วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

หลักเกณฑ์ของหลักการสงครามที่ชอบธรรม (Just War Doctrine)

ทฤษฎีสงครามที่ชอบธรรมเป็นหลักการตามจารีตประเพณีของจริยธรรมทหารที่ศึกษาโดยผู้นำทางทหาร  นักเทววิทยา นักจริยธรรม และผู้กำหนดนโยบาย ซึ่งคำน่มาจากภาษาลาตินว่า jus bellum iustum วัตถุประสงค์ของหลักการนี้คือการประกันว่าสงครามมีความชอบธรรมทางศีลธรรมโดยกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการทำสงครามที่พิจารณาว่ามีความชอบธรรมเป็นที่ยอมรับกัน กล่าวคือในหลักการดังกล่าวพัฒนามาจากหลักเกณฑ์และข้อตกลงที่ใช้กันในสงครามต่างๆ ในอดีตที่ผ่านมา ประเพณีสงครามที่ชอบธรรมจึงมาจากงานเขียนของนักปราชญ์และนักกฎหมายในอดีตและผ่านการตรวจทานในแง่ของปรัชญาของข้อจำกัดทางจริยธรรมในสงครามเพื่อใช้เป็นแนวทางในการทำสงคราม

หลักการของสงครามที่ชอบได้วางข้อสันนิษฐานไว้ก่อนเบื้องต้นไม่ได้เห็นด้วยการก่อหรือทำสงคราม (against war) แต่ก็ยอมรับว่าการทำสงครามไม่ใช่ทางเลือกที่เลวร้ายที่สุด แม้สงครามจะไม่ใช่ทางเลือกที่ดีก็ตาม ความรับผิดชอบ ผลลัพธ์ที่ไม่พึงปรารถนา หรือความโหดร้ายที่สามารถป้องกันได้อาจทำให้การก่อสงครามเป็นสิ่งที่ชอบธรรม กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ รัฐไม่ควรก่อให้เกิดสงครามขึ้นเว้นแต่หลักเกณฑ์ทั้งหมดเกิดขึ้นครบถ้วน ทำให้สิทธิที่จะทำสงคราม (jus ad bellum) และในการสู้รบระหว่างสงครามรัฐต้องปฏิบัติตามที่ชอบธรรมด้วย (jus in bello) รวมทั้งต้องปฏิบัติตามโดยชอบธรรมด้วยหลังจากหยุดหรือระงับการทำสงคราม (jus post bellum) แม้ว่าหลักเกณฑ์เหล่านี้ไม่ได้เป็นหลักเกณฑ์ที่เป็นทางการ แต่เป็นที่ยอมรับกันในทางปฏิบัติระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ก็มีผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีสงครามที่ชอบธรรมเนื่องจากความเห็นว่าไม่มีสงครามที่สามารถก่อให้เกิดควาชอบธรรม สงครามตอบสนองผลประโยชน์ของประเทศที่อ้างเรื่องนี้ว่ามีความชอบธรรม 

ตามหลักสากล ทฤษฎีสงครามที่เป็นธรรมประกอบด้วย 2 ส่วน (ซึ่งมีชื่อเรียกเป็นภาษาละติน) คือ Jus Ad Bellum และ Jus In Bello กล่าวคือ

1. Jus Ad Bellum (Right to go to war) คือ การคำนึงถึงความชอบธรรม ซึ่งต้องปฏิบัติก่อนที่จะมีการประกาศสงคราม ประกอบด้วยสาระสำคัญ 5 ประการ คือ

1.1 สาเหตุอันชอบธรรมในการก่อเหตุ (Just Cause) การที่จะประกาศสงครามได้นั้นต้องมีเหตุผลอันชอบธรรม เป็นต้นว่า การต่อสู้ป้องกันตัวจากการรุกรานของฝ่ายตรงข้ามที่ไม่เป็นธรรม คุ้มครองประชาชนผู้บริสุทธิ์ ปกป้องสิทธิเสรีภาพและรัฐจากการถูกล่วงล้ำสิทธิ ตลอดจนการป้องกันการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ เป็นต้น

1.2 อำนาจที่ถูกต้องตามกฎหมาย (Lawful Authority) การตัดสินใจประกาศสงครามต้องเป็นไปโดยผู้ปกครองประเทศที่มีอำนาจเหมาะสม หรือผู้มีอำนาจสูงสุดของประเทศ ตลอดจนองค์กรซึ่งเป็นที่ยอมรับของสากล โดยผ่านกระบวนการที่ถูกต้อง และต้องประกาศให้สาธารณชน (รวมถึงพลเมืองของตนเองและของศัตรู) รับทราบด้วย

1.3 จุดมุ่งหมายที่ชอบธรรม (Just Intent) คือความมุ่งมั่นในการทำสงครามเพื่อที่จะนำมาซึ่งสันติภาพ ไม่ใช่เป็นการทำสงครามเพื่อล้างแค้น หรือเพื่อเกียรติศักดิ์ของผู้ร่วมสงคราม

1.4 มาตรการสุดท้าย (Last Resort) ก่อนการประกาศสงครามต้องแน่ใจว่าประเทศนั้น ๆ ได้พยายามทุกวิถีทางเพื่อขจัดข้อพิพาทระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการเจรจาทางการทูตเป็นสิ่งที่ต้องนำมาใช้เป็นอันดับต้น ๆ จนถึงที่สุดแล้ว เมื่อไม่มีวิถีทางใดที่ดีไปกว่าการลงโทษผู้รุกรานจึงจะประกาศสงครามได้

1.5 ความหวังที่จะได้รับชัยชนะ (Reasonable Hope of Success) จุดมุ่งหมายของการทำสงครามคือ ต้องทำสงครามจนได้ชัยชนะโดยเร็วที่สุด และหากทราบดีว่าผลของการสู้รบนั้นคือไม่สามารถไปสู่ความสำเร็จหรือเป้าหมาย ที่ตั้งไว้ได้ ก็ต้องหาทางสกัดกั้นหรือขจัดความรุนแรง เพราะหากฝืนสู้รบไปก็เป็นการไร้ประโยชน์และจะมีแต่ผลเสียติดตามมา

ทั้งนี้ จะต้องมีการประกาศอย่างเป็นทางการ (Formal Declaration) ก่อนจะมีการใช้กำลังสู้รบ ประเทศจะต้องทำการประกาศสงครามและระบุวัตถุประสงค์ด้วย


2. Jus In Bello (What is right in war) คือแนวการปฏิบัติตนในระหว่างภาวะสงครามหรือเป็นแนวทางจริยธรรมในช่วงสงคราม ประกอบด้วยสาระสำคัญ 2 ประการ คือ


2.1 การแยกแยะความแตกต่าง (Discrimination) กล่าวคือ ผู้ทำหน้าที่ในการรบต้องแยกแยะระหว่างประชาชนหรือพลเมืองที่บริสุทธิ์กับทหารของฝ่ายตรงข้าม หลีกเลี่ยงความรุนแรงที่โหดร้ายป่าเถื่อนและไม่เป็นธรรม อีกทั้งเชลยศึกต้องได้รับการปฏิบัติอย่างดีและมีเกียรติ นอกเหนือจากวิธีการปฏิบัติต่อเชลยศึกแล้ว ทรัพย์สินของคู่สงครามต้องไม่ถูกทำลายให้ได้รับความเสียหายมากเกินความจำเป็นด้วย

2.2 ความเป็นสัดส่วน (Proportionality) หมายถึงความพอเหมาะพอดีในการใช้กำลังในสงคราม ซึ่งประเทศหนึ่ง ๆ ควรจะใช้กำลังที่พอสมควรในการบรรลุถึงเป้าหมาย รวมถึงการตระหนักถึงเงื่อนไขในการใช้กำลังอาวุธเพียงเพื่อให้สงครามยุติลงหรือยุติความรุนแรงลงเท่านั้น การใช้อาวุธร้ายแรงซึ่งมีอานุภาพทำลายล้างสูงถือเป็นการใช้กำลังที่ไม่ได้สัดส่วน 


2.3 ความจำเป็นทางทหาร กล่าวคือากรโจมตีหรือการกระทำทางทหารต้องมีเจตนาเพื่อต้องการชัยชนะเหนือคู่ต่อสู้ และจะต้องโจมตีเป้าหมายทางทหารโดยชอบธรรมเท่านั้น การทำร้ายต่อพลเรือนหรือทรัพย์สินของพลเรือนต้องได้สัดส่วนและไม่เกินสัดส่วนในแง่ของประโยชน์ทางตรงและเป็นรูปธรรมที่คาดได้ หลักการนี้คือการจำกัดการเสียชีวิตและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นมากเกินไปและไม่จำเป็น


2.4 การปฏิบัติต่อเชลยศึก กล่าวคือ เชลยศึกที่ยอมแพ้หรือถูกจัยกุมตัวได้จะต้องไม่ถูกคุกคามอันตรายและไม่ทรมานหรือปฏิบัติอย่างไม่ชอบตามอำเภอใจ 

3. ในช่วงที่ผ่านมา นักวิชาการ เช่น แกรี่ แบส หลุยส์ เบเซียลโล่ และไบรอัน โอเรนด์ได้นำเสนอหลักเกณฑ์ประเภทที่สามของหลักการสงครามที่ชอบธรรม คือ Jus post bellum ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ความยุติธรรมหลังการยุติสงคราม ไม่ว่าจะเป็นการทำสนธิสัญญาสันติภาพ การซ่อมแซมบูรณะ กระบวนการพิจารณาคดีอาชญากรสงคราม เป็นต้น หลักการนี้ได้เพิ่มเติมหลักเกณฑ์ว่า รัฐจะต้องยุติสงครามหากสาเหตุของสงครามได้รับการแก้ไขหรือป้องกันได้แล้วอย่างสมเหตุสมผลและผู้รุกรานประสงค์จะเจรจาเพื่อยอมแพ้ การยอมแพ้หมายความรวมถึงการขอโทษ ยอมจ่ายค่าชดเชย ยอมต่อสู้ในคดีอาชญากรรมสงคราม หรือยอมปรับปรุงตัว ซึ่งมีหลักเกณฑ์ดังนี้ 
3.1 การประกาศต่อสาธารณะ (Publicly Decleration and Authority) คือ เงื่อนไขสันติภาพต้องประกาศต่อสาธารณะโดยผู้มีอำนาจอย่างชอบธรรมและผู้มีอำนาจดังกล่าวต้องยอมรับในเงื่อนดังกล่าว

3.2 การแยกแยะความแตกต่าง (Discrimination) คือ รัฐที่ได้รับชัยชนะต้องจำแนกแยกแยะผู้นำทางการเมือง ผู้นำทหาร  ทหารที่สู้รบ และพลเรือน มาตรการลงโทษต้องจำกัดตามความรับผิดชอบของบุคคลนั้นๆ รัฐที่ได้รับชัยชนะต้องใช้มาตรฐานเดียวกันด้วยความเป้นการกลางและอิงการสอบสวนการกระทำผิดจากสงครามที่ใช้กำลัง 

3.3 หลักความได้สัดส่วน (Proportionality) คือ รัฐที่ได้รับชัยชนะต้องปฏิบัติหรือกำหนดเงื่อนไขต่อรัฐที่ยอมแพ้ตามสัดส่วนหรือสมควรแก่กรณี โดยคำนึงถึงสิทธิที่มีการละเมิดในตั้งแต่เริ่มแรก 

3.4 การปรับปรุงตัว (Rehabilitation) คือรัฐที่ได้รับชัยชนะอาจกำหนดให้รับที่ยอมแพ้ต้องมีการปรับเปลี่ยนสถาบันทางการเมืองหรือการปกครอง เช่น ลดกองกำลังทหาร การฝึกอบรมตำรวจและตุลาการใหม่ และการส่งเสริมการศึกษาอบรมเรื่องสิทธิมนุษยชน เป็นต้น แต่การปฏิรูปดังกล่าวอาจมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดตั้งหรือรื้อฟื้นสังคมพลเรือนให้กลับมามีสันติภาพและปกป้องสิทธิมนุษยชน เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป (แบบย่อ)

ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่าข้อมูลถือเป็นสินค้าที่สำคัญในระบบเศรษฐกิจโลก แต่ด้วยพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีในยุคปัจจุบันทำให้กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลล้าสมัยไม่สามารถให้ความคุ้มครองบุคคลเจ้าของข้อมูลได้อย่างเพียงพอ รวมทั้งไม่สามารถปกป้องจากความเสี่ยงที่เกิดจากการประมวลผลที่เกิดขึ้นได้ทั่วไปในยุคอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง องค์การระหว่างประเทศ เช่น OECD, APEC, สภายุโรป และสหภาพยุโรปได้ตระหนักถึงความเสี่ยงดังกล่าวและมีความคิดริเริ่มในการออกหลักเกณฑ์ใหม่ ในส่วนของสหภาพยุโรปได้ออกเครื่องมือหลายประการในการให้ความคุ้มครองข้อมูล ที่สำคัญคือ ข้อกำหนดว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลทั่วไป หรือ General Data Protection Regulation (GDPR).


ข้อกำหนดว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลทั่วไปได้เพิ่มการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้วยการสร้างแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลและการบริหารและให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของความรับผิดชอบในการบริหารธุรกิจและหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท ข้อกำหนดได้กำหนดเพิ่มสิทธิใหม่แก่บุคคลและเพิ่มความคุ้มครอง และให้อำนาจแก่หน่วยงานกำกับดูแลในการตรวจสอบ ระงับ หรือห้ามกระบวนการประมวลผลและกำหนดโทษปรับสูงถึงร้อยละ 4ของรายได้ของบริษัท ข้อกำหนดดังกล่าวใช้แนวทางอิงความเสี่ยง กล่าวคือองค์กรต้องแสดงให้เห็นว่ามีแนวทางในการบริหารข้อมูลที่ดีและสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นใจให้แก่ลูกค้า หากไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขตามกฎหมายได้ก็จะต้องได้รับการลงโทษ ขอบเขตของขัอกำหนดคือใช้บังคับกับผู้ประกอบการที่จำหน่ายสินค้าหรือให้บริการกับผู้ที่อาศัยอยู่ในสหภาพยุโรป

การสร้างความรับรู้แก่เจ้าของข้อมูล
กฎหมายใหม่กำหนดภาระให้องค์กรต้องแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติตามกฎหมาย การสร้างความรับรู้เป้นสิง่จำเป็นที่ต้องสร้างและกระตุ้นโดยองค์กรต่างๆ ตั้งแต่คณะกรรมการและคณะผู้บริหารที่ต้องให้การสนับสนุนในเรื่องดังกล่าว องค์กรจำเป็นต้องมีการทบทวนกระบวนการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลให้ทันสมัยสอดคล้องกับหลักการตามกฎหมายใหม่ รวมทั้งต้องระบุแหล่งของข้อมูลที่มาจากฝ่ายบุคลากร การเงิน และทางเทคนิคต้องดำเนินการด้วย การดำเนินการอย่างมีประสิทธิผลกับองค์กรใหม รวมทั้งการรายงานการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลและการส่งเสริมสิทธิ เช่น สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของตนเอง

ความรับผิดชอบ
องค์กรต้องพิจารณาวัตถุประสงค์และวิธีการดำเนินการในการประมวลผลข้อมูล โดยเฉพาะผู้มีอำนาจควบคุม ซึ่งต้องมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติตามกฎหมายและต้องสามารถแสดงให้เห็นว่า
(1) มีการปฏิบัติสอดคล้องตามหลักการของกฎหมาย
(2) มีมาตรการรักษาความปลอดภัยข้อมูลขององค์กรและทางเทคนิคที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิผลและมีการตรวจสอบสม่ำเสมอ และ
(3) นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เหมาะสมได้รับการดำเนินการ
ในการพิจารณาว่าอะไรเป้นความเหมาะสมที่ผู้มีอำนาจควบคุมต้องดำเนินการต้องคำนึงถึงลักษณะ ขอบเขต บริบท และวัตถุประสงค์ของการประมวลผลและความคล้ายคลึงที่หลากหลายและความร้ายแรงของความเสี่ยงที่จะมีต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคล สำหรับการประเมินความเสี่ยงที่มีอยู่ในตัวมันเองกับความรับผิดชอบ การวิเคราะห์อย่างละเอียดของกระบวนการที่มีอยู่ในปัจจุบันควรดำเนินการตามนโยบายปัจจุบันและการะบวนการที่ประเมินเพื่อระบุว่ามีประสิทธิผลหรือไม่และจำเป้นต้องมีการปรับปรุงแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงหรือไม่

ทุกองค์กรต้องรู้หรือทราบว่ามีข้อมูลส่วนบุคคลใดบ้างที่มีการประมวลผลและต้องเข้าใจความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อเจ้าของข้อมูล  องค์กรต้องควรทราบด้วยว่าการทราบเหตุผลและเวลาการประมวลผล เจ้าของข้อมูลที่จะมีการประมวลผล ข้อมูลใดบ้างที่มีการประมวลผล วิธีการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคล วิธีการและระยเวลาการจัดเก็บ และการโอนย้ายข้อมูลไปยังองคืกรอื่น และเหตุผลการโอนย้ายและสถานที่โอนไป และมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยที่จำเป็นในการปฏิบัติตามกฎหมายใหม่

หลักการพื้นฐาน
การประมวลผลข้อมูลจำเป็นต้องมีการทบทวนต่อหลักากรที่มีการแก้ไข กล่าวคือข้อมูลส่วนบุคคลต้อง
- ได้รับการประมวลผลอย่างถูกต้องตามกฎหมายด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรม
- ได้รับการเก็บรวบรวมเป็นการเฉพาะ ชัดเจน และมีวัตถุประสงค์ที่ชอบด้วยกฎหมาย และต้องไม่มีการประมวลผลนอกเหนือจากที่กำหนดและไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ดังกล่าว
- การจัดเก็บข้อมูลต้องดำเนินการอย่างเพียงพอ เกี่ยวข้อง และจำกัดเท่าที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ที่จะนำไปดำเนิการประมวลผล
- การเก็บข้อมูลต้องถูกต้องและปรับปรุงให้ทันสมัยในทุกขั้นตอนต้องประกันว่าข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่ถูกต้องจะต้องได้รับการลบหรือแก้ไขโดยไม่ชักช้า
- ต้องจัดเก็ยไว้ในรูปที่อนุญาตให้สามารถระบุเจ้าของข้อมูลเท่าที่จำเป็นเพื่อวัตถุประสงค์ที่จะประมวลผลเท่านั้น
- การประมวลผลในลักษณะที่ต้องประกันการรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลที่เหมาะสม รวมถึงการคุ้มครองการประมวลผลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและต้องไม่ให้เกิดความสูญหาย ถูกทำลาย หรือเสียหายโดยอุบัติเหตุ ด้วยการใช้มาตรการขององคืกรและทางเทคนิคที่เหมาะสม

ความโปร่งใส
ความโปร่งใสเป็นหลักการใหม่ที่เพิ่มเข้ามา โดยกำหนดทั้งภาระหน้าที่และสิทธิเพื่อประกันว่าบุคคลเข้าใจอะไรจะเกิดขึ้นกับข้อมูลส่วนบุคคลของตนเอง มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากจากเงื่อนไขในการประมวลผลในปัจจุบันทและมีแนวโน้มว่าต้องการทรัพยากรและความพยายามมากขึ้นในการปฏิบัติตามกฎหมาย หากผู้มีอำนาจควบคุมได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคคลหรือได้รับข้อมูลมาทางอ้อม จำเป้นต้องดำเนินการด้วยความโปร่งใส กล่าวคือผู้มีอำนาจควบคุมต้องให้ข้อมูลแก่บุคคลเจ้าของข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการในรูปแบบที่ถูกต้องกระชับ โปร่งใส และง่ายต่อการเข้าถึงด้วยภาษาที่ชัดเจนและง่าย โดยต้องประกอบด้วยข้อมูล ดังนี้   การระบุตัวตน รายละเอียดจุดติดต่อของผู้มีอำนาจควบคุมและผู้แทนในสหภาพยุโรป (ถ้ามี) รายละเอียดจุดติดต่อของเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูล วัตถุประสงค์และเงื่อนไขทางกฎหมายในการประมวลผล ผู้รับข้อมูล การโอนย้ายข้อมูลข้ามประเทศและมาตรการในการรักษาความปลอดภัย ระยะเวลาในการเก็บรักาาข้อมูล สิทธิของบุคคล รวมทั้งการเข้าถึง การปรับปรุงแก้ไข การคัดค้านความถูกต้องของข้อมูล และการโอนย้ายข้อมูลของเจ้าของข้อมูล สิทธิในการร้องเรียนต่อหน่วยงานที่มีอำนาจกำกับดูแล และการประมวลผลต้องได้นับความยินยอม และเจ้าของข้อมูลมีสิทธิเพิกถอนความยินยอมด้วย

การรักษาความปลอดภัยข้อมูล
ความรับผิดชอบในการดำเนินการมาตรการรักาาความปลอดภัยทางองค์กรและทางเทคนิคที่เหมาะสม  รวมถึงมาตรการดังนี้
- การปกปิดชื่อและการเข้ารหัสของข้อมูลส่วนบุคคล
- ความสามารถในการประกันความลับ ความมั่นคง ความมีใช้งาน และการหยืดหยุ่นของระบบการประมวลผลและบริการ
- ความสามารถในการจัดเก็บและการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลในเวลาที่ต้องการทั้งทางกายภาพและเทคนิค
- กระบวนการในการทดสอบ ประมวลผล และประเมินผลอย่างสม่ำเสมอเกี่ยวกับความมีประสิทธิผลของมาตรการทางเทคนิคและทางองค์กรในการประมวลผลข้อมูล หากสามารถแสดงให้เห็นการดำเนินการตามกฎหมายให้สอดคล้องกับเงื่อนไขกับประมวลจริยธรรมหรือแผนการรับรอง เมื่อมีการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ผู้มีอำนาจควบคุมต้องสามารถแสดงให้เห็นว่าได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลที่จะมีการประมวลผลด้วย วิธีการที่จะได้รับความยินยอมต้องมีความชัดเจนในภาษาที่ใช้ในการได้รับความยินยอมและง่ายต่อการเข้าถึงและมีความแตกต่างที่ชัดเจนจากประเด็นเรื่องอื่น มิฉะนั้น ความยินยอมจะไม่สามารถอ้างความชอบด้วยกฎหมายได้ อนึ่งความยินยอมสามารถเพิกถอนได้ไม่ว่าเวลาใดและต้องอธิบายได้หากมีการขอรับความยินยอม และการเพิกถอนความยินยอมจะต้องง่ายต่อการเพิกถอน ดังนั้น ความยินยอมของเจ้าของข้อมูลเป็นเงื่อนไขสำคัญ

พนักงานเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูล
ผู้มีอำนาจควบคุมข้อมูลและผู้ประมวลผลต้องกำหนดหรือระบุตัวเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูล (Data Protection Officer) เมื่อมีการประมวลผลโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ กิจกรรมหลักของการประมวลผลกำหนดให้มีการดำเนินการสม่ำเสมอและมีการติดตามตรวจสอบอย่างเป็นระบบต่อเจ้าของข้อมูลขนาดใหญ่หรือกิจกรรมหลักของการประมวลผล รวมทั้งการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ของประเภทข้อมูลเฉพาะบางประเภท ตัวอย่างเช่น ข้อมูลด้านสุขภาพ เชื้อชาติ ความเห็นทางการเมือง และการกระทำผิดทางอาญา เป็นต้น

ทั้งนี้ อำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่คุ่้มครองข้อมูลมีดังนี้
- ต้องเกี่ยวพันกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ควรต้องแจ้งและให้คำปรึกษาพันธะหน้าที่ การติดตามตรวจสอบ และต้องมีการจัดตั้งจุดประสานงานสำหรับเจ้าของข้อมูลและหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจสอบ
- ต้องมีการจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการงานดังกล่าวที่เกี่ยวข้อง
- ต้องมีการสั่งการ ยกเลิกหรือลงโทษในการละเมิดหรือมีการกระทำขัดต่อหน้าที่
- ต้องรายงานโดยตรงต่อผู้บริหารสูงสุด
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ที่สามารถให้คำปรึกษาเรื่องนี้ได้ และที่สำคัญต้องไม่เป็นพนักงานขององค์กร

การรายงานการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล
หากมีการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลเกิดขึ้น ผู้มีอำนาจควคบุมข้อมูลต้องมีหน้าที่เจ้าเตือนโดยไม่ชักช้าและหากเป็นไปได้ภายใน 72 ชั่วโมงตอ้งแจ้งหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจสอบเว้นแต่การละเมิดดังกล่าวมีแนวโน้มไม่ได้ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อบุคคล ผู้มีอำนาจควบคุมต้องอธิบายลักษณะของการละเมิด รวมทั้งจำนวนของเจ้าของข้อมูลที่เกี่ยวข้องและบันทึกข้อมูลที่ดำเนินการ พร้อมให้รายละเอียดการติดต่อกับเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลหรือจุดติดต่ออื่น และอธิบายผลที่อาจเกิดขึ้นของการละเมิดและมาตรการที่ช่วยลดความเสี่ยงหรือผลในทางลบจากการละเมิด

ข้อยกเว้นตามเงื่อนไขนี้คือหากข้อมูลที่ได้รับความคุ้มครองด้วยวิธีการเข้ารหัส ก็ไม่น่าจะถือว่ามีความเสี่ยงสูงหรือการแจ้งเตือนรายบุคคลไม่ได้สัดส่วนและใช้การประกาศต่อสาธารณะแทนอาจมีประสิทธิผลมากกว่า สิทธิที่มีอยู่เดิมของเจ้าของข้อมูลจะได้รับความคุ้มครองสูงขึ้นและเพิ่มสิทธิใหม่ๆ เข้าไปด้วย แต่ละสิทธิมีเงื่อนไขเฉพาะ และผู้มีอำนาจควบคุมต้องปฏิบัติตามโดยทันทีภายในหนึ่งเดือน

ประชาชนมีสิทธิเกี่ยวกับข้อมูลของตนเอง ดังนี้
- สิทธิที่จะได้รับการแจ้งเกี่ยวกับข้อมูลตนเอง
- สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลตนเอง
- สิทธิในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลตนเอง
- สิทธิในการลบข้อมูลตนเองหรือสิทธิที่จะถูกลืม
- สิทธิในการจำกัดการประมวลผลข้อมูลตนเอง
- สิทธิในการปฏิเสธการประมวลผลข้อมูลตนเอง
- สิทธิในการโยกย้ายข้อมูลตนเอง
- สิทธิในการป้องกันการตัดสินใจรายบุคคลอัตโนมัติและตรวจสอบโปรไฟล์ข้อมูลตนเอง

การให้คำจำกัดความ "คอร์รัปชั่น"

คำว่า "คอร์รัปชั่น" มีที่มาจากคำในภาษาลาตินว่า "corruptus"   หรือ "corrumpere" ซึ่งหมายความทำให้เสียหาย (spoil) หรือทำให้แตกเป็นชิ้นๆ (break into pieces) คอรัปชั่นเกิดขึ้นในแทบทุกระดับในสังคมและทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน ระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระหว่างประเทศ ในยุคโลกาภิวัตร ธุรกรรมข้ามประเทศกลายเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว ซึ่งทำให้เกิดโอกาศคอร์รัปชั่นระหว่างประเทศได้มากขึ้น แต่นิยามคำว่า "คอร์รัปชั่น" ในระดับระหว่างประเทศยังไม่ชัดเจน ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาทั้งทางด้านกฎหมายและการเมือง ดังนั้น ทำให้เกิดการตีความที่แตกต่างกันของคำว่าคอร์รัปชั่นของแต่ละประเทศตามบริบทและมุมมองของตนเอง


อนุสัญญาองค์การสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการคอรัปชั่น (UNCAC) และอนุสัญญาว่าด้วยการต่อสู้กับการให้สินบนของเจ้าหน้าที่รัฐ  (OECD Antibribery Convention) ซึ่งเป้นอนุสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องคอร์รัปชั่นก็ไม่ได้ให้นิยามไว้ เพียงแต่ระบุรูปแบบของการกระทำผิดคอร์รัปชั่นไว้ ดังนี้
1. การให้สินบน (Bribery)
2. การกรรโชก (Extortion)
3. การจ่ายเพื่อการอำนวยความสะดวก (Facilitation Payment)
4. การสมรู้ร่วมคิด (Collusion)
5. การหลอกลวง (Fraud)
6. การขัดขวางกระบวนการยุติธรรม (Obstruction of Justice)
7. การยักยอก การเบียดบัง หรือยักย้ายทรัพย์สินโดยเจ้าหน้าที่รัฐ (Embezzlement, misappropriation or other diversions of property by a public official)
8. การใช้อิทธิพลทางการค้า (Trading Influence)
9. การใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ (Abuse of function)
10. การร่ำรวยผิดปกติ (Illicit enrichment)
11. การฟอกเงิน (Money laundering)
12. ผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of interests)

องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) อธิบายคำว่าคอร์รัปชั่นว่าหมายถึงการใช้ตำแหน่งหน้าที่ไม่ว่าภาครัฐหรือเอกชนเพื่อได้มาซึ่งประโยชน์ส่วนตน การใช้อำนาจโดยมิชอบไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อมของเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อได้รับเงินหรือประโยชน์อื่นๆ เป็นการส่วนตน

ธนาคารโลก (World Bank) ให้คำจำกัดความคอร์รัปชั่นว่า การใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ส่วนตัว

สถาบันความโปร่งใสสากล (Transparency International หรือ TI) ให้ความหมายว่าเป็นการใช้อำนาจที่ได้รับมอบหมายโดยมิชอบเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์ส่วนตัว อันเป็นการทำร้ายผู้อื่นที่ต้องพึ่งพาความซื่อสัตย์ของบุคคลที่ดำรงตำแหน่งที่มีอำนาจดังกล่าว

การประชุมว่าด้วยข้อตกลงโลกขององค์การสหประชาชาติ (UN Global Compact) เสนอแนะว่าในการต่อสู้กับคอร์รัปชั่นและหลักการที่ 10 ดังนี้
1. ภายใน (Internal): ในขั้นตอนแรกควรมีนโยบายและมาตรการต่อต้านคอร์รัปชั่นภายในองค์กรและในการดำเนินธุรกิจ
2. ภายนอก (External): รายงานการดำเนินงานต่อต้านคอร์รัปชั่นในการสื่อสารหรือประชาสัมพันธ์ประจำปี รวมทั้งความคืบหน้าในการดำเนินการ พร้อมยกตัวอย่าง
3. ร่วมกัน (Collective):  สร้างการร่วมมือกันกับภาคอุตสาหกรรมและกับผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ

ทั้งนี้ คอร์รัปชั่นมีทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน กล่าวคือด้านอุปสงค์จะเกี่ยวข้องกับบุคคลหรือนิติบุคคลที่อำนวยความสะดวกในการคอร์รัปชั่น ซึ่งเป็นวิธีการให้ประโยชน์หรือได้เปรียบโดยไม่เหมาะสมในหลายรูปแบบ เพื่อต่อสู้กับการคอร์รัปชั่นอย่างมีประสิทธิผล นโยบายในเรื่องนี้จำเป็นต้องพิจารณาทั้งด้านอุปสงค์และอุปทานควบคู่กันไปพร้อมกัน ดังนั้น มาตรการที่ใช้อยู่อาจไม่เพียงพอในการดำเนินกับบุคคลที่รับสินบน และมีความจำเป็นที่ต้องมีการป้องกัน ระงับ หรือลงโทษมิให้เกิดในทางด้านอุปทาน (หรือผู้ให้) ด้วย

วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

สัญญาอัจฉริยะคืออะไร? (Smart Contract)

สัญญาอัจฉริยะ (smart contract) หมายความถึงสัญญาที่สามารถบังคับใช้ได้ตัวเองโดยอัตโนมัติโดยไม่จำเป้นต้องมีบุคคลที่สามเป็นตัวกลาง สัยญาอัจฉริยะจะถูกเขียนขึ้นในรูปแบบของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ไม่ใช่เขียนเป็นหนังสือในรูปของภาษากฎหมายที่ยกร่างโดยนักกฎหมาย โปรแกรมดังกล่าวสามารถกำหนดเงื่อนไขและผลลัพธ์ที่จำกัดได้เช่นเดียวกันกับเอกสารกฎหมายที่ใช้กันในปัจจุบัน แต่ก็ไม่เหมือนสัญญาในปัจจุบัน กล่าวคือสัญญาอัจฉริยะสามารถป้อนหรือนำเข้าข้อมูลสารสนเทศแล้วประมวลผลออกมาเป็นเงื่อนไขของสัญญา รวมทั้งสามารถดำเนินการตามเงื่อนไขได้ตามที่กำหนดไว้เพื่อให้เกิดผลตามสัญญา

ข้อความคิดเรื่องสัญญาอัจฉริยะได้ถูกพัฒนาในปี ค.ศ. 1994 โดยนายนิค ซสาโบ (Nick Szabo) ซึ่งเป็นทั้งนักคอมพิวเตอร์ นักรหัสวิทยา และนักกฎหมาย แต่ในยุคนั้นยังไม่สามารถใช้เป็นแนวปฏิบัติงานได้จริงเพราะโครงสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยียังไม่สามารถสนับสนุนได้เพียงพอ  ปัจจุบันนี้ ด้วยความก้าวหน้าของโปรโตคอลของการเข้ารหัสและเทคโนโลยีบล๊อกเชนทำให้แนวคิดเรื่องสัญญาอัจฉริยะดังกล่าวได้รับการพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง

หากจะอธิบายอย่างง่ายๆ คือว่า สัญญาอัจฉริยะเป็นสคริปท์ที่เขียนโดยอัตโนมัติ สามารถทำซ้ำได้ และเป็นหน่วยย่อยที่แยกออกจากกันได้ ซึ่งปกติมักจะทำงานบนระบบเทคโนโลยีบล๊อกเชนที่นำเสนอเงื่อนไขสัญญาแบบฝ่ายเดียวเพื่อให้คอมพิวเตอร์ตัดสินใจและดำเนินการตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ หากผู้ใช้งานตกลงจะทำสัญญาดังกล่าว คือเมื่อผู้ใช้งานต้องการซื้อสินค้าหรือบริการที่ใช้ระบบสัญญาอัจฉริยะ เมื่อมีการตอบตกลงตามเงื่อนไขที่ผู้ขายกำหนดไว้ สคริปท์หรือโค้ดข้อความดังกล่าวจะถูกส่งไปจัดเก็บไว้ในบล๊อกซึ่งระบุที่อยู่ไว้เฉพาะ แล้วบล๊อกดังกล่าวจะถูกส่งเข้าระบบเทคโนโลยีบล๊อกเชนเพื่อกระจายไปยังโครงข่ายให้รับรองและจัดเก็บเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและปลอดภัย เมื่อมีการรับรองและจัดเก็บโดยระบบเทคโนโลยีบล๊อกเซนครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว สคริปท์ในบล๊อกดังกล่าวจะถูกส่งเพิ่มเข้าไปในระบบบล๊อกที่เชื่อมต่อกัน (chain) และเมื่อมีการดำเนินการเงื่อนไขตามสัญญาครบถ้วน เช่น มีการชำระเงิน ยืนยันตัวบุคคลผู้ทำสัญญา และกรอกข้อมูลครบถ้วน  หรือเกิดเหตุการณ์ตามที่ระบุไว้ในสัญญา การทำธุรกรรมจะถูกส่งไปยังบล๊อกเชนที่บรรจุสัญญาไว้และระบบจะทำงานตามสคริปท์หรือโค้ดข้อความ (หรือเงื่อนไขของสัญญา) โดยผู้ขายจะดำเนินการตามเงื่อนไขสัญญา คือ จัดส่งสินค้าหรือให้บริการ เป็นต้น ซึ่งมีคนเปรียบเทียบว่าคล้ายกับการซื้อของจากเครื่องขายของโดยอัตโนมัติ (vending machine) เพียงแต่ทำบนระบบเทคโนโลยีบล๊อกเชนที่มีความยุง่ยากและซับซ้อนกว่า กล่าวคือหากผู้ซื้อสินค้าหยอดเหรียญตามราคาสินค้า เครื่องก็จะจัดสินค้าให้ทันที

ทั้งนี้ ลักษณะเฉพาะของสัญญาอัจฉริยะประกอบด้วย
- รูปแบบของดิจิทัล (digital form) คือจะอยู่ในรูปของคอมพิวเตอร์ เช่น โค้ด ข้อมูล และโปรแกรมคอมพิวเตอร์
- การฝังรวม กล่าวคือเงื่อนไขของสัญญาหรือผลลัพธ์ที่ต้องดำเนินการจะถูกฝังรวมในโค้ดของคอมพิวเตอร์ในโปรแกรม
- การดำเนินการโดยวิธีการทางเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นการชำระเงินและการกระทำอื่นๆ ดำเนินการด้วยเทคโนโลยีและยึดตามเงื่อนไข
- ไม่สามารถเพิกถอนได้ เมื่อได้เริ่มแล้ว ผลลัพธ์ของสัญญาอัจฉริยะได้ถูกเข้ารหัสและกำหนดให้ระบบเทคโนโลยีทำงานโดยไม่สามารถระงับได้กลางคันหรือระกว่างดำเนินการตามกระบวนการ เว้นแต่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้

ทั้งนี้ สัญญาอัจฉริยะสามารถเป็นโค้ดเพื่อแสดงถึงประเภทของรูปแบบของการทำธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจที่เน้นการใช้งานข้อมูลและเทคโนโลยีดิจิทัล โดยสามารถใช้งานได้ตั้งแต่ธุรกรรมหรือการกระทำที่ง่าย เช่น การโพสท์ข้อความในฟอรั่ม ไปถึงกิจกรรมที่ซับซ้อน เช่น การทำสัญญากู้ยืมเงินและวางหลักทรัพย์ประกัน รวมทั้งสัญญาในอนาคตที่ซับซ้อนมากๆ ได้ด้วย ตัวอย่างของสัญญาอัจฉริยะที่ใช้ในธุรกิจการเงิน มีดังนี้
- สัญญากู้ยืมเงิน พร้อมสัญญาวางหลักประกันเินการกู้ หากผู้กู้ยืมเงินไม่ชำระค่างวดตามสัญญา สัญญาอัจฉริยะก็จะยกเลิกกุญแจดิจิทัลโดยอัตโนมัติที่อนุญาตให้ผู้กู้ยืมเงินเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ที่วางเป้นหลักประกันได้ เป็นต้น
- สัญญามรดกที่จะดำเนินการจัดแบ่งทรัพย์สินโดยอัตโนมัติตามสัญญามรดก เมื่อเจ้าของมรดกเสียชีวิต
- สัญญาวางเงินหรือทรัพย์สินไว้กับบุคคลที่สาม (escrow) โดยสัญยาอัจฉริยะจะสร้างบัญชีเอสโครว์ขึ้นเพื่อติดตามการแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายระหว่างคู่สัญญา กล่าวคือเมื่อมีการส่งมอบสินค้าครบถ้วนแล้ว ระบบจะโอนเงินให้ผู้ขายโดยอัตโนมัติ
- สัญญาควบคุมกระเป๋าสกุลเงินเข้ารหัส ซึ่งสามารถใช้ในการควบคุมหรือกำหนดเงื่อนไขในการชำระเงินด้วยสกุลเงินดิจิทัลแบบซับซ้อนได้
- ตลาดทุนและหลักทรัพย์ ซึ่งปัจจุบันนี้มีการทดลองใช้งานสัญญาอัจฉริยะในการออกพันธบัตรอัจฉริยะ (smart bond) และใช้ในการบริหารตลาดหลักทรัพย?เอกชน กล่าวคือสัญญาอัจฉริยะจะควบคุมติดตามการดำเนินการของทรัพย์สินดิจิทัลและไม่ใช่ดิจิทัลได้

ประเด็นท้าทายคือ ปัจจุบันในการดำเนินการตามสัญญาอัจฉริยะในทางปฏิบัตินั้นยังคงมีประเด็นทางกฎหมายอยู่หลายประการ ดังนี้
- ในทางปฏิบัติ สัญญาอัจฉริยะเป็นเพียงซอฟแวร์ที่ดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลที่ทำงานบนเทคโนโลยีบล๊อกเชน ซึ่งปัจจุบันการใช้งานยังไม่แพร่หลาย
- การยอมรับเป็นสัญญาตามกฎหมาย สัญญาอัจฉริยะยังมีประเด็นเชิงกฎหมายว่าเป็นสัญยาที่ผูกพันตามกฎหมายหรือไม่ เพราะระบบกฎหมายซีวิลลอว์และคอมมอนลอว์มีเงื่อนไขและองค์ประกอบของการเป็นสัญญาที่แตกต่างกัน และยังไม่มีความชัดเจนว่าศาลหรือฝ่ายบริหารจะยอมรับสัญยาอัจฉริยะเป็นสัยยาที่มีผลผูกพันตามกฎหมายหรือไม่
- ความยืดหยุ่น สัญญาอัจฉริยะใช้การสันนิษฐานว่าคู่สัญญาสามารถพิจารณาเจรจาเงื่อนไขสัญญาได้ก่อนทำนิติกรรม แต่ในทางปฏิบัติสัญญาอาจตกลงกันไม่ตรงตามความมุ่งหมายเพราะอาจมีสิ่งที่เกิดขึ้นหลังมีการทำสัญญาซึ่งคู่สัญญาอาจไม่คาดถึงมาก่อน สัญญาอัจฉริยะควรมีกลไกที่อนุญาตให้คู่สัญญาแก้ขสัญญาได้หากเห็นชอบร่วมกัน ซึ่งปัจจุบันนี้ยังขาดความยืดหยุ่นในเรื่องนี้
- การยอมรับสัญยาอัจฉริยะ กล่าวคือ แม้ปัจจุบันจากมีหลายธุรกรรมใช้สัญญาอัจฉริยะแล้วในเชิงพาณิชย์ แต่ในการพัฒนาระบบสัญญาอัจฉริยะยังมีอยู่ในวงจำกัด
- ความรับผิดตามกฎหมาย กล่าวคือสัญญาอัจฉริยะสร้างความท้าทายอย่างมากแก่ผู้กำกับดุแลเพราะยอมให้สร้างบริการแบบ peer to peer ขึ้นแบบอัตโนมัติและไม่รวมศูนย์กลางหรือผ่านคนกลาง เช่น บริการ Uber หรือ Airbnb ที่สามารถเชื่อมต่อผู้คนและบริหารเรื่องการชำระเงินได้โดยไม่มีคนกลาง หน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องอาจต้องปรับเปลี่ยนรุปแบบหรือแนวทางการกำกับดูแลในบางเรื่องไปเลย

โดยสรุป วัตถุประสงค์ของสัญญาอัจฉริยะคือต้องการให้บุคคลสามารถทำธุรกรรมกับบุคคลแปลกหน้าบนอินเทอร์เน็ตโดยไม่จำเป็นต้องมีตัวกลางที่เชื่อถือได้เป็นผู้รับรอง เทคโนโลยีบล๊อกเชนประกันว่าทุกคนจะได้เห็นสิ่งเดียวกันและเชื่อถือได้ สัญญาอัจฉริยะพัฒนามาจากระบบกฎหมาย แต่ยังคงไม่ชัดเจนในเรื่องการยอมรับในปัจจุบัน ซึ่งต้องติดตามในประเด็นนี้ต่อไป

วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

องค์ประกอบของกระบวนการที่เหมาะสมของกฎหมาย (due process of law)

กระบวนการที่เหมาะสมของกฎหมาย (due process of law) สามารถให้คำจำกัดความที่ง่ายว่าความเป็นธรรม (fairness) แนวคิดกระบวนการพิจารณาที่เหมาะสมตามกฎหมายมีต้นกำเนิดจากกฎหมายคอมมอนลอว์ของอังกฤษ โดยมีการบรรจุหลักการนี้ไว้ครั้งแรกในรัฐธรรมนูญฉบับแรกของอังกฤษหรือ Magna Carta ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1215 ที่กำหนดสิทธิของประชาชนชาวอังกฤษที่มีต่อกษัตริย์ว่าไม่มีบุคคลอิสระใดต้องถูกยึดหรือกักขัง เว้นแต่มีคำตัดสินที่ชอบด้วยกฎหมายจากเพื่อนประชาชนด้วยกันหรือโดยกฎหมายของแผ่นดิน (law of the land) ซึ่งคำว่ากฎหมายของแผ่นดินต่อมาได้พัฒนากลายเป็นหลักกระบวนการที่เหมาะสมของกฎหมาย

จากประวัติของสหรัฐอเมริกา รัฐธรรมนูญ กฎหมาย และคำพิพากษาของศาลได้กำหนดมาตรฐานของการปฏิบัติที่เป็นธรรมต่อประชาชนโดยหน่วยงานของรัฐบาลท้องถิ่นและรัฐบาลกลาง  สิทธิในกระบวนการที่เมหาะสมของกฎหมายได้รับการรับรองตามบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 14 ที่ประกันว่ารัฐบาลไม่สามารถดำเนินการต่อสิทธิพื้นฐานของบุคคลในชีวิต เสรีภาพ ทรัพย์สินโดยปราศกระบวนการที่เหมาะสมของกฎหมาย  สิทธิดังกล่าวได้รับการออกแบบเพื่อปกป้องประชาชนจากการกระทำที่ดำเนินการโดยรัฐบาลท้องถิ่นและรัฐบาลกลางในทุกระดับ และในบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 5 ก็ได้บรรจุหลักการกระบวนการที่เหมาะสมของกฎหมายไว้ด้วยเช่นกันซึ่งกำหนดว่ากฎหมายต้องมีความสมเหตุสมผล ต้องมีเหตุผล และไม่เป็นไปตามอำเภอใจ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือกระบวนการที่เหมาะสมของกฎหมายคือหลักการที่รัฐบาลต้องเคารพสิทธิทั้งหมดตามกฎหมายของประชาชนที่ได้รับตามกฎหมาย และปัจจุบันกลายเป็นสิทธิพื้นฐานในวิธีพิจารณาความคดีอาญาในสหรัฐอเมริกา

กระบวนการที่เหมาะสมของกฎหมายสามารถแบ่งได้เป็นสองประเภทคือ
1) กระบวนการที่เหมาะสมเชิงสาระบัญญัติ (substantive due process) กล่าวคือ รัฐบาลมีสิทธิที่จะฟ้องร้องหรือไม่
2) กระบวนการที่เหมาะสมเชิงวิธีพิจารณา (procedural due process) กล่าวคือกระบวนการพิจารณาเป็นธรรมหรือไม่

กระบวนการที่เหมาะสมในเชิงวิธีพิจารณาไม่ได้รับประกันว่าผลของการกระทำของรัฐบาลจะทำให้ประชาชนชอบใจหรือไม่ แต่กระบวนการที่เป็นธรรมจะช่วยป้องกันการตัดสินใจที่ไมม่สมเหตุสมผลและตามอำเภอใจ กระบวนการที่เหมาะสมของกฎหมายประกอบสองประการ คือ

(1) มีการแจ้งอย่างเพียงพอหรือไม่ ?
เงื่อนไขของกระบวนการที่เหมาะสมของกฎหมายมีความแตกต่างกันในแต่ละสถานการณ์ แต่อย่างน้อยที่สุด กระบวนการที่เหมาะสมหมายถึงประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการตัดสินใจของรัฐต้องได้รับการแจ้งล่วงหน้าว่าอะไรที่รัฐวางแผนจะทำและวิธีการที่รัฐจะดำเนินการที่อาจริดรอนสิทธิ เสรีภาพและทรัพย์สินของบุคคลนั้น ซึ่งการแจ้งเป็นกระบวนการที่บุคคลได้รับการแจ้งเกี่ยวกระบวนการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบของบุคคลนั้น การแจ้งที่เพียงพอคือการแจ้งที่ให้บุคคลแต่ละคนมีโอกาสในการโต้แย้งการกระทำของรัฐ

(2) บุคคลมีโอกาสได้รับฟังหรือไม่ ?
“โอกาสที่จะได้รับฟัง” หมายถึงการรับฟังที่มีโอกาสในการปรากฎตัวต่อหน้าศาล คณะกรรมการ และสภาเพื่อนำเสนอพยานหลักฐานและข้อโต้แย้งก่อนถูกลงโทษโดยรัฐ โอกาสที่จะไ้ดรับฟังมักหมายความรวมถึงสิทธิดังต่อไปนี้
• สิทธิที่จะได้รับการแจ้งที่เป็นธรรมในการรับฟัง
• สิทธิที่ได้รับความช่วยเหลือจากที่ปรึกษา
• สิทธิที่จะถามค้านพยาน
• คำตัดสินต้องเป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมแสดงพยานและเหตุผลประกอบ และโอกาสในการอุทธรณ์คำตัดสิน

ทั้งนี้ กระบวนการที่เหมาะสมของกฎหมายอาจถูกมองว่าเป็นสิ่งที่มีองค์ประกอบเฉพาะของกระบวนการที่กำหนดโดยกฎหมายและนโยบายต่างๆ  ตัวอย่างเช่น
• การแจ้งต่อผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลย อาทิ สิทธิที่จะรู้ข้อกล่าวหาหรือองค์ประกอบหลักของข้อกล่าวหา ในบางกรณีสิทธิที่จะรู้กฎและนโยบายที่เกี่ยวข้อง ในบางกรณีสิทธิที่จะรู้ว่าถูกใครกล่าวหา
• ระยะเวลาของกระบวนการและในแต่ละขั้นตอนจองกระบวนการ
• สิทธิในการนำเสนอพยานหลักฐานของตนเอง ในบางกรณีสิทธิจะสอบถามหลักฐานที่คู่ความตรงข้ามนำเสนอ ในบางกรณีสิทธิที่จะพบกับผู้กล่าวหา สิทธินการตอบข้อกังวลที่มีการหยิบยกขึ้นมา
• สิทธิในการมีที่ปรึกษาหรือมีผู้อยู่ร่วมด้วย
• การค้นหาข้อเท็จจริงที่เป็นธรรมและเป็นกลาง และกระบวนการรับฟังที่เป็นธรรมและเป็นกลาง
• สิทธิในการตัดสินใจที่ไม่ตามอำเภอใจและไม่สมเหตุสมผล
• การได้รับแจ้งคำตัดสิน ในบางกรณีมีสิทธิที่จะได้รับคำตัดสินเป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมเหตุผล
• ในบางกรณี มีสิทธิได้รับการพิจารณาอุทธรณ์
• เสรีภาพจากการแก้แค้น โดยเฉพาะหากมีการร้องเรียนตามหน้าที่และมีเจตนาบริสุทธิ์
• ในบางกรณี มีสิทธิที่จะได้รับการปฏิบัติเหมือนกันในกรณีคล้ายกัน
• ในบางกรณี มีสิทธิความเป็นส่วนตัวเท่าที่จะเป็นไปได้

ในบางครั้ง กระบวนการที่เหมาะสมของกฎหมายอาจถูกมองในฐานะว่าต้องเหมาะสมภายใต้สถานการณ์ด้วย โดยมีการให้ความหมายว่ากระบวนการที่บุคคลนั้นคิดว่าควรได้รับไม่ว่ากฎหมายจะกำหนดไว้อย่างไร หรือบุคคลนั้นคิดว่าเป็นธรรม มีการตีความหลักกระบวนการที่เหมาะสมของกฎหมายว่าเป็นข้อจำกัดของกฎหมายและกระบวนการพิจารณาเพื่อกำหนดให้ศาล (ไม่ใช่รัฐสภา) ในการกำหนดและประกันความเป็นธรรม ความยุติธรรมและเสรีภาพขั้นพื้นฐานตามแนวคิดกฎหมายยุติธรรมตามธรรมชาติ

วงจรนโยบายสาธารณะ

คำว่า "วงจรนโยบายสาธารณะ" หมายถึงรูปแบบที่เกิดซ้ำๆ ที่แสดงโดยขั้นตอนกระบวนการที่ในท้ายที่สุดนำไปสู่การสร้างนโยบายสาธารณะ ประโยชน์ของการวิเคราะห์ขั้นตอนกระบวนการดังกล่าวโดยการแบ่งออกเป็นขั้นตอนประกอบด้วย การกำหนดวาระ การก่อรูปนโยบาย และการนำไปสู่การปฏิบัติ จะช่วยอธิบายในรายละเอียดของกระบวนการตัดสินใจ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือวงจรนโยบายสาธารณะเป็นวิธีคิดเกี่ยวกับความเป็นจริงในแต่ละสาขาของกระบวนการนโยบายสาธารณะ

แนวคิดของวงจรนโยบายสาธารณะได้รับการพัฒนาโดยศาตราจารย์ Harold Lasswell สหรัฐอเมริกาในราวทศวรรษที่ 1950 ในช่วงเวลาดังกล่าวศาสตราจารย์ Lasswell ได้เรียกร้อวให้มีการปฏิรูปศาสตร์ว่าด้วยนโยบายสาธารณะ โดยให้ศึกษาแบบสหวิทยาการ การแก้ไขปัญหา และทฤษฎีบรรทัดฐาน ซึ่งด้วยคุณลักษณะพิเศษดังกล่าว ศาตราจารย์ Lasswell ได้พัฒนาแนวคิดเรื่องวงจรนโยบายสาธารณะขึ้นโดยแบ่งออกเป็นเจ็ดขั้นตอนหลักสำหรับการตัดสิน แม้ว่าคุณสมบัติหลักสามประการจะถูกระบุให้เป็นขั้นตอนการวิเคราะห์นโยบาย (policy analysis) ที่ได้รับการทดสอบและท้าทายระยหนึ่ง โมเดลวัฏจักรของนโนบายนี้ได้รับการวิจารณ์ค่อนข้างมากว่าเป็นแนวทางที่แตกย่อยเกินไปสำหรับการอธิบายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ปัจจุบันนี้ แนวคิดนี้ได้รับการยอมรับกันทั่วไปในวงการวิชาการว่าโมเดลวัฏจักรของนโยบายควรแบ่งเป็นห้าขั้นตอนหลักประกอบด้วย การกำหนดวาระ การก่อรูปนโยบาย การตัดสินใจนโยบาย การนำนโยบายไปปฏิบัติ และการประเมินนโยบาย

การกำหนดวาระ (Agenda-setting) เป็นขั้นตอนแรกในวงจรนโยบายสาธารณะโดยเป็นกระบวนการที่ตระหนักถึงเงื่อนไขทางสังคมและได้รับการพิจารณาว่าเป็นปัญหาเชิงสาธารณะซึ่งกลายเป็นประเด็นที่มีการโต้แย้งในสื่อสารมวลชนและการเมือง การกำหนดวาระจึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญในวงจรนโยบายเพราะพลวัตรของนโยบายสาธารณะมีผลกระทบต่อการตัดสินใจกระบวนการนโยบายทั้งหมดและนโยบายดังกล่าวเกิดจากประเด็นดังกล่าว ดังนั้น นักวิชาการจำนวนมากได้ให้ความสนใจปัจจัยที่สามารถอธิบายในเรื่องนี้ที่เกี่ยวกับการตัดสินใจนโยบายในขั้นตอนนี้ ผลการศึกษาวิจัยนำไปสู่บทสรุปว่าการกำหนดวาระเป็นกระบวนการที่ถูกก่อร่างเชิงสังคมซึ่งผู้เล่ยและสถาบันที่ได้รับอิทธิพลจากคตินิยมในสังคม บทบาทของสังคมในการมองปัญหาหรือประเด็นที่ต้องการให้รัฐบาลดำเนินการ

เมื่อปัญหาเชิงนโยบายสาธารณะถูกระบุได้แล้ว จึงมีความจำเป็นต้องมีแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งขั้นตอนต่อไปของวงจรนโยบายสาธารณะคือการก่อรูปนโยบาย ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการระบุและประเมินแนวทางแก้ไขปัญหาที่จะเป็นไปได้ การชั่งน้ำหนักข้อดีและข้อเสียของแนวทางแก้ไขปัญหา และการตัดสินใจแนวทางแก้ไข หากมีหลายทางเลือก ผู้มีอำนาจจัดทำนโยบายจะมีข้อจำกัดในการตัดสินใจสองประเภท กล่าวคือ ประเภทแรกข้อจำกัดด้านเนื้อหาสาระ (substantive contraints) ซึ่งเกี่ยวกับลักษณะของปัญหาแบะการใช้ทรัพยากรของรัฐในการแก้ไขปัญหา และประการที่สองคือข้อจำกัดด้านกระบวนการ (procedural constraints) ซึ่งมีผลกระทบต่อทุกแง่มุมของขั้นตอนการก่อรูปนโยบายโดยอาจแบ่งเป็นเชิงสถาบันที่เกิดจากกระบวนการขั้นตอนของรัฐบาล หรือเชิงยุทธวิธีที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างผู่เล่นที่หลากหลายหรือกลุ่มต่างๆ ในสังคม ทั้งนี้ ผู้เล่นและกลุ่มในสังคมเป็นองค์ประกอบของระบบย่อยและมีความสอดคล้องสัมพันธ์ระหว่างกันอันมีผลต่อการมีปฏิสัมพันธ์โดยสะท้อนค่านิยมและความเชื่อ และความผูกพันในสังคมที่มีอิทธิพลหลักต่อการก่อรูปนโยบาย ปฏิสัมพันธ์ที่แนบแน่นของชุมชนและเครือข่ายกลุ่มผลประโยชน์มีมากเท่าใดในระบบย่อยของสังคมก็อาจมีเสียงคัดค้านหรือแรงต่อต้านต่อนโยบายหรือความคิดใหม่หรือผู้เล่นรายใหม่ได้มากขึ้น ในทางกลับกัน หากระบบย่อยมีปฏิสัมพันธ์แนบแน่นน้อยเท่าใดก็จะทำให้แนวคิดใหม่และผู้เล่นรายใหม่สามารถนำเสนอนวัตกรรมใหม่ได้ดีกว่าตราบเท่าที่รัฐบาลยังประสงค์จะคงไว้ซึ่งโครงสร้างดังกล่าว ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลและผู้เล่นในสังคมจึงเป็นปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อการก่อรูปนโยบายสาธารณะ

สำหรับขั้นตอนที่สามคือการนำนโยบายไปปฏิบัติเป็นกระบวนการตัดสินใจดำเนินการตามแนวทางหรือข้อสั่งการของรัฐบาลซึ่งต้องเผชิญกับความเป็นจริง ซึ่งโดยทั่วไปมักเกิดความคลาดเคลื่อนระหว่างวัตถุประสงค์ของนโยบายและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอันอาจเกิดจากบทบาทของผู้เล่นแต่ละคน โดยเฉพาะข้าราชการที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการตามนโยบาย เนื่องจากข้าราชการแต่ละคนอาจมีคตินิม ผลประโยชน์ ค่านิยมที่แตกต่างกันสามารถมีอิทธิพลต่อมุมมองของข้าราชการในการดำเนินการตามนโยบายได้อย่างมาก แต่จากการศึกษาวิจัยส่วนใหญ่พบว่าปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อพฤติกรรมของข้าราชการคือความรู้สึกต่อองค์กร เพราะวัฒนธรรมองค์กรถือว่าเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของข้าราชการสูงเนื่องจากมีการส่งผ่านคตินิยม บรรทัดฐานทางวิชาชีพ และเทคนิคการกำหนดวาระอาจส่งผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติค่อนข้างสูง ผู้เล่นจากภายนอกอาจมีส่วนช่วยให่เกิดช่องว่างมากขึ้นสำหรับวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของรัฐบาลกับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้ กล่าวคือ กลุ่มผลประโยชน์ที่กดดันรัฐบาล นักล๊อบบี้ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีผลประโยชน์เป็นการเฉพาะอาจกดดันและสร้างอิทธิพลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติได้

แนวคิดวงจรนโยบายได้รับการยอมรับว่าเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการจัดการ ดังนี้
- ช่วยให้มองเห็นว่าการจัดทำนโยบายสาธารณะเป็นกระบวนการมากกว่าเป็นกลุ่มของสถาบัน
- ช่วยแบ่งแยกปรากฎการณ์ที่ซับซ้อนของนโยบายสาธารณะเป็นขั้นตอนที่บริหารจัดการได้ง่ายขึ้น
- ช่วยอธิบายการจัดทำนโยบายสาธารณะในแง่ของการพัฒนานโยบาย
- เป็นบรรทัดฐานในการเสนอแนะและปกป้องมุมมองที่ว่าผลเฉพาะที่เกิดขึ้นเป็นวิธีการที่เหมาะสมในการพิจารณางานเชิงนโยบาย กล่าวคือลำดับขั้นตอนของวงจรนโยบายอาจเกิดขึ้นจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างการเใือง นโยบายและการบริหารราชการและวงจรนโยบายกลายเป็นระบบหนึ่งทีช่วยกำหนดบทบาทและความรับผิดชอบของผู้เล่นและกระบวนการที่จำเป้นในการจัดทำนโยบาย

 ทั้งนี้ ปรากฎนักวิชาการหลายคนเห็นว่าโมเดลวงจรนโยบายสาธารณะได้อธิบายข้อเสียหรือจุดอ่อนหลักคืออาจสร้างความเข้าใจที่ผิด ในแต่ละขั้นตอนของวงจรนโยบายได้ที่เกิดขึ้นว่าสามารถพยากรณ์ล่วงหน้าได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เพราะโมเดลดังกล่าวไม่สามารถอธิบายสาเหตุที่ส่งผลต่อนโยบายในแต่ละขั้นตอน จึงต้องพิจารณาปัจจัยการเปลี่ยนแปลงนโยบายว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงโดยทั่วไปหรือเปลี่ยนแปลงพิเศษ กล่าวคือการเปลี่ยนแปลงนโยบายทั่วไปเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเปลี่ยนรูปแบบนโยบายและกระบวนทัศน์ที่มีอยู่ปัจจุบันโดยไม่ได้รูปแบบทั้งหมดหรือกรอบโครงสร้างของระบบนโยบาย ความต่อเนื่องดังกล่าวของนโยบายแม้จะเปลี่ยนแปลงไปยังคงรักษาปัจจัยเชิงคตินิยมและสถาบันไว้ซึ่งจะป้องกันระบบนโยบายจากการกดดันเพื่อเปลี่ยนแปลงใหญ่ การเปลี่ยนแปลงนโยบายโดยทั่วไปช่วยทำให้วงจรนโยบายมีเสถียรภาพ แต่ก็อาจระงับนวัตกรรมแลกระบวนทัศน์ใหม่ๆได้ ซึ่งเท่ากับอาจเป็นการส่งเสริมให้มีการผูกขาดเชิงนโยบายเพื่อรักษาสถานะภาพเดิมไว้ การผูกขาดด้านนโยบายอาจได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายหรือกลุ่มผลประโยชน์ของผู้เล่นเพียงบางกลุ่ม ในขณะเดียวกันก็อาจมีการกีดกันผู้เล่นที่ต้องการเปิดกว้างด้านนโยบายออกจากวงจรนโยบายได้ ดังนั้น มีนักวิชาการได้นำเสนอการเปลี่ยนแปลงนโยบายกรณีพิเศษที่ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงเชิงเนื้อหาสาระของนโยบายทั้งในเชิงกระบวนทัศน์และรูปแบบ แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงของนโยบายจะเกิดขึ้นทั่วไป แต่การเปลี่ยนแปลงพิเศษอาจเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวเมื่อสมาชิกในสังคมย่อยตระหนักว่ากระบวนทัศน์ที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อีกต่อไป ซึ่งแนวคิดนี้ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะทำให้เข้าใจผลที่เกิดขึ้นและการอธิบายในเชิงทฤษฎีดีขึ้น

วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ประเด็นกฎหมายกับวิทยาการด้านหุ่นยนต์

หุ่นยนต์เป็นเทคโนโลยีในอนาคตที่ใกล้ความเป้นจริงมากขึ้นเรื่อยๆ และกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันอาจไม่สอดคล้องและไม่สามารถจัดการกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากความห้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้ ทั้งนี้ มีการคิดกันแม้กระทั่งว่ามีความเป็นไปได้ในอนาคตที่จะกำหนดสิทธิและความรับผิดชอบแก่หุ่นยนต์  ณ จุดหนึ่ง ปัจจุบันเริ่ม การวิจารณ์ถกเถียงเกี่ยวกับกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่ออำนวยความสะดวกกับเทคโนโลยีใหม่นี้อาจมีความจำเป็น  การใช้แนวทางภววิทยาอาจจะไม่เหมาะสม มีการเสนอว่าการใช้มุมมองและแนวทางเรื่องหน้าที่การทำงานอาจมีความเมหาะกว่าในการใช้เพื่อวิเคราะห์ในเรื่องนี้ โดยควรต้องระบุคำถามว่า
(1) กฎอะไรที่สามารถใช้บังคับกับหุ่นยนต์
(2) แรงจูงใจอะไรที่ควรใช้กับกฎหมายดังกล่าว และ
(3) แรงจูงใจดังกล่าวเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาจริงหรือไม่

มติของรัฐสภายุโรปล่าสุดเป็นประเด็นเรื่อวทางการเมืองและมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ของยุโรปโดยมีหลายประเด็นที่ได้รับการพิจารณา ดังนี้

ประเด็นแรกในเรื่องนิยามความหมายของหุ่นยนต์ที่จะแบ่งแยกว่าอะไรควรถูกกำกับดูแลหรือไม่ควร เพราะคำว่าหุ่นยนต์เป็นคำทางเทคนิคและมีการใช้ประโยชน์ที่หลากหลายจึงมีลักษณะร่วมกันน้อย ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงมีความเป็นไปได้ยากที่จะพัฒนากฎที่มีความเป็นเอกภาพที่สามารถใช้งานได้กับทุกประเภทของหุ่นยนต์มากกว่ากฎที่แตกต่างกันที่ควรใช้กับประเภทของอุปกรณ์ที่แตกต่างกันในแต่ละประเภท แต่ก็กังวลว่าคำนิยามก็ไม่ควรแคบจนเกินไป จึงพยายามหาสมดุลอยู่ นอกจากนี้ ยังมีประเด็นย่อยที่สำคัญอีกว่าหุ่นยนต์ที่จะถูกกำกับดูแลควรจะต้องมีเงื่อนไขว่าสามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติหรือไม่ หรือต้องถุกควบคุมหรือไม่ หรือต้องมีปัญญาประดิษฐ์ถูกฝังอยู่หรือไม่ แม้ในมุมมองทางกฎหมายอาจดูแล้วไม่เกี่ยวข้อง แต่คุณลักษณะดังกล่าวควรอนุญาตให้แบ่งแยกประเภทย่อยของหุ่นยนต์เพื่อให้กำกับดูแลได้อย่างเป็นเอกภาพและเป็นระบบ

ประเด็นที่สองคือความรับผิดทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้นจากการกระทำของหุ่นยนต์ โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องระบบอัตโนมัติที่อาจขยายขอบเขตความรับผิดออกไป และในกรณีที่มีการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์กับหุ่นยนต์ก็อาจต้องมีกฎเกณฑ์ที่แตกต่างออกไปและหลักเกณฑ์บางส่วนอาจทับซ้ำกัน ซึ่งนำไปสู่ความไม่ชัดเจนและส่งผลให้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีเพิ่มขึ้นและความยุ่งยากในเรื่องการประกันภัยสินค้าใหม่ๆ ซึ่งในเรื่องนี้ ยังมีประเด็นเรื่องความรับผิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยด้วย (product liability) ที่ผู้ผลิตหรือให้บริการหุ่นยนต์อาจต้องรับผิดชอบ และการกำหนดข้อยกเว้นให้สอดคล้องกับเรื่องนี้ รวมทั้งมีการนำเสนอแนวทางใหม่ในเรื่องดังกล่าวกล่าวคือมีการเสนอให้จัดตั้งกองทุนเพื่อรับผิดชอบในการจ่ายค่าชดเชย กลไกการบังคับให้มีการประกันภัยในกรณีที่หุ่นยนต์เกิดให้เกิดความเสียหาย เนื่องจากกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะหลักความผิด (fault based rule) ไม่เพียงพอในการจัดการเรื่องดังกล่าว และไม่จูงใจให้มีการใช้งานหุ่นยนต์มาเป็นการบริหารความเสี่ยง (risk based rule) ในการพิจารณาความรับผิดของหุ่นยนต์

ประเด็นที่สามคือการทดสอบหุ่นยนต์ เพราะทปัจจุบันนี้ยังขาดกรอบกฎหมายที่ชัดเจนในการทดสอบหุ่นยนต์ในบรรยากาศที่ไม่ควบคุมหรือจำกัดนอกห้องทดลอง ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นสิ่งจำเป็นในการประเมินประเภทของอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งานและความถี่ทางสถิติเพื่อวัตถุประสงค์ในเรื่องการประกันภัย

ประเด็นที่สี่เรื่องมาตรฐานและการพัฒนามาตรฐานทางเทคนิคที่เป็นการเฉพาะและแคบสำหรับแต่ละประเภทของหุ่นยนต์ถือเป็นเรื่องที่กังวลเพื่อประกันความปลอดภัยของสินค้าและการยอมรับทางเลือกที่เป็นไปได้ในความรับผิดที่มีอยู่ในปัจจุบัน

ประเด็นที่ห้าคือคุณลักษณะของความเป็นบุคคล (personhood) ซึ่งมีแนวทาในการพิจารณาทั้งทางกฎหมาย ปรัชญา และทางเทคนิค ซึ่งต้องเข้าใจลักษณะการทำงานอย่างแท้จริงของคุณลักาณะของความเป็นบุคคลทางกฎหมาย เหมือนเช่นบริษัทที่ต้องมีการถกเถียงต่อไป ยังไม่ได้ข้อยุติในเวลาอันใกล้ รวมทั้งในการพิจารณาประเภทเฉพาะของการใช้งาน โดยเฉพาะอุปกรณ์หุ่นยนต์ที่มีสิ่งมีชีวิตอยู่ด้วย (biorobotic devices)

ประเด็นเรื่องการช่วยเหลือมนุษย์ (human enhancement) เนื่องจากมีความกังวลว่าการใช้งานหุ่นยนต์เพื่อเอกชนะข้อจำกัดของมนุษย์อาจกลายเป็นปัญหาหากขาดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน เพราะหุ่นยนต์หรือเครื่องจักรบางประเภทสามารถช่วยจัดการกับร่างกายของมนุษย์ได้ ซึ่งต้องคำนึงถึงหลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ความเท่าเทียม และเสรีภาพในการตัดสินใจด้วยตนเอง หลักจริยธรรมที่มีกำกับอยู่อาจไม่เพียงพอ จำเป้นต้องมีหลักเกณฑ์ทางกฎหมายจัดการในเรื่องนี้ด้วย  ซึ่งการกำกับดูแลและการบริหารจัดการกลายเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากและมีแนวโน้มที่ประเด็นในเรื่องนี้จะมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆตามพัฒนาการของเทคโนโลยี

ประเด็นสุดท้ายคือเรื่องสิทธิความเป็นส่วนตัว การเข้าถึงและการใช้ข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญอีกประการหนึ่ง ทั้งในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และดิจิทัล สหภาพยุโรปกำลังพิจารณาในเรื่องดังกล่าวอยู่

โดยสรุป มติของรัฐสภายุโรประบุถึงประเด็นต่างๆข้างต้นเพื่อจัดทำกรอบการกำกับดูแลทั้งทางด้านเทคนิคและกฎหมายเพื่อให้หลักเกณฑ์มีความสอดคล้องและกระชับเป็นหนึ่งเดียวอันเป็นที่ยอมรับในระดับยุโรป ซึ่งมีผลกระทบทางด้านการเมืองและทางยุทธศาสตร์ในการกำหนดระบบกฎหมายที่ทันสมัยสอดคล้องกับเทคโนโลยีและธุรกิจใหม่

กฎต้นแบบว่าด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครองของสหภาพยุโรป (ReNEUAL Model)

กฎต้นแบบได้รับการพัฒนาโดยกลุ่มนักวิชาการจากหลากหลายประเทศของสหภาพยุโรปภายใต้กรอบของเครือข่ายวิจัยว่าด้วยกฎหมายปกครองสหภาพยุโรป (Research Network on EU Administrative Law) หรือนิยมเรียกอย่างย่อว่า  "ReNEUAL" ที่รวมกลุ่มและจัดตั้งเป็นโครงการเพื่อจัดทำร่างประมวลเกี่ยวกับกฎว่าด้วยกระบวนวิธีพิจารณาทางปกครองสำหรับสหภาพยุโรปด้วยการศึกษาวิจัยกฎหมายเปรียบเทียบ โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากกลุ่มนักกฎหมายในสหรัฐอเมริการ่วมตัวกันยกร่างกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครองปี ค.ศ. 1946 และกลุ่มศาสตราจารย์ด้านกฎหมายและผู้พิพากษาด้านกฎหมายปกครองของอิตาลีในช่วงปี ค.ศ. 1985 และ 1990 เพื่อผลักดันให้รัฐสภาอิตาลีออกกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครอง

งานของ ReNEUAL ได้อิงแนวทางและหลักการพื้นฐานของกฎหมายปกครองที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันทั้งที่อยู่ในรูปของบทบัญญัติในสนธิสัญญา กฎหมายปกครองของประเทศสมาชิก และคำพิพากษาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีเป้าหมายในการจัดระเบียบกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันให้เป็นระบบและเสนอแก้ไขปรับปรุงช่องว่างหรือปัญหาที่มีอยู่ รวมทั้งมีข้อเสนอและนวัตกรรมทางกฎหมายปกครองในกรณีที่กฎ หลักกฎหมาย และแนวปฏิบัติในการคุ้มครองประชาชนและธุรกิจที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันยังไม่มีความชัดเจนหรือมีประเด็นถกเถียงกันไม่มีข้อยุติ

กฎหมายต้นแบบไนี้ด้รับการออกแบบให้สามารถใช้บังคับได้ในหลายรูปแบบของการกระทำทางปกครองของสถาบัน องค์กร และหน่วยงานของสหภาพยุโรป วิธีพิจารณาทางปกครองของประเทศสมาชิกในการปฏิบัติตามกฎหมายของสหภาพยุโรปอาจไม่กำกับภายใต้กฎเหล่านี้ เว้นแต่มีการกำหนดไว้เป็นการเฉพาะในกฎหมายของสหภาพยุโรปหรือประเทศสมาชิกนำไปใช้บังคับเอง ซึ่งในมาตรา 298 ของสนธิสัญญาว่าด้วยหน้าที่ของสหภาพยุโรปเป็นหลักกฎหมายพื้นฐานสำหรับการออกกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาทางปกครองของสหภาพยุโรปที่เริ่มด้วยสมาชิกรัฐสภาสหภาพยุโรปต้องจัดให้มีบทบัญญัติเพื่อให้การบริหารงานสหภาพยุโรปเปิดกว้าง มีประสิทธิภาพ และมีความเป็นอิสระ

อนึ่ง กฎต้นแบบนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับความโปร่งใสของการกระทำทางปกครองของหน่วยงานของสหภาพยุโรปด้วยการกำหนดกรอบการใช้อำนาจทางปกครองให้ชัดเจน สามารถใช้ได้กับทุกคนอย่างมีเอกภาพไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบริหารของสหภาพยุโรป ประชาชน และธุรกิจต่างๆ  ทั้งนี้ กฎต้นแบบยังจะสามารถช่วยเพิ่มความมีประสิทธิภาพของการกระทำทางปกครองของหน่วยงานสหภาพยุโรปด้วยการเสนอรูปแบบที่ฝ่ายปกครองสามารถจัดการกับปัญหาที่กฎที่ใช้บังคับไม่ได้มีความชัดเจนหรือไม่กำกับดูแลในบางกรณี

นอกจากนี้ กฎต้นแบบยังมีเป้าหมายเพื่อประกันคุณค่าพื้นฐานตามกฎหมายรัฐธรรมนูญที่มีผลมาจากกฎบัตรสิทธิพื้นฐาน (Charter of Fundamental Rights) และสนธิสัญญาสหภาพยุโรป เช่น หลักนิติรัฐ ประชาธิปไตย ความเท่าเทียม การเคารพสิทธิมนุษยชน ความโปร่งใสและการมีส่วนร่วม สิทธิของการบริหารงานปกครองที่ดี และสิทธิได้รับการเยียวยาที่มีประสิทธิผล จะไม่ใช่เป็นเพียงแนวทางแบบมโนทัศน์อีกต่อไป และจะได้รับการพิจารณาและเคารพในชีวิตประจำวัน

กฎต้นแบบ ReNEUAL ประกอบด้วย 6 เล่มเพื่อใช้เสริมสร้างหลักการพื้นฐานทั่วไปของกฎหมายสหภาพยุโรปและระบุแนวปฏิบัติที่ดีในนโยบายเฉพาะที่แตกต่างกันในสหภาพยุโรป ในหนังสือเล่มที่หนึ่งระบุขอบเขตทั่วไปของการบังคับใช้กฎต้นแบบ ความสัมพันธฺกับกฎเฉพาะสาขาและกฎหมายประเทศสมาชิก และนิยามความหมายของถ้อยคำที่ใช้ในหนังสือทุกเล่ม ในบทนำของหนังสือเล่มที่หนึ่งได้มีบทสรุปของหลักการในการตีความแนวปฏิบัติของหนังสือทุกเล่ม นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึงการปฏิบัติตามกฎหมายและนโยบายของสหภาพยุโรปที่ไม่ใช่การใช้อำนาจทางรัฐสภา เช่น การออกกฎ การออกคำสั่งทางปกครองหรือการวินิจฉัยทางปกครอง สัญยาทางปกครอง และการช่วยเหลือซึ่งกันและกันของหน่วยงานรัฐ และการบริหารจัดการสารสนเทศ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม กฎต้นแบบ ReNEUAL ไม่ได้ใช้คำจำกัดความเดียวกันในขอบเขตการบังคับใช้ในหนังสือทุกเล่ม กระบวนการในหนังสือเล่มที่สอง สาม และสี่ดำเนินการโดยสถาบัน เจ้าหน้าที่ และหน่วยงานของสหภาพยุโรป ส่วนกระบวนการตามหนังสือเล่มที่ห้าและหกกำหนดประเด็นที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้โดยไม่พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานของสหภาพยุโรป และระหว่างประเทศสมาชิก ดังนั้น ในหนังสือเล่มห้าและหกมีเป้าหมายให้ครอบคลุมถึงหน่วยงานของประเทสสมาชิกด้วยในการปฏิบัติตามกฎหมายหรือนโยบายของสหภาพยุโรป

ในหนังสือเล่มที่สองเกี่ยวกับการออกกฎทางปกครอง ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำทางปกครองที่มีความสำคัญของสถาบันในสหภาพยุโรป
 At any rate, Article 291(2) TFEU applies: “Where uniform conditions for implementing legally binding Union acts are needed, those acts shall confer implementing powers on the Commission, or,
in duly justified specific cases and in the cases provided for in Articles 24 and 26 of the Treaty on European Union, on the Council”. Furthermore, the institutional context, as framed by Articles 289, 290 and 291 TFEU calls for many specific rules. The drafting exercise has thus from the beginning been focused on rulemaking by EU institutions, bodies, offices and agencies.

สำหรับหนังสือเล่มที่สามกล่าวถึงการตัดสินใจทางปกครอง ซึ่งครอบคลุมการตัดสินใจหรือการวินิจฉัยทางปกครองเป็นรายกรณีที่ดำเนินการโดยหน่วยงานของประเทศสมาชิกเพื่อให้เป้นไปตามกฎหมายสหภาพยุโรป ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสอดคล้องในหลักการของวิธีพิจาณาทางปกครองและกฎทางปกครอง แต่อาจมีความยากในทางการเมืองและทางเทคนิคในการบังคับใช้ตามหนังสือเล่มสามในทุกแง่มมุของ composite procedure และการบริหารงานร่วม จึงได้จำกัดขอบเขตการบังคับใช้ของหนังสือเล่มนี้กับสถาบัน เจ้าหน้าที่และหน่วยงานของสหภkพบุโรปแม้จะเป็น composite procedure  กฎต้นแบบนี้ถูกออกแบบให้สอดคล้องกับกฎว่าด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาทางปกครองของประเทสสมาชิก หากประเทศสมาชิกเลือกที่จะใช้หลักการตามหนังสือเล่มนี้เป็นแบบในการปฏิรูปกฎหมายที่มีอยู่เดิมหรือยอมรับกฎใหม่ก็ได้

หนังสือเล่มที่สี่ว่าด้วยสัญญาทางปกครอง บทบัญญัติในสนธิสัญญาระหว่างประเทศไม่ได้ห้ามสถาบัน เจ้าหน้าที่และหน่วยงานของสหภาพยุโรปในการเลือกใช้สัญญาทางปกครองเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายของสหภาพยุโรป และก็อาจใช้กฎหมายสัญญาของประเทศตนเองแทนกฎหมายสัญญาสหภาพยุโรปก็ได้ ในหนังสือเล่มที่สี่นี้ได้จำกัดเฉพาะสัญญาของสถาบัน องค์กร เจ้าหน้าที่ และหน่วยงานของสหภาพยุโรป แต่ก็ไม่ได้ห้ามประเทศสมาชิกที่การยอมรับหลักการในเรื่องนี้ปรับใช้ในประเทศตนเอง

ในหนังสือเล่มที่ห้าเกี่ยวกับการช่วยเหลือระหว่างกันถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญนอกหนือจากเรื่องประเทศทางกฎหมายเพราะมีความจำเป็นในการพัฒนาหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการช่วยเหลือระหว่างกันระหว่างหน่วยงานของสหภาพยุโรปกับหน่วยงานของประเทศสมาชิกเพื่อก่อให้เกิดความสอดคล้องและรักษาระกับการพัฒนาไปพร้อมๆ กัน ในการปฏิบัติตามกฎหมายและนโยบายของสหภาพยุโรป ประเด็นสำคัญในหนังสือเล่มนี้คือสิทธิและผลประโยชน์ของบุคคลแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นข้อมูลส่วนบุคคลหรือความลับทางการค้าที่อาจได้รับผลกระทบจากกิจกรรมของหน่วยงานสหภาพยุโรปหรือประเทศสมาชิก จึงควรออกแบบโครงสร้างและความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทางปกครองที่ดีขึึ้น

ท้ายที่สุดคือการบริหารจัดการสารสนเทศที่บรรจุอยู่ในหนังสือเล่มที่หก ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นปัจจัยสำคัญและมีประเด้นปัญหาที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในการบริหารงานของสหภาพยุโรปและประเทสสมาชิก กรอบกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันใช้บังคับกับการแลกเปลี่ยนและการใช้สารสนเทศด้วยระบบสารสนเทศสหาภพยุโรปยังไม่เพียงพอ ขาดประสิทธิภาพ และอาจกล่าวได้ว่าไม่ปฏิบัติตามหลักการทั่วไปของกฎหมายรัฐธรรมนูญของสหภาพยุโรป ในหนังสือเล่มที่หกได้นำเสนอแนวทางใหม่หลายประการและลักษณะของความร่วมมือในบางสาขา

โดยสรุปคณะผุ้จัดทำกฎต้นแบบ ReNEUAL นี้มีวัตถุรปะสงค์เพื่อให้เกิดกฎวิธีพิจารณาทางปกครองที่ดีสำหรับการปฏิบัติตามกฎหมายและนโยบายสหภาพยุโรปที่ช่วยให้สอดคล้องกับหลักนิติรัฐและการบริหารบ้านเมืองที่ดี เพื่อประโยชน์ของบุคคลและระบบกฎหมายสหภาพยุโรปทั้งหมด

คดีการคุ้มครองผู้เปิดเผยข้อมูลการละเมิดกฎหมายในธุรกิจหลักทรัพย์

ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2018 ศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกาได้วินิจฉัยในคดี Digital Realty Trust, Inc. v. Somers ว่าการคุ้มครองมิให้มีการตอบโต้ (anti-retaliation protections) ตามกฎหมาย Dodd-Frank Wall Street Reform and Consumer Protection Act of 2010 (นิยมเรียกโดยย่อว่ากฎหมาย Dodd-Frank) ซึ่งใช้บังคับกับผู้ที่เปิดเผยการกระทำผิด (whistleblowers) ที่รายงานว่าสงสัยจะมีการฝ่าฝืนกฎหมายหลักทรัพย์ต่อคณะกรรมหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (Securities and Exchange Commission หรือ SEC) เท่านั้น ศาลปฏิเสธที่จะไม่ตีความขยายกฎหมาย Dodd-Frank ในการให้ความคุ้มครองผู้เปิดเผยข้อมูลการกระทำผิดในกรณีรายงานการฝ่าฝืนกฎหมายหลักทรัพย์ที่เกิดขึ้นภายในองค์กรและได้รับความเดือดร้อนจากการตอบโต้จากการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว แม้ว่าจะยังไม่ได้มีการรายงานไปยังคณะกรรมหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แน่นอนว่าคำวินิจฉัยดังกล่าวมีผลอย่างมีนัยสำคัญสำหรับลักษณะและจำนวนของการกระทำของผู้ที่เปิดเผยข้อมูลการกระทำผิดตามกฎหมายหลักทรัพย์

ในคดี Digital Realty ในชั้นศาลอุทธรณ์ นาย Somer ได้อ้างว่าตนเองควรได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย Dodd-Frank จากการที่ได้รายงานว่าสงสัยจะมีการฝ่าฝืนกฎหมายหลักทรัพย์โดยฝ่ายบริหารของบริษัท Digital Realty แม้ว่าเป็นการายงานภายในองค์กรและยังไม่มีการรายงานไปยังคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เลย ในขณะที่กฎหมาย Sarbanes-Oxley Act of 2002 (หรือกฎหมาย SOX) ได้ให้การคุ้มครองแก่ลูกจ้างหรือพนักงานจากากรตอบโต้ในกรณีที่มีการรายงานภายในองค์กรในบางเรื่องก็ตาม แต่กฎหมาย Dodd-Frank ให้ความคุ้มครองที่กว้างกว่ากับผู้ที่เปิดเผยข้อมูลการทุจริตดังกล่าว รวมทั้งสามารถยื่นฟ้องต่อศาลชั้นต้นของสหพันธ์รับได้ด้วยโดยไม่ต้องดำเนินกระบวนการทางปกครองก่อน มีอายุความที่ยาวนานกว่า และสามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้สูงถึงสองเท่าพร้อมดอกเบี้ย ในคดี Digital Realty จึงมีประเด็นว่าการคุ้มครองตามกฎหมาย Dodd-Frank กำหนดประเภทของบุคคลไว้แคบกว่าการคุ้มครองตามกฎหมาย SOX หรือไม่ อย่างไร

กฎหมาย Dodd-Frank ได้ให้คำจำกัดความ "ผู้เปิดเผยข้อมูล" (whistleblower) ว่าหมายถึงบุคคลใดที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการฝ่าฝืนกฎหมายหลักทรัพย์ต่อคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แต่ในบทบัญญัติของกฎหมาย Dodd-Frank ห้ามนายจ้างในการเลือกปฏิบัติต่อผู้เปิดเผยข้อมูลที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย SOX เพราะกฎหมาย SOX ได้ให้ความคุ้มครองการรายงานภายในองค์กรด้วย นาย Somer จึงอ้างว่าบทบัญญัติตามกฎหมาย Dodd-Frank ได้ครอบคลุมผู้ที่เปิดเผยข้อมูลภายในองค์กรด้วย

ศาลสูงสุดได้วินิจฉัยด้วยมติเอกฉันท์ว่านิยามคำว่า "ผู้เปิดเผยข้อมูล" มีความชัดเจนโดยยืนยันหลักการว่าหากกฎหมายมีคำจำกัดความที่ชัดเจน ศาลต้องตีความตามคำจำกัดความนั้น เพราะมิฉะนั้นผลของคำตัดสินอาจไม่สอดคล้องกับเจตนารมย์ของรัฐสภาในการผ่านกฎหมาย ศาลได้เน้นย้ำหลายครั้งในคำวินิจฉัยว่าวัตถุประสงค์ของบทบัญยัติคุ้มครองผู้เปิดเผยข้อมูลคือการสร้างแรงจูงใจให้บุคคลที่รู้ข้อมูลว่ามีการฝ่าฝืนกฎหมายหลักทรัพย์ให้รายงานต่อคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งมีการระบุไว้ในรายงานการประชุมยกร่างกฎหมายในชั้นวุฒิสภาอย่างชัดเจน ดังนั้น ศาลสูงสุดจึงได้ปฏิเสธข้อโต้แย้งของนาย Somer ว่าการรายงานจองคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้อยู่ในคำจำกัดความ "ผู้เปิดเผยข้อมูล" อาจนำไปสูงผลที่ไม่สอดคล้องกับเจตนารมย์ของรัฐสภาที่ผ่านกฎหมายดังกล่าว

ตัวอย่างที่ศาลให้เหตุผลว่ากฎหมาย Dodd-Frank ให้ความคุ้มครองแก่ผู้เปิดเผยข้อมูลโดยอ้างอิงกฎหมาย SOX นั้นอาจยังคงมีความหมายตามคำนิยามที่แคบอยู่ดีเพราะการให้ความคุ้มครองแก่บุคคลที่รายงานเปิดเผยข้อมูลทั้งภายในองค์กรและต่อคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งกฎหมายให้ความคุ้มครองรวมถึงกรณีที่อาจมีการตอบโต่หรือกลั่นแกล้งในระดับองค์กรเกิดขึ้นจากการรายงานภายในองค์กรก็ได้ ศาลให้ข้อสังเกตว่ากรณีดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้เป็นเรื่องปกติเพราะจากข้อมูลของคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่นำเสนอต่อศาลแสดงว่าประมาณร้อยละ 80 ของบุคคลที่เปิดเผยข้อมูลต่อคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในปี 2016 นั้นเป็นเรื่องการรายงานภายในองค์กรแล้วก่อนที่จะรายงานต่อคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการตีความขอบเขตของคำจำกัดความที่แคบในคดี Digital Realty นั้นยังคงไม่ชัดเจน ฝ่ายที่สนับสนุนคำวินิจดังกล่าว เช่น หอการค้าสหรัฐอเมริกา (U.S. Chamber of Commerce) ได้มีแถลงการณ์สนับสนุนให้ศาลตีความอย่างแคบเนื่องจากการตีความขยายให้ครอบคุลมผู้เปิดเผยข้อมูลภายในองค์กรอาจทำให้จำนวนของการฟ้องร้องคดีเพิ่มสูงขึ้นและมีคำถามเกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบภายในและการพิจารณาของฝ่ายบริหารก่อน ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ที่กฎหมาย SOX วางหลักการไว้ แต่ก็มีเสียงวิจารณ์ว่าผลของคำพิพากษานี้ทำให้ผู้เปิดเผยข้อมูลมีแนวโน้มจะรายงานตรงต่อคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แทนที่จะรายงานภายในองค์กรเพื่อให้มีการแก้ไขปัญหาภายในอง๕ืกรก่อน อันจะนำไปสู่การดำเนินคดีทางปกครองและต้นทุนแก่บริษัทเพิ่มมากขึ้น

ในคดี Digital Realty ศาลสูงสุดตีความในประเด้นคำจำกัดความโดยพิจารณาจากประวัติการยกร่างกฎหมายและถ้อยคำตามกฎหมายประกอบกัน แต่ผู้พิพากษาสามท่านไม่เห็นด้วยที่ใช้รายงานการยกร่างกฎหมายในชั้นวุฒิสภามาพิจารณาประกอบ แม้จะเป็นเอกสารอธิบายเจตนารมย์ในชั้นยกร่างกฎหมายในรัฐสภาก็ตาม ก็ไม่ควรนำมาพิจารณา และเห็นว่าควรตีความตามตัวอักษรที่ปรากฎเท่านั้น แต่ผู้พิพากษาอีกสองท่านกลับเห็นว่ากรณีนี้มีความเหมาะสมที่จะนำประวัติการยกร่างกฎหมายมาช่วยในการตีความและช่วยให้ศาลเข้าใจถ้อยคำในกฎหมาย จึงเป็นประเด็นที่สำคัญในวงการนิติศาสตร์เกี่ยวกับวิธีการตีความกฎหมายด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ความผิดฐานใช้รหัสผ่านระบบคอมพิวเตอร์ของนายจ้างเก่า

กฎหมายหลอกลวงและการใช้คอมพิวเตอร์โดยมิชอบ (Computer Fraud and Abuse Act หรือ CFAA) กำหนดฐานความผิดทางอาญาไว้จำนวนหนึ่งเพิ่มเติมจากกฎหมายอาญาทั่วไปของสหพันธรัฐ ในหมวดหนึ่งของกฎหมายฉบับนี้บัญญัติให้การกระทำเข้าฐานข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต (without authorization) หรือเกินขอบเขตที่ได้รับอนุญาต (in excess of authorization) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหลอกลวงให้ถือว่าเป็นความผิดทางอาญา

ศาลอุทธรณ์ระดับสหพันธรัฐในภาค 9 ในคดี United States v. Nosal ได้วินิจฉัยว่าคำว่าโดยไม่ได้รับอนุญาตหมายความรวมถึงการแบ่งปันหรือให้บุคคลอื่นใช้รหัสในบางกรณีเข้าข่ายการกระทำตามความผิดนี้หรือไม่ ผู้พิพากษาเสียงข้างน้อยมีความเห็นแย้งว่าควรตีความยกเว้นในกรณีที่การให้ผู้อื่นใช้รหัสผ่านโดยมีวัตถุประสงค์ที่ดีและไม่มีเจตนาหลอกลวง (benign) ในคดีนี้นายนอซอลได้ลาออกจากงานจากบริษัทเดิมและเข้าทำงานกับบริษัทคู่แข่ง ต่อมานายนอซอลได้จ้างพนักงานจากบริษัทเดิมสองเข้ามาร่วมทีมงานด้วยคือนายคริสเตียนและจาคอบสัน แต่ไม่ได้จ้างนายเฟรอร์ริช ซึ่งก่อนที่นายคริสเตียนและจาคอบสันทั้งสองคนเข้ามาร่วมทำงานกับนายนอซอลได้ดาว์โหลดข้อมูลที่เป็นความลับจากบริษัทเดิมและแม้หลังจากที่ได้ลาออกจากบริษัทเดิมแล้ว ทั้งสองคนยังคงดาวโหลดข้อมูลต่อโดยใช้รหัสผ่านของนายเฟรอร์ริช นายนอซอลจึงถูกดำเนินคดีในข้อหาร่วมกระทำความผิดตามกฎหมาย CFAA กฎหมายความลับทางการค้า และการหลอกลวงทางเมล์ ศาลชั้นต้นได้ยกฟ้องข้อหาตามบทบัญญัติกฎหมาย CFAA ในกรณีกระทำการโดยเกินขอบเขตที่ได้รับอนุญาต และต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 9 ได้พิพากษายืนในประเด็นนี้โดยให้เหตุผลว่าการเข้าถึงโดยเกินขอบเขตการได้รับอนุญาตไม่ได้ขยายครอบคลุมถึงการเข้าถึงโดยได้รับอนุญาตเพื่อวัตถุประสงค์ที่ไม่ได้รับอนุญาต (unauthorized purpose)

แต่นายนอซอลยังคงถูกตั้งข้อหาการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต เช่น การช่วงเหลืออำนวยความสะดวกแก่พนักงานที่จ้างร่วมทีมงานในการเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาตเพื่อวัตถุประสงค์หลอกลวง คณะลูกขุนได้ตัดสินให้นายนอซอลมีความผิดฐานเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาตและความลับทางการค้า ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้นายนอซอลจำคุก 1 ปี 1 วัน และถูกโทษปรับและต้องจ่ายค่าชดเชยเพื่อเป็นการเยียวความเสียหาย นายนอซอลได้อุทธรณ์คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่านายคริสเตียนและนายจาคอบสันในฐานะเป็นพนักงานเก่าได้เข้าถึงฐานข้อมูลที่เป็นความลับของบริษัทเก่าที่เป็นนายจ้างโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ว่าจะใช้รหัสผ่านที่ได้รับอนุญาตของนายเฟรอร์ริชก็ตาม กล่าวคือแม้ว่ารหัสผ่านของทั้งสองจะหมดอายุแล้วหรือถูกเพิกถอน แต่ผลลัพธ์ก็ยังคงเหมือนเดิมคือการเข้าถึงข้อมูลของบุคคลทั้งสองถือว่าไม่ได้รับการอนุญาตด้วยเจตนาหลอกลวง ดังนั้น จึงมีความผิดตามกฎหมาย CFAA และถือว่านายนอซอลมีความผิดเช่นเดียวกันในฐานผู้สมรู้ร่วมคิดและผู้สนับสนุนเนื่องจากเป็นผู้ว่าจ้างบุคคลทั้งสองเข้าร่วมงาน

แต่ความเห็นแย้งของผู้พิพากษาเสียงข้างน้อยให้เหตุผลว่าเจตนารมย์ของกฎหมาย CFAA คือการลงโทษหรือจัดการกับบรรดาแฮกเกอร์ไม่ใช่ใช้บังคับและลงโทษทางอาญากับพนักงานที่ไม่สุจริตหรือซื่อสัตย์ หรือผู้ฝ่าฝืนด้วยกรณีเล็กน้อย ควรต้อวตีความในทำนองเดียวกับประเด็นเกินขอบเขตการได้รับอนุญาตในกรณีพนักงานลูกจ้างที่ไม่ซื่อสัตย์ไม่ควรต้องได้รับการลงโทษทางอาญากับพฤติกรรมดังกล่าว และกรณีนี้ไม่ใช่ประเด็นว่ามีการแชร์ใช้รหัสอย่างสมัครใจกับอดีตลูกจ้างและประเด็นว่ารหัสผ่านของอดีตลูกจ้างถูกระงับหรือหมดอายุแล้ว มิฉะนั้น การลงโทษทางอาญากับกรณีนี้อาจมีผลในอนาคตอย่างกว้างขวางและใช้บังคับกับบุคคลทั่วไปในกิจกรรมการใช้ชีวิตประจำวันอันจะนำไปสู่การดำเนินคดีอาญาที่เลือกปฏิบัติและตามอำเภอใจได้

นอกจากนี้ ประเด็นที่น่าสนใจในคำพิพากษาในคดีนี้คือการกำหนดให้จำเลยชำระค่าชดเชยเพื่อเยียวยาโดยการชำระค่าทนายความและค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการสวบสวนภายในองค์กรและการดำเนินคดี ซึ่งรัฐบาลได้ร้องขอให้จำเลยต้องรับผิดชอบในจำนวนเงิน $964,929.65 แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ชำระเหลือเพียง  $600,000 ในชั้นศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นพิจารณาทบทวนในประเด็นนี้ใหม่ โดยได้วางหลักการชำระค่าชดเชยกรณีค่าทนายความไว้ด้วยว่าประการแรกค่าชดเชยต้องเป็นรายจ่ายโดยตรงและคาดหมายได้ที่เกิดจากพฤติกรรมของจำเลย ประการที่สองค่าชดเชยดังกล่าวสมเหตุสมผลโดยพิจารณาจากความจำเป็นตามกฎหมายและต้องไม่ซ้ำซ้อนโดยคำนึงถึงเวลาและภาระงานที่ดำเนินการ ประการที่สาม ค่าชดเชยต้องสามารถเรียกคืนได้หากเกิดขึ้นระหว่างการเข้าร่วมในการสอบสวนหรือดำเินนคดี  ทั้งนี้การดำเนินงานของทนายความของบริษัทไม่สามารถทดแทนการดำเนินงานอัยการได้หรือถือว่าทำงานภายใต้อัยการ แต่เป็นการเข้าร่วมทำงานด้วยกัน

ทั้งนี้ เป็นที่เข้าใจว่าการมีส่วนร่วมไม่ถือว่าแยกออกจากการสอบสวนภายในองค์กร อย่างน้อยไม่ได้ถูกกำหนดหรือร้องขอโดยเจ้าหน้าที่สอบสวนหรืออัยการ ผลที่เกิดขึ้นคือว่าศาลอุทธรณืภาค 9 ได้เห็นชอบในการกำหนดให้มีการจ่ายค่าชดเชยเพื่อเยียวยาผู้เสียหายที่เป็นองค์กร เช่น ค่าทนายความ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการสวบสวนภายในองค์กรแม้ว่าจะไม่มีการร้องขอจากหน่วยงานภาครัฐ ผู้พิพากษาหนึ่งท่านในองค์คณะได้เห็นแย้งในเรื่องดังกล่าวไม่ได้โต้แย้งในประเด็นนี้ แต่เห็นแย้งในเรื่องขอบเขตการตีความของเสียงข้างมากโดยให้เหตุผลว่าผลลัพธ์จากการตีความในคดีนี้ได้ให้อำนาจอย่างไม่สมเหตุสมผลแก่องค์กรขนาดใหญ่เหนือคู่แข่งขัน ลูกจ้าง และประชาชนทั่วไป

กฎหมายว่าด้วยการรับรองข้อมูลในต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา

เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายของสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นมักจะพยายามเข้าถึงการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ เช่น อีเมลและการโพต์บนโปรแกรมโซเซียลมีเดีย เซิร์ฟเวอร์ที่จัดเก็บข้อมูลและศูนย์ข้อมูลในต่างประเทศ เพราะโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมของอินเทอร์เน็ตยอมให้บริษัทเทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลในระยะไกลได้จากสถานที่ตั้งทางกายภาพของลูกค้าหรือผู้ใช้ยริการ ระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ยังสามารถใช้เป็นหลักฐานในคดีอาญาที่ไม่ได้จัดเก็บไว้ในประเทศหรือสถานที่คดีอาญาเกิดขึ้น

การขาดการเชื่อมต่อกันเป็นสาเหตุให้รัฐบาลของสหรัฐอเมริกาและรัฐบาลของประเทศอื่นต้องพยายามหาหนทางเข้าถึงข้อมูลที่จัดเก็บไว้นอกอาณาจักร ตามกฎหมายแนวทางการใช้ข้อมูลต่างประเทศที่ชอบด้วยกฎหมาย (Clarifying Lawful Oversea Use of Data หรือ CLOUD) ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีความสำคัญในการอนุญาตให้เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายเข้าถึงข้อมูลสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ที่บริหารจัดการโดยบริษัทเอกชน กล่าวคือเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายสหรัฐอเมริกาสามารถบังคับบริษัทเทคโนโลยีให้เปิดเผยเนื้อหาที่ขัดเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์และศูนย์ข้อมูลในต่างประเทศได้ กฎหมายการสื่อสารที่ขัดเก็บ (Stored Comminications Act หรือ SCA) ที่ปรับปรุงแก้ไขหมวดสองของกฎหมายสิทธิความเป้นส่วนตัวสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Communications Privacy Act of 1986) โดยกำหนดว่าบริษัทเทคโนโลยีต้องเปิดเผยเนื้อหาในระบบอิเล็กทรอนิกส์ตามหมายศาลในกรณีใช้เป็นหลักฐานในการพิสูจน์การก่ออาชญากรรม

แต่กรณีพิพาทที่เกิดขึ้นว่าหมายศาลที่ออกตามกฎหมายนี้สามารถบังคับบริษัทสหรัฐอเมริกาในการเปิดเผยเนื้อหาในระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดเก็บไว้อกประเทศได้หรือไม่ เมื่อบริษัทไมโครซอฟท์ได้ปฏิเสธในการเปิดเผยเนื้อหาในระบบอีเมลของเว็บไซต์ MSN.com ที่จัดเก็บไว้ในศูนย์ข้อมูลในประเทศไอร์แบนด์ ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2018 ศาลสูงสุดได้วินิจฉัยไว้ในคดี United States v. Microsoft Corp. ว่ากฎหมาย CLOUD ได้ปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย SCA ที่กำหนดให้บริษัทเทคโนโลยีต้องจัดหาข้อมูลที่อยู่ในความครอบครอง ดูแลรักษา หรือควบคุมของตนตามหมายศาลไม่ว่าข้อมูลดังกล่าวจะจัดเก็บไว้สหรัฐอเมริกาหรือไม่

สาระสำคัญของกฎหมาย CLOUD
ประการแรกกฎหมาย CLOUD ระบุถึงความขัดแย้งที่เป็นไปได้และอาจเกิดขึ้นจากการที่รัฐสหรัฐอเมริกาต้องการข้อมูลที่จัดเก็ยในประเทศอื่นและกฎหมายในประเทศดังกล่าวห้ามมิให้มีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว กฎหมาย CLOUD พยายามแก้ไขประเด็นปัญหาหรือข้อติดขัดดังกล่าวด้วยหลักมิตรไมตรีระหว่างประเทศ (Principle of Comity) และเคารพอธิปไตยของประเทศ กล่าวคือหลักมิตรไมตรีระหว่างประเทศได้อนุญาตให้ศาลมีอำนาจยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายได้ในบางกรณี หากมีการร้องขอเพื่อให้บังคับให้เป็นไปตามกฎหมายของประเทศอื่น

ที่ผ่านมาก่อนมีกฎหมาย CLOUD หากมีความต้องการข้อมูลข้ามประเทศตามกฎหมาย SCA อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งหรือผิดกฎหมายในบางประเทศที่สหรัฐอเมริกามีข้อตกลงแบ่งปันข้อมูลระหว่างกัน กฎหมาย CLOUD ได้บัญญัติการวิเคราะห์ตามหลักมิตรไมตรีระหว่างประเทศตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายเพื่อระบุความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น การวิเคราะห์ดังกล่าวกำหนดให้ศาลสหรัฐอเมริกาพิจารณาปัจจัยที่ระบุไว้ตามกฎหมายหลายประการ สำหรับประเทศที่ไม่ได้ทำข้อตกลงแบ่งปันข้อมูลกับสหรับอเมริกา กฎหมายระบุไม่ให้ใช้เกณฑ์การวิเคราะห์ดังกล่าว โดยให้ใช้หลักกฎหมายคอมมอนลอว์ทั่วไปว่าด้วยหลักมิตรไมตรีระหว่างประเทศในการพิจารณา

รูปแบบใหม่ของสัญญาแบ่งปันข้อมูลระหว่างประเทศ (International Data Sharing Agreement) กล่าวคือกฎหมาย CLOUD ระบุประเด็นต่างตอบแทนของความสามารถของรัฐบาลต่างประเทศในการเข้าถึงข้อมูลในสหรัฐอเมริกาในฐานะเป้นส่วนหนึ่งของการสอบสวนและฟ้องร้องในคดีอาญา เนื่องจากก่อนที่กฎหมาย CLOUD จะมีผลใช้บังคับ รัฐบาลของประเทศต่างๆ ที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลในสหรัฐอมเริกาต้องมีคำร้องขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาโดยผ่านสนธิสัญญาความช่วนเหลือทางกฎหมายซึ่งกันและกัน (mutual legal assistance treaties หรือเรียกว่า MLATs) หรือกระบวนการทางศาลที่เรียกว่า letters rogatory คำร้องขอดังกล่าวต้องได้รับการพิจารณาจากศาลสหรัฐอเมริกาก่อนที่จะมีการอนุยาตให้เปิดเผยข้อมูลต่อรัฐบาลของต่างประเทศ ซึ่งเจ้าหน้าที่ของสหรัฐอเมริกาและต่างประเทศได้วิจารณ์ว่าขั้นตอนและกระบวนการดังกล่าวไม่มีประสิทธิภาพและไม่สามารถตอบสนองจำนวนคำร้องขอที่เพิ่มขึ้นอย่างมากจากความห้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัลและอินเทอร์เน็ต

ด้วยเหตุผลดังกล่าว กฎหมาย CLOUD จึงได้พยายามปรับปรุงระบบการอนุญาตของฝ่ายบริหารในการจัดทำข้อตกลงแบ่งปันข้อมูลระหว่างประเทศโดยการเลือกประเทศที่สามารถขอข้อมูลจากบริษัทเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกาได้โดยตรง โดยไม่ต้องให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาพิจารณาก่อน สัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวต้องได้รับการอนุญาตตามกฎหมาย CLOUD เพื่อขจัดหรือลดข้อจำกัดตามกฎหมายของประเทศอื่นในการขอข้อมูลได้โดยตรงจากบริษัทเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกาในกรณีคดีอาญาที่สำคัญ หากข้อมูลที่ร้องขอไม่ได้มีคนสหรัฐอเมริกาเป็นเป้าหมายและตราบใดที่ฝ่ายบริหารพิจารณาว่ากฎหมายของประเทศนั้นได้ให้ความคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลและเสรีภาพแ่พลเมืองอย่างเพียงพอ

ก่อนการทำสัญญาแบ่งปันข้อมูลตามกฎหมาย CLOUD นั้น อัยการสูงสุดพร้อมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (Secretary of State) ต้องจัดทำหนังสือรับรองจำนวน 4 ฉบับเสนอต่อรัฐสภาดังนี้ 1) กฎหมายภายในของประเทศที่จะเข้าทำสัญญาด้วยมีการคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัวและเสรีภาพของพลเมืองทั้งด้านกระบวนการพิจารณาและสารบัญญัติที่เข้มแข็งในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล โดยพิจารณาจาก 7 ปัจจัยตามที่กฎหมายกำหนด 2) รัฐสามารถยอมรับกระบวนการที่เหมาะสมเพื่อลดการได้มา การเก้บรักษา และการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลของสหรัฐอเมริกา 3. สัญญาฝ่ายบริหารจะไม่สร้างพันธกรณีให้ผู้ให้บริการมีสิทธิถอดรหัสข้อมูลได้ และ 4. สัญยาฝ่ายบริหารจะต้องระบุว่าคำสั่งที่ออกตามเงื่อนไขจะต้องอยู่ภายใต้ข้อกำหนดด้านกระบวนการและสารบัญญัติเพิ่มเติม

กฎหมาย CLOUD ได้รับการวิจารณ์ว่าการอนุญาตตามกฎหมาย CLOUD ในการแบ่งปันข้อมูลข้ามประเทศนั้นเป็นการเยียวหรือแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องการเข้าถึงพยานหลักฐานที่จัดเก็บในต่างประเทศสำหรับคดีอาญา ซึ่งข้อมูลดังกล่าวนั้นจัดเก็บโดยบริษัทสหรัฐอเมริกา และแนวทางในการได้มาซึ่งข้อมูลดังกล่าวในอดีตนั้นเป็นภาระมาก ขาดประสิทธิภาพ และใช้ระยะเวลานาน บ่อยครั้งเมื่อได้ข้อมูลมาก็พบว่าข้อมูลดังกล่าวล้าสมัย 

บริษัทยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกา อาทิ บริษัท Apple, Facebook, Google, Microsoft และ Oath ได้ออกแถลงการณ์สนับสนุนการออกกฎหมายและเชื่อว่าจะช่วยลดความเสี่ยงในประเด็นการขัดกันของกฎหมาย นักวิชาการได้วิจารณ์ว่่ากฎหมาย CLOUD สร้างความเสี่ยงต่อเสรีภาพของประชาชนและสิทธิมนุษยชน เพระาเป็นการลดมาตรฐานการได้มาซึ่งพยานหลักฐานในการดำเนินคดีและสืบสวนสอบสวนคดีอาญาระหว่างประเทศ ทั้งนี้ การตัดสินใจของฝ่ายบริหารที่่จะรับรองประเทศที่ได้มาตรฐานตามกฎหมาย CLOUD ควรต้องอยู่ภายใต้การตรวจสอบของศาลด้วย และการกระบวนการรับรองเป็นประเด้นปัญหาเพราะในทางปฏิบัติแล้วรัฐบาลของต่างประเทศอาจไม่ปฏิบัติตามกฎหมายภายในของตนเองและอาจเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อระยะเวลาผ่านไป

นอกจากนี้ ยังมีประเด็นสหคัญอีกประการหนึ่งคือ ในบทบัญญัติกฎหมาย CLOUD ได้บัญญัติว่าให้รัฐสภาสหรัฐอเมริกามีหน้าที่พิจารณาทบทวนภายในระยะเวลา 180 วันก่อนสัญญาแบ่งปันข้อมูลจะมีผลใช้บังคับ กฎหมายนี้ยังกำหนดกระบวนการพิาณณาอนุญาตของรัฐสภาในการลงมจิร่วมไม่เห็นชอบสัญญาของฝ่ายบริหารในกระบวนการพิจารณาแบบด่วน รัฐสหาสามารถห้ามหรือระงับผลการบังคับใช้สัญญาด้วยการมีมติร่วมในการไม่เห็นชอบภายในระยะเวลา 180 วันดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อเป้นการรักษาดุลอำนาจระหว่างฝ่ายบริการและรัฐสภา

ประเด็นคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลมีผลทั่วโลก

ในวันที่ 25 เมษายน 2018 ศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาได้เปิดรับฟังคำแถลงด้วยวาจาในคดี Trump v. Hawaii  หรือเรียกกันว่าคดีห้ามเดินทาง (travel ban) หรือเข้าประเทศของผู้อพยพ ในคดีดังกล่าวมีประเด็นสำคัญหลายประเด็น มีแต่ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจที่มีผู้ให้ความสนใจน้อยกว่าประเด็นหลักเกี่ยวกับการเข้าประเทศคือประเด็นคำสั่งห้ามเข้าประเทศชั่วคราวที่มีผลใช้บังคับทั่วโลก (global injunction) ที่ออกโดยศาลชั้นต้นของสหพันธรัฐชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เนื่องจากมีคำถามทางกฎหมายว่าคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลชั้นต้นในระดับสหพันธรัฐจะสามารถใช้บังคับทั่วประเทศเป็นคำสั่งที่มีขอบเขตกว้างเกินไปหรือไม่ เพราะมีการต่อสู้คดีว่าคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลชั้นต้นในระดับสหพันธรัฐในกรณีนี้เป็นการกำหนดให้คู่กรณีดำเนินการหรือห้ามดำเนินการทั่วประเทศ (nationawide injunction) ซึ่งเท่ากับมีผลทำให้คำสั่งดังกล่าวมีผลเป็นการทั่วไป (universal effect) ทั่วโลกด้วย

ที่ผ่านมามีการฟ้องคดีต่อศาลสหพันธรัฐชั้นต้น และโดยปกติศาลชั้นต้นของสหพันธรัฐได้มีดุลพินิจในการออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวตามความเหมาะสมแห่งคดี โดยพิจารณาเป้นรายกรณีไป แต่ที่ผ่านมาศาลชั้นต้นของสหพันธรัฐเคยมีการออกคำสั่งห้ามมิให้หน่วยงานรัฐบังคับใช้กฎหมายหรือดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลโดยให้มีผลทั่วประเทศมาแล้วในอดีต ซึ่งก็มีผู้พิพากษาและนักวิชาการบางคนได้วิพากษ์แนวทางดังกล่าวของศาลว่าเป็นการใช้อำนาจศาลเกินขอบเขตที่มีตามกฎหมาย เพราะศาลชั้นต้นควรมีอำนาจในการห้ามพฤติกรรมของรัฐบาลเฉพาะคู่กรณีเท่านั้น

ในช่วงที่ผ่านมานักวิชาการได้ถกเถียงการอย่างกว้างขวางในประเด็นนี้และคำสั่งห้ามทั่วประเทศกลายเป็นสิ่งที่ยอมรับกันทั่วไป ประเด็นี้กลับมามีความสำคัญขึ้นอีกครั้งในวันที่ 10 มีนาคม 2018 ที่อัยการสูงสุดเจฟฟ์ เซสสันซได้อภิปรายในงานสัมมนาระดับชาติว่าคำสั่งห้ามทั่วประเทศได้กลายเป็นภัยคุกคามต่อหลักการของรัฐธรรมนูญ และคำสั่งห้ามทั่วประเทศนี้เกิดขึ้นอีกครั้งในกรณีการห้ามการเดินทางที่บัดนี้รอการวินิจฉัยจากศาลสูงสุดที่ต้องพิจารณาความชอบด้วยกฎหมายของประกาศประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ฉบับลงวันที่ 24 กันยายน 2017 ที่มีวัตถุประสงค์ห้ามบุคคลบางประเทศเข้าสหรัฐอเมริกา ซึ่งเกิดความปั่นป่วนในช่วงสัปดาห์ดังกล่าวและเกิดการฟ้องร้องในมลรัฐฮาวายในนามของมหาวิทยาลัย

ในคดีดังกล่าว ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นในมลรัฐฮาวายได้ยืนยันประกาศของประธานาธิบดีดังกล่าวมีผลบังคับทั่วโลก ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 9 ยืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้น ขณะนี้คดียังคงอยู่ในชั้นการพิจารณาของศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกา ในชั้นศาลอุทธรณ์นั้น ศาลอุทธรณ์ได้ปรับแก้คำสั่งศาลชั้นต้นว่าคำสั่งห้ามเข้าประเทศใช้บังคับกับบางบุคคลของห้าประเทศในทุกสถานที่ รวมทั้งสหรัฐอเมริกา พรมแดนของสหรัฐอเมริกา ช่องทางเข้าประเทศ และการออกวีซ่าเข้าประเทศของหน่วยงานรัฐกับบุคคลทุกคนที่มีความสัมพันธ์ที่ดีอย่างน่าเชื่อถือกับบุคคลหรือนิติบุคคลในสหรัฐอเมริกา

กระทรวงยุติธรรมโต้แย้งต่อศาลอุทธรณ์ภาค 9 ว่าการเยียวยาควรปรับแก้ให้แคบลงและจำกัดการใช้ต่อโจทก์ตามที่ปรากฎชื่อเท่านั้น ศาลอุทธรณ์ตระหนักง่าคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวควรเหมาะสมกับการเยียวยาความอันตรายเฉพาะที่แสดงโดยโจทก์ แต่ศาลอุทธรณ์ก็สรุปว่าคำสั่งห้ามทั่วประเทศเป็นความจำเป็นในการให้โจทก์สามารถแสดงออกสิทธิของตนเองได้อย่างเต็มที่ เพราะในแง่ของการอพยพเข้าประเทศ มีความจำเป็นต้องมีนโยบายที่เป็นเอกภาพรัฐธรรมนูญได้ระบุว่ารัฐสภาสามารถออกกฎให้เป็นเอกภาพ และการบังคับใช้ประกาศของประธานาธิบดีทั่วประเทศอาจส่งผลร้ายต่อโจทก์

รัฐบาลได้มีแถลงการณ์สรุปว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ขัดแย้งหลักการตามกฎหมายรัฐธรรมนูญและหลักความยุติธรรม (equitable principle) ที่กำหนดให้มีการจำกัดคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวต่อสิ่งที่จำเป็นเพื่อเยียวยาความเสียหายของโจทก์ที่รับรู้ได่เท่านั้น รัฐบาลยังได้แย้งว่ามาตรา 3 ของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญจำกัดอำนาจศาลให้ออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวต่อโจทก์ที่ยื่นฟ้องต่อศาลเท่านั้น ศาลไม่มีอำนาจออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวกับคู่กรณีที่ไม่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ในอดีตที่ผ่านมาอำนาจศาลเรื่องหลักความยุติธรรมมิได้ให้ศาลมีอำนาจออกคำสั่งห้ามหรือคำสั่งคุ้งครองชั่วคราวเกินกว่าการคุ้มครองโจทก์ มิฉะนั้น คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวจะกลายเป็นภาระต่อจำเลยมากเกินความจำเป็นในการคุ้มครองคู่กรณีที่ร้องขอคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวจากศาล นอกจากนี้ รัฐบาลยังเสริมอีกว่าในการออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้มีผลทั่วโลก คำสั่งศาลดังกล่าวอาจไม่ช่วยในการพัฒนาระบบกฎหมายให้มีเอกภาพและเท่าเทียมเพราะเป็นการแย่งชิงอำนาจของศาลอื่น กลายเป็นศาลแรกที่ออกคำสั่งดังกล่าวเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวเป็นผู้ตัดสินคดีทั้งหมดแทนศาลอื่น

รัฐบาลได้โต้แย้งว่าคำสั่งห้ามที่มีผลเป็นการทั่วไปได้ให้อำนาจศาลพิจารณาให้โจทก์แทนศาลอื่นๆ ที่อาจพิจารณาเข้าข้างรัฐบาลก็ได้ แต่ฝ่ายโจทก์ก็โต้แย้งว่าเมื่อโจทก์สามารถนำเสนอข้อเท็จจริงเบื้องต้นสำเร็จแล้ว แนวทางที่ศาลชั้นต้นออกมานั้นเพื่อหลีกเลี่ยงความจำเป็นในการพิจารณาคดีซ้ำซ้อนโดยไม่จำเป็น การออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวอย่างแคบอาจนำไปสู่การดำเนินคดีจำนวนมากในศาล เพื่อร้องขอคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวทั่วประเทศ และยังเห็นว่ามีความจำเป็นอย่างมากสำหรับการออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวที่มีผลทั่วประเทศในคดีนี้เพราะมลรัฐฮาวายไม่สามารถระบุล่วงหน้าอย่างถุกต้องได้ว่าคนชาติใดอาจจะเข้าประเทศหรือท่องเที่ยว และการคุ้มครองชั่วคราวเฉพาะเป้าหมายก็ไม่ได้แก้ปัญหาผลกระทบดังกล่าวจากประกาศประธานาธิบดี ในประเด็นนี้จึงเกิดการวิพากษ์วิจารณ์ทั่วประเทศในวงการนักกฎหมาย

ข้อมูลจากอัยการสูงสุดสหรัฐอเมริกากล่าวว่า ที่ผ่านมารัฐบาลทรัมป์เคยถูกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวที่มีผลทั่วประเทศจำนวน 22 คำสั่งภายในปีแรกของการบริหารงาน นักวิชาการบางคนเชื่อว่าคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเหล่านี้มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่การเพิ่มขึ้นนี้จะไม่ลดลงเฉพาะรัฐบาลทรัทป์หรือกฎหมายคนเข้าเมืองเท่านั้น    ตัวอย่างในกรณีที่เกี่ยวกับคำสั่งห้ามชั่วคราวที่มีผลทั่วประเทศ (Nationwide injunction) ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา อาทิ :
- ในปี 2017 ศาลชั้นต้นระดับสหพันธรัฐหลายศาลได้ออกคำสั่งห้ามนโยบายของฝ่ายบริหารที่มีวัตถุประสงค์ขอรับเงินสนับสนุนจากสหพันธรัฐ และคดีที่เกี่ยวกับ sanctuary jurisdiction
- ในปี 2017 ศาลชั้นต้นในเขตตะวันตกของวอชิงตันให้ระงับกฎที่กำหนดเงื่อนไขการปฏิบัติหน้าที่แก่ทนายความของผู้อพยพเข้าเมือง
- ในปี 2016 ศาลชั้นต้นเขตเท็กซัสได้ออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวห้ามการบังคับใช้นโยบายของกระทรวงยุติธรรมและกระทรวงการศึกษาเกี่ยวกับการอุดหนุนเงินโรงเรียน
 - ในปี 2015 ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ยืนยันคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวที่ห้ามหน่วยงานรัฐปฏิบัติตามคำสั่งของประธานาธิบดีโอบามาเรื่องกฎหมายครอบครัว
- ในปี 2015 ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ได้ออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวมีผลทั่วประเทศต่อกฎที่ออกตามกฎหมายน้ำสะอาด

ในฝากฝั่งนักวิชาการ ศาตราจารย์แซมมวล เบรย์ได้อ้างรายของรัฐบาลในเรื่องคำพิพากษาศาลมลรัฐฮาวายว่าศาลชั้นต้นไม่ควรมีอำนาจออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวมีผลทั่วประเทศเพราะ
(1) หลักฐานทางประวัติศาสตร์ชี้ว่าคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวที่มีผลทั่วประเทศถือเป็นพัฒนาการใหม่ในประวัติศาสตร์ของหลักความยุติธรรม
(2) คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวยับยั้งพัฒนาการทางกฎหมายในหลายแขนงและสร้างความเสี่ยงในการออกคำสั่งคุ้มครองที่ขัดแย้งกัน
(3) คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวส่งเสริมให้เกิดการเลือกศาลในการฟ้องร้อง โดยโจทก์อาจจะเลือกศาลที่มีแนวโน้มจะพิจารณาเข้าข้างตนเอง
(4) ในกรณีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวที่มีผลทั่วประเทศไม่มีความสอดคล้องในทางหลักการกฎหมาย โดยเฉพาะไม่สอดคล้องกับกฎข้อ 23 (b)(2) ของกฎวิธีพิจารณาคดีของสหพันธรัฐที่สื่อเป็นนัยว่าคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวทั่วประเทศควรใช้กับคดีที่ดำเนินคดีแบบกลุ่มเท่านั้น

ต่อมาบทความในวารสารกฎหมายของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้โต้แย้งความเห็นของศาสราจารย์เบร์ยว่าคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวที่มีผลทั่วประเทศมีความเหมาะสมในบางกรณีโดยเฉพาะกรณีที่เกี่ยวข้องกับภัยอันตรายร้ายแรงและดุลพินิจควรให้ศาลชั้นต้นเป้นผู้มีอำนาจพิจารณาการเยียวยาที่เหมาะสม แต่ก็มีนักวิชาการบางรายเห็นด้วยกับศาสตราจารย์เบร์ยว่าคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวที่มีผลทั่วประเทศควรถูกจำกัด แต่ศาลสูงสุดยังไม่ได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้โดยตรงมากก่อน แม้ว่าศาลสูงสุดอาจเคยปฏิเสธการออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้มีผลครอบคลุมทั่วประเทศมาก่อนหน้านี้ก็ตาม

ที่น่าสนใจ ล่าสุดคือศาลอุทธรณ์ภาค 7 ได้ มีคำพิพากษาคดี City of Chicago v. Session ในวันที่ 19 เมษายน 2018 ให้ออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวมีผลบังคับทั่วประเทศโดยเสียงข้างมากเห็นว่าคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวทั่วประเทศนี้มีความเหมาะสมเพราะประเด็นดังกล่าวไม่ได้มีความแตกต่างกันในแต่ละท้องที่และไม่มีความจำเป็นต้องดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ แต่ก็มีความเห็นแย้งในบางส่วนจากผู้พิพากษาเมเนี่ยนที่เห็นด้วยกับผลของคำพิพากษาในการให้ออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในคดีนี้ แต่มีความเห็นแตกต่างถึงประเด็นความเหมาะสมของผลของคำสั่งที่ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยให้ความเห็นว่าการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ซ้ำซ้อนอาจกลับกลายเป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์เพราะมีความเป็นไปได้ว่าในศาลอุทธรณ์แต่ละภาคอาจมองประเด็นกฎหมายในแต่ละคดีและพิพากษาแตกต่างกันก็ได้

ในการออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ผู้พิพากษาเมเนียนได้ให้ความเห็นว่าศาลอุทธรณ์ภาค 7 ได้ทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพแทนศาลสูงสุดที่ตัดสินคดีในประเด็นที่มีผลผูกพันทั่วประเทศ คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวทั่วประเทศจะทำลายพัฒนาการความก้าวหน้าของกฎหมายด้วยการห้ามองค์คณะอื่นในการชั่วน้ำหนักในแต่ละคดีที่อาจแตกต่างกัน ผู้พิพากษาเมเนียนเห็นว่าศาลอุทธรณ์ควรมีอำนาจคุ้มครองเฉพาะโจทก์ที่ยื่นคำฟ้องต่อศาลในคดีนี้เท่านั้น

โดยสรุป ศาลสูงสุดอาจไม่จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวห้ามทั่วประเทศในคดีนี้ หากศาลสูงสุดพิจาณาประเด็นขอบเขตของคำสั่งห้าม ศาลอาจพิจารณาคำถามทั้งเรื่องเขตอำนาจและความชอบด้วยกฎหมายเข้าข้างผู้ร้อง และหากสาลพิจารณาคำถามขอบเขตที่เหมาะสมของคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว การโต้แย้งความจำเป็นตามรัฐธรรมนูญในการสร้างความเป็นเอกภาพของกฎหมายเข้าประเทศอาจจำกัดการบังคับใช้กฎที่กว้างมาก แต่ในการรับฟังคำแถลง ผู้พิพากษาท่านหนึ่งได้แสดงความกังวลในประเด็นเขตอำนาจทั่วไป (universal jurisdiction) และมีคำถามต่อทนายของผู้ร้องว่าความยุ่งยากที่เกิดขึ้นของคำสั่งห้ามทั่วประเทศ ไม่จำกัดต่อคำสั่งคุ้มครองสำหรับคู่กรณีในคดีนี้หรือการดำเนินคดีแบบกลุ่ม แต่ก็ไม่มีความชัดเจนว่าศาลสูงสุดจะมองอย่างไรในประเด็นดังกล่าว

อย่างไรก็ตามมีความเคลื่อนไหวในรัฐสภาสหรัฐอเมริกากล่าวคือมีการยื่นร่างกฎหมายกำหนดว่าศาลชั้นต้นของสหพันธรัฐไม่มีอำนาจออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวนอกเหนือไปจากคู่กรณีที่ฟ้องร้องดำเนินคดีในศาล และปัจจุบันยังคงมีหลายคดีที่ยังคงค้างและรอการพิจารณาจากศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาและมีแนวโน้มว่าศาลสูงสุดอาจพิจารณาวางหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในคดี City of Chicago v. Sessions ที่ใช้ข้อโต้แย้งและตรรกะคล้ายคลึงกันเกี่ยวกับขอบเขตอำนาจของคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวที่เกี่ยวกับการห้ามเข้าประเทศ

วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

เสรีภาพของสื่อในสหราชอาณาจักร

แม้ว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้เขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษรของสหราชอาณาจักรจะไม่ได้ระบุไว้ชัดเจนในการประกันสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนไว้ก็ตาม แต่หลักการเสรีภาพของสื่อมวลชนถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในรัฐธรรมนูญที่ไม่มีลายลักษณ์อักษรของอังกฤษรับรองสิทธิดังกล่าวไว้ ที่ผ่านมาศาลในสหราชอาณาจักรได้อ้างว่าหลักการตามรัฐธรรมนูญหมายความรวมถึงเสรีภาพของสื่อมวลชนด้วย

สหราชอาณาจักรได้เป็นสมาชิกของอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป (the European Convention of Human Rights) ที่บัญญัติหลักการเสรีภาพของการแสดงออกและเสรีภาพของสื่อไว้ และต่อมาในปี ค.ศ. 1996 สหราชอาณาจักรได้ยอมรับสิทธิของบุคคลในการร้องเรียนต่อรัฐบาลในเรื่องสิทธิมนุษยชนด้วย เนื่องจากในการสมัครเข้าเป็นภาคีสมาชิกในคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปและศาลสิทธิมนุษยชน กล่าวคือ สหราชอาณาจักรได้ถูกทักท้วงในหลายประเด็นว่า บทบัญญัติกฎหมายและแนวปฏิบัติของสหราชอาณาจักรไม่สอดคล้องกับการคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออกตามสนธิสัญญาสหภาพยุโรป ต่อมาในปี ค.ศ. 1998 รัฐบาลของพรรคแรงงานได้ผ่านกฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศดังกล่าวข้างต้นและเป็นการยกระดับการคุ้มครองเสรีภาพการแสดงออกและสิทธิในความเป็นส่วนตัวไว้ในกฎหมายของสหราชอาณาจักรด้วย แต่ศาลในสหราชอาณาจักรได้ให้ความสำคัญกับเสรีภาพในการแสดงงออกมากกว่าที่กฎหมายบัญญัติหรือฝ่ายบริหารออกแนวปฏิบัติหรือให้ความคุ้มครอง

ในหลักการที่ปฏิบัติในกิจการสื่อนั้น รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้ยกเลิกการออกใบอนุญาตจัดตั้งและการประกอบกิจการหนังสือพิมพ์มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1684 และรับรองสิทธิในการตีพิมพ์หนังสื่อพิมพ์ หนังสือ และแม็กกาซีนโดยไม่ต้องขอรับอนุญาตจากรัฐบาลก่อน ดังนั้น รัฐบาลจะไม่แทรกแซงการทำงานของสื่อมวลชน อย่างไรก็ตาม เมื่อสื่อมวลชนเริ่มกลายเป็นสื่อเชิงพาณิชย์มากขึ้น ทำให้เสรีภาพและความเป็นอิสระของสื่อมวลชนต่ออยู่ภายใต้การครอบงำของทุนแทน จึงเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันค่อนข้างมากมาจนกระทั่งปัจจุบัน

ทั้งนี้ สื่อมวลชนในสหราชอาณาจักรไม่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาล ยกเว้นเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่ม และดังนั้น จึงไม่มีการแทรกแซงจากรัฐบาล ในระบบเสรีประชาธิปไตย หนังสือพิมพ์และแม๊กกาซีนมีเสรีภาพในการทำข่าวและตีพิมพ์ความเห็นของบทบรรณาธิการตามปรัญชาของตนเองทั้งแนวคฃิกทางการเมืองและเศรษฐกิจ โดยไม่มีกฎหมายกำหนดหน้าที่ในการรายงานต้องมีความเป็นกลาง  ซึ่งแตกต่างจากประเทศอื่นๆ ในสหภาพยุโรปที่สื่อมวลชนแต่ละประเภทจะมีหน่วยงานกำกับดูแลและกฎหมายควบคุมกำกับดูแลเป็นการเฉพาะแยกออกไป เช่น กฎหมายสื่อสิ่งพิมพ์และกฎหมายวิทยุและโทรทัศน์ ในสหราชอาณาจักรใช้กฎหมายทั่วไปในการควบคุมกำกับดูแลสื่อมวลชน เช่น กฎหมายละเมิดและหมิ่นประมาท กฎหมายลามกอนาจาร และการความผิดเหยียดเชื้อชาติหรือสีผิว  เป็นต้น เนื่องจากปรัญชาในเรื่องดังกล่าวของสหราชอาณาจักรคือเสรีนิยมที่จะไม่มีการควบคุมหรือจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกของสื่อมวลชนก่อนการนำเสนอข่าว กล่าวคือโดยหลักแล้ว บุคคลอาจสื่อสารโดยไม่ต้องขออนุญาตจากทางราชการก่อน เว้นแต่ในเรื่องที่กฎหมายกำหนด อาทิ การคุ้มครองชื่อเสียงของบุคคล ความลับทางราชการ และการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น

ข้อจำกัดที่สำคัญสำหรับสื่อมวลชนในสหราชอาณาจักรคือกฎหมายหมิ่นประมาทในสหราชอาณาจักรกำหนดเงื่อนไขในการพิสูจน์แก่จำเลยหรือสื่อมวลชนที่เปิดเผยไขข่าว ดังนั้น โจทก์ค่อนข้างได้เปรียบ ซึ่งได้รับการวิจารณ์ว่าก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อเสรีภาพในการแสดงออกของสื่อมวลชนค่อนข้างมาก ในปี ค.ศ. 2006 กฎหมายหมิ่นประมาทได้มีการปรับปรุงแก้ไขครั้งสำคัญด้วยคำพิพากษาที่ยกเว้นภาระในการพิสูจน์แก่หนังสือพิมพ์ Wall Street Journal Europe ที่เป็นจำเลยในการพิสูจน์ว่าบทความที่ถูกฟ้องว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ สถาบันเสรีภาพสื่อมวลชน (Freedom House) ได้ยกย่องคำพิพากษานี้ว่าเป็นคำพิพากษาที่สำคัญเนื่องจากส่งเสริมให้สื่อมวลชนในเสรีภาพใกนารรายงานข้อกล่าวหาต่อบุคคลสาธารณะโดยไม่ต้องเกรงกลัวในการถูกฟ้องร้องเพื่อแก้แค้นอีกต่อไป

นอกจากนี้ ที่ผ่านมาการจำกัดเสรีภาพของสื่อมวลชนพบบ่อยในเรื่องการรักษาความมั่นคงของชาติ โดยจากรายงานของสถาบันเสรีภาพสื่อมวลชนได้ระบุว่าในช่วงทศวรรษที่ 1970-1990 สหราชอาณาจักรนับว่าเป็นประเทศหนึ่งที่มีการเซ็นเซอร์หนังสือพิมพ์มากประเทศหนึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในสหภาพยุโรป โดยเฉพาะในยุคนายกรัฐมนตรีแท็กเชอร์เนื่องจากระบบการเมืองเอื้อต่อการเซ็นเซอร์สื่อมวลชน ประกอบการความไม่ชัดเจนในกฎหมายที่คุ้มครองสิทธิในเรื่องนี้ สถาบันทางการเมืองหรือรัฐบาลได้รับเสียงข้างมากในรัฐสภาจึงมีอิทธิพลต่อเสรีภาพในข้อมูลข่าวสารและการเฟื้องฟูของกฎหมายปกป้องความลับ แต่ต่อมาในช่วงทศวรรษที่ 2000 รัฐสภาได้ผ่านกฎหมายเสรีภาพข้อมูงข่าวสาร (Freedom of Information Act) ทำให้เสรีภาพสื่อมวลชนเริ่มดีขึ้นตามลำดับ

กฎหมายความลับราชการ (the Official Secrets Act) ใช้กฎหมายอาญาในการป้องกันการเปิดเผยความลับของรัฐ ในสหราชอาณาจักร ข้าราชการพลเรือนต้องมีหน้าที่เก็บรักษาความลับ และจะมีการปกป้องหรือคุ้มครองผู้ที่เปิดเผยความลับเพื่อเปิดโปงการกระทำผิดกฎหมาย การล่วงละมเิดอำนาจศาลกำหนดให้การคุ้มครองการเปิดเผยแหล่งข่าวของผู้สื่อข่าว และการเปิดเผยเพื่อประโยชน์ในความธำรงซึ่งความยุติธรรม ความมั่นคงแห่งชาติ หรือการป้องกันการกระทำผิดอาญา

การคุ้มครองสิทธิของผู้สื่อข่าวในสหราชอาณาจักรมีสองคุณลักษณะที่แตกต่างจากสหภาพยุโรป ประการแรกในสหราชอาณาจักร สิทธิความเป็นส่วนตัวของประชาชนในสหราชอาณาจักรได้รับความคุ้มครองจากสื่อมวลชนน้อยกว่าในสหภาพยุโรปค่อนข้างมาก กล่าวอีกนัยหนึ่งคือสื่อมวลชนในสหราชอาณาจักรมีเสรีภาพในการทำข่าวรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคลได้ค่อนข้างมาก เนื่องจากในสหราชอาณาจักรไม่มีกฎหมายเฉพาะว่าด้วยสิทธิความเป็นส่วนตัว (privacy) ส่งผลให้การทำข่าวในเชิงสืบสวนสอบสวนในราชอาณาจักรค่อนข้างเฟื้องฟู แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดหนังสือพิมพ์ประเภทแทบลอย์จำนวนมาก ซึ่งที่ผ่านมามีการเรียกร้องให้มีการออกกฎมากำกับดูแลให้เข้มงวดมากขึ้น และความแตกต่างประการที่สองคือสหราชอาณาจักรไม่มีกฎหมายคุ้มครองสิทธิในการตอบ (right of reply) สำหรับสื่อมวลชนดังเช่นในประเทศอื่นๆ ในสหภาพยุโรป ในสหราชอาณาจักรสื่อมวลชนใช้กลไกการกำกับดูแลตนขององค์กรสื่อมวลชนเป็นหลักในเรื่องดังกล่าว กล่าวคือสื่อมวลชนมีกรอบประมวลจริยธรรมในการกำหนดวางมาตรฐานในเรื่องดังกล่าว

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

สงครามสารสนเทศ

สงครามสารสนเทศ (Information War) หรือ “สงครามสารสนเทศ” ซึ่งบางท่านเรียกว่า “สงครามข่าวสาร” ซึ่งอาจเรียกว่า “Cyber War” หรือ “Net War”  สงครามสารสนเทศนี้เป็นคำที่มีการใช้กันมาไม่นานและเริ่มมีการยอมรับว่าเป็นคุณลักษณะหนึ่งที่ใหม่ล่าสุดของการสงคราม โดยถือเป็นรูปแแบบใหม่ของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นบนโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศของโลกยุคดิจิทัล  กล่าวคือสงครามสารสนเทศเป็นแนวคิดที่เกี่ยวกับยุทธวิธีการสู้รบและการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อให้ได้เปรียบในการต่อสู้ ดังนั้น สงครามสารสนเทศจึงอาจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลทางยุทธวิธี การตรวจสอบความถูกต้องของสารสนเทศ การเผยแพร่ข้อมูลโฆษณาชวนเชื่อหรือการให้ข่าวปลอมเพื่อลดขวัญกำลังใจและปั่นหัวศัตรูและประชาชน การบ่อนทำลายคุณภาพของสารสนเทศของกองกำลังศัตรู และการปกปิดข่าวสารจากศัตรู สงครามสารสนเทศจึงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสงครามจิตวิทยาในบางแง่มุม

ที่ผ่านมากองกำลังทหารของสหรัฐอเมริกาให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีและมีแนวโน้มที่จะขยายขอบเขตไปเป็นสงครามอิเล็กทรอนิกส์ สงครามไซเบอร์ และปฏิบัติการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ในประเทศอื่อๆ มักใช้คำที่กว้างกว่า โดยเรียกว่าปฏิบัติการสารสนเทศ (Information Operation) ผ่านยุทธวิธีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ให้ความสำคัญกับการใช้สารสนเทศของคน และการวิเคราะหืสังคมสื่อออนไลน์ การวิเคราะหืการตัดสินใจของมนุษย์ในการสั่งการและควบคุม แต่ในสหรับอเมริการถือว่าปฏิบัติการสารสนเทศเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสงครามสารสนเทศเท่านั้น

สงครามสารสนเทศสามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ อาทิ
- การรบกวนการส่งสัญญาณวิทยุ โทรทัศน์และอินเทอร์เน็ต 
- การรบกวนหรือยึดการส่งสัญญาณวิทยุ โทรทัศน์และอินเทอร์เน็ต เพื่อรณรงค์หรือส่งข่าวสารปลอมแทน
- การทำลายหรือขัดขวางโครงข่ายโลจิติกส์ 
- การทำลายหรือรบกวนการทำงานโครงข่ายสื่อสารของศัตรู 
- การบ่อนทำลายธุรกรรมตลาดหลักทรัพย์หรือการเงินไม่ว่าจะด้วยวิธีการแทรกแซงทางอิเล็กทรอนิกส์หรือปล่อยข่าวที่อ่อนไหวหรือใช้ข่าวปลอมเพื่อสร้างความปั่นป่วน
- การใช้โดรนหรือหุ่นยนต์สอดแนม
- การบริหารจัดการการสื่อสาร 
อนึ่ง สงครามสารสนเทศในแง่หนึ่งมีมานานแล้วในอดีต โดยถือเป็นการโจมตีที่จุดศีรษะของศัตรู การหลอกลวงทุกประเภท และการปฏิบัติการเชิงจิตวิทยา ตัวอย่างเช่น กองทัพอากาศของสหรัฐอเมริกามักใช้เครื่องบินรบเข้าโจมตีเป้าหมายคือระบบการสื่อสารของศัตรู หรือทำให้ระบบดังกล่าวไม่สามารถทำงานได้ในระยะไกลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อได้เปรียบในการสู้รบ ซึ่งประสบความสำเร็จในสงครามอ่าวในครั้งที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม โดยหลักการแล้วสงครามสารสนเทศไม่ได้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารนเทศเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับผู้คน ทั้งบุคลากรทางทหารและบุคคลทั่วไปด้วย

ปัจจัยที่ทำให้สงครามสารสนเทศได้รับความนิยมในปัจจุบันเพราะ ประการแรก ต้นทุนการเข้าสู่สงครามต่ำหากเปรียบเทียบกับเทคโนโลยีอาวุธสงครามดั้งเดิม การพัฒนาเทคนิคสารสนเทศไม่จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรบุคคลและเงินจำนวนมาก ทรัพยากรที่จำเป็นมีเพียงผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการเข้าใช้ระบบเครื่อข่ายหรืออินเทอร์เน็ตเท่านั้น ประการที่สองไม่มีความชัดเจนในเรื่องเขตแดน การดำเนินการสามารถดำเนินการได้ ณ ที่ใดประเทสใดก็ได้ ไม่จำเป้นต้องมีการเข้าไปยังประเทศศัตรูหรือประเทสเป้าหมาย และบ่ยครั้งยากจะแบ่งแยกได้ว้าเป้นการกระทำของรัฐหรืออาชญากรหรือผลประโยชน์ส่วนบุคคล ประการที่สาม ด้วยเทคโนดลยีในปัจจุบันทำให้ขยายบทบาทของการจัดการสารสนเทศได้กว้างขาวงเพิ่มมากขึ้น กล่าวคือสามารถช่วยให้มีการหลอกลวงหรือสร้างความสับสนและก่อกวนข่าวสารได้ง่ายขึ้น ประการที่สี่ เป็นการท้าทายการทำงานของหน่วยข่าวกรอง เพราะหน่วยข่าวกรองยังขาดความรู้ทางด้านนี้ทำให้การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลขาดประสิทธิภาพเนื่องจากเป็นเทคนิคใหม่ ประการที่ห้า ปัจจุบันนี้ประเทศส่วนใหญ่ยังขาดระบบเตือนภัยที่เพียงพอในการโจมตีด้วยสงครามสารสนเทศและขาดแผนในการรับมือที่มีประสิทธิภาพ 
ในปัจจุบันการสงครามอิเล็กทรอนิกส์ถือว่าเป็นรูปแบบที่สำคัญ  การทำงานโดยอัตโนมัติของศูนย์ควบคุมกลางได้ทำให้เป็นเป้าหมายสำคัญในการโจมตีด้วยการใช้มัลแวร์ หากสังคมพัฒนาในหลากหลายมิติ ความสำคัญและความถี่ของการโจมตีของแฮกเกอร์ต่อระบบของพลเรือน สงครามข้อมูลสารสนเทศ และสงครามไซเบอร์ได้เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย สำหรับการปฏิบัติการทางจิตวิทยาอาจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากด้วยเช่นกัน

สงครามข้อมูลข่าวสารทำให้สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีศักยภาพในด้านนี้หรือไม่ ทหารสหรัฐอเมริกาได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีและระบบสารสนเทศมากกว่าประเทศอื่น แต่ก็เป้นจุดอ่อนหรือข้อด้อยด้วยเช่นกัน เนื่องจากระบบเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและหน่วยงานรัฐบาลโดยเฉพาะหน่วยงานความมั่นคงได้พึ่งพิงระบบสารสนเทศอย่างมาก ดังนั้น จึงกลายเป็นจุดอ่อนสำหรับการแฮกข้อมูลและสงครามไซเบอร์ วัฒนธรรมดังกล่าวอาจแพร่กระจายไปยังประเทศต่างๆ ด้วย

สงครามข้อมูลสารสนเทศได้มีกิจกรรมที่ไม่เท่าเทียมหลากหลาย แต่มีหลักการทั่วไปครอบคลุม โดยมีหลักการสามประการ
-  ระบบสารสนเทศของฝ่ายหนึ่งอาจดีกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง การมีระบบสารสนเทศเหนือกว่าไม่ได้ทำให้อีกฝ่ายไม่สามารถต่อสู้ได้ แม้ว่าระบบสารสนเทศที่เหนือกว่าสามารถสนับสนุนการปฏิบัติการทั่วไป แต่มีข้อยกเว้น เช่น การรบกวน การแข่งขันในการแบ่งปันสื่อ
-  การสร้างรูปของการสงครามข้อมูลสารสนเทศไม่ได้มีการดำเนินการจนกระทั่งพลทหารเข้าใจว่าวัตถุประสงค์ของชีวิตไม่ได้ต่อสู้กับศัตรูของฝั่งตรงข้าม
-  สงครามข้อมูลสารสนเทศมีความยากอย่างมากในการดำเนินการโดยความรู้ที่น่าเชื่อถือและแม่นยำของโครงสร้างอีกฝ่ายด้านหนึ่ง จากวิธีการที่ข่าวและข้อมูลสารสนเทศมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจและต่อโครงสร้างของการสั่งการของราชการ และมีผลต่อโครงสร้างพื้นฐานสื่อสารของประเทศและรายละเอียดซอฟแวร์ระบบสารสนเทศของประเทศ

จากที่กล่าวมาแล้วข้างจ้น หลายคนอาจมองว่าสงครามสารสนเทศไม่ได้แตกต่างจากสงครามดั้งเดิมทั่วไป แต่ที่จริงแล้วสงครามสารสนเทศเกี่ยวข้องกับกับยุทธศาสตร์และเทคนิคการสงครามที่หลากหลายมากขึ้น หน่วยงานด้านความมั่นคงควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ให้มากขึ้นและมีแผนในการรับมือให้ดีเพราะสงครามสารสนเทศจะกลายเป็นแนวรบในอนาคตและจะพบเห็นมากขึ้น

แนวคิดการกำกับดูแลสกุลเงินดิจิทัล

รูปแบบของเศรษกิจดิจิทัลที่เกิดขึ้นคือมีคนประดิษฐ์นวัตกรรมใหม่ขึ้นและสามารถเข้ามาแทนที่ธุรกิจดั้งเดิม หน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องยังคงสับสนหรือไม่มีนโยบายไม่ชัดเจนในเรื่องนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นในโลกการเงินจากการเกิดขึ้นของสกุลเงินดิจิทัล ในหลายปีที่ผ่านมาสกุลเงินดิจิทัลทั้งหมดมีมูลค่าอยู่ประมาณ 30,000 -400,000 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา และมีการเสนอขายสกุลเงินดังกล่าวครั้งแรกกับนักลงทุนจำนวนมาก กลุ่มกองทุนเสี่ยง นักเรียน และกลุ่มผู้เกษียณอายุได้ซื้อสกุลเงินดิจิทัลเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งได้สร้างความกังวลแก่หน่วยงานกำกับดูแลเพราะความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นค่อนข้างสูง มูลค่าของสกุลเงินสามารถขยับขึ้นสูงและลดลงอย่างรวดเร็วได้ อย่างเช่น กรณีของบิทคอย์ที่ลดจาก 20,000 เหรียญเป็น 9,000 เหรียญในช่วงเวลาไม่กี่วัน และมีเหตุการณ์ว่าบางสกุลถูกแฮกได้

ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นคือ หน่วยงานของรัฐบาลประเทศต่างๆ เริ่มพิจารณาเื่องดังกล่าวอย่างจริงจังเกี่ยวกับการออกกฎหมายกำกับดูแลการเงินรูปแบบใหม่ที่ยังไม่มีการกำกับดูแลมาก่อน องค์กรกำกับดูแลศึกษาพิจารณาในการจัดประเภทของรูปแบบหรือประเภทของการนำเสนอเงินออกมาขายครั้งแรกและเหรียญตราว่าเป็นหลักทรัพย์หรือไม่ และวิธีการจัดเก็บภาษี เป็นต้น องค์กรกำกับดูแลต้องการหยุดการใช้สกุลเงินดังกล่าวในทางที่มิชอบ เช่น การฟอกเงินหรือการสนับสนุนการก่อการร้าย สิ่งที่กังวลคือวิธีการคุ้มครองนักลงทุนที่ถือสกุลเงินดังกล่าวจากความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น แต่ที่ผ่านมายังคงไม่มีแนวทางที่ชัดเจนโดยไม่มีการกำกับดูแลที่เข้มงวด ในเดือนเมษายน 2018 องค์กรกำกับดูแลพฤติกรรมทางการเงินของสหราชอาณาจักรได้ออกประกาศเตือนบริษัทที่ให้บริการที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์สกุลเงินดิจิทัลว่าต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแล ต่อมาในวันที่ 10 เมษายน 2018 กระทรวงการคลังของไต้หวันได้วางนโยบายการกำกับดูแลสกุลเงินดิจิทัลเพื่อป้องกันการฟอกเงิน และ 17 เมษายน 2018 สำนักงานอัยการของมลรัฐนิวยอร์คของสหรัฐอเมริกาได้สอบถามธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตราดิจิทัล 13 แห่งเพื่อขอข้อมูลในการทำธุรกิจ ความขัดแย้งผลประโยชน์ และการคุ้มครองผู้บริโภค

องค์กรกำกับดูแลและธนาคารชาติของกลุ่มประเทศ G200  ประชุมกันในประเทศอาร์เจนติน่าในเดือนมีนาคม เพื่อร่วมกันพิจารณาเรื่องสกุลเงินดิจิทัล และได้บทสรุปในเบื้องต้นว่าปัจจุบันสกุลเงินดิจิทัลยังมีปริมาณหรือสัดส่วนที่ไม่มากนักที่จะมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ แต่ก็เห็นว่าควรมีการขยายมาตรฐานเพื่อให้สถาบันทางการเงินปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ เช่น กฎรู้จักลูกค้าตนเอง (know-your-customer) และกระบวนการในการติดตามตรวจสอบธุรกรรมกที่ผิดปกติในสกุลเงินดิจิทัลเพื่อลดการใช้งานที่มิชอบด้วยกฎหมาย เมื่อสกุลเงินบิทคอย์ได้เข้าสู่ตลาดสร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชนเพราะช่วยในเรื่องการปกปิดตนเอง การซื้อขายอย่างผิดกฎหมายในตลาดมือ เช่น ดาร์กเว็บ และเป็นสกุลเงินที่นิยมใช้ในการชำระค่าไถ่บนออนไลน์

หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายหลายหน่วยงานมองว่าเนื่องคุณลักษณะที่สำคัญของสกุลเงินดิจิทัลในปัจจุบันคือความสามารถในการปกปิดตัวตนจึงเป็นที่นิยมใช้งานของบรรดาอาชญากร แต่การใช้งานผิดกฎหมายดังกล่าวก็ยังมีข้อจำกัดในการฟอกเงินบางประเภท โดยอาชญากรมักต้องการหมุนเวียนหรือแลกเปลี่ยนเงินที่ได้มาโดยมิชอบด้วยกฎหมายให้เป็นเงินสกุลดิจิทัลเพื่อฟอกให้กลายเป็นเงินสดเพื่อมิให้สามารถหน่วยงานรัฐติดตามได้ ในหลายประเทศ อาทิ ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ กำกับดูแลแพลทฟอร์มของสกุลเงินดังกล่าวในการแลกเปลี่ยนจากเงินดิจิทัลเป็นเงินทั่วไป สำหรับสหภาพยุโรปได้ออกข้อกำหนดการป้องกันการฟอกเงินที่ผ่านโดยสภายุโรปในวันที่ 19 เมษายน 2018 ที่วางมาตรการกำกับดูแลการแลกเปลี่ยนเช่นเดียวกัน  อย่างไรก็ตามประเทศส่วนใหญ่ยังคงไม่มีท่าทีหรือนโยบายที่ชัดเจนในเรื่องนี้

ด้วยนโยบายดังกล่าวธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลดิจิทัลหลายบริษัทได้ปฏิบัติตามนโยบายรู้จักลูกค้าตนเองด้วยการสอบถามลูกค้าให้แสดงตัวตนในการทำธุรกรรม การไม่ยอมรับสกุลเงินที่มีนโยบายสิทธิส่วนตัวสูงกว่ามาตรฐาน หรือการใช้ซอฟแวร์ที่ติดตามตรวจสอบธุรกรรมที่ผิดปกติ เป็นต้น แนวปฏิบัติดังกล่าวช่วยให้การแลกเปลี่ยนเงินตราเข้าสู่ระบบธนาคารมีความเช้มงวดมากขึ้น หลายบริษัทเลือกที่ประเทศหรือสถาบันการเงินที่ไม่ยุ่งยาก เพราะธนาคารโดยทั่วไปจะไม่ให้บริการ ผู้ให้ยืมเงินมักกังวลความเสี่ยงทางเครดิตและการลดอาชญากรรมหากการแลกเปลี่ยนไม่มีการตรวจสอบผู้ใช้บริการ ผู้สนับสนุนนโยบายกำกับดูแลดังกล่าวเชื่อว่าการปฏิบัติตามนโยบายนี้จะช่วยทำให้การแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลดิจิทัลมีความเสี่ยงลดลงและธนาคารจะเข้ามาให้บริการเหล่านี้มากขึ้นด้วยกฎระเบียบที่ชัดเจนและโปร่งใส ซึ่งจะทำให้ง่ายในการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรา องค์กรกำกับดูแลไม่เห็นด้วยในประเด็นการคุ้มครองผู้บริโภค เนื่องจากการปกป้องนักลงทุนจากความเสี่ยงดังกล่าวซึ่งเป้นหน้าที่ของนักลงทุนเองที่ต้องยอมรับความเสี่ยงตนเอง แต่บางคนเห็นว่านักลงทุนควรมีอิสระในการเลทือความเสี่ยง ในบางประเทศเลือกแนวทางออกใบอนุญาตแก่ธุรกิจเงินดิจิทัล เช่น ฝรั่งเศส  แต่เป็นระบบใบอนุญาตแบบสมัครใจ

บริษัท CryptoUK ที่เป็นบริษัทให้บริการสกุลเงินดิจิทัลใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักรได้นำเสนอแนวคิดว่าการอนุญาตให้นำเสนอขายสกุลเงินดิจิทัลในสหราชอาณาจักรจะช่วยธุรกิจที่ชอบด้วยกฎหมายสามารถเข้าถึงบริการและนวัตกรรมการเงินที่ทันสมัยและสะดวกขึ้น บริษัทที่ประกอบธุรกิจสกุลดิจิทัลเองก็ไม่ต้องการให้้มีอาชญากรเข้าใช้งานบนแพลทฟอร์มของตนเองพราะทำให้ชื่อเสียงของตนเองเสียหาย และยังเห็นว่าหน่วยงานรัฐที่จัดเก็ยภาษีวิตกกังวลมากเกินไปในเรื่องการจัดเก็บภาษีสกุลเงินดิจิทัลที่เป็นธุรกิจที่อาจมีกำไรมหาศาลและต้องการจัดเก็ยภาษีส่วนเพิ่มจากกำไรทุนดังกล่าว

นอกจากนี้ หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายเชื่อว่าองค์กรอาชญากรรมอาจใช้สกุลเงินดิจิทัลเป็นเงินที่สำรองหรือหลบซ่อนไว้ เพราะระบบเทคโนโลยีของเงินสกุลดิจิทัลมีความน่าเชื่อถือที่สามารถหลบหลีกและตรวจสอบได้ยากความเป็นเจ้าของได้ ประกอบปัจจุบันสามารถแลกเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่ายขึ้น และการแลกเปลี่ยนเงินสดส่วนใหญ่ที่ทำผ่านตลาดมืดทำได้ยากขึ้น หลายประเทศมีการศึกษาเพื่อหาแนวทางในการกำหนดนิยามของเงินดิจิทัลและการกำกับดูแล โดยเฉพาะการจัดเก็บภาษีการแลกเปลี่ยนสกุลดิจิทัล ตัวอย่างเช่น ในเดือนกุมภาพันธ์ 2018 ในประเทศสหรัฐอเมริกา บริษัททำธุรกรรมสกุลเงินคอย์เบส (coinbase) ได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่สั่งให้บริษัทเปิดเผยเอกสารแสดงตัวตนของลูกค้า จำนวน 13,000 คนต่อกรมสรรพากร เพื่อกรมสรรพากรจะได้ดำเนินการประเมินภาษี แต่ศาลอุทธารณ์ได้ยกคำร้องดังกล่าว และจากรายงานของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายพบว่าบริษัทที่ประกอบธุรกิจสกุลเงินดิจิทัลได้ย้ายสำนักงานหนีไปให้บริการในประเทศอื่นเพื่อหลบหลีกภาษีและการบังคับใช้กฎหมายที่เข้างวดขึ้น

อย่างไรก็ตาม นักวิชาการทางการเงินสรุปว่าหลายประเทศยังคงเข้าใจผิดว่าวิธีการที่ดีที่สุดในการจัดการเรื่องนี้คือการห้ามการให้บริการหรือปิดกิจการดังกล่าวเสียเพราะกังวลว่าเป็นธุรกิจที่ผิดกฎหมายและอาจก่อให้เกิดปัญหากับระบบการเงินและเป็นช่องทางการฟอกเงิน รวมทั้งการหลอกหลวงในการซื้อขาย ตัวอย่างเช่น ในประเทศจีนได้ออกกฎหมายห้ามการนำเสนอสกุลเงินดิจิทัลออกจำหน่ายในประเทศและการแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัล แต่ต้องไม่ลืมว่าประเทศอื่นไม่ได้มีนโยบายที่เข้มงวดเช่นนั้น การดำเนินนโยบายดังกล่าวต้องมีการกำกับดุแลอินเทอร์เน็ตที่เข้างวดมาก จึงยากที่จะปฏิบัติได้ในประเทศอื่น หลายประเทศเห็นว่าอินเทอร์เน็ตและบริการใหม่มีประโยชน์มากกว่าต้นทุนและผลเสีย จึงต้องพิจารณาเรื่องดังกล่าวอย่างรอบด้าน ประเด็นเกี่ยวกับการกำกับดูแลสกุลเงินดิจิทัลจึงเป็นเรื่องที่ยังไม่ยุติและต้องติดตามกันต่อไป