วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2561

การก่อการร้ายทางไซเบอร์กับดาร์กเน็ต

ในช่วงที่ผ่านมาผู้ก่อการร้ายและผู้กระทำการที่ไม่ใช่รัฐได้ใช้รูปแบบและสื่อที่หลากหลายในการส่งข้อมูลหรือสื่อสารกับเพื่อนร่วมขบวนการ การเกิดของอินเทอร์เน็ตได้ให้โอกาสกับกลุ่มดังกล่าวในการสร้างระบบสื่อสารและเชื่อมโยงในการปฏิบัติการอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เริ่มต้นจากเว็บไซต์ กลุ่มผู้ก่อการร้ายได้เปลี่ยนวิธีการสื่อสารผ่านระบบสื่อสารแบบตอบโต้กันได้บนอินเทอร์เน็ต เช่น ห้องแซ็ท หรือระบบแพทฟอร์มโซเชียวมีเดีย เช่น เฟสบุ๊ค หรือทวิทเตอร์ ซึ่งได้ปฏิวัติการสื่อสารของผู้ก่อการร้ายหรือผู้ต่อต้านในการสื่อสารระหว่างกัน การคัดเลือกคนเข้ากลุ่มหรือร่วมอุดมการณ์ ผู้สนับสนุน และการโฆษณาชวนเชื่อ

รัฐอิสลามได้นิยมใช้โซเชียวมีเดียในการสื่อสาร และส่งผลให้บริษัทผู้ประกอบการโซเชียวมีเดียได้รับคำสั่งให้บล๊อกหรือระงับการให้บริการที่เชื่อมโยงกับกลุ่มรัฐอิสลาม ต้นทุนของนโยบายดังกล่าวคือกลุ่มผู้สนับสนุน ผู้เห็นอกเห็นใจ และสมาชิกของกลุ่มรัฐอิสลามได้หันไปใช้บริการเว็บพันลึก (deep web) และดาร์กเน็ต (darknet)

แล้วอะไรคิอเว็บพันลึก (deep web) และดาร์กเน็ต (darknet) ? ทั้งสองคำเป็นสิ่งที่ใช้แทนกันได้ แต่ที่จริงมีความหมายที่แตกต่างกันในบางบริบท เว็บพันลึกหมายความรวมถึงเว็บไซต์ทั้งหมดที่เสิร์ชเอนจิน (Search Engine) หรือ โปรแกรมค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต เช่น กูเกิ้ล หรือบิง ไม่สามารถค้นหาได้ หรือเป็นกรณีที่เว็บไซต์ดังกล่าวไม่ได้ถูกจัดไว้ในระเบียนของกูเกิ้ลก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเว็บพันลึก เว็บไซต์มั่วไปที่กูเกิ้ลสามารถค้นหาเจอและมีการจัดระเบียนไว้ โดยอนุญาตให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงได้ นอกจากนี้ เว็บพันลึกอาจหมายความรวมถึงหน้าเว็บไซต์ที่ต้องมีการเข้าถึงโดยต้องใส่รหัสและเว็บบริการอีเมล์ บัญชีเฟสบุ๊คส่วนบุคคล ฐานข้อมูลผู้ใช้ส่วนตัวที่มีกำแพงเข้ารหัสไว้ดังนั้น อินเทอร์เน็ตที่เรารู้จักและเข้าถึงจึงเป้นเพียงบางส่วนของฐานข้อมูลทั้งหมดที่มีบนโลก มีกล่าวกล่าวว่าข้อมูลที่เสิรซ์เอ็นจินอย่างกูเกิ้ล ยาฮู หรือ บิง สามารถเข้าถึงได้มีเพียง 0.03% ของโลกอินเทอร์เน็ตเท่านั้น จึงมีการเปรียบเทียบว่าเว็บพันลึกเป็นเสมือนภูเขานำ้แข็งที่อยู่ใต้น้ำ ส่วนที่อยู่เหนือผิวน้ำมีขนาดเพียงนิดเดียวถ้าเปรียบเทียบกับส่วนที่อยู่ใต้น้ำ

ส่วนดาร์กเน็ตเป็นส่วนหนึ่งของเว็บพันลึก แต่มีความแตกต่าง กล่าวคือเราสามารถเข้าถึงเว็บพันลึกได้ทุกวันเพื่อเข้าดูข้อมูลอีเมล ตรวจสอบบัญชีธนาคารออนไลน์หรือเข้าไปใช้งานเฟสบุ๊ค แต่บุคคลทั่วไปไม่สามารถเข้าถึงดาร์กเน็ตผ่านทางโปรแกรมเบราว์เซอร์ทั่วไป การเข้าถึงดาร์กเน็ตต้องใช้โปรแกรมเฉพาะ เพราะการเข้าถึงเว็บที่ถูกซ่อนจำเป้นต้องใช้การเข้ารหัสแบบพิเศษเพื่อให้เข้าถึงได้ เว็บจำนวนมากในเว็บพันลึกใช้ขื่อโดเมนที่ลงท้ายด้วย .onion เพื่อใช้การเข้ารหัสแบบพิเศษที่ Tor Browser เท่านั้นที่เข้าได้ ซึ่ง Tor เป็นโครงการที่ริเริ่มโดยกองทัพสหรัฐอเมริกาเพื่อให้ความปลอดภัยกับนักเคลื่อนไหวทางการเมือง และได้รับการสนับสนุนและพัฒนาจากหลายหน่วยงานตั้งแต่ กูเกิ้ล กระทรวงกลาโหม รัฐบาลหลายประเทศเพื่อให้อินเทอร์มีพื้นที่ที่ปลอดภัยสำหรับผู้ใช้งานบางประเภทมากขึ้นไม่ได้มีการเปิดกว้างต่อสาธารณะเป็นการทั่วไปตามหลักการของอินเทอร์เน็ตที่เปิดกว้าง เบราว์เซอร์ทั่วไป เช่น Chrome, Internet Explorer และ Firefox ไม่สามารถเข้าถึง .onion ได้

แล้วในเว็บพันลึกมีอะไรบ้าง คำตอบคือมีแทบทุกอย่างตั้งแต่ข้อมูลวิชาการ ข้อมูลทางการแพทย์ เอกสารทางการเงิน ข้อมูลรัฐบาล ข้อมูลผิดกฎหมายหรือต้องห้ามต่างๆ มีกิจกรรมที่ซื้อขายสิ่งของผิดกฎหมายตั้งแต่ ยาเสพติด ทรัพย์สินทางปัญญา การค้ามนุษย์ ข้อมูลบัตรเครดิต เป็นต้น

ขบวนการรัฐอิสลามกับดาร์กเน็ต
การใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบปกปิดตัวตนได้ในดาร์กเน็ตไม่ได้หมายความว่าจะทำให้ดาร์กเน็ตกลายเป็นสถานที่อันตราย บุคคลโดยทั่วไป โดยเฉพาะนักข่าวสามารถใช้ดาร์กเน็ตเป้นช่องทางหาข่าวหรือสื่อสารแบบปิดบังตนเองจากการสอดส่องของรัฐบาลหรือกลุ่มอิทธิพล เพราะ Tor สามารถปกปิดตัวตนของผู้ใช้งานและปกป้องสิทธิส่วนตัวได้ แต่การกระทำที่ผิดกฎหมายก็สามารถเกิดขึ้นได้บนระบบเครือข่ายดาร์กเน็ตเพราะผู้ใช้งานสามารถปกปิดตัวตนได้ ดังนั้น ดาร์กเน็ตจึงเปิดโอกาสให้อาชญากร ผู้เล่าที่ไม่ใช่รัฐ และผู้ก่อการร้ายสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการหลบหลีกจากการสอดแนมและติดตามของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายและรัฐบาล ตัวอย่างเช่น เว็บชื่อ 'Silk Road' ให้บริการในลักษณะเดียวกับเว็บไซต์อเมซอนดอทคอมสำหรับกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย เช่น การขายยาเสพติด อาวุธ หนังสือเดินทางปลอม หมายเลขบัตรเครดิต หรือ การว่าจ้างให้กระทำผิดกฎหมาย เป้นต้น อาชญากรสามารถติดต่อสื่อสารบนเครือข่ายดาร์กเน็ตได้อย่างสะดวกและปลอดภัยเนื่องจากไม่มีใครสามารถระบุตัวตนได้ เจ้าของเว็บ Silk Road ชื่อนาย Ulbricht ถูกจับโดยเจ้าหน้าที่ FBI ในปี 2013

สำหรับขบวนการรัฐอิสลามและแฮกเกอร์นั้น ตลาดที่น่าสนใจในดาร์กเน็ตคือเครื่องมือแฮก ทั้งขบวนการรัฐอิสลามและ United Cyber Caliphate ได้ดำเนินการโจมตีทางไซเบอร์ต่อระบบคอมพิวเตอร์หน่วยงานรัฐหลายครั้งในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมาในรูปของการปิดเว็บไซต์หรือเจาะเข้าบัญชีทวิทเตอร์หรือเฟสบุ๊ค เครื่องมือแฮกและอุปกรณ์สำหรับมัลแวร์ เช่น Keyloggers และ Remote Access Trojans (RAT) มีให้บริการอยู่บนดาร์กเน็ตและง่ายต่อการนำไปใช้งานโดยผู้ก่อการร้ายและแฮกเกอร์

Keylogger คือโปรแกรมที่สามารถจดจำคีย?ที่ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้พิมพ์บน keyboard ในช่วงเวลาที่ใช่้งานบนอินเทอร์เน็ตหรือเล่นเกมส์ แล้วโปรแกรมดังกล่าวจะจัดเก็บชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านทั้งหมดไว้ แล้วจะส่งกลับไปยังผู้ที่ฝังโปรแกรมไว้ โดยอาจจะส่งกลับทางอีเมลหรือ ftp ก็ได้ ดังนั้น Keylogger ในปัจจุบันก่อให้เกิดปัญหาเพราะเป็นอันตรายต่อข้อมูลของผู้ใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะข้อมูลระบุตัวตนและข้อมูลทางการเงินอื่นๆ ส่วน Remote Access Trojan (RAT) หรือ Backdoor เป็นโปรแกรมไวรัสโทรจันที่สามารถเปิดช่องทางให้ผู้ไม่หวังดีสามารถเข้ามาควบคุมคอมพิวเตอร์ได้จากระยะไกล โปรแกรมทั้งสองประเภทสามารถใช้งนการโจรกรรมข้อมูลลับและข้อมูลส่วนตัว แม้ว่าขบวนการรัฐอิสลามได้พยายามกระจายเครื่องมือดังกล่าวให้แก่บรรดากลุ่มทหารไซเบอร์ของตนเพื่อใช้ในการแฮกหรือโจมตีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานรัฐ ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ของรัฐบาลสหรัฐหลายแห่งในรัฐโอไฮโอถูกแฮก โดยผู้ก่อเหตุได้ทิ้งข้อความไว้บนหน้าเว็บไซต์ที่มีใจความต่อต้านรัฐบาลสหรัฐ และสนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายรัฐอิสลาม (IS) ข้อความบนหน้าเว็บไซต์ระบุว่า "โดนัลด์ ทรัมป์ และชาวอเมริกันจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้นในประเทศมุสลิม" โดยทิ้งฉากหลังไว้เป็นสีดำทั้งหมด และลงท้ายไว้ว่าเป็นการแฮกโดยทีมงานที่มีชื่อว่า "System Dz" ทั้งนี้ ปัจจุบันนี้ขบวนการรัฐอิสลามมีความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมและปรับใช้เครื่องมือดังกล่าวเป็นอย่างดี เมื่อหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายพยายามตรวจสอบความเคลื่อนไหวบนโซเซียวมีเดีย สมาชิกของรัฐอิสลาม ผู้สนับสนุน และกลุ่มผู้ให้เห็นใจได้หันมาใช้โปรแกรมบนอุปกรณ์มือถือมากขึ้น เช่น โปรแกรม WhatsApp และ Telegram โปรแกรมดังกล่าวได้รับความนิยทมากขึ้นในหมู่ผู้ก่อการร้ายเพราะมีการเข้ารหัสที่มีความปลอดภัยสูงจากต้นทางและปลายทางเพื่อป้องกันการสอดแนมของรัฐบาล ปัจจุบันนี้ห้องสนทนาบนเว็บพันลึกของกลุ่มรัฐอิสลามได้ย้ายไปใช้บราว์เซอร์ Tor และหยุดการใช้บริการโครงข่ายส่วนบุคคลเสมือนหรือ VPN เพราะมีความปลอดภัยมากกว่า การส่งผ่านเครื่องมือแฮกได้แพร่กระจายไปทั่วเพื่อขยายขีด
ความสามารถของขบวนการแนวนโยบาย

การโจมตีในเดือนกันยายนปี 2011 ถือเป็นการโจมตีโดยผู้ก่อการร้ายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการรักษาความปลอดภัยทั่วทั้งโลก ก่อนหน้านั้น สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำโลกและไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่าจะถูกท้าทายและถูกโจมตีในบ้านตนเอง รัฐบาลสหรัฐอเมริกาจึงได้ยกระดับมาตรการป้องกันและรักษาความปลอดภัยขึ้นอย่างมากนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ในเวลาต่อมาสหรัฐอเมริกาต้องเผชิญกับวิกฤตการรั่วไหลของข้อมูลลับ wikileak และการเปิดโปงโครงการสอดแนมข้อมูลของสโนว์เด็น ทำให้เห็นว่านโยบายการรักษาความปลอดภัยของสหรัฐอเมริกาต้องหันมาให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์มากขึ้น ไม่ใช่เฉพาะความปลอดภัยทางกายภาพเท่านั้น

ขบวนการรัฐอิสลามไม่ได้มีขีดความสามารถในการโจมตีโครงสร้างพื้นฐาน แต่ก็สามารถขโมยข้อมูลสารสนเทศ การแฮกระบบ และโจมตีเพื่อให้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ล่มเท่านั้น แต่ก้สามารถสร้างความเสียหายให้กับรัฐบาลได้ไม่น้อยไปกว่าการโจมตีทางกายภาพ ดังนั้น ขบวนการรัฐอิสลามจึงหันมาใช้ยุทธการทางไซเบอร์แทนโดยการพัฒนาและบ่มเพาะนักรบไซเบอร์เพื่อปฏิบัติการโจมตีแบบกองโจรโดยเฉพาะในโลกยุคปัจจุบันที่ทุกอย่างเชื่อมต่อเข้าด้วยกันทางอินเทอร์เน็ต รัฐบาลของประเทศต่างๆจึงเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการป้องกันและรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์มากขึ้น


วันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2561

เศรษฐกิจความคิด

ในปี 1994 ศาสตร์จารย์บาร์โลว์แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดได้เขียนบทความเรื่องเศรษฐกิจความคิดไว้ (economy of ideas)  ในวารสาร wired ปี ค.ศ. 1994 โดยระบุปัญหาของทรัพย์สินดิจิทัลไว้ กล่าวคือหัวใจสำคัญของประเด็นนี้คือ หากทรัพย์สินของเราสามารถผลิตซ้ำได้อย่างไม่มีวันหมดและสามารถกระจายไปทั่วโลกโดยปราศจากต้นทุนและไม่ตจำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของ ไม่มีแม้กระทั่งความสามารถในการครอบครอง แล้วอะไรคือวิธีการที่จะปกป้องทรัพย์สินดิจิทัลเหล่านั้น? วิธีการใดที่จะได้รับผลตอบแทนตากงานที่เราสร้างสรรค์หรือประดิษฐ์ขึ้น? ศาสตราจารย์บาร์โลว์ได้นำเสนอข้อโต้แย้งว่ากฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่มีทางที่จะตอบโจทย์ดังกล่าวหรือตอบสนองความจำเป็นในยุคดิจิทัลได้อย่างเพียงพอ กฎหมายดังกล่าวไม่ยอมรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นของยุคดิจิทัลว่ากฎหมายและมาตรการที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่สามารถปรับใช้กับทรัพย์สินดิจิทัลได้อย่างเพียงพอและมีประสิทธิผล ผู้กำหนดนโยบายควรคิดใหม่เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว เมื่อความคิดกลายมาเป็นทรัพย์สินได้ ประเด็นปัญหาต่างๆก็ตามมา

แหล่งที่มาของปัญหาของกฎหมายปัจจุบันคือมันถูกออกแบบสำหรับสังคมที่ข้อมูลสารสนเทศได้ถูกแพร่กระจายผ่านทางวัตถุที่มีกายภาพเป็นหลัก เช่น หนังสือ หรืออุปกรณ์ หากบุคคลหนึ่งไม่ได้รับค่าตอบแทนจากความคิดของเขา แต่ความสามารถส่งหรือกระจายความคิดได้รับค่าตอบแทนในทางความเป็นจริง คุณค่าจะไปอยู่ที่การส่งหรือกระจายไม่ใช่ไปอยู่ที่ความคิดที่ส่งหรือกระจาย ดังนั้น สินค้าในยุคสารสนเทศเป็นทรัพย์สินที่ไม่มีอยู่จริงหรือความคิดทำให้ระบบกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่มีประสิทธิผล ความพยายามในการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่มีประสิทธิผลอย่างเข้มข้นอาจคุมคามต่อสิทธิเสรีภาพอื่นๆหรือเกิดผลเสียมากกว่า กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ศาสตราจารย์บาร์โลว์ไม่ได้กังวลว่าความคิดจะกลายเป็นทรัพย์สินทางปัญญา แต่เสรีภาพในการแสดงออกจะถูกลิดรอนเนื่องจากการบังคับใช้กฎหมาย แนวคิดเรื่องทรัพย์สินและความเป็นเจ้าของได้เรียกร้องแนวทางใหม่ในการคิดเกี่ยวกับวิธีการที่จะปกป้องสิ่งเหล่านั้นและการปกป้องแบบใหม่ต้องพึงพิงจริยธรรมและเทคโนโลยีมากกว่ากฎหมาย 
ศาสตราจารย์บาร์โลว์ยังกล่าวต่อไปอีกว่าสิ่งที่มีผลิตภาพมากที่สุดในการทำในขณะนี้คือการมองในความเป็นจริงของคุณลักษณะสิ่งที่เราต้องการปกป้อง นั้นก็คือข้อมูลสารสนเทศ ซึ่งมีสามประเด็นที่ต้องพิจารณา ดังนี้ ประการแรกคือกิจกรรม (information as an activity) เพราะข้อมูลสารสนเทศไม่มีสิ่งบรรจุมันไว้ สารสนเทศทำงานอย่างกับกิริยา ไม่ใช่นาม เพราะสารสนเทศใช้การดำเนินกระบวนการ เป็นเรื่องของประสบการณ์ไม่ใช้การเป้นเจ้าของสารสนเทศ การกระทำที่ใช้เวลามากกว่าทางกายภาพและใช้ประสบการณ์มากกว่าการเป็นเจ้าของ และสิ่งนั้นต้องเคลื่อนย้ายได้มิฉะนั้นจะหยุดปรากฎในฐานะสิ่งของ แต่มีศักยภาพและส่งผ่านได้ด้วยการประชาสัมพันธ์มากกว่าการแพร่กระจาย เพราะสิ่งนั้นสามารถโอนได้โดยการแย่งชิงความเป็นเจ้าของของเจ้าของเดิม

ประการที่สอง ข้อมูลสารสนเทศอยู่ในรูปของสิ่งมีชีวิต (information as life form) ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของศาสตราจารย์ริชาร์ด ดอร์กิ้นส์แห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์คที่ให้ตัวอย่างที่เป็นประโยชน์ว่าข้อมูลสารสนเทศต้องการความเป็นอิสระ เพราะสารสนเทศสามารถผลิตซ้ำตัวมันเองได้ เปลี่ยนแปลงได้ พัฒนาการเองได้ ขยายเพิ่มในที่ใหม่ได้ และสามารถปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมได้ สิ่งนั้นต้องมีการเปลี่ยนแปลงแต่ก็สามารถเสื่อมค่าได้ การเสื่อมค่าอย่างรวดเร็วทั้งด้านระยะเวลาและระยะทางจากแหล่งที่ผลิต

ประการที่สาม ข้อมูลสารสนเทศเป็นความสัมพันธ์ สิ่งนั้นจะมีคุณค่าด้วยวิธีการที่สร้างความหมายและการมีความหมายขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาและผู้รับเป็นสำคัญ ซึ่งแตกต่างจากสินค้ากายภาพเพราะข้อมูลสารสนเทศไม่ได้ทำงานอยู่บนหลักความขาดแคลน แต่ขึ้นอยู่กับหลักความคุ้นเคย สินค้าที่ไม่ใช่กายภาพจะเพิ่มคุณค่าหากสิ่งนั้นมีลักษณะความรับรู้ร่วมกันมากกว่า ข้อมูลสารสนเทศสามารถมีมูลค่าหากมีการผูกขาดแต่เพียงรายเดียว แต่ก็ขึ้นอยู่กับระยะเวลาด้วย มุมมองและอำนาจมีมูลค่าสำหรับกหารแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศ ระยะเวลามีความสำคัญมากกว่าพื้นที่ และข้อมูลสารสนเทศมีคุณค่าในตัวมันเองและดังนั้นสามารถแลกเปลี่ยนได้
เศรษฐกิจข้อมูลสารสนเทศโดยปราศวัตถุกายภาพจากอิงความสัมพันธ์มากกว่าความเป็นเจ้าของ การแลกเปลี่ยนการดำเนินการและบริการเป็นโมเดลในการแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศในยุคดจิทัล สำหรับผู้ให้บริการสารสนเทศนั้น การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในอนาคตจะต้องพึงพาความสามารถในการควบคุมความสัมพันธ์กับตลาด คุณค่าของความสัมพันธ์ดังกล่าวจะอยู่ในคุณภาพของการดำเนินการ ความพิืเศษของมุมมอง ความถูกต้องของความเชี่ยวชาญ และความเกี่ยวพันกับตลาด รวมทั้งขึ้นอยู่กับบริบทรอบๆตัว ความสามารถขอตลาดในการเข้าถึงบริการที่สร้างสรรค์อย่างรวดเร็ว สะดวกและสื่อสารได้สองทางเป็นสำคัญ

การพยากรณ์ของศาสตราจารย์บาร์โลว์ดังกล่าวเมื่อ 20 ปีที่แล้วน่าจะกลายเป็นจริง เช่น ในธุรกิจบันเทิงไ้ดมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจโมเดลในการแลกเปลี่ยนสินค้ากายภาพเป็นการแลกเปลี่ยนบริการแทน ปัจจุบันไม่มีการซื้อขายแผน DVD หรือการโดวโหนดไฟลดิจิทัล หากผู้บริโภคไม่ได้ต้องการจริงๆ ปัจจุบันผู้บริโภคยินยอมจ่ายค่าบริการอย่างเช่น Spotify หรือ Netflix ในการเข้าถึงเพลง ภาพยนต์หรือรายการทีวี เพื่อฟังเพลงหรือชมภาพยนต์ที่ต้องการ  ในยุคเศรษฐกิจสารสนเทศ การสมัครสมาชิกซอฟแวร์และบริการเป็นแนวทางที่ได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากสิ่งที่บรรจุสารสนเทศเดิมไม่สามารถคุ้มครองหรือปกป้องคุณค่าของสารสนเทศได้เหมือนเดิม การเข้ารหัสจะเป็นเทคนิคที่สำคัญสำหรับทรัพย์สินทางปัญญา
ศาสตราจารย์บาร์โลว์เชียนว่ายังไม่รู้ว่าะไรจะเกิดขึ้นในโลกของกฎหมาย แต่คุณลักษณะของคลื่นความก้าวหน้าของไซเบอร์สเปซที่ไม่มีกฎระเบียบควบคุมยังคงมีความเป็นธรรมอย่างในระดับหนึ่ง ไม่รู้ว่าวิธีการที่กฎหมายจะปรับตัวให้เหมาะสมสอดคล้องกับความจำเป็นในยุคดิจิทัล แต่ที่น่าสนใจคือในปี 1994 กฎหมายไม่มีประสิทธิภาพแน่ๆ เงื่อนไขในโลกยุคดิจิทัลแห่งความเป็นจริงยังคงเปลี่ยนแปลงในอัตราที่ไม่อาจยั่งรู้ได้และกฎหมายจะยังคงล้าหลังตลอด ที่สำคัญส่งผลให้เกิดความสับสนมากขึ้นไม่ว่าปัญหาเหล่านั้นจะแก้ไขหรือจัดการได้หรือไม่ก็ตาม  ปัญหาดังกล่าวยังคงมีให้เห็นเสมอ คำกล่าวของศาสจารย์บาร์โลว์เป็นจริงหรือไม่ ผู้อ่านคงตระหนักได้ว่าปัจจุบันกฎหมายได้จัดการปัญหาต่างๆ ที่ศาสตราจารย์บาร์โลว์พูดถึงไว้ได้มากน้อยเพียงใด และปัญหาใดยังคงหลงเหลืออยู่ที่ยังคงไม่ได้รับการแก้ไข

แนวทางการกำกับดูแลดิจิทัลแพทฟอร์มของสหภาพยุโรป

ปัจจุบันมีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางถึงความสำคัญของดิจิทัลแพทฟอร์ม เนื่องจากเป้นปรากฎการณ์ใหม่ที่มีประเด็นสลับซับซ้อนในยุคเศรษฐกิจใหม่ ประเด้นสำคัญที่มักมีการหยิบยกขึ้นมาโดยหน่วยงานของรัฐคือความจำเป็นต้องมีกฎหมายหรือแนวทางในการกำกับดูแลดิจิทัลแพทฟอร์ม สหภาพยุโรปได้ให้ความจริงจังกับประเด็นนี้และถือเป็นการริเริ่มที่กล้าหาญโดยการประชุมหารือจากหลายภาคส่วนจากประเทศสมาชิก กำหนดมุมมองและสถานะของประเทศสมาชิกในเรื่องดังกล่าวและการกำหนดนโยบายสำหรับการกำกับดูแลดิจิทัลแพทฟอร์ม

เป็นที่ยอมรับกันว่ายุคเศรษฐกิจดิจิทัลนั้น ดิจิทัลแพทฟอร์มมีบทบาทสำคัญอย่างมากในชีวิตประจำวันสำหรับการติดต่อสื่อสารแบบสองทางทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง เนื่องจากดิจิทัลแพทฟอร์มช่วยทำให้บุคคลมีทางเลือกในการสื่อสารแบบสองทางได้อย่างสะดวกสบายและง่ายดายกับบุคคลอื่นทั่วโลก ดิจิทัลแพทฟอร์มเป็นนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่มีส่วนอย่างมากในการเพิ่มการเติบโตของเศรษฐกิจโลก แต่ขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดปัญหาตามมาเช่นเดียวกันจากการก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

คำถามเริ่มต้นคือดิจิทัลแพทฟอร์มคืออะไร นิยามของดิจิทัลแพทฟอร์มไม่ชัดเจน คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปไม่ได้มีความเห็นฉันทามติในเรื่องนิยามที่ตรงกันทีเดียว แต่ถือว่ามีความสำคัญในการกำกับดูแล โดยคณะกรรมาธิการพิจารณาคุณลักษณะที่มีผลต่อดิจิทัลแพทฟอร์มเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมสำหรับเครื่องมือทางเทคโนโลยีนี้ ดิจิทัลแพทฟอร์มได้รับการพิจารณาว่าเป็นสื่อที่สามารถสื่อสารได้สองทางหรือหลายทางเมื่อผู้ใช้บริการได้เชื่อมต่อทางแพทฟอร์มของผู้ให้บริการเพื่ออำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือทรัพยากร ตัวอย่างเช่น อาลีบาบา อเมซอน อีเบย์ เฟสบุ๊ค และอูเบอร์ เป็นต้น

ปัจจุบัน สหภาพยุโรปยังไม่ได้มีกรอบกฎหมายและการกำกับดูแลดิจิทัลแพทฟอร์มเป็นการเฉพาะและอย่างเป็นเอกภาพ โดยหลักการแล้วดิจิทัลแพทฟรอ์มถูกกำกับดูแลภายใต้หลักเกณฑ์ด้านมาตรฐานและกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น มีการตกลงร่วมกันจากผู้ที่มีส่วนได้เสียในเรื่องดิจิทัลแพทฟอร์ม แม้ว่าจะเกิดข้อได้เปรียบในหลายเรื่องที่ก่อให้เกิดประเด็นที่น่าสงสัยหลายประการตามมา เช่น ความเสี่ยงที่เกี่ยวกับการตั้งราคาที่ไม่เป็นธรรม ผลกระทบของโครงข่าย การละเมิดสิทธิส่วนตัว และการเผยแพร่เนื้อหาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นต้น

ด้วยนโยบายและท่าทีกล่าวของสหภาพยุโรป จึงเกิดคำถามขึ้นว่า สหภาพยุโรปควรจะกำกับดูแลดิจิทัลแพทฟอร์มอย่างไร ควรจะกำกับดูแลหรือไม่ควรกำกับดูแลเป็นคำถามแรกที่มีการถกเถียงกันอย่างกว้างขาวงในหลากหลายเวที ฝ่ายที่เห็นด้วยกับการกำกับดูแลให้เหตุผลว่าตลาดดิจิทัลควรได้ถูกกำกับดูแลมากกว่าตลาดอานาล๊อก เนื่องจากการทำธุรกรรมบนพื้นฐานระบบอานาล๊อกใช้เงินสดซึ่งมีมาตรการที่เข้มงวดน้อยกกว่าการทำธุรกรรมบนระบบออนไลน์ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นในการบังคับใช้กฎหมายในระบบดิจิทัลที่เข้มงวดมากขึ้น และระบบดิจิทัลกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันที่เข้มข้นมากขึ้น บริษัทที่ให้บริการดิจิทัลแพทฟอร์มมีแรงจูงใจทางการเงินและการทำการตลาดมากพอที่ใช้ประโยชน์จากข้อมูลและสร้างคุณค่าของข้อมูลลูกค้ามากขึ้นด้วย ทำให้กฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันล้าสมัย ในอีกความเห็นหนึ่งที่ยังลังเลในการกำกับดูแลดิจิทัลแพทฟอร์มเห้นว่าควรจะมีการประเมินผลกระทบของดิจิทัลแพทฟอร์มก่อนจะตัดสินใจกำกับดูแล ซึ่งจำเป็นต้องมีการรวบรวมหลักฐานที่รัฐมีความกังวลซึ่งจะสามารถระบุประเภทของกฎหมายที่จะกำกับดูแลได้ และเห็นด้วยว่าควรมีกฎหมายเฉพาะในการกำกับดูแลดิจิทัลแพทฟอร์มที่อาจส่งผลร้ายเท่านั้น โดยให้เหตุผลว่าการแทรกแซงก่อนโดยไม่จำเป็นอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเติบโตนวัตกรรมในตลาดดิจิทัลได้ ตลาดดิจิทัลมีความสัมพันธ์ค่อนข้างสูงกับโมเดลธุรกิจใหม่ที่ไม่ควรมีการกำกับดุแลในระยะแรกเริ่ม และการกำกับดูแลควรพิจารณาเป็นรายประเภทของธุรกิจ

ตัวอย่างของนโยบายการกำกับดูแลในประเภทศสมาชิกของสหภาพยุโรป
เยอร์มันนี
ในเดือนมีนาคม 2017 กระทรวงกิจการเศรษฐกิจและพลังงานได้ออกหนังสือปกขาวเกี่ยวกับดิจิทัลแพทฟอร์ม ในเอกสารปกขาวดังกล่าวได้นำเสนอนโยบาย "ผลิตในยุโรป" (Made in Europe) และโดยเสนอว่าสหภาพยุโรปควรออกกฎกำกับดูแลเป็นการทั่วไปทั้วทั้งสหภาพยุโรป ไม่เห็นด้วยกับการออกนโยบายกำกับดูแลเป็นรายประเทศ รวมทั้งควรปรับปรุงแก้ไขกฎหมายแข่งขันทางการค้าให้สอดคล้องกับความเสี่ยงใหม่ที่อาจเกิดขึ้นจากดิจิทัลแพทฟอร์ม
สวีเดนและอิตาลี
อิตาลีและสวีเดนมีแถลงการณ์ร่วมเกี่ยวกับการประเมินและท่าทีที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการกำกับดูแลดิจิทัลแพทฟอร์มากกว่า ท่าทีในการสนับสนุนกฎหมายที่เป้าหมายในการลดความเหลื่อมล้ำของการกำกับดูแลและความไม่ชัดเจนของกฎหมาย
เนเธอร์แลนด์
รัฐบาลเนเธอร์แลนด์มีท่าทีต่อการปรึกษาหารือของสหภาพยุโรป โดยสนับสนุนแนวทางการกำกับดูแลเป็นการเฉพาะเรื่องเฉพาะประเด็นมากกว่าการกำกับดูแลในภาพรวม และเสนอให้มีการสร้างความร่วมมือกับผู้ประกอบการแพทฟอร์มเพื่อลดความเสี่ยงที่เกิดจากการใช้แพทฟอร์มดังกล่าว และให้ประเทศสมาชิกมีดุลพินิจและอำนาจในการกำกับดูแลเพื่อบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ในลักษณะที่ใช้แนวทางกำกับดูแลและเครื่องมือกำกับดูแลที่หลากหลายได้
สหราชอาณาจักร
ท่าทีของสหราชอาณาจักรซึ่งมีตลาดที่ค่อนข้างยืดหยุ่นต่อการถูกกำกับดูแลมากกว่า และตอบสนองต่อพลวัตรการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจดิจิทัลได้ดีกว่า ในหลักการ องค์กรกำกับดูแลการแข่งขันและการตลาดได้เสนอความเห็นว่าตลาดดิจิจทัลแพทฟอร์มมีความหลากหลายจึงทำให้การกำกับดูแลอาจไม่มีประสิทธิผลหากหลักเกณฑ์การกำกับดูแลมีลักษณะทั่วไปหรือครอบคลุมอย่างกว้างขวาง จำเป็นต้องมีการกำกับดูแลเฉพาะดิจิทัลแพทฟอร์มเป้าหมายเท่านั้นที่อาจส่งผลเสียต่อตลาดและผู้บริโภค และไม่เห็นด้วยกับการกำกับดูแลก่อนกำหนด (premature regulation) การมุ่งเน้นหลักคือการบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่เดิมในการกำกับดูแลการแข่งขันและการคุ้มครองสิทธิพื้นฐาน เช่น สิทธิส่วนตัว การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การคุ้มครองผู้บริโภค และมาตรฐานเกี่ยกวับการกำหนดอัตราค่าบริการที่เป็นธรรม เป็นต้น รวมทั้งการส่งเสริมการค้าข้ามพรมแดนและลดการกำกับดูแลเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมและการขยายตลาดของผู้ประกอบการขนาดเล็ก ด้วยท่าทีดังกล่าวของสหราชอาณาจักรที่ไม่สอดคล้องกับนโยบายของสหภาพยุโรป ประกอบกับสถานการณ์การออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักรได้สร้างความท้าทายอย่างมากหากสหราชอาณาจักรได้ออกจากสหภาพยุโรปจริง ซึ่งต้องมีการประเมินผลกระทบกันอีกครั้งหนึ่ง

ท่าทีของสหภาพยุโรป
ในการประเมินบทบาทและผลกระทบของดิจิทัลแพทฟอร์มที่ให้บริการออนไลน์ในตลาดของสหภาพยุโรป สหภาพยุโรปได้ดำเนินการปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนได้เสียหลายครั้ง จนกระทั่งได้ออกแถลงการณ์ในเรื่องดังกล่าวในเดือนพฤษภาคม 2016 ซึ่งระบุความจำเป็นในการติดตามดูแลพฤติกรรมการค้าของธุรกิจ ประกันความเป็นธรรม การปกป้องนวัตกรรม และจัดการกับปัญหาเนื้อหาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย สหภาพยุโรปจึงตัดสินใจออกกฎการกำกับดูแลที่ป้องกันอนาคตและมีความยืดหยุ่น เช่น หลักการและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องการทำงานร่วมกันของผู้ประกอบการ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและสิทธิส่วนตัวบนระบบอิเล็กทรอนิกส์ การสร้างการแข่งขันที่เท่าเทียมกันในบริการดิจิทัล การกำหนดภาระให้ผู้ประกอบการมีความรับผิดชอบมากขึ้น ธำรงไว้ซึ่งความเชื่อถือของผู้ใช้บริการด้วยความโปร่งใสและเป้นธรรม การเปิดตลาดและไม่เลือกปฏิบัติ การยกเลิกการกำกับดูแลกันเองและการกำกับดูแลร่วมตามกฎหมายที่มีอยู่เดิม สำหรับการประเมินเป้าหมายพิจารณาตามแนวปฏิบัติของธุรกิจที่มีต่อธุรกิจ และนำเสนอการออกกฎให้ทบทวนความร่วมมือคุ้มครองผู้บริโภคและข้อกำหนดแนวปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม  นอกจากนี้ ยังมีการทบทวนกฎที่เกี่ยวข้องที่มีอยู่เดิม เช่น กฎการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและสิทธิส่วนตัวทางอิเล็กทรอนิกส์ และบริการสื่อแพร่ภาพกระจายเสียง โดยกำหนดในช่วงปี 2017 เป็นเส้นตายในการเริ่มนโยบายใหม่ต่างๆ ดังนั้น วันที่ 10 พฤษภาคม 2017 สหภาพยุโรปได้มีการทบทวนยุทธศาสตร์ตลาดดิจิทัลหนึ่งเดียว และประกาศแผนการออกกฎหมายในช่วงปลายปี 2017เพื่อจัดการปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับแนวปฏิบัติการค้าที่ไม่เป็นธรรมด้วยการประเมินผลกระทบการกำกับดูแลและนำเสนอกรอบกระบวนการในการจัดการเนื้อหาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่มุ่งเน้นมาตรการกำกับดูแลตนเองเป็นหลัก

อนึ่ง เป้าหมายของสหภาพยุโรปเกี่ยวกับมาตรการกำกับดูแลกันเองมีความชัดเจนจากการหารือกับผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องและการลงนามในข้อตกลงว่าด้วยการจำหน่ายสินค้าผิดกฎหมายบนอินเทอร์เน็ตและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับคำพูดสร้างความเกลียดชังบนอินเทอร์เน็ตที่ผิดกฎหมาย แม้ว่า สหภาพยุโรปกำหนดท่าทีในการใช้อำนาจบังคับใช้อกฎหมายอย่างมีประสิทธิผลตามกฎหมายแข่งขันทางการค้าที่มีอยู่ในปจจุบันเพื่อจัดการกับปัญหาที่คุกคามในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น คำวินิจฉัยของสหภาพยุโรปในวันที่ 4 พฤษภาคม 2017 ที่ยอมรับข้อตกลงของบริษัทอเมซอนที่จะไม่บังคับใช้เงื่อนไขในสัญญาที่ไม่เป็นธรรมที่จะลงโทษสำนักพิมพ์ที่ยื่นข้อเสนอต่อบริษัทอเมซอนในลักษณะที่คล้ายคลึงหรือดีกว่าต่อคู่แข่งขันของบริษัท และการเปิดเผยเงื่อนไขอื่นที่เสนอต่อคู่แข่งขัน ซึ่งเป็นแนวทางประนีประนอมและสร้างความร่วมมือจากผู้ประกอบการ

โดยสรุป จากการประเมินและปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนได้เสียแล้ว สหภาพยุโรปได้ประเมินท่าทีในการออกกฎสำหรับกำกับดูแลดิจิทัลแพทฟอร์มเป้าหมายและอิงข้อเท็จจริงที่สรุปได้ชัดเจนแล้ว โดยการคำนึงถึงกฎที่มีอยู่เดิม แต่ข้อเสนอดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นเพียงการรวบรวมกฎการกำกับดูแลทีมีอยู่เดิมเข้าไว้ด้วยกันเพื่อให้ได้รับผผลลัพธ์ในการกำกับดูแลที่ดีขึ้นเท่านั้น ไม่ได้มีนวัตกรรมใหม่แต่ประการใด อย่างไรก็ตาม ถือเป็นก้าวย่างเริ่มต้นที่สำคัญที่ สหภาพยุโรปได้พิจารณาแนวนโยบายการกำกับดูแลดิจิทัลแพทฟอร์มด้วยความระมัดระวัง ยังคงต้องติดตามในขั้นต่อไป