วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

สงครามสารสนเทศ

สงครามสารสนเทศ (Information War) หรือ “สงครามสารสนเทศ” ซึ่งบางท่านเรียกว่า “สงครามข่าวสาร” ซึ่งอาจเรียกว่า “Cyber War” หรือ “Net War”  สงครามสารสนเทศนี้เป็นคำที่มีการใช้กันมาไม่นานและเริ่มมีการยอมรับว่าเป็นคุณลักษณะหนึ่งที่ใหม่ล่าสุดของการสงคราม โดยถือเป็นรูปแแบบใหม่ของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นบนโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศของโลกยุคดิจิทัล  กล่าวคือสงครามสารสนเทศเป็นแนวคิดที่เกี่ยวกับยุทธวิธีการสู้รบและการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อให้ได้เปรียบในการต่อสู้ ดังนั้น สงครามสารสนเทศจึงอาจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลทางยุทธวิธี การตรวจสอบความถูกต้องของสารสนเทศ การเผยแพร่ข้อมูลโฆษณาชวนเชื่อหรือการให้ข่าวปลอมเพื่อลดขวัญกำลังใจและปั่นหัวศัตรูและประชาชน การบ่อนทำลายคุณภาพของสารสนเทศของกองกำลังศัตรู และการปกปิดข่าวสารจากศัตรู สงครามสารสนเทศจึงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสงครามจิตวิทยาในบางแง่มุม

ที่ผ่านมากองกำลังทหารของสหรัฐอเมริกาให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีและมีแนวโน้มที่จะขยายขอบเขตไปเป็นสงครามอิเล็กทรอนิกส์ สงครามไซเบอร์ และปฏิบัติการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ในประเทศอื่อๆ มักใช้คำที่กว้างกว่า โดยเรียกว่าปฏิบัติการสารสนเทศ (Information Operation) ผ่านยุทธวิธีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ให้ความสำคัญกับการใช้สารสนเทศของคน และการวิเคราะหืสังคมสื่อออนไลน์ การวิเคราะหืการตัดสินใจของมนุษย์ในการสั่งการและควบคุม แต่ในสหรับอเมริการถือว่าปฏิบัติการสารสนเทศเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสงครามสารสนเทศเท่านั้น

สงครามสารสนเทศสามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ อาทิ
- การรบกวนการส่งสัญญาณวิทยุ โทรทัศน์และอินเทอร์เน็ต 
- การรบกวนหรือยึดการส่งสัญญาณวิทยุ โทรทัศน์และอินเทอร์เน็ต เพื่อรณรงค์หรือส่งข่าวสารปลอมแทน
- การทำลายหรือขัดขวางโครงข่ายโลจิติกส์ 
- การทำลายหรือรบกวนการทำงานโครงข่ายสื่อสารของศัตรู 
- การบ่อนทำลายธุรกรรมตลาดหลักทรัพย์หรือการเงินไม่ว่าจะด้วยวิธีการแทรกแซงทางอิเล็กทรอนิกส์หรือปล่อยข่าวที่อ่อนไหวหรือใช้ข่าวปลอมเพื่อสร้างความปั่นป่วน
- การใช้โดรนหรือหุ่นยนต์สอดแนม
- การบริหารจัดการการสื่อสาร 
อนึ่ง สงครามสารสนเทศในแง่หนึ่งมีมานานแล้วในอดีต โดยถือเป็นการโจมตีที่จุดศีรษะของศัตรู การหลอกลวงทุกประเภท และการปฏิบัติการเชิงจิตวิทยา ตัวอย่างเช่น กองทัพอากาศของสหรัฐอเมริกามักใช้เครื่องบินรบเข้าโจมตีเป้าหมายคือระบบการสื่อสารของศัตรู หรือทำให้ระบบดังกล่าวไม่สามารถทำงานได้ในระยะไกลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อได้เปรียบในการสู้รบ ซึ่งประสบความสำเร็จในสงครามอ่าวในครั้งที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม โดยหลักการแล้วสงครามสารสนเทศไม่ได้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารนเทศเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับผู้คน ทั้งบุคลากรทางทหารและบุคคลทั่วไปด้วย

ปัจจัยที่ทำให้สงครามสารสนเทศได้รับความนิยมในปัจจุบันเพราะ ประการแรก ต้นทุนการเข้าสู่สงครามต่ำหากเปรียบเทียบกับเทคโนโลยีอาวุธสงครามดั้งเดิม การพัฒนาเทคนิคสารสนเทศไม่จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรบุคคลและเงินจำนวนมาก ทรัพยากรที่จำเป็นมีเพียงผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการเข้าใช้ระบบเครื่อข่ายหรืออินเทอร์เน็ตเท่านั้น ประการที่สองไม่มีความชัดเจนในเรื่องเขตแดน การดำเนินการสามารถดำเนินการได้ ณ ที่ใดประเทสใดก็ได้ ไม่จำเป้นต้องมีการเข้าไปยังประเทศศัตรูหรือประเทสเป้าหมาย และบ่ยครั้งยากจะแบ่งแยกได้ว้าเป้นการกระทำของรัฐหรืออาชญากรหรือผลประโยชน์ส่วนบุคคล ประการที่สาม ด้วยเทคโนดลยีในปัจจุบันทำให้ขยายบทบาทของการจัดการสารสนเทศได้กว้างขาวงเพิ่มมากขึ้น กล่าวคือสามารถช่วยให้มีการหลอกลวงหรือสร้างความสับสนและก่อกวนข่าวสารได้ง่ายขึ้น ประการที่สี่ เป็นการท้าทายการทำงานของหน่วยข่าวกรอง เพราะหน่วยข่าวกรองยังขาดความรู้ทางด้านนี้ทำให้การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลขาดประสิทธิภาพเนื่องจากเป็นเทคนิคใหม่ ประการที่ห้า ปัจจุบันนี้ประเทศส่วนใหญ่ยังขาดระบบเตือนภัยที่เพียงพอในการโจมตีด้วยสงครามสารสนเทศและขาดแผนในการรับมือที่มีประสิทธิภาพ 
ในปัจจุบันการสงครามอิเล็กทรอนิกส์ถือว่าเป็นรูปแบบที่สำคัญ  การทำงานโดยอัตโนมัติของศูนย์ควบคุมกลางได้ทำให้เป็นเป้าหมายสำคัญในการโจมตีด้วยการใช้มัลแวร์ หากสังคมพัฒนาในหลากหลายมิติ ความสำคัญและความถี่ของการโจมตีของแฮกเกอร์ต่อระบบของพลเรือน สงครามข้อมูลสารสนเทศ และสงครามไซเบอร์ได้เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย สำหรับการปฏิบัติการทางจิตวิทยาอาจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากด้วยเช่นกัน

สงครามข้อมูลข่าวสารทำให้สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีศักยภาพในด้านนี้หรือไม่ ทหารสหรัฐอเมริกาได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีและระบบสารสนเทศมากกว่าประเทศอื่น แต่ก็เป้นจุดอ่อนหรือข้อด้อยด้วยเช่นกัน เนื่องจากระบบเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและหน่วยงานรัฐบาลโดยเฉพาะหน่วยงานความมั่นคงได้พึ่งพิงระบบสารสนเทศอย่างมาก ดังนั้น จึงกลายเป็นจุดอ่อนสำหรับการแฮกข้อมูลและสงครามไซเบอร์ วัฒนธรรมดังกล่าวอาจแพร่กระจายไปยังประเทศต่างๆ ด้วย

สงครามข้อมูลสารสนเทศได้มีกิจกรรมที่ไม่เท่าเทียมหลากหลาย แต่มีหลักการทั่วไปครอบคลุม โดยมีหลักการสามประการ
-  ระบบสารสนเทศของฝ่ายหนึ่งอาจดีกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง การมีระบบสารสนเทศเหนือกว่าไม่ได้ทำให้อีกฝ่ายไม่สามารถต่อสู้ได้ แม้ว่าระบบสารสนเทศที่เหนือกว่าสามารถสนับสนุนการปฏิบัติการทั่วไป แต่มีข้อยกเว้น เช่น การรบกวน การแข่งขันในการแบ่งปันสื่อ
-  การสร้างรูปของการสงครามข้อมูลสารสนเทศไม่ได้มีการดำเนินการจนกระทั่งพลทหารเข้าใจว่าวัตถุประสงค์ของชีวิตไม่ได้ต่อสู้กับศัตรูของฝั่งตรงข้าม
-  สงครามข้อมูลสารสนเทศมีความยากอย่างมากในการดำเนินการโดยความรู้ที่น่าเชื่อถือและแม่นยำของโครงสร้างอีกฝ่ายด้านหนึ่ง จากวิธีการที่ข่าวและข้อมูลสารสนเทศมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจและต่อโครงสร้างของการสั่งการของราชการ และมีผลต่อโครงสร้างพื้นฐานสื่อสารของประเทศและรายละเอียดซอฟแวร์ระบบสารสนเทศของประเทศ

จากที่กล่าวมาแล้วข้างจ้น หลายคนอาจมองว่าสงครามสารสนเทศไม่ได้แตกต่างจากสงครามดั้งเดิมทั่วไป แต่ที่จริงแล้วสงครามสารสนเทศเกี่ยวข้องกับกับยุทธศาสตร์และเทคนิคการสงครามที่หลากหลายมากขึ้น หน่วยงานด้านความมั่นคงควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ให้มากขึ้นและมีแผนในการรับมือให้ดีเพราะสงครามสารสนเทศจะกลายเป็นแนวรบในอนาคตและจะพบเห็นมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น