วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556

รอสโค่ พาวนด์ (Roscoe Pound)

รอสโค่ พาวนด์ (Roscoe Pound)

นาธาน รอสโค่ พาวนด์ (เดือน 27 ตุลาคม ค.ศ. 1870 – 30 มิถุนายน ค.ศ. 1964) เป็นนักวิชาการกฎหมายและนักการศึกษาชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียง เคยเป็นคณบดีโรงเรียนกฎหมายฮาร์วารด์ในช่วงปี ค.ศ. 1916-1936 ซึ่งวารสารด้านการศึกษากฎหมายได้ยกย่องว่าพาวนด์เป็นหนึ่งในนักวิชาการกฎหมายที่มีการอ้างถึงมากที่สุดในศตวรรษที่ 20 วาทะสำคัญของพาวนด์คือ กฎหมายต้องมั่นคง แต่ต้องไม่หยุดนิ่ง (The law must be stable, but it must not stand still)  โดยพาวนด์ไม่เห็นด้วยกับความคิดที่ว่ากฎหมายธรรมชาติไม่เปลี่ยนแปลงและไม่ยืดหยุ่นซึ่งเป็นรากฐานปรัชญาและหลักการพื้นฐานของกฎหมายคอมมอนลอว์ โดยอ้างว่าหลักการบางประการปรากฏในกฎหมายคอมมอนลอว์ โดยเฉพาะการจัดการกับวิธีการที่ผู้พิพากษาใช้หลักกฎหมายด้วยสามัญสำนึกโดยมิได้ละเลยผลในทางปฏิบัติของการตัดสินใจ ผู้พิพากษาต้องตัดสินใจในลักษณะที่สนับสนุนความเติบโตของสังคม โดยสนับสนุนนิติปรัญชาทางสังคมมากกว่า
ปรัชญาทางกฎหมายของพาวนด์
กฎหมายคือ รูปแบบพิเศษมากของการควบคุมสังคมในสังคมการเมืองที่เจริญแล้วโดยการใช้กำลังอย่างเป็นระบบระเบียบในสังคมดังกล่าว
กฎหมายคือระบอบหรือคำสั่งทางกฎหมาย (legal order) ที่ทำหน้าที่ดังนี้
1. กฎของการตัดสินใจ (Rules of decision)
2. กฎของแนวทางการดำเนินการ (Rules of or guides to conduct)
3.   พื้นฐานของความคาดการณ์ได้ของการกระทำของเจ้าหน้าที่ (Bases of prediction of official action)
4.  สำหรับผู้ร้ายนั้นต้องปฏิบัติการกระทำของเจ้าหน้าที่ที่ต้องมีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองก่อนที่จะกระทำการหรืองดเว้นกระทำการ
ทั้งนี้ กฎหมายดำเนินการโดยผ่านทางกระบวนการทางศาล (judicial process) และกระบวนการทางปกครอง (administrative process)  โดยมุมมองของพาวนด์ต่อกฎหมายเป็นมุมมองการวิเคราะห์ว่า ข้อความคิดของระบบหรือคำสั่งและการคาดการณ์ได้ต้องเป็นพื้นฐานของกฎหมาย ในขณะที่มุมมองต่อกฎหมายของนักคิดบริสุทธิ์คือ กฎหมายใช้บังคับต่ออะไรก็ตามที่ดำเนินการโดยผู้ที่ใช้อำนาจของสังคมที่เจริญทางการเมืองเพียงเพราะมีอำนาจไม่ว่าจะด้วยวิธีการใด
อะไรที่เป็นภาระงานของกฎหมาย พาวนด์โต้แย้งว่ากฎหมายทำหน้าที่เป็นปลายทางเป้าหมาย กล่าวอีกนัยหนึ่งกฎหมายเป็นวิธีการไปสู่จุดหมายปลายทาง (law is a mean to an end) ซึ่งเป้าหมายปลายทางคือการควบคุมดูแลสังคม
ดังนั้น กฎหมาย
1. เป็นการดูแลรักษาโดยสังคมที่เจริญทางการเมือง  
2. สำหรับการปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์และการสั่งพฤติกรรม
3. โดยกระบวนการทางศาลและกระบวนการทางปกครอง
4. การใช้องค์กรของ “employing a body of recognized or established percepts”
5.   ใช้บังคับโดยกระบวนการทางเทคนิคที่มีอำนาจที่สอดคล้องกับข้อความคิดของผู้มีอำนาจ
พาวนด์โต้แย้งสำหรับแนวทางที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติของกฎหมาย โดยยืนยันว่ากฎหมายจะยอมให้ความอิสระที่จะได้รับความสุขมากที่สุดสำหรับตนเอง ในขณะที่จะประนีประนอมความสุขสำหรับทุกคนผลประโยชน์ของเอกชนแต่ละรายประนีประนอมกับผลประโยชน์รวมมากกว่าความตั้งใจหรือความสุขของผู้ที่แข็งแรงกว่าของต้นทุนของคนที่เหลือทั้งหมด สำหรับแต่ละคน เป้าหมายและเหตุผลไม่ใช่ข้อความคิดนามธรรมโดยปราศจากความกังวลในการดำเนินการที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ
นักกฎหมายและศาลเป็นตัวแทนของสังคมการเมืองที่เจริญแล้วสำหรับวัตถุประสงค์ควบคุมสังคมอย่างเป็นระบบ กล่าวคือนักกฎหมายต้องมองกฎหมายในฐานะเป็นวิธีการไปสู่เป้าหมายคือการควบคุมสังคม พาวนด์ไม่ได้ชอบใจสถานะของกฎหมายที่ทำหน้าที่เพียงเป้าหมายทางเศรษฐกิจหรือจริยธรรมควรผสมผสานกับนิติปรัญชา   ทั้งนี้ พาวนด์พิจารณาวิชากฎหมายเป็นวิทยาศาสตร์ที่มีแง่มุมที่กว้าง  ศาสตร์ของกฎหมายตามแนวคิดของพาวนด์ไม่ได้เป็นอิสระของศาสตร์ของรัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ จิตวิทยา และปรัชญา กล่าวอีกนัยหนึ่ง กฎหมายไม่ใช่เครื่องจักรและถูกแก้ไขมากกว่าเป็นพลวัตรและความอ่อนตัวที่อิงหลักการและกระบวนการที่มั่นคงและคาดการณ์ได้
  พาวนด์โต้แย้งว่าพื้นฐานของประสบการณ์ที่พัฒนาขึ้นโดยเหตุผลและเหตุผลได้รับการทดสอบโดยประสบการณ์ที่เกิดขึ้น กล่าวอีกนัยหนึ่งคือพาวนด์ปฏิเสธเหตุผลโดยเด็ดขาดที่นอกเหนือการควบคุมของเราและขาดองค์ประกอบสำคัญของประสบการณ์มนุษย์  นอกจากนี้ พาวนด์ยังโต้แย้งต่อไปว่าในศตวรรษที่ 19 นักกฎหมายต้องเผชิญปัญหาหลักสามประการ ธรรมชาติของกฎหมาย (nature of law) การตีความประวัติศาสตร์กฎหมาย (interpretation of legal history) และความสัมพันธ์ของกฎหมายและศีลธรรม (relation of law and morals) อย่างไรก็ตาม พาวนด์พิจารณาว่าทฤษฎีผลประโยชน์เป็นความท้าทายร่วมสมัยสำคัญสำหรับนักกฎหมาย
ในแง่มุมของพาวนด์ กฎ คือผลลัพธ์ทางกฎหมายในรายละเอียดที่มีขอบเขตจำกัดต่อสถานะรายะเอียดจำกัดของข้อเท็จจริงหรือสถานการณ์ของข้อเท็จจริง  ส่วน หลักการ คือจุดเริ่มต้นของผู้มีอำนาจสำหรับการให้เหตุผลทางกฎหมาย ดังนั้น สำหรับพาวนด์แล้ว กฎหมายประเภทที่กำหนดโดยผู้มีอำนาจหรือศาลในแต่ละคดีพิพาทเกิดจากผลลัพธ์ที่กฎและหลักการและมาตรฐานเริ่มมีผลใช้บังคับ โดยมาตรฐานทางกฎหมายเป็นการจำกัดความในฐานะมาตรการของพฤติกรรมที่ต้องใช้บังคับตามสภาวะการณ์ของแต่ละคดีพิพาท ดังนั้น รายละเอียดของความรับผิดชอบในการตอบสนองต่อผลลัพธ์ในคดีที่ข้อจำกัดของคดีแยกจากกัน
นอกจากนี้ พาวนด์มีแง่มุมมองว่า ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับศีลธรรม เป็น
1) ความสัมพันธ์ของกฎหมายต่อองค์กรศีลธรรมในจารีตประเพณีในเวลาและสถานที่หรือองค์กรจัดตั้งของหลักการที่มาจากการคาดหวังทานการเผ้าดู
2)   แนวทางในการตัดสินใจ
3)  ความสัมพันธ์ของกระบวนการทางปกครองและกระบวนการทางศาลต่อศีลธรรม
พาวนด์กำหนดกลุ่มผลประโยชน์เป็นความต้องการหรือความปรารถนาของมนุษย์ไม่ว่าส่วนตัวหรือเป็นกลุ่มหรือในสมาคมหรือในความสัมพันธ์ โดยมองหาความพึงพอใจดังกล่าว ดังนั้น การจัดระเบียบความสัมพันธ์ของมนุษย์ต้องคำนึงถึง  โดยพาวนด์แย้งว่าทฤษฎีผลประโยชน์เป็นความท้าทายหลักของนักกฎหมาย โดยมองว่าความท้าทายดังกล่าวคือการรับทราบกลุ่มผลประโยชน์ การกำหนดข้อจำกัดทางกฎหมายของการรับทราบดังกล่าวและรวมทั้งผลกระทบ และความพยายามฝนการประกันผลประโยชน์ภายใต้ข้อจำกัดที่กำหนดในกฎหมาย
สำหรับพาวนด์ องค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญคือการปรับความสัมพันธ์และจัดระเบียบพฤติกรรมภายในสังคมจัดระเบียบทางการเมือง โดยแย้งว่ากฎหมายต้องไม่สร้างผลประโยชน์ขึ้น แต่ตระหนักและจำกัดผลประโยชน์เหล่านั้นภายใต้กรอบที่กำหนดเพื่อบรรลุความสัมพันธ์ที่ปรับเปลี่ยนใหม่ ซึ่งผลประโยชน์เกิดขึ้นในสังคมแม้ว่าจะไม่มีการจัดระเบียบด้วยกฎหมาย แต่ในบางรูปแบบของการควบคุมสังคมโดยปราศจากองค์กรผู้ปกครอง ความขัดแย้งหรือการแข่งขันกันของผลประโยชน์สามารถดำเนินการบรรลุเป้าหมายคือการจัดระเบียบทางสังคมของระบอบกฎหมาย ดังนั้น กฎหมายตระหนักถึงผลประโยชน์และการจัดวางข้อจำกัดในการเดินตามผลประโยชน์ แต่จะไม่สร้างผลประโยชน์ขึ้นใหม่
พาวนด์แนะนำว่าระบอบกฎหมายต้องเผชิญกับทฤษฎีผลประโยชน์ที่ท้าทายดังนี้
1. จัดกลุ่มและสรุปรวมแรงกดดันของกลุ่มผลประโยชน์ทั้งหมดเพื่อให้ตระหนักรู้กัน
2. กำหนดผลประโยชน์ที่ต้องตระหนักทราบและประกัน
3. จำกัดกลุ่มผลประโยชน์ในการประกันผลประโยชน์ดังกล่าว
4. กำหนดข้อจำกัดและหรือวิธีการในการขจัดของกฎหมายเพื่อประกันผลประโยชน์ที่รับรู้ดังกล่าว
5. ใช้หลักการประเมินมูลค่าของผลประโยชน์
พาวนด์ปฏิเสธนักคิดบริสุทธิ์ว่ากฎหมายต้อประกอบด้วยกฎที่มั่งคงและแข็งตัว พาวนด์มองว่ากฎหมายต้องอิงหลักการและกระบวนการที่สามารถคาดการณ์ได้ แต่มิใช่กฎที่เสร็จเด็ดขาด กฎหมายมีความเป็นสังคม ปฏิบัติได้ และมีความเป็นพลวัตร การตีความของการใช้อำนาจของผู้มีอำนาจต้องไม่ใช่การใช้กำลังบังคับของคนกลุ่มน้อยของสังคม ในลักษณะของการปกครองโดยชนชั้นนำของสังคม มากกว่าการใช้กำลังของสังคมที่ต้องการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม พาวดนด์ยังเสนอต่อไปว่าระบอบกฎหมายเป็นวิธีการไปสู่เป้าหมายและในเป้าหมายคือความสงบเรียบร้อยในสังคมได้รับทราบกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ   การรับทราบความชอบด้วยกฎหมายของกลุ่มประโยชน์ต้องได้รับการประกัน ข้อจำกัดของการประกันผลประโยชน์ดังกล่าว และกลไกทางกฎหมายสามารถส่งเสริมความขัดแย้งและการแข่งขันอย่างเป็นระบบของกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ในท้ายที่สุด พาวนด์ท้าทายว่าข้อความคิดในการปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ (ทั้งภายใน ระหว่าง และท่ามกลางกลุ่มผลประโยชน์) จะส่งเสริมโครงสร้างทางสังคมที่จะส่งเสริมการเคลื่อนที่ของสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ดังนั้น ความทันสมัยและการพัฒนาเป็นการต่อต้านต่อความสัมพันธ์แบบเครือญาติและที่ตายตัว (ทั้งภายใน ระหว่าง และท่ามกลางกลุ่มผลประโยชน์) ที่สนับสนุนสภาพการณ์เดิมและสร้างอุปสรรคการเคลื่อนที่ทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น