วันอังคารที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

คดีสำคัญในประเด็นสิทธิคนรักร่วมเพศ


ที่ผ่านประเด็นสิทธิคนรักร่วมเพศในสหรัฐอเมริกาเป็นเองที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง  ศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกาได้พิจารณาประเด็นดังกล่าวในช่วงทศวรรษที่ 1980 เป็นครั้งแรกในคดี Bowers v. Hardwick, 478 US 186 (1986) ซึ่งประเด็นแห่งคดีคือกฎหมายของมลรัฐจอร์เจียที่กำหนดโทษทางอาญาต่อบุคคลที่มีพฤติกรรมร่วมเพศแบบวิตถารชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ แม้ว่ากฎหมายดังกล่าวจะบังคับใช้กับทั้งกรณีการรักร่วมเพศเดียวกันหรือต่างเพศกัน ศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาเลือกที่จะวินิจฉัยเฉพาะประเด็นความชอบด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญในการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวเท่านั้น ซึ่งข้อเท็จจริงปรากฎว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจที่บุกเข้าไปบ้านของนายฮาร์ดวิกส์เพื่อจับกุมในข้อหาเมาแล้วขับและไม่ปรากฎตัวต่อศาล และพบว่านายฮาร์ดวิกส์หลับนอนกับผู้ชายด้วยกันในห้องนอนของตนเอง เจ้าหน้าที่ตำรวจและอัยการตั้งข้อหาพฤติกรรมร่วมเพศแบบวิตถาร (แต่ต่อมาก็ได้ขอยกเลิกข้อหาดังกล่าว) ในคดีนี้ ศาลสูงสุด (5 ต่อ 4 เสียง) วินิจฉัยเฉพาะประเด็นสิทธิส่วนตัว (right of privacy) ภายใต้บทบัญญัติกระบวนการชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งศาลเสียงส่วนใหญ่เห็นว่าสิทธิส่วนตัวไม่ได้ขยายไปถึงพฤติกรรมทางเพศแบบวิตถาร  โดยให้เหตุผลประกอบในทำนองว่ากฎหมายของมลรัฐจอร์เจียที่มีบทลงโทษทางอาญาแก่บุคคลรักร่วมเพศสำหรับพฤติกรรมทางเพศที่วิตถารชอบด้วยรัฐธรรมนูญเพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้รับรองสิทธิพื้นฐานของคนที่มีพฤติกรรมทางเพศแบบวิตถารไว้ และพฤติกรรมดังกล่าวก็ขัดต่อวัฒนธรรมทางสังคมที่ดีงาม สำหรับต่อมาในปี ค.ศ. 1999 ศาลสูงสุดของมลรัฐจอร์เจียวินิจฉัยว่ากฎหมายดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญของมลรัฐจอร์เจีย

ในปี ค.ศ. 1996 ศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาได้พิจารณาประเด็นเรื่องสิทธิคนรักร่วมเพศในคดี Romer v. Evans ประเด็นแห่งคดีคือบทบัญญัติรัฐธรรมนูญของมลรัฐโคโลราโดซึ่งประชาชนเห็นชอบ 54% และไม่เห็นชอบ 46% ที่ห้ามมลรัฐหรือหน่วยงานรัฐในการยอมรับหรือรับรองกฎหมายที่ให้เอิ้อหรือคุ้มครองสิทธิคนร่วมร่วมเพศ ศาลเสียงส่วนใหญ่ (6 ต่อ 3 เสียง) วินิจฉัยว่าบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญของมลรัฐโคโลราโดขาดเหตุผลเพียงพอและละเมิดสิทธิที่ได้รับความคุ้มครองที่เท่าเทียมกันของคนรักร่วมเพศ ศาลเสียงข้างน้อยวิจารณ์คำพิพากษาเสียงส่วนใหญ่ว่าเป็นการเลืกข้างในสงครามวัฒนธรรม

ต่อมาในคดี Boy Scouts of America v Dale เป็นคดีที่นักวิชากการเรียกว่าสิทธิไม่เข้าร่วมสมาคม (Right not to associate) กล่าวคือ สมาคมลูกเสือมีสิทธิที่จะกีดกันชาวเกย์ไม่ให้เข้าร่วมสมาคมของตนเองโดยถือว่าเป็นสิทธิในแารแสดงออกตามบทับญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 ซึ่งยอมรับให้สิทธิเสรีภาพแก่สมาคมในการแสดงออกที่จะไม่ยอมรับสมาชิกที่อาจสร้างปัญหากับวัตถุประสงค์ของสมาคมหรือกลุ่ม ต่อมาในปี ค.ศ. 2003 ศาลสูงสุดได้พิจารณาคดี Lawrence v. Texas ซึ่งมีการฟ้องร้องว่ากฎหมายของมลรัฐเท็กซัสได้กำหนดโทษทางอาญาพฤติกรรมการร่วมเพศแบบวิตถารของคนรักร่วมเพศ แต่จะไม่ลงโทษหากพฤติกรรมในทำนองเดียวกันเกิดกับกรณีต่างเพศกัน ศาลสูงสุดเสียงส่วนใหญ่ (5 ต่อ 4 เสียง) พิจารณาในประเด็นกระบวนการชอบด้วยกฎหมายในสารบัญญัติ (Substantive due process) และการคุ้มครองที่เท่าเทียมกัน (equal protection) โดยเสียงส่วนใหญ่ได้วินิจฉัยกลับแนวทางคำพิพากษาในคดี Bowers v. Hardwick ที่วางหลักไว้เดิมว่ามลรัฐไม่มีอำนาจหรือเหตุผลที่ชอบด้วยกฎหมายในการกำกับดูแลพฤติกรรมทางเพศของผู้ใหญ่ที่ยินมยอมพร้อมใจ เนื่องจากเป็นสิทธิส่วนบุคคล หลังจากคำพิพากษาดังกล่าว 12 มลรัฐได้ยอมรับการแต่งงานของเพศเดียวกัน และในหลายมลรัฐ ศาลสูงสุดของมลรัฐ เช่น มลรัฐแมสซาซูเซส ไอโอว่า และคอนเน็ตติกัส ได้วินิจฉัยว่าการห้ามเพศเดียวกันแต่งงานเป้นการขัดต่อรัฐธรรมนูญของมลรัฐ ในบางมลรัฐ รัฐสภาของมลรัฐได้ออกกฎหมายอนุญาตและรับรองการแต่งงานของเพศเดียวกัน

ในปี ค.ศ. 2013 คดี United States v. Windsor ศาลตัดสินว่าบทบัญญัติกฎหมายการป้องกันการแต่งงาน (Defense of Marriage Act) ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญโดยการให้เหตุผลว่าขัดกับหลักการคุ้มครองที่เท่าเทียมกัน (Equal Protection Principles) ที่อยู่ในบทบัญญัติกระบวนการชอบด้วยกฎหมาย (Due Process Clause) ของบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 5 ศาลเสียงส่วนใหญ่ ( 5 ต่อ 4 เสียง) ระบุว่าการพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบแล้วจำเป็นต้องให้มีการเลือกปฏิบัติลักษณะที่ผิดปกติ การจัดการกับปัญหาของการยังยั้งที่รัฐบาลกลางยอมให้มลรัฐกำหนดนิยามและขอขเขตของการแต่งงาน   ซึ่งนำไปสู่การตีความกฎหมายรัฐบาลกลางที่ไม่ยอมรับการแต่งงานของเพศเดียวกันไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เช่น การยื่นขอรับภาษีคืน แม้ว่าคู่แต่งงานมีการแต่งงานโดยชอบด้วยกฎหมายโดยการรับรองจากมลรัฐ ในความเห็นแย้งชี้ว่าคำพิพากษานี้อาจนำไปสู่การประกาศว่าการที่มลรัฐห้ามเพศเดียวกันแต่งงานเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญ ดังนั้น เรื่องดังกล่าวควรให้มลรัฐพิจารณาเอง

ทั้งนี้ ไม่ว่าบทบัญญัติศรัทธาและเครดิตอย่างมาก (Full faith and credit clause) จะกำหนดให้มลรัฐไม่อนุญาตให้มีการแต่งงานระหว่างเพศเดียวกันได้ปฏิเสธที่จะยอมรับความชอบด้วยกฎหมายของการแต่งงานที่ดำเนินการโดยชอบด้วยกฎหมายในอีกมลรัฐหนึ่งซึ่งกลายเป็นประเด็นที่ยังคงเปิดกว้างอยู่ ศาลได้เปิดคำถามว่าการห้ามเพศเดียวกันแต่งงานของมลรัฐขัดกับบทบัญญัติการคุ้มครองที่เท่าเทียมตามบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบบัที่ 14 หรือไม่ ในปี ค.ศ. 2014 ศาลชั้นต้นของสหรัฐอเมริกาในมลรัฐยูท่าห์และโอกาโฮม่าได้ตัดสินว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญของมลรัฐที่ประกาศว่าการแต่งงานต้องต่างเพศกันเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา ซึ่งคำถามดังกล่าวอาจขึ้นไปสู่การพิจารณาของศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาในไม่ช้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น