วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

แนวคิดการกำกับดูแลสกุลเงินดิจิทัล

รูปแบบของเศรษกิจดิจิทัลที่เกิดขึ้นคือมีคนประดิษฐ์นวัตกรรมใหม่ขึ้นและสามารถเข้ามาแทนที่ธุรกิจดั้งเดิม หน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องยังคงสับสนหรือไม่มีนโยบายไม่ชัดเจนในเรื่องนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นในโลกการเงินจากการเกิดขึ้นของสกุลเงินดิจิทัล ในหลายปีที่ผ่านมาสกุลเงินดิจิทัลทั้งหมดมีมูลค่าอยู่ประมาณ 30,000 -400,000 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา และมีการเสนอขายสกุลเงินดังกล่าวครั้งแรกกับนักลงทุนจำนวนมาก กลุ่มกองทุนเสี่ยง นักเรียน และกลุ่มผู้เกษียณอายุได้ซื้อสกุลเงินดิจิทัลเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งได้สร้างความกังวลแก่หน่วยงานกำกับดูแลเพราะความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นค่อนข้างสูง มูลค่าของสกุลเงินสามารถขยับขึ้นสูงและลดลงอย่างรวดเร็วได้ อย่างเช่น กรณีของบิทคอย์ที่ลดจาก 20,000 เหรียญเป็น 9,000 เหรียญในช่วงเวลาไม่กี่วัน และมีเหตุการณ์ว่าบางสกุลถูกแฮกได้

ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นคือ หน่วยงานของรัฐบาลประเทศต่างๆ เริ่มพิจารณาเื่องดังกล่าวอย่างจริงจังเกี่ยวกับการออกกฎหมายกำกับดูแลการเงินรูปแบบใหม่ที่ยังไม่มีการกำกับดูแลมาก่อน องค์กรกำกับดูแลศึกษาพิจารณาในการจัดประเภทของรูปแบบหรือประเภทของการนำเสนอเงินออกมาขายครั้งแรกและเหรียญตราว่าเป็นหลักทรัพย์หรือไม่ และวิธีการจัดเก็บภาษี เป็นต้น องค์กรกำกับดูแลต้องการหยุดการใช้สกุลเงินดังกล่าวในทางที่มิชอบ เช่น การฟอกเงินหรือการสนับสนุนการก่อการร้าย สิ่งที่กังวลคือวิธีการคุ้มครองนักลงทุนที่ถือสกุลเงินดังกล่าวจากความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น แต่ที่ผ่านมายังคงไม่มีแนวทางที่ชัดเจนโดยไม่มีการกำกับดูแลที่เข้มงวด ในเดือนเมษายน 2018 องค์กรกำกับดูแลพฤติกรรมทางการเงินของสหราชอาณาจักรได้ออกประกาศเตือนบริษัทที่ให้บริการที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์สกุลเงินดิจิทัลว่าต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแล ต่อมาในวันที่ 10 เมษายน 2018 กระทรวงการคลังของไต้หวันได้วางนโยบายการกำกับดูแลสกุลเงินดิจิทัลเพื่อป้องกันการฟอกเงิน และ 17 เมษายน 2018 สำนักงานอัยการของมลรัฐนิวยอร์คของสหรัฐอเมริกาได้สอบถามธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตราดิจิทัล 13 แห่งเพื่อขอข้อมูลในการทำธุรกิจ ความขัดแย้งผลประโยชน์ และการคุ้มครองผู้บริโภค

องค์กรกำกับดูแลและธนาคารชาติของกลุ่มประเทศ G200  ประชุมกันในประเทศอาร์เจนติน่าในเดือนมีนาคม เพื่อร่วมกันพิจารณาเรื่องสกุลเงินดิจิทัล และได้บทสรุปในเบื้องต้นว่าปัจจุบันสกุลเงินดิจิทัลยังมีปริมาณหรือสัดส่วนที่ไม่มากนักที่จะมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ แต่ก็เห็นว่าควรมีการขยายมาตรฐานเพื่อให้สถาบันทางการเงินปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ เช่น กฎรู้จักลูกค้าตนเอง (know-your-customer) และกระบวนการในการติดตามตรวจสอบธุรกรรมกที่ผิดปกติในสกุลเงินดิจิทัลเพื่อลดการใช้งานที่มิชอบด้วยกฎหมาย เมื่อสกุลเงินบิทคอย์ได้เข้าสู่ตลาดสร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชนเพราะช่วยในเรื่องการปกปิดตนเอง การซื้อขายอย่างผิดกฎหมายในตลาดมือ เช่น ดาร์กเว็บ และเป็นสกุลเงินที่นิยมใช้ในการชำระค่าไถ่บนออนไลน์

หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายหลายหน่วยงานมองว่าเนื่องคุณลักษณะที่สำคัญของสกุลเงินดิจิทัลในปัจจุบันคือความสามารถในการปกปิดตัวตนจึงเป็นที่นิยมใช้งานของบรรดาอาชญากร แต่การใช้งานผิดกฎหมายดังกล่าวก็ยังมีข้อจำกัดในการฟอกเงินบางประเภท โดยอาชญากรมักต้องการหมุนเวียนหรือแลกเปลี่ยนเงินที่ได้มาโดยมิชอบด้วยกฎหมายให้เป็นเงินสกุลดิจิทัลเพื่อฟอกให้กลายเป็นเงินสดเพื่อมิให้สามารถหน่วยงานรัฐติดตามได้ ในหลายประเทศ อาทิ ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ กำกับดูแลแพลทฟอร์มของสกุลเงินดังกล่าวในการแลกเปลี่ยนจากเงินดิจิทัลเป็นเงินทั่วไป สำหรับสหภาพยุโรปได้ออกข้อกำหนดการป้องกันการฟอกเงินที่ผ่านโดยสภายุโรปในวันที่ 19 เมษายน 2018 ที่วางมาตรการกำกับดูแลการแลกเปลี่ยนเช่นเดียวกัน  อย่างไรก็ตามประเทศส่วนใหญ่ยังคงไม่มีท่าทีหรือนโยบายที่ชัดเจนในเรื่องนี้

ด้วยนโยบายดังกล่าวธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลดิจิทัลหลายบริษัทได้ปฏิบัติตามนโยบายรู้จักลูกค้าตนเองด้วยการสอบถามลูกค้าให้แสดงตัวตนในการทำธุรกรรม การไม่ยอมรับสกุลเงินที่มีนโยบายสิทธิส่วนตัวสูงกว่ามาตรฐาน หรือการใช้ซอฟแวร์ที่ติดตามตรวจสอบธุรกรรมที่ผิดปกติ เป็นต้น แนวปฏิบัติดังกล่าวช่วยให้การแลกเปลี่ยนเงินตราเข้าสู่ระบบธนาคารมีความเช้มงวดมากขึ้น หลายบริษัทเลือกที่ประเทศหรือสถาบันการเงินที่ไม่ยุ่งยาก เพราะธนาคารโดยทั่วไปจะไม่ให้บริการ ผู้ให้ยืมเงินมักกังวลความเสี่ยงทางเครดิตและการลดอาชญากรรมหากการแลกเปลี่ยนไม่มีการตรวจสอบผู้ใช้บริการ ผู้สนับสนุนนโยบายกำกับดูแลดังกล่าวเชื่อว่าการปฏิบัติตามนโยบายนี้จะช่วยทำให้การแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลดิจิทัลมีความเสี่ยงลดลงและธนาคารจะเข้ามาให้บริการเหล่านี้มากขึ้นด้วยกฎระเบียบที่ชัดเจนและโปร่งใส ซึ่งจะทำให้ง่ายในการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรา องค์กรกำกับดูแลไม่เห็นด้วยในประเด็นการคุ้มครองผู้บริโภค เนื่องจากการปกป้องนักลงทุนจากความเสี่ยงดังกล่าวซึ่งเป้นหน้าที่ของนักลงทุนเองที่ต้องยอมรับความเสี่ยงตนเอง แต่บางคนเห็นว่านักลงทุนควรมีอิสระในการเลทือความเสี่ยง ในบางประเทศเลือกแนวทางออกใบอนุญาตแก่ธุรกิจเงินดิจิทัล เช่น ฝรั่งเศส  แต่เป็นระบบใบอนุญาตแบบสมัครใจ

บริษัท CryptoUK ที่เป็นบริษัทให้บริการสกุลเงินดิจิทัลใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักรได้นำเสนอแนวคิดว่าการอนุญาตให้นำเสนอขายสกุลเงินดิจิทัลในสหราชอาณาจักรจะช่วยธุรกิจที่ชอบด้วยกฎหมายสามารถเข้าถึงบริการและนวัตกรรมการเงินที่ทันสมัยและสะดวกขึ้น บริษัทที่ประกอบธุรกิจสกุลดิจิทัลเองก็ไม่ต้องการให้้มีอาชญากรเข้าใช้งานบนแพลทฟอร์มของตนเองพราะทำให้ชื่อเสียงของตนเองเสียหาย และยังเห็นว่าหน่วยงานรัฐที่จัดเก็ยภาษีวิตกกังวลมากเกินไปในเรื่องการจัดเก็บภาษีสกุลเงินดิจิทัลที่เป็นธุรกิจที่อาจมีกำไรมหาศาลและต้องการจัดเก็ยภาษีส่วนเพิ่มจากกำไรทุนดังกล่าว

นอกจากนี้ หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายเชื่อว่าองค์กรอาชญากรรมอาจใช้สกุลเงินดิจิทัลเป็นเงินที่สำรองหรือหลบซ่อนไว้ เพราะระบบเทคโนโลยีของเงินสกุลดิจิทัลมีความน่าเชื่อถือที่สามารถหลบหลีกและตรวจสอบได้ยากความเป็นเจ้าของได้ ประกอบปัจจุบันสามารถแลกเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่ายขึ้น และการแลกเปลี่ยนเงินสดส่วนใหญ่ที่ทำผ่านตลาดมืดทำได้ยากขึ้น หลายประเทศมีการศึกษาเพื่อหาแนวทางในการกำหนดนิยามของเงินดิจิทัลและการกำกับดูแล โดยเฉพาะการจัดเก็บภาษีการแลกเปลี่ยนสกุลดิจิทัล ตัวอย่างเช่น ในเดือนกุมภาพันธ์ 2018 ในประเทศสหรัฐอเมริกา บริษัททำธุรกรรมสกุลเงินคอย์เบส (coinbase) ได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่สั่งให้บริษัทเปิดเผยเอกสารแสดงตัวตนของลูกค้า จำนวน 13,000 คนต่อกรมสรรพากร เพื่อกรมสรรพากรจะได้ดำเนินการประเมินภาษี แต่ศาลอุทธารณ์ได้ยกคำร้องดังกล่าว และจากรายงานของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายพบว่าบริษัทที่ประกอบธุรกิจสกุลเงินดิจิทัลได้ย้ายสำนักงานหนีไปให้บริการในประเทศอื่นเพื่อหลบหลีกภาษีและการบังคับใช้กฎหมายที่เข้างวดขึ้น

อย่างไรก็ตาม นักวิชาการทางการเงินสรุปว่าหลายประเทศยังคงเข้าใจผิดว่าวิธีการที่ดีที่สุดในการจัดการเรื่องนี้คือการห้ามการให้บริการหรือปิดกิจการดังกล่าวเสียเพราะกังวลว่าเป็นธุรกิจที่ผิดกฎหมายและอาจก่อให้เกิดปัญหากับระบบการเงินและเป็นช่องทางการฟอกเงิน รวมทั้งการหลอกหลวงในการซื้อขาย ตัวอย่างเช่น ในประเทศจีนได้ออกกฎหมายห้ามการนำเสนอสกุลเงินดิจิทัลออกจำหน่ายในประเทศและการแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัล แต่ต้องไม่ลืมว่าประเทศอื่นไม่ได้มีนโยบายที่เข้มงวดเช่นนั้น การดำเนินนโยบายดังกล่าวต้องมีการกำกับดุแลอินเทอร์เน็ตที่เข้างวดมาก จึงยากที่จะปฏิบัติได้ในประเทศอื่น หลายประเทศเห็นว่าอินเทอร์เน็ตและบริการใหม่มีประโยชน์มากกว่าต้นทุนและผลเสีย จึงต้องพิจารณาเรื่องดังกล่าวอย่างรอบด้าน ประเด็นเกี่ยวกับการกำกับดูแลสกุลเงินดิจิทัลจึงเป็นเรื่องที่ยังไม่ยุติและต้องติดตามกันต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น