วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ข้อความคิดเรื่องรัฐธรรมนูญนิยม (Constitutionalism)

ข้อความคิดเรื่องรัฐธรรมนูญนิยม (Constitutionalism)

บทความนี้นำเสนอข้อความคิดเรื่องรัฐธรรมนูญนิยม โดยจะแยกความแตกต่างต่างระหว่างการจัดทำรัฐธรรมนูญและรัฐธรรมนูญนิยมที่แท้จริง และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างรัฐธรรมนูญนิยม สิทธิมนุษยชน และหลักนิติธรรม

รัฐธรรมนูญนิยมคืออะไร
ในระบอบประชาธิปไตยโดยแท้ รัฐธรรมนูญประกอบด้วยการจัดวางที่กำหนดโครงสร้างทางการเมือง กฎหมายและสังคมโดยสังคมที่จะถูกปกครอง บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญจึงถือว่าเป็นกฎหมายสูงสุดหรือกฎหมายพื้นฐาน สำหรับกฎหมายอื่น ๆ ของประเทศต้องผูกพันและสอดคล้องกับหลักการของรัฐธรรมนูญ ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว หากกฎหมายรัฐธรรมนูญไม่เพียงพอในตัวมันเอง ลักษณะของประชาธิปไตยและหลักนิติธรรมภายในประเทศก็จะได้รับผลกระทบ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนของประชาชนที่ได้รับความคุ้มครองตามกรอบนิติธรรม

โครงสร้างของประเทศสมัยใหม่ได้ถูกปรับเปลี่ยนกับสภาพของรัฐบาลที่แบ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ ซึ่งมีการแบ่งแยกอำนาจออกจากกัน ซึ่งถือว่าเป็นหลักการพื้นฐานของการปกครองสมัยใหม่ และถือว่าเป็นหลักการสำคัญของรัฐธรรมนูญนิยม การแบ่งแยกอำนาจไม่ได้หมายความว่าแต่ละองค์กรทำหน้าที่ดังกล่าวเพียงลำพัง เพียงแต่จะทำงานโดยขึ้นอยู่ซึ่งกันและกัน แต่ก็มีความเป็นอิสระจากกัน หลักการอื่นเช่น ข้อความคิดเรื่องรัฐบาลที่มีอำนาจจำกัด (limited government) และความสูงสุดของกฎหมาย (supremacy of law) ทั้งหมดนี้ถือรวมเป็นข้อความคิดเรื่องรัฐธรรมนูญนิยม
รัฐธรรมนูญนิยมเป็นข้อความคิดว่ารัฐบาลต้องถูกจำกัดอำนาจและอำนาจหน้าที่ของรัฐบาลอยู่ภายใต้ข้อจำกัดดังกล่าว โดยเฉพาะข้อจำกัดที่มาจากอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ  รัฐธรรมนูญเป็นกรอบกฎหมายและศีลธรรมที่กำหนดอำนาจและข้อจำกัด กรอบดังกล่าวต้องแสดงถึงเจตจำนงของประชาชนและควรได้รับความเห็นชอบโดยเอกฉันท์
หากหลักการดังกล่าวได้รับการยอมรับเป็นองค์ประกอบสำคัญของรัฐธรรมนูญนิยม ไม่ทุกประเทศที่มีรัฐธรรมนูญถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญนิยม รัฐบาลเผด็จการหรือรัฐบาลทหารไม่ถือว่ามีองค์ประกอบครบถ้วนในเรื่องความสูงสุดของกฎหมายและการแบ่งแยกอำนาจ เช่น ฝ่ายตุลาการในกัมพูชาอยู่ภายใต้ระบบราชการของฝ่ายบริหารไม่มีเส้นแบ่งที่ชัดเจนระหว่างสองอำนาจดังกล่าว การหายตัวไปของนักรณรงค์ต่อต้านรัฐบาลในปากีสถานเห็นได้ชัดว่าเป็นการฝ่าฝืนหลักนิติธรรม เพราสังคมไม่ได้ถูกปกครองโดยกฎหมายแต่ถูกปกครองด้วยอำนาจ ดังนั้น จึงมีความสำคัญที่แยกระหว่างกระบวยการจัดทำรัฐธรรมนูญและรัฐธรรมนูญนิยม ความแตกต่างมีความสำคัญในการยอมรับการคุ้มครองผลประโยชน์ของระบอบการปกครอง รัฐธรรมนูญไม่เพียงแต่จะเป็นเอกสารทีรัฐตั้งชื่อว่าเป็นรัฐธรรมนูญ ระบอบการปกครองแบบใช้อำนาจเผด็จการจะตั้งเอกสารดังกล่าวเพื่อสร้างความชอบธรรมในการปกครองตามอำเภอใจ ตัวอย่างเช่น ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญใหม่ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงอำนาจการปกครอง รัฐธรรมนูญที่แท้จริงเป็นความพยายามในการจำกัดและจัดการกับทุกรูปแบบของการดำเนินการตามอำเภอใจ

ประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญนิยม
รัฐบาลเผด็จการโดยลักษณะแล้วขัดกับรัฐธรรมนูญ รัฐบาลดังกล่าวคิดว่าตนเองอยู่เหนือรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย และการแบ่งแยกอำนาจเป็นสิ่งไม่จำเป็นหรือการปกครองโดยตัวแทนของประชาชนเป็นสิ่งไม่สำคัญ แต่รัฐธรรมนูญนิยมจะอิงข้อความคิดหลักถึงอำนาจอธิปไตยของประชาชนที่จะถูกใช้ในลักษณะที่จำกัดโดยรัฐบาลตัวแทนของประชาชน รูปแบบที่มีมติเอกฉันท์และตัวแทนของการปกครองที่ปรากฏในปัจจุบันเป็นรัฐบาลประชาธิปไตยซึ่งประกอบด้วยพรรคการเมืองหลายพรรค มีการเลือกตั้งที่เป็นธรรม มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและแสดงออก และหลักนิติธรรม จึงมีความสำคัญที่จะเชื่อมโยงประชาธิปไตยกับรัฐธรรมนูญนิยม  การมีรัฐธรรมนูญมิได้หมายความว่าจะทำให้ประเทศนั้นเป็นประเทศรัฐธรรมนูญนิยม พรรคการเมืองและการเลือกตั้งก็มิได้ทำให้เป็นรัฐบาลประชาธิปไตย ประเทศในเอเซียหลายประเทศได้รับสมนามว่าเป็นประชาธิปไตยแบบเสรีนิยมโยมีการเลือกตั้งเป็นครั้งคราว แต่ก็มิได้ปกครองประเทศภายใต้หลักนิติธรรมและไม่ได้ให้ความคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน อินเดียและศรีลังกาเป็นตัวอย่างที่ดีที่การทำให้เป็นการเมืองของสถาบันการเมืองเป็นสิ่งสามัญหากนักการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐบาลอยู่เหนือกฎหมายและละเมิดต่อชนกลุ่มน้อยอย่างรุนแรง ประชาธิปไตยที่แท้จริงอิงอยู่บนพื้นฐานของอำนาจอธิปไตยของประชาชนไม่ใช่ผู้ปกครอง ตัวแทนจากการเลือกตั้งบริหารอำนาจในนามของประชาชนโดยอิงเจตจำนงของประชาชน หากปราศจากประชาธิปไตยที่แท้จริง ก็จะไม่ถือว่าเป็นประเทศรัฐธรรมนูญนิยม

หลักนิติธรรม

หลักนิติธรรมคือความสูงสุดของกฎหมายกล่าวคือสังคมที่ปกครองโดยกฎหมายและกฎหมายนี้ใช้บังคับเท่าเทียมกับทุกคนรวมทั้งรัฐบาลและพนักงานของรัฐ  มีความสัมพันธ์ระหว่างรัฐธรรมนูญนิยมกับนิติธรรม รัฐธรรมนูญนิยมไม่เพียงแต่จะเป็นสถาบันพื้นฐานสำหรับนิติธรรมในสังคม แต่ยังได้รับการคุ้มครองจากนิติธรรม หลักการพื้นฐานขอรัฐธรรมนูญนิยม บทบัญญัติสถาบันหลักใช้ในการรักษานิติธรรม รวมถึงการแบ่งแยกอำนาจ การตรวจสอบโดยศาล การห้ามออกกฎหมายให้มีผลย้อนหลัง และการตรวจค้น ความเป็นอิสระของหน่วยงานออกกฎหมายจัดตั้งขึ้น ตุลาการมีความเป็นอิสระในการตีความกฎหมาย รัฐธรรมนูญนิยมจะให้หลักประกันขั้นต่ำสำหรับความยุติธรรมทั้งในแง่เนื้อหาและกระบวนการ   ในอีกแง่หนึ่งรัฐธรรมนูญนิยมได้รับการคุ้มกันจากนิติธรรม ความสูงสุดของกฎหมายได้รับการรับรองปรากฏควบคู่กับความสูงสุดของรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญนิยมกำหนดกฎหมายและการบังคับใช้ที่มีประสิทธิภาพเพิ่มเติมในโครงสร้างดังกล่าว

กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญ

ปัจจุบันชัดเจนว่ารัฐธรรมนูญเป็นเอกสารทางการเมืองที่สำคัญ ที่วางโครงสร้างการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ทำอย่างไรรัฐธรรมนูญถึงมีชีวิต ประการแรกไม่ใช้รัฐธรรมนูญทุกฉบับเป็นลายลักษณ์อักษร ตัวอย่างที่ชัดเจนคือรัฐธรรมนูญของอังกฤษ แต่ประเทศส่วนใหญ่มีรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร
กรอบการปกครองและโครงสร้างของประเทศไม่สามารถกำหนดโดยปราศจากข้อตกลงทางปัญญาและสังคมในเชิงลึกเกี่ยวกับการเมือง กฎหมายและศีลธรรม เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว จะต้องมีการถกเถียงต่อสาธารณะอย่างกว้างขวางก่อนที่จะยอมรับรัฐธรรมนูญ การถกเถียงดังกล่าวต้องคำนึงถึงทุกสังคมที่จะมีความขัดแย้งกัน ในขณะที่ผลประโยชน์บางประการอาจเหนือกว่าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพอย่างไม่เป็นกลางต้องประกันว่าผลประโยชน์ที่เหนือกว่าต้องไม่ทำร้ายผลประโยชน์อื่น การยกร่างรัฐธรรมนูญต้องสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับประชาธิปไตยและนิติธรรม
รัฐธรรมนูญสมัยใหม่มักเป็นลายลักษณ์อักษรหลังจากที่อาณานิคมและการปราบปรามทางทหาร เป็นการเรียนรู้จากความผิดพลาดในอดีตและเขียนรัฐธรรมนูญใหม่โดยมีข้อจำกัดและพันธะสำหรับรัฐบาลจำนวนมากมาย เช่น รัฐธรรมนูญของอินเดียให้ความสำคัญมากกับสิทธิของแต่ละบุคคลในการมีส่วนร่วมในทางการเมืองและหน้าที่ของรัฐบาลในการคุ้มครองสิทธิดังกล่าว โดยเฉพาะการจำกัดอำนาจฝนการจับกุมและคุมขัง ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากประวัติศาสตร์ของอาณานิคมมีการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยจำนวนหลายร้อยคนถูกจับกุมและทรมาน

รัฐธรรมนูญนิยมเป็นข้อความคิดในทางรัฐศาสตร์ที่อธิบายว่ารัฐบาลไม่ได้มีอำนาจในตัวเอง แต่ได้รับอำนาจมาจากผลของกฎหมายที่เขียนขึ้นที่ให้อำนาจดังกล่าวแก่หน่วยงานปกครอง ข้อความคิดดังกล่าวตรงกันข้ามกับระบอบกษัตริย์ และเผด็จการที่อำนาจไม่ได้มาจากเอกสารทางกฎหมายที่กำหนดขึ้นมากก่อน ในระบอบกษัตริย์ อำนาจมาจากสิทธิที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้ของกษัตริย์เอง ระบอบเทวธิปไตย (theocracy) อำนาจทั้งหมดขององค์กรที่มีอำนาจมาจากความเชื่อทางศาสนาที่ปรากฏในฐานะผลของเจตจำนงของพระเจ้า สำหรับระบอบเผด็จการอำนาจมากจากเจตจำนงของคนหรือกลุ่มคนที่ไม่ได้เป็นตัวแทนของเจตจำนงของประชาชน
รัฐธรรมนูญนิยมกำหนดระบบของรัฐบาลที่อำนาจของรัฐบาลมีจำกัด พนักงานของรัฐบาลไม่ว่าเลือกตั้งหรือไม่ก็ตามไม่สามารถขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญได้ กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรกฎหมายสูงสุดที่ประชาชนทุกคน รวมทั้งรัฐบาลต้องอยู่ภายใต้ ประเทศหลายประเทศยอมรับรูปแบบของรัฐธรรมนูญนิยม
ในสหรัฐอเมริกา รัฐธรรมนูญไม่เพียงจำกัดอำนาจของรัฐบาลและยังกำหนดสามฝ่ายของรัฐบาลที่จำกัดอำนาจโดยการกำหนดระบบการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดีเป็นประมุขฝ่ายบริหารของรัฐบาลไม่มีอำนาจประกาศสงครามกับประเทศอื่นโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน รัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกากำหนดวิธีการจำกัดอำนาจของฝ่ายรัฐบาล รูปแบบของรัฐธรรมนูญนิยมปรากฏในสหราชอาณาจักร นิวซีแลนด์ และอิสราเอล ประเทศเหล่านี้ไม่มีรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร ซึ่งอิงอยู่บนวัฒนธรรมของการออกกฎหมายและกระบวนการทางรัฐสภา โดยไม่ต้องคำนึงถึงเอกสารที่กฎหมายสูงสุดของแผ่นดินจะใช้ ความแตกต่างในการตีความและใช้คำรัฐธรรมนูญนิยมในรัฐศาสตร์ มีการเน้นย้ำคำถามทางรัฐธรรมนูญหรือความเห็นที่แตกต่างเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญควรมีเนื้อหาอะไรบ้าง

เรียบเรียงจาก Stanford Encyclopedia of Philosophy

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น