วันศุกร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2560

โดรนและกฎหมายว่าด้วยสงคราม

แม้ว่าปัจจุบันนี้ กฎหมานยสงครามจะสามารถครอบคลุมเรื่องของโดรน แต่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่รวดเร็วอาจล้ำหน้ากฎหมายในไม่ช้า เทคโนโลยีอากาศยานทางทหารไร้คนขับ (Unmanned Aerial Systems หรือ UAS) ซึ่งนิยมเรียกว่า โดรน ถูกกำกับดูแลภายใต้กฎหมายเดียวกันทหารที่มีอาวุธปืน กล่าวคือกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศและหลักกฎหมายว่าด้วยการขัดกันทางอาวุธ (Law of armed conflict principles) ที่ใช้บังคับกับทหารสามารถใช้บังคับกับโดรนเช่นเดียวกัน กฎบัตรสหประชาชาติมาตรา 51 รักษาสิทธิของรัฐในการป้องกันตนเอง (self-defense) ภายใต้สถานการณ์ที่ถูกโจมตีด้วยอาวุธ สหรัฐอเมริกาและรัฐอื่นเห็นด้วยว่าสิทธิป้องกันตนเองขยายไปถึงกรณีการป้องกันตนเองจากการคาดการณ์ด้วย (Anticipatory self-defense)  องค์ประกอบของการป้องกันตนเองภายใต้กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศในบริบทของสงครามต่อการก่อการร้ายได้ทำให้มีการขยายขอบเขตดังกล่าวออกไป สำหรับกรณีของโดรนเน้นให้เห็นว่าเป้นการโจมตีทางยุทธการทหารที่ไม่สามารถดำเนินการได้โดยกองกำลังพิเศษแบบดั้งเดิม

หลักกฎหมายว่าด้วยการขัดกันทางอาวุธบรรจุอยู่ในอนุสัญญากรุงเฮกและเจนีวา รวมทั้งโปรโตคอลเพิ่มเติมที่เรียกว่ากฎหมายทนุษยธรรมระหว่างประเทศ หลักกฎหมายว่าด้วยการขัดกันทางอาวุธกำหนดว่าการใช้กองกำลังติดอาวุธที่เกี่ยวพันกับการขัดกันทางอาวุธระหว่างประเทศ (International Armed Conflict หรือ IAC) หรือ การขัดกันทางอาวุธที่ไม่ใช่ระหว่างประเทศ (Non-International Armed Conflict หรือ NIAC) ต้องปฏิบัติตามหลักการได้สัดส่วน (proportionality) และความแตกต่าง (distinction) กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การได้สัดส่วนป้องกันรัฐจากการใช้กำลังที่จะส่งผลให้เกิดความเสียหายข้างเคียง ส่วนความแตกต่างกำหนดให้รัฐต้องใช้กำลังในกรณีที่พลเรือนและทหารสามารถแบ่งแยกจากกันได้ ในการประชุมของสมาคมกฎหมายระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา นายฮารอล์ด โกท (Harold Lho) ที่ปรึกษาด้านกฎหมายของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐอเมริกาได้กำหนดนิยามของการป้องกันทางกฎหมายของสงครามที่เป้นเป้าหมายของสหรัฐอเมริกาและระบบอาวุธล้ำสมัยไว้ว่าอิงหลักปกป้องตนเองของกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศและหลักการได้สัดส่วนและหลักความแตกต่างของหลักกฎหมายว่าด้วยการขัดกันทางอาวุธ ดังนั้น สหรัฐอเมริกาจึงถือว่าโดรนมีสถานะเช่นเดียวกันกับอาวุธรูปแบบดั้งเดิมและอยู่ภายใต้หลักกฎหมายเดียวกัน

แม้ว่าโดรนจะอยู่ภายใต้กฎหมายที่มีอยู่เดิมในปัจจุบัน เทคโนโลยีและพัฒนาการของเรื่องสงครามโดยทั่วไปต้องหันกลับมาพิจารณาทบทวนใหม่ โดรนถูกใช้งานเพิ่มขึ้นในการจัดการกับเป้าหมายเฉพาะบุคคลหรือการทำลายเป้าหมายเฉพาะ ในปากิสถาน การโจมตีโดยใช้โดรนเพิ่มขึ้นจากครั้งเดียวในปี ค.ศ. 2004 เป็น 117 ครั้งในปี ค.ศ. 2010 (ข้อมูลจาก The Long War Journal.Org) โดรนถูกใช้งานโดยหน่วยงานที่ไม่ใช่ทหาร เช่น CIA ที่ใช้งานโดรนในการโจมตีเป้าหมายเพิ่มขึ้นในหลายประเทศ จึงกล่าวได้ว่าการใช้งานโดรนได้ถูกขยายและเสริมสร้างขีดความสามารถของหน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่ทหารในการดำเนินการโจมตีเหมือนทหารเพิ่มขึ้นด้วยต้นทุนที่ถูกในแง่ของความสูญเสียของบุคลากร นอกจากนี้ โดรนใช้งานประกอบร่วมกับงานข่าวกรองภาคพื้นดินมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการใช้ระบบอาวุธจัดการกับเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีคำถามเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับเป้าหมายและความสำคัญของหลักการกฎหมายว่าด้วยการขัดกันทางอาวุธ โดยเฉพาะหลักความจำเป็นทางมหาร (military necessity)
หากพิจารณาในแง่ของเป้าหมายและความจำเป็นทางทหาร โดรนกำหนดทางเลือกที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติและแม่นยำในการใช้กำลัง การใช้งานโดรนตามขอบเขตของสหรัฐอเมริกา สหประชาชาติหรือกองกำลังท้องถิ่นและตำรวจไม่ต้องเกี่ยวข้องกับการใช้กำลังเพื่อต่อสู้ การใช้งานโดรนสามารถผนวกรวมการตัดสินเป้าหมายร่วมกันได้ เช่น ทหารสิบคนจำเป็นต้องมีการตัดสินเป้าหมายสิบอย่างที่แตกต่างกัน และแต่ละคนก็จะมีความกังวลในความปลอดภัยของตนเองมากกว่าโดรนซึ่งไม่มีความสูญเสียชีวิต ดังนั้น ประเด็นจึงเป็นเรื่องความจำเป็นทางทหาร ข้อโต้แย้งในการใช้งานโดรนคือการใช้งานโจมตีมีความ
ง่่ายมาก แนวคิดเรื่องความจำเป็นทางทหารที่มาจากหลักความได้สัดส่วนและความแตกต่างจึงจำเป็นต้องได้รับการทบทวนในการใช้งานโดรน เพราะโดรนสามารถรุกล้ำเข้าอาณาเขตของประเทศเป้าหมายได้ ในขณะที่กองกำลังทหารไม่สามารถรุกล้ำเข้าได้ การขยายศักยภาพดังกล่าวต้องมีการกำหนดนิยามของการใช้งานโดรนและเป้าหมายที่แท้จริงใหม่ว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งในการรักษาการแพ้ต่อศัตรู

อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ยังคงค้างคาอยู่เกี่ยวกับการใช้งานโดรนซึ่งมีแนวโน้มจะมีความสำคัญเพิ่มขึ้น เพราะเทคโนโลยีก้าวหน้ามากขึ้น ปัจจุันนี้โดรนควบคุมโดยนักบินหนึ่งคนโดยการควบคุมระยะไกล เหมือนกับเครื่องบินทั่วไป กิจกรรมของโดรนส่วนใหญ่สามารถทำงานแบบอัตโนมัติได้ ดังนั้น จึงไม่ยากที่จะจินตนาการได้ว่าในอนาคตนักบินหนึ่งคนสามารถควบคุมโดรนได้หลายลำหรือเป็นฝูงโดรน โดรนอาจจะสามารถถูกโปรแกรมให้ตอบสนองอัตโนมัติในบางสถานการณ์ เช่น การตอบโต้เพื่อป้องกันตนเองหรือการหลบหลีกจากการโจมตีของศัตรู ระบบอาวุธอัตโนมัติแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของการวิจัยและพัฒนาของเทคโนโลยีทางทหาร และในไม่ช้ามีความจำเป็นในทางกฎหมายที่ต้องแยกโดรนติดอาวุธออกจากอาวุธดั้งเดิมทั่วไปในระบบกฎหมายสงคราม เช่น อาจมีอนุสัญญาว่าด้วยอาวุธไร้คนบังคับ (unmanned weapons convention) เป็นต้น

ประเด็นเรื่องอัตโนมัติเน้นย้ำในเรื่องของเป้าหมาย ซึ่งมีข้อพิจารณาว่าโดรนควรจะยอมให้ตัดสินใจได้เองว่าในการจู่โจมเป้าหมายหรือไม่ อย่างไร ในประเด็นนี้สร้างปัญหาทางกฎหมายในหลักกฎหมายว่าด้วยการขัดกันทางอาวุธ เช่น อาวุธที่สามารถดำเนินการได้โดยอัตโนมัติจะต้องยึดหลักความแตกต่างหรือไม่ ประเทศที่เป้นสมาชิกสนธิสัญญาอ็อตตาวาที่ห้ามระเบิดต่อต้านบุคคลแบบอัตโนมัติเพราะอาวุธดังกล่าวไม่สามารถแบ่งแยกความแตกต่างได้ว่าเป็นพลเรือนผู้บริสุทธิ์หรือทหารคู่ต่อสู้ หรือในกรณีที่โดรนที่มีอาวุธอัตโนมัติสามารถรับรู้ว่ามีการยอมจำนนและจับตัวเชลย กรณีที่เกิดขึ้นในสงครามอ่าวเปอร์เซียคือหน่วยกองกำลังรีพับลิกันได้ยอมจำนนต่อโดรนรุ่นบุกเบิกของสหรัฐอเมริกา แต่ประเด็นปัญหาที่ยากที่สุดในเรื่องอัตโนมัติคือผู้ใดจะเป็นคนรับผิดชอบกรณีที่โดรนที่มีอาวุธอัตโนมัติก่อให้เกิดความเสียหาย หลักกฎหมายว่าด้วยการขัดกันทางอาวุธระบุห่วงโซ่ของความรับผิดชอบที่ได้ขยายจากการใช้กำลัง แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าใครบ้างที่ต้องรับผิดชอบกิจกรรมหรือพฤติกรรมของโดรน
โดยสรุป โดรนได้เพิ่มขีดความสามารถทางด้านทหารอย่างรวดเร็วและกว้างขวางมากขึ้น แม้ว่าจะถูกกำกับดูแลภายใต้กฎหมายสงครามอาจในไม่ช้าอาขจก้าวล้ำนำกรอบกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดรนอาจเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาดิจการสงคราม แต่เทคโนโลยีดังกล่าวมีทั้งข้อดีและข้ดเสีย โดรนมีขีดความสามารถในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมาก ในอนาคตมีความเป็นไปได้ว่าโดรนอาจกลายเป็นเหมือนอาวุธที่ใช้กันทั่วไป ดังนั้น กฎหมายสงครามอาจต้องมีการปรับให้ทันสมัยกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและสร้างสมดุลให้เกิดความเป็นธรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น