วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

คดี Cherokee Indian Cases (1830s)

ในคดี Cherokee Nation v. Georgia (1831) และ Worcester v. Georgia (1832) ศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกาพิจารณาถึงขอบเขตอำนาจของรัฐบาลในการกำกับดูแลคนชาติเผ่าพื้นเมืองดั้งเดิมของอเมริกาเหนือว่าควรเป็นอำนาจของรับบาลกลางหรือรัฐบาลท้องถิ่น ในคดีนี้ศาลสูงสุดวินิจฉัยว่าศาลสูงสุดไม่มีอำนาจในการพิจารณาคดีข้อเรียกร้องของคนพื้นเมืองอินเดียแดงภายในสหรัฐอเมริกา ซึ่งในคดี Worcester ศาลวินิจฉัยว่ารัฐบาลกลางของสหรัฐอเมริกาเท่านั้นที่มีอำนาจในการกำกับดูแลหรือจัดการกับคนพื้นเมือง ไม่ใช่รัฐบาลของมลรัฐหรือรัฐบาลท้องถิ่น

ในปี ค.ศ. 1828 มลรัฐจอร์เจียได้ออกกฎหมายหลายฉบับในการจำกัดสิทธิของชาวอินเดียแดงเผ่าเชอโรกี กล่าวคือกฎหมายดังกล่าวได้กำหนดให้คนพื้นเมืองเชอโรกีต้องอพยพออกจากพื้นที่อยู่อาศัย คนพื้นเมืองเชอโรกีได้โต้แย้งว่าสนธิสัญญาที่มีการเจรจากับรัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ประกันว่าคนเผ่าเชอโรกีจะสามารถมีที่ดินทำกินและมีความเป็นอิสระจากการปกครองของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา แต่การเจรจาในครั้งดังกล่าวในสมัยประธานาธิบดีแอนดรูว แจ็คสันไม่ประสบผลสำเร็จ คนเผ่าเชอโรกีโดยผู้นำจอห์น รอส (หัวหน้าคณะผู้เผยแพร่ศาสนา) ได้ร้องขอคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวต่อศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาเพื่อห้ามมิให้มลรัฐดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าว ศาลสูงสุดวินิจฉัยว่าศาลไม่มีอำนาจพิจารณาคดีและไม่อาจตัดสินคดีได้ ศาลเริ่มต้นโดยการแสดงความเข้าอกเข้าใจในความโชคร้ายของคนเผ่าพื้นเมืองเชอโรกี และยอมรับว่าคนพื้นเมืองได้ถูกรุกรานโดยผู้บุกเบิกชาวยุโรปที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานใหม่ในอเมริกา ซึ่งทำให้ชาวพื้นเมืองเชอโรกีเดิมกลายเป็นคนต่างชาติในแผ่นดินดั้งเดิมของตน แต่เมื่อมีการรวมชาติสหรัฐอเมริกา คนพื้นเมืองเชอโรกีก็กลายเป็นคนในชาติสหรัฐอเมริกา ด้วยเหตุผลดังกล่าว เมื่อรัฐธรรมนูญให้อำนาจศาลในการพิจารณาคดีที่ฟ้องร้องโดยคนต่างชาติไม่ใช่คนในชาติ คนเผ่าอินเดียแดงไม่ใช่คนต่างชาติ ดังนั้น ศาลจึงไม่มีอำนาจในการพิจารณาคดีนี้ได้จึงต้องยกคำฟ้อง 
ในขณะเดียวกันในปี ค.ศ. 1830 มลรัฐจอร์เจียได้ออกกฎหมายอีกฉบับที่กำหนดให้ประชาชนต้องได้รับใบอนุญาตก่อนที่จะตั้งถิ่นฐานในเขตพื้นที่ของคนเผ่าเชอโรกี กลุ่มของนักเผยแพร่ศาสนาที่อาศัยในเขตดังกล่าวปฏิเสธที่จะขอรับใบอนุญาตจากมลรัฐ คณะเผยแพร่ศาสนาเป็นกลุ่มที่ต่อต้านความพยายามของมลรัฐในการโยกย้ายถิ่นฐานของคนพื้นเมือง คณะเผยแพร่ศาสนาจึงถูกฟ้องร้องดำเนินคดต่อศาลมลรัฐจอร์เจีย ซึ่งคณะเผยแพร่ศาสนาถูกพิพากษาให้มีความผิด จึงมีการอุทธรณ์ไปยังศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาโดยการอ้างว่าศาลมลรัฐจอร์เจียไม่มีอำนาจในการพิจาณณาคดีดังกล่าว ในการพิจารณาคดีดังกล่าว ศาลสูสุดได้วินิจฉัยว่าคนเผ่าเชอโรกีเป็นหน่วยทางการเมืองที่แยกต่างหากที่ไม่สามารถกำกับดูแลได้โดยมลรัฐ กฎหมายใบอนุญาตของมลรัฐจอร์เจียจึงขัดรัฐธรรมนูญและศาลจึงกลัยคำพิพากษาในกรณีการกำหนดโทษแก่คณะเผยแพร่ศาสนา

 ในชั้นแรกศาลชี้ว่าหลักฐานระบุว่าชุมชนคนพื้นเมืองถูกมองว่าเป็นคนชาติที่แยกจากคนอเมริกานั้นต้องย้อนกลับไปในระยะเริ่มแรกที่มีการอพยพตั้งรกรากของชาวยุโรป ศาลให้เหตุผลว่าปัจจุบันนี้ สนธิสัญญาและกฎหมายของสหรัฐอเมริกาพิจารณาเขตพื้นที่อินเดียแดงซึ่งแบ่งแยกเด็ดขาดจากมลรัฐ แต่ต่อมามีการรวมชาติเกิดขึ้นโดยรัฐบาลกลาง ดังนั้น มีเพียงรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกาสามารถเจรจาเงื่อนไขในประเด็นที่ดินของอินเดียแดงและการใช้ที่ดินดังกล่าว มลรัฐไม่มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญในการจัดการกับคนชาติดังกล่าวแต่ประการใด มลรัฐจอร์เจียไม่อาจออกกฎหมายใบอนุญาตและดำเนินคดีกับผู้เผยแพร่ศาสนาที่ฝ่าฝืนกฎหมายฉบับดังกล่าวได้ ทั้งนี้ คณะผู้เผยแพร่ศาสนายังคงถูกจำคุกอยู่จนกระทั่งปี ค.ศ.  1833  เมื่อผู้ว่าการมลรัฐจอร์เจียคนใหม่เจรจาให้มีการปล่อยตัวในเวลาต่อมา คนเผ่าเชอโรกีในมลรัฐจอร์เจียถูกโยกย้ายถิ่นที่อยู่โดยบังคับใช้กำลังในปี ค.ศ. 1838 ตามสนธิสัญญาเรียกว่า "the Trail of Tears" ปัจจุบันนี้คำวินิจฉัยของคดี  Worcester ไม่มีผลผูกพันอีกต่อไป ศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาวินิจฉัยว่ามลรัฐอาจกำกับดูแลเขตพื้นที่คนเผ่าอินเดียแดงภายในอาณาเขตมลรัฐของตนเองได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น