วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา

การบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา

การบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ความรู้ซึ่งเป็นของตนเอง ทั้งนี้ ความรู้ที่ว่านี้สามารถเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินที่มีรูปร่าง เช่น สิทธิบัตร ปัญหาในการบริหารจัดการคือความรู้เหล่านี้อาจถูกซ่อนอยู่และยากที่จะดูแลรักษา เนื่องจากความรู้มักจะเป็นสิ่งที่ไม่มีรูปร่าง อย่างเช่น เครื่องหมายการค้าหรือโนว์ฮาว์ที่มีอยู่ในบริษัท
การบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาควรเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธของบริษัท ส่วนหนึ่งของโครงสร้างองค์กร และความสามารถสำคัญขององค์กร ดังนั้น การบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาจึงควรเป็นภารกิจประการหนึ่งขององค์กร
อย่างไรก็ตามการดูแลรักษาแตกต่างจากการบริหารจัดการ การดูแลรักษาอาจรวมถึงการร่าง การยื่น และแก้ไขสิทธิบัตร ซึ่งมักจะเป็นหน้าที่ทนายความสิทธิบัตรหรือตัวแทนสิทธิบัตร ซึ่งอาจใช้บุคคลภายนอกองค์กรดำเนินการก็ได้ ในขณะที่การบริหารจัดการมีมุมมองทางด้านเชิงพาณิชย์ด้วย
บริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านเทคโนโลยีมักจะจัดตั้งหน่วยหรือฝ่ายจัดการทรัพย์สินทางปัญญาในองค์กรเพื่อบริหารจัดการผลงานและดึงมูลค่าจากทรัพย์สินทางปัญญาของตนให้มากที่สุด ตัวอย่างเช่น บริษัทไอบีเอ็มได้จัดตั้งกลุ่มเทคโนโลยีไอบีเอ็ม (IBM Technology Group - ITG) ในปลายทศวรรษ 1990 ซึ่งผลจากการบริหารจัดการที่ดี กลุ่มนี้ก่อให้เกิดรายได้แก่บริษัทมากกว่าหนึ่งพันล้านเหรียญสหรัฐอเมริกาจากสิทธิบัตรที่มีอยู่หนึ่งหมื่นคำขอ อีกตัวอย่างหนึ่งคือบริษัทซีร็อกซ์ ได้จัดตั้งบริษัท Xerox New Enterprise ขึ้นเพื่อบริหารจัดการและทำการตลาดสิทธิแปดพันคำขอ นักวิเคราะห์คาดว่าการบริหารจัดการสิทธิบัตรดังกล่าวจะก่อให้เกิดรายได้มากกว่า 24 พันล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือว่าแหล่งรายได้ใหม่ของบริษัทที่เพิ่มขึ้น หากสิทธิบัตรเหล่านั้นสามารถทำรายได้เพียงครึ่งหนึ่งของรายได้ต่อสิทธิบัตรของบริษัทไอบีเอ็ม ทั้งนี้ อาจกล่าวได้ว่ารายได้เหล่านี้เป็นกำไรล้วน ๆ เนื่องจากต้นทุนที่เกี่ยวกับการสร้างทรัพย์สินทางปัญญาได้คืนแล้วตั้งแต่ตอนต้น
สำหรับบริษัทที่สร้างรายได้จากทรัพย์สินทางปัญญาเหล่านี้ ต้องบริหารจัดการสามปัจจัยด้วยกันคือ
1. การบันทึกทรัพย์สินทางปัญญา (Recording the IP)
โดยทั่วไปองค์กรส่วนใหญ่มักจะทำการบันทึกทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นของตนเอง ทั้งนี้ไม่ว่าทรัพย์สินทางปัญญานั้นจะปรากฎอยู่ในรูปของฐานข้อมูลหรือกระจัดกระจายไปทั่วแผนกต่าง ๆ ขององค์กร ปัญหาสำคัญคือหลายบริษัทต้องรวบรวมข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญาที่กระจัดกระจายให้อยู่ในรูปของฐานข้อมูลเพื่อให้ผู้ใช้รู้และเข้าใจประเภทและลักษณะของทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อไรที่ทรัพย์สินทางปัญญาถูกสร้างขึ้นและเมื่อไรควรจะใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเหล่านั้น ฐานข้อมูลที่ดีควรจะทำให้มองเห็นได้ว่าคำขอสิทธิบัตรควรจะสามารถทำให้เป็นคำขอสิทธิบัตรใหม่ได้
แม้ว่าสิ่งเหล่านี้จะเป็นทฤษฎีง่าย ๆ แต่บริษัทส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ดำเนินการ เมื่อมีการจัดทำบันทึกก็อาจพบกับบางอย่างที่ประหลาด อาทิเช่น บริษัท BT ได้ตรวจตราฐานข้อมูลสิทธิบัตรของตนเองที่มีอยู่ถึง 14000 คำขอ และก็พบว่าคำขอสิทธิบัตรในประเทศสหรัฐอเมริกาฉบับหนึ่งซึ่งได้รับมานานแล้วมีข้อถือสิทธิครอบคลุมเรื่อง hyperlink ที่ใช้ในเทคโนโลยี World Wide Web บริษัท BT จึงได้ดำเนินการฟ้องบริษัทยักษ์ใหญ่ของอเมริกา Prodigy กรณีละเมิดสิทธิบัตร

2. การวิเคราะห์ทรัพย์สินทางปัญญา (Analyzing the IP)
ในขั้นตอนนี้ต้องเข้าใจมูลค่าด้านองค์กรของทรัพย์สินทางปัญญา (Organizational value) ซึ่งมูลค่าด้านองค์กรแตกต่างจากมูลค่าที่มีอยู่ในตัว (Inherent value) ตัวอย่างเช่น กรณีมีสองสิทธิบัตรที่มีมูลค่าที่มีอยู่ในตัวเท่ากันสำหรับรายได้ในการก่อให้เกิดรายได้ในอนาคต แต่สิทธิบัตร ก. สามารถใช้ประโยชน์ในตลาดได้ทันทีเนื่องจากบริษัทมีช่องทางการตลาดอยู่แล้ว สำหรับสิทธิบัตร ข. นั้น บริษัทต้องทำการตลาดใหม่ ซึ่งเป็นตลาดที่บริษัทไม่คุ้นเคย จากตัวอย่างนี้ สิทธิบัตร ก. มีมูลค่าสิทธิบัตรด้านองค์กรสูงกว่าสิทธิบัตร ข.



3. การใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Exploiting the IP)
จากตัวอย่างข้างต้น รายได้ที่สำคัญสามารถได้รับมาจากการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญา ขณะที่มูลค่าภายในสามารถดูแลโดยการใช้สิทธิบัตรหลักในการปกป้องในตลาดที่มีอยู่เดิม สำหรับมูลค่าภายนอกนั้นสามารถสร้างได้จากการอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้สิทธิหรือขาย ในการพิจารณาทางเลือกอนุญาตให้ใช้สิทธิ มีปัจจัยที่ควรใช้ประกอบในการพิจารณาดังนี้
กำหนดขอบเขตของสาขา – ตลาดหรือสาขาวิทยาการใดบ้างที่จะอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้สิทธิ สิทธิบัตรตัวเดียวกันนั้นสามารถใช้ประโยชน์ได้ในสาขาวิทยาการใดบ้าง
สิทธิผูกขาด – ควรจะอนุญาตให้ใช้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวกับบุคคลเดียวหรือไม่
ระยะเวลา – ระยะเวลาที่อนุญาตให้ใช้สิทธิ

ในการใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเหมาะสมนั้น บริษัทควรจะสามารถใช้สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า และทรัพย์สินทางปัญญาอื่น ๆ จากการใช้เพื่อปกป้องมาเป็นการใช้เพื่อสร้างแหล่งมูลค่าสำหรับรายได้ในอนาคต



วัตถุประสงค์ของการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา
วัตถุประสงค์หลักของการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาคือการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาให้เกิดประโยชน์มากที่สุด การบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาครอบคลุมดังต่อไปนี้
1. การระบุทรัพย์สินทางปัญญา (identification) การระบุทรัพย์สินทางปัญญาเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมากเพราะจำเป็นต้องสามารถระบุทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งจะนำมาบริหารจัดการได้และจัดวางกลยุทธได้ก่อน
2. การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา (protection) การกำหนดประเภทและระดับของการขอรับคุ้มครอง โดยต้องคำนึงถึงลักษณะและความสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญานั้น และการดูแลและบำรุงรักษาทรัพยืสินทางปัญญาก็เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างหนึ่’
3. การพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญา (development) การพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญาจะช่วยในการระบุทรัพย์สินทางปัญญาที่สำคัญที่ควรมีการพัฒนาต่อยอดหรือขยายผล การวางกลยุทธ์ในเรื่องนี้มีความสำคัญเพราะจะใช้ช่วยในการวินิจฉัยว่าควาจะพัฒนาเทคโนโลยีของตนเองต่อไปหรือควรจะขออนุญาตใช้สิทธิจากบุคคลอื่น
4. การใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญา (utilization) การก่อให้เกิดรายได้มากที่สุดโดยการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินทางปัญญาอย่างมีประสิทธิภาพ การมีความกระตือรือร้นในการพัฒนา ใช้ประโยชน์และคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในองค์กร

การบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาประกอบด้วยหลายปัจจัย ประการแรกคือต้องมีการประเมินบทบาทของทรัพย์สินทางปัญญาในธุรกิจ การให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาขึ้นอยู่กับสถานะภาพและสถานการณ์ของบริษัท ความสำคัญและผลประโยชน์ของทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้การลงทุนในทรัพย์สินทางปัญญาต้องเปรียบเทียบกับผลประโยชน์จากการลงทุนในทรัพย์สินอื่นของบริษัท เช่น การก่อสร้างโรงงานหรือติดตั้งเครื่องจักรใหม่ ปัจจัยดังต่อไปนี้มักถูกนำมาพิจารณาดังต่อไปนี้
หากมีการลงทุนในปัจจุบัน อะไรที่บริษัทจะต้องใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือสร้างฐานตลาดใหม่ รวมทั้งกำหนดภาพลักษณ์ของสินค้า ความสมดุลในการลงทุนในทรัพย์สินทางปัญญากับปัจจัยอื่นต้องขึ้นอยู่กับความสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญาต่อกลยุทธของบริษัทในภาพรวม
อะไรคือข้อได้เปรียบในเชิงแข่งขัน หากกลยุทธ์การแข่งขันคือราคา ทรัพย์สินทางปัญญาอาจมีความสำคัญน้อย แต่หากกลยุทธ์คือความแตกต่างทรัพย์สินทางปัญญาอาจมีบทบาทมากต่อกลยุทธ์
ความสำเร็จจะมุ่งเน้นที่การผลิตสินค้าที่คุณภาพดีกว่าหรือไม่

ประการที่สองต้องพิจารณาตรวจสอบทรัพย์สินทางปัญญาของคู่แข่งและความสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญาในกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อช่วยในการยืนยันว่ากลยุทธ์ที่วางไว้ถูกต้อง

ในอุตสาหกรรม บริษัทชั้นนำบางบริษัทได้พัฒนาและปกป้องคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เพราะอนาคตของตนขึ้นกับทรัพย์สินทางปัญญา


การพัฒนา การบริหารจัดการ และการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินทางปัญญาที่มีประสิทธิภาพมีความสำคัญ องค์กรเข้าใจว่าการกำหนดท่าทีของทรัพย์สินทางปัญญาและการเพิ่มมูลค่าสูงสุดให้แก่ทรัพย์สินทางปัญญาแก่เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งนี้  ทรัพย์สินทางปัญญาอาจให้ประโยชน์แก่เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาในหลากหลายแง่ดังนี้

ก. มูลค่าด้านป้องกัน (Defensive value) กล่าวได้ว่าทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเกราะป้องกันแก่บริษัทจากการถูกฟ้องร้อง การถือครองทรัพย์สินทางปัญญาไม่ว่าในรูปใด ๆ บริษัทไม่เพียงมีมูลค่าหรือทรัพย์สินเพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นหลักประกันจากการถูกฟ้องร้องดำเนินคดีในการใช้เทคโนโลยีที่ตนเองเป็นเจ้าของและมีสิทธิควบคุมใช้ประโยชน์ ทั้งนี้ ยังเปิดโอกาสให้เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิ โดยการทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิได้ด้วย
แนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาในเชิงปกป้องคือ
การระบุว่าอะไรเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของตนเองบ้าง
การขอรับความคุ้มครองและบำรุงรักษาทรัพย์สินทางปัญญา
การเคารพในทรัพย์สินทางปัญญาของบุคคลอื่น
การเตรียมพร้อมในการบังคับใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา


ข. การควบคุมต้นทุน (Cost control) องค์ประกอบด้านการควบคุมต้นทุนในการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญานั้นจำเป็นต้องทำเพื่อลดต้นทุนในการดำเนินการขอรับและบำรุงรักษาทรัพย์สินทางปัญญา บ่อยครั้งที่บริษัทต้องมีค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการขอรับความคุ้มครองและบำรุงรักษา ซึ่งหากมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้มากเกินไปก็จะเป็นข้อเสียเปรียบ เนื่องจากทั้งหมดนี้เป็นต้นทุนอย่างหนึ่ง
การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างทรัพย์สินทางปัญญากับการใช้ในทางธุรกิจและมูลค่าทางธุรกิจ
การจัดตั้งคณะทำงานด้านการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา โดยประกอบด้วยบุคลากรจากหลายฝ่าย ทั้งนี้ควรประกอบด้วยบุคลากรด้านเทคนิคและทางการเงินด้วยเป็นอย่างน้อย
การจัดทำหลักเกณฑ์ในการขอรับความคุ้มครองและบำรุงรักษาทรัพย์สินทางปัญญา
การพิจารณาทบทวนทรัพย์สินทางปัญญาที่ไม่มีมูลค่าต่อบริษัทอย่างสม่ำเสมอ


ค. หน่วยงานมุ่งเน้นกำไร (Profit center) กลยุทะการทำกำไรจากทรัพย์สินทางปัญญาเป็นกลยุทธที่ต้องใช้ความกระตือรือล้นที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งคู่แข่งขันไม่มีข้อได้เปรียบนี้ แนวปฏิบัติที่ดีสำหรับหน่วยงานมุ่งเน้นกำไร คือ
การสร้างคำมั่นในการบริหารจัดการและสนับสนุนการจัดตั้งหน่วยงานมุ่งเน้นทำกำไรด้านทรัพย์สินทางปัญญา
การพัฒนาหน่วยงานมุ่งเน้นทำกำไรขึ้นในองค์กร โดยอาจเป็นหน่วยถ่ายทอดเทคโนโลยี
การวางกลยุทธในการจำหน่ายหรือบริจาคทรัพย์สินทางปัญญาและรวบรวมทรัพย์สินทางปัญญา
การจัดการการสร้างและดึงมูลค่าของทรัพย์สินทางปัญญามาใช้ประโยชน์
การพัฒนาหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกที่ดี

ง. การบูรณาการทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual property integration) ทรัพย์สินทางปัญญาจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น เมื่อองค์กรใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อวัตถุประสงค์ขององค์กรมากกว่าการใช้เพื่อประโยชน์ของหน่วยงานหรือฝ่ายเดียวในองค์กร
แนวปฏิบัติที่ดีในการบูรณาการทรัพย์สินทางปัญญาในองค์กรคือ
การกำหนดกลยุทธ์ด้านทรัพย์สินทางปัญญาให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ของบริษัท
การบำรุงรักษาทรัพย์สินทางปัญญาและทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องข้ามฝ่ายต่าง ๆ ในบริษัท
ทำการประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาในเชิงการแข่งขัน
การทำให้ทรัพย์สินทางปัญญาอยู่ในรูปที่บันทึกรายงานได้และจัดทำแนวปฏิบัติหรือหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ให้ชัดเจน รวมทั้งเปิดเผยให้ฝ่ายอื่น ๆ ในบริษัททราบด้วย
ให้ความสำคัญกับการดึงเอามูลค่าของทรัพย์สินทางปัญญามาใช้ประโยชน์ในเชิงกลยุทธ


จ. การพัฒนาและบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาอย่างมีเป้าหมาย (Visionary intellectual property development and management) กล่าวองค์กรได้กำหนดเป้าหมายทางด้านสังคม เทคโนโลยี อุตสาหกรรม และเศรษฐกิจ และพัฒนากลยุทธทางทรัพย์สินทางปัญญาภายใต้กรอบสภาพแวดล้อมดังกล่าวเพื่อกำหนดวางยุทศาสตร์ที่ดีเพื่อหาประโยชน์จากโอกาสของทรัพย์สินทางปัญญา แนวปฏิบัติที่ดีมีดังนี้
การขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่างมีกลยุทธตามแนวโน้มของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
การพัฒนาระบบการรายงานและการประเมินวัดประสิทธิภาพการดำเนินงาน

1 ความคิดเห็น: