอบด้วยกฎหมายของบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 18 และปฏิเสธข้ออ้างว่าการห้ามการจำหน่ายหรือครอบครองเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่สามารถอนุญาตได้ตามรัฐธรรมนูญ จึงไม่อาแก้ไขปรับปรุงรัฐธรรมนูญได้ ในคดีล่าสุดมีการตีความรัฐธรรมนูญว่าบทบัญญัติที่แก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 21 ได้ยกเลิกบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 18 โดยในคดีแรกคือคดี LaRue v. California, 409 US 109 (1972) ศาลสูงสุดสรุปว่าบทบัญญัติรัฐธรรมนูญฉบับที่ 21 ได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 ที่ยอมให้มลรัฐกำกับดูแลการแสดงออกความเห็นในบาร์เหล้าหรือร้านจำหน่ายสุราได้ ซึ่งมลรัฐแคริฟอร์เนียได้ห้ามมิให้บาร์จำหน่ายเหล้าจัดให้มีการแสดงอนาจาร แม้ว่าข้อจำกัดดังกล่าวอาจละเมิดบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 ก็ตาม ในปี ค.ศ. 1996 ในคดี 44 Liquormart, Inc. v. Rhode Island, 517 US 484 (1996) ศาลเห็นว่าว่าบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 21 ไม่อยู่ภายใต้ขอบเขตของบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 แม้ว่าจะอนุญาตให้ข้อจำกัดแอลกอฮอล์อาจฝ่าฝืนบทบัญญัติพาณิชย์ (Commerce Clause) ดังนั้น ศาลจึงวินิจฉัยว่าข้อจำกัดการโฆษณาราคาของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ละเมิดบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 ต่อมาในปี ค.ศ. 2005 ในคดี Granholm v. Heald, 544 US 460 (2005) ศาลตีความว่ามาตรา 2 ของบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 21 ไม่ได้ให้มลรัฐมีอำนาจในการเลือกปฏิบัติต่อผู้จำหน่ายไวน์ที่จำหน่ายนอกเหนือขอบเขตของมลรัฐซึ่งอาจละเมิดบทบัญญัติพาณิชย์ ศาลเสียงส่วนใหญ่ (5 ต่อ 4 เสียง) ตัดสินว่ากฎหมายของมลรัฐมิชิแกนที่ห้ามจำหน่ายไวน์แก่พลเมืองชาวมิชิแกนผ่านระบบอินเทอร์เน็ต มลรัฐมิชิแกนอนุญาตให้ไวน์ที่ผลิตในมลรัฐมิชิแกนเท่านั้นที่สามารถจัดส่งไวน์แก่ลูกค้าได้ แต่ห้ามพลเมืองนอกมลรัฐมิชิแกนจำหน่าย แต่ศาลให้ข้อสังเกตว่าบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 21 มีความชัดเจนที่ให้อำนาจแก่มลรัฐในการห้ามการจัดส่งไวน์หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อื่นโดยตรงทั้งหมดแก่ลูกค้าได้ หากมลรัฐใดประสงค์จะห้าม สำหรับความเห็นแย้งทั้งสี่เสียงเห็นว่าประวัติการยกร่างบทบัญญัติรัฐธรรมนูญฉบับที่ 21 แสดงว่าได้มีการยกเว้นกฎเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จากการห้ามโดยปกติทั่วไปในการเลือกปฏิบัติตามบทบัญญัติพาณิชย์ แต่มีการตีความผิดพลาดในเชิงนโยบายมาจนกระทั่งปัจจุบัน

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การประชุมยกร่างรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาในปี 1787


ในปี ค.ศ. 1786 ชาวอเมริกาตระหนักว่าบทบัญญัติของสมาพันธรัฐ (Article of Confederation) ซึ่งเอกสารก่อตั้งประเทศที่ได้รับความเห็นชอบจากการประชุมก่อตั้งประเทศในปี ค.ศ. 1777 บทบัญญัติดังกล่าวแทบจะไม่ได้ให้อำนาจรัฐสภาในการกำกับดูแลกิจการภายในประเทศ ไม่มีอำนาจในการจัดเก็บภาษี และไม่มีอำนาจกำกับดูแลกิจการเชิงพาณิชย์แต่ประการใด เมื่อไม่มีอำนาจในเชิงบังคับใช้ รัฐสภากลางของสหรัฐ ต้องพึงพาการบริจาคเงินงบประมาณจากมลรัฐสมาชิกและสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งคือมลรัฐต่าง ๆ มักจะปฏิเสธให้เงินงบประมาณตามที่รัฐสภาร้องขอ ดังนัน้ รัฐสภากลางของสหรัฐ จึงไม่มีเงินที่จะจ่ายให้แก่ทหารหรือกองกำลังเพื่อทำสงครามปฏิวัติ (Revolutionary War) หรือชำระเงินกู้จากต่างประเทศที่ยืมเพื่อทำสงครามปฏิวัติ ต่อมาในปี ค.ศ. 1786 สถานะทางการเงินของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาถึงขั้นล้มละลาย ยิ่งไปกว่านั้น ประเทศที่พึ่งเกิดใหม่อย่างสหรัฐอเมริกาต้องเผชิญกับปัญหาความท้าทายมากมาย มลรัฐต่าง ๆ มีความขัดแย้งในทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างกันโดยไม่มีท่าทีจะตกลงกันได้ เช่น มลรัฐทางตอนใต้ขัดแย้งกับมลรัฐทางตอนเหนือเพื่อแย่งชิงความได้เปรียบทางเศรษฐกิจ ประเทศสหรัฐอเมริกาจึงไม่อยู่ในสภาพที่ดีนักในการต่อสู้กับสงครามเศรษฐกิจดังกล่าว ประเทศที่เป็นพันธมิตรเป็นห่วงกังวลค่อนข้างมาก โดยเฉพาะประเทศเจ้าหนี้ของสหรัฐอเมริกา

ในขณะเดียวกัน มลรัฐที่เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของรับบาลกลางอย่างเช่นมลรัฐโรดไอแลนด์ก็เป็นกังวลเช่นกัน รัฐสภาของมลรัฐที่เสียงส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเจ้าหนี้ได้ออกกฎหมายยกหนี้ทั้งหมดเพราะเห็นว่าเป็นมาตรการกระจายทรัพย์สินใหม่ในทุก 13 ปี ในขณะที่มลรัฐแมสซาซูเซสซึ่งมีกลุ่มเกษตรกรที่โกรธแค้นได้ประท้วงเพื่อให้มีการบรรเทาหนี้ ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1787 ปัญหาเริ่มบานปลายนำไปสู่การเรียกร้องให้มีการประชุมรัฐสภาในเดือนพฤษภาคม ณ เมืองฟิลาเดลเฟียเพื่อออกแบบการปกครองโดยรัฐบาลกลางใหม่และแก้ไขปรับปรุงกฎหมายรัฐธรรมนูญ และประชาชนทั่วประเทศก็เรียกร้องสิทธิเสรีภาพอย่างกว้างขวาง แต่ยังไม่สามารถหาข้อสรุปถึงขอบเขตของสิทธิเสรีภาพที่ควรได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ บางสิทธิเสรีภาพยังไม่มีความชัดเจน เช่น สิทธิเสรีภาพในการเป็นเจ้าของทาส 

การประชุมยกร่างรัฐธรรมนูญในฟิลาเดลเฟีย (Convention in Philadelphia)

ในวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1787 หนึ่งสัปดาห์ก่อนกำหนดการประชุมยกร่างรัฐธรรมนูญ ผู้แทนจากมลรัฐต่าง ๆ ได้ประชุมหารือในห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎร์ของมลรัฐเพนซิวาเนียในเมืองฟิลาเดลเฟีย ในวาระแรกมีการเลือกนายพลจอร์จ วอชิงตันเป็นประธานของการประชุม และมีการกำหนดข้อบังคับการประชุม ซึ่งในขณะนั้นเป็นการประชุมลับ วาระการประชุมหลักเริ่มสี่วันต่อมาหลังจากผู้ว่าการมลรัฐเวอร์จิเนีย นายเอ็ดมุนด์ แรนดอล์ฟได้นำเสนอร่างแผนโครงสร้างใหม่ของรัฐบาล (เรียกว่า แผนเวอร์จิเนีย) ซึ่งยกร่างโดยเจมส์ แมดิสันผู้แทน โดยแผนดังกล่าวมุ่งหวังให้รัฐบาลแห่งชาติมีความเข้มแข็ง รัฐบาลเลือกตั้งตามสัดส่วนของจำนวนประชากร แผนให้รัฐบาลกลางเพื่อออกกฎหมายในทถกมลรัฐที่มลรัฐแบ่งแยกไม่มีความสามารถเพียงพอและให้สภาแห่ชาติเพื่อแก้ไขอำนาจในคัดค้านรัฐสภาของมลรัฐ ผู้แทนจากมลรัฐเล็ก ๆ และมลรัฐที่ไม่เห็นด้วยกับการให้อำนาจรัฐบาลกลางอย่างกว้างขวางต่อต้านแผนดังกล่าว เช่น มลรัฐแคโรไรน่าใต้ได้ถามว่าผู้สนับสนุนแผนดังกล่าวหมายถึงการยกเลิกรัฐบาลมลรัฐหรือไม่ ต่อมาในวันที่ 14 มิถุนายน นายวิลเลี่ยม ปีเตอร์สันผู้แทนจากมลรัฐนิวเจอร์ซี่ได้นำเสนอร่างแผน (เรียกว่า แผนนิวเจอร์ซี) ซึ่งเสนอให้รัฐบาลกลางยังคงมีอำนาจมากขึ้น ในการประชุมหารือในช่วงสามเดือน ผู้แทนจากมลรัฐต่าง ๆ ได้เจรจาต่อรองตามแผนทั้งสอง ในที่ประชุมมีการเพิ่มอำนาจแก่รัฐสภาใหม่ ๆ เช่น อำนาจในการกำกับดูแลเศรษฐกิจ เงินตรา และการป้องกันประเทศ แต่ที่ประชุมปฏิเสธที่จะให้อำนาจรัฐบาลกลางในการคัดค้านกฎหมายของมลรัฐที่ออกใหม่ นอกจากนี้ ผู้แทนจากมลรัฐตอนใต้คัดค้านว่ารัฐสภาไม่ควรมีอำนาจในการจัดกัดการค้าทาสและการมีทาส ประเด็นสำคัญที่มีการถกเถียงกันอย่างมากคือการลงคะแนนเสียง โดยเฉพาะมลรัฐที่มีขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ในการแบ่งสัดส่วนที่นั่งและเสียงในสาภผู้แทนราษฎร์ ในที่สุดก็ตกลงให้จัดสรรจำนวนผู้แทนราษฎร์ตามสัดส่วนประชากรและวุฒิสภาให้แต่ละมลรัฐมีสองที่นั่งเท่ากันตามข้อเสนอของนายโรเจอร์ เชอร์แมน ผู้แทนของมบรนัฐคอนเน็ตติกัต (เรียกว่าการประนีประนอมคอนเน็ตติกัต)

ในเดือนกันยายน การประนีประนอมครั้งสุดท้ายสามารถบรรลุได้ เงื่อนไขสุดท้ายได้มีการปรับปรุงและผ่านความเห็นชอบ ในการประชุมดังกล่าว แต่ละมลรัฐมีเพียงหนึ่งเสียง ดังนั้น แต่ละมลรัฐมีความเห็นแย้งค่อนข้างมากและไม่มีท่าทีว่าจะสำเร็จ แต่ในท้ายที่สุดผู้แทน 39 มลรัฐจาก 55 มลรัฐสนับสนุนการยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ดังกล่าว ซึ่งก็เพียงพอในการชนะจากแต่ละผู้แทนจาก 12 มลรัฐ (มลรัฐโรดไอแลนด์ไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว จึงไม่ส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุม) ต่อมามีพิธีลงนามรัฐธรรมนูญในวันที่ 17 กันยายนในปีเดียวกัน ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวยังคงมีผลใช้บังคับอยู่จนถึงปัจจุบัน
 

วันอาทิตย์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

สิทธิที่จะตาย (The Right to Die)


ในสหรัฐอเมริกา ศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาได้วินิจฉัยในเรื่องนี้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1990 ในคดี Cruzan v. Director, Missouri Department of Health, 497 U.S. 261 (1990) โดยศาลสูงสุดพิจารณารับรองในการตัดสินใจจะตาย (Right to die) ตามคำพิพากษาศาลสูงสุดของมลรัฐมิซูรี่ โดยศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาเสียงส่วนใหญ่ (5 ต่อ 4 เสียง) ให้เหตุผลว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญไม่ได้ห้ามมลรัฐมิซูรี่ในการกำหนดเงื่อนไขว่าจะต้องสามารถยืนยันหลักฐานที่ชัดเจนและน่าเชื่อถือ (Clear and convincing evidence) ของนางแนนซี่ ครูซานผู้ป่วยอาการโคม่าที่ประสบอุบัติเหตุรถยนต์มีความต้องการยุติชีวิตของตนเอง ซึ่งในคดีดังกล่าวปรากฎหลักฐานชัดเจนว่ามีความยินยอมและเป็นความต้องการของครอบครัวเธอที่จะถอดสายอุปกรณ์ช่วยชีวิตของนางครูซาน ในคดีนี้ผู้พิพากษาเสียงส่วนใหญ่ตัดสินว่าสิทธิที่จะตายเป็นเสรีภาพที่ได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญเรื่องกระบวนการชอบด้วยกฎหมาย (Due Process Clause) โดยศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาสนับสนุนว่ากรณีนี้ปรากฎหลักฐานที่ชัดเจนและเฉพาะเจาะจงว่าผู้ป่วยประสงค์ที่จะให้มีการถอดสายช่วยชีวิต ผลจากคำพิพากษาดังกล่าวได้วางหลักการว่าต้องปรากฎว่ามีหลักฐานของความประสงค์ของคนป่วยว่าประสงค์ที่ชัดเจนที่จะยุติการรักษาหรือต้องการให้ถอดสายอุกรณ์ช่วยชีวิต

ในเจ็ดปีต่อมาหลังจากคดี Cruzan v. Director, Missouri Department of Health ศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาต้องเผชิญประเด็นสิทธิที่จะตายอีกครั้งในสองคดีที่มีการโต้แย้งว่ากฎหมายอาญาที่จะลงโทษการฆ่าตัวตายที่แพทย์ให้ความช่วยเหลือโดยถือเป็นมีความผิดกฎหมายอาญา ศาลชั้นต้นในมลรัฐวอชิงตันและมลรัฐนิวยอร์คตัดสินว่ากฎหมายอาญาดังกล่าวขัดรัฐธรรมนูญ ซึ่งในชั้นศาลอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ภาคเก้าได้ตัดสินบนพื้นฐานว่ากระบวนการชอบด้วยกฎหมายของสิทธิส่วนตัว (Privacy right) สำหรับศาลอุทธรณ์ภาคสองตัดสินบนพื้นฐานของหลักกฎหมายการคุ้มครองที่เท่าเทียมกัน (equal protection) ต่อมาในชั้นศาลสูงสุดได้ตัดสินกลับคำวินิจฉัยของทั้งสองศาลอุทธรณ์และยืนยันว่ากฎหมายอาญาดังกล่าวชอบด้วยรัฐธรรมนูญ แม้ว่าศาลสูงสุดจะเคยตัดสินในคดี Cruzan ว่าโดยยอมรับในสิทธิที่จะตายโดยการปฏิเสธการรักษาทางการแพทย์ แต่ศาลสูงสุดกล่าวว่าไม่มีบทบัญญัติรัฐธรรมนูญใดรองรับสิทธิที่จะช่วยฆ่าตัวตาย ต่อมาในปี ค.ศ. 2006 ในคดี Gonzales v. Oregon, 546 U.S. 243 (2006)  ศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาตัดสินคดีสิทธิที่จะตายอีกคดีหนึ่ง แม้ว่าจะเป็นคดีกฎหมายปกครองก็ตาม ไม่ใช่ประเด็นกฎหมายรัฐธรรมนูญ ผู้พิพากษาเสียงข้างมาก (6 ต่อ 3 เสียง) ตัดสินว่าอัยการสูงสุดของสหรัฐอเมริกาใช้อำนาจเกินขอบเขตตามกฎหมายสารควบคุม (The Federal Controlled Substance Act)เมื่ออัยการดำเนินคดีต่อนายแพทย์ในมลรัฐรัฐโอเรกอนที่สั่งจ่ายยาอันตรายตามกฎหมายมลรัฐการตายอย่างมีศักดิ์ศรี (Oregon Death with Digdity Act)  คำพิพากษาดังกล่าววินิจฉัยว่ากฎหมายทางการแพทย์อยู่ในขอบเขตอำนาจของมลรัฐและสำนักงานอัยการของสหรัฐอเมริกาหรือรัฐบาลกลางไม่มีอำนาจแทรกแซงตามหลักกฎหมายสหพันธ์รัฐ (Federalism Principle) และดังนั้น กฎหมายสารควบคุมไม่ได้ให้อำนาจแก่อัยการสูงสุดในการสั่งห้ามการใช้สารอันตรายในการช่วยเหลือผู้ป่วยให้ตายซึ่งกฎหมายมลรัฐได้อนุญาต เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถตัดสินเลือกที่จะยุติชีวิตตนเองให้ตายอย่างมีศักดิ์ศรีด้วยความช่วยเหลือจากแพทย์