วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ข้อตกลงทวิภาคีด้านการขนส่งทางอากาศ (Bilateral Agreements)

ข้อตกลงทวิภาคีด้านการขนส่งทางอากาศที่สำคัญซึ่งเป็นรูปแบบของข้อตกลงทวิภาคีด้านขนส่งทางอากาศของทั่วโลกคือข้อตกลง Bermuda ซึ่งเป็นแนวทางการเปิดเสรีการค้าบริการด้านการขนส่งทางอากาศที่นิยมในปัจจุบัน ในบทความนี้จะขอนำเสนอแนวคิดของข้อตกลง Bermuda โดยสรุปดังนี้
ข้อตกลง Bermuda I
รัฐบาลของประเทศที่อธิปไตยเจรจาข้อตกลงขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศเพื่อกำกับดูแลบริการขนส่งทางอากาศระหว่างและบางครั้งเกินเขตแดนของตน ข้อตกลงทวิภาคีเป็นพาหนะในการเชื่อมโยงกฎการบินพลเรือนภายในประเทศของประเทศที่เข้าร่วมและการจัดตั้งแนวปฏิบัติสำหรับการกำกับดูแลรัฐบาลของบริการทางอากาศระหว่างประเทศ ในปี ค.ศ. 1946 สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรลงนามในข้อตกลงขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศทวิภาคีซึ่งนิยมเรียกว่า Bermuda I สำหรับสามสิบปีถัดมาข้อตกลง Bermuda I เป็นรูปแบบของสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นเจรจาข้อตกลงขนส่งทางอากาศทวิภาคี
ข้อตกลง Bermuda I แสดงถึงการประนีประนอมระหว่างอเมริกาเสรีนิยมและอุดมคติของอังกฤษที่เข้มงวดซึ่งมีความขัดแย้งในการประชุมชิคาโก้ สหรัฐอเมริกาตกลงว่าสมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (International Air Transport Association หรือ IATA) จัดตั้งในปี ค.ศ. 1945 อาจมีหน้าที่ความรับผิดชอบหลักในการกำหนดค่าบริการในเส้นทางการบินภายใต้การอนุมัติของรัฐบาลที่มีผลกระทบต่อการติดสินใจของ IATA สหราชอาณาจักรยอมให้สายการบินมีเสรีภาพในการกำหนดความจุและความถี่ในการบริการ
ข้อตกลงระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรในปี ค.ศ. 1946 ณ เมือง Hermuda, Bermuda โดยการเพิ่มเสรีภาพสามประการจากอนุสัญญากรุงชิคาโกที่มีสองเสรีภาพ โดยเสรีภาพที่สามและที่สี่ครอบคลุมสิทธิของสายการบินในการรับสินค้าหรือผู้โดยสารจากประเทศเจ้าบ้านสำหรับการบินไปและจอดอีกประเทศหนึ่ง สำหรับเสรีภาพที่ห้าให้สิทธิในการรับสินค้าหรือคนโดยสารจากประเทศหนึ่งสำหรับการบินไปและจอดจุดนอกประเทศนั้นและประเทศเจ้าบ้าน ข้อตกลงดังกล่าวเป็นรูปแบบสำหรับข้อตกลงทวิภาคีและเพิ่มเติมโดยข้อตกลง Bermuda II ในปี ค.ศ. 1977 ที่จำกัดจำนวนที่นั่งของสายการบินระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร ข้อตกลงใหม่นี้ส่งเสริมการแข่งขันมากขึ้นโดยการยอมให้สายการบินและเส้นทางมีมากขึ้นระหว่างสองประเทศเพื่อให้ราคาค่าโดยสารลดลง

ข้อตกลง Bermuda II
ในปี ค.ศ. 1976 สหราชอาณาจักรยกเลิกข้อตกลง Bermuda I และเจรจาข้อตกลงที่จำกัดมากกว่าเดิมกับสหรัฐอเมริกา โดยนิยมเรียกว่าข้อตกลง Bermuda II ที่มีผลใช้บังคับในปี ค.ศ. 1977 การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือการทดแทนสิทธิของสายการบินในการกำหนดค่าบริการได้ด้วยตนเองภายใต้กระบวนการประท้วงที่ซับซ้อนโดยทั้งสองรัฐบาลกับระบบใหม่ที่ค่าบริการตกลงโดยรัฐบาลทั้งสองโดยตรง การจำกัดจำนวนเส้นทางของสนามบินในสหรัฐอเมริกาที่ให้บริการโดยตรงไปยังสนามบินในลอนดอน ในขณะเดียวกันก็อนุญาตสายการบินไม่ประจำทางในการให้บริการระหว่างสองประเทศ การใช้สนามบินอื่น โดยเฉพาะสานามบินใหม่ใน Gatwick จึงเป็นระบบที่ซับซ้อนในการควบคุมความจุของเส้นทางระหว่างสหราชอาณาจักรกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป้าหมายของอังกฤษคือการสร้างระบบที่สายการบินจากแต่ละประเทศสสามารถแข่งขันในบริบทที่เท่าเทียมกัน กล่าวอีกนัยหนึ่ง ข้อตกลง Bermuda II นี้จำกัดความจุ โดยลดเสรีภาพที่ห้าอย่างมีนัยสำคัญของผู้ประกอบการขนส่งสหรัฐอเมริกา และเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับบริการขนส่งแบบเหมาระหว่างประเทศ สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรคาดหวังว่าข้อตกลง Bermuda II มาทดแทนข้อตกลง Bermuda I แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมในเวทีระหว่างประเทศ ประการแรกข้อตกลง Bermuda II มีประเด็นเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐและสหราชอาณาจักร ประการที่สอง ในปลายทศวรรษที่ 1970 และต้นทศวรรษที่ 1980 สหรัฐอเมริกาเปิดเสรีนโยบายการบินระหว่างประเทศและขจัดนโยบายที่จำกัดตามที่กำหนดไว้ในข้อตกลง Bermuda II ข้อตกลงที่แก้ไขและมีข้อจำกัดค่อนข้างมากกำกับดูแลความสัมพันธ์การบินพลเรือนระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร
ไม่เหมือนข้อตกลง Bermuda I เป็นข้อตกลงเข้มงวด ข้อตกลงใหม่เป็นกรอบข้อตกลงที่อนุญาตการเปลี่ยนแปลงหากสถานการณ์เปลี่ยน เช่น ในปี ค.ศ. 1990 สนามบินเมืองแมนเชตเตอร์ได้ถูกเพิ่มเป็นท่าอากาศยานแห่งใหม่ของอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1991 การล้มละลายของสายการบินแพนแอมและทีดับเบิ้ลยูเอนำไปสู่การเจรจาครั้งใหม่ที่อนุญาตให้สายการบินอเมริกาแอร์ไลน์และยูไนเต็ทแอร์ไลน์มีเส้นทางที่สนามบินฮีทโทรของอังกฤษ สายการบินเวอร์จิ้น แอทแลนติกมีสิทธิเป็นสายการบินอังกฤษที่สองในการให้บริการ ในการเจรจาได้มีการยื่นเสนอเสรีภาพที่เจ็ดซึ่งจะอนุญาตให้สายการบินอังกฤษหรือเมริกาขนส่งผู้โดยสารระหว่างสนามบินในยุโรปและอังกฤษและสหรัฐอเมริกาที่เคยอนุญาตในข้อตกลง Bermuda I สายการบินสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรได้รับอนุญาตให้บริการร่วม (code share) ซึ่งเดิมเคยถูกห้ามตามกฎหมายป้องกันการผูกขาดของหสหรัฐอเมริกา เสรีภาพที่ห้าที่นิยมใช้ในข้อตกลง Bermuda I ถูกจำกัดในข้อตกลงใหม่ สายการบินอังกฤษได้รับอนุญาตให้ขนส่งผู้โดยสารอเมริกาไปยังเบลเยี่ยม ฝรั่งเศส เยอรมันนี เนเธอร์แลนด์ เล็กแซมเบอร์ และไอร์แลนด์ สายการบินอเมริกาได้อนุญาตให้ขนส่งจาก Shannon ไปยัง Prestwick และ Glasgow และสามารถรับผู้โดยสารจากสนามบินในสหราชอาณาจักรได้สำหรับท่าอากาศยานในเมือง Berlin, Frankfurt, Hamburg, Munich และ Oslo อย่างไรก็ตามถือว่ามีข้อจำกัดมากกว่าข้อตกลง Bermuda I ที่อนุญาตจำนวนเส้นทางมากกว่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น