วันเสาร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การแสดงสัญลักษณ์ทางศาสนาในที่สาธารณะ


ประเด็นเรื่องการแสดงสัญลักษณ์ทางศาสนาในสถานที่สาธารณะเป็นประเด้นหนึ่งที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ค่อนข้างมากและกลายเป็นประเด็นกฎหมายรัฐธรรมนูญในหลายประเทศ ในสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศเสรีนิยมอย่างสูงประเด็นเรื่องนี้ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลสูงสุดเพื่อให้วางหลักเกณฑ์ ความหลากหลายของคนในสหรัฐอเมริกามีทั้งคนที่มีความเชื่อทางศาสนาแบบสุดโต่งที่คัดค้านภาพวาดเกี่ยวข้องกับศาสนาที่อยู่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ หรือการสนับสนุนให้ยกย่องศาสนาโดยการสร้างสัญลักษณ์ไม้กางเขนบนรัฐสภา ซึ่งก็มีกลุ่มคนคัดค้าน ประเด็นปัญหาเหล่านี้อาจนำไปสู่การแตกแยกและทะเลาะวิวาทในชุมชนและแพร่ขยายไปก็เคยมี จึงมีความจำเป็นต้องลากเส้นแบ่งว่าอะไรทำได้หรืออะไรทำไม่ได้หรือไม่ควรทำเกี่ยวกับสัญลักษณ์ทางศาสนา รัฐบาลมักเป็นด่านแรกที่ต้องลากเส้นแบ่งดังกล่าว แต่หากมีผู้ไม่เห็นด้วยก็จะนำคดีไปสู่การวินิจฉัยของศาล เพื่อให้ลากเส้นแบ่งแยกความแตกต่างว่าสิ่งใดทำได้โดยชอบด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญและสิ่งใดทำไม่ได้
คดีที่สำคัญคือคดี Lynch (1984) และ County of Allegheny (1989) ทั้งสองคดีเกี่ยวข้องกับการติดตั้งภาพแสดงการกำเนิดของพระเยซูในที่สาธารณะในช่วงเทศกาลคริตมาส ศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาได้วางหลักเกณฑ์ในคดี Lynch ว่าสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าในมลรัฐโรดไอร์แลนด์ไม่ได้ฝ่าฝืนบทบัญญัติสิทธินับถือศาสนา (Establishment Clause) หลักเกณฑ์ดังกล่าวนิยมเรียกว่า เกณฑ์เลมอน (Lemon Test) ซึ่งมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้ การกระทำของรัฐบาลที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติสิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนา เว้นแต่ (๑) มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญในทางความเชื่อศาสนา (๒) ต้องไม่มีผลกระทบต่อการห้ามหรือจำกัดความเชื่อทางศาสนาอย่างมีนับสำคัญ และ (๓) ต้องไม่ทำให้ความขัดแย้งหรือความเกี่ยวข้องระหว่างศาสนาและรัฐบาลขยายตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามการใช้เกณฑ์เลมอนของศาลสูงสุดถูกตั้งคำถามโดยผู้พิพากษาเสียงข้างน้อยโดยเรียกร้องให้ใช้เกณฑ์เดิมจะเหมาะสมกว่าห้าปีต่อมา ศาลสูงสุดใช้เกณฑ์เลมอนกับคดี Allegheny  และสรุปว่าสถานเลี้ยงเด็กฝ่าฝืนบทบัญญัติสิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนา ลักษณะแตกต่างที่สำคัญคือเมืองแพทูเก็ตจัดแสดงสัญลักษณ์ตริสต์มาส เช่น ซานต้าครอส์และรูปปั้นสัตว์พลาสติกช้างและกวางเพื่อการเฉลิมฉลองในช่วงเทศกาลมากกว่าการสนับสนุนศาสนา แต่ในกรณีของเมืองออลเลทเอนีย์ที่มีการจัดแสดงใบพอยน์เซตเทียของสถานเลี้ยงเด็ก ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของคริสต์มาสไม่ใช่สัญลักษณ์ศาสนาแต่อย่างใด

ในปี ค.ศ. 1995 ในคดี Capitol Square Review Board, ศาลสูงสุดพิจารณาในประเด็นว่าไม้กางเขนที่กลุ่มเหยียดผิวหัวรุนแรงที่เรียกว่า KKK ณ บริเวณหน้าศาลาว่าการของรัฐบาลมลรัฐของมลรัฐโฮไอโอ้อาจถือเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติสิทธิสรีภาพในการนับถือศาสนา คำพิพากษาสรุปว่าสถานที่ดังกล่าวเป็นสถานที่สาธารณะซึ่งในอดีตใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมเพื่อแสดงความคิดเห็น ศาลสูงสุดให้เหตุผบว่าการวางไม้กางเขนดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นการสนับสนุนความเชื่อทางศาสนา เกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาในกรณีนี้ไม่ใช่ประเด็นว่าวิญญูชนทั่วไปอาจมองว่าไม้กางเขนเป็นการสนับสนุนศาสนาคริตส์ แต่ประเด็นที่แท้จริงในคดีนี้คือรัฐบาลของมลรัฐโฮไอโอ้ส่งเสริมศาสนาและการส่งเสริมดังกล่าวไม่ใช่เมื่อองค์กรเอกชนจะได้รับอนุญาตให้ใช้สถานที่สาธารณะเพื่อแสดงออกความเชื่อทางศาสนาต้องเท่าเทียมกันกับกรณีขององค์กรอื่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น