การบังคับอนุญาตให้ใช้สิทธิในสหรัฐฯ มีการใช้อย่างจำกัด กฎหมายอนุญาตให้ใช้ได้ในกรณีของมีการละเมิดกฎหมายป้องกันการผูกขาด แต่กฎหมายสิทธิบัตรปัจจุบันไม่มีกลไกในการบังคับอนุญาตใช้สิทธิที่ชัดเจน แต่อาจปรากฏในกฎหมายอื่น เช่น กฎหมายอากาศสะอาด (Clean Air Act) สำหรับการประดิษฐ์ที่ควบคุมมลพิษ กฎหมายพลังงานปรมาณู (Atomic Energy Act) สำหรับการประดิษฐ์พลังงานปรมาณู กฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชสำหรับพันธุ์พืชใหม่ที่ขยายพันธุ์โดยใช้เพศ และในกรณีเกี่ยวกับองค์กรกรหรือหน่วยงานกำหนดมาตรฐานอุตสาหกรรมนั้น เจ้าของสิทธิบัตรจะถูกบังคับให้อนุญาตให้บุคคลอื่นใช้สิทธิในสิทธิบัตรของตนในเงื่อนไขที่เป็นธรรม สมเหตุสมผลและไม่เลือกปฏิบัติ หากสิทธิบัตรดังกล่าวถือเป็นมาตรฐานอุตสาหกรรม (Industrial standard)
นอกจากนี้แล้ว มีบทบัญญัติกฎหมายที่กำหนดในลักษณะที่คล้ายกับการบังคับอนุญาตให้ใช้สิทธิ คือ การให้สิทธิคัดค้าน (Intervening rights) สิทธิบัตรในบางสถานการณ์ เช่น หากสิทธิบัตรดังกล่าวอยู่ภายใต้กระบวนการออกสิทธิบัตรใหม่ หรือตรวจสอบสิทธิบัตรซ้ำ ข้อถือสิทธิที่เป็นประเด็นปัญหาอาจมีขอบเขตแตกต่างจากเดิม ดังนั้น หากผู้กระทำละเมิดมีผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ละเมิดข้อถือสิทธิเดิมตั้งแต่ก่อนวันที่ออกสิทธิบัตรใหม่ แต่อาจละเมิดข้อถือสิทธิใหม่ที่แก้ไข ผู้กระทำละเมิดดังกล่าวจะมีสิทธิคัดค้านโดยไม่ถือว่าเป็นการกระทำละเมิด บางครั้งศาลอาจอนุญาตให้ผู้กระทำละเมิดยังคงผลิตผลิตภัณฑ์ดังกล่าวต่อไปได้
อย่างไรก็ตาม ระบบกฎหมายของสหรัฐฯ ก็มีบทบัญญัติในเรื่องการใช้สิทธิโดยรัฐบาล (Government Use) คล้ายกับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกกล่าวคือรัฐบาลสหรัฐฯ ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตหรือเจรจาสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิกับเจ้าของสิทธิบัตรหรือเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลกลางสามารถใช้หรืออนุญาตให้ใช้สิทธิบัตรหรืองานอันมีลิขสิทธิ์ได้ โดยเจ้าของสิทธิบัตรมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนที่สมเหตุสมผลทั้งหมด (Entire and reasonable compensation) แค่ไม่มีสิทธิในการห้าม ยับยั้งหรือฟ้องร้องรัฐบาลหรือบุคคลที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลว่ากระทำละเมิด ที่ผ่านมา รัฐบาลสหรัฐฯได้บังคับใช้สิทธิตามกฎหมายนี้หลายกรณี ซึ่งในบางครั้งก็มีข้อพิพาทเกิดขึ้น เช่น คดี Crater Corporation v. Lucent Technologies คดี Hughes Aircraft Company v. The United States คดี Brunswick Corporation v. the United States และคดี Gargoyles, Inc. and Pro-Tec, Inc. v. the United States คดีทั้งหมดตัดสินโดยศาลอุทธรณ์กลาง เว้นแต่คดี Carter-Wallace v. the United States ที่ตัดสินโดยศาล US Court of Claims
นอกจากนี้แล้ว มีบทบัญญัติกฎหมายที่กำหนดในลักษณะที่คล้ายกับการบังคับอนุญาตให้ใช้สิทธิ คือ การให้สิทธิคัดค้าน (Intervening rights) สิทธิบัตรในบางสถานการณ์ เช่น หากสิทธิบัตรดังกล่าวอยู่ภายใต้กระบวนการออกสิทธิบัตรใหม่ หรือตรวจสอบสิทธิบัตรซ้ำ ข้อถือสิทธิที่เป็นประเด็นปัญหาอาจมีขอบเขตแตกต่างจากเดิม ดังนั้น หากผู้กระทำละเมิดมีผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ละเมิดข้อถือสิทธิเดิมตั้งแต่ก่อนวันที่ออกสิทธิบัตรใหม่ แต่อาจละเมิดข้อถือสิทธิใหม่ที่แก้ไข ผู้กระทำละเมิดดังกล่าวจะมีสิทธิคัดค้านโดยไม่ถือว่าเป็นการกระทำละเมิด บางครั้งศาลอาจอนุญาตให้ผู้กระทำละเมิดยังคงผลิตผลิตภัณฑ์ดังกล่าวต่อไปได้
อย่างไรก็ตาม ระบบกฎหมายของสหรัฐฯ ก็มีบทบัญญัติในเรื่องการใช้สิทธิโดยรัฐบาล (Government Use) คล้ายกับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกกล่าวคือรัฐบาลสหรัฐฯ ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตหรือเจรจาสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิกับเจ้าของสิทธิบัตรหรือเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลกลางสามารถใช้หรืออนุญาตให้ใช้สิทธิบัตรหรืองานอันมีลิขสิทธิ์ได้ โดยเจ้าของสิทธิบัตรมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนที่สมเหตุสมผลทั้งหมด (Entire and reasonable compensation) แค่ไม่มีสิทธิในการห้าม ยับยั้งหรือฟ้องร้องรัฐบาลหรือบุคคลที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลว่ากระทำละเมิด ที่ผ่านมา รัฐบาลสหรัฐฯได้บังคับใช้สิทธิตามกฎหมายนี้หลายกรณี ซึ่งในบางครั้งก็มีข้อพิพาทเกิดขึ้น เช่น คดี Crater Corporation v. Lucent Technologies คดี Hughes Aircraft Company v. The United States คดี Brunswick Corporation v. the United States และคดี Gargoyles, Inc. and Pro-Tec, Inc. v. the United States คดีทั้งหมดตัดสินโดยศาลอุทธรณ์กลาง เว้นแต่คดี Carter-Wallace v. the United States ที่ตัดสินโดยศาล US Court of Claims
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น