วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การกำกับดูแลเคเบิ้ลใต้ทะเลและสถานีเคเบิ้ล

โดยทั่วไปปัจจัยที่มีผลต่ออัตราค่าบริการโทรคมนาคมระหว่างประเทศและบริการอินเทอร์เน็ตของประเทศกำลังพัฒนาประการหนึ่งคือ ต้นทุนของเคเบิ้ลใต้น้ำและสถานีเคเบิ้ล กล่าวคือต้นทุนในการโทรศัพท์และเข้าใช้บริการอินเทอร์เน็ตยังคงแพงอย่างไม่ได้สัดส่วนเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ปัจจัยสำคัญของต้นทุนของเคเบิ้ลใต้น้ำและสถานีเคเบิ้ลที่สูงเกิดจากการผูกขาดของผู้ประกอบการรายใหญ่ในตลาดเหนือเคเบิ้ลใต้น้ำ (Submarine cable) สถานีเคเบิ้ล (Landing station) และชุมสายโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International gateways) ซึ่งในอดีตบริการเหล่านี้จะอนุญาตแก่ผู้ประกอบการที่มีอำนาจผูกขาดโดยธรรมชาติ (Natural monopoly) และให้บริการโดยรัฐหรือหน่วยงานของรัฐเนื่องจากเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพที่สุด จึงกลายเป็นแหล่งเงินที่อาจใช้อุดหนุนการสร้างโครงข่ายโทรคมนาคมของประเทศ
ระบบเคเบิ้ลใต้ทะเลเริ่มต้นจากการประดิษฐ์เทคโนโลยีการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1840 มีการทดลองวางสายเคเบิ้ลโทรเลขเกิดขึ้น แต่ประสบความสำเร็จทางการค้าผ่านระบบเคเบิ้ลใต้ทะเลในปี ค.ศ. 1851 ข้าม the Strait of Dover จากจุดเริ่มต้นของบริการโทรศัพท์ Alexander Graham Bell ตระหนักความเป็นไปได้บริการระหว่างประเทศที่ใช้เคเบิ้ลใต้ทะเลและบริการเริ่มในปี ค.ศ. 1884
ก่อนสิ้นสุดในศตวรรษที่ 19 เคเบิ้ลโทรเลขส่วนใหญ่เป็นของเอกชนและมีการกำกับดูแลแบบหลอม ๆ ในปี ค.ศ. 1882 ประมาณ 90% ของระบบเคเบิ้ลใต้ทะเลเป็นของภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม ในช่วงเริ่มเข้าสุ่ศตวรรษที่ 20 แนวโน้มการเติบโตระหว่างประเทศทำให้รัฐบาลกำกับดูแลและเข้าไปแทรกแซงระบบเคเบิ้ลใต้ทะเล ระบบเคเบิ้ลใต้ทะเลต้องการเส้นทางที่ทำกำไรในเชิงพาณิชย์และเส้นทางในเชิงกลยุทธ์และทางการเมืองด้วย เส้นทางเชื่อมโยงเริ่มมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ในยุทธศาสตร์ทางการเมืองระหว่างประเทศ สงครามโลกครั้งที่หนึ่งให้ความสำคัญกับการสื่อสารในฐานะความมั่นคงของประเทศและรัฐบาลยกระดับการเกี่ยวข้องกับโทรคมนาคม
ประวัติระบบเคเบิ้ลใต้ทะเล
1849 เคเบิ้ลโทรเลขระหว่างสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส (เสียหาย 8 วันต่อมา)
1851 บริการโทรเลขระหว่างประเทศโดยเคเบิ้ลใต้ทะเลแบบ coaxial ใน Straits of Dover
1858 เคเบิ้ลโทรเลขข้ามแอตแลนติกเส้นแรก (ล้มเหลวในสามสัปดาห์)
1868 เคเบิ้ลโทรเลขข้ามแอตแลนติกเส้นแรกที่ประสบความสำเร็จทางการค้า
1877 การทดลองส่งสัญญาณโทรศัพท์ผ่านเคเบิ้ลโทรเลขข้ามแอตแลนติก (ล้มเหลว)
1884 บริการโทศัพท์ผ่านเคเบิ้ลเส้น San Francisco-Oakland เริ่ม
1943 เคเบิ้ล Coaxial กับ repeaters ในสหราชอาณาจัก
1956 TAT-1 เป็นเคเบิ้ลข้ามแปซิฟิกเส้นแรก
1964 TPC-1 เป็นเคเบิ้ลข้ามแปซิฟิกเส้นแรก
1988 TAT-8 ระบบแรกที่วางเส้นใยแก้วนำแสง
1989 TPC-3 ระบบเคเบิ้ลใยแก้วนำแสงข้ามแปซิฟิกเส้นแรก
1997 FLAG ระบบเคเบิ้ลร่วมลงทุนระบบแรก
ที่มา: Varney, A., “History Timeline”, http://www.teleport.com/~iscw/iscw/tl_hist.html
ในระยะแรก ระบบเคเบิ้ลใต้ทะเลเป็นโครงสร้างแบบจุดต่อจุดและมีความจุที่จำกัด โดยทั่วไปผู้ประกอบการบริการโทรคมนาคมสองรายจากประเทศที่เคเบิ้ลขึ้นฝั่งร่วมมือกันในการวางแผนและบริหารจัดการของระบบ การอนุญาตสิ่งอำนวยความสะดวกโทรคมนาคมระหว่างประเทศโดยองค์กรกำกับดูแลตามคำขออนุญาตแล้วแต่กรณี ต่อมาระบบเคเบิ้ลใต้ทะเลมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นและมีความจุในการให้บริการมากขึ้น ไม่เพียงแต่ผู้ประกอบการโทรคมนาคมของประเทศที่เชื่อมเคเบิ้ลใต้ทะเลและประเทศอื่นที่ต้องการความจุในการให้บริการโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ดังนั้น มีผู้เข้าร่วมในการวางแผนระบบเคเบิ้ลมากขึ้นด้วย องค์กรกำกับดูแลของประเทศพัฒนาแล้วเห็นว่าการพิจารณาอนุญาตระบบเคเบิ้ลตามรายกรณีอาจไม่เหมาะสมกับปริมาณความต้องการที่เพิ่มขึ้นและความซับซ้อนของระบบเอง
ในอดีต การกำกับดูแลในแต่ละประเทศจำกัดการก่อสร้างและดำเนินการสิ่งอำนวยความสะดวกโทรคมนาคมระหว่างประเทศให้กับผู้ประกอบการเพียงรายเดียวหรือน้อยราย จนกระทั่งในทศวรรษที่ 1980 ผู้ประกอบการรายใหญ่ได้รับอนุยาตและสามารถลงทุนสร้างและใช้เคเบิ้ลใต้ทะเลได้ ผู้ประกอบการเคเบิ้ลรวมตัวกันวางแผนและก่อสร้างระบบโดยการแบ่งความเสี่ยงและต้นทุนที่สูงด้วยกัน เรียกว่าเป็นคลับที่ควบคุมการก่อสร้างและบริหารจัดการเคเบิ้ลใต้ทะเล ซึ่งประกอบด้วยบริษัท  AT&T, KDD, France Telecom, Deutsche Telekom, และ British Telecom ได้รวมตัวกันสร้างเคเบิ้ลใต้ทะเลข้ามมหาสมุทรแอนแลนติก ซึ่งสมาชิกของคลับเป้นทั้งเจ้าของ ผู้ใช้หรือผู้ขายความจุของระบบเคเบิ้ลใต้ทะเล
โดยทั่วไป เจ้าของสิ่งอำนวยความสะดวกหรือสาถนีเคเบิ้ลใต้ทะเลเป็นผู้ประกอบการของประเทศที่สิ่งอำนวยความสะดวกตั้งอยู่และเป็นจุดเชื่อมไปยังทะเลมักจะเป็นสมาชิกของคลับ การกำกับดูแลในอดีตให้ผู้ประกอบการภายในประเทศเป็นเจ้าของสิ่งอำนวยความสะดวก หลังจากมีการเปิดเสรีเจ้าของสิ่งอำนวยความสะดวก เจ้าของโครงข่ายหลักของประเทศมักได้รับความนิยมเพราะสามารถร่วมมือกันในการเชื่อมต่ออย่างราบรื่น ดังนั้น ระบบคลับจึงเป็นความสัมพันธ์แบบร่วมมือและสมคบกันระหว่างผู้ประกอบการรายใหญ่ของแต่ละประเทศสมาชิกมากกว่าจะเป็นคู่แข่งขันกัน
กระบวนการก่อสร้างของระบบเคเบิ้ลใต้ทะเลระหว่างประเทศโดยกลุ่มคลับมีลักษณะดังนี้ ประการแรก ความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจถูกประมาณอิงการพยากรณ์ของความต้องการในอนาคต โดยทั่วไปหน่วยงานของรัฐนำส่วนที่ตนประมาณการณ์และสมาชิกร่วมตัดสินใจความต้องการทั้งหมดในภาพรวม สมาชิกจะถกเถียงแผนงานพื้นฐาน เช่น การวางแผนสร้างระบบและระยะเวลาการก่อสร้าง หลังจากที่สมาชิกตกลงกันแล้วก็จะสรุปสิ่งของเฉพาะสำหรับการก่อสร้าง การดำเนินงาน และการบำรุงรักษา หากสมาชิกเห็นชอบ ปัจจัยต่าง ๆ จะถูกระบุไว้ในข้อตกลงก่อสร้างและการบำรุงรักษาที่จะกลายเป็นสัญญาทางการของประเทศสมาชิก ซึ่งมักจะใช้ระยะเวลาหนึ่งปีหลังจากการประชุมนักลงทุนครั้งแรกเพื่อตกลงสรุปสัญญาก่อสร้างและบำรุงรักษา
ทั้งนี้ มีหลายวิธีสำหรับผู้ประกอบการในการได้รับความจุของเคเบิ้ลใต้ทะเลในระบบคลับ การซื้อความจุจากคลับแบบครึ่งวงจรหรือทั้งวงจร การซื้อสิทธิการใช้ที่ไม่สามารถโต้แย้งได้ (indefeasible right of use) หรือการเช่าความจุจากเจ้าของหรือสมาชิกคลับ สมาชิกของกลุ่มซื้อความจุจากกลุ่มได้ หน่วยงานของรัฐที่เข้าร่วมในคลับและสร้างระบบเคเบิ้ลใต้ทะเลเพื่อสนองความต้องการของตนเองเป็นหลัก แต่สมาชิกของกลุ่มซื้อความจุของระบบก่อนรายอื่น ต่อมาทางเลือกอื่นในการได้รับความจุได้รับการเสนอแก่ผุ้ประกอบการรายอื่นหรือผู้ใช้โดยกลุ่ม หากมีความจุเหลือ นอกจากนี้ การให้บริการระบบเคเบิ้ล เจ้าของครึ่งวงจรต้องติดต่อกับเจ้าของอีกครึ่งวงจรหนึ่งด้วย
IRU เป็นสัญญาโอนสิทธิในการใช้ความจุของระบบเคเบิ้ลใต้ทะเล ผู้ซื้อ IRU เป็นเจ้าของสิทธิเช่นเดียวกับสมาชิกของคลับในการใช้วงจร แต่เจ้าของ IRU ไม่สามารถออกเสียงในเรื่องการบริหารจัดการระบบได้ เจ้าของ IRU ไม่ได้มีความเสี่ยงในกระบวนการก่อสร้าง แต่ราคาของ IRU จะแพงกว่าราคาเดิมของสมาชิกในการซื้อออคคความจุ เงื่อนไขของ IRU มักเป้นระยะเวลาเดียวกับระยะเวลาของเคเบิ้ลคือประมาณ 20-25 ปี การเช่าในระยะสั้น จะมีค่าเช่าที่สูงกว่ามาก สมาชิกของคลับสามารถควบคุมความมีอยู่และราคาของ IRU และการเช่า ความจุที่มีโดย IRU หรือการเช่ามักมีจำกัด
ระบบกลุ่มคลับแบบดั้งเดิมนั้น หน่วยงานของรัฐกลายเป็นสมาชิกของกลุ่มร่วมลงทุนในสร้างระบบ มีบทบาทในการดำเนินงานและบำรุงรักษา และการใช้ความจุของระบบ ระบบผู้ประกอบการส่วนตัวเริ่มในราวปี ค.ศ. 1980 หลังจากการเปิดเสรีความเป็นเจ้าของสิ่งอำนวยความสะดวกในบางประเทศ ระบบส่วนตัวคล้ายกับระบบกลุ่มคลับเพราะผู้ประกอบการจะมีบทบาททั้งหมด แต่ระบบส่วนตัวจะเชิญนักลงทุนที่ไม่ใช่ผู้ประกอบกิจการ เช่น ธนาคาร เข้าร่วม ระบบไม่ใช่ผู้ประกอบการเริ่มปรากฏ เจ้าของของระบบดังกล่าวมุ่งเน้นการขายและให้เช่าความจุแก่รายอื่นและไม่ใช้ความจุในกิจการของตน
ในอดีตการสร้างเคเบิ้ลใต้ทะเลอยู่ในรูปของคลับปิด (Closed club) ที่สามารถลงทุนจำนวนมหาศาลได้เพื่อวางสายเคเบิ้ลใต้ทะเล สมาชิกมีสิทธิเด็ดขาด (Exclusive right) ในการใช้ความจุในแต่ละประเทศ ผู้ประกอบการบางรายอาจซื้อสิทธิในการใช้ (Indefeasible Right of Use) สัญญาการโอนสิทธิในการใช้ความจุของระบบเคเบิ้ลใต้ทะเล สิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิเด็ดขาดและไม่สามารถเพิกถอนได้ในการใช้สิทธิอำนวยความสะดวก โดยทั่วไปมีระยะเวลา 20-25 ปี แต่จะไม่มีสิทธิในการควบคุมสิ่งอำนวยความสะดวก เจ้าของ IRU ไม่มีความเสี่ยงจากกระบวนการก่อสร้าง แต่ราคาต่อหน่วยของความจุจะสูงกว่าสมาชิกคลับ
ผู้ประกอบการรายอื่นที่เช่าความจุจากสมาชิกคลับเป็นครึ่งหนึ่งของช่องวงจรสื่อสารหรือเต็มช่องวงจรสื่อสารจากสมาชิก การเช่าเป็นเงื่อนไขระยะสั้นแต่มีต้นทุนที่สูง สมาชิกคลับควบคุมความมีอยู่และราคาของ IRU และการเช่าที่มีความจุที่จำกัด
การพัฒนาของเทคโนโลยีใยแก้วลดลงของต้นทุนแต่ละหน่วยของระบบเคเบิ้ลใต้ทะเล การยกระดับของอุปกรณ์ที่จุดสิ้นสุดของเคเบิ้ลจะเพิ่มความสามารถในการส่งสัญญาณ การเปิดเสรีอาจก่อให้เกิดผู้ประกอบการเอกชนรายใหม่ในการก่อสร้างระบบของตนเองแทนที่จะเข้าร่วมกับคลับของผู้ประกอบการรายใหญ่ เช่น PTAT ที่ลากผ่านมหาสมุทรแอนแลนติกเหนือ
กรณีศึกษาของ FLAG
FLAG (Fiber-optic Link Around the Globe) เริ่มให้บริการตั้งแต่ปี ค.ศ. 1997 และเป็นหนึ่งระบบของเอกชนที่เจ้าของร่วมเป็นบรรษัทโทรคมนาคมเอกชน FLAG consortium ประกอบด้วยหกฝ่ายที่ได้รับการสนับสนุนโดยสถาบันทางการเงินระหว่างประเทศมากกว่า 30 แห่ง ในระยะแรกของการดำเนินงาน FLAG ไม่ได้จำกัดสมาชิกของกิจการร่วมแต่ประสงค์ที่จะเสนอขายความจุแก่ผู้ประกอบการอื่น เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการรายใหม่ที่เกิดจากการเปิดเสรีกิจการโทรคมนาคมระหว่างประเทศ FLAG อนุญาตให้ผู้ประกอบการซื้อความจุเท่าที่ต้องการแทนที่การบังคับให้ซื้อความจุที่กำหนดตายตัวเหมือนรูปแบบในอดีต
FLAG เป็นเจ้าของและดำเนินการโครงข่ายแบบ low-latency, global MPLS-based IP network ที่เชื่อมต่อกับชุมสายอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศ โดยเสนอผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายรวมทั้ง global bandwidth, IP, Internet, Ethernet และบริการ Co-location ในเดือนธันวาคม 2006 Reliance Communications ประกาศจะสร้างโครงข่ายเคเบิ้ลใต้ทะเลแบบ IP ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งเรียกว่า FLAG Next Generation Network (NGN) ซึ่งจะมีมูลค่าการลงทุนสูง 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯและต้องวางสายเคเบิ้ลใยแก้วเพิ่มกว่า 50,000 กิโลเมตร หากโครงการเสร็จสมบูรณ์ ระบบจะรองรับได้ประมาณ 60 ประเทศและมีสายเคเบิ้ลยาวกว่า 115,000 กิโลเมตร
ก่อนมีการเปิดเสรีผู้ให้บริการโทรคมนาคมของแต่ละประเทศได้เข้าร่วมระบบเคเบิ้ลใต้ทะเลระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นระบบแบบคลับปิด การเปิดเสรีในบางประเทศทำให้เกิดระบบเอกชนขึ้นในขณะเดียวกันพัฒนาการทางเทคโนโลยีได้เพิ่มขีดความสามารถของระบบอย่างรวดเร็ว ในขณะที่วัตถุประสงค์หลักของระบบเคเบิ้ลใต้ทะเลในอดีตจะตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบกิจการสมาชิกของคลับ FLAG มีวัตถุประสงค์นำเสนอความจุแก่ผู้ประกอบกิจการ นอกเหนือจากสมาชิกที่ร่วมลงทุนตั้งแต่เริ่มต้นดำเนินการ ผู้ประกอบการรายใหม่ที่ปรากฏหลังการเปิดเสรีบริการโทรคมนาคมระหว่างประเทศในบางประเทศต้องเผชิญความยากลำบากในการได้รับความจุที่จำเป็นของระบบเคเบิ้ลใต้ทะเลจากคลับ FLAG อนุญาตให้ผู้ประกอบกิจการซื้อระบบตามที่ต้องการจากคลับ แทนที่จะบังคับให้ซื้อความจุตั้งแต่แรกเริ่มคล้ายระบบเดิมในอดีต ลักษณะเฉพาะของ FLAG คือเส้นทาง ซึ่งมุ่งเน้นความจุของระบบเคเบิ้ลใต้ทะเลระหว่างยุโรป ตะวันออกกลาง และเอเซียและจะสร้างระบบคู้ขนานกับเส้นทาวดังกล่าว
นอกจาก FLAG แล้วยังมีระบบเคเบิ้ลใต้ทะเลอีกระบบหนึ่งคือ SEA-ME-WE 3 ซึ่งเริ่มวางแผนพร้อม ๆ กับ FLAG เจ้าของ SEA-ME-WE 3  คือผู้ประกอบการรายใหญ่ของประเทศต่าง ๆ ทั้งสองระบบจึงเป็นคู่แข่งขันกัน ในช่วงเริ่มต้นของต้นทศวรรษที่ 1990 แผนสำหรับระบบเคเบิ้ลใต้ทะเลที่อาจตอบสนองการเพิ่มขึ้นจำนวนมากของความต้องการที่เกิดจากอินเทอร์เน็ต OXYGEN เป็นหนึ่งในระบบเคเบิ้ลใต้ทะเลแรกที่ให้ความสำคัญกับความต้องการที่เกิดจากอินเทอร์เน็ตในระยะแรก แผนของ OXYGEN ประกาศในปี ค.ศ. 1997 มีจุดเชื่อมต่อบนแผ่นดินจำนวน 265 จุดใน 171 ประเทศและมีความยาวรวมทั้งสิ้น 300,000 กิโลเมตร ความจุของระบบมีจำนวนมหาศาลและเป็นเจ็ดเท่าใหญ่กว่าระบบ FLAG ระบบ OXYGEN ได้ยอมรับวิธีการที่แตกต่างอย่างมากของการให้บริการ ในอดีตความจุของเคเบิ้ลใต้ทะเลได้รับการเสนอแบบครึ่งวงจรหรือโยเส้นทางที่เชื่อมต่อสองจุด ตั้งแต่เริ่มแรก OXYGEN วางแผนเป็นโครงข่ายมากกว่าเป็นกลุ่มการเชื่อมโยงจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งแบบอิสระ ซึ่งจะสร้างความยืดหยุ่นในการวางเส้นทาง OXYGEN อนุญาตให้ผู้ประกอบการซื้อจำนวนความจุเข้าถึงจำนวนหนึ่งแต่อนุญาตให้ซื้อเพื่อเปลี่ยนเส้นทางหรือจำนวนความจุเท่าที่ต้องการ OXYGEN จัดตั้งระบบคลับขึ้น แต่ในเดือนพฤษภาคม 1998 ได้เปลี่ยนเป็นระบบเอกชน
ในขณะที่ OXYGEN ประสบปัญหาในการหาเงินทุน โครงการใหม่อื่น ๆ บนเส้นทางที่ความต้องการสูงได้มีการประกาศ ระบบดังกล่าวรวมถึง FLAG-ATLANTIC 1 และ Circe Pan-European Network ทั้งสองระบบมีความจุที่สามารถยกระดับได้ไปยังความเร็ว Tera bits per second บางคนคาดหวังว่าความจุทั้งหมดของระบบเคเบิ้ลใต้ทะเลเกิดขึ้นในเส้นทาง transatlantic และ transpacific ที่มีความต้องการใช้งานสูง แตกต่างกันอย่างมากระหว่างระบบใหม่และระบบที่เพิ่งเริ่มต้นแสดงการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและนโยบายในคลับ เช่น การเพิ่มของระบบความจุ การเติบโตของความต้องการ และการเปิดเสรีของเจ้าของสิ่งอำนวยความสะดวก  

ในทศวรรษที่ 1990 มีการพยากรณ์เกี่ยวกับการเติบโตอย่างรวดเร็วในการใช้งานทราฟฟิคในยุคอินเทอร์เน็ต เมื่อเกิดความล้มเหลวของอินเทอร์เน็ตความจุของเคเบิ้ลใต้ทะเลก็มีมากเกินความต้องการ บริษัท Global Crossing, Teleglobe และ Tyco เกิดล้มละลายก่อให้เกิดการโอนสินทรัพย์แก่ผู้ประกอบการรายใหม่ในเอเชีย
ในกรณีของ SAT-3 นักลงทุนเป็นผู้ประกอบการโทรคมนาคมจากประเทศพัฒนาแล้วและผู้ประกอบการรายใหญ่ในแต่ละประเทศที่เคเบิ้ลผ่านและขึ้นฝั่ง ผลก็คือมีแรงจูงใจเพียงเล็กน้อยแก่ผู้ประกอบการโทรคมนาคมจะเพิ่มทราฟฟิคของเคเบิ้ลใต้ทะเลมากกว่าจะรักษาอัตราค่าบริการที่สูงและเก็บกำไรที่ผูกขาด
ในบางประเทศที่มีเคเบิ้ลใต้ทะเลผ่านถูกกีดกันจากคลับและดังนั้นไม่กระตุ้นหรือสถานีเคเบิ้ลชายฝั่งเพราะขาดทราฟฟิค
กรณีศึกษา EASSY
ระบบเคเบิ้ลใต้ทะเลแอฟริกาตะวันออก (East Africa Submarine System: EaSSy) ได้วางแผนเพื่ออุดช่องว่างการให้บริการเคเบิ้ลใต้ทะเลและเชื่อมโยงกับการให้บริการเคเบิ้ลใต้ทะเลไปยังประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล ในระยะแรกของแผนได้รับการสนับสนุนจากธนาคารโลกคือการสร้างระบบเปิด ซึ่งเปิดการเข้าถึงสถานีเคเบิ้ลชายฝั่ง อย่างไรก็ตาม มีข้อเสนอโต้แย้งสำหรับระบบคลับที่รัฐบาลและผู้ประกอบการพิจารณาเพื่อดึงดูดในเชิงพาณิชย์ แต่ผลจากการประชุมหลายครั้งมีความตกลงเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย
ประเทศเคนยาที่ไม่มีการเชื่อมต่อเคเบิ้ลใต้ทะเลไม่สามารถเชื่อมต่อกับระบบ EaSSy ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2007 การก่อสร้างคาดว่าจะแล้วเสร็จคือระบบ East African Marine System: TEAMS) ซึ่งเป็นเคเบิ้ลใยแก้วที่ลากเชื่อมจาก Mombesa ไปยัง Fujairah ในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรต์ (United Arab Emirates (UAE) ที่รัฐบาลเคนย่าจะมีการยึดถือสี่สิบเปอร์เซ็นต์ โครงข่ายข้อมูลเคนย่า (Kenya Data Network: KDN) เข้าทำสัญญากับ FLAG Telecom เพื่อก่อสร้าวสายเชื่อมโยงใยแก้วนำแสงไปยัง Mombasa, Nairobi และ Busia ไปยังจุดเชื่อมต่อที่ชายฝั่งเยเมน ทั้งหทดคาดว่าจะแล้วเสร็จและดำเนินการได้ในต้นปีของปี ค.ศ. 2008
ประเด็นสำคัญคือจำนวนความจุที่มีมากมหาศาลที่อาจยากในการคืนทุนที่ความเสี่ยงอาจมีการลดราคาต่ำกว่าทุนและล้มละลาย
การกำกับดูแลการเข้าถึงบริการดาวเทียมมีประเด็นปัญหาในบางประเทศ ความพยายามที่ยอมให้คู่แข่งขันของผู้ประกอบการรายใหญ่ใช้คือบริการ VSAT (Very Small Aperture Terminal) ที่เกิดการต่อต้านอย่างมาก อย่างไรก็ตาม มีการใช้กันมากในโทรศัพท์พื้นฐาน รวมทั้ง domestic backhaul และบริการโทรคมนาคมระหว่างประเทศ
มีกรณีพิเศษสำหรับประเทศที่ไม่มีทางออกทะเลที่ต้องผ่านประเทศอื่นเพื่อเข้าถึงเคเบิ้ลใต้ทะเล ตัวอย่างเช่น Ethiopia ที่ติตดั้งสายใยแก้วนำแสงไปยังซูดานเพื่อให้เชื่อมต่อไปยังบริการระหว่างประเทศได้โดยผ่านสถานีเคเบิ้ลใต้ทะเลของซูดาน และไม่ต้องพึงพาแต่การสื่อสารผ่านดาวเทียมเท่านั้น ธนาคารโลกยังได้ให้ความช่วยเหลือทางการเงินในโครงการโครงข่ายโทรคมนาคมใยแก้วนำแสงในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของเชื่อมต่อโครงการโครงข่ายไฟฟ้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประเทศหมู่เกาะเล็ก ๆ (SIDS) เช่น Sao Tome & Principe, Seychelles และ Comoros Islands ไม่สามารถชั่งน้ำหนักต้นทุนของเคเบิ้ลใต้ทะเลได้ จึงต้องเชื่อมต่อผ่านระบบดาวเทียม แต่บางประเทศ เช่น Mauritius และ Reenion มีโอกาสที่จะได้รับสถานีเคเบิ้ล ในขณะที่การแข่งขันเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และพิสูจน์ชัยชนะของการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในโทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบบการเข้าถึงเคเบิ้ลใต้ทะเลยังคงไม่ได้รับการปฏิรูป จึงกล่าวเป็นอุปสรรคสำหรับการพัฒนาการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและบริการโทรมนาคมระหว่างประเทศในประเทศแอฟริกา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น