วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ข้อความคิดเรื่องอธิปไตยเหนือน่านฟ้า

ประเด็นเรื่องอธิปไตยเป็นหัวใจสำคัญของการบินระหว่างประเทศเพราะเป็นรากฐานความคิดของความสัมพันธ์ด้านการบินทั้งหมดเกิดขึ้น ซึ่งกรณีพิพาทที่เกิดขึ้นเกิดจากข้อความคิดเรื่องอธิปไตยด้านความมั่นคงของชาติของประเทศ Cyprus และประเทศ Gibralta กล่าวคือทั้งสองประเทศมีความขัดแย้งในเรื่องเขตแดนทำให้เกิดผลกระทบโดยตรงกับความสามารถในการใช้อธิปไตยอย่างสมบูรณ์และเด็ดขาดเหนือเขตน่านฟ้าของตน นอกจากนี้ ประเทศต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเชิงพาณิชย์ ทางเทคนิค กฎหมายและสิ่งแวดล้อม เช่น สหภาพยุโรปได้มีข้อความคิดอธิปไตยที่ก้าวหน้า เช่น การมอบอำนาจบริการเดินอากาศจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง การลดข้อจำกัดระหว่างน่านฟ้าและอวกาศ การนำระบบการแลกเปลี่ยนการปล่อยในยุโรป ข้อจำกัดการประกันภัย และรายการที่ทันสมัยบ่อยครั้งของสายการบินที่ถูกห้ามในสหภาพยุโรป

ข้อความคิดเรื่องอธิปไตยภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศคดีเมือง
อนุสัญญามอนทีวิดีโอ (The Montevideo Convention 19331) ได้ประมวลหลักการที่ได้รับการยอมรับของกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศและกำหนดรัฐเป็นบุคคลที่ต้องมีประชากรถาวร เขตดินที่ชัดเจน รัฐบาลที่มีความสามารถในการทำความสัมพัน์กับรัฐอื่น การมีอยู่ของรัฐเป็นคำถามด้านข้อเม็จจริงเพราะมาตรา 3 ของอนุสัญญาฯ กำหนดว่าการมีอยู่ทางการเมืองของรัฐเป็นอิสระของการยอมรับโดยรัฐอื่น ข้อความคิดอธิปไตยแนวใหม่ย้อนกฃับไปได้ยังสนธิสัญญา Westphalia ซึ่งความมีเอกภาพของดินแดน ความไม่สามารถล่วงละเมิดของเขตแดน ความสูงสุดของรัฐ และความสูงสุดของกฎหมายในการสร้างองคืกรภายในเขตแดน ข้อความคิดอธิปไตยเป็นหัวใจของความมีอยู่ของทุกรัฐ ซึ่งสะท้อนความสูงสุดที่เด็ดขาดและอำนาจทางกฎหมายที่ไม่แปลกแยกในการใช้อำนาจในเขตรัฐบาล รัฐที่มีอธิปไตยมีอำนาจทางกฎหมาย บริหารและตุลาการและมีอำนาจเหนือเขตแดนของตนในการยกเว้นประเทศอื่นทั้งหมด อธิปไตยเป็นพื้นฐานชองหลักความรับผิดชอบ (responsibility) ความเป็นคนชาติ และเขตอำนาจศาล มาตรา 2(2) ของกฎบัตรสหประชาชาติตระหนักว่าทุกประเทศมีความเท่าเทียมกันและมีอำนาจอธิปไตยเพราะประเทศต่าง ๆ มีความอิสระทางการเมืองทั้งหมด อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล กำหนดว่าอธิปไตยของประเทศขยายไป 12 ไมล์ทะเลเรียกว่าทะเลอาณาเขต ทฤษฎีนี้กำหนดโดย Hugo Grotius ในหนังสือ Mare Liberum  เป็นกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศว่าทะเลหลวงไม่สามารถครอบครองได้โดยรัฐใด ไม่มีประเทศใดสามารถอ้างสิทธิอธิปไตยเหนือภูมิภาคนั้น สิทธิของการผ่านทางโดยสุจริตตระหนักว่าเรือทหารและเรือพลเรือนทั้งหมด ประเทศต่าง ๆต้องไม่ล่วงละเมิดสิทธิของประเทศชายฝั่งหรือข้พิพาทด้านสันติภาพหรือแสดงการคุกคามคาวมมั่นคงของรัฐดังกล่าวมาตรา 17 และมาตรา 19 อนุสัญญาว่าด้วยกฎหมายทะเล

Cuius est solum, eius est usque ad caelum et ad inferos ("สำหรับใครที่เป็นเจ้าของดิน จะมีสิทธิไปขึ้นถึงสรรค์ชั้นฟ้าและลงไปยังนรก")  สุภาษัตภาษาลาตินดังกล่าวใช้ครั้งแรกในศตวรรษที่ 13 โดยชาวโรมันชื่อ Accursius และต่อมาถูกนำไปใช้กฎหมายอังกฤษ William Blackstone ใน Commentaries on the Law of England (1966) ภายใต้หลักการดังกล่าวเจ้าของที่ดินเป็นเจ้าน่านฟ้าทั้งหมดเหนือที่ดินของตนโดยไม่มีข้อจำกัด ข้อความคิดดังกล่าวไม่ได้ถูกกฎหมายอีกต่อไปเพราะไม่สอดคล้องกับความต้องการสมัยใหม่ของการขนส่งทางอากาศ แต่มีการอ้างถึงเพราะเป็นที่ยอมรับการเกิดขึ้นของการบินพลเรือน
 ในตอนต้นของปี ค.ศ. 1901 นักกฎหมายชาวฝรั่งเศส Paul Fauchille เขียนบทความเรื่อง Le domain aerien et le regime juridique des aerostats ซึ่งเป็นเสรีภาพของอากาศ หลายปีต่อมา John Westlake นักกฎหมายชาวอังกฤษให้ความคิดเห็นตรงกันข้าม โดยเห็นชอบกับหลักอธิปไตยในอากาศเป็นหลักกฎหมายหลักของกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง และพยายามให้ยุติสิทธิผ่านทางของบอนลูนและการใช้อุปกรณ์โทรเลขไร้สาย รัฐและอุตสาหกรรมการบินมีความเชื่อมโยงกัน อนุสัญญากรุงปารีสและอนุสัญญาชิคาโกได้เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง สงครามทำให้เกิดลัทธิชาตินิยมและให้กำเนิดหลักอธิปไตยของรัฐในลักษณะป้องกันประเทศ สายการบินจำนวนมากถูกสร้างโดยหน่วยงานป้องกันประเทศของแต่ละประเทศและมีการสงวนไว้ในกิจการทหารทางยุทธศาสตร์ของประเทศในกรณีสงครามหรือความขัดแย้งทางอาวุธ ในขณะเดียวกันส่วนสำคัญของน่านฟ้าที่ใช้และยังคงสงวนไว้สำหรับกิจการทหาร การแบ่งแยกน่านฟ้าระหว่างพลเรือนและทหารสะท้อนความสำคัญของความมั่นคงประเทศเบื้องหลังข้อความคิดเรื่องอธิปไตย
มาตรา 1 ของอนุสัญญากรุงปารีส ค.ศ. 1919 กำหนดว่าประเทศสมาชิกแต่ละประเทศตระหนักถึงอำนาจของแต่ละประเทศในการมีอธิปไตยที่สมบูรณ์และเด็ดขาดเหนือน่านฟ้าเหนืออาณาเขต มาตรา 1 ของอนุสัญญากรุงชิคาโกลอกเลียนแบบหลักการดังกล่าว แต่ก็มีนักวิชาการเสียงข้างน้อย เช่น Nicolas Matte โต้แย้งว่าน่านฟ้าเป็นของน่านฟ้าทางกายภาพในชุมชนโลกปฏิสัมพันธ์และดังนั้นไม่มีส่วนที่สามารถอยู่ภายใต้การเรียกร้องอธิปไตยของชาติใด แม้ว่าในระยะเวลาที่จำกัด ส่วน Matte เชื่อว่าน่านฟ้าเป็นสินค้าสาธารณะซึ่งต้องใช้ในทางสันติโดยมวลมนุษยชาติ ดังนั้น ข้อความคิดถูกครอบงำโดยข้อเรียกร้องที่เห็นแก่ตัวของแต่ประเทศที่มองหาผลประโยชน์ของตนโดยเฉพาะผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
ข้อตกลงบริการขนส่งผ่านแดนทางอากาศระหว่างประเทศได้ตกลงในปี ค.ศ. 1944 และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาได้มีส่วนสำคัญในการพัฒนากรอบกฎหมายกำกับดูแลการบินพลเรือนระหว่างประเทศโดยมีประเทศสมาชิกเข้าร่วม 122 ประเทศและให้ประเทศสมาชิกสามรถมีสิทธิบินเหนือน่านฟ้าและมีสิทธิจอดลงในดินแดนอาณาเขตของประเทศสมาชิกเพื่อวัตถุประสงค์ไม่ประจำทาง เช่น การเติมน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น บทบัญญัติดังกล่าวตามสอดคล้องกับอนุสัญญากรุงชิคาโกในเรื่องอธิปไตยเหนือน่านฟ้า ผู้ร่างเครื่องมือกฎหมายดังกล่าวเป็นผู้ร่างเดียวกับอนุสัญญากรุงชิคาโก
อธิปไตยในอากาศและการแลกเปลี่ยนสิทธิจราจร
ปัจจุบันนี้รัฐไม่ได้มองหาผลประโยชน์โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของรัฐอื่นเพราะการกระทำของรัฐหนึ่งมีผลกระทบเป็นลูกโช่ทางการเมืองและเศรษฐกิจในระดับโลกและระดับภูมิภาค ประเทศเล็กแทบไม่สามารถอยู่รอดโดยปราศจากปฏิสัมพันธ์กับประเทศพัฒนาแล้ว ในทางเดียวกันประเทศที่มีอิทธิพลจำเป็นต้องค้าขายกับประเทศกำลังพัฒนา การบินถือว่ามีความสำคัญที่นำไปสู่โลกานุวัฒน์ในการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจและการค้า มาตรา 6 อนุสัญญากรุงชิคาโกกำหนดว่าบริการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศแบบไม่ประจำทางอาจดำเนินการข้ามหรือเข้าสู่เขตแดนของประเทศสมาชิก เว้นแต่การอนุญาตหรือได้รับใบอนุญาตเป็นพิเศษของรัฐและต้องสอดคล้องกับการอนุญาตหรือได้รับใบอนุญาต ในอีกแง่หนึ่งบทบัญญัติดังกล่าวหมายความว่าน่านฟ้าของรัฐสมาชิกทั้งหมดปิดกั้นทางกฎหมายจนกระทั่งรัฐตัดสินใจเปิดในทางปฏิบัติ ปัจจุบันข้อตกลงบริการทางอากาศแบบทวิภาคียังคงเป็นรูปแบบดั้งเดิมและนิยมสำหรับรัฐที่เปิดน่านฟ้าให้รัฐอื่นด้วยวัตถุประสงค์เข้าสู่การให้บริการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศและกำกับดูแลในเชิงเศรษฐกิจในการแลกเปลี่ยน รูปแบบที่มีชื่อเสียงของข้อตกลงทวิภาคีระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรในปี ค.ศ. 1944 และมักอ้างอิงว่าข้อตกลง Bermuda 1 ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการประนีประนอมระหว่างแนวความคิดของประเทศสมาชิกและให้กำเนิดระบบที่อิงโอกาสที่เป็นธรรมและเท่าเทียมกันในการแข่งขันและมีการรับรองสองครั้งในความเป็นไปได้ของอัตราค่าบริการและความสามารถในการให้บริการตามความจำเป็นของสาธารณะในการดำเนินกิจการขนส่งทางอากาศ ในช่วงระยะเวลาการลงนามของข้อตกลง รัฐต้องแทรกแซงโดยการกำกับดูแลขนส่งทางอากาศและยังคงยึดกับข้อความคิดของอธิปไตย Nabeau โต้แย้งว่าหลักอธิปไตยในอากาศอธิบายว่าทำไมอุตสาหกรรมทางอากาศเป็นหนึ่งในสาขาที่การค้าที่เป็นระบบทวิภาคีนิยม
 ดังที่ Naveau กล่าวไว้ในบทความว่าในประเทศพัฒนาแล้ว อธิปไตยทางเศรษฐกิจในการกำกับดูแลทางเศรษฐกิจของการขนส่งทางอากาศกำลังลดลงในการเริ่มต้นของการเปิดเสรีตลาดการบิน แนวโน้มเริ่มในสหรัฐอเมริกาในปี คศ. 1978 เริ่มทยอยเปลี่ยนแปลงในสหภาพยุโรปที่เปลี่ยนกรอบสถาบันของการดำเนินกิจการทางอากาศ ก่อนปี ค.ศ. 1987 ตลาดภายในประเทศภายในสหภาพยุโรปแตกย่อยและเกิดสนธิสัญญาทวิภาคีที่ครอบคลุมการแลกเปลี่ยนสิทธิจราจรระหว่างประเทศสหภาพยุโรป ภายใต้การเปิดเสรีเต็มรูปแบบของตลาดภายในประเทศของสหภาพยุโรปในปี ค.ศ. 1997 ผู้ประกอบการขนส่งสหภาพยุโรปสามารถดำเนินการในเส้นทางใดก็ได้ในสหภาพยุโรป รวมทั้งเส้นทางภายในประเทศล้วน ๆ ก็ได้ สิทธิการขนส่งภายในประเทศเดิมภายในสหภาพยุโรปมีการพัฒนาอย่างน่าสนใจและเป็นก้าวย่างที่สำคัญจากข้อความคิดดังเดิมเรื่องอธิปไตย ปัจจุบันมีเส้นทางระหว่างประเทศใหม่ ๆ สายการบินใหม่และหายสนามบินใหม่เกิดจากการแปรรูป สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาได้ลงนามข้อตกลงเปิดน่านฟ้าซึ่งสายการบินในสหภาพยุโรปสามารถบินไปยังสหรัฐอเมริกาจากสนามบินในสหภาพยุโรปโดยไม่คำนึงถึงสัญชาติ ดังนั้น แนวความคิดเรื่องอธิปไตยในกิจการการบินระหว่างประเทศเริ่มผ่อนคลายมากขึ้นในปัจจุบัน


การกำกับดูแลเคเบิ้ลใต้ทะเลและสถานีเคเบิ้ล

โดยทั่วไปปัจจัยที่มีผลต่ออัตราค่าบริการโทรคมนาคมระหว่างประเทศและบริการอินเทอร์เน็ตของประเทศกำลังพัฒนาประการหนึ่งคือ ต้นทุนของเคเบิ้ลใต้น้ำและสถานีเคเบิ้ล กล่าวคือต้นทุนในการโทรศัพท์และเข้าใช้บริการอินเทอร์เน็ตยังคงแพงอย่างไม่ได้สัดส่วนเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ปัจจัยสำคัญของต้นทุนของเคเบิ้ลใต้น้ำและสถานีเคเบิ้ลที่สูงเกิดจากการผูกขาดของผู้ประกอบการรายใหญ่ในตลาดเหนือเคเบิ้ลใต้น้ำ (Submarine cable) สถานีเคเบิ้ล (Landing station) และชุมสายโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International gateways) ซึ่งในอดีตบริการเหล่านี้จะอนุญาตแก่ผู้ประกอบการที่มีอำนาจผูกขาดโดยธรรมชาติ (Natural monopoly) และให้บริการโดยรัฐหรือหน่วยงานของรัฐเนื่องจากเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพที่สุด จึงกลายเป็นแหล่งเงินที่อาจใช้อุดหนุนการสร้างโครงข่ายโทรคมนาคมของประเทศ
ระบบเคเบิ้ลใต้ทะเลเริ่มต้นจากการประดิษฐ์เทคโนโลยีการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1840 มีการทดลองวางสายเคเบิ้ลโทรเลขเกิดขึ้น แต่ประสบความสำเร็จทางการค้าผ่านระบบเคเบิ้ลใต้ทะเลในปี ค.ศ. 1851 ข้าม the Strait of Dover จากจุดเริ่มต้นของบริการโทรศัพท์ Alexander Graham Bell ตระหนักความเป็นไปได้บริการระหว่างประเทศที่ใช้เคเบิ้ลใต้ทะเลและบริการเริ่มในปี ค.ศ. 1884
ก่อนสิ้นสุดในศตวรรษที่ 19 เคเบิ้ลโทรเลขส่วนใหญ่เป็นของเอกชนและมีการกำกับดูแลแบบหลอม ๆ ในปี ค.ศ. 1882 ประมาณ 90% ของระบบเคเบิ้ลใต้ทะเลเป็นของภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม ในช่วงเริ่มเข้าสุ่ศตวรรษที่ 20 แนวโน้มการเติบโตระหว่างประเทศทำให้รัฐบาลกำกับดูแลและเข้าไปแทรกแซงระบบเคเบิ้ลใต้ทะเล ระบบเคเบิ้ลใต้ทะเลต้องการเส้นทางที่ทำกำไรในเชิงพาณิชย์และเส้นทางในเชิงกลยุทธ์และทางการเมืองด้วย เส้นทางเชื่อมโยงเริ่มมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ในยุทธศาสตร์ทางการเมืองระหว่างประเทศ สงครามโลกครั้งที่หนึ่งให้ความสำคัญกับการสื่อสารในฐานะความมั่นคงของประเทศและรัฐบาลยกระดับการเกี่ยวข้องกับโทรคมนาคม
ประวัติระบบเคเบิ้ลใต้ทะเล
1849 เคเบิ้ลโทรเลขระหว่างสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส (เสียหาย 8 วันต่อมา)
1851 บริการโทรเลขระหว่างประเทศโดยเคเบิ้ลใต้ทะเลแบบ coaxial ใน Straits of Dover
1858 เคเบิ้ลโทรเลขข้ามแอตแลนติกเส้นแรก (ล้มเหลวในสามสัปดาห์)
1868 เคเบิ้ลโทรเลขข้ามแอตแลนติกเส้นแรกที่ประสบความสำเร็จทางการค้า
1877 การทดลองส่งสัญญาณโทรศัพท์ผ่านเคเบิ้ลโทรเลขข้ามแอตแลนติก (ล้มเหลว)
1884 บริการโทศัพท์ผ่านเคเบิ้ลเส้น San Francisco-Oakland เริ่ม
1943 เคเบิ้ล Coaxial กับ repeaters ในสหราชอาณาจัก
1956 TAT-1 เป็นเคเบิ้ลข้ามแปซิฟิกเส้นแรก
1964 TPC-1 เป็นเคเบิ้ลข้ามแปซิฟิกเส้นแรก
1988 TAT-8 ระบบแรกที่วางเส้นใยแก้วนำแสง
1989 TPC-3 ระบบเคเบิ้ลใยแก้วนำแสงข้ามแปซิฟิกเส้นแรก
1997 FLAG ระบบเคเบิ้ลร่วมลงทุนระบบแรก
ที่มา: Varney, A., “History Timeline”, http://www.teleport.com/~iscw/iscw/tl_hist.html
ในระยะแรก ระบบเคเบิ้ลใต้ทะเลเป็นโครงสร้างแบบจุดต่อจุดและมีความจุที่จำกัด โดยทั่วไปผู้ประกอบการบริการโทรคมนาคมสองรายจากประเทศที่เคเบิ้ลขึ้นฝั่งร่วมมือกันในการวางแผนและบริหารจัดการของระบบ การอนุญาตสิ่งอำนวยความสะดวกโทรคมนาคมระหว่างประเทศโดยองค์กรกำกับดูแลตามคำขออนุญาตแล้วแต่กรณี ต่อมาระบบเคเบิ้ลใต้ทะเลมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นและมีความจุในการให้บริการมากขึ้น ไม่เพียงแต่ผู้ประกอบการโทรคมนาคมของประเทศที่เชื่อมเคเบิ้ลใต้ทะเลและประเทศอื่นที่ต้องการความจุในการให้บริการโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ดังนั้น มีผู้เข้าร่วมในการวางแผนระบบเคเบิ้ลมากขึ้นด้วย องค์กรกำกับดูแลของประเทศพัฒนาแล้วเห็นว่าการพิจารณาอนุญาตระบบเคเบิ้ลตามรายกรณีอาจไม่เหมาะสมกับปริมาณความต้องการที่เพิ่มขึ้นและความซับซ้อนของระบบเอง
ในอดีต การกำกับดูแลในแต่ละประเทศจำกัดการก่อสร้างและดำเนินการสิ่งอำนวยความสะดวกโทรคมนาคมระหว่างประเทศให้กับผู้ประกอบการเพียงรายเดียวหรือน้อยราย จนกระทั่งในทศวรรษที่ 1980 ผู้ประกอบการรายใหญ่ได้รับอนุยาตและสามารถลงทุนสร้างและใช้เคเบิ้ลใต้ทะเลได้ ผู้ประกอบการเคเบิ้ลรวมตัวกันวางแผนและก่อสร้างระบบโดยการแบ่งความเสี่ยงและต้นทุนที่สูงด้วยกัน เรียกว่าเป็นคลับที่ควบคุมการก่อสร้างและบริหารจัดการเคเบิ้ลใต้ทะเล ซึ่งประกอบด้วยบริษัท  AT&T, KDD, France Telecom, Deutsche Telekom, และ British Telecom ได้รวมตัวกันสร้างเคเบิ้ลใต้ทะเลข้ามมหาสมุทรแอนแลนติก ซึ่งสมาชิกของคลับเป้นทั้งเจ้าของ ผู้ใช้หรือผู้ขายความจุของระบบเคเบิ้ลใต้ทะเล
โดยทั่วไป เจ้าของสิ่งอำนวยความสะดวกหรือสาถนีเคเบิ้ลใต้ทะเลเป็นผู้ประกอบการของประเทศที่สิ่งอำนวยความสะดวกตั้งอยู่และเป็นจุดเชื่อมไปยังทะเลมักจะเป็นสมาชิกของคลับ การกำกับดูแลในอดีตให้ผู้ประกอบการภายในประเทศเป็นเจ้าของสิ่งอำนวยความสะดวก หลังจากมีการเปิดเสรีเจ้าของสิ่งอำนวยความสะดวก เจ้าของโครงข่ายหลักของประเทศมักได้รับความนิยมเพราะสามารถร่วมมือกันในการเชื่อมต่ออย่างราบรื่น ดังนั้น ระบบคลับจึงเป็นความสัมพันธ์แบบร่วมมือและสมคบกันระหว่างผู้ประกอบการรายใหญ่ของแต่ละประเทศสมาชิกมากกว่าจะเป็นคู่แข่งขันกัน
กระบวนการก่อสร้างของระบบเคเบิ้ลใต้ทะเลระหว่างประเทศโดยกลุ่มคลับมีลักษณะดังนี้ ประการแรก ความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจถูกประมาณอิงการพยากรณ์ของความต้องการในอนาคต โดยทั่วไปหน่วยงานของรัฐนำส่วนที่ตนประมาณการณ์และสมาชิกร่วมตัดสินใจความต้องการทั้งหมดในภาพรวม สมาชิกจะถกเถียงแผนงานพื้นฐาน เช่น การวางแผนสร้างระบบและระยะเวลาการก่อสร้าง หลังจากที่สมาชิกตกลงกันแล้วก็จะสรุปสิ่งของเฉพาะสำหรับการก่อสร้าง การดำเนินงาน และการบำรุงรักษา หากสมาชิกเห็นชอบ ปัจจัยต่าง ๆ จะถูกระบุไว้ในข้อตกลงก่อสร้างและการบำรุงรักษาที่จะกลายเป็นสัญญาทางการของประเทศสมาชิก ซึ่งมักจะใช้ระยะเวลาหนึ่งปีหลังจากการประชุมนักลงทุนครั้งแรกเพื่อตกลงสรุปสัญญาก่อสร้างและบำรุงรักษา
ทั้งนี้ มีหลายวิธีสำหรับผู้ประกอบการในการได้รับความจุของเคเบิ้ลใต้ทะเลในระบบคลับ การซื้อความจุจากคลับแบบครึ่งวงจรหรือทั้งวงจร การซื้อสิทธิการใช้ที่ไม่สามารถโต้แย้งได้ (indefeasible right of use) หรือการเช่าความจุจากเจ้าของหรือสมาชิกคลับ สมาชิกของกลุ่มซื้อความจุจากกลุ่มได้ หน่วยงานของรัฐที่เข้าร่วมในคลับและสร้างระบบเคเบิ้ลใต้ทะเลเพื่อสนองความต้องการของตนเองเป็นหลัก แต่สมาชิกของกลุ่มซื้อความจุของระบบก่อนรายอื่น ต่อมาทางเลือกอื่นในการได้รับความจุได้รับการเสนอแก่ผุ้ประกอบการรายอื่นหรือผู้ใช้โดยกลุ่ม หากมีความจุเหลือ นอกจากนี้ การให้บริการระบบเคเบิ้ล เจ้าของครึ่งวงจรต้องติดต่อกับเจ้าของอีกครึ่งวงจรหนึ่งด้วย
IRU เป็นสัญญาโอนสิทธิในการใช้ความจุของระบบเคเบิ้ลใต้ทะเล ผู้ซื้อ IRU เป็นเจ้าของสิทธิเช่นเดียวกับสมาชิกของคลับในการใช้วงจร แต่เจ้าของ IRU ไม่สามารถออกเสียงในเรื่องการบริหารจัดการระบบได้ เจ้าของ IRU ไม่ได้มีความเสี่ยงในกระบวนการก่อสร้าง แต่ราคาของ IRU จะแพงกว่าราคาเดิมของสมาชิกในการซื้อออคคความจุ เงื่อนไขของ IRU มักเป้นระยะเวลาเดียวกับระยะเวลาของเคเบิ้ลคือประมาณ 20-25 ปี การเช่าในระยะสั้น จะมีค่าเช่าที่สูงกว่ามาก สมาชิกของคลับสามารถควบคุมความมีอยู่และราคาของ IRU และการเช่า ความจุที่มีโดย IRU หรือการเช่ามักมีจำกัด
ระบบกลุ่มคลับแบบดั้งเดิมนั้น หน่วยงานของรัฐกลายเป็นสมาชิกของกลุ่มร่วมลงทุนในสร้างระบบ มีบทบาทในการดำเนินงานและบำรุงรักษา และการใช้ความจุของระบบ ระบบผู้ประกอบการส่วนตัวเริ่มในราวปี ค.ศ. 1980 หลังจากการเปิดเสรีความเป็นเจ้าของสิ่งอำนวยความสะดวกในบางประเทศ ระบบส่วนตัวคล้ายกับระบบกลุ่มคลับเพราะผู้ประกอบการจะมีบทบาททั้งหมด แต่ระบบส่วนตัวจะเชิญนักลงทุนที่ไม่ใช่ผู้ประกอบกิจการ เช่น ธนาคาร เข้าร่วม ระบบไม่ใช่ผู้ประกอบการเริ่มปรากฏ เจ้าของของระบบดังกล่าวมุ่งเน้นการขายและให้เช่าความจุแก่รายอื่นและไม่ใช้ความจุในกิจการของตน
ในอดีตการสร้างเคเบิ้ลใต้ทะเลอยู่ในรูปของคลับปิด (Closed club) ที่สามารถลงทุนจำนวนมหาศาลได้เพื่อวางสายเคเบิ้ลใต้ทะเล สมาชิกมีสิทธิเด็ดขาด (Exclusive right) ในการใช้ความจุในแต่ละประเทศ ผู้ประกอบการบางรายอาจซื้อสิทธิในการใช้ (Indefeasible Right of Use) สัญญาการโอนสิทธิในการใช้ความจุของระบบเคเบิ้ลใต้ทะเล สิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิเด็ดขาดและไม่สามารถเพิกถอนได้ในการใช้สิทธิอำนวยความสะดวก โดยทั่วไปมีระยะเวลา 20-25 ปี แต่จะไม่มีสิทธิในการควบคุมสิ่งอำนวยความสะดวก เจ้าของ IRU ไม่มีความเสี่ยงจากกระบวนการก่อสร้าง แต่ราคาต่อหน่วยของความจุจะสูงกว่าสมาชิกคลับ
ผู้ประกอบการรายอื่นที่เช่าความจุจากสมาชิกคลับเป็นครึ่งหนึ่งของช่องวงจรสื่อสารหรือเต็มช่องวงจรสื่อสารจากสมาชิก การเช่าเป็นเงื่อนไขระยะสั้นแต่มีต้นทุนที่สูง สมาชิกคลับควบคุมความมีอยู่และราคาของ IRU และการเช่าที่มีความจุที่จำกัด
การพัฒนาของเทคโนโลยีใยแก้วลดลงของต้นทุนแต่ละหน่วยของระบบเคเบิ้ลใต้ทะเล การยกระดับของอุปกรณ์ที่จุดสิ้นสุดของเคเบิ้ลจะเพิ่มความสามารถในการส่งสัญญาณ การเปิดเสรีอาจก่อให้เกิดผู้ประกอบการเอกชนรายใหม่ในการก่อสร้างระบบของตนเองแทนที่จะเข้าร่วมกับคลับของผู้ประกอบการรายใหญ่ เช่น PTAT ที่ลากผ่านมหาสมุทรแอนแลนติกเหนือ
กรณีศึกษาของ FLAG
FLAG (Fiber-optic Link Around the Globe) เริ่มให้บริการตั้งแต่ปี ค.ศ. 1997 และเป็นหนึ่งระบบของเอกชนที่เจ้าของร่วมเป็นบรรษัทโทรคมนาคมเอกชน FLAG consortium ประกอบด้วยหกฝ่ายที่ได้รับการสนับสนุนโดยสถาบันทางการเงินระหว่างประเทศมากกว่า 30 แห่ง ในระยะแรกของการดำเนินงาน FLAG ไม่ได้จำกัดสมาชิกของกิจการร่วมแต่ประสงค์ที่จะเสนอขายความจุแก่ผู้ประกอบการอื่น เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการรายใหม่ที่เกิดจากการเปิดเสรีกิจการโทรคมนาคมระหว่างประเทศ FLAG อนุญาตให้ผู้ประกอบการซื้อความจุเท่าที่ต้องการแทนที่การบังคับให้ซื้อความจุที่กำหนดตายตัวเหมือนรูปแบบในอดีต
FLAG เป็นเจ้าของและดำเนินการโครงข่ายแบบ low-latency, global MPLS-based IP network ที่เชื่อมต่อกับชุมสายอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศ โดยเสนอผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายรวมทั้ง global bandwidth, IP, Internet, Ethernet และบริการ Co-location ในเดือนธันวาคม 2006 Reliance Communications ประกาศจะสร้างโครงข่ายเคเบิ้ลใต้ทะเลแบบ IP ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งเรียกว่า FLAG Next Generation Network (NGN) ซึ่งจะมีมูลค่าการลงทุนสูง 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯและต้องวางสายเคเบิ้ลใยแก้วเพิ่มกว่า 50,000 กิโลเมตร หากโครงการเสร็จสมบูรณ์ ระบบจะรองรับได้ประมาณ 60 ประเทศและมีสายเคเบิ้ลยาวกว่า 115,000 กิโลเมตร
ก่อนมีการเปิดเสรีผู้ให้บริการโทรคมนาคมของแต่ละประเทศได้เข้าร่วมระบบเคเบิ้ลใต้ทะเลระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นระบบแบบคลับปิด การเปิดเสรีในบางประเทศทำให้เกิดระบบเอกชนขึ้นในขณะเดียวกันพัฒนาการทางเทคโนโลยีได้เพิ่มขีดความสามารถของระบบอย่างรวดเร็ว ในขณะที่วัตถุประสงค์หลักของระบบเคเบิ้ลใต้ทะเลในอดีตจะตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบกิจการสมาชิกของคลับ FLAG มีวัตถุประสงค์นำเสนอความจุแก่ผู้ประกอบกิจการ นอกเหนือจากสมาชิกที่ร่วมลงทุนตั้งแต่เริ่มต้นดำเนินการ ผู้ประกอบการรายใหม่ที่ปรากฏหลังการเปิดเสรีบริการโทรคมนาคมระหว่างประเทศในบางประเทศต้องเผชิญความยากลำบากในการได้รับความจุที่จำเป็นของระบบเคเบิ้ลใต้ทะเลจากคลับ FLAG อนุญาตให้ผู้ประกอบกิจการซื้อระบบตามที่ต้องการจากคลับ แทนที่จะบังคับให้ซื้อความจุตั้งแต่แรกเริ่มคล้ายระบบเดิมในอดีต ลักษณะเฉพาะของ FLAG คือเส้นทาง ซึ่งมุ่งเน้นความจุของระบบเคเบิ้ลใต้ทะเลระหว่างยุโรป ตะวันออกกลาง และเอเซียและจะสร้างระบบคู้ขนานกับเส้นทาวดังกล่าว
นอกจาก FLAG แล้วยังมีระบบเคเบิ้ลใต้ทะเลอีกระบบหนึ่งคือ SEA-ME-WE 3 ซึ่งเริ่มวางแผนพร้อม ๆ กับ FLAG เจ้าของ SEA-ME-WE 3  คือผู้ประกอบการรายใหญ่ของประเทศต่าง ๆ ทั้งสองระบบจึงเป็นคู่แข่งขันกัน ในช่วงเริ่มต้นของต้นทศวรรษที่ 1990 แผนสำหรับระบบเคเบิ้ลใต้ทะเลที่อาจตอบสนองการเพิ่มขึ้นจำนวนมากของความต้องการที่เกิดจากอินเทอร์เน็ต OXYGEN เป็นหนึ่งในระบบเคเบิ้ลใต้ทะเลแรกที่ให้ความสำคัญกับความต้องการที่เกิดจากอินเทอร์เน็ตในระยะแรก แผนของ OXYGEN ประกาศในปี ค.ศ. 1997 มีจุดเชื่อมต่อบนแผ่นดินจำนวน 265 จุดใน 171 ประเทศและมีความยาวรวมทั้งสิ้น 300,000 กิโลเมตร ความจุของระบบมีจำนวนมหาศาลและเป็นเจ็ดเท่าใหญ่กว่าระบบ FLAG ระบบ OXYGEN ได้ยอมรับวิธีการที่แตกต่างอย่างมากของการให้บริการ ในอดีตความจุของเคเบิ้ลใต้ทะเลได้รับการเสนอแบบครึ่งวงจรหรือโยเส้นทางที่เชื่อมต่อสองจุด ตั้งแต่เริ่มแรก OXYGEN วางแผนเป็นโครงข่ายมากกว่าเป็นกลุ่มการเชื่อมโยงจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งแบบอิสระ ซึ่งจะสร้างความยืดหยุ่นในการวางเส้นทาง OXYGEN อนุญาตให้ผู้ประกอบการซื้อจำนวนความจุเข้าถึงจำนวนหนึ่งแต่อนุญาตให้ซื้อเพื่อเปลี่ยนเส้นทางหรือจำนวนความจุเท่าที่ต้องการ OXYGEN จัดตั้งระบบคลับขึ้น แต่ในเดือนพฤษภาคม 1998 ได้เปลี่ยนเป็นระบบเอกชน
ในขณะที่ OXYGEN ประสบปัญหาในการหาเงินทุน โครงการใหม่อื่น ๆ บนเส้นทางที่ความต้องการสูงได้มีการประกาศ ระบบดังกล่าวรวมถึง FLAG-ATLANTIC 1 และ Circe Pan-European Network ทั้งสองระบบมีความจุที่สามารถยกระดับได้ไปยังความเร็ว Tera bits per second บางคนคาดหวังว่าความจุทั้งหมดของระบบเคเบิ้ลใต้ทะเลเกิดขึ้นในเส้นทาง transatlantic และ transpacific ที่มีความต้องการใช้งานสูง แตกต่างกันอย่างมากระหว่างระบบใหม่และระบบที่เพิ่งเริ่มต้นแสดงการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและนโยบายในคลับ เช่น การเพิ่มของระบบความจุ การเติบโตของความต้องการ และการเปิดเสรีของเจ้าของสิ่งอำนวยความสะดวก  

ในทศวรรษที่ 1990 มีการพยากรณ์เกี่ยวกับการเติบโตอย่างรวดเร็วในการใช้งานทราฟฟิคในยุคอินเทอร์เน็ต เมื่อเกิดความล้มเหลวของอินเทอร์เน็ตความจุของเคเบิ้ลใต้ทะเลก็มีมากเกินความต้องการ บริษัท Global Crossing, Teleglobe และ Tyco เกิดล้มละลายก่อให้เกิดการโอนสินทรัพย์แก่ผู้ประกอบการรายใหม่ในเอเชีย
ในกรณีของ SAT-3 นักลงทุนเป็นผู้ประกอบการโทรคมนาคมจากประเทศพัฒนาแล้วและผู้ประกอบการรายใหญ่ในแต่ละประเทศที่เคเบิ้ลผ่านและขึ้นฝั่ง ผลก็คือมีแรงจูงใจเพียงเล็กน้อยแก่ผู้ประกอบการโทรคมนาคมจะเพิ่มทราฟฟิคของเคเบิ้ลใต้ทะเลมากกว่าจะรักษาอัตราค่าบริการที่สูงและเก็บกำไรที่ผูกขาด
ในบางประเทศที่มีเคเบิ้ลใต้ทะเลผ่านถูกกีดกันจากคลับและดังนั้นไม่กระตุ้นหรือสถานีเคเบิ้ลชายฝั่งเพราะขาดทราฟฟิค
กรณีศึกษา EASSY
ระบบเคเบิ้ลใต้ทะเลแอฟริกาตะวันออก (East Africa Submarine System: EaSSy) ได้วางแผนเพื่ออุดช่องว่างการให้บริการเคเบิ้ลใต้ทะเลและเชื่อมโยงกับการให้บริการเคเบิ้ลใต้ทะเลไปยังประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล ในระยะแรกของแผนได้รับการสนับสนุนจากธนาคารโลกคือการสร้างระบบเปิด ซึ่งเปิดการเข้าถึงสถานีเคเบิ้ลชายฝั่ง อย่างไรก็ตาม มีข้อเสนอโต้แย้งสำหรับระบบคลับที่รัฐบาลและผู้ประกอบการพิจารณาเพื่อดึงดูดในเชิงพาณิชย์ แต่ผลจากการประชุมหลายครั้งมีความตกลงเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย
ประเทศเคนยาที่ไม่มีการเชื่อมต่อเคเบิ้ลใต้ทะเลไม่สามารถเชื่อมต่อกับระบบ EaSSy ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2007 การก่อสร้างคาดว่าจะแล้วเสร็จคือระบบ East African Marine System: TEAMS) ซึ่งเป็นเคเบิ้ลใยแก้วที่ลากเชื่อมจาก Mombesa ไปยัง Fujairah ในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรต์ (United Arab Emirates (UAE) ที่รัฐบาลเคนย่าจะมีการยึดถือสี่สิบเปอร์เซ็นต์ โครงข่ายข้อมูลเคนย่า (Kenya Data Network: KDN) เข้าทำสัญญากับ FLAG Telecom เพื่อก่อสร้าวสายเชื่อมโยงใยแก้วนำแสงไปยัง Mombasa, Nairobi และ Busia ไปยังจุดเชื่อมต่อที่ชายฝั่งเยเมน ทั้งหทดคาดว่าจะแล้วเสร็จและดำเนินการได้ในต้นปีของปี ค.ศ. 2008
ประเด็นสำคัญคือจำนวนความจุที่มีมากมหาศาลที่อาจยากในการคืนทุนที่ความเสี่ยงอาจมีการลดราคาต่ำกว่าทุนและล้มละลาย
การกำกับดูแลการเข้าถึงบริการดาวเทียมมีประเด็นปัญหาในบางประเทศ ความพยายามที่ยอมให้คู่แข่งขันของผู้ประกอบการรายใหญ่ใช้คือบริการ VSAT (Very Small Aperture Terminal) ที่เกิดการต่อต้านอย่างมาก อย่างไรก็ตาม มีการใช้กันมากในโทรศัพท์พื้นฐาน รวมทั้ง domestic backhaul และบริการโทรคมนาคมระหว่างประเทศ
มีกรณีพิเศษสำหรับประเทศที่ไม่มีทางออกทะเลที่ต้องผ่านประเทศอื่นเพื่อเข้าถึงเคเบิ้ลใต้ทะเล ตัวอย่างเช่น Ethiopia ที่ติตดั้งสายใยแก้วนำแสงไปยังซูดานเพื่อให้เชื่อมต่อไปยังบริการระหว่างประเทศได้โดยผ่านสถานีเคเบิ้ลใต้ทะเลของซูดาน และไม่ต้องพึงพาแต่การสื่อสารผ่านดาวเทียมเท่านั้น ธนาคารโลกยังได้ให้ความช่วยเหลือทางการเงินในโครงการโครงข่ายโทรคมนาคมใยแก้วนำแสงในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของเชื่อมต่อโครงการโครงข่ายไฟฟ้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประเทศหมู่เกาะเล็ก ๆ (SIDS) เช่น Sao Tome & Principe, Seychelles และ Comoros Islands ไม่สามารถชั่งน้ำหนักต้นทุนของเคเบิ้ลใต้ทะเลได้ จึงต้องเชื่อมต่อผ่านระบบดาวเทียม แต่บางประเทศ เช่น Mauritius และ Reenion มีโอกาสที่จะได้รับสถานีเคเบิ้ล ในขณะที่การแข่งขันเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และพิสูจน์ชัยชนะของการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในโทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบบการเข้าถึงเคเบิ้ลใต้ทะเลยังคงไม่ได้รับการปฏิรูป จึงกล่าวเป็นอุปสรรคสำหรับการพัฒนาการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและบริการโทรมนาคมระหว่างประเทศในประเทศแอฟริกา

ข้อพิพาทการจัดสรรคลื่นความถี่ดาวเทียมในยุโรป

ในวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ศาลปกครองของอังกฤษได้ปฏิเสธคำขอของบริษัท ICO Satellite Limited หรือ ICO ในการทบทวนคำวินิจฉัยทางปกครองของสำนักงานกำกับดูแลกิจการสื่อสารหรือ OFCOM ในการยื่นต่อสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ในการยกเลิกคำขอของบริษัท ICO ต่อนายทะเบียนหลักคลื่นความถี่ระหว่างประเทศ (Master International Frequency Register หรือ MIFR) สำหรับระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมในกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ICO-P  ในคำพิพากษา ICO v. OFCOM มีสาระสำคัญว่าบทบาทของสำนักงานกำกับดูแลกิจการสื่อสารในฐานะหน่วยงานของประเทศในการประสานงานกับสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิในคลื่นความถี่ในระดับระหว่างประเทศและในการติดตามตรวจสอบการใช้คลื่นความถี่ที่ได้จัดสรรแก่ผู้ประกอบการการดาวเทียมสื่อสาร กระบวนการของสำนักงานกำกับดูแลกิจการสื่อสารเกี่ยวกับการบริหารการยื่นขอให้บริการดาวเทียมสื่อสารได้กำหนดรายละเอียดของรายงานสถานะของการดำเนินการเกี่ยวกับคลื่นความถี่ที่ผู้ประกอบการได้รับการจัดสรรแก่สำนักงานกำกับดูแลกิจการสื่อสาร หลักฐานต้องประกอบด้วยแผนธุรกิจของผู้ประกอบการ ความคืบหน้าและสถานะของการประสานงานคลื่นความถี่ตามข้อมูลที่ได้รับจากผู้ประกอบ สำนักงานกำกับดูแลกิจการสื่อสารมีอำนาจในการสั่งยกเลิกการยื่นคำขอต่อสหภาพโทรคมนคามระหว่างประเทศได้
ข้อเท็จจริง
ประเด็นหลักของคดีนี้คือ ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2004 OFCOM ได้แจ้งสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศว่าโครงข่ายดาวเทียมของ ICO-P ได้มีการนำมาใช้งานตามหลักเกณฑ์ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศตามที่ ICO ได้ยื่นคำขอไว้ แผนธุรกิจที่ยื่นต่อ OFCOM นั้น ICO ระบุว่าโครงข่ายดาวเทียม ICO-P ประกอบด้วยโครงข่ายของดาวเทียม 12 ดวง และดาวเทียมทุกดวงได้ยิงขึ้นในปี ค.ศ. 2005 ปัจจุบันนี้ ICO ได้ยิงดาวเทียมขึ้นเพียงหนึ่งดวงเท่านั้น
สามวันหลังจากที่ OFCOM ประกาศแจ้ง ICO ได้ยุติการก่อสร้างดาวเทียมและสัญญาปล่อยดาวเทียมขึ้นกับบริษัท Boeing เนื่องจากเกิดข้อพิพาทในการปฏิบัติตามสัญญา ข้อพิพาทดังกล่าวศาลชั้นต้นในประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีคำพิพากษาให้ ICO ชนะ แต่บริษัท Boeing ได้อุทธรณ์คำพิพากษาต่อและยังคงอยู่ในชั้นพิจารณาอุทธรณ์ ในช่วงเวลาดังกล่าว OFCOM ไม่ได้แจ้งข่าวสารใด ๆ จาก ICO ในเรื่องดังกล่าวและทราบเรื่องจากการรายงานข่าวของสื่อมวลชน ในการโต้ตอบสื่อสารระหว่าง OFCOM กับ ICO นั้น OFCOM ได้มีหนังสือถึง ICO ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2006 แจ้งให้ ICO แสดงหลักฐานข้อมูลภายในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2007 ซึ่ง ICO มีสัญญาในการดำเนินการและปล่อยดาวเทียมที่เหลืออยู่ตามโครงการโครงข่ายดาวเทียม และมีเงินทุนที่จำเป็นในการดำเนินการตามโครงการดังกล่าว
ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2008 ICO ไม่ได้แสดงหลักฐานหรือข้อมูลอย่างเพียงพอที่แสดงให้เห็นว่าดาวเทียม ICO-P พร้อมที่ยิงขึ้นดำเนินการ เช่น สัญญาที่จำเป็นที่ทดแทนการยิงดาวเทียมอื่นหรือ ICO มีงบประมาณในการยิงดาวเทียม OFCOM จึงแจ้ง ICO เกี่ยวกับคำวินิจฉัยชั่วคราวที่แจ้งต่อ ITU เพื่อยกเลิกการยื่นของ ICO-P ในชั้น MIFR ภายใต้เงื่อนไขว่ามีการแสดงหลักฐานจาก ICO ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 OFCOM แจ้ง ICO ว่า OFCOM ได้พิจารณาแจ้งต่อ ITU ขอยกเลิกคำขอของ ICO-P เนื่องจาก ICO ไม่แสดงหลักฐานให้เป็นที่ประจักษ์ตามที่ OFCOM กำหนดแจ้งไว้แล้วในสองเรื่องดังกล่าว
ข้อโต้แย้งของบริษัท ICO
ICO ได้ยื่นขอให้ศาลยุติธรรมทบทวนคำวินิจฉัยของ OFCOM ในสามประเด็นคือ
OFCOM กำหนดปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูลพื้นฐานที่ผิดพลาดว่า OFCOM มีหน้าที่ตามหลักเกณฑ์ของ ITU ในการแจ้งยกเลิกคำขอของ ICO เนื่องจากเหตุผลในเรื่องความล่าช้าในการก่อสร้างและดำเนินการโครงการดาวเทียมภายในระยะเวลาที่กำหนดโดย OFCOM
OFCOM ไม่ได้พิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น
ขาดการแจ้งที่จำเป็นในการยกเลิกคำขอ ICO-P ในชั้น MIFR ในเวลาดังกล่าว และขาดการแจ้งต่อบุคคลที่สาม
ผลกระทบทางลบของคำวินิจฉัยของ OFCOM ต่อ ICO
ความเป็นไปได้ของข้อพิพาทกับบริษัท Boeing ที่อาจเสร็จสิ้นในระหว่างกระบวนการอุทธรณ์ในสหรัฐอเมริกา
มาตรา 13.6 ของข้อบังคับวิทยุคมนาคมของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ที่กำหนดว่าขอบเขตของของการกระทำสามารถดำเนินการได้หลากหลายในแต่ละสถานการณ์ ซึ่งการยกเลิกเป็นทางเลือกหนึ่ง
คำวินิจฉัยของ OFCOM จากสถานการณ์ดังกล่าวไม่สอดคล้องกับหลักการการได้สัดส่วน
คำพิพากษา
ผู้พิพากษา Lloyd Jones ของศาลปกครองปฏิเสธข้อกล่าวอ้างทั้งสามข้อของ ICO
ประการแรก OFCOM ไม่ได้ตัดสินใจตามปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้อง ไม่ได้ดำเนินกระบวนการตามที่ OFCOM ,หน้าที่ของระบบสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศในการยกเลิกคำขอของ ICO ในสถานการณ์ดังกล่าว OFCOM เพียงดำเนินการตามแนวปฏิบัติ ซึ่ง ICO ไม่ได้โต้แย้งในคดีนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้ว OFCOM มีสิทธิสอบถาม ICO ให้แสดงหลักฐานในเรื่องดังกล่าวและคำวินิจฉัยของ OFCOM ก็พิจารณาตามพื้นฐานว่า ICO ไม่ได้ดำเนินการตามที่ OFCOM กำหนด
ประการที่สอง OFCOM ไม่ได้พิจารณาข้อมูลหรือปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ
ไม่มีเอกสารของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศแนะนำว่าจำเป็นหรือเหมาะสมในการพิจารณาว่าอาจกระทบถึงบุคคลที่สามในการยื่นคำขอก่อนที่จะยกเลิกคำขอ การกำหนดให้ OFCOMพิจารณาผลกระทบที่อาจเกิดต่อบุคคลที่สามนั้นไม่สามารถใช้บังคับได้เพราะเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติสำหรับ OFCOM ในการประเมินผลจากการคาดการณ์ของการยื่นคำขอดาวเทียมอื่นทั้งหมดและรวมถึงการยื่นคำขอดาวเทียมในอนาคตด้วย
ไม่มีเอกสารของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศหรือแนวปฏิบัติที่สนับสนุนผลกระทบของการยกเลิกคำขอรับการจัดสรรคลื่นความถี่แก่ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องเป็นข้อพิจารณาสำคัญ ข้อเท็จจริงเพียงว่ามีการลงทุนมหาศาลโดยรวมมากกว่า 3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯในการยื่นคำขอดาวเทียม ICO-P ไม่สามารถนำมาใช้สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะที่แจ้งไว้ซึ่งไม่สามารถได้รับความคุ้มกันจากการยกเลิกดังกล่าว ในทางกลับกันศาลสังเกตว่าการแนบข้อมูลดังกล่าวเพื่อพิจารณาปัจจัยดังกล่าวอาจทำให้ทำร้ายวัตถุประสงค์ของระบบการกำกับดูแลที่มีเหตุผล การใช้งานคลื่นความถี่ที่มีประสิทธิภาพและประหยัด
OFCOM ได้พิจารณาอย่างรอบคอบถึงผลลัพธ์ที่เป็นไปได้กับ Boeing แต่ OFCOM มีสิทธิชัดเจนในการตัดสินใจว่า ICO ไม่ได้แสดงหลักฐานที่เพียงพอว่า ICO สามารถสรุปสัญญากับ Boeing ได้ ICO ไม่ได้ล้มเหลวตามมาตรา 13.6 ของข้อบังคับวิทยุของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ
ในประเด็นเรื่องความได้สัดส่วนนั้น ศาลเห็นว่าการบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว คำตัดสินของ OFCOM มีความจำเป็นเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของแนวปฏิบัติและโดยเฉพาะอย่างยิ่งหาก OFCO< ใช้มาตรการบังคับที่ลดความรุนแรงลงในสถานการณ์ดังกล่าว ศาลตัดสินว่าหน่วยธุรการของประเทศพิจารณาว่าการยื่นไม่ได้ใช้งานตามความเป็นจริงและไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะโต้แย้ง ซึ่งหากมีการแก้ไขปรับปรุงหรือระงับไว้ชั่วคราวของคำขอดังกล่าวอาจมีความเหมาะสมนั้น การยกเลิกก็มีความจำเป็นและไม่มีวิธีการแก้ไขเยียวยาที่มีประสิทธิภาพอื่นมีอยู่ให้เลือก
บทเรียนที่ได้จากคำพิพากษานี้ สรุปได้ดังนี้
การใช้คลื่นความถี่และตำแหน่งวงโคจรดาวเทียม ทรัพยากรที่จำกัดและมีมูลค่า โดยเฉพาะในปัจจุบันมีความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นสำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่และกิจการสื่อสารไร้สายคือการประสานงานในระหว่างระหว่างประเทศโดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้สหประชาชาติมีประเทศสมาชิก 191 ประเทศ รวมถึงสหราชอาณาจักร การประสานคลื่นความถี่มีความจำเป็นเพื่อหลีกเลี่ยงการรบกวนอย่างรุนแรงในการส่งสัญญาณวิทยุและประกันการใช้ทรัพยากรอย่างสมเหตุสมผล คุ้มค่า และมีประสิทธิภาพ ผู้ประกอบการในสหราชอาณาจักรที่ประสงค์จะยื่นคำขอรับจากสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศในการบริหารจัดการและดำเนินการเกี่ยวกับการยื่นขอรับอนุญาตในกิจการดาวเทียมต้องดำเนินการผ่านสำนักงานกำกับดูแลกิจการสื่อสาร (OFCOM) การยื่นคำขอรับดังกล่าวต่อสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศเพื่อขอรับอนุญาตการใช้คลื่นความถี่ที่ประสงค์จะใช่สามารถจดทะเบียนได้ที่ MIFR และได้รับการยอมรับในระหว่างประเทศ

ผลกระทบต่อผู้ประกอบการดาวเทียม
ประการแรก คำวินิจฉัยเน้นการดำเนินการที่มุ่งมั่นที่กำหนดโดย OFCOM ในแนวปฏิบัติซึ่งกำหนดเงื่อนไขมากกว่าหลักเกณฑ์ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในข้อ 5.3 ของแนวปฏิบัติ OFCOM กำหนดข้อมูลเชิงพาณิชย์ในรายละเอียดจากผู้ยื่นคำขอเพื่อพิจารณาประกอบการยื่นจัดตั้งให้บริการโครงข่ายดาวเทียมว่าต้องมีเงินทุนสนับสนุนเพียงพอ
ประการที่สอง OFCOM จะติดตามตรวจสอบความก้าวหน้าของการดำเนินงานของผู้ยื่นคำขอใบอนุญาตใช้งานคลื่นความถี่วิทยุโดยอ้างอิงกับแผนธุรกิจรวมทั้งระบบทางเทคนิคและกรอบเวลาที่ระบุไว้ว่าผู้ประกอบการยื่นไว้กับ OFCOM ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวังรอบคอบในการจัดเตรียมแผนธุรกิจเพื่อสนับสนุนการยื่นต่อสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการดาวเทียมควรต้องกำหนดให้แผนธุรกิจมีความยืดหยุ่นซึ่งอาจเกิดจากข้อพิพาทที่เกี่ยวเนื่องที่อาจมีผลกระทบต่อการใช้งานคลื่นความถี่
ประการสุดท้ายคำวินิจฉัยเน้นความสำคัญของความจำเป็นที่ผู้ประกอบการดาวเทียมต้องดำเนินการด้วยความเหมาะสมและในโอกาสต้องแจ้ง OFCOM โดยเฉพาะในกรณีที่ความสามารถของผู้ประกอบการในการก่อสร้างโครงข่ายตามลักษณะที่แจ้งไว้โดยผู้ประกอบการที่เปลี่ยนแปลงนอกเหนือจากการควบคุมของ
หมายเหตุ โครงการ ICO-P เป็นโครงข่ายดาวเทียมวงโคจรระดับกลางที่จะให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในช่วงความถี่ 2 GHz  โดยใช้ดาวเทียม 10 ดวงเพื่อสามารถให้บริการครอบคลุมทั่วโลก

ความรับผิดของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในระบบกำหนดตำแหน่งทั่วโลก (GPS)

ในปี ค.ศ. 1973 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาเริ่มพัฒนาระบบกำหนดตำแหน่งทั่วโลก (Global Positioning System หรือ GPS) และเริ่มดำเนินงานเต็มที่ในปี ค.ศ. 1994 วัตถุประสงค์ของการออกแบบระบบนี้ในเบื้องต้นคือ เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาขีดความสามารถในการนำทางของฝ่ายทหารเท่านั้น ต่อมาในปี ค.ศ. 1983 หลังจากที่ระบบเทคโนโลยีสื่อสารและนำทางของภาคการบินพลเรือนเกิดข้อผิดพลาด อันทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ประกอบการสายการบินพาณิชย์หนึ่ง โดยเครื่องบินพาณิชย์ถูกยิงตกในน่านฟ้าของสหพันธรัฐรัฐเซีย เนื่องจากบินผิดเส้นทางจากการสื่อสารที่ผิดพลาด ประธานาธิบดีเรแกนจึงได้มีคำสั่งอนุญาตให้ภาคพลเรือนสามารถใช้งานระบบดังกล่าวได้ทั่วโลก หากมีการพัฒนาสมบูรณ์แล้ว เพื่อลดปัญหาข้อผิดพลาดในการนำทาง ดังนั้น ระบบกำหนดตำแหน่งทั่วโลกจึงสามารถใช้งานได้ทั่วโลกโดยไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายใด ๆ แก่ผู้ใช้บริการ
นับตั้งแต่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้เปิดให้บริการระบบดังกล่าวเป็นการทั่วไป เกิดคำถามหากระบบกำหนดตำแหน่งทั่วโลกเกิดผิดพลาดหรือล้มเหลวขึ้นมา รัฐบาลสหรัฐอเมริกาต้องรับผิดชอบหรือไม่ เพราะผู้ใช้บริการระบบกำหนดตำแหน่งทั่วโลกส่วนหนึ่งอยู่นอกอาณาเขตสหรัฐอเมริกา คำถามว่าความรับผิดของสหรัฐอเมริกาของระบบกำหนดตำแหน่งทั่วโลกจะขยายไปยังผู้ใช้บริการทั้งคนชาติสหรัฐอเมริกาและไม่ใช่คนชาติอเมริกาหรือไม่

คำถามของความรับผิดของระบบกำหนดตำแหน่งทั่วโลกสามารถแบ่งได้สามประเภท ประเภทแรกคือผู้ผลิตชิ้นส่วนดาวเทียมและส่วนประกอบของดาวเทียมของระบบกำหนดตำแหน่งทั่วโลกทางกายภาพ ประเภทที่สองคือรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในฐานะเป็นเจ้าของและดำเนินงานระบบ ประเภทสามคือผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์และซอฟแวร์ที่จำเป็นในการเข้าถึงและใช้ระบบกำหนดตำแหน่งทั่วโลก ในบทความนี้จะศึกษาความรับผิดของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในฐานะเจ้าของและผู้ให้บริการระบบกำหนดตำแหน่งทั่วโลกที่มีต่อการใช้งานของพลเรือนเท่านั้น  โดยจะพิจารณาตามกฎหมาย

กฎหมายสัญญา (contract law)
ตามหลักการพื้นฐานของกฎหมายสัญญา เนื่องจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาอนุญาตและกำหนดการเข้าถึงบริการโดยไม่เรียกเก็บค่าใช้จ่าย และรัฐบาลไม่ได้มีการจัดทำสัญญาหรือข้อตกลงกับคู่กรณีภายในประเทศหรือต่างประเทศสำหรับการใช้งานดังกล่าว ดังนั้น ไม่เพียงไม่มีพื้นฐานสำหรับการกระทำโดยตรงในสัญญาต่อสหรัฐอเมริกา เพราะไม่มีสัญญาระหว่างกัน และไม่มีพื้นฐานในการกระทำในฐานะสัญญาผู้รับประโยชน์บุคคลที่สามต่อสหรัฐอเมริกา ประกอบกับในทางเทคนิคนั้น การอนุญาตและเปิดการเข้าถึงบริการของระบบกำหนดตำแหน่งทั่วโลก ยากหรืออาจจะเป็นไปไม่ได้เลยที่สหรัฐอเมริกาที่จะตรวจสอบว่าบุคคลใดเป็นผู้ใช้งานระบบกำหนดตำแหน่งทั่วโลก อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในฐานะเจ้าของและผู้ให้บริการระบบกำหนดตำแหน่งทั่วโลกอาจถือว่าเป็นความสัมพันธ์เชิงสัญญาทางอ้อม (implied contract) ตามหลักกฎหมายคอมมอนลอว์ แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องนี้ เพราะหากศาลยอมรับหลักการดังกล่าว อาจมีการเรียกร้องให้รัฐบาลในฐานะเจ้าของและผู้ให้บริการระบบกำหนดตำแหน่งทั่วโลกต้องพิจารณาพัฒนาปรับปรุงระบบกำหนดตำแหน่งทั่วโลกให้มีประสิทธิภาพเพื่อลดความเสี่ยงที่เกิดจากการใช้งานระบบดังกล่าว

กฎหมายละเมิด (torts)
ข้อกฎหมายที่อาจมีความเป็นไปได้ประการหนึ่งคือกฎหมายละเมิด แต่ก็มีปัญหาในการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น เนื่องจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาอาจโต้แย้งความรับผิด โดยการอ้างการคุ้มกันจากความรับผิดภายใต้หลักการคุ้มกันอธิปไตย (sovereign immunity) แต่ก็มิใช่ปัญหาเสียทีเดียวเพราะมีทั้งกฎหมายลายลักษณ์อักษรและสนธิสัญญาจำนวนหนึ่งที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้สละการคุ้มกันอธิปไตยในบางการกระทำ ในการฟ้องร้องดำเนินคดีผู้เสียหายอาจต้องสืบหาการสละการคุ้มกันอธิปไตยจากกฎหมายลายลักษณ์อักษรและสนธิสัญญา รวมทั้งกฎหมายว่าด้วยการฟ้องร้องของต่างชาติ กฎหมายว่าด้วยการฟ้องร้องทางทหาร อนุสัญญาว่าด้วยความรับผิดระหว่างประเทศสำหรับความเสียหายเกิดจากวัตถุอวกาศ การฟ้องร้องในกฎหมายพาณิชย์นาวี และกฎหมายว่าด้วยการฟ้องร้องทางละเมิดของสหพันธรัฐ

กฎหมายว่าด้วยฟ้องร้องของต่างชาติ (Foreign Claims Act)
กฎหมายว่าด้วยการฟ้องร้องของต่างชาติไม่ได้สละการคุ้มกันอธิปไตยในตัวเอง แต่อนุญาตให้มีการฟ้องร้องทางปกครองต่อรัฐบาลสหรัฐอเมริกาโดยคนต่างชาติสำหรับความเสียหายต่อร่างกายและทรัพย์สินที่เกิดขึ้นนอกอาณาเขตของสหรัฐอเมริกาที่เกิดจากกิจกรรมไม่ใช่ทหารโดยเจ้าหน้าที่ทหารและพลเรือนของทหารของสหรัฐอเมริกาไม่ว่าจะกระทำภายในขอบเขตของการว่างจ้างหรือไม่ก็ตาม เนื่องจากระบบกำหนดตำแหน่งทั่วโลกดำเนินการโดยหน่วยงานทางทหารของสหรัฐอเมริกา จึงอาจฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดจากการประมาทเลินเล่อหรือกระทำโดยจงใจของรัฐบาลสหรัฐที่ดำเนินการระบบกำหนดตำแหน่งทั่วโลก ซึ่งเป็นหนทางในการให้การเยียวยาทางกฎหมายทางหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม ในการนำคดีฟ้องร้องตามกฎหมายนี้ ผู้ฟ้องร้องอาจต้องอ้างอิงข้อเรียกร้องว่าเป็นการกระทำของบุคคลเฉพาะรายและต้องไม่ใช่ข้อบกพร่องของระบบ ซึ่งอาจเป็นการยากที่จะพิสูจน์ นอกจากนี้ การเรียกร้องความเสียหายอาจจำกัดเพียง 100,000 เหรียญสหรัฐฯ และการเยียวยาให้การชดเชยเฉพาะการบาดเจ็บแก่บุคคลและความเสียหายจากทรัพย์สิน กฎหมายฉบับนี้ไม่ได้ให้ค่าชดเชยกรณีความสูญเสียทางเศรษฐกิจ

กฎหมายว่าด้วยการฟ้องร้องทางทหาร (Military Claims Act)
กฎหมายว่าด้วยการฟ้องร้องทางทหารอนุญาตให้มีการฟ้องร้องทางปกครองต่อรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในกรณีคนชาติอเมริกันและบุคคลอื่นซึ่งที่ไม่มีข้อเรียกร้องตามกฎหมายว่าด้วยการฟ้องร้องของต่างชาติสำหรับความเสียหายแก่บุคคลและทรัพย์สินที่เกิดจากกิจกรรมที่มิใช่การทหารและเจ้าหน้าที่พลเรือนของทหารสหรัฐอเมริกา กล่าวคือบุคคลที่ได้รับความเสียหายดังกล่าวถูกกระทำภายในขอบเขตของการจ้างหรือไม่ หากกฎหมายข้อเรียกร้องต่างชาติยอมให้มีการเรียกร้องโดยคนต่างชาติกฎหมายว่าด้วยการฟ้องร้องทางทหารยอมให้มีการเรียกร้องโดยคนชาติอเมริกา เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยการฟ้องร้องของต่างชาติ ข้อเรียกร้องเหล่านี้อิงการกระทำทางทหาร แต่เพราะระบบกำหนดตำแหน่งทั่วโลกดำเนินการโดยทหารสหรัฐอเมริกา ซึ่งอาจเป็นแหล่งความรับผิดสำหรับความเป็นเจ้าของและดำเนินการของระบบกำหนดตำแหน่งทั่วโลกของสหรัฐอเมริกา กรณีคล้ายคลึงกับกฎหมายว่าด้วยการฟ้องร้องของต่างชาติ ข้อเรียกร้องถูกจำกัดไม่เกินวงเงิน 100,000 เหรียญสหรัฐฯและการเยียวยาให้เฉพาะความเสียหายที่เกิดจากการบาดเจ็บร่างกายและทรัพย์สิน นอกจากนี้ กฎหมายนี้ไม่ได้ชดเชยความสูญเสียทางเศรษฐกิจ

การฟ้องร้องในกฎหมายพาณิชย์นาวี (Suits in Admiralty Act)
กฎหมายพาณิชย์นาวีอนุญาตให้มีการฟ้องร้องรัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ เนื่องจากรัฐบาลได้สละการคุ้มกันอธิปไตยสำหรับกรณีฟ้องร้องตามบทบัญญัติพาณิชย์นาวีที่เกิดในเขตทะเลหลวงหรือน่านน้ำของสหรัฐอเมริกา โดยมีการเทียบเคียงว่า หากหน่วยงานรัฐบาลเข้าทำการซ่อมบำรุงประภาคาร และเกิดความเสียหายขึ้นจากการหยุดการใช้งานประภาคารหรืออุปกรณ์สื่อสารมีข้อบกพร่อง รัฐบาลอาจต้องรับผิดตามกฎหมายนี้ ดังนั้น จึงอาจมีความเป็นไปได้ว่าหากระบบกำหนดตำแหน่งทั่วโลกถูกใช้ในการเดินทะเล และเกิดความเสียหายขึ้นจากการที่ระบบกำหนดตำแหน่งทั่วโลกทำงานบกพร่องส่งผลให้ผู้ใช้งานหลงทางในทะเล ก็อาจนำมาฟ้องร้องตามกฎหมายนี้ได้ อย่างไรก็ตามข้อจำกัดตามกฎหมายนี้คือ การจำกัดความเสียหายต่อบุคคลและทรัพย์สิน แต่ไม่ชดเชยความสูญเสียทางเศรษฐกิจ

อนุสัญญาความรับผิดระหว่างประเทศสำหรับความเสียหายที่เกิดจากวัตถุอวกาศ (Convention on International Liability for Damage Caused by Space Objects)
สหรัฐอเมริกากับประเทศอื่นที่ให้สัตยาบรรณอนุสัญญาว่าด้วยความรับผิดระหว่างประเทศสำหรับความเสียหายที่เกิดจากวัตถุอวกาศเป็นความรับผิดที่จำกัดสำหรับวัตถุที่มาจากอวกาศโดยประเทศที่เป็นสาเหตุก่อให้เกิดความเสียหายบนพื้นผิวโลกหรือต่ออากาศยานในระหว่างการบินโดยวัตถุอวกาศ อนุสัญญาฉบับนี้ไม่น่าจะเป็นฐานอ้างอิงที่ก่อให้เกิดความรับผิดของรัฐบาลสำหรับระบบกำหนดตำแหน่งทั่วโลก ประการแรกข้อเรียกร้องไม่สามารถดำเนินการโดยบุคคล แต่ต้องฟ้องร้องโดยรัฐที่เป็นคู่สัญญาในอนุสัญญา นอกจากนี้ ภาษาของอนุสัญญาและการแสดงออกของอนุสัญญาและผู้วิจารณ์ทั้งหมดเสนอแนะว่าอนุสัญญาหมายความถึงการครอบคลุมความเสียหายทางกายภาพโดยตรง ณ ผิวโลกที่เกิดจากการทำงานผิดพลาดระหว่างการปล่อยหรือความล้มเหลวของวัตถุในการเผาไหม้ตอนตกกลับเข้ามา ซึ่งปรากฏในการขจัดความเสียหายที่เกิดจากการพลาดหรือไม่ถูกต้องของการให้สัญญาณทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดจากระบบกำหนดตำแหน่งทั่วโลก

กฎหมายว่าด้วยการฟ้องร้องทางละเมิดของสหพันธรัฐ (Federal Tort Claims Act)
ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการฟ้องร้องทางละเมิดของสหพันธรัฐ รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้สละการคุ้มกันอธิปไตยสำหรับ “ความเสียหายหรือสูญเสียของทรัพย์สิน หรือการบาดเจ็บบุคคลหรือตายที่เกิดจากการประมาทหรือการกระทำที่ไม่ชอบหรือละเว้นของลูกจ้างของรัฐบาล ในขณะที่การกระทำภายในขอบเขตของการทำงานหรือการจ้างภายใต้ขอบเขตของรัฐบาล หากบุคคลเอกชนอาจรับผิดชอบต่อผู้เรียกร้องตามกฎหมายของสถานที่ที่การกระทำหรือการละเว้นเกิดขึ้น”
กฎหมายว่าด้วยการฟ้องร้องทางละเมิดของสหพันธรัฐเป็นแหล่งความรับผิดที่ใกล้เคียงที่สุดสำหรับรัฐบาลสหรัฐในการเป็นเจ้าของและดำเนินการระบบกำหนดตำแหน่งทั่วโลก แต่จำนวนข้อยกเว้นอาจทำให้การเยียวยาสำหรับความล้มเหลวของระบบกำหนดตำแหน่งทั่วโลกเป็นความซับซ้อนของกฎระเบียบที่ต้องมีการเจรจาก่อการเยียวยาจะเป็นไปได้ ประการแรกข้อเรียกร้องต้องกำหนดการกระทำเฉพาะของบุคคลที่จ้างโดยรัฐบาลสหพันธรัฐ ดังนั้น ความล้มเหลวของระบบกำหนดตำแหน่งทั่วโลกโดยปราศจากเหตุที่เป็นคุณสมบัติของการกระทำหรือละเว้นกระทำการของบุคคลที่ไม่อาจนำข้อเรียกร้องภายในขอบเขตของกฎหมายข้อเรียกร้องทางละเมิดสหพันธรัฐ ประการที่สอง การกระทำที่ผิดต้องมิใช่การกระทำที่จงใจ มาตรฐานคือการประมาทเลินเล่อ ประการที่สามการกระทำต้องไม่เป็นข้อยกเว้นการทำงานโดยใช้ดุลพินิจต่อกฎหมายว่าด้วยการฟ้องร้องทางละเมิดสหพันธรัฐ ข้อยกเว้นดังกล่าวขึ้นอยู่กับการกระทำหรือละเว้นการกระทำของลูกจ้างของรัฐบาล การใช้อำนาจด้วยความระมัดระวังที่ชอบ ในการบริหารจัดการกฎหมายและระเบียบว่ากฎระเบียบชอบด้วยกฎหมายหรืออิงการดำเนินงานหรือความล้มเหลวในการบริหารหรือดำเนินการทำงานโดยใช้ดุลพินิจหรือหน้าที่ในส่วนของหน่วยงานรัฐบาลกลางหรือลูกจ้างของรัฐบาลว่าการใช้ดุลพินิจเกี่ยวข้องเป็นไปโดยมิชอบ
ปรากฏจำนวนคดีมากมายในเรื่องข้อยกเว้นการใช้ดุลพินิจของกฎหมายว่าด้วยการฟ้องร้องทางละเมิดของสหพันธรัฐ แต่อาจสรุปเป็นการป้องกันสหรัฐอเมริกาสำหรับข้อเรียกร้องอิงการกระทำหรือละเว้นการกระทำของลูกจ้างของรัฐบาล การใช้ความระมัดระวังโดยชอบ ในการดำเนินงานกฎหมายหรือระเบียบว่ากฎหมายหรือระเบียบชอบหรือไม่ หรืออิงการใช้อำนาจหรือดำเนินการหรือความล้มเหลวในการใช้อำนาจดุลพินิจหรือหน้าที่ของส่วนหน่วยงานสหพันธรัฐหรือลูกจ้างของรัฐบาลไม่ว่าการใช้ดุลพินิจที่เกี่ยวข้องจะชอบหรือไม่ก็ตาม ผลทำให้เกิดว่าลูกจ้างใช้ดุลพินิจในการตัดสินใจที่นำไปสู่ความเสียหาย การกระทำหรือละเว้นการกระทำต้องเป็นหนึ่งในการประมาทและไม่ใช่การตัดสินใจที่ผิดในการใช้ดุลพินิจของการจ้างงาน
ข้อจำกัดที่สี่ของกฎหมายว่าด้วยการฟ้องร้องทางละเมิดสหพันธรัฐคือการไม่สามารถใช้บังคับข้อเรียกร้องที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ ซึ่งไม่อาจห้ามคู่กรณีต่างชาติที่ได้รับความเสียหายโดยระบบกำหนดตำแหน่งทั่วโลก ตัวอย่าง ใน In re Paris Air Crash of March 3, 1974 ศาลตัดสินว่าข้อเรียกร้องต้องไม่ถูกห้ามตามกฎหมายข้อเรียกร้องทางละเมิดสหพันธรัฐ ว่าอุบัติเหตุการชนดังกล่าวเกิดขึ้นในฝรั่งเศส สาเหตุของอุบัติเหตุเกิดจากการอนุมัติที่ผิดพลาดของการประกันการตรวจสอบอากาศยานในมลรัฐแคริฟอร์เนีย
คล้ายกับข้อโต้แย้งที่อ้างว่าแม้ว่าความเสียหายอาจเกิดในต่างประเทศ หากสาเหตุของความเสียหายเกิดขึ้นคือการรับสัญญาณระบบผิดพลาดหรือบกพร่องเริ่มต้นจากสหรัฐอเมริกา สาเหตุความเสียหายเกิดในสหรัฐอเมริกา แม้ว่าข้อยกเว้นของกฎหมายข้อเรียกร้องทางละเมิดสหพันธรัฐจะให้ข้อจำกัดความรับผิดบางอย่างสำหรับรัฐบาลในกรณีระบบกำหนดตำแหน่งทั่วโลกล้มเหลว แม้ว่าขอบเขตจำกัดสามารถหายไปได้หากรัฐสภาเพิ่มข้อยกเว้นกฎหมายว่าด้วยการฟ้องร้องทางละเมิดของสหพันธรัฐที่ห้ามข้อเรียกร้องที่เกิดจากระบบกำหนดตำแหน่งทั่วโลก ข้อยกเว้นดังกล่าวเกิดขึ้น เช่น บริการไปรษณีย์
โดยสรุป ในปัจจุบัน ความรับผิดของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในฐานะเจ้าของและผู้ดำเนินงานระบบกำหนดตำแหน่งทั่วโลกในทางกฎหมายยังไม่มีความชัดเจนโดยเฉพาะอย่างยิ่งความรับผิดต่อบุคคลที่อยู่นอกอาณาเขตของสหรัฐอเมริกามีกฎหมายหลายฉบับที่ดูเหมือนว่าจะเปิดให้มีการฟ้องร้องได้ แต่ก็มีเงื่อนไขและข้อจำกัดในการเรียกร้องค่าเสียหายอยู่ จึงต้องติดตามความคืบหน้าต่อไปเนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีการฟ้องร้องเกิดขึ้น

ภาคผนวกว่าด้วยบริการขนส่งทางอากาศ

ความตกลงว่าด้วยการค้าบริการ (GATS) เป็นความตกลงหลายฝ่ายที่ใช้บังคับกับการค้าบริการทุกประเภท สร้างหลักเกณฑ์สำหรับใช้บังคับกับการค้าบริการ เพื่อให้การค้าบริการสามารถขยายตัวได้ภายใต้เงื่อนไขของความโปร่งใสและการเปิดเสรีตามลำดับ (จาก paragraph 2 of preamble of GATS) และเนื่องจากการขนส่งทางอากาศ จัดเป็นการค้าบริการประเภทหนึ่ง ดังนั้น กฎเกณฑ์ต่างๆ ที่กำหนดไว้ในความตกลงว่าด้วยการค้าบริการ จึงต้องนำมาใช้บังคับกับการขนส่งทางอากาศด้วย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการขนส่งทางอากาศ จัดเป็นการค้าบริการประเภทหนึ่งที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากการค้าบริการประเภทอื่นๆ จึงต้องมีการจัดทำกฎเกณฑ์เฉพาะเพื่อใช้กับการขนส่งทางอากาศ โดยจัดทำเป็นภาคผนวกว่าด้วยการขนส่งทางอากาศ และภาคผนวกนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของความตกลงว่าด้วยการค้าบริการ ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 29 แห่งความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ

อนึ่ง ภาคผนวกว่าด้วยบริการขนส่งทางอากาศเป็นการประนีประนอมระหว่างประเทศสมาชิกที่ต้องการให้รักษาระบบชิคาโกไว้กับประเทศสมาชิกที่ต้องการให้ระบบการบินพลเรือนระหว่างประเทศกลายเป็นระบบพหุภาคีภายใต้องค์การการค้าโลก รายละเอียดของงภาคผนวกมีดังนี้

ขอบเขตการบังคับใช้ (Para. 1, Sentence 1)
ตามบทบัญญัติในประโยคที่หนึ่งวรรคแรกของภาคผนวกว่าด้วยบริการขนส่งทางอากาศ ภาคผนวกใช้บังคับกับมาตรการที่มีผลกระทบต่อการค้าบริการขนส่งทางอากาศไม่ว่าจะเป็นบริการมีตารางเวลาประจำหรือไม่ประจำ และบริการต่อเนื่อง แม้ว่าการค้าบริการขนส่งทางอากาศหรือบริการต่อเนื่องจะไม่มีการให้คำจำกัดความไว้ชัดเจนก็ตาม แต่ก็ชัดจนว่าขอบเขตการบังคับใช้ค่อนข้างกว้าง ประการแรกประเภทของบริการขนส่งทางอากาศครอบคลุมทั้งการขนส่งผู้โดยสาร การขนส่งสินค้า หรือการขนส่งไปรษณียภัณฑ์ไม่ว่าจะประจำเส้นทางหรือไม่ก็ตาม และบริการต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เช่น การจัดการภาคพื้น ประการที่สอง ไม่ใช่มาตรการที่มีเป้าหมายเกี่ยวข้องโดยตรงกับบริการขนส่งทางอากาศครอบคลุม การอยู่ภายใต้ขอบเขตดังกล่าวเพียงพอที่มาตรการจะส่งผลต่อการขนส่งทางอากาศ ตามวัตถุประสงค์ของการรวมมาตรการใด ๆ ที่อาจเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของการแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการภายในประเทศและต่างประเทศ คำว่า มีผลกระทบ ควรต้องตีความอย่างกว้าง โดยรวมทุกอย่างที่มีผลกระทบโดยตรงหรือทางอ้อมต่อบริการขนส่งทางอากาศ

ข้อยกเว้นทั่วไป (General Carve-Out (Para. 2)
สำหรับวรรคสองของภาคผนวกว่าด้วยการขนส่งทางอากาศได้ยกเว้นสิทธิการบินและบริการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการใช้สิทธิการบินจากขอบเขตของข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ ถ้อยคำที่ยกเว้นอุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศแทบจะทั้งหมดจากข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ การยกเว้นดังกล่าวเป็นหนึ่งในสาขาเฉพาะซึ่งเหตุผลหลักของการยกเว้นทั้งสาขาบริการเพราะประเทศสมาชิกยังคงเครือข่ายของข้อตกลงทวิภาคีที่ซับซ้อนอยู่
 สิทธิการบินถูกให้คำจำกัดความในวรรคหก (d) ของภาคผนวกว่าหมายถึงสิทธิของบริการขนส่งประจำเส้นทางและไม่ประจำเส้นทางในการให้บริการและหรือขนส่งคนโดยสาร สินค้า และไปรษณีย์ภัณฑ์เพื่อค่าตอบแทนหรือรับจ้างจาก ไปยัง ภายใน หรือข้ามเขตแดนของประเทศสมาชิก รวมถึงจากจุดหนึ่งที่ให้บริการ เส้นทางที่ให้บริการ ประเภทของจราจรที่ขนส่ง ความจุในการให้บริการ อัตราค่าบริการ และเงื่อนไขและหลักเกณฑ์สำหรับเป้าหมายปลายทางของสายการบิน รวมทั้งเกณฑ์ของจำนวน ความเป็นเจ้าของ และการควบคุม ข้อความคิดของบริการที่เกี่ยวข้องโดยตรงไม่ได้ถูกนิยามไว้แต่อาจหมายความรวมถึงสิทธิใดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจกับการดำเนินบริการการบืนระหว่างประเทศ

บริการที่ครอบคลุม (Services Covered)
บริการที่ครอบคลุมอย่างชัดเจน (Paras 3, 6 lit. a–c)
บทบัญญัตอวรรคสามของภาคผนวกว่าด้วยการขนส่งทางอากาศได้ระบุสามบริการอย่างชัดเจนใครอบคลุมอยู่ภายใต้ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการประกอบด้วย (1) บริการซ่อมและบำรุงรักษาเครื่องบิน (2) บริการจำหน่ายและการตลาดบริการขนส่งทางอากาศ และบริการสำรองที่นั่งด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการให้ความมายไว้ในภาคผนวกวรรคหกและถือว่าอยู่ในขอบเขตของข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ ประเทศสมาชิกมีอิสระที่จะตัดสินใจทำข้อผูกพันในสามบริการดังกล่าว
a) บริการซ่อมและบำรุงอากาศยาน (Repair and Maintenance)
ตามบทบัญญัติวรรคหก (a) ของภาคผนวก บริการซ่อมและบำรุงรักษาอากาศยาน ประกอบด้วยกิจกรรมที่ดำเนินการบนอากาศยานหรือบางส่วนของอากาศยานในขณะที่มีการยกเลิกบริการและไม่รวมถึงการบำรุงรักษาตามสายการผลิต (line maintenance)
b) บริการจำหน่ายและการตลาด (Selling and Marketing)
ตามบทัญญัติวรรคหก (b) ประโยคแรกของภาคผนวก การจำหน่ายและการตลาดของบริการขนนส่งทางอากาศอ้างอิงถึงโอกาสของผู้ประกอบการขนส่งทางอากาศในการจำหน่ายและการทำตลาดโดยอิสระสำหรับบริการขนส่งทางอากาศของตน รวมถึงทุกแง่มุมของการทำการตลาด เช่น การทำวิจัยการตลาด การโฆษณา และการกระจายบริการ บทบัญญัติวรรคหก (b) ประโยคที่สองระบุว่ายกเว้นจากขอบเขตของคำนิยามการกำหนดค่าบริการขนส่งทางอากาศและเงื่อนไขที่ใช้บังคับ

c) บริการสำรองที่นั่งด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer Reservation System)
ในท้ายที่สุดบทบัญญัติวรรคหก (c) ของภาคผนวกระบุทุกบริการที่กำหนดโดยระบบคอมพิวเตอร์ที่มีข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับตารางเวลาของผู้ประกอบกิจการขนส่ง ความมีอยู่ของบริการ อัตราค่าบริการและกฎค่าบริการ โดยผ่านระบบการสำรองที่นั่งล่วงหน้าหรือการออกตั๋วโดยสาร เป็นระบบการสำรองที่นั่งผ่านคอมพิวเตอร์ (Computer reservation system หรือ CRS) ปัจจุบันนี้ไม่เหมือนในเวลาของรอบอุรุกกวัย บริการจองผ่านระบบคอมพิวเตอร์ไม่ได้จำกัดการผ่านตัวแทนจำหน่าย พัฒนาการด้านเทคโนโลยีผ่านระบบอินเทอร์เน็ทเป็นช่องทางจัดจำหน่ายโดยตรงและทางเดียว ความท้าทายในการตีความคือข้อเท็จจริงที่ว่าถ้อยคำดังกล่าวประกอบด้วยการใช้อินเทอร์เน็ทโดยผู้ใช้บริการหรือนักท่องเที่ยว ซึ่งจำเป็นต้องสร้างความชัดเจนถึงขอบเขตของบทบัญญัติวรรคหก (c) ของภาคผนวก
ย้อนกลับไปในปี ค.ศ. 1993 คำนิยามหมายความถึงระบบรวมศูนย์ขนาดใหญ่ที่ดำเนินงานและเป็นเจ้าของโดยสายการบิน เช่น Sabre, Galileo, Amadeus, Worldspan และ Abacus เป็นต้น ซึ่งจะประกันการจองตั๋วโดยสารผ่านตัวแทนจำหน่าย การนิยามดังกล่าวไม่ถูกต้องนั้น แต่ควรขยายครอบคลุมระบบการสำรองที่นั่งผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่ให้บริการโดยตัวแทนจำหน่ายออนไลน์ เช่น Expedia และ Lastminute.com หรือเว็บไซต์ของตัวแทนจำหน่ายดั้งเดิม เช่น Thomascook.com เว็บการประมูลท่า เช่น Priceline.com หรือเว็บไซต์ท่าที่รวบรวมโดยสาบการบินเอง เช่น Opodo และ Orbitz หรือเว็บไซต์กลุ่มพันธมิตร เช่น Star.com และ Skyteam เป็นต้น และแม้กระทั่งเว็บไซต์ของสายการบินก็น่าจะรวมถึงด้วย ซึ่งกรณีดังกล่าวอาจจะคาบเกี่ยวกับบริการจำหน่ายและการตลาด

บริการที่เกี่ยวข้องโดยตรง (Directly Related Services)
ในเนื้อหาของบทบัญญัติวรรคสองของภาคผนวกยกเว้นสิทธิการบินและบริการที่เกี่ยวข้องโดยตรงจากขอบเขตข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยการขนส่งทางอากาศ ซึ่งนำไปสู่ขอบเขตของบริการขนส่งทางอากาศโดยข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ ประเด็นคือบริการที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการใช้สิทธิการบินภายในความหมายของบทบัญยัติวรรคสองของภาคผนวกจะถูแครอบคลุมภายใต้ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการหรือว่าขอบเขตถุกจำกัดสาขาย่อยที่ระบุ-ว้ชัดเจนในขอบเขตของข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการในบทบัญญัติวรรคสามของภาคผนวก (บริการซ่อมแซมและบำรุงรักษา บริการจำหน่ายและการตลาดของบริการขนส่งทางอากาศ และการจองผ่านระบบคอมพิวเตอร์) ประเทศสมาชิกบางประเทศทำข้อผูกพันนอกเหนือจากสาขาย่อยทั้งามสาขา ในทางปฏิบัติ การโต้แย้งในการตีความเนื่องมาจากข้อเท็จจริงว่าบทบัญญัติวรรคสองของภาคผนวกส่งเสริมกฎทั่วไปของการยกเว้นไม่อธิบายความสัมพันธ์การยกเว้นกฎดังกล่าวตามที่ระบุไว้ในบทบัญญัติวรรคสามของภาคผนวกหรือการตามถ้อยคำการบินระหว่างประเทศในจารีตประเพณี ทั้งสองล้วนอยู่ในข้อตกลงทวิภาคี โดยทั่วไปถ้อยคำการบินระหว่างประเทศแยกความแตกต่างระหว่างสิทธิชัดเจน (hard right) ที่อ้างอิงถึงสิทธิการบิน และสิทธิอ่อนกว่า (soft rights) ทั้งสองอยู่ในข้อตกลงทวิภาคี ที่เรียกว่าสิทธิชัดเจนรวมถึงเรื่องเกี่ยกวับการจราจรและสิทธิเส้นทางการจราจร เป้าหมายปลายทางของสายการบิน การควบคุมความจุ และการกำหนดค่าบริการ สำหรับสิทธิอ่อนกว่าเกี่ยกวับการช่วยเหลือการดำเนิการให้บริการขนส่งทางอากาศ เช่น การแลกเปลี่ยนเงินตรา การจัดการภาคพื้นดินและสัมภาระ การบริการอาหาร การตลาด และการใช้บริการสนามบิน จึงไม่น่าแปลกใจมีการถกเถียงกันของประเทศสมาชิกในเรื่องเดียวกันในระหว่างการเจรจารอบอุรุกกวัย ประเทศสมาชิกกลุ่มหนึ่งต้องการเสริมสร้างบทบาทขององค์การการค้าโลกในบริการขนส่งทางอากาศโต้แย้งว่ามีความล่าช้าแต่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องของขอบเขตของบริการที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรง ประเทศสมาชิกเชื่อว่าการจัดการภาคพื้นดินและสัมภาระมีความเชื่อมโยงกับการขนส่งทางอากาศเป็นส่วนใหญ่เพราะบริการเหล่านี้มีประสบการณ์ในการเปิดเสรีและการขยายตัวนับตั้งแต่รอบอุรุกกวัย ในอีกฝ่ายหนึ่งประเทศสมาชิกที่ต้องการเครือข่ายข้อตกลงทวิภาคีโต้แย้งว่าบริการเหล่านี้อ้างถึงบทบัญญัติวรรคสามของภาคผนวกครอบคลุมโดยข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ ข้อโต้แย้งดังกล่าวว่าวัตถุประสงค์หลักของภาคผนวกเป็นการรักษาของข้อตกลงทวิภาคีสนับสนุนความเห็นดังกล่าว
ข้อผูกพันในปัจจุบัน
ข้อผูกพันในบริการขนส่งทางอากาศไม่ได้สูง มีเพียงสามสิบสองประเทศสมาชิกที่ยอมผูกพันในบริการสำรองที่นั่งด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และสามสิบหกประเทศที่จัดทำข้อผูกพันในบริการจำหน่ายและการตลาด

V. เงื่อน Grandfather Clause (Para. 1, Sentence 2)
แม้ว่าจะไม่มีการบังคับใช้ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ ประเทศสมาชิกก็มีส่วนในเครือข่ายข้อตกลงทวิภาคีด้านการเดินอากาศ บทบัญญัติวรรคหนึ่งประโยคสองของภาคผนวกเป็น grandfather โดยกำหนดว่าข้อตกลงทวิภาคีที่มีอยู่ก่อนเหนือกว่าภาคผนวก ภาคผนวกจะเหนือกว่าข้อตกลทวิภาคหรือข้อตกลงภูมิภาคที่มีผลใช้บังคับหลังจากวันที่ข้อตกลงองค์การการค้าโลกมีผลใช้บังคับเท่านั้นคือวันที่ 1 มกราคม 1995 กฎให้ประโยชน์กับประเทศสมาชิกที่มีข้อตกลงทวิภาคีที่พัฒนาแล้ว ทันท่วงที และมีเนื้อหาครอบคลุมกว้างขวางเพื่อตอบสนองความต้องการของสายการบินเนื่องจากประเทศเหล่านั้นไม่ได้ถูกบังคับให้เข้าเจรจาทำสัญญาฉบับใหม่และตกอยู่ภายใต้ขอบเขตของภาคผนวก แต่ความกังวลดังกล่าวอาจกล่าวอ้างเกินจริงเพราะจำนวนข้อตกลงทวิภาคีจำนวนมากเกิดขึ้นก่อนภาคผนวกมีการตกลงกันในและหลังปี ค.ศ. 1995

การระงับข้อพิพาท (Dispute Settlement (Para. 4)
ในบทบัญญัติวรรคสี่ของภาคผนวกเรื่องการระงับข้อพิพาทเทียมเท่ากับเงื่อนไข grandfather สารบัญญัติในวรรคหนึ่งประโยคที่สองของภาคผนวกในเรื่องระดับด้านกระบวนการ สอดคล้อกงันกับที่ประกาศว่าระบบกลไกระงับข้อพิพาทขององค์การการค้าโลกตามความเข้าใจเรื่องการระงับข้อพิพาทอาจเพิกถอนบริการขนส่งทางอากาศได้หากกลไกระงับข้อพิพาทในข้อตกลงระดับทวิภาคีหรือพหุภาคีอื่นสิ้นสุดลง และหากขอบเขตของพันธกรณีหรือข้อผูกพันเฉพาะได้ดำเนินการโดยประเทศสมาชิกคู่กรณี ข้อกำหนดต่อมาคือลักษณะจองการประกาศ ข้อกำหนดแรกปรากฎเพิ่มข้ออุปสรรคในทางข้อเท้จริงกับประเภทของการระงับข้อพิพาทในองค์การการค้าโลกที่กลไกระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับการบินระหว่างประเทศไม่เคยเกิดขึ้น แม้ว่าจะมีข้อพิพาทเกิดขึ้น ดังนั้น ไม่ต้องประหลาดใจที่ไม่มีข้อพิพาทด้านการบินระหว่างประเทศเกิดขึ้นในองค์การการค้าโลก
กลไกการทบทวน (Para. 5)
บทบัญญัติวรรคห้าของภาคผนวกว่าด้วยการขนส่งทางอากาศต้องการให้มีการทบทวนอยู่สม่ำเสมอในสาขาบริการขนส่งทางอากาศและข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยการขนส่งทางอากาศในแง่มุมมีการรวมบริการการขนส่งทางอากาศเข้ามาในขอบเขตของข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยการขนส่งทางอากาศ ในระหว่างการเจรจารอบอุรุกกวัย กลไกการทบทวนมีการประนีประนอมระหว่างประเทศสมาชิกที่ต้องการให้มีการเปิดเสรีอย่างก้าวหน้ามากขึ้นกับประเทศสมาชิกที่ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงสถานะของระบบชิคาโก ค่อตอบแทนในการยกเว้นสิทธิการบินและบริการที่เกี่ยวข้องจากขอบเขตของข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการในบทบัญญัติวรรคสองของภาคผนวก จึงตกลงให้มีการทบทวนเป็นระยะ การทบทวนในระยะแรกเกิดขึ้นในเดือนกันยายนปี ค.ศ. 2000 และเดือนพฤศจิกายน 2003 ในการประชุมสี่ช่วงของสภาการค้าบริการ การถกแถลงระหว่างตัวแทนประเทศสมาชิกไม่ได้แสดงอะไรมากไปกว่ามุมมองที่แตกต่างใหม่ ๆ ที่เคยตกลงกันไปแล้วในรอบอุรุกกวัย จึงไม่มีการพิจารณาใหม่ทั้งในแง่ของการเปิดประเด็นขึ้นใหม่ในการตีความภาคผนวกหรือการขยายภาคผนวกดังกล่าว ในขณะที่ประเทศกลุ่มหนึ่งกดดันความจำกัดของระบบการเจรจาทวิภาคี ประเทศอื่นเน้นว่าการทบทวนควรเสร็จสมบูรณ์ครั้งแรกก่อนจะถกแถลงการบังคบัใช้ภาคผนวก ยิ่งกว่านั้นประเทศสมาชิกเหล่านั้นชอบการพัฒนาระบบการเจรจาทวิภาคี เช่น สหรัฐอเมริกาที่ต้องการให้เวทีการทบทวนไม่ควรให้มีการตีความภาคผนวก สำหรับการทบทวนในครั้งสองเริ่มในเดือนกันยายนปี ค.ศ. 2006

ข้อตกลงทวิภาคีด้านการขนส่งทางอากาศ (Bilateral Agreements)

ข้อตกลงทวิภาคีด้านการขนส่งทางอากาศที่สำคัญซึ่งเป็นรูปแบบของข้อตกลงทวิภาคีด้านขนส่งทางอากาศของทั่วโลกคือข้อตกลง Bermuda ซึ่งเป็นแนวทางการเปิดเสรีการค้าบริการด้านการขนส่งทางอากาศที่นิยมในปัจจุบัน ในบทความนี้จะขอนำเสนอแนวคิดของข้อตกลง Bermuda โดยสรุปดังนี้
ข้อตกลง Bermuda I
รัฐบาลของประเทศที่อธิปไตยเจรจาข้อตกลงขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศเพื่อกำกับดูแลบริการขนส่งทางอากาศระหว่างและบางครั้งเกินเขตแดนของตน ข้อตกลงทวิภาคีเป็นพาหนะในการเชื่อมโยงกฎการบินพลเรือนภายในประเทศของประเทศที่เข้าร่วมและการจัดตั้งแนวปฏิบัติสำหรับการกำกับดูแลรัฐบาลของบริการทางอากาศระหว่างประเทศ ในปี ค.ศ. 1946 สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรลงนามในข้อตกลงขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศทวิภาคีซึ่งนิยมเรียกว่า Bermuda I สำหรับสามสิบปีถัดมาข้อตกลง Bermuda I เป็นรูปแบบของสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นเจรจาข้อตกลงขนส่งทางอากาศทวิภาคี
ข้อตกลง Bermuda I แสดงถึงการประนีประนอมระหว่างอเมริกาเสรีนิยมและอุดมคติของอังกฤษที่เข้มงวดซึ่งมีความขัดแย้งในการประชุมชิคาโก้ สหรัฐอเมริกาตกลงว่าสมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (International Air Transport Association หรือ IATA) จัดตั้งในปี ค.ศ. 1945 อาจมีหน้าที่ความรับผิดชอบหลักในการกำหนดค่าบริการในเส้นทางการบินภายใต้การอนุมัติของรัฐบาลที่มีผลกระทบต่อการติดสินใจของ IATA สหราชอาณาจักรยอมให้สายการบินมีเสรีภาพในการกำหนดความจุและความถี่ในการบริการ
ข้อตกลงระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรในปี ค.ศ. 1946 ณ เมือง Hermuda, Bermuda โดยการเพิ่มเสรีภาพสามประการจากอนุสัญญากรุงชิคาโกที่มีสองเสรีภาพ โดยเสรีภาพที่สามและที่สี่ครอบคลุมสิทธิของสายการบินในการรับสินค้าหรือผู้โดยสารจากประเทศเจ้าบ้านสำหรับการบินไปและจอดอีกประเทศหนึ่ง สำหรับเสรีภาพที่ห้าให้สิทธิในการรับสินค้าหรือคนโดยสารจากประเทศหนึ่งสำหรับการบินไปและจอดจุดนอกประเทศนั้นและประเทศเจ้าบ้าน ข้อตกลงดังกล่าวเป็นรูปแบบสำหรับข้อตกลงทวิภาคีและเพิ่มเติมโดยข้อตกลง Bermuda II ในปี ค.ศ. 1977 ที่จำกัดจำนวนที่นั่งของสายการบินระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร ข้อตกลงใหม่นี้ส่งเสริมการแข่งขันมากขึ้นโดยการยอมให้สายการบินและเส้นทางมีมากขึ้นระหว่างสองประเทศเพื่อให้ราคาค่าโดยสารลดลง

ข้อตกลง Bermuda II
ในปี ค.ศ. 1976 สหราชอาณาจักรยกเลิกข้อตกลง Bermuda I และเจรจาข้อตกลงที่จำกัดมากกว่าเดิมกับสหรัฐอเมริกา โดยนิยมเรียกว่าข้อตกลง Bermuda II ที่มีผลใช้บังคับในปี ค.ศ. 1977 การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือการทดแทนสิทธิของสายการบินในการกำหนดค่าบริการได้ด้วยตนเองภายใต้กระบวนการประท้วงที่ซับซ้อนโดยทั้งสองรัฐบาลกับระบบใหม่ที่ค่าบริการตกลงโดยรัฐบาลทั้งสองโดยตรง การจำกัดจำนวนเส้นทางของสนามบินในสหรัฐอเมริกาที่ให้บริการโดยตรงไปยังสนามบินในลอนดอน ในขณะเดียวกันก็อนุญาตสายการบินไม่ประจำทางในการให้บริการระหว่างสองประเทศ การใช้สนามบินอื่น โดยเฉพาะสานามบินใหม่ใน Gatwick จึงเป็นระบบที่ซับซ้อนในการควบคุมความจุของเส้นทางระหว่างสหราชอาณาจักรกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป้าหมายของอังกฤษคือการสร้างระบบที่สายการบินจากแต่ละประเทศสสามารถแข่งขันในบริบทที่เท่าเทียมกัน กล่าวอีกนัยหนึ่ง ข้อตกลง Bermuda II นี้จำกัดความจุ โดยลดเสรีภาพที่ห้าอย่างมีนัยสำคัญของผู้ประกอบการขนส่งสหรัฐอเมริกา และเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับบริการขนส่งแบบเหมาระหว่างประเทศ สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรคาดหวังว่าข้อตกลง Bermuda II มาทดแทนข้อตกลง Bermuda I แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมในเวทีระหว่างประเทศ ประการแรกข้อตกลง Bermuda II มีประเด็นเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐและสหราชอาณาจักร ประการที่สอง ในปลายทศวรรษที่ 1970 และต้นทศวรรษที่ 1980 สหรัฐอเมริกาเปิดเสรีนโยบายการบินระหว่างประเทศและขจัดนโยบายที่จำกัดตามที่กำหนดไว้ในข้อตกลง Bermuda II ข้อตกลงที่แก้ไขและมีข้อจำกัดค่อนข้างมากกำกับดูแลความสัมพันธ์การบินพลเรือนระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร
ไม่เหมือนข้อตกลง Bermuda I เป็นข้อตกลงเข้มงวด ข้อตกลงใหม่เป็นกรอบข้อตกลงที่อนุญาตการเปลี่ยนแปลงหากสถานการณ์เปลี่ยน เช่น ในปี ค.ศ. 1990 สนามบินเมืองแมนเชตเตอร์ได้ถูกเพิ่มเป็นท่าอากาศยานแห่งใหม่ของอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1991 การล้มละลายของสายการบินแพนแอมและทีดับเบิ้ลยูเอนำไปสู่การเจรจาครั้งใหม่ที่อนุญาตให้สายการบินอเมริกาแอร์ไลน์และยูไนเต็ทแอร์ไลน์มีเส้นทางที่สนามบินฮีทโทรของอังกฤษ สายการบินเวอร์จิ้น แอทแลนติกมีสิทธิเป็นสายการบินอังกฤษที่สองในการให้บริการ ในการเจรจาได้มีการยื่นเสนอเสรีภาพที่เจ็ดซึ่งจะอนุญาตให้สายการบินอังกฤษหรือเมริกาขนส่งผู้โดยสารระหว่างสนามบินในยุโรปและอังกฤษและสหรัฐอเมริกาที่เคยอนุญาตในข้อตกลง Bermuda I สายการบินสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรได้รับอนุญาตให้บริการร่วม (code share) ซึ่งเดิมเคยถูกห้ามตามกฎหมายป้องกันการผูกขาดของหสหรัฐอเมริกา เสรีภาพที่ห้าที่นิยมใช้ในข้อตกลง Bermuda I ถูกจำกัดในข้อตกลงใหม่ สายการบินอังกฤษได้รับอนุญาตให้ขนส่งผู้โดยสารอเมริกาไปยังเบลเยี่ยม ฝรั่งเศส เยอรมันนี เนเธอร์แลนด์ เล็กแซมเบอร์ และไอร์แลนด์ สายการบินอเมริกาได้อนุญาตให้ขนส่งจาก Shannon ไปยัง Prestwick และ Glasgow และสามารถรับผู้โดยสารจากสนามบินในสหราชอาณาจักรได้สำหรับท่าอากาศยานในเมือง Berlin, Frankfurt, Hamburg, Munich และ Oslo อย่างไรก็ตามถือว่ามีข้อจำกัดมากกว่าข้อตกลง Bermuda I ที่อนุญาตจำนวนเส้นทางมากกว่า

ข้อพิพาทโบอิ้งกับแอร์บัส

ข้อพิพาทที่สำคัญในองค์การการค้าโลกหรือ WTO ที่สำคัญและเป็นที่ติตดามของนักวิชาการทั่วโลกคดีหนึ่งคือคดีพิพาทโบอิ้งกับแอร์บัส ซึ่งมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้
ประเด็นข้อพิพาท
• มาตรการ: การอุดหนุนที่ให้โดยสหภาพยุโรปและประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรปแก่บริษัทแอร์บัสในเรื่องอากาศยานพลเรือนขนาดใหญ่ รวมถึง (i) สัญญา "Launch Aid"/"Member State Financing" (LA/MSF) (ii) การให้กู้โยธนาคารลงทุนของยุโรป (European Investment Bank) (iii) มาตรการเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน (iv) มาตรการปรับโครงสร้างบริษัท (การยกหนี้ให้ การเพิ่มทุน และการให้ทุน) และ (v) การสนับสนุนทุนวิจัยและพัฒนา
• ผลิตภัณฑ์: อากาศยานพลเรือนขนาดใหญ่ที่พัฒนา ผลิตและหน่ายโดยบริษัทแอร์บัส
บทสรุปของคณะกรรมการวินิจฉัย
• ข้อตกลงว่าด้วยการอุดหนุนและตอบโต้การทุ่มตลาด มาตรา 3.1(a) ห้ามการอุดหนุนและการอุดหนุนเพื่อส่งออก องค์อุทธรณ์พบว่าการอุดหนุนเป็นการผูกพันการส่งออกในทางปฏิบัติภายในความหมายของมาตรา 3.1(a) และเชิงอรรถ 4 หากการให้การอุดหนุนเป็นการช่วยจูงใจให้ส่เสริมประสิทธิภาพในการส่งออกในอนาคตโดยผู้รับการอุดหนุน มาตรฐานต้องไม่เพียงแสดงการส่งออกที่คาดหวังไว้เป็นเหตุผลในการให้การอุดหนุน การพึงพอใจมาตรฐานต้องประเมินโดยการตรวจสอบมาตรการที่ให้การอุดหนุนและข้อเท็จริงรอบการให้การอุดหนุน รวมทั้งการออกแบบ โครงสร้าง และรูปแบบของการดำเนินมาตรการ องค์อุทธรณ์ยกมาตรฐานทางกฎหมายของคณะกรรมการวินิจฉัยว่าไม่สามารถวิเคราะห์ได้ครบถ้วนว่ามาตรการ LA/MSF เป็นการผูกพันการส่งออกในทางปฎิบัติหรือไม่
• ข้อตกลงว่าด้วยการอุดหนุนและตอบโต้การทุ่มตลาด มาตรา 5(c) และมาตรา 6.3 (ผลกระทบในทางลบ – อคติอย่างร้ายแรง (displacement and lost sales)): องค์อุทธรณ์ยืนว่าแม้ว่าขอบเขตจะน้อย คณะกรรมการวินิจฉัยพบว่ามาตรา LA/MSF และมาตรการที่ไม่ใช่ LA/MSF พบในการประกอบการอุดหนุนเฉพาะที่ก่อให้เกิดอคติอย่างร้ายแรงในผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาภายในความหมายของมาตรา 5(c) ในการหาข้อสรุป องค์อุทธรณ์แสดงว่าคณะกรรมการวินิจฉัยไม่อนุยาตให้อ้างอิงข้อเรียกร้องของประเทศสมาชิกในการระบุสินค้า แต่กำหนดตามมาตรา 6.3 ในการพิจารณาตลาดสินค้าอิสระเพื่อประกันสินค้าเฉพาะที่แข่งขันในตลาดเดียวกัน
• ข้อตกลงว่าด้วยการอุดหนุนและตอบโต้การทุ่มตลาด มาตรา 5(a) (เสียหาย/คุกคามเสียหาย) คณะกรรมการวินิจฉัยพบว่าสหรัฐอเมริกาไม่สามารถแสดงให้เห็นความเสียหายที่ชัดเจนในอุตสาหกรรมอากาศยานขนาดใหญ่และดังนั้นปฏิเสธข้อเรียกร้องตามมาตรา 5(a)
• ข้อตกลงว่าด้วยการอุดหนุนและตอบโต้การทุ่มตลาด มาตรา 7.8 (การเยียวยา - "เพื่อยกเลิกผลกระทบทางลบหรือเพิกถอนการอุดหนุน") องค์อุทธรณ์แสดงว่าขอบเขตที่ยืนยันข้อเท็จจริงของคณะกรรมการวินิจฉัยเกี่ยวกับการอุดหนุนที่ฟ้องร้องได้มีผลกระทบทางลบหรือข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่ได้รับการอุทธรณ์ ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการวินิจฉัยตามมาตรฐานของมาตรา 7.8 ที่กำหนดในส่วนที่เกี่ยวข้องประเทศสมาชิกให้การอุดหนุนพบว่าส่งผลกระทบในทางลบ การดำเนินขั้นตอนที่เหมาะสมเพื่อขจัดผลกระทบทางลบหรือเพิกถอนการอุดหนุน

3. ประเด็นอื่น
• กระบวนการเสริมในการคุ้มครองข้อมูลที่เป็นความลับ : ในการเรียกร้องของคู่กรณี องค์กรอุทธรณ์ในครั้งแรกของกระบวนการพิจารณาได้ยอมรับกระบวนการเสริมในการคุ้มครองข้อมูลทางธุรกิจที่เป็นความลับและข้อมูลทางธุรกิจที่มีความอ่อนไหวสูงที่ยื่นเข้ามาในกระบวนการพิจารณาตามที่คู่กรณีร้องขอ แต่คู่กรณีก็โต้แย้งว่าการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวสามารถทำให้เกิดอคติได้มากแก่ผู้ยื่นข้อมูลและต่อผู้ผลิตอากาศพลเรือนขนาดใหญ่ในหัวใจสำคัญของข้อพิพาทและต่อผู้ใช้บริการและผู้จัดหาของบริษัทผลิต

แนวการกำกับดูแลของกิจการขนส่งทางถนนของต่างประเทศ


โดยทั่วไปในกิจการขนส่งคนโดยสารทางถนนนั้น รัฐมักจะใช้เหตุผลในเรื่องการผูกขาดโดยธรรมชาติในการใช้อนุญาตให้มีผู้ประกอบการขนส่งผูกขาดในแต่ละเส้นทาง เพราะการให้บริการโดยผู้ประกอบการเพียงรายเดียวจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด กล่าวคือผู้ประกอบการเพียงรายเดียวสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริการทั้งหมดได้  การมีผู้ประกอบการมากรายไม่ก่อให้เกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจมากนัก ในทางตรงกันข้ามกลับอาจก่อให้เกิดการลงทุนที่สูญเปล่าและซ้ำซ้อน ผู้ประกอบการอาจไม่ได้กำไรจากการประกอบการที่มีการแข่งขัน ในการกำกับดูแลนั้น รัฐจะควบคุมกำกับดูแลด้านคุณภาพการให้บริการเป็นหลัก หรือในกิจการขนส่งสินค้านั้น บทบาทหน้าที่หลักของหน่วยงานกำกับดูแลคือควบคุมตลาดที่เกิดการแข่งขันที่มีการทำลายกันเอง โดยพยายามกำกับดูแลไม่ให้การแข่งขันในตลาดกลายเป็นการแข่งขันที่ทำลายกันเอง (Destructive Competition) เนื่องจากอาจเป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูงและมีแนวโน้มส่งผลให้ผู้ประกอบการหลายรายต้องออกจากตลาดเพราะไม่สามารถแข่งขันต่อไปได้ โดยเฉพาะบริษัทที่เล็ก ด้อยประสิทธิภาพ หรือมีทุนต่ำ กล่าวได้ว่าการแข่งขันที่ทำลายกันเองจะทำลายความมีประสิทธิภาพของระบบตลาด เนื่องจากอุตสาหกรรมมีการแข่งขันสูงและส่งผลให้มีความสามารถในการผลิตสินค้าหรือบริการมากเกินความต้องการของตลาด จึงเกิดมีการตัดราคาของสินค้าและค่าบริการ ทำให้ผู้ประกอบการบางรายโดยเฉพาะรายย่อยที่มีทุนน้อยต้องออกจากการแข่งขันที่เข้มข้น กลไกของตลาดที่มีการแข่งขันโดยเสรีต้องสูญเสียดุลยภาพไป การมีความสามารถในการแข่งขันมากในตลาดดูเหมือนจะเป็นสิ่งดีต่อผู้บริโภคเพราะราคาของสินค้าและบริการจะลดลง แต่ความจริงแล้วเป็นประโยชน์ที่ได้รับในระยะสั้น ในระยะยาวแล้วจะเป็นผลเสียอย่างมากเพราะการตัดราคากันจะส่งผลให้หลายบริษัทต้องออกจากระบบตลาด อันเนื่องมาจากการแข่งขันทางด้านราคาที่ดุเดือดและการลดลงของจำนวนผู้ประกอบการเหล่านี้สมดุลของระบบตลาดก็จะเปลี่ยนแปลง จะกลายเป็นตลาดที่รวมตัวกันสูงมีแนวโน้มที่จะผูกขาด เช่น การลงทุนในกิจการประเภทนี้จะมีน้อยลงเพราะผู้ประกอบการคิดว่าอาจไม่คุ้มทุน หากลงทุนในตลาดที่มีการตัดราคากันสูง ทั้งนี้ไม่ว่าะเป็นผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการอยู่ในตลาดแล้วหรือผู้ประกอบการใหม่ที่อยากเข้าสู่ตลาดประเภทนี้ นอกจากนี้ การประกอบกิจการโดยการตัดราคาแล้วแทบจะไม่มีกำไร จะทำให้ผู้ประกอบการไม่อยากที่จะปรับปรุงเทคโนโลยีหรือลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมทั้งปรับปรุงบริการหรือสินค้าและในบางครั้งอาจเกิดการขาดแคลน หากมีผู้ประกอบเหลืออยู่น้อยในตลาด ซึ่งทั้งหมดนี้จะไม่เป็นผลดีต่อระบบตลาดและผู้บริโภค นอกจากนี้ การแข่งขันกันเองก็อาจลดคุณภาพของการให้บริการ เพราะผู้ประกอบการต้องการลดต้นทุนลง เนื่องจากลดส่วนอัตราค่าบริการลงมาเพื่อให้สามารถแข่งขันและอยู่รอดในอุตสาหกรรมได้ ซึ่งอาจส่งผลเสียถึงคุณภาพการให้บริการ
ที่ผ่านมาในอดีต อุตสาหกรรมขนส่งทางถนนต้องแข่งขันกับอุตสาหกรรมขนส่งสาขาอื่น โดยเฉพาะการขนส่งระยะทางไกลที่ต้องแข่งขันกับการขนส่งทางรถไฟและการขนส่งทางทะเล ซึ่งผลของการปกป้องกิจการขนส่งสาขาอื่นก็ทำให้รัฐกำหนดเงื่อนไขกำกับดูแลที่เข้มงวดต่อการขนส่งทางถนน ต่อมากิจการขนส่งทางถนนค่อย ๆ พัฒนาขึ้นและมีการปฏิรูปกรอบโครงสร้างการกำกับดูแลในราวปี ค.ศ. 1980  โดยมุ่งเน้นที่การปฏิรูปโครงวร้างและกฎระเบียบการแข่งขันในกิจการขนส่งใหม่ โดยให้สอดคล้องกับสภาพการณ์และแก้ไขปัญหาในกิจการขนส่งทางถนนอย่างจริงจัง
ในกลุ่มประเทศ OECD นั้นมักแยกการกำกับดูแลกิจการขนส่งทางถนนออกเป็นสองประเภทคือ กิจการขนส่งสินค้าทางถนนและกิจการขนส่งคนโดยสารทางถนน เพราะวัตถุประสงค์และแนวทางการกำกับดูแลแตกต่างกัน นอกจากนี้ในทางปฏิบัติได้แบ่งแยกความแตกต่างระหว่างตลาดการขนส่งบริการตนเอง (self-provided transport)  และการขนส่งเชิงพาณิชย์ที่ขนส่งเพื่อค่าตอบแทน (Transport for hire or reward) การขนส่งบริการตนเองรวมกิจการรถเช่าและกิจการขนส่งเพื่อกิจการตนเอง (own-account freight transport) ด้วย กิจการรถเช่านี้รวมการเช่าเหมาขนส่งคนโดยสาร เช่น เช่ารถบัสเพื่อรับส่งเฉพาะ ไม่ได้ให้บริการเชิงสาธารณะ กิจการประเภทขนส่งบริการตนเองไม่ค่อยมีประเด็นปัญหาในการกำกับดูแลมากนัก และดังนั้น การกำกับดูแลจึงเป็นการกำกับดูแลที่ไม่เข้มงวด (light regulated) ในขณะที่ตลาดการขนส่งเชิงพาณิชย์และตลาดรถบัส รวมทั้งแท็กซี่มีกฎระเบียบการกำกับดูแลที่เข้มงวด


ระบบโค้วต้า
แนวปฏิบัติที่ยาวนานที่จำกัดปริมาณการให้บริการขนส่งโดยการใช้ระบบโค้วต้า (quota) ทั้งนี้ ระบบใบอนุญาตสามารถกำหนดเขตพื้นที่การให้บริการ (zone) ความสัมพันธ์ด้านภูมิศาสตร์เฉพาะ หรือระยะทางการขนส่ง และประเภทสินค้าที่ขนส่ง ความสามารถของผู้ประกอบการที่จะให้บริการไม่อยู่ภายใต้ค่าธรรมเนียมบังคับที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจำกัดเสรีภาพของผู้ประกอบการ การกำกับดูแลอาจแตกต่างกันในแต่ละประเทศ แต่สาระสำคัญหลักยังคงเหมือนกัน วัตถุประสงค์หลักของการกำกับดูแลนี้คือเพื่อคุ้มครองกิจการขนส่งทางรถไฟจากการแข่งขันทางถนน ซึ่งเริ่มมาแต่หลังสงครามโลก ตัวอย่างเช่น การขนส่งในฝรั่งเศสและเยอร์มันนีที่กำกับดูแลอย่างเข้มงวดในกิจการขนส่งทางถนนระยะยาว โดยจัดเก็บค่าธรรมเนียมเหมือนกับรถไฟ ซึ่งเป็นกิจการที่ได้รับการอุดหนุนค่อนข้างสูง กฎระเบียบการขนส่งทางถนนเริ่มพัฒนาในทศวรรษที่ 60 และ 70 อย่างค่อยเป็นค่อยไป กฎระเบียบที่เข้มงวดเพราะมีความกังวลในเรื่องการแข่งขันที่เข้มข้นดุดเดือดที่อาจนำไปสู่การทำลายกันเองในตลาด เนื่องจากอุปกรณ์สามารถหาได้ง่ายและรายได้ต่ำของการประกอบการ จึงจำเป็นต้องมีการกำกับดูแลในเรื่องอัตราค่าบริการและจำนวนผู้ประกอบการ ในประเทศอิตาลีและกรีกได้จัดเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับการขนส่งภายในประเทศ
ตลาดที่ไม่มีระบบโค้วต้า
ในช่วงยุคทศวรรษที่ 80 การแปรรูปรัฐวิสาหกิจมีส่วนอย่างมากในการทำให้ลดการกำกับดูแลลง หน่วยงานรัฐเริ่มไว้วางใจให้เอกชนเข้ามาดำเนินการแทน บางประเทศเช่น อังกฤษและสหรัฐอเมริกาได้หันมาใช้ระบบใบอนุญาต โดยผู้ประกอบการได้รับความคุ้มครองจากการแข่งขัน มีการกำหนดเส้นทาง

การกำกับดูแลด้านคุณภาพการให้บริการ
ในประเทศกลุ่ม OECD ใช้ระบบใบอนุญาตด้านคุณภาพหรือใบอนุญาตวิชาชีพในการส่งเสริมและควบคุมกำกับดูแลการให้บริการกิจการขนส่งทางถนน โดยเฉพาะกลุ่มสหภาพยุโรปที่มีการกำหนดเงื่อนไขด้านคุณสมบัติในการเข้าสู่กิจการขนส่งทางถนน ซึ่งเงื่อนสำคัญหลักประกอบด้วย (1) ความสามารถทางวิชาชีพ (2) ชื่อเสียงที่ดี และ (3) ความมั่นคงทางการเงิน เป็นต้น ทั้งนี้ เหตุผลเบื้องหลังการกำกับดูแลคือมองว่าการขนส่งทางถนนถูกกำกับดูแลภายใต้หลากหลาบกฎระเบียบ โดยเฉพาะด้านความปลอดภัย การประกอบกิจการขนส่งอาจส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้ใช้ถนนรายอื่น ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงต้องมีความรู้ความสามารถในการประกอบกิจการ โดยควรได้รับการรับรองหรือทดสอบความสามารถทางวิชาชีพในการบริหารจัดการหรือรู้กฎจราจร สำหรับเงื่อนไขที่เกี่ยวกับชื่อเสียงนั้น เป็นเงื่อนไขที่มีวัตถุประสงค์ในการกำหนดมาตรฐานของบุคคลที่เข้าสู่กิจการขนส่งที่ต้องมีความรับผิดชอบค่อนข้างสูง ในขณะที่เงื่อนไขความมั่นคงทางการเงินเกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบของผู้ประกอบการในกรณีมีความเสียหายเกิดขึ้นจากการประกอบกิจการขนส่ง
ในสหภาพยุโรปได้มีการออก Directive 96/26 เกี่ยวกับการควบคุมกำกับดูแลคุณภาพการให้บริการของบรรดาประเทศสมาชิกให้มีความเป็นเอกภาพและไม่เลือกปฎิบัติระหว่างกัน ต่อมาได้มีการแก้ไขอีกครั้งใน Directive 98/76 โดยมีการกำหนดเงื่อนไขไว้สามประการ คือ
(1) ความสามารถทางวิชาชีพ (Professional competence) ซึ่งกำหนดให้มีการทดสอบทางด้านข้อเขียน (Written examination) หรืออาจทดสอบแบบปากเปล่า (Oral) อีกขั้นหนึ่ง ทั้งนี้ ผู้ขอรับใบอนุญาตอาจใช้หลักฐานว่าตนเองมีประสบการณ์ด้านวิชาชีพนี้มาแล้วอย่างน้อยห้าปีทดแทนการสอบข้อเขียนก็ได้
(2) ชื่อเสียงที่ดี (Good repute) เป็นเงื่อนไขที่ปล่อยให้ประเทศภาคีกำหนดเองได้ แต่โดยทั่วไปมักกำหนดในทำนองดังต่อไปนี้ คือ ไม่เคยต้องโทษคดีอาญาร้ายแรงมากก่อน หรือไม่เคยถูกลงโทษในการประกอบวิชาชีพขนส่งทางถนนมากก่อน เป็นต้น ทั้งนี้ เงื่อนไขชื่อเสียงที่ดีนี้จะใช้บังคับกับบุคคลที่บริหารจัดการกิจการขนส่งทางถนน
(3) ความมั่นคงทางการเงิน (Financial Criteria) คือผู้ประกอบการต้องมีความมั่นคงทางการเงินสำหรับการประกอบกิจการ ซึ่ง Directive 98/76 กำหนดทุนจดทะเบียนและทุนสำรองไว้ 9,000 EU สำหรับรถยนต์หนึ่งคนและอีก 5,000 EU สำหรับรถยนต์คันต่อไป ๆ เงื่อนไขด้านเงินประกันนี้ ผู้ประกอบการต้องดำรงอยู่ตลอดระยะเวลาประกอบกิจการ
เยอร์มันนี
การนำกฎหมายแห่งสหภาพยุโรปว่าด้วยการอนุญาตให้ทำการขนส่งทางบก (Directive 96/26/EC) ไปใช้บังคับกับกฎหมายภายในของเยอรมันว่าด้วยการอนุญาตให้ทำการขนส่ง (ECMT)
1. เงื่อนไขในการควบคุมการอนุญาตทำการขนส่งของประเทศเยอรมัน
ข้อกำหนดเงื่อนไขว่าด้วยกฎหมายในเรื่องการอนุญาตให้ทำการขนส่งทางบกของประเทศเยอรมันนั้น สันนิษฐานได้มามีหลักพื้นฐานมาจากกฎหมายแห่งสหพันธรัฐเยอรมันสองฉบับคือ ในส่วนของรัฐบาลกลางสหพันธ์ กับ รัฐบาลลีเอนเดอร์ (laender) (รัฐบาลของแต่ละรัฐ) กฎหมายแห่งสหภาพยุโรปและความตกลงระหว่างประเทศแบบพหุภาคีนั้น ถูกนำมาบัญญัติใช้เป็นกฎหมายภายในของเยอรมันเอง ในฐานะกฎหมายแห่งรัฐบาลกลางสหพันธ์และบทบัญญัติสำหรับแต่ละรัฐ (ordinance) โดยนำมาบังคับใช้เสมือนเป็นกฎหมายดูแลควบคุมการขนส่งทางบกรวมทั้งการจัดการจราจรทั้งหลาย ให้ประชาชนต้องปฏิบัติตามทั้งคนธรรมดาและผู้ลงทุนประกอบธุรกิจทั้งหลาย โดยมี ลีนเดอร์เป็นหน่วยที่มีอำนาจควบคุม ทั้งนี้ในบางเขตของรัฐบาลกลางแห่งสหพันธรัฐ ก็ยังให้อำนาจลีนเดอร์เข้าไปมีส่วนในการควบคุมดูแลด้วย อย่างเช่นกรณีของสถาบันการขนส่งทางบกระยะไกล( Federal Institute for Long – Distance Road Haulage) เป็นต้น
พระราชบัญญัติว่าด้วยการขนส่งทางบก  ระเบียบว่าด้วยการขนส่งทางหลวงระหว่างประเทศ และระเบียบว่าการประกอบการขนส่งทางบกสำหรับผู้ดำเนินกิจการ ก็มีบทบัญญัติที่สอดคล้องกับกฎหมายแห่งสหภาพยุโรป ฉบับที่ 96/26/EC เช่นเดียวกัน ในการควบคุม ดูแล ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย และการออกใบอนุญาตสำหรับท้องที่นั้น ยังคงเป็นอำนาจของลีนเดอร์ และบางครั้งลีนเดอร์ก็มีอำนาจควบคุมไปถึงระดับตำบล (district level) มีสำนักงานควบคุมการจราจรท้องที่ตำบล(road traffic office)  หรือบางเขต ก็มีอำนาจดูแลในระดับรัฐบาล( regional Commissioner) ซึ่งสถาบันการขนส่งทางบกระยะไกลก็ได้รับการช่วยเหลือจากลีดเดอร์ด้วยเช่นกัน
2. ความสำเร็จในการกำหนดเงื่อนไขว่าด้วยการอนุญาตในการใช้ทางหลวงในการขนส่งทางบก
ตามที่กำหนดใน มาตรา 3 แห่ง กฎหมายสหภาพยุโรป ฉบับที่ 96/26/EC นั้น กำหนดให้บุคคลซึ่งมีความประสงค์ที่จะเป็นผู้ดำเนินการขนส่งภายในพื้นที่เขต EU/นั้น จะต้องได้ผ่านการพิจารณาจาก EEA ในเรื่องของสถานะการเงิน และความเชี่ยวชาญในการเป็นผู้ดำเนินการขนส่ง  ECMT ได้กำหนดไว้เพิ่มเติมในบทที่ 2 ข้อ 1.1 และ 1.2 ไว้นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในกฎหมายแห่งสหภาพยุโรปในเรื่องการเป็นผู้ดำเนินการขนส่งของ EU/EEA ว่า ผู้ที่จะได้รับอนุญาตให้เข้ามาเป็นผู้ดำเนินการขนส่งได้นั้น ต้องได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานที่มีอำนาจในเรื่องของสถานะการเงินและความเหมาะสมในการดำเนินการขนส่ง
3. อำนาจของหน่วยงานเยอรมันในการออกใบอนุญาต ECMT
ตาม มาตรา 3 ข้อ 1 แนบท้าย ECMT ในเรื่องของการกำหนดจำนวนการอนุญาตการขนส่งทางบกนานาชาตินั้น ได้กำหนดให้ ประเทศซึ่งเป็นรัฐสมาชิกของภาคีอนุสัญญา ECMTนั้น มีสิทธิออกใบอนุญาตทำการขนส่ง (ECMT)ให้แก่ยานพาหนะที่จดทะเบียนอยู่ในเขตแดนของตนได้   ดังนั้น เยอรมันซึ่งมีกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกนานาชาติและการขนส่งผ่านเขตแดนชายฝั่งกำหนดให้สถาบันการขนส่งทางบกระยะไกลแห่งสหพันธรัฐ เป็นผู้มีอำนาจในการออกใบอนุญาตได้ ตามมาตรา 4 อนุ2 ซึ่งสอดคล้องกับบทบัญญัติกฎหมายสหภาพยุโรปดังกล่าว
4. การควบคุมให้ผู้ดำเนินการซึ่งได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขซึ่งได้รับอนุญาต
ภายใต้บทบัญญัติในมาตรา 4 ข้อ 5 ผนวกแนบท้าย2 ในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่อง ในเรื่องของการกำหนดจำนวนการอนุญาตการขนส่งทางบกนานาชาตินั้น บทที่ 3 วรรคท้าย ได้กำหนดให้ สิทธิซึ่งผู้ดำเนินการขนส่งซึ่งได้รับใบอนุญาตECMT ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายนั้นประเทศสมาชิกนั้น มีสิทธิที่จะได้รับอนุญาตให้ทำการขนส่งเพื่อการพาณิชย์เพิ่มเติมตามกฎเกณฑ์ภายในของรัฐสมาชิกนั้นกำหนดขึ้นได้  เมื่อเทียบกับกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกนานาชาติและการขนส่งผ่านเขตแดนชายฝั่งกำหนดให้สถาบันการขนส่งทางบกระยะไกลแห่งสหพันธรัฐเยอรมันนั้น จะเห็นว่า  ในมาตรา 4 อนุ1 ได้บัญญัติให้ผู้ขออนุญาตดำเนินการต้องเป็นผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาต ตามที่กฎหมายว่าด้วยการขนส่งกำหนด หรือเป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตซึ่งผู้มีอำนาจท้องถิ่นออกให้ตามระเบียบที่ EEC No 881/92 กำหนด โดยได้รับการประกันว่าผู้รับใบอนุญาตเช่นนั้นจะมีสิทธิสูงสุดดำเนินการขนส่งในประเทศรัฐสมาชิก เช่นเดียวกับผู้ที่ได้รับใบอนุญาตจากหน่วยงานซึ่ง ECMT กำหนดโดยตรง
4.1  หลักเกณฑ์สำหรับผู้ขอรับใบอนุญาต ตามที่ มาตรา 4 อนุ 1 แห่ง พระราชบัญญัติกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกนานาชาติและการขนส่งผ่านเขตแดนชายฝั่งกำหนดให้สถาบันการขนส่งทางบกระยะไกลแห่งสหพันธรัฐ กำหนด
ตาม พระราชบัญญัติดังกล่าวนี้ ได้กำหนดระเบียบการและหลักเกณฑ์ไว้เป็นแนวทางเอาไว้ให้แก่รัฐสมาชิกในการอกกกฎเกณฑ์พิจารณาอนุญาตให้แก่ผู้ขอซึ่งประสงค์ที่จะเป็นผู้ดำเนินการขนส่งไว้ใน กฎหมายแห่งสหภาพยุโรป 96/26 ซึ่งเยอรมันก็ได้ระบุไว้ในกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกนานาชาติและการขนส่งผ่านเขตแดนชายฝั่งกำหนดให้สถาบันการขนส่งทางบกระยะไกลแห่งสหพันธรัฐ  บทที่3 ECMT/CM(2001) วรรคท้าย พอสรุปได้ดังนี้
4.1.1  คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาต
เป็นผู้ลงทุนหรือบุคคลซึ่งประกอบธุรกิจในการดำเนินการขนส่งทางบก ซึ่งมีประวัติที่ดี ไม่อยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีใดๆเกี่ยวกับการดำเนินการขนส่งทางบก เช่น
- ต้องคำพิพากษาว่ามีความผิดในคดีอาญา หรือ
- เป็นผู้กระทำละเมิด ในกรณีดังนี้
1.ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก หรือกฎ ระเบียบซึ่งเกี่ยวกับการขนส่งทางบก หรือ
2. ตามกฎหมายแรงงาน หรือสวัสดิภาพของสังคม โดยเฉพาะเป็นการกระทำที่อยู่ในระหว่างพักใช้ใบอนุญาตชั่วคราว หรือ
3. หรือกฎหมายว่าด้วยผลประโยชน์การใช้ถนนในด้านความปลอดภัยด้านอาหารและอุตสาหกรรม ( เช่น พ.ร.บ.ว่าด้วยการจราจรทางบกบนถนนหลวง หรือ ระเบียบว่าด้วยการจดทะเบียนเพื่อการจราจรและระเบียบว่าด้วยการจราจรทางบก เป้นต้น)
- มีหนี้สินอันเกิดจากมูลหนื้ในการประกอบธุรกิจ
- ไม่มีประกันภัยบุคคล ( Compulsory Insurance Act) ( ซึ่งตามกฎหมายเยอรมันระบุเป็นการบังคับให้ผู้ที่ขับขี่มอเตอร์ไซต์ หรือรถลากพ่วงจะต้องทำประกันภัยสำหรับบุคคล(ตนเอง)ไว้เป็นพื้นฐาน รวมทั้งบุคคลผู้เป็นเจ้าของยานพาหนะหรือยวดยานใดๆซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายหรือเสียหายเนื่องจากการใช้ในถนนหลวงหรือเขตสาธารณะ)
- ระเบียบพิเศษที่เกี่ยวกับการขนส่งสัตว์ซึ่งมีชีวิต
- ระเบียบซึ่งเกี่ยวข้องกับการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ.ร.บ.การป้องกันและจัดการของเสีย หรือพ.ร.บ.ป้องกันอัตรายซึ่งเกิดจากของไหลหรือการขนส่งสินค้าซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตราย
ในการนี้ ลีนเดอร์มีสิทธิเรียกให้ผู้ขอแสดง หนังสือรับรองภาษี และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องตามดุลยพินิจ ซึ่งผู้ขอมีหน้าที่ต้องนำหนังสือรับรองการประกอบการที่ดี จากสำนักงานทะเบียนพาณิชย์

4.1.2 เอกสารแสดง สถานะการเงิน
          ตาม มาตรา 3 อนุ 3 ของกฎหมายแห่งสหภาพยุโรป ฉบับที่ 96/26/EC ประกอบกับข้อกำหนดของกฎหมายภายใน ( พระราชบัญญัติการขออนุญาตประกอบการขนส่งแห่งชาติ ( national Ordinance on access)) กำหนดให้จะต้องแสดงเอกสารสถานะการเงินในการบริหารการลงทุนประกอบการพิจารณาอนุญาต เช่น หลักฐานด้านการหมุนเวียนทางการเงินประจำปี(annual financial statement) ซึ่งรวมไปถึงประมาณการค่าใช้จ่าย( financial means) ตั๋วเงิน หลักฐานกู้ยืม กระแสไหลเวียนเงินสด   โดยได้กำหนดไว้ว่าสำหรับพาหนะคันแรกต้องชำระ 9000 ยูโร และ อีกคันละ 5000 ยูโร สำหรับแต่ละคันที่ขอเพิ่มต่อมา  และใน มาตรา 2 อนุ 1 วรรค 2 ข้อ 1 ของ พระราชบัญญัตินี้ยังกำหนดไว้ว่า ในการพิจารณาสถานะการเงินนั้นต้อง เงินประกันการชำระหนี้ ภาษีค้างชำระ ค่าความคุ้มครองสวัสดิการสังคมซึ่งเกิดจากการประกอบธุรกิจนั้นด้วย
ผู้ขอต้องเสนอ เอกสารแสดงสถานะการเงิน โดยยื่นไปพร้อมกับรายงานต่อสำนักงานภาษีของหน่วยงานภูมิภาคซึ่งมีอำนาจ หน่วยงานประกันการรับขน และกองทุนประกันอุบัติเหตุ
นอกจากนี้ยังต้องเสนอหลักฐานด้านทุนจดทะเบียนดำเนินการ ซึ่งเกี่ยวพันในมูลหนี้กู้ยืม เงินประกัน และทรัพย์สินอื่นๆ  โดยเอกสารต่างๆเหล่านี้ต้องได้รับการรับรองจากผู้สอบบัญชี ที่ปรึกษาด้านภาษีหรือโดยธนาคารด้วย ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้ สามารถทำการตรวจสอบย้อนหลังโดยผู้สอบบัญชีได้ตลออดเวลา

4.1.3 ความเหมาะสมในการประกอบอาชีพขนส่ง
          เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่าผู้ขอมีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะได้รับใบอนุญษตให้ประกอบการดำเนินการขนส่งจริง ผู้ขอต้องผ่านการทดสอบด้านเทคนิคจากสภาอุตสาหกรรมและการค้า(the competent Chamber of Industry and Commercce : IHK)  ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายแห่งสหภาพยุโรป ฉบับที่ 96/26/EC เสียก่อน จากนั้นก็ต้องผ่านการทดสอบข้อเขียน หรือสอบสัมภาษณ์   แต่อย่างไรก็ตาม กฎหมายแห่งสหภาพยุโรป มาตรา 3 อนุ 4(6) ฉบับที่96/26/EC ก็ยังได้กำหนดข้อยกเว้นไว้ให้รัฐภาคีสมาชิกมีสิทธิกำหนดให้มีการยกเว้นการทดสอบความรู้ด้านเทคเนคโดยข้อขียนหรือการสัมภาษณ์ได้ ในกรณีที่ผู้ขอเป็นผู้มีประสบการณ์ในการจัดการธุรกิจขนส่งมาแล้วไม้น้อยกว่า 5 ปี โดยกำหนดไว้เป็นกฎหมายภายใน  แต่ทั้งนี้ต้องไม่เป็นการตัดสิทธิที่ สภาพอุตสาหกรรมและการค้า(IHK) จะเรียกผู้ขอเข้ามาทำการทดสอบก็ได้แล้วแต่จะเห็นสมควร
5.ข้อยกเว้นในการพิสูจน์ความสามารถในการขอรับใบอนุญษตประกอบกิจการขนส่ง
ตามมาตรา 2 อนุ 1 ของกฎหมายแห่งสหภาพยุโรป ฉบับ 96/26/EC ได้กำหนดให้ผู้ขอที่ประกอบกิจการดำเนินการขนส่งทางบกด้วยพาหนะซึ่งบรรทุกนำหนักเกิน 3.5 ตันโดยเฉลี่ยอยู่ก่อนแล้ว ให้ได้รับอนุญาตในการดำเนินกิจการได้เลย โดยไม่ต้องแสดงหลักฐานในการพิสูจน์ความสามารถอีก โดยเป็นไปตามเงื่อนไขซึ่งระบุไว้ใน พระราชบัญญัติว่าด้วยการขนส่งทางบกของเยอรมัน( Road Haulage Act)ซึ่งกำหนดไว้เป็นกฎหมายภายในให้เป็นทางเลือกเช่นนั้นอยู่แล้ว

6. การออกใบอนุญาต ECMT  กับเงื่อนไขตาม มาตรา 4 อนุ 1 ข้อ 2 ของ พระราชบัญญัติ การขนส่งทางบกโดยใช้เส้นทางหลวงระหว่างประเทศ( Ordinance on Intrenational Road Haulage and Cabotage Transport)
    ตามมาตรา 4 อนุ 1 ข้อ 2 ของ พระราชบัญญัติ การขนส่งทางบกโดยใช้เส้นทางหลวงระหว่างประเทศนั้น ได้กำหนดแนวทางเกี่ยวกับการออกระเบียบการในการออกใบอนุญาต ECMTไว้ โดยใบอนุญาต ECMTนั้น สามารถออกให้แก่ผู้ขอโดยให้มีสิทธิสูงสุดในการใช้ประโยชน์ และยังได้กำหนดระเบียบการในการต่ออายุใบอนุญษตและขอให้ออกใบอนุญาตฉบับใหม่ไว้เป็นแนวทางเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ผู้ขอที่ประสงค์จะต่ออายุใบอนุญาตก็จะต้องแสดงว่า ผุ้ขอได้ใช้สิทธิในใบอนุญาตในระดับสูงสุด กล่าวคือ ได้ทำการขนส่งโดนเฉลี่ยตั้งแต่ 1 ม.ค ถึง 31 ส.ค. ตามที่ได้รับอนุญาต และจาก 1 ก.ย. ถึง 31 ธ.ค. ในช่วงปีที่ผ่านมา  ทั้งนี้การต่ออายุใบอนุญาตจะพิจารณาจากการใช้สิทธิในใบอนุญาต ECMT คือต้องทำการขนส่งอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 26 เที่ยว ผ่านแดนระหว่างประเทศของรัฐสมาชิก ไม่ว่าการขนต้นทางจะอยู่ ณ ประเทศใดในรัฐภาคีสมาชิกก็ตาม  ทั้งนี้ไม่ความการขนส่งในท้องถิ่น( Community licence)
สำหรับในการออกใบอนุญาตฉบับใหม่นั้นยังคงต้องแสดงหลักฐานในการพิสูจน์คุณสมบัติของผู้ขอตามหลัก
เกณฑ์ที่กล่าวมา
ทั้งนี้โดยระบบโควต้าในการออกใบอนุญาต ECMT ซึ่งกำหนดให้ประจำทุกๆปีนั้น ถือเป็นวิธีการที่ยุติธรรม และเปิดโอกาสให้ผู้ถือใบอนุญาตได้ใช้สิทธิในการใช้ประโยชน์ได้อย่างดีที่สุด ซึ่งผลให้การประเมินคุณค่าในความเชื่อถือของการขนส่งวัดได้จากการดำเนินการดังกล่าว
7. การอุทธรณ์ผลการพิจารณา และดำเนินการทางศาล
      ในการพิจารณารับรองและออกใบอนุญาต โดยองค์กรผู้มีอำนาจนั้น จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ในเรื่องของการใช้สิทธิ การอนุมัติใบอนุญาตท้องถิ่น และใบอนุญาต ECMT ก็จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายระบุ และหากคำขอใดไม่ได้รับการอนุมัติ ผู้ยื่นคำขอมีสิทธิที่จะทำการอุทธรณ์ผลของการพิจารณาของผู้มีอำนาจพิจารณาอนุมัติได้  และหากไม่พอใจในผลของการพิจารณาอุทธรณ์ก็ยังสมารถนำเรื่องดังกล่าวขึ้นฟ้องร้องต่อศาลปกครอง( administrative court)ได้ด้วย

ฝรั่งเศส
ระบบการกำหนดวิธีการพิจารณาอนุญาตในการใช้ถนนเพื่อการขนส่งสำหรับผู้ปฏิบัติได้มีวิวัฒนาการเป็นระยะๆตามช่วงระยะเวลาดังนี้
ในช่วงปี 1964 ถึง 1992 ระเบียบซึ่งได้กำหนดไว้ในช่วงปี 1964 นี้ ถือเป็นหลักเกณฑ์พื้นฐานอันเป็นหลักที่นำมาใช้จนถึงปัจจุบัน โดยได้กำหนดไว้เป็นหลักเกณฑ์ 3 ข้อที่จะพิจารณารับรอง สำหรับผู้ประกอบกิจการการขนส่งเป็นหลัก( professional competence of haulage operator)  นั้นคือ
การทดสอบสัมภาษณ์
ประกาศนียบัตร และ
ประสบการณ์ในการประกอบวิชาชีพ
 ซึ่งกฎระเบียบดังกล่าวนี้ ในช่วงปี 1974ถึง 1989 ฝรั่งเศสได้มีการกำหนดเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับระเบียบของสหภาพยุโรป (EU Directives ) โดยเพิ่มเติมเงื่อนไขว่าเรื่องการข้อกำหนดทางด้ารการเงินเพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการขนส่ง
ต่อมาในปี 1992จนถึงปัจจุบัน เงื่อนไขในการให้อนุญาตโดยวิธีการสอบโดยวิธีการสอบสัมภาษณ์นั้นได้เปลี่ยนเป็นมาใช้วิธีการสอบข้อเขียนแทน  โดยในปี 1994 นี้ได้ให้มีการทำการออกข้อสอบจากศูนย์อำนวยการสอบกลาง โดยในระเบียบแห่งสหภาพยุโรปฉบับที่  98/76 EC ได้กำหนดคะแนนต่ำสุดสำหรับผู้ผ่านและผู้สอบตกเอาไว้เป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอนุญาต  โดยเมื่อเทียบกับกฎหมายซึ่งฝรั่งเศสกำหนดไว้แล้วนั้นยังคงมีผลบังคับใช้ประกอบกิจการขนส่งทางบกและตัวผู้รับขน ตลอดจนกิจการการขนส่งหลายทางและรวมไปถึงการขนส่งมวลชนด้วย  ซึ่งระเบียบที่กำหนดไว้ได้ยึดอัตราน้ำหนักบรรทุกเป็นเกณฑ์ โดยน้ำหนักบรรทุกของการขนส่ง โดยกำหนดเป็นอัตราสูงสุดไว้ คิดในอัตรามากกว่า 3.5 ตัน ขึ้นไป สำหรับการบบรทุกโดยยานพาหนะทางบกและต่อมาก็กำหนดให้รวมไปถึง”ยานพาหนะเบา”ด้วย
1.การอนุญาตสำหรับผู้ใช้ถนนในการขนส่ง
1.1  สำหรับกรณีผู้ประกอบกิจการขนส่ง  
 ระเบียบซึ่งกำหนดไว้นั้นสอดคล้องกับกฎหมายของสหภาพยุโรปฉบับที่ 96/26 ซึ่งได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมโดย กฎหมายสหภาพฯฉบับที่ 98/76 /EC  ซึ่งกำหนดวิธีการพิจารณาอนุญาตโดยผ่านการทดสอบสามขั้นคือ
การทดสอบข้อเขียน
การทดสอบภาคปฏิบัติและ
การให้ประกาศนียบัตร
    ระเบียบสำหรับพาหนะเบาซึ่งใช้ในการขนส่งนี้มีข้อจำกัดค่อนข้างน้อย โดยเพียงแต่ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตที่เข้าผ่านการฝึกอบรบเป็นระยะเวลา 10วัน ก็จะได้รับใบอนุญาตซึ่งออกโดยหน่วยงานที่มีอำนาจรับรอง
1. การสอบข้อเขียน
ระเบียบการสอบข้อเขียน
ข้อสอบจะประกอบไปด้วยคำถามปรนัยให้เลือกตอบจำนวน 50 ข้อ และเขียนอัตนัยแบบบรรยายด้านการจัดการและการดำเนินการของบริษัท  โดยรับสมัครกรณีบุคคลธรรมดา การสอบจะจัดขึ้นปีละครั้ง โดยหน่วยงานซึ่งเป็นศูนย์ของแต่ละเขต(รวมกับบริษัทข้ามชาติ) และไม่มีจัดสอบพิเศษอีก
วิธีการพิจารณาให้คะแนน
-คณะกรรมการให้คะแนนจะพิจารณาให้คะแนนร่วมกันระหว่างศูนย์ในแต่ละเขต ซึ่งหากผลของการให้คะแนนของผู้ตรวจต่างกัน 2 คน คะแนนสูงสุดสำหรับคำถามส่วนบุคคลซึ่งถุกนำมาคำนวณรวมด้วยเป็นคะเนนชี้ขาด
2. ประสบการณ์ในวิชาชีพ
คุณสมบัติของผู้ขอ
- ผู้ขอจะต้องจัดเตรียมรายละเอียดประวัติ โดยจะต้องเป็ฯผู้ที่มีประสพการณ์ในการทำงานในด้านการขนส่งให้แก่บริษัทอย่างน้อย 5 ปี  ไม่ว่าจะเป็นด้านบริหารการจัดการหรือการตลาดก็ตาม
ระเบียบการ
- ผู้ขอจะต้องตอบคำถามในส่วนที่เกี่ยวกับประสพการณ์ และแสดงสามารถด้านความรู้ความสามารถในการจัดการบริษัท ต่อคณะกรรมการที่ปรึกษาเขตซึ่งประกอบไปด้วยตัวแทนบริหารการขนส่งขององค์กรวิชาชีพขนส่งแและตัวแทนฝึกอบรม
- ในขั้นตอนพิจารณษนี้คณะกรรมการที่ปรึกษาสามารถที่จะปฏิเสธิไม่ออกหนังสือรับรองให้และให้ผู้ขอดังกล่าวไปรับการอบรมเพิ่มเติม ซึ่งในกรณีนี้ผู้ขอจะถูกเชิญเข้าไปฝึกอบรม 1 หรือ 2 วิชาเรียน วิชาละ 10 วัน ในเรื่องที่เกี่ยวกับกฎ ระเบียบในการขนส่งและการจัดการการขนส่งของบริษัท  โดยการเรียนในวิชาในหลักสูตรดังกล่าวนี้ผู้เรียนก็จะได้รับการรับรองมื่อผ่านการดสอบ
3. การให้ใบประกาศนียบัตร
ใบประกาศนียบัตรมี 2 ประเภทตามการประกอบกิจการ ดังนี้
ใบประกาศนียบัตรเฉพาะการขนส่งอาชีพ สำหรับผู้ที่ประกอบกิจการการขนส่งเป็นหลัก
ใบประกาศนียบัตรสำหรับกรณีทั่วไป สำหรับผู้สมัครที่ผ่านการอบรม 400 ชั่วโมงตามที่กำหนดไว้ในท้าย กฎหมายแห่งสหภาพยุโรป ฉบับที่ 98/76  ทั้งนี้หากผู้ขอมีความรู้ความชำนาญที่เพียงพอ ซึ่งหากซึ่งหากได้รับการฝึกฝนในหลักสูตรดังกล่าวและมีความสามารถที่เพียงพอแล้วก็สามารถเลื่อนชั้นของใบชนิดของใบประกาศได้ โดยใบประกาศนียบัตรนี้ถือเป็นเอกสารเบิกทางในการที่จะได้รับใบรับรอง
1.2 สถานะทางด้านการเงิน
ก) การขนส่งที่ใช้พาหนะที่มีน้ำหนักเกิน 3.5 ตัน  สถานะด้านการเงินจะถูกคำนวณโดยฐานที่เท่ากับทุนจัดตั้งบริษัท มีเงินประกันที่เหมาะสม จำนวนพาหนะบรรทุก พร้อมกับสมุดแสดงมูลค่าของพาหนะที่โอน( 9000 ยูโร สำหรับพาหนะคันแรกที่ได้รับอนุญาตให้บรรทุกเกิน 3.5 ตัน และอีก 5000 ยูโรสำหรับคพาหนะคันที่เพิ่มขึ้นมาจากคันแรก
เงื่อนไขกำหนดไปถึงว่าให้บริษัทถูกเรียกพบได้ตลอดเวลาของการดำเนินกิจการของบริษัท และต้องมีเงินทุนที่แน่นนอที่จะทำการปรับปรุงส่วนต่างๆของบริษัทให้เป็นไปอย่างมีคุณภาพสอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจหลังจากได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบการขนส่ง
 ข) พาหนะบรรทุกน้ำหนักน้อยกว่า 3.5 ตัน
        ขอกำหนดเกี่ยวกับสถานะการเงินในส่วนของพาหนะเบาในการบรรทุกน้อยกว่า 3.5 ตันนั้น กำหนดไว้เพียง 900 ยูโรเท่านั้น

1.3 มีชื่อเสียงดี
กำหนดเงื่อนไขให้สามารถเรียกพบโดยบุคคลทุกฝ่ายในความรับผิดชอบด้านกฎหมายของบริษัทเอง หรือผู้ถือใบอนุญาต ซึ่งบังคับใช้กับทุกกิจกรรมและทุกส่วนงาน โดยบุคคลเหล่านี้ต้องไม่เป็นอยู่อยู่ในระหว่างการดำเนินคดีอาญาตามกฎที่ระบุไว้ในกฎหมายแห่งสหภาพยุโรป ฉบับที่ 98/76

2. การรับรองเงื่อนไขการอนุญาตในการครอบครองสิทธิและสภาพบังคับ
    2.1 การรับรองเงื่อนไขการอนุญาตตลอดอายุของบริษัท
การตรวจสอบการให้การยินยอมนั้นสามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลาที่บริษัทประกอบกิจการอยู่ และโดยเฉพาะในช่วงดำเนินการต่ออายุใบอนุญาตขนส่ง
ใบอนุญาตให้ทำการขนส่งนั้นอาจไม่ได้รับการพิจารณาต่ออายุถ้าปฏิบัติผิดเงื่อนไข ซึ่งโดยปกติแล้วหน่วยงานดูแลการบริการของรัฐบาลจะให้ระยะเวลาเพอสมควรในการที่จะให้บริษัททำการเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้เป้นไปตามกฎ ระเบียบเป็นเวลา 2-3 เดือนก่อนทำการต่ออายุใบอนุญาต
สถานะภาพทางการเงินของบริษัทจะต้องถูกรับรองโดยผู้ตรวจสอบบัญชีบริษัทเมื่อครบรอบปีปัญชีของบริษัทในแต่ละปี ตามงบดุลบริษัท
      2.2  สภาพบังคับ
บริษทัต้องยอมรับการละเมิดกฎระเบียบต่างๆซึ่งอาจเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากวิธีการบังคับของฝ่ายบริหารในการเพิกถอนการอนุญาตก่อนสิ้นระยะเวลาที่อนุญาต เช่น
ห้ามใช้พาหนะบรรทุก บริษัทต้องรับผิดชอบในคดีอาญาหากเกิดการฝ่าฝืนการห้ามดังกล่าวของฝ่ายบริหารซึ่งอาจเกิดมีขึ้นระหว่างอายุการได้รับอนุญาตนั้น
ให้ย้ายการจดทะเบียนผู้ดำเนินการขนส่ง
กรณีนี้บริษัทต้องรับภาระสามประการที่กล่าวมาข้างต้นในการดำเนินการจดทะเบียนผู้ดำเนิน                     การขนส่งรายใหม่ และรับผิดชอบต่อผู้ขนส่งรายเดิมที่ไม่อาจเป็นผู้มีสิทธิดำเนินการขนส่งเพื่อการ                     สาธารณะได้อีกต่อไป

นิยามของการลงทุนในบริบทข้อตกลงการลงทุนระหว่างประเทศ

นับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา การเคลื่อนย้ายเงินทุนข้ามพรมแดนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยทั่วโลก แต่ในระยะแรกนั้นกฎหมายระหว่างประเทศก็ไม่ได้พัฒนาตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดการกับการลงทุนข้ามพรมแดน ซึ่งถือว่าเป็นความล้มเหลวที่จะสนองตอบความต้องการของประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป ผลที่เกิดขึ้นก็คือเกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาเกี่ยวกับกฎหมายจารีตประเพณีในเรื่องการคุ้มครองการลงทุนระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตามในระหว่างการพัฒนากฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศนั้น ประเทศเจ้าของทุนแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยการหันมาใช้ความตกลงแบบทวิภาคี (bilateral agreement) ในการส่งเสริมการลงทุนทางตรงจากต่างชาติ (FDI) เพื่อให้ทรัพย์สินของตนในต่างประเทศได้รับการปฏิบัติที่ยุติธรรมและได้รับความคุ้มครองจากการปฏิบัติที่ไร้เหตุผลและเลือกปฏิบัติโดยสนธิสัญญาว่าด้วยการลงทุนระดับทวิภาคีเริ่มมีการตกลงกันครั้งแรกในราวปี ค.ศ. 1959 ซึ่งเป็นความตกลงระหว่างเยอร์มันนีและปากีสถาน ซึ่งการทำความตกลงหรือสนธิสัญญาว่าด้วยการลงทุนระดับทวิภาคีก็ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะทำให้เกิดความชัดเจนมากกว่า จากการศึกษาของ UNCTAD พบว่าในปัจจุบัน ทั่วโลกมีการทำความตกลงหรือสนธิสัญญาว่าด้วยการลงทุนแบบทวิภาคีประมาณสองพันกว่าความตกลง
แต่ประเด็นที่มีการถกเถียงกันมากที่สุดในการเจรจาตกลงความตกลงหรือสนธิสัญญาระหว่างประเทศคือ นิยามและขอบเขตของการลงทุน (scope and definition of foreign investment) เพราะวัตถุประสงค์สำคัญของความตกลงเหล่านี้คือ การให้ความคุ้มครองและกำหนดมาตรฐานของการปฏิบัติต่อการลงทุนจากต่างชาติ (protection and treatment of foreign investment) กล่าวคือ นิยามและขอบเขตการลงทุนสัมพันธ์และเชื่อมโยงกับบทบัญญัติต่าง ๆ ในความตกลง อาทิ สิทธิในการเข้ามาลงทุน สิทธิในการจัดตั้งหน่วยธุรกิจ การเคลื่อนย้ายบุคคลและเงินทุน การอนุญาตประกอบกิจการ การเคารพสิทธิในสินทรัพย์ของประเทศผู้รับการลงทุน การยึดคืนเป็นของรัฐ การระงับข้อพิพาท เป็นต้น การให้คำจำกัดความและขอบเขตของการลงทุนจึงเป็นประเด็นที่ประเทศคู่ภาคีให้ความสำคัญมาโดยตลอดในการเจรจาความตกลงด้านการลงทุน แม้ว่าจะเกิดความตกลงระหว่างประเทศในเรื่องดังกล่าวขึ้นมากมาย แต่ในปัจจุบันก็ยังไม่นิยามหรือความหมายที่เป็นเอกภาพและทั่วไปสำหรับสนธิสัญญาด้านการลงทุนระหว่างประเทศ
ดังนั้น เพื่อความเข้าใจในขอบเขตและนิยามของการลงทุน จึงควรพิจารณาจากแหล่งกำเนิดแนวความคิดก่อน ซึ่งก็คือแนวคิดและพัฒนาการที่เกิดภายใต้กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ เพราะการกำหนดนิยามและขอบเขตของความตกลงระหว่างประเทศทั้งหลายเหล่านั้น ส่วนใหญ่มาจากแนวคิดที่จะสร้างความชัดเจนและแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดจากกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ

กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ
ภายใต้กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ ในระยะแรกเริ่มการถกเถียงในประเด็นการคุ้มครองการลงทุนจำกัดอยู่กับสินทรัพย์ที่มีรูปร่าง (physical assets) ของนักลงทุนต่างชาติ โดยมีหลักเกณฑ์ว่าการกระทำที่ขัดแย้งกับสินทรัพย์ของนักลงทุนถือว่าเป็นการยึดทรัพย์ของนักลงทุนต่างชาติหรือเวนคืนเป็นของชาติ (expropriation or nationalization) ซึ่งถือว่าในระยะแรกนี้ประเด็นนิยามทางด้านกฎหมายยังไม่สลับซับซ้อน เพราะประเด็นถกเถียงกันเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ในการยึดทรัพย์หรือเวนคืนเป็นของชาติ รวมทั้งประเด็นการชดใช้ค่าเสียหายจากการกระทำดังกล่าว
ต่อมา ในราวศตวรรษที่ 19 การลงทุนระหว่างประเทศเริ่มขยายตัวมากขึ้น ประเทศผู้รับการลงทุนเริ่มวางกฎระเบียบเกี่ยวกับการจัดตั้งหน่วยธุรกิจของการลงทุนต่างชาติในรูปของนิติบุคคล อาทิ บริษัท ซึ่งการลงทุนต่างชาติในรูปของบริษัทที่มีการถือครองหุ้นและดำเนินกิจการทางธุรกิจก็เพิ่มมากขึ้น และก็นำไปสู่ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการคุ้มครองการลงทุนจากต่างชาติที่อยู่ในรูปของหุ้นของหน่วยธุรกิจ นอกจากนี้ การลงทุนของต่างชาติ โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่มีเทคโนโลยีที่สูงกว่าเริ่มหันเข้าไปลงทุนในการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในประเทศกำลังพัฒนา ประเด็นปัญหาที่ตามมาคือการคุ้มครองการลงทุนในรูปของสัญญาสัมปทานของรัฐ จึงกล่าวได้ว่าในช่วงนี้การคุ้มครองสินทรัพย์ของนักลงทุนต่างชาติเริ่มขยายขอบเขต โดยประเทศผู้รับการลงทุนได้ยกเลิกหรือไม่ปฏิบัติตามสัญญา แต่เกิดปัญหาในทางกฎหมายระหว่างประเทศว่าบริษัทหรือนักลงทุนต่างชาติไม่ถือว่าเป็นบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศ จึงเริ่มมีความพยายามผลักดันในทางกฎหมายระหว่างประเทศให้ขยายความคุ้มครองครอบคลุมผลประโยชน์ของเจ้าของทุนที่เกิดจากการลงทุนไป เริ่มมีการใช้นิยามแบบหน่วยธุรกิจแทนแบบสินทรัพย์ โดยสะท้อนตามการพัฒนากฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ ดังนั้น สิทธิในทรัพย์สินที่จับต้องได้เป็นนิยามหลักและขยายต่อมาครอบคลุมสิทธิในทรัพย์สินที่ไม่สามารถจับต้องได้ที่เกี่ยวเนื่องกับทรัพย์สินในการลงทุน และสิทธิตามสัญญา โดยเฉพาะสิทธิตามสัญญาในสาขาทรัพยากรธรรมชาติ หลังจากคดี Barcelona Traction Case  สนธิสัญญาทวิภาคีได้สนองตอบความต้องการของการคุ้มครองผลประโยชน์ของบรรษัทข้ามชาติ โดยเฉพาะการถือครองหุ้น
สำหรับสิทธิตามสัญญานั้น แม้ว่าจะเกิดขึ้นตามกฎหมายภายในประเทศของประเทศผู้รับการลงทุนและกระบวนการลงทุนเกิดขึ้นภายในประเทศนั้นทั้งหมด สิทธิดังกล่าวได้มาตามกฎหมายภายในประเทศถูกทำให้เป็นที่ยอมรับตามกฎหมายระหว่างประเทศโดยสนธิสัญญา โดยใช้ควบคู่ประกอบกับระบบอนุญาโตตุลาการหรือระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐกับนักลงทุนเพื่อสร้างระบบการคุ้มครองสัญญาเกี่ยวกับปิโตรเลียมและทรัพยากรธรรมชาติอื่นที่ได้รับการรับรองสิทธิภายใต้ระบบกฎหมายระหว่างประเทศ หรือสิทธิอธิปไตยถาวรเหนือทรัพยากรธรรมชาติ (ius cogens norm)
แม้ว่าสนธิสัญญาด้านการลงทุนได้ให้ความคุ้มครองทรัพย์สินที่ไม่มีรูปร่าง ซึ่งเดิมอาจจำกัดเฉพาะการจำนอง (mortgage) จำนำ (liens) และหลักประกัน (pledges) ที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินในการลงทุน แต่ต่อมาในศตวรรษที่ 20 รูปแบบของการลงทุนจากต่างชาติเริ่มหลากหลายมากขึ้นเนื่องจากเทคโนโลยีต่าง ๆ เริ่มมีความสำคัญต่อการผลิตและดำเนินธุรกิจ เทคโนโลยีเหล่านั้นได้รับความคุ้มครองในรูปของทรัพย์สินทางปัญญาในบรรดาประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ยังไม่ได้ยอมรับแนวคิดเหล่านี้มากนัก จึงมีความพยายามผลักดันการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาขึ้น โดยพยายามสร้างระบบการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในเวทีระดับโลก คือ WIPO และ WTO แต่ในขณะเดียวกันก็ได้พยายามรวมทรัพย์สินทางปัญญาเข้าไปในนิยามและขอบเขตของการลงทุนด้วย เพื่อให้บรรดาทรัพย์สินทางปัญญาของตนได้รับความคุ้มครองในฐานะรูปแบบหนึ่งของการลงทุน
ต่อมาระบบสนธิสัญญาระหว่างประเทศก็ขยายให้ความคุ้มครองการอนุญาตหรือสัญญาสัมปทานที่เกี่ยวกับการลงทุน เนื่องจากประเทศกำลังพัฒนาหันมาใช้ระบบการคัดเลือกเพื่อตรวจสอบการไหลเข้ามาของเงินทุนที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศตามนโยบายอนุญาตการลงทุนจึงเป็นกระบวนการการลงทุนต่างชาติสำหรับที่จะเพิกถอนและยุติที่จะให้นักลงทุนต่างชาติออกไปโดยไม่รบกวนการครอบครองโรงงาน ตามสนธิสัญญาได้ก่อตั้งสิทธิก่อนขั้นการลงทุน ขอบเขตการคัดเลือกจะไม่มี แต่ใบอนุญาตอาจต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่นด้วย เช่น การวางแผนและการควบคุมสิ่งแวดล้อม เป็นต้นในสนธิสัญญาทันสมัยบางฉบับได้ครองคลุมใบอนุญาตของฝ่ายบริหารที่จำเป็นต้องกระบวนการลงทุนจากต่างชาติ การเข้าแทรแซงใบอนุยาตจะได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติเงื่อนไขการยึดทรัพย์หรือเวนคืนดโยกำหนดให้ต้องมีกระบวนการที่ถูกต้องเป็นธรรมตามกฎหมาย แต่ประเด็นที่ปรากฎในปัจจุบันคือ portfolio investment ซึ่งมีประเด็นถกเถียงอย่างกว้างขวางกันมากทั้งในกรอบความตกลงแบบทวิภาคีและพหุภาคี

นิยามการลงทุนตามความตกลงระหว่างประเทศ
วิธีการที่ความตกลงด้านการลงทุนกำหนดนิยามการลงทุนไว้ควรจะพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของความตกลง เช่น
การคุ้มครองการลงทุน (investment protection) เช่น การประกันการยึดทรัพย์คืนเป็นของรัฐ
การเปิดเสรีการลงทุน (investment liberalization) เช่น การให้สิทธิเข้ามาและจัดตั้งหน่วยธุรกิจหรือลดข้อจำกัดเรื่องการถือครองหุ้นของคนต่างด้าว
การส่งเสริมการลงทุน (investment promotion) เช่น การประกันการลงทุน
การควบคุมกำกับดูแลการลงทุน (investment regulation) เช่น บทบัญญัติว่าด้วยมาตรฐานสิ่งแวดล้อม หรือการถ่ายถอดเทคโนโลยี เป็นต้น
เมื่อความตกลงประสงค์จะบรรลุวัตถุประสงค์เหล่านี้ข้างต้น ปัญหาคือการหาความสมดุลย์ระหว่างการยอมให้มีความยืดหยุ่นแก่บริษัทในการจัดองค์กรและจัดการทางการเงินในการลงทุน และความยืดหยุ่นแก่ประเทศเจ้าบ้าน โดยประเทศกำลังพัฒนา ในการจัดการกับการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่อาจเกิดขึ้นรวดเร็ว ระดับของการรวมตัวของประเทศภาคีต้องคำนึงถึงขอบเขตของนิยามการลงทุน
นิยามการลงทุนอาจขยายหรือลดได้ในความตกลงด้านการลงทุนระหว่างประเทศ แต่เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับบทบัญญัติในส่วนอื่น ๆ การพิจารณาขอบเขตของคำนิยามการลงทุนต้องพิจารณาประกอบกับหลักการและบทบัญญัติในส่วนอื่น ๆ ด้วย
นิยามการลงทุนที่ใช้กันโดยทั่วไปสามารถแบ่งได้ดังต่อไปนี้
(ก) แนวทางอิงสินทรัพย์ (Asset-based approach) คำจำกัดความนี้ใช้มาตรฐานของสินทรัพย์ และเป็นคำจำกัดความที่กว้างขวางที่ครอบคลุมทั้งการลงทุนในรูปของการลงทุนทางตรงและ portfolio investment อย่างไรก็ตามแนวทางดังกล่าวนี้สามารถปรับเปลี่ยนได้หลากหลาย เช่น การจัดการกับการกำกับดูแลเงินทุนระยะสั้น หรือการยกเว้นเงินทุนที่เกี่ยวกับธุรกรรมทางการเงินที่เก็งกำไร แนวนิยามนี้ได้รับความนิยมมากในความตกลงคุ้มครองการลงทุน โดยมีแนวโน้มที่จะกว้าง รวมทั้งสินทรัพย์และกระแสเงินทุน ทรัพย์สินที่สามารถจับต้องได้และทรัพย์สินที่ไม่สามารถจับต้องได้ ผลประโยชน์ต่าง ๆ  ของบริษัท สิทธิเรียกร้องเรื่องเงิน สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา และสัญญาสัมปทาน อย่างไรก็ตามขอบเขตเหล่านี้อาจจำกัดก็ได้ ตัวอย่างเช่น รัฐบาลอาจจำกัดขอบเขตของนิยามการลงทุนโดยการกำหนดให้ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขแข้อจำกัดตามกฎหมายและระเบียบภายในของประเทศหรือต้องได้รับอนุมัติจากฝ่ายปกครองก่อน หรืออาจจะยกเว้นการลงทุนบางประเภทออก เช่น portfolio investment บางครั้งก็จำกัดขนาดขั้นต่ำของการลงทุน
The term “investment” shall mean every kind of asset and in particular shall include, though not exclusively:
a) movable and immovable property and any other property rights such as mortgages, liens and pledges;
b) shares, stocks and debentures of companies or interests in the property of such companies;
c) claims to money or to any performance under contract having a financial value;
d) intellectual property rights and goodwill;
e) business concessions conferred by law or under contract, including concessions to search for, cultivate, extract, or exploit natural resources.

นิยามแบบสินทรัพย์ไม่ได้กำหนดให้นักลงทุนต้องมีอำนาจควบคุมบริษัท และยังรวมถึงหนี้และผลประโยชน์ต่าง ๆ จากทุนด้วย โดยครอบคลุมถึง portfolio investment และการลงทุนทางตรง การนิยามรวมสินทรัพย์แทบทุกประเภทนี้ทำให้มีขอบเขตที่กว้างกว่าทุน (capital) ที่มักเข้าใจถึงความสามารถในการผลิตสินค้า
เนื่องจากขอบเขตของนิยามการลงทุนตามแนวทางนี้กว้าง แต่ก็สามารถจำกัดขอบเขตได้หลายแนวทาง ตัวอย่างเช่น วิธีการแรก ความตกลงด้านการลงทุนระหว่างประเทศมักจำกัดขอบเขตของนิยามสินทรัพย์ที่ได้รับการยอมรับหรือจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายภายในของประเทศของเจ้าบ้านก่อน วิธีการทางเทคนิคที่แตกต่างเพียงเล็กน้อยสามารถบรรลุผลในการจำกัดขอบเขตของความตกลงในเรื่องการลงทุนที่ต้องได้รับการยอมรับหรือจดทะเบียนตามกฎหมายภายในของประเทศเจ้าบ้านก่อน ตัวอย่างดช่น มาตรา II (1) ของ ASEAN Agreement for the Promotion and Protection of Investments

This Agreement shall apply only to investments brought into, derived from or directly connected with investments brought into the territory of any Contracting Party by nationals or companies of any other Contracting Party and which are specifically approved in writing and registered by the host country and upon such conditions as it deems fit for the purposes of this Agreement.

วิธีการที่สอง ขอบเขตของนิยามสินทรัพย์สามารถจักดตามลักษณะของการลงทุน ความตกลง NAFTA ยกเว้นหลักทรัพย์ประเภทหุ้นกู้ (Debt securities) และเงินกู้ต่อรัฐวิสาหกิจ (loans to State Enterprises) รวมทั้งที่ดินและทรัพย์สินที่จับต้องได้หรือจับต้องไม่ได้อื่น ๆ บนเงื่อนไขว่าทรัพย์สินได้มาตามความคาดหมายหรือถูกใช้เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและวัตถุประสงค์ทางธุรกิจอื่น และยกเว้นสิทธิเรียกร้องเรื่องเงินที่เกิดจากสัญญาทางพาณิชย์เท่านั้นในการขายสินค้าหรือให้บริการหรือจากการขยายเครดิตที่เกี่ยวกับธุรกรรมทางการค้า
วิธีการที่สามคือในความตกลงเกี่ยวกับบางสาขาของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ นิยามของการลงทุนถูกจำกัดเฉพาะการลงทุนในสาขาอุตสาหกรรมนั้น ตัวอย่างเช่น นิยามในมาตรา 1 (6) ของ 1994 Energy Charter Treaty:

[…] “investment” refers to any investment associated with an Economic Activity in the Energy Sector and to investments or classes of investments designated by a Contracting Party in its Area as “Charter efficiency projects” and so notified to the Secretariat.”

ความตกลงหลายฉบับตกลงในแบบความตกลงภูมิภาคโดยขยายขอบเขตการลงทุนในแบบทางอ้อม เช่น บริษัทที่จัดตั้งในประเทศที่สาม ดังนั้น ความตกลงแบบทวิภาคีที่ตกลงกับแคนาดานิยามคำว่า การลงทุน
Any kind of asset owned or controlled either directly, or indirectly though an investor of a third State, by an investor of one Contracting Party in the territory of the other Contracting Party in accordance with the latter’s laws… .”

(ข) แนวทางอิงธุรกรรม (Transaction-based approach) คำจำกัดความที่มุ่งเน้นการเคลื่อนย้ายเงินทุนข้ามพรมแดน โดยการให้ความคุ้มครองไม่ได้เน้นที่สินทรัพย์ แต่จะเน้นที่กระแสหรือการเคลื่อนย้ายเงินทุน ซึ่งนักลงทุนต่างชาติสร้างหรือได้มาจากสินทรัพย์ในประเทศเจ้าบ้านนั้น ตัวอย่างเช่น OECD Code of Liberalization of Capital Movements ที่ไม่ได้จำกัดความการลงทุน แต่จะระบุรายการธุรกรรมระหว่างคนชาติและคนต่างชาติซึ่งอยู่ภายใต้ข้อผูกพันการเปิดเสรี รวมทั้งการลงทุนภายในประเทศและการลงทุนนอกประเทศ
ตัวอย่างของแนวทางนิยามแบบธุรกรรมใช้ใน IMF ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสถิติด้านดุลชำระบัญชี (balance-of-payments statistics)

359. Direct investment is the category of international investment that reflects the objective of a resident entity in one economy obtaining a lasting interest in an enterprise resident in another economy.  (The resident entity is the direct investor and the enterprise is the direct investment enterprise).  The lasting interest implies the existence of a long-term relationship between the direct investor and the enterprise and a significant degree of influence by the investor on the management of the enterprise.  Direct investment comprises not only the initial transaction establishing the relationship between the investor and the enterprise but also all subsequent transactions between them and among affiliated enterprises, both incorporated and unincorporated. [...]
368. Direct investment capital is (i) capital (either directly or through other related enterprises) by a direct investor to a direct investment enterprise or (ii) capital investor to a direct investment enterprise by a direct investor. […]
396. The components of direct investment capital transactions […] are equity ca[ital, reinvested earnings, and other capital associated with various intercompany debt transactions.

แนวคิดของผลประโยชน์ระยะยาว (last interest) ได้มีการจำกัดความในลักษณะที่นักลงทุนเป็นเจ้าของหุ้นสามัญหรือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงอย่างน้อย 10% ในบริษัทหรือเท่าเทียมกันสำหรับหน่วยธุรกิจที่ไม่จดทะเบียนเป็นบริษัท หากนักลงทุนเป็นเจ้าของน้อยกว่า 10% ในหุ้นหรือสิทธิออกเสียง การลงทุนสามารถพิจารณาว่าเป็นการลงทุนทางตรง หากนักลงทุนมีสิทธิลงคะแนนในการบริหารจัดการบริษัทอย่างมีประสิทธิภาพ
OECD Code of Liberalisation of Capital Movements กำหนด การลงทุนทางตรง ดังต่ไปนี้
Investment for the purpose of establishing lasting economic relations with an undertaking such as, in particular, investments which give the possibility of exercising an effective influence on the management thereof:
A. In the country concerned by non-residents by means of:
1. Creation or extension of a wholly-owned enterprise, subsidiary or branch, acquisition of full ownership of an existing enterprise;
2. Participation in a new or existing enterprise;
3. A loan of five years or longer.
B. Abroad by residents by means of:
1. Creation or extension of a wholly-owned enterprise, subsidiary or branch, acquisition of full ownership of an existing enterprise;
2. Participation in a new or existing enterprise;
3. A loan of five years or longer.
OECD ใช้หลักเกณฑ์ความเป็นเจ้าของหุ้นในสัดส่วน 10% เป็นในการพิจารณาความสามารถของนักลงทุนต่างชาติในการใช้อำนาจบริหารอย่างมีประสิทธิภาพในหน่วยุรกิจ

(ค) แนวทางอิงหน่วยธุรกิจ (Enterprise-based Approach) การลงทุนหมายความถึงการจัดตั้งหรือได้มาซึ่งหน่วยทางธุรกิจและหุ้นในกิจการธุรกิจ ซึ่งให้อำนาจควบคุมเหนือหน่วยธุรกิจ คำจำกัดความนี้ใช้ในการให้คำจำกัดความการลงทุนทางตรงด้วย คำนิยามตามแนวหน่วยธุรกิจจำกัดการเปิดเสรีและคุ้มครองต่อหน่วยธุรกิจที่จัดตั้งโดยนักลงทุนต่างชาติ ใช้ในความตกลงเขตการค้าเสรีแคนาดา-สหรัฐอเมริกา ปี ค.ศ. 1988 ตัวอย่างเช่น นิยามนี้มีขอบเขตที่แคบกว่านิยามแบบสินทรัพย์ ซึ่งรวมสินทรัพย์อื่นนอกจากบริษัทและกระแสเงินทุน ขอบเขตของการลงทุนอาจขยายไปยังการลงทุนทุกอย่างของหน่วยธุรกิจที่จัดตั้งภายหลัง
แนวทางการนิยามแบบหน่วยธุรกิจจะมุ่งเน้นการลงทุนต่างชาติในฐานะการจัดตั้งธุรกิจใหม่ หรือการได้มาของผลประโยชน์ที่ควบคุมได้ในบริษัทที่มีอยุ่เดิมในเขตแดนของอีกประเทศหนึ่ง แนวทางนี้ปรากฎใน Canada-United States Free Trade Agreement

a) the establishment of a new business enterprise, or
b) the acquisition of a business enterprise; and includes:
c) as carried on, the new business enterprise so established or the business enterprise so acquired, and controlled by the investor who has made the investment; and
d) the share or other investment interest in such business enterprise owned by the investor provided that such business enterprise continues to be controlled by such investor”

ความตกลง GATS กำหนดคำว่า “trade in services” โดยกำหนดเป็นสี่รูปแบบของการให้บริการ (mode of supply of a service) ซึ่งรวมทั้งกาให้บริการโดยผู้ให้บริการของประเทศสมาชิกหนึ่งโดยการจัดตั้งหน่วยธุรกิจ (commerce presence) ในดินแดนของอีกประเทศสมาชิกหนึ่ง
ความตกลงลงทุนระหว่างประเทศบางฉบับที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนทางตรงอาจใช้แนวทางจำกัดนิยามที่แตกต่างออกไป โดยมุ่งเน้นการลงทุนต่างชาติในหน่วยธุรกิจมากกว่ารายการทรัพย์สินต่าง ๆ ที่ลงทุนในประเทศเจ้าบ้าน นิยามแบบนี้เรียกว่านิยามแบบอิงหน่วยธุรกิจ (enterprise-based definition) โดยทั่วไปจุดที่สำคัญคือวัตถุประสงค์ของนักลงทุนในการควบคุมแลผลประโยชน์ของหน่วยธุรกิจในระยะยาวโดยการเป็นเจ้าของธุรกิจและบริหารจัดการ ตัวย่างที่สำคัญคือความตกลงการค้าเสรีระหว่างแคนาดากับสหรัฐอเมริกาปี ค.ศ. 1988 ที่ให้คำจำกัดความดังนี้
(a) the establishment of a new business enterprise, or (b) the acquisition of a business enterprise; and includes: (c) as carried on, the business enterprise so established or the business enterprise so acquired, and controlled by the investor who has made the investment; and (d) the share or other investment interest in such business enterprise owned by the investor provided that such business enterprise continues to be controlled by such investor.
ตัวอย่างอีกประการหนึ่งคือสนธิสัญญาการลงทุนทวิภาคีระหว่างเดนมาร์คกับโปแลนด์ ที่ให้คำจำกัดความการลงทุนหมายถึง
all investments in companies made for the purpose of establishing lasting economic relations between the investor and the company and giving the investor the possibility of exercising significant influence on the management of the company concerned.
แนวความคิดการควบคุมของต่างชาติ (foreign control) เป็นหลักการสำคัญในการจำกัดขอบเขตของการใช้นิยามแบบหน่วยธุรกิจ โดยเฉพาะการแยกความแตกต่างระหว่างการลงทุนทางตรงกับ portfolio investment  ในกรณีความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างแคนาดากับสหรัฐอเมริกานั้น การควบคุม หมายความถึง เจ้าของสินทรัพย์ทั้งหมดหรือส่วนใหญ่ที่ใช้ในการดำเนินกิจการธุรกิจ
ตามหลักแล้ว การลงทุนระหว่างประเทศอยู่ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ แต่ในขณะที่การลงทุนภายในประเทศจะขึ้นอยู่กับกฎหมายภายในประเทศ แต่ในทางปฏิบัติถือเป็นเรื่องยากที่จะแบ่งแยก เนื่องจากการลงทุนภายในประเทศอาจได้รับความคุ้มครองโดยกฎหมายระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ข้อแตกต่างคือ กฎหมายภายในประเทศมักใช้เกณฑ์ของผู้มีถิ่นที่อยู่เป็นหลักในการให้ความคุ้มครองสำหรับบุคคลธรรมดาและเกณฑ์ของการจัดตั้งองค์กรธุรกิจ โดยไม่คำนึงถึงสัญชาติของบุคคลหรือบริษัทแม่แต่ประการใด แต่สำหรับกฎหมายระหว่างประเทศแล้วจะใช้เกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งของสัญชาติหรือการควบคุมคือ
เกณฑ์แห่งสัญชาติ (Nationality)  ในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลธรรมดา สัญชาติของบุคคลจะขึ้นอยู่กับกฎหมายภายในของประเทศให้สัญชาติ ซึ่งสอดคล้องกับคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดี Barcelona Traction ค.ศ. 1970
เกณฑ์การควบคุม (Control) โดยคำนึงถึงความเป็นจริงในทางเศรษฐกิจและการเงิน เกณฑ์เกี่ยวกับการควบคุมใช้สำหรับระบุว่าการลงทุนมีลักษณะเป็นการลงทุนระหว่างประเทศ แม้ว่าจะอยู่ในดินแดนของรัฐเจ้าของสัญชาติหรือรัฐซึ่งเป็นที่ตั้งของหน่วยธุรกิจ

อนึ่ง แนวทางที่ความตกลงด้านการลงทุนระหว่างประเทศกำหนดนิยามการลงทุนขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของขอบเขตและวัตถุประสงค์ของแต่ละความตกลง บางความตกลงมุ่งที่จะเปิดเสรีการลงทุน ในขณะที่บางความตกลงมุ่งที่จะได้รับความคุ้มครองการลงทุน ในทางปฏิบัติ ข้อแตกต่างดังกล่าวไม่ได้มีความชัดเจนเสมอไป ตัวอย่างเช่น สนธิสัญญาการลงทุนแบบทวิภาคีมักจะประสงค์ให้มีการคุ้มครองการลงทุน แต่ก็อาจมุ่งที่จะเปิดเสรีการลงทุนด้วย โดยการใช้ควบคู่กับหลักประติบัติเยี่ยงคนชาติ (national treatment)
ความตกลงด้านการลงทุนระหว่างประเทศที่ประสงค์ให้มีการคุ้มครอง แต่ในความตกลงระดับภูมิภาคมีแนวโน้มที่จะใช้นิยามแบบสินทรัพย์ที่เปิดกว้างครอบคลุมสิทธิในทรัพย์สินแทบทุกประเภทในประเทศเจ้าบ้านที่มีมูลค่าทางการเงิน ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยมค่อนข้างมาก ตัวอย่างเช่น ASEAN Agreement for the Protection and Promotion of Investments เป็นต้น สำหรับความตกลงระดับภูมิภาคอื่น ๆ อาจใช้แนวทางอื่นซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของบทบัญญัติการลงทุน บางความตกลงอาจมุ่งประสงค์ที่เปิดเสรีการลงทุนก็จะใช้นิยามแบบแคบลงมา ตัวอย่างเช่น 1998 Framework Agreement on the ASEAN Investment Area ที่ยกเว้น portfolio investment หรือ 2000 free trade agreement between the European Free Trade Association members and Mexico เป็นต้น
ความตกลง GATS ไม่ได้ให้คำจำกัดความการลงทุนไว้ แต่ให้นิยามคำว่า commerce presence หมายความถึง ประเภทของธุรกิจหรือหน่วยธุรกิจวิชาชีพ ซึ่งเป็นไปตามแนวทางของนิยามแบบหน่วยธุรกิจ ส่วนความตกลง TRIMs ไม่ได้ให้คำจำกัดความการลงทุนไว้

ประเด็นความเป็นเจ้าของและการควบคุม
ประเด็นความเป็นเจ้าของและการควบคุมของการลงทุนโดยบริษัทไม่ได้มีการหยิบยกขึ้นมาในทุกความตกลงการลงทุนระหว่างประเทศ ความตกลงหลายฉบับทิ้งประเด็นดังกล่าวให้ตัดสินตามกฎหมายหุ้นส่วนหรือบริษัทของประเทศนั้น ๆ แต่ในความตกลงก็พยายามอาจระบุให้เป็นไปตามแนวทางของกฎหมายประเทศเจ้าบ้าน (host country) หรือกฎหมายประเทศของนักลงทุน (home country) กล่าวคือ ในการกำหนดให้พิจารณาตามกฎหมายของประเทศนักลงทุนนั้นโดยการอ้างถึงสถานที่บริษัทนั้นจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท (place of incorporation) และ/หรือสถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่ (location of headquarter) ความตกลงบางฉบับใช้หลักสัญชาติประกอบกับหลักเกณฑ์สถานที่ตั้งด้วย อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติอาจเป็นการยากในกรณีที่บริษัทมีหุ้นซื้อขายอย่างแพร่หลายในระดับระหว่างประเทศในตลาดหลักทรัพย์ โดยทั่วไปจึงไม่นิยมใช้ในกรณีวัตถุประสงค์ของความตกลงคือเพิ่มความเสถียรภาพและความแน่ชัดของเงื่อนไขการลงทุน ความจำเป็นในการกำหนดว่านักลงทุนมีสัญชาติใดจึงไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับการลงทุนมากนัก
ความตกลงการลงทุนส่วนใหญ่ที่ใช้นิยามแบบสินทรัพย์มักระบุลักษณะพิเศษของบริษัทและต้องมีนักลงทุนของประเทศเจ้าบ้านเป็นองค์ประกอบด้วย อย่างไรก็ตามในการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นเจ้าของกับอำนาจควบคุมต้องเกิดขึ้นระหว่างนักลงทุนและการลงทุนในประเทศเจ้าบ้าน หากการลงทุนอยู่ภายใต้ขอบเขตของความตกลงระหว่างประเทศ ซึ่งแนวทางนี้รวมอยู่ในนิยามแบบหน่วยธุรกิจและนิยามแบบธุรกรรม ตัวอย่างเช่น ในกรณีของความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างแคนาดากับสหรัฐอเมริกา

control or controlled, with respect to:
(a) a business enterprise carried on by an entity, means
(i) the ownership of all or substantially all of the assets used in carrying on the business enterprise, and
(ii) includes, with respect to an entity that controls a business enterprise in the manner described in subparagraph (i), the ultimate direct or indirect control of such entity through the ownership of voting interests; and
(b) a business enterprise other than a business enterprise carried on by an entity, means the ownership of all or substantially all of the assets used in carrying on the business enterprise.
ความตกลงจำนวนน้อยเท่านั้นที่ก้าวล่วงไปกำหนดนิยามความเป็นเจ้าของและอำนาจในการควบคุมในแง่ของปริมาณ ตัวอย่างเช่น การใช้หุ้นสามัญหรือสิทธิในการลงคะแนน ซึ่งเป็นไปตามแนวทางนิยามแบบธุรกรรมที่กำหนดการลงทุน หากจำเป็นเพื่อสร้างความชัดเจนระหว่างการลงทุนทางตรงและการลงทุนทางอ้อม ตัวอย่างเช่น  IMF ได้กำหนดจำนวนหุ้นขั้นต่ำไว้ที่ 10 % สำหรับการลงทุนทางตรง แต่ก็มีวัตถุประสงค์เพื่อการรวบรวมข้อมูลทางสถิติ หรือ UNCTAD กำหนดว่าต้องเป็นเจ้าของ 50% หรือมีอำนาจควบคุมส่วนใหญ่ ในกรณีของความตกลง GATS
มาตรา I และ XXVIII ของความตกลง GATS ได้ให้คำจำกัดความ การค้าบริการ (Trade in services) โดยรูปแบบ 3 (Mode 3) Commercial Presence หมายถึง การจัดตั้งหน่วยธุรกิจเพื่อให้บริการในต่างประเทศ เช่น บริษัทต่างชาติเข้ามาเปิดสาขาสำนักงานในประเทศไทย หรือบริษัทไทยไปเปิดสาขาสำนักงานในต่างประเทศ เป็นต้น (มาตรา I:2(c))
ความตกลง GATS มิใช่ความตกลงว่าด้วยการลงทุนในทำนองเดียวกับความตกลงลงทุนระหว่างประเทศ เพราะความตกลง GATS มุ่งเน้นความสามารถในการให้บริการมากกว่าการลงทุน และองค์ประกอบที่สำคัญประการหนึ่งคือการจัดตั้งหน่วยธุรกิจในประเทศเจ้าบ้านเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้บริการ อย่างไรก็ตามทั้งสองไม่สามารถแบ่งแยกออกจากกันได้ ดังนั้น การจัดตั้งหน่วยธุรกิจในความตกลง GATS จึงมีความหมายใกล้เคียงกับความหายเรื่องการลงทุนในความตกลงระหว่างประเทศ และในแง่ของผู้ให้บริการก็มีความหมายใกล้เคียงกับความหมายนักลงทุน
การจัดตั้งหน่วยธุรกิจที่กำหนดในความตกลง GATS คือ
"commercial presence" means any type of business or professional establishment, including through (i) the constitution, acquisition or maintenance of a juridical person, or (ii) the creation or maintenance of a branch or a representative office, within the territory of a Member for the purpose of supplying a service.   (Article XVIII(d))
กล่าวได้ว่าเป็นการให้นิยามตามแนวทางสินทรัพย์ในแบบแคบที่นิยมใช้ในความตกลงการลงทุนระหว่างประเทศ แต่ก็คล้ายกับแนวทางหน่วยธุรกิจด้วย เพราะครอบคลุมทั้งการจัดตั้งและได้มาซึ่งหน่วยธุรกิจในประเทศเจ้าบ้าน และกิจกรรมของหน่วยธุรกิจหลังจากจัดตั้งเพื่อให้บริการ
ขอบเขตของการลงทุนตามความตกลง GATS ถูกจำกัดสองวิธีคือ วิธีการแรก การจำกัดขอบเขตสาขาการให้บริการ และวิธีการที่สองขอบเขตของความตกลง GATS จำกัดโดยวิธีการของการลงทุนจะได้รับการปฏิบัติตามสารบัญญัติ ข้อจำกัดดังกล่าว เช่น การยกเว้นกิจกรรมการจัดซื้อภาครัฐจากหลักประติบัติเยี่ยงคนชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (MFN) (Article XIII) บ้างก็ระบุสถานการณ์เฉพาะ เช่น ข้อจำกัดในการชำระเงินและโอนเงินที่เกี่ยวกับการลงทุนเพื่อป้องกันดุลการชำระเงิน (Article XI และ XII) อื่น ๆ เช่น พันธกรณีหลักประติบัติเยี่ยงคนชาติของความตกลง GATS ใช้กับบางสาขาเท่านั้นตามที่กำหนดโดยประเทศสมาชิกในตารางผูกพันเฉพาะ (article XVII) ความตกลง GATS ได้เดินตามรูปแบบของความตกลงการลงทุนระหว่างประเทศที่จำกัดขอบเขตการบังคับใช้ตามสารบัญญัติของความตกลงมากกว่านิยามที่ใช้
สำหรับแนวความคิดเรื่อง นักลงทุน (investor) ภายใต้ความตกลง GATS นั้น ก็เดินตามแนวทางของความตกลงการลงทุนระหว่างประเทศทั่วไปที่ครอบคลุมทั้งกรณีของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ผู้ให้บริการ (service supplier) หมายความถึง บุคคลใดที่ให้บริการ (article XXVII(g)) และรวมถึงบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลต่างชาติด้วย ในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลธรรมดา ความตกลง GATS กำหนดในทำนองเดียวกับความตกลงลงทุนระหว่างประเทศในแง่ที่เป็นบุคคลที่มีสัญชาติของประเทศนักลงทุน และครอบคลุมผู้มีภูมิลำเนาถาวรตามเงื่อนไขในมาตรา XXVII (k) ส่วนกรณีของนิติบุคคล ความตกลง GATS กำหนดนิยามของนิติบุคคล (juridical person) ดังต่อไปนี้
"juridical person" means any legal entity duly constituted or otherwise organized under applicable law, whether for profit or otherwise, and whether privately-owned or governmentally-owned, including any corporation, trust, partnership, joint venture, sole proprietorship or association (Article XVIII:(l))

ภาษาที่ใช้คล้ายกันกับความตกลงลงทุนระหว่างประเทศในการกำหนดนิติบุคคล (Legal entities) ความตกลง GATS ครอบคลุมองค์กรไม่แสวงหาผลประโยชน์ (non-profit organizations) และบรรษัทรัฐวิสาหกิจ (state-owned corporations) ด้วย
ความตกลง GATS จำกัดขอบเขตของบริษัทที่อยู่ภายใต้นิยามโดยการกำหนดเงื่อนไขอขงการจัดตั้งในประเทศของนักลงทุน และเงื่อนไขความเป็นเจ้าของและอำนาจในการควบคุมเหนือบริษัทสาขาหรือบริษัทลูกในประเทศเจ้าบ้าน
"juridical person of another Member" means a juridicial person which is either:
(i) constituted or otherwise organized under the law of that other Member, and is engaged in substantive business operations in the territory of that Member or any other Member; or
(ii) in the case of the supply of a service through commercial presence, owned or controlled by: 1. natural persons of that Member; or 2. juridical persons of that other Member identified under subparagraph (i) (Article XVIII:(m))

a juridical person is:
(i) "owned" by persons of a Member if more than 50 per cent of the equity interest in it is beneficially owned by persons of that Member;
(ii) "controlled" by persons of a Member if such persons have the power to name a majority of its directors or otherwise to legally direct its actions;
(iii) "affiliated" with another person when it controls, or is controlled by, that other person;  or when it and the other person are both controlled by the same person. (Article XVIII:(n))

ตามแนวทางนิยามนี้ การกำเนิดของนิติบุคคลของประเทศสมาชิกอื่นอาจกำหนดเพียงกฎเกณฑ์ความเป็นเจ้าของในเชิงปริมาณและการควบคุม ดังนั้น ตัวอย่าง ที่จะถือว่าเป็นผู้ให้บริการในประเทศสมาชิกอื่น โดยการจัดตั้งหน่วยธุรกิจในประเทศเจ้าบ้านต้องพิจารณาตามกฎหมายภายในของประเทศนั้นหรือการประกอบธุรกิจในประเทศนักลงทุนและบริษัทสาขาในประเทศเจ้าบ้านต้องถือหุ้นอย่างน้อย 50% หรือมีอำนาจควบคุมโดยบริษัทแม่

ประเด็นปัญหาอำนาจอธิปไตยและขอบเขตของการคุ้มครองการลงทุน
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับสนธิสัญญาการลงทุนที่ต้องการกระบวนการระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นภายในประเทศทั้งหมด ไม่เหมือนกับการค้าระหว่างประเทศที่ใช้กับมาตรการภาษีและมาตรการอื่นที่ ณ จุดพรมแดน สนธิสัญญาการลงทุนเกี่ยวกับการดำเนินการของบรรษัทข้ามชาติภายในอาณาเขตของประเทศเจ้าบ้าน สนธิสัญญานี้สามารถถูกแทรกแซงได้ภายใต้การควบคุมของประเทศผู้รับการลงทุน พันธกรณีในสนธิสัญญาการลงทุนจำกัดอำนาจอธิปไตยของประเทศผู้รับการลงทุนเหนือการลงทุนของต่างชาติ นี้อาจเป็นความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ จึงจำเป็นที่ต้องการมาตรฐานภายนอกการให้ความคุ้มครองการลงทุนต่างชาติและส่งเสริมการไหลเวียนการลงทุน และในอีกแบบหนึ่งความจำเป็นสำหรับการคุ้มครองอำนาจอธิปไตยในการควบคุมการลงทุนต่างชาติจากการขยายผลประโยชนสูงสุดของการลงทุนต่างชาติและหลักเลี่ยงผลกระทบทางลบ สนธิสัญญาการลงทุนต้องนำมาความประนีประนอมระหว่างสองแนวคิด โดยมีหลายแนวทางดังนี้
แนวทางแรก: NAFTA และความตกลงทวิภาคีของสหรัฐฯ ซึ่งให้คำจำกัดความการลงทุนที่กว้าง แต่จะยกเว้นสินทรัพย์บางประเภทที่ไม่มีผลที่ดีจากการลงทุนต่างชาติออก เช่น เงินกู้ของบริษัทไม่รวมอยู่ในนิยามหรือขอบเขตของการลงทุน หรือการจำกัดสัญญาสัมปทานที่เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติภายในประเทศเท่านั้น เป็นต้น แต่บทบัญญัติอื่น เช่น การให้ความคุ้มครองและปฏิบัติต่อการลงทุนต่างชาติจะมีมาตรฐานค่อนข้างสูง ซึ่งประเทศผู้รับการลงทุนจะมีอำนาจหรือการควบคุมการลงทุนน้อยลง แต่สนธิสัญญาหรือความตกลงดังกล่าวก็อนุญาตให้ประเทศผู้รับการลงทุนสามารถยกเว้นสาขาหรือกิจการบางอย่างออกจากนิยามหรือขอบเขตการลงทุนได้ อาจในรูปของ negative list หรือ positive list ข้อดีของแนวทางดังกล่าวนี้คือ การให้ความคุ้มครองการลงทุนต่างชาติจะค่อนข้างมีประสิทธิภาพ แต่ก็มีช่องให้ประเทศผู้รับการลงทุนสามารถจำกัดขอบเขตของการลงทุนจากต่างชาติได้ตามรายสาขาหรือกิจกรรม แนวทางนี้ประเทศพัฒนาแล้วจะสร้างความกดดันให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาให้ถอนรายการยกเว้นออกในตอนเจรจาหรือกดดันต่อในภายหลัง โดยการมีเงื่อนไขให้มีการทบทวนเพื่อเปิดเสรีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
แนวทางที่สอง: ในสนธิสัญญาความตกลงของบรรดาประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มักจะจำกัดขอบเขตของผลประโยชน์สนธิสัญญาการลงทุนที่ต้องได้รับการรับรอง (approved investment) แนวปฏิบัตินี้เป็นที่แพร่หลาย ตัวอย่างเช่น ASEAN Treaty on the Promotion and Protection of Foreign Investment ที่มีบทบัญญัติจำกัดการใช้เพียงการลงทุนที่ได้รับการรับรองเป็นลายลักษณ์อักษร การคุ้มครองสนธิสัญญาถูกจำกัดการลงทุนที่ต้องได้รับการลงทุนจากประเทศผู้รับการลงทุน ซึ่งปรากฎความไม่เท่าเทียมกันระหว่างประเทศคู่สัญญา ประเทศกำลังพัฒนาได้รับทุนมาก จึงจำเป็นต้องคุ้มครองอำนาจอธิปไตย ในขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วอาจไม่มีผลกระทบมากนักในทางลบ ประเทศกำลังพัฒนาประกันว่าการคุ้มครองตามสนธิสัญญาถูกจำกัดโดยใช้กระบวนการอนุมัติหรือรับรองเพื่อส่งเสริมวัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจ
แนวทางที่สาม: บางสนธิสัญญาใช้การจำกัดความนิยามการลงทุนที่จะได้รับความคุ้มครองในแบบเดียวกับที่ให้ความคุ้มครองคนชาติ การประกันการลงทุนจากต่างชาติเพื่อให้สามารถเรียกร้องจากการปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศผู้รับการลงทุน ข้อจำกัดแบบกว้างนี้เป็นการรักษาอำนาจอธิปไตย พบได้ในประเทศจีน อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และมาเลเซีย เป็นต้น และในบางสนธิสัญญาได้กำหนดให้เป็นอัตวิสัย (subjective) มากขึ้น โดยการกำหนดว่า in accordance with the laws and regulations from time to time in existence” ซึ่งทำให้การคุ้มครองเปลี่ยนแปลงพันธกรณีตามกฎหมายและระเบียบภายในประเทศ ซึ่งมีการถกเถียงว่าเป็นการลดทอนพันธกรณีของสนธิสัญญาระหว่างประเทศ


บทวิเคราะห์การลงทุนทางตรงและ portfolio investment
ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น ในข้อบทเรื่องการลงทุน ได้ให้นิยามการลงทุนดังต่อไปนี้
(a) the term “investments” means every kind of asset owned or controlled, directly or indirectly, by an investor of a Party, including:
(i) an enterprise;
(ii) shares, stocks or other forms of equity participation-in an enterprise, including rights derived therefrom;
(iii) bonds, debentures, and loans and other forms of debt, including rights derived therefrom;
(iv) rights under contracts, including turnkey, construction, management, production or revenue-sharing contracts;
(v) claims to money and claims to any performance under contract having a financial value;
(vi) intellectual property rights, including trademarks, industrial designs, layout-designs of integrated circuits, copyrights, patents, trade names, indications of source or geographical indications and undisclosed information;
(vii) rights conferred pursuant to laws and regulations or contracts such as concessions, licences, authorizations, and permits; and
(viii) any other tangible and intangible, moveable and immovable property, and any related property rights, such as leases, mortgages, liens and pledges;

the term “investments” also includes amount yielded by investments, in particular, profit, interest, capital gains, dividends, royalties and fee. A change in the form in which assets are invested does not affect their character as investments;

(b) the term “investor of a Party” means a national or an enterprise of a Party, that seeks to make, is making, or has made, investments except
(i) branch of an enterprise of a non-Party and which is located in the Area of a Party; and
(ii) an enterprise of a Party, which is owned or controlled by persons of non-Parties and not engaging in substantive business operations in the Area of a Party.;

(c) the term “person” means either a natural person or an enterprise;
(d) the term ‘national of a Party” means a natural person having the nationality of a Party in accordance with its applicable laws and regulations;
(e) the term “enterprise of a Party” means any legal person or any other entity duly constituted or otherwise organised under the law of a Party, whether for profit or otherwise, and whether privately-owned or controlled or governmentally-owned or controlled, including any corporation, trust, partnership, joint venture, sole proprietorship, association, organization, company or branch;
(f) an enterprise is:
(i) “owned” by persons of non-Parties if more than 50 percent of the equity interests in it is beneficially owned by persons of non-Parties; and
(ii) “control” by persons of non-Parties if such persons have the power to name a majority of its directors or otherwise to legally direct its actions;  


สำหรับร่างข้อบทการลงทุนในกรอบความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-สหรัฐอเมริกาได้ให้คำจำกัดความการลงทุนดังต่อไปนี้
Investment means every asset that an investor owns or controls, directly or indirectly, that has the characteristics of an investment, including such characteristics as the commitment of capital or other resources, the expectation of gain or profit, or the assumption of risk. Forms that an investment may take include:
(a) an enterprise;
(b) shares, stock, and other debt instruments, and loans ;
(c) futures, options, and other derivatives;
(d) Turnkey, construction, management, production, concession, revenue-sharing, and other similar contracts;
(e) Intellectual property rights;
(f) Licenses, authorizations, permits, and similar rights conferred pursuant to domestic law;   and
(g) Other tangible or intangible, movable or immovable property, and related property rights, such as leases, mortgages, liens, and pledges;

Investor of a non-Party means, with respect to a Party, an investor that attempts to make, is making, or has made an investment in the territory of that Party, that is not an investor of either Party;

Investor of a Party means a Party or state enterprise thereof, or a national or an enterprise of a Party, that attempts to make, is making, or has made an investment in the territory of the other Party; provided, however, that a natural person who is a dual national shall be deemed to be exclusively a national of the State of his or her dominant and effective nationality;


ในความตกลงการลงทุนระหว่างประเทศ ขอบเขตของความตกลงที่กว้างขวางมีความสำคัญต่อเนื้อหาของในการประกันการให้ความคุ้มครองการลงทุนจากต่างชาติในระดับสูงหลังจากที่จัดตั้งหน่วยธุรกิจในประเทศเจ้าบ้าน อย่างไรก็ตาม รัฐบาลในประเทศเจ้าบ้านอาจประสงค์ที่จะจำกัดการให้ความคุ้มครองที่ให้กับทรัพย์สินบางประเภท โดยเฉพาะการไหลเวียนของเงินทุนระยะสั้นและเก็งกำไร เพราะอาจมีผลต่อความมีเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ
โดยทั่วไป การลงทุน ถูกจำกัดความครอบคลุมทุกประเภทของสินทรัพย์ ไม่ได้ถูกจำกัดเฉพาะสินทรัพย์ทางการเงินหรือเกี่ยวข้องกับทุนตามแนวความคิดทางเศรษฐศาสตร์ในรูปแบบของทรัพย์สินที่จับต้องได้หรือไม่สามารถจับต้องได้ ซึ่งนำไปสู่การสร้างขีดความสามารถทางการผลิต การอ้างอิงแบบกว้างได้รวบรวมรายการของประเภทสินทรัพย์ รวมถึงทรัพย์สินที่จับต้องได้และทรัพย์สินที่ไม่สามารถจับต้องได้ ผลประโยชน์ในบริษัท ทรัพย์สินทางการเงินอื่น ๆ ทรัพย์สินทางปัญญา และสัญญาสัมปทานทางธุรกิจ รูปแบบมาตรฐานของการลงทุนแบบสินทรัพย์มีดังนี้
“Investment” means every kind of asset and in particular, though not exclusively, includes:
(a) movable and immovable property and other property rights such as mortgages, liens and pledges;
(b) shares, stock and debentures and any other kind of participation in companies;
(c) claims to money or to any other performance having a financial value;
(d) intellectual property rights;
(e) concessions conferred by law or under contract, including concessions to search for or exploit natural resources.
เนื่องจากนิยามการลงทุนในรูปแบบนี้ครอบคลุมสินทรัพย์ทุกประเภท ซึ่งสามารถใช้เป็นตัวตั้งต้นในการให้คำจำกัดความการลงทุนในความตกลงการลงทุนระหว่างประเทศ การจำกัดขอบเขตของความตกลงอาจทำได้โดยการตัดประเภทของทรัพย์สินนั้นออก ตัวอย่างเช่น หากจะให้ความตกลงครอบคลุมเฉพาะการลงทุนทางตรง ก็อาจต้องตัด portfolio investment ทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิเรียกร้องตามสัญญาสัมปทาน ออก เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติการตัดออกหรือยกเว้นดังกล่าวยังไม่มีความชัดเจนและไม่ง่าย ประการแรกคือองค์ประกอบความเป็นเจ้าของหรือควบคุมเป็นส่วนที่ขาดหายไปจากนิยามแบบสินทรัพย์ และประการที่สองกิจกรรมการลงทุนทางตรงในประเทศเจ้าบ้านมักอิงสินทรัพย์ที่ได้รับมาจากส่วนอื่นของนิยามมาตรฐาน เช่น สินทรัพย์บางประเภทของการเคลื่อนย้ายทุน รวมทั้ง เงินทุนระยะสั้น ระหว่างบริษัทแม่และบริษัทลูก ดังนั้น โดยทั่วไป ในความตกลงการลงทุนระหว่างประเทศมักจะใช้นิยามแบบสินทรัพย์ ความแตกต่างระหว่างการลงทุนทางตรงกับการลงทุนในรูปแบบอื่นใช้วิธีการที่สินทรัพย์ที่แตกต่างกันได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างกันตามสารบัญญัติ
ขอบเขตของความตกลงลงทุนระหว่างประเทศอาจถูกจำกัดโดยนิยามว่าลักษณะเฉพาะของสินทรัพย์ที่จะถือว่าเป็นการลงทุน โดยทั่วไปวัตถุประสงค์ของความตกลงลงทุนระหว่างประเทศได้อิงแนวความคิดว่าการลงทุนเกี่ยวพันกับข้อผูกพันกับทรัพยากรธรรมชาติที่มีความเสี่ยงที่นักลงทุนคาดหวังจะได้คืน ดังนั้น ในความตกลงลงทุนระหว่างประเทศบางฉบับจะให้คำจำกัดความการลงทุนในฐานะที่เป็นสินทรัพย์ที่ใช้ในกิจกรรมเพื่อสร้างรายได้ ซึ่งอาจไม่รวมที่ดินที่นักลงทุนต่างชาติถือครองแต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในการผลิต แต่แนวทางดังกล่าวมีการใช้กันน้อยมากและถือว่ามีขอบเขตที่จำกัดในทางปฏิบัติ

การลงทุนทางตรง (Foreign Direct Investment: FDI) เป็นการลงทุนที่เกี่ยวข้องโดยตรง หากนักลงทุนมีส่วนในความเป็นเจ้าของที่เพียงพอที่จะควบคุมบริษัท จึงเป็นการลงทุนที่จะจัดตั้งความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระยะยาว แต่ในปัจจุบันมีหลายแนวทางในการให้คำจำกัดความการลงทุน ซึ่งการให้คำจำกัดความการลงทุนจะเป็นหลักการสำคัญในการจัดทำความตกลงการลงทุนระหว่างประเทศ โดยในการให้ความคุ้มครองการลงทุน โดยทั่วไปมีสองแนวทางดังต่อไปนี้
การลงทุนไม่ได้มีนิยามอันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป วิธีการที่ได้รับการยอมรับในระดับระหว่างประเทศคือการจำแนกและการจัดเก็บข้อมูลของการไหลเวียนการลงทุนต่างชาติข้ามพรมแดนเพื่อจัดทำสถิติ ในรูปแบบนี้จึงแบ่งการลงทุนออกเป็น การลงทุนทางตรง (foreign direct investment) และ portfolio investment ซึ่งแตกต่างกันตามนิยามในเชิงดุลชำระบัญชี (balance-of-payments definition) ซึ่งตามนิยามนี้อาจจะรวมถึงสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ทั้งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ ที่ผ่านมามีการใช้ที่แตกต่างและหลากหลาย ในเชิงของกฎหมายนั้น การตีความทางกฎหมายไม่สามารถคาดเดาได้ หากมีกรณีข้อพิพาทเกิดขึ้น
ประเทศพัฒนาแล้วมักจะมีระบบตลาดทางการเงินที่เข้มแข็ง ระบบการกำกับดูแลที่ดี สภาพทางเศรษฐกิจในเชิงมหภาคที่ดีได้กันมาเปิดเสรีอย่างเต็มที่ โดยครอบคลุมทุกรูปแบบของการเคลื่อนย้ายทุน ในการเจรจาความตกลงด้านการลงทุนระหว่างประเทศกับประเทศกำลังพัฒนา จึงมักพยายามที่จะใช้นิยามที่กว้างเพื่อปกป้องสินทรัพย์ในการลงทุนของนักลงทุนของตนและพยายามส่งเสริมให้มีการลงทุนมากขึ้น นักลงทุนส่วนใหญ่ก็ชอบนิยามที่เปิดกว้างเพราะเป็นหลักประกันในการลงทุน
รัฐบาลของประเทศเจ้าบ้านในประเทศที่กำลังพัฒนาเป็นกังวล เพราะต้องการจะมีเครื่องมือทางด้านนโยบายในการจัดการกับประเภทที่แตกต่างกันของการเคลื่อนย้ายทุนในลักษณะที่จำกัดการใช้ทุน portfolio investment และตราสารอนุพันธ์สามารถใช้เป็นเครื่องมือทางการเงินในลักษณะเก็งกำไรโดยสามารถลดความมั่นคงหรือเสถียรภาพตลาดหลักทรัพย์ ดังนั้น ประเทศกำลังพัฒนาจึงต้องการความยืดหยุ่นในการักษาสเถียรภาพทางการเงินภายในประเทศ หลายประเทศจึงพยายามจำกัดนิยามการลงทุนกับการเคลื่อนย้ายทุนระยะยาวและยกเว้นการเคลื่อนย้ายทุนที่เคลื่อนย้ายได้รวดเร็ว
การรวมเอาการลงทุนในรูปแบบอื่นที่มิใช่การลงทุนทางตรงในนิยามการลงทุนมีความแตกต่างกันในหลายประเทศ บางประเทศก็กำหนดในลักษณะของมีบทบัญญัติเฉพาะ (special provision) ข้อยกเว้น (exception) หรือการปกป้อง (safeguards) แต่ความหมายของารลงทุนยิ่งกว้างก็จะยิ่งซับซ้อนที่จะจัดการ การปกป้องในกรณีของวิกฤตทางการเงิน การโจมตีค่าเงินเพื่อเก็งกำไร และผลกระทบที่เกิดจากวิกฤตทางเศรษฐกิจของประเทศอื่น เป็นต้น
นิยามในเชิงแนวคิด การลงทุนทางตรงและ portfolio มีความแตกต่างกัน การลงทุนทางตรงเกี่ยวข้องทั้งการลงทุนที่ให้ผลประโยชน์ระยะยาวและมีอำนาจบริหารนัยสำคัญที่มีเหนือการลงทุนนั้น portfolio investment อาจรวมถึงการลงทุนที่หวังผลประโยชน์ระยะยาว แต่มักจะไม่เกี่ยวข้องกับการมีอำนาจในการบริหาร ด้วยวัตถุประสงค์ทางสถิติ สัดส่วนขั้นต่ำ 10% ในการเป็นเจ้าของหุ้นเป็นเกณฑ์แบ่งแยกการลงทุนทางตรงและ portfolio investment ในทางปฏิบัติการแบ่งแยกดังกล่าวก็ยาก ในบางสถานการณ์นักลงทุนต่างชาติอาจใช้สินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ในการกู้ยืมเงินและอาจใช้วิธี hedging หรือเก็งกำไร ในทางกลับกัน venture capitalist อาจมีอำนาจในการบริหารจัดการค่อนข้างมาก แต่ถือครองหุ้นอยู่ในสัดส่วนที่น้อย แต่มักถูกนิยามว่าเป็น portfolio investment ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์การดำเนินการคล้ายกับการลงทุนทางตรง
แนวโน้มของการกำหนดนิยามการลงทุนอย่างกว้างนั้นไม่ใช้เป็นการยอมรับกันอย่างกว้างขวาง เพราะมีความแตกต่างกันในเรื่องระดับของการพัฒนา ประเทศที่พัฒนาแล้วไม่ได้มีกฎหมายเฉพาะหรือนโยบายเกี่ยวกับการลงทุนทางตรง (FDI) และดังนั้ จึงไม่จำเป็นต้องให้คำจำกัดความ ประเทศกำลังพัฒนามีความกังวลเกี่ยวกับผลของเงินทุนที่เคลื่อนย้ายได้รวดเร็วจึงมักต้องการจำกัดขอบเขตหรือนิยามการลงทุนให้แคบ แต่ก็มิได้มีการกำหนดคำจำกัดความในทางกฎหมายไว้ หลังจากที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้น การจำกัดความการลงทุนได้รับการเอาใจใส่มากขึ้น

ในการพิจารณาเลือกใช้นิยามแบบกว้างหรือแบบแคบนั้น
หากมีความกังวลในเรื่อง portfolio investment ที่อาจเคลื่อนย้ายเงินทุนออกไปอย่างรวดเร็ว ความตกลงด้านการลงทุนระหว่างประเทศอาจรวม portfolio investment ในนิยามการลงทุนก็ได้ แต่สามารถใช้บทบัญญัติควบคุมการโอนเงินให้ต้องอยู่ในประเทศเจ้าบ้านภายในระยะเวลาหนึ่ง
การใช้นิยามแบบผสมกล่าวคือใช้นิยามแบบสินทรัพย์อย่างกว้างกับการให้ความคุ้มครองการลงทุน แต่ในขณะเดียวกันใช้นิยามแบบธุรกรรมที่แคบกว่าในการจัดการกับการเปิดเสรีการลงทุน
ขอบเขตของความตกลงด้านการลงทุนระหว่างประเทศอาจถูกจำกัดให้แคบลงโดยข้อจำกัดของประเภทการลงทุนภายใต้หลักเกณฑ์และกฎระเบียบ เช่น การกำหนดรายการข้อสงวนหรือการจำกัดขัอผูกพันเฉพาะ
การใช้การเจรจาแบบ positive list ในการเปิดเสรีการลงทุน


การลงทุนใน portfolio หมายถึงการลงทุนในกลุ่มสินทรัพย์ลงทุน ซึ่งเป็นการกระจายการลงทุนในหลักทรัพย์หรือสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ เพื่อลดความเสี่ยงจากการลงทุน นโยบายการลงทุนใน portfolio คือจำนวนเงินที่จะลงทุนใน portfolio ซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายและฐานะทางการเงินของแต่ละบริษัทว่าได้รับการจัดสรรเงินไว้สำหรับการลงทุนในหลักทรัพย์และสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ เป็นจำนวนเท่าใด ปัจจัยสำคัญในการเลือกลงทุนใน portfolio คือรายได้หรืออัตราผลตอบแทน (yield) และระดับความเสี่ยงภัยที่ได้รับจากการลงทุน นอกจากนี้ นักลงทุนต้องใช้ความรู้ ความชำนาญในการวิเคราะห์ และอิทธิพลต่าง ๆ ที่กระทบต่อมูลค่าของหลักทรัพย์
การลงทุนและเก็งกำไร มีข้อแตกต่างกัน ดังนี้
1. การลงทุนมีการวางแผนล่วงหน้าอย่างเป็นระบบ ส่วนการเก็งกำไรนั้นเป็นการแสวงหากำไรอย่างเดียว ไม่มีการวางแผนล่วงหน้าอย่างเป็นระบบ เพราะเป็นการลงทุนระยะสั้น จึงไม่สามารถคาดการณ์ได้แน่นอน
2. จำนวนรายได้ นักเก็งกำไรต้องการรายได้ที่เป็นจำนวนมาก โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของเงินต้น โอกาสที่จะขาดทุนก็มีมากและรายได้นั้นไม่แน่นอนผันแปรอยู่ตลอดเวลา นักเก็งกำไรส่วนใหญ่จะสนใจรายได้ที่ได้รับจากการลงทุน คือ รายได้ที่ได้ใช้ประโยชน์หรือที่ได้รับจากสินทรัพย์หรือเงินลงทุนตามสมควรแน่นอน แลสม่ำเสมอ และยังรักษาเงินทุนเดิมไว้
3. วัตถุประสงค์การลงทุนและการเก็งกำไรแตกต่างกันที่จุดประสงค์การใช้เงินทุน การลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อต้องการผลประโยชน์หรือรายได้ที่แน่นอนสม่ำเสมอ ส่วนการเก็งกำไรเป็นการลงทุนที่ใช้ระยะเวลาสั้น เพื่อรอจังหวะให้ราคาหลักทรัพย์หรือสินทรัพย์ที่ถืออยู่นั้นสูงขึ้น ก็จะทำการจำหน่ายทันที
4. การยอมรับความเสี่ยงภัย การเก็งกำไรไม่ใช่การพนัน แต่เป็นการลงทุนที่ผู้ลงทุนยอมรับความเสี่ยงภัยสูง ส่วนการลงทุนนั้นความเสี่ยงภัยต่ำ และรายได้ในอนาคตค่อนข้างแน่นนอน
การลงทุน มีความหมายได้หลายทาง เมื่อมองในแง่ของผู้ลงทุนหรือผู้จัดหาทุน การลงทุนหมายถึงการใช้เงินทุนในปัจจุบันเพื่อหวังหารายได้จากเงินลงทุนนั้นในอนาคต รายได้อาจอยู่ในรูปของดอกเบี้ย (interest) เงินปันผล (dividends) ค่าเช่า (rent) บริการ (service) และอื่น ๆ

IMF ได้แบ่งแยกความแตกต่างระหว่าง portfolio investment และการลงทุนทางตรง ซึ่งใช้แนวทางจำกัดความที่อิงธุรกรรม (Transaction-based definition)  โดยมุ่งเน้นการลงทุนต่างชาติเป็นการเคลื่อนย้ายทุนและสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องข้ามแดน ในความตกลงการลงทุนระหว่างประเทศมักใช้ในนโยบายของประเทศเจ้าบ้านในการควบคุมการเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศมากกว่าการลงทุน สำหรับ IMF ใช้ในวัตถุประสงค์เพื่อสถิติในดุลการชำระเงิน (balance-of-payment) และใช้โดย OECD ในวัตถุประสงค์เพื่อเป็นตัวเปรียบเทียบของการลงทุนทางตรง เพื่อให้แนวทางในการดำเนินการของประเทศสมาชิกในการรวบรวมข้อมูลทางสถิติ
ทั้งนี้ IMF ได้ให้คำจำกัดความ การลงทุนทางตรง ดังนี้

Direct investment is the category of international investment that reflects the objective of a resident entity in one economy obtaining a lasting interest in an enterprise resident in another economy.  (The resident entity is the direct investor and the enterprise is the direct investment enterprise).  The lasting interest implies the existence of a long-term relationship between the direct investor and the enterprise and a significant degree of influence by the investor on the management of the enterprise.  Direct investment comprises not only the initial transaction establishing the relationship between the investor and the enterprise but also all subsequent transactions between them and among affiliated enterprises, both incorporated and unincorporated.

Direct investment capital is capital provided by a direct investor to a direct investment enterprise or received by a direct investor from a direct investment enterprise.  The components of direct investment capital transactions are equity capital, reinvested earnings, and other capital associated with various inter-company debt transactions.

IMF ให้ข้อสังเกตุว่าแนวความคิดของผลประโยชน์ระยะยาวไม่ได้ถูกนิยามในแง่ของกรอบระยะเวลาและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องมากกว่าคือระดับของความเป็นเจ้าของในหน่วยธุรกิจ หุ้นจำนวน 10 เปอร์เซ็นต์หรือมากกว่าถือว่าเป็นการสะท้อนผลประโยชน์ระยะยาว ในบางประเทศอาจใช้เกณฑ์อำนาจในการควบคุมพิจารณาประกอบด้วย กล่าวคือ แม้ว่านักลงทุนต่างชาติจะถือครองหุ้นน้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ แต่หากมีสิทธิในการควบคุมหน่วยธุรกิจ ก็อาจถือว่าเป็นการลงทุนทางตรงก็ได้ในบางประเทศ

ข้อจำกัดทั่วไป
มีหลายวิธีในการจำกัดขอบเขตของการใช้ความตกลงการลงทุนระหว่างประเทศโดยภาษาที่ใช้ในนิยามการลงทุน ประเด็นที่สำคัญประการหนึ่งคือการให้มีความยืดหยุ่นในด้านการกำหนดนโยบายสำหรับประเทศเจ้าบ้านในการใช้ในสถานการณ์เฉพาะ ตัวอย่างเช่น ความแตกต่างระหว่างสินทรัพย์แต่ละประเภทในแง่ของก่อนการจัดตั้งหน่วยธุรกิจและหลังการจัดตั้งหน่วยธุรกิจ ความตกลงหลายฉบับได้กำหนดให้ครอบคลุมสินทรัพย์หลายประเภทในขั้นหลังการจัดตั้งหน่วยธุรกิจ เพื่อให้ความคุ้มครองทรัพย์สินของนักลงทุน มากกว่าก่อนการจัดตั้งหน่วยธุรกิจซึ่งเป็นประเด็นการเข้าสู่ตลาดและเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายทุนข้ามพรมแดน
อีกแนวทางหนึ่งคือแม้จะใช้นิยามแบบสินทรัพย์อย่างกว้างซึ่งครอบคลุมทรัพย์สินทุกประเภทรวมทั้ง portfolio investment แต่ก็มีการระบุในสารบัญญัติ เช่น หลักประติบัติเยี่ยงคนชาติ ว่าจะใช้บังคับกับเฉพาะสินทรัพย์บางประเภทเท่านั้น ตัวอย่างเช่น portfolio investment นั้นต้องอยู่ในประเทศเจ้าบ้านนานกว่าหนึ่งปี เป็นต้น สำหรับแนวทางที่สามคือข้อยกเว้นการใช้ ตัวอย่างเช่น การควบคุมการเคลื่อนย้ายยทุนระยะสั้นที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วโดยการมีข้อจำกัดภายใต้วัตถุประสงค์การชำระดุลการเงิน กล่าวคือจะเป็นการจำกัดขอบเขตของการใช้ความตกลงการลงทุนระหว่างประเทศโดยสารบัญญัติมากกว่าโดยให้คำจำกัดความเป็นสามัญทั่วไป
แนวทางที่สองในการจำกัดการใช้ความตกลงการลงทุนระหว่างประเทศเฉพาะในบางสาขาหรืออุตสาหกรรมเท่านั้น หรือยกเว้นบางอุตสาหกรรมหรือสาขาจากขอบเขต ตัวอย่างเช่น  ความตกลงเขตการค้าเสรีแคนาดากับสหรัฐอเมริกา ที่ยกเว้น การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ บริการขนส่ง และบริการทางการเงิน เป็นต้น สำหรับแนวทางอื่นในการจำกัดขอบเขตของความตกลงรวมถึงการใช้สำหรับการลงทุนที่อยู่ภายใต้กฎหมายและระเบียบของประเทศเจ้าบ้าน หรือเพียงการลงทุนที่จัดตั้งในวันและหลังจากวันที่เข้ามา หรือใช้กับการลงทุนที่ลงทุนเกินทุนขั้นต่ำเพื่อกำหนดขนาดของการลงทุน มีเหตุผลหลายประการที่สามารถกำหนดข้อจำกัดเช่นนี้ ในหลายกรณีมีเป้าหมายที่จะประกันการลงทุนต่างชาติว่าสอดคล้องกับเป้าหมายทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และการพัฒนาของประเทศ

เหตุผลการขอให้รวม portfolio investment ในนิยามการลงทุนของสหรัฐอเมริกา
ความตกลงการลงทุนต้องมีนิยามที่กว้างและเปิด ซึ่งรวมถึงทุกประเภทของการลงทุน รวมถึงการลงทุนแบบ portfolio ด้วย ในการศึกษาของ UNCTAD เกี่ยวกับสนธิสัญญาการลงทุน ในช่วงทศวรรษที่ 1990 สนธิสัญญาการลงทุนแบบทวิภาคีเพิ่มขึ้นจาก 385 เป็น 1,857 ฉบับ โดย 173 ประเทศตกลงกัน จำนวนของสนธิสัญญาของประเทศกำลังพัฒนาและประเทศที่ปรับเปลี่ยนการปกครองเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จาก 63 ฉบับในทศวรรษที่ 1980 มาเป็น 833 ฉบับในทศวรรษที่ 1990 ซึ่งส่วนใหญ่ทำกับประเทศสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป โยครอบคลุมทั้งการลงทุนทางตรงและ portfolio investment เพื่อเป็นการเพิ่มผลได้จากการลงทุนให้เกิดสูงสุดจากการเปิดเสรีและคุ้มครองการลงทุน
ความแตกต่างระหว่างการลงทุนทางตรง (FDI) กับ Portfolio investment คือการควบคุม (extent of control) การลงทุนทางตรงนั้น นักลงทุนจะมีอำนาจในการควบคุมหรือบริหารธุรกิจที่ลงทุน ในขณะที่ portfolio investment เป็นการลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินโดยไม่ประสงค์ที่จะคาดหวังอำนาจในการบริหารกิจการ portfolio investment ยังรวมถึงดอกผลในสัญญาสัมปทาน สิทธิตามสัญญา เช่น สิทธิในดอกผลของทรัพย์สินทางปัญญา ดอกผลของเงินกู้ในธุรกิจ ดอกผลของสินทรัพย์และทรัพย์สินทางปัญญา เช่น การให้เช่า จำนอง หรือค้ำประกัน เป็นต้น
จากการรวบรวมทางสถิติ ในหลายประเทศกำหนดว่าจะต้องมีการลงทุนในระดับหนึ่งจึงจะถือว่าเป็นการลงทุนทางตรง โดย OECD และ IMF ได้รวบรวมสถิติเพื่อพิจารณาการลงทุนทางตรงพบว่าจะต้องเป็นเจ้าของอย่างน้อย 10% ของหลักทรัพย์ที่มีสิทธิในการลงคะแนนเสียงในกิจการหรือเป็นดอกผลที่เทียบเท่าในกิจการที่ไม่ได้จดทะเบียน แต่หลักการ 10% ดังกล่าวเข้มงวดเกินไปในทางปฏิบัติในเชิงของกฎหมาย ตัวอย่างเช่น นักลงทุนอาจถือครองหุ้นเพียง 9 เปอร์เซ็นต์ แต่อาจมีอิทธิพลหรือำนาจในการบริหารกิจการก็ได้ เพราะผู้ถือหุ้นรายอื่นอาจถือครองหุ้นในสัดส่วนที่จำกัด ดังนั้น อำนาจในการควบคุมกิจการลงทุนจึงถือว่าเป็นตัวชี้วัดหลักในการกำหนดความแตกต่างระหว่างการลงทุนทางตรงและ portfolio investment
เหตุผลสนับสนุนการรวม portfolio investment ในนิยามการลงทุน
ประเทศกำลังพัฒนาไดรับประโยชน์จากการเคลื่อนย้ายทุน โดยเฉพาะ portfolio investment ซึ่งจะเพิ่มเงินออมของตลาดการเงินทั้งในมิติด้านลึกและกว้าง เพราะทำให้การเคลื่อนย้ายทุนมีประสิทธิภาพมากขึ้น ขยายขอบเขตของการกู้ยืมเงินตราต่างประเทศแก่ธุรกิจภายในประเทศ ส่งเสริมการลงทุนในกิจการขนาดใหญ่ที่ต้องอาศัยการประหยัดโดยขนาด และรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจภายในประเทศโดยการกระจายความเสี่ยงทางเครดิต
Portfolio investment  เป็นกุญแจสำคัญของตลาดการเงิน การลดความสำคัญของ portfolio investment จะบั่นทอนการสร้างตลาดการเงินที่ดี กล่าวคือในตลาดการเงินที่พัฒนาแล้วจะสามารถจับคู่ผู้ขายเงินกับผู้ซื้อเงินตราในวิถีทางที่ทั้งสองฝ่ายจะได้รับประโยชน์จากธุรกรรมนั้น เพื่อสนองตอบความตกลงการของลูกค้า ตลาดการเงินจะต้องเสนอเครื่องมือทางการเงินในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ทุน กู้ยืม ดังนั้น การให้สิทธิแก่ทุนประเภท portfolio investment น้อยกว่านักลงทุนทางตรงอาจสร้างความอคติต่อการลงทุนแบบ portfolio investment และชะลอการพัฒนาตลาดทุนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและหลากหลาย
การให้ความคุ้มครอง portfolio investment น้อยกว่าการลงทุนทางตรง อาจทำให้ต้นทุนของการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศสูงขึ้น โดยมีการอ้างรายงานการศึกษาของ IMF ที่เกี่ยวกับประเทศกำลังพัฒนา 38 ประเทศในช่วงปี ค.ศ. 1980-1999 พบว่าการเปิดเสรีเงินทุนนำไปสู่การไหลเวียนเงินทุนเข้าประเทศ และหากมีการบริหารจัดการที่ดี การลงทุนและการเติบโตทางเศรษฐกิจก็เพิ่มขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตาม ยังเป็นการยากที่จะพิจารณาแบ่งแยกระหว่างการลงทุนทางตรงและ portfolio investment ตัวอย่างเช่น บริษัทร่วมเสี่ยง (venture capitalist) อาจให้บริษัทต่างชาติกู้ยืมเพื่อจัดตั้งบริษัทใหม่ ด้วยจำนวนเงินมหาศาล แต่เน้นที่หุ้นจำนวนมากของทรัพย์สินของบริษัทใหม่ บริษัทร่วมเสี่ยงอาจไม่มีหลักฐานเพียงพอว่าเป็นเจ้าของบริษัทใหม่ เพราะยังไม่มีการออกหุ้น จะมีเพียงหนี้ หรืออำนาจควบคุมบริษัทใหม่เท่านั้น นอกจากนี้ การแยก portfolio investment ออกจากการลงทุนทางตรงอาจต้องพิจารณาเป็นรายกรณีไป โดยพิจารณาประเภทของการลงทุนที่นักลงทุนดำเนินการ หรือเจตนาดำเนินการ ซึ่งอาจนำไปสู่การนำประเด็นดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการระงับข้อพิพาท ซึ่งไม่ส่งเสริมบรรยากาศการลงทุนแต่ประการใดและยังสร้างความไม่มั่นใจแก่นักลงทุน
Portfolio investment เป็นส่วนที่ควบคู่กับการลงทุนทางตรง ดังนั้น จึงไม่สามารถแยก portfolio investment จากการลงทุนทางตรง เพราะนักลงทุนทางตรงมักเกี่ยวข้องกับ portfolio investment ในการบริหารจัดการกระแสเงินสด หรืออาจต้องเข้าและออกตลาดการเงินอยู่เสมอ
การจำกัดการไหลเวียนทุนในประเทศที่ต้องการเงินทุนไม่ได้เป็นการแก้ไขปัญหาระยะยาว หลังจากวิกฤตเศรษฐกิจในปี 1990 มีการวิพากษ์วิจารณ์การเปิดเสรีตลาดเงินและตลาดทุนโดยเฉพาะการส่งเสริมการไหลเวียนเงินในระยะสั้น หรือ เงินทุนเก็งกำไร (speculative capital) ปัญหาที่แท้จริงมิได้อยู่ที่การเปิดเสรีตลาดทุนหรือการไหลเวียนของเงินทุนระยะสั้น...................
การแยก portfolio investment ออกจากนิยามการลงทุนจะทำลายวัตถุประสงค์ของความตกลงด้านการลงทุนระหว่างประเทศ ประเทศต่าง ๆ ควรจะเปิดเสรี portfolio investment เหมือนกับการลงทุนทางตรง นักลงทุนอาจมีความสงสัยในข้อผูกพันของรัฐบาลในการเปิดเสรีและส่งเสริมการลงทุน การรวม portfolio investment ก็มิได้หมายความว่าประเทศเจ้าบ้านจะไม่สามารถปฏิบัติต่อ portfolio investment แตกต่างจากการลงทุนทางตรง การกำกับดูแลตลาดการเงินจำเป็นที่จะไม่ละเมิดหรือขัดกับความตกลง เช่น ต้องไม่เลือกปฏิบัติระหว่างนักลงทุนทางตรงและนักลงทุนท้องถิ่น สนธิสัญญาทวิภาคีของสหรัฐฯ นั้น บทบัญญัติในเรื่องการโอนจะอนุญาตให้องค์กรกำกับดูแลในการปกป้องหรือระงับการโอนในกรณีจำเป็นเพื่อให้ตลาดสามารถดำเนินการได้ และอนุญาตให้กำหนดให้มีการรายงานธุรกรรมได้ตามกฎระเบียบทางการเงิน
สหรัฐฯ ประสงค์ที่จะใช้นิยามแบบกว้างในการลงทุน ซึ่งรวมทั้งทั้งการลงทุนทางตรงและ portfolio investment โดยปรากฏในความตกลงการลงทุนกว่า 40 ฉบับ NAFTA และความตกลง FTA ต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมประโยชน์ของการเปิดเสรีและคุ้มครองการลงทุน การรวม portfolio investment จะช่วยส่งเสริมวาระการพัฒนาของประเทศ



Relationship between Foreign Direct and Portfolio Investment
(based on the definition by the IMF)



Greenfield Investment
Foreign Direct Investment
Possession of 10% or more of the ordinary shares or voting power or the equivalent )
) Cross-border
Foreign Portfolio Equity Investment Possession of less than10 % of the ordinary shares or voting power or the equivalent ) M&A
)
Foreign Portfolio Investment Equity securities and debt securities, including bonds and notes, money market instruments, and financial derivatives

หลายประเทศให้เหตุผว่าการยอมรับ portfolio investment ในนิยามการลงทุนนั้น การเคลื่อนย้ายทุนซึ่งเป็นเพียงธุรกรรมทางการเงิน (financial transactions) ซึ่งโดยลักษณะมีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อเก็งกำไรเป็นหลัก (speculative purposes) และอาจส่งผลกระทบทางลบต่อระบบการเงินดังที่เกิดขึ้นมาแล้วในอดีตในบางประเทศ ดังนั้น จึงไม่ควรรวม Portfolio investment  ในนิยามการลงทุน
การยอมรับนิยามการลงทุนแบบสินทรัพย์ (asset-based definition) อาจก่อให้เกิดปัญหาความทับซ้อนกับความตกลงในหมวดอื่น เช่น การรวมทรัพย์สินทางปัญญาในนิยามการลงทุนอาจขัดหรือแย้งกับความตกลงในส่วนของทรัพย์สินทางปัญญา

เหตุผลสนับสนุนการนิยามอย่างแคบ
ฝ่ายสนับสนุนการให้คำจำกัดความอย่างแคบในการลงทุนให้ความเห็นว่ารูปแบบการลงทุนที่มีการผลิตจะส่งผลอย่างมากและโดยตรงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ เทคโนโลยี การจ้างงานและการเจริญเติบโตในประเทศเจ้าบ้าน ดังนั้น ปัจจัยที่ควรนำมาพิจารณาควรพิจารณาการลงทุนทางตรงที่มีการจัดตั้งโรงงานผลิตซึ่งจะมีประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศเจ้าบ้านมากกว่ากิจกรรมควบรวมกิจการหรือได้มาซึ่งกิจการ มูลค่าการลงทุนจะสัมพันธ์กับรูปแบบอื่นของการลงทุน การผูกพันระยะยาวของนักลงทุน ความกังวลของประเทศเจ้าบ้านเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายเงินทุนระยะสั้นที่เก็งกำไร ความเสถียรภาพของการลงทุนทางตรงระหว่างที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี ค.ศ. 1997-1999 สามารถแสดงถึงผลประทบได้อย่างดี แต่ความกังวลบางอย่างก็เกี่ยวกับขั้นตอนการจัดตั้งหน่วยธุรกิจและการเปิดเสรีการลงทุน แต่ความเสถียรภาพในการลงทุนต่างชาติก็อยู่ที่ขั้นตอนหลังการจัดตั้งหน่วยธุรกิจ เพราะเชื่อมโยงกับรายได้ งาน และการส่งออกของประเทศเจ้าบ้าน
ข้อดีของนิยามที่แคบ
การให้ความคุ้มครองจำกัดเฉพาะการลงทุนทางตรงนั้นเป็นเหตุผลที่ว่ารูปแบบการลงทุนที่อิงการผลิต (production-based form) มีผลโดยตรงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีอย่างมาก การจ้างงาน และการเจริญเติบโตของประเทศผู้รับทุน แต่การลงทุนในรูปแบบอื่นนอกเหนือจากการลงทุนทางตรงจะมีประโยชน์ต่อประเทศเจ้าของทุนมากกว่าการลงทุนแบบทางตรง โดยการควบรวมกิจการเป็นต้น มูลค่าของการลงทุนทางตรงมีความสัมพันธ์กับการลงทุนในรูปแบบอื่น ประเทศผู้รับทุนมีความกังวลเกี่ยวกับการไหลเวียนเงินทุนออกอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ความตกลงส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับขั้นตอนก่อนการจัดตั้งหน่วยธุรกิจ และการเปิดเสรี แต่เสถียรภาพของการลงทุนต่างชาติมีผลกับขั้นตอนหลังการจัดตั้งหน่วยธุรกิจ เนื่องจากเชื่อมดยงกับรายได้ งาน การส่งออกของประเทศผู้รับทุน
ประโยชน์ของการนิยามอย่างแคบเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน การรวม portfolio investment และทุนระยะสั้นเข้าไปในนิยามการลงทุนอาจจะเหมาะสมหลังจากมีการปฏิรูปโครงสร้างทางการเงินระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการเปิดเสรีบัญชีทุนและการควบคุม prudential
เหตุผลสนับสนุนการนิยามอย่างกว้าง
ข้อดีของการนิยามอย่างกว้าง  แนวทางนิยามแบบสินทรัพย์เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการกำหนดนิยามการลงทุนในความตกลงการลงทุนระหว่างประเทศ เนื่องจากมีความยืดหยุ่น โดยจะให้ความคุ้มครองสินทรัพย์หลายรูปแบบ ในขณะเดียวกันก็ให้ประเทศเจ้าบ้านมีดุลพินิจในการปฏิบัติต่อสินทรัพย์บางประเภทที่อ่อนไหว ใน UNCTAD ได้พิจารณาว่าวัตถุประสงค์ของนโยบายการพัฒนาและความกังวลไม่จำเป็นต้องที่ไม่สอดคล้องกับแนวนิยามอย่างกว้างเพื่อจำกัดขอบเขตของความตกลงการลงทุนระหว่างประเทศตามพันธกรณีสารบัญญัติและข้อผูกพันเฉพาะของแต่ละประเทศ
ข้อดีอีกประการหนึ่งคือ แนวทางแบบกว้างจะช่วยประกันว่าความตกลงลงทุนระหว่างประเทศสอดคล้องกับความตกลงระหว่างประเทศทวิภาคีที่มีอยู่และบทบัญญัติต้องสอดคล้องกันด้วย อย่างไรก็ตาม การใช้นิยามแบบกว้างมักใช้กับการผูกพันเฉพาะขั้นตอนหลังการจัดตั้งหน่วยธุรกิจ แต่อาจไม่เหมาะสมกับขั้นตอนก่อนจัดตั้งหน่วยธุรกิจ
การใช้นิยามแบบกว้าง โดยยกเว้นธุรกรรมที่เก็งกำไรเป็นแนวทางที่เป็นไปได้ การระบุและแยกการเคลื่อนย้ายทุนระยะสั้นที่มีลักษณะเก็งกำไรอาจมีความยากในทางเทคนิค เกณฑ์ประการหนึ่งที่ใช้ในทางสถิติคือความสมบูรณ์ของสินทรัพย์ทางการเงิน แต่ก็ไม่ได้เหมาะสมเสมอไป เพราะในทางปฏิบัติบางธุรกิจใช้เครื่องมือทางการเงินสำหรับวัตถุประสงค์ทางการเงินระยะยาวและเครื่องมือทางการเงินระยะยาวสำหรับการลงทุนระยะสั้น เช่น การซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราล่วงหน้า
ความกังวลของประเทศเจ้าบ้านเกี่ยวกับประเภทของสินทรัพย์และการเคลื่อนย้ายทุนอาจใช้ข้อยกเว้นตามพันธกรณีสารบัญญัติในความตกลงลงทุนระหว่างประเทศมากกว่าจะจำกัดขอบเขตของความตกลงลงทุนระหว่างประเทศในนิยาม โดยมักปรากฏในบทบัญญัติการโอนทุนและเงินทุน ซึ่งจะช่วยให้สามารถกำหนดนโยบายที่มีความยืดหยุ่นในการอนุญาตข้อจำกัดบางประการหรือการโอนด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจมหภาค หรือความเสถียรภาพทางระบบการเงิน ตัวอย่างเช่น การห้ามการโอนเงินกลับประเทศก่อนหนึ่งปี หลังจากลงทุน
การรวมทรัพย์สินทางปัญญาในนิยามไม่ได้กำหนดระดับหรือลักษณะของการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งต้องเป็นไปตามความตกลง TRIPS  
ประเภทของการลงทุนในนิยามแบบสินทรัพย์
- ทรัพย์สินที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ (movable and immovable property) ครอบคลุมสินค้าทุกประเภท เช่น อุปกรณ์และสินทรัพย์คงคลัง สิ่งปลูกสร้าง โรงงาน ที่ดิน ผลประโยชน์ตามกฎหมายในทรัพย์สิน ซึ่งนักลงทุนอาจมีความเป็นเจ้าของๆ ไม่สมบูรณ์ เช่น การจำนอง และจำนำ เป็นต้น
- การเข้าร่วมในหน่วยธุรกิจ (participation in companies) ครอบคลุมรูปแบบต่าง ๆ ของการถือครองทุน เช่น หุ้นสามัญ หุ้นกู้ พันธบัตร เงินกู้ และผลประโยชน์หนี้ระยะยาว นักลงทุนไม่ต้องใช้อำนาจความเป็นเจ้าของหรือควบคุมบริษัท นิยามครอบคลุมทุกระดับและจำนวนสัดส่วนการถือครอง เครื่องมือทางการเงินรวมถึงหนี้สาธารณะด้วย พันธบัตรที่ออกโดยหน่วยงานมหาชนหรือค้ำประกันโดยหน่วยงานมหาชน
- สิทธิตามสัญญา (contractual rights) ครอบคลุมสิทธิในการให้บริการ เช่น สัญญารับเหมาก่อสร้าง สัญญาบริหาร สัญญาจ้างวิชาชีพ สัญญา turnkey สิทธิในการแบ่งปันรายได้และผลิต สัญญาดังกล่าวไม่จำเป็นต้องเป็นสัญญาระยะยาว
- ทรัพย์สินทางปัญญา (intellectual property rights) ครอบคลุมทั้งทรัพย์สินทางปัญญาแบบดั้งเดิม เช่น เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ และสิทธิอื่น สิทธิคุ้มครองพันธุ์พืช การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และความลับทางการค้า และยังรวมถึงกระบวนการทางเทคนิคหรือโนว์ฮาว์ ที่ยังไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายระหว่างประเทศที่มีอยู่ กู๊ดวิลล์ก็รวมอยู่ด้วย
- สัมปทานตามกฎหมายหรือตามสัญญา (concessions conferred by law or under contract) รวมถึงสิทธิและสิทธิพิเศษที่ให้ตามอำนาจสาธารณะตามกฎหมายหรือองค์กรฝ่ายปกครองหรือตามสัญญา ใบอนุญาตที่ยอมให้ใช้หรือแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติหรือสมบัติสาธารณะ สัมปทานในทางธุรกิจและสาธารณะก็รวมอยู่ในขอบเขตของสัมปทาน

นิยามของการลงทุนทางตรง
การลงทุนทางตรงเป็นประเภทหนึ่งของการลงทุนระหว่างประเทศที่สะท้อนวัตถุประสงค์ของเอกชนที่อยู่ในประเทศหนึ่งที่ได้รับผลประโยชน์ระยะยาวจากบริษัทที่ตั้งอยู่ในประเทศหนึ่ง ผลประโยชน์ระยะยาวประกอบด้วยเงื่อนไขสองประการคือ
- การปรากฏของความสัมพันธ์ระยะยาวระหว่างนักลงทุนและหน่วยธุรกิจ
- ระดับของความมีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญที่ให้นักลงทุนในการออกเสียงในการบริหารหน่วยธุรกิจ
ที่สำคัญคือหน่วยธุรกิจลงทุนทางตรงกับธุรกรรมทุนทางตรงเกี่ยวข้องกันและอยู่ในขอบเขตแนวคิดของการลงทุนทางตรง
หน่วยธุรกิจลงทุนทางตรง (Direct investment Enterprise) ตามเงื่อนไขข้างต้น หน่วยธุรกิจลงทุนทางตรงเป็นนักลงทุนที่ถือครองหุ้นจำนวนหนึ่ง (ตามนิยามของ IMF ต้องถือครองอย่างน้อย 10%) หรือมีอำนาจในการออกเสียงที่สามารถใช้อำนาจบริหารหน่วยธุรกิจหรือควบคุม (ก) บริษัทลูกที่นักลงทุนต่างชาติถือครองหุ้นระหว่าง 100-50%) (ข) บริษัทสาขา ที่นักลงทุนต่างชาติถือหุ้นทั้งหมดหรือบางส่วน ถือว่ารวมอยู่ในนิยามของการลงทุนทางตรง หากกฎเกณฑ์ครบถ้วน
ในบางกรณีนักลงทุนต่างชาติควบคุมบริษัทที่เป็นเจ้าของหุ้นจำนวนน้อยหรือหากนักลงทุนเป็นเจ้าของหุ้นจำนวนมากแต่ไม่มีอำนาจในการออกเสียงเพื่อบริหารหน่วยธุรกิจ ในคู่มือของ IMF เรื่องดุลชำระเงินอธิบายว่าหน่วยธุรกิลงทุนทางตรงส่วนใหญ่เป็น ดังนี้ (ก) บริษัทสาขา หรือ (ข) บริษัทลูกที่ถือหุ้นทั้งหมดหรือส่วนใหญ่โดยคนต่างชาติ หรือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงส่วนใหญ่ถือครองโดยนักลงทุนคนเดียวหรือกลุ่มนักลงทุน
ธุรกรรมการลงทุนทางตรง (Direct Investment Transactions) แนวคิดของการลงทุนทางตรงรวมเงินทุนที่ลงซึ่งนักลงทุนทางตรงให้หน่วยธุรกิจการลงทุนทางตรงและเงินทุนที่ได้รับโดยหน่วยธุรกิจการลงทุนทางตรงจากนักลงทุนทางตรง
องค์ประกอบของธุรกรรมเงินทุนการลงทุนทางตรงและเงินทุนอื่นที่เกี่ยวกับธุรกรรมเงินกู้ระหว่างบริษัท โดยสรุปธุรกรรมเงินทุนการลงทุนทางตรงรวมการดำเนินการที่สร้างหรือเลิกกิจการลงทุนและการดำเนินการเพื่อรักษา ขยาย และลดการลงทุน
อะไรที่ไม่ถือว่าเป็นการลงทุนทางตรง
นักลงทุนในหลักทรัพย์ระยะสั้น (portfolio investor) ไม่คาดหวังที่จะได้รับผลประโยชน์เพิ่มเติมที่ได้จากการควบคุมบริหารหน่วยธุรกิจที่ลงทุนไป ความกังวลหลักคือ มูลค่าของเงินทุนและผลตอบแทนที่สามารถสร้างโดยไม่คำนึงว่ามีความสัมพันธ์ระยะยาวหรือควบคุมหน่วยธุรกิจ เหตุผลเบื้องหลังของ portfolio investment แตกต่างจากการลงทุนทางตรงค่อนข้างมาก portfolio investment รวมหลักทรัพย์หุ้น หลักทรัพย์หุ้นกู้จากพันธบัตรและเงินตรา เครื่องมือทางการเงินในรูปแบบต่าง ๆ อนุพันธ์ทางการเงิน หากเครื่องมือเหล่านี้เป็นไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ของการลงทุนทางตรง ก็ถือว่าเป็นการลงทุนทางตรง สำหรับธุรกรรมทางการเงินอื่น ที่ไม่อยู่ในนิยามของการลงทุนทางตรงและ portfolio investment ก็ถือว่าอยู่ในดุลชำระเงินในรูปของ reverse assets