วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ประเด็นกฎหมายกับวิทยาการด้านหุ่นยนต์

หุ่นยนต์เป็นเทคโนโลยีในอนาคตที่ใกล้ความเป้นจริงมากขึ้นเรื่อยๆ และกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันอาจไม่สอดคล้องและไม่สามารถจัดการกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากความห้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้ ทั้งนี้ มีการคิดกันแม้กระทั่งว่ามีความเป็นไปได้ในอนาคตที่จะกำหนดสิทธิและความรับผิดชอบแก่หุ่นยนต์  ณ จุดหนึ่ง ปัจจุบันเริ่ม การวิจารณ์ถกเถียงเกี่ยวกับกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่ออำนวยความสะดวกกับเทคโนโลยีใหม่นี้อาจมีความจำเป็น  การใช้แนวทางภววิทยาอาจจะไม่เหมาะสม มีการเสนอว่าการใช้มุมมองและแนวทางเรื่องหน้าที่การทำงานอาจมีความเมหาะกว่าในการใช้เพื่อวิเคราะห์ในเรื่องนี้ โดยควรต้องระบุคำถามว่า
(1) กฎอะไรที่สามารถใช้บังคับกับหุ่นยนต์
(2) แรงจูงใจอะไรที่ควรใช้กับกฎหมายดังกล่าว และ
(3) แรงจูงใจดังกล่าวเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาจริงหรือไม่

มติของรัฐสภายุโรปล่าสุดเป็นประเด็นเรื่อวทางการเมืองและมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ของยุโรปโดยมีหลายประเด็นที่ได้รับการพิจารณา ดังนี้

ประเด็นแรกในเรื่องนิยามความหมายของหุ่นยนต์ที่จะแบ่งแยกว่าอะไรควรถูกกำกับดูแลหรือไม่ควร เพราะคำว่าหุ่นยนต์เป็นคำทางเทคนิคและมีการใช้ประโยชน์ที่หลากหลายจึงมีลักษณะร่วมกันน้อย ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงมีความเป็นไปได้ยากที่จะพัฒนากฎที่มีความเป็นเอกภาพที่สามารถใช้งานได้กับทุกประเภทของหุ่นยนต์มากกว่ากฎที่แตกต่างกันที่ควรใช้กับประเภทของอุปกรณ์ที่แตกต่างกันในแต่ละประเภท แต่ก็กังวลว่าคำนิยามก็ไม่ควรแคบจนเกินไป จึงพยายามหาสมดุลอยู่ นอกจากนี้ ยังมีประเด็นย่อยที่สำคัญอีกว่าหุ่นยนต์ที่จะถูกกำกับดูแลควรจะต้องมีเงื่อนไขว่าสามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติหรือไม่ หรือต้องถุกควบคุมหรือไม่ หรือต้องมีปัญญาประดิษฐ์ถูกฝังอยู่หรือไม่ แม้ในมุมมองทางกฎหมายอาจดูแล้วไม่เกี่ยวข้อง แต่คุณลักษณะดังกล่าวควรอนุญาตให้แบ่งแยกประเภทย่อยของหุ่นยนต์เพื่อให้กำกับดูแลได้อย่างเป็นเอกภาพและเป็นระบบ

ประเด็นที่สองคือความรับผิดทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้นจากการกระทำของหุ่นยนต์ โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องระบบอัตโนมัติที่อาจขยายขอบเขตความรับผิดออกไป และในกรณีที่มีการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์กับหุ่นยนต์ก็อาจต้องมีกฎเกณฑ์ที่แตกต่างออกไปและหลักเกณฑ์บางส่วนอาจทับซ้ำกัน ซึ่งนำไปสู่ความไม่ชัดเจนและส่งผลให้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีเพิ่มขึ้นและความยุ่งยากในเรื่องการประกันภัยสินค้าใหม่ๆ ซึ่งในเรื่องนี้ ยังมีประเด็นเรื่องความรับผิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยด้วย (product liability) ที่ผู้ผลิตหรือให้บริการหุ่นยนต์อาจต้องรับผิดชอบ และการกำหนดข้อยกเว้นให้สอดคล้องกับเรื่องนี้ รวมทั้งมีการนำเสนอแนวทางใหม่ในเรื่องดังกล่าวกล่าวคือมีการเสนอให้จัดตั้งกองทุนเพื่อรับผิดชอบในการจ่ายค่าชดเชย กลไกการบังคับให้มีการประกันภัยในกรณีที่หุ่นยนต์เกิดให้เกิดความเสียหาย เนื่องจากกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะหลักความผิด (fault based rule) ไม่เพียงพอในการจัดการเรื่องดังกล่าว และไม่จูงใจให้มีการใช้งานหุ่นยนต์มาเป็นการบริหารความเสี่ยง (risk based rule) ในการพิจารณาความรับผิดของหุ่นยนต์

ประเด็นที่สามคือการทดสอบหุ่นยนต์ เพราะทปัจจุบันนี้ยังขาดกรอบกฎหมายที่ชัดเจนในการทดสอบหุ่นยนต์ในบรรยากาศที่ไม่ควบคุมหรือจำกัดนอกห้องทดลอง ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นสิ่งจำเป็นในการประเมินประเภทของอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งานและความถี่ทางสถิติเพื่อวัตถุประสงค์ในเรื่องการประกันภัย

ประเด็นที่สี่เรื่องมาตรฐานและการพัฒนามาตรฐานทางเทคนิคที่เป็นการเฉพาะและแคบสำหรับแต่ละประเภทของหุ่นยนต์ถือเป็นเรื่องที่กังวลเพื่อประกันความปลอดภัยของสินค้าและการยอมรับทางเลือกที่เป็นไปได้ในความรับผิดที่มีอยู่ในปัจจุบัน

ประเด็นที่ห้าคือคุณลักษณะของความเป็นบุคคล (personhood) ซึ่งมีแนวทาในการพิจารณาทั้งทางกฎหมาย ปรัชญา และทางเทคนิค ซึ่งต้องเข้าใจลักษณะการทำงานอย่างแท้จริงของคุณลักาณะของความเป็นบุคคลทางกฎหมาย เหมือนเช่นบริษัทที่ต้องมีการถกเถียงต่อไป ยังไม่ได้ข้อยุติในเวลาอันใกล้ รวมทั้งในการพิจารณาประเภทเฉพาะของการใช้งาน โดยเฉพาะอุปกรณ์หุ่นยนต์ที่มีสิ่งมีชีวิตอยู่ด้วย (biorobotic devices)

ประเด็นเรื่องการช่วยเหลือมนุษย์ (human enhancement) เนื่องจากมีความกังวลว่าการใช้งานหุ่นยนต์เพื่อเอกชนะข้อจำกัดของมนุษย์อาจกลายเป็นปัญหาหากขาดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน เพราะหุ่นยนต์หรือเครื่องจักรบางประเภทสามารถช่วยจัดการกับร่างกายของมนุษย์ได้ ซึ่งต้องคำนึงถึงหลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ความเท่าเทียม และเสรีภาพในการตัดสินใจด้วยตนเอง หลักจริยธรรมที่มีกำกับอยู่อาจไม่เพียงพอ จำเป้นต้องมีหลักเกณฑ์ทางกฎหมายจัดการในเรื่องนี้ด้วย  ซึ่งการกำกับดูแลและการบริหารจัดการกลายเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากและมีแนวโน้มที่ประเด็นในเรื่องนี้จะมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆตามพัฒนาการของเทคโนโลยี

ประเด็นสุดท้ายคือเรื่องสิทธิความเป็นส่วนตัว การเข้าถึงและการใช้ข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญอีกประการหนึ่ง ทั้งในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และดิจิทัล สหภาพยุโรปกำลังพิจารณาในเรื่องดังกล่าวอยู่

โดยสรุป มติของรัฐสภายุโรประบุถึงประเด็นต่างๆข้างต้นเพื่อจัดทำกรอบการกำกับดูแลทั้งทางด้านเทคนิคและกฎหมายเพื่อให้หลักเกณฑ์มีความสอดคล้องและกระชับเป็นหนึ่งเดียวอันเป็นที่ยอมรับในระดับยุโรป ซึ่งมีผลกระทบทางด้านการเมืองและทางยุทธศาสตร์ในการกำหนดระบบกฎหมายที่ทันสมัยสอดคล้องกับเทคโนโลยีและธุรกิจใหม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น