วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การกดดันราคาในกิจการโทรคมนาคม (Price Squeezing)


การกดดันราคา (Price or margin squeezing) เป็นพฤติกรรมกีดกันที่นิยมใช้โดยผู้ประกอบการที่มีการรวมตัวในแนวดิ่ง (Vertically integrated firm) เพื่อยกระดับอำนาจตลาดในตลาดต้นน้ำเพื่อกดส่วนต่างของคู่แข่งขันในตลาดปลายน้ำ การไต่สวนในกฎหมายแข่งขันเกี่ยวกับการกดดันราคาเกิดขึ้นน้อยและมักไม่ประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ตาม ในการใช้หลักการดังกล่าวในอุตสาหกรรมเครือข่าย (Network industries) จำนวนของการกล่าวหาการกดดันราคาเพิ่มมากขึ้น ประเด็นที่นิยมในอุตสาหกรรมที่ถูกกำกับดูแลหากผู้ประกอบการเครือข่ายมักจะมีการรวมตัวในแนวดิ่งและภาคบริการเปิดกว้างต่อการแข่งขัน คณะกรรมาธิการยุโรป (EC Commission) ได้เริ่มมีการไต่สวนในกิจการโทรคมนาคมหลายกรณี และองค์กรกำกับดูแลในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปเองก็ได้ตรวจสอบการกระทำที่อาจเป็นการกดดันราคาในกิจการโทรคมนาคมและพลังงาน คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปได้กำหนดให้ผู้ประกอบการปกป้องการกดดันราคาในการเข้าถึงผู้ประกอบการในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการขอควบรวมกิจการ (Merger clearance) แต่ก็กังวลว่าอุตสาหกรรมเครือข่ายที่ผู้ประกอบการรายใหญ่มีการรวมตัวในแนวดิ่งและครอบงำในการเข้าถึงหรือใช้เครือข่าย การกดดันราคาจะถูกใช้ในการห้ามการแข่งขันในกิจการปลายน้ำ (Downstream market) แต่นักวิชาการบางส่วนเรียกร้องให้มีการแยกการรวมแบบแนวดิ่งเพื่อส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันมากขึ้น

การกดดันราคาคืออะไร ?

การกดดันราคาเกิดขึ้นเมื่อผู้ประกอบการที่รวมตัวในแนวดิ่งที่มีอำนาจตลาดในการให้บริการปัจจัยการผลิตที่จำเป็นในตลาดต้นน้ำ กำหนดราคาและหรือสินค้าหรือบริการปลายน้ำในลักษณะที่มีระยะเวลายาวนานเพียงพอเพื่อปฏิเสธคู่แข่งขันในตลาดปลายน้ำที่มีประสิทธิภาพอย่างเท่าเทียมกันในการทำกำไรอย่างเพียงพอเพื่อให้ยังคงอยู่ในตลาดได้ นิยามนี้ชัดเจนว่าการกดดันราคาเกี่ยวข้องกับส่วนต่างในตลาดปลายน้ำ ผลกระทบต่อการเข้าสู่ตลาดและออกจากตลาดของผู้ประกอบการในตลาดปลายน้ำและไม่ใช่ระดับราคาของปัจจัยการผลิตของตลาดต้นน้ำจริง
ในขณะที่การกำหนดราคาสูงเกิน (Excessive prices) ในบางสถานการณ์จะถูกพิจารณาว่าเป็นการใช้อำนาจเหนือตลาดโดยมิชอบภายใต้กฎหมายการแข่งขันของสหภาพยุโรป โดยไม่ใช่หลักการการกดดันราคา คำวินิจฉัยและประกาศของคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปไม่ได้ให้คำจำกัดความที่ชัดเจนของการกดดันราคา คำจำกัดความทางกฎหมายของการกดดันราคาปรากฏในคดี Industrie des Poudres Spheriques โดยศาลยุโรปชั้นต้น (European Court of First Instance) กล่าวว่า
การกดดันราคาอาจกล่าวว่าเกิดขึ้นเมื่อผู้ประกอบการที่มีสถานะครอบงำเหนือตลาดสำหรับสินค้าที่ยังไม่ได้ผลิตและผู้ประกอบการรายนั้นเองก็ใช้ในการผลิตของตนเองด้วย ในขณะเดียวก็ขายสินค้าที่เป็นวัตถุดิบส่วนเกินในตลาด กำหนดราคาขายวัตถุดิบในระดับที่ผู้ซื้อวัตถุดิบไม่สามารถมีส่วนต่างของกำไรเพียงพอในการผลิตเพื่อยังคงสามารถแข่งขันในตลาดสินค้าที่ผลิตแล้วได้ อย่างไรก็ตามนิยามนี้ไม่สมบูรณ์เพราะไม่ได้อ้างอิงถึงองค์ประกอบสำคัญสามประการของการกดดันราคา ประการแรกศาลไม่ได้อ้างถึงผู้ประกอบการปลายน้ำต้องเท่าเทียมกันในเรื่องประสิทธิภาพมากกว่าหน่วยงานหนึ่งของผู้ประกอบการที่มีการรวมตัวในแนวดิ่ง ประการที่สองไม่มีการอ้างถึงระยะเวลาขอการกดดันราคาซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญ ประการที่สามศาลอ้างถึงราคาของวัตถุดิบหรือปัจจัยการผลิต ละเลยว่าผู้ประกอบการที่มีการรวมตัวในแนวดิ่งสามารถลดราคาในตลาดปลายน้ำ
คำวินิจฉัยชั้นนำของคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปคือ Napier Brown – British Sugar กล่าวคือผู้ผลิตน้ำตาลของอังกฤษมีอำนาจครอบงำตลาดในตลาดต้นน้ำสำหรับวัตถุดิบน้ำตาลในสหราชอาณาจักรที่สามารถผลิตน้ำตาลจากน้ำตาลดิบถูกนิยามในฐานะเป็นตลาดปลายน้ำที่เกี่ยวข้องเป็นสินค้าอื่น เช่น  saccharine หรือ aspartame เป็นต้นไม่พบว่าทดแทนกันได้อย่างเพียงพอและการนำเข้าน้ำตาลพบว่าไม่มีการแข่งขันเพราะต้นทุนการขนส่ง น้ำตาลของอังกฤษมีการแข่งขันในเชิงรวมตัวแนวดิ่งในตลาดปลายน้ำสำหรับน้ำตาลที่มาจากผลิตภัณฑ์อื่น รวมทั้ง Napier Brown ที่ซื้อน้ำตาลดิบจาก British Sugar คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปพบว่ามีความแตกต่างระหว่างราคาของน้ำตาลของ British Sugar สำหรับน้ำตาลที่เป็นผลพลอยได้และราคาที่เรียกเก็บจาก Napier Brown สำหรับน้ำตาลดิบไม่เพียงพอที่จะคืนทุนในการแปลงสภาพน้ำตาล ซึ่งประกอบด้วยต้นทุนการบรรจุภัณฑ์ใหม่ คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปสรุปว่ากลยุทธ์ด้านราคาของ British Sugar เป็นการกดดันราคาที่มุ่งประสงค์จะบังคับให้ Napier Brown ออกจากตลาดปลายน้ำและเป็นการใช้อำนาจครอบงำเหนือตลาดโดยมิชอบตามมาตรา 82

ประเภทของการกดดันราคา
การกดดันราคามีสามประเภทหลัก ผู้ประกอบการที่รวมตัวในแนวดิ่งที่มีอำนาจเหนือตลาดในตลาดต้นน้ำสามารถจัดการส่วนต่างในตลาดปลายน้ำโดยการเพิ่มราคาในสินค้าต้นน้ำหรือลดราคาสินค้าปลายน้ำหรือทำทั้งสองอย่าง ทั้งสองประเภทของการกดดันราคาสามารถแบ่งแยกได้ขึ้นอยู่กับราคาของวัตถุดิบในตลาดต้นน้ำว่ามีการเลือกปฏิบัติหรือไม่
การกดดันราคาแบบเลือกปฏิบัติเกิดขึ้นเมื่อผู้ประกอบการที่รวมตัวในแนวดิ่งตั้งราคากับคู่แข่งขันในตลาดปลายน้ำด้วยราคาของสินค้าต้นน้ำที่สูงกว่าที่เรียกเก็บจากการผลิตสินค้าปลายน้ำของตนเอง การกดดันราคาแบบเลือกปฏิบัติก่อให้เกิดประเด็นทั้งทางด้านกฎหมายและเศรษฐศาสตร์ ประการแรกการเลือกปฏิบัติด้านราคาอย่างเปิดเผยแทบจะเป็นการใช้ตำแหน่งที่ครอบงำเหนือตลาดโดยมิชอบตามกฎหมายการแข่งขันของสหภาพยุโรปมาตรา 82 ไม่คำนึงว่าจะเป็นการกดดันราคาหรือไม่ นักเศรษฐศาสตร์โต้แย้งว่าการเลือกปฏิบัติด้านราคาจะถือว่าอันตรายเมื่อมีผลในลักษณะกีดกันการแข่งขันเท่านั้น ประการที่สอง ข้อเท็จจริงว่าราคาของวัตถุดิบสำหรับคู่แข่งขันสูงกว่าต้นทุนการผลิตไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะสรุปว่าการกดดันราคาเกิดขึ้น
การกดดันราคาอย่างไม่เลือกปฏิบัติเกิดขึ้นเมื่อผู้ประกอบการที่มีการรวมตัวในแนวดิ่งขึ้นราคาของวัตถุดิบในตลาดต้นน้ำโดยรวมทั้งต่อคู่แข่งขันและการผลิตของตนเองด้วยอย่างเท่าเทียมกัน ดังนั้น ต้นทุนของคู่แข่งขันในตลาดปลายน้ำก็เพิ่มขึ้นในขณะที่ส่วนต่างที่แท้จริงหรือที่มีประสิทธิภาพของผู้ประกอบการที่รวมตัวในแนวดิ่งในภาพรวมไม่ได้เปลี่ยนแปลง เพราะอาจมีการอุดหนุนข้ามตลาดในการดำเนินการผลิตตลาดปลายน้ำจากส่วนของต้นน้ำ สำหรับผู้ประกอบการที่รวมตัวในแนวดิ่งแล้วความแตกต่างระหว่างรูปแบบทั้งสองประเภทของการเลือกปฏิบัติด้านราคาไม่ได้กำหนดเพียงพอในการกระจายกำไรทั้งตลาดต้นน้ำและปลายน้ำใหม่ภายในบริษัทเนื่องจากการกดดันราคาไม่มีต้นทุนแต่ประการใด นี้อาจไม่ใช่กรณีที่การดำเนินการตลาดต้นน้ำและปลายน้ำมีระบบบัญชีบริหารแตกต่างกันและการดำเนินการภายในระหว่างกันเอง ในกรณีดังกล่าวนี้ การกดดันราคาไม่เลือกปฏิบัติอาจยากที่จะดำเนินการเพราะอาจมีผลกระทบต่อการให้รางวัลในการบริหารของผู้บริหารในตลาดปลายน้ำและพนักงานและการกำหนดภาษีที่ผู้ประกอบการที่รวมตัวในแนวดิ่งมีกิจการข้ามประเทศ
ประเภทที่สามคือการกดดันราคาแบบทำลายคู่แข่งขัน (Predatory price squeeze) เกิดขึ้นหากผู้ประกอบการในตลาดต้นน้ำลดราคาของสินค้าในตลาดปลายน้ำต่ำกว่าต้นทุนร่วมของการผลิตต้นน้ำและการแปรรูปสินค้าปลายน้ำและมีส่วนต่างเพียงพอ กรณีนี้คล้ายกับนิยามของการลดราคาเพื่อทำลายคู่แข่งขัน ซึ่งมักใช้จำกัดในอุตสาหกรรมที่ราคาสินค้าต้นน้ำถูกกำกับดูแล แต่สินค้าปลายน้ำไม่ถูกกำกับดูแล ดังนั้น การกดดันราคาแบบทำลายคู่แข่งขันใช้เกณฑ์การประเมินผลว่าผู้ประกอบการที่รวมตัวในแนวดิ่งสามารถคาดการณ์ที่จะคืนทุนที่สูญเสียในระยะสั้นไปได้หากคู่แข่งขันถูกบีบบังคับออกจากตลาด
ณ เวลาหนึ่ง อาจยากในการแบ่งแยกการกดดันราคาจากการกีดกันโดยมิชอบอื่น ๆ เช่น การพ่วงขาย เช่น ในคดีไมโครซอฟท์ในสหรัฐฯที่ให้ตัวอย่างที่ดี กรณีนี้เกี่ยวข้องกับการกล่าวหาการรวมขาย Internet Explorer กับระบบปฏิบัติการ Windows

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น