วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ขั้นตอนของการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาอย่างประสบความสำเร็จ

ขั้นตอนของการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาอย่างประสบความสำเร็จ

1. ให้ความสำคัญกับทรัพย์สินทางปัญญา
ประการสำคัญประการแรกคือการให้ความสำคัญกับทรัพย์สินทางปัญญา ปัญหาที่สำคัญในการจัดการทรัพย์สินทางปัญญาคือเป็นการยากที่จะบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาโดยไม่รู้ว่ามาถูกทางหรือไม่ เนื่องจากต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควรจึงจะเห็นผล ทรัพย์สินทางปัญญาต้องได้มา พัฒนา และใช้ประโยชน์จึงต้องใช้เวลา ดังนั้น การบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาต้องพัฒนาขึ้นมาเองโยการเรียนรู้ การบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาที่ประสบความสำเร็จคือการเข้าใจทรัพย์สินทางปัญญาในภาพรวม ไม่มีอคติต่อสาขาวิทยาการใด ต้องเปิดกว้างกับการพัฒนาใหม่ ๆ
ในบางครั้งอาจจะง่ายที่พอจะเห็นอะไรเกิดขึ้นเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาในอุตสาหกรรมบางอุตสาหกรรม เช่น เทคโนโลยีอวกาศ หรือยา เป็นต้น ซึ่งอาจไม่เกี่ยวข้องกับการบริโภคของลูกค้าทั่วไป แต่ในความเป็นจริงแล้วผลกระทบอาจข้ามสาขาวิทยาการ อาทิ การค้นพบวัสดุใหม่หรือกระบวนการผลิตได้ปรับใช้เทคโนโลยีการหมุนของใบพัดเฮลิคอปเตอร์ เป็นต้น แนวความคิดนี้เริ่มมีอิทธิพลต่อบางบริษัท เช่น บริษัท Nike วางกลยุทธ์และแผนการในการคุ้มครองเทคโนโลยีแบบข้ามสาขาวิทยาการ เป็นต้น

2. ประเมินสถานะทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่ในปัจจุบัน
การะประเมินสถานะทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่ในปัจจุบันของบริษัท ซึ่งบริษัทขนาดใหญ่โดยส่วนใหญ่มักจะรู้ประเด็นทรัพย์สินทางปัญญาหลักของบริษัทตนเอง แต่ปรัญหาหลักของบริษัทขนาดใหญ่ก็คือในกรณีที่บริษัทมีผลิตภัณฑ์มากมายและผลิตภัณฑ์ก็มีความแตกต่างกันหรือเป้นบริษัทข้ามชาติจำเป้นต้องทำการประเมินสถานะทรัพย์สินทางปัญญาของตนเพื่อระวังว่ามูลค่าจะไม่ลดลงและสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่
สำหรับขั้นตอนที่สองนั้นคือการพัฒนาความสามารถในการบริหารทรัพย์สินทางปัญญาให้ประสบความสำเร็จ หากมีทรัพย์สินทางปัญญาบริษัทต้องระบุทรัพย์สินทางปัญญาและบันทึกไว้ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวอาจเรียกได้ว่าต้องมีการตรวจสอบทรัพย์สินทางปัญญาอย่างละเอีนด กล่าวคือต้องมีการพิจารณาว่าสาขาใดที่ทรัพย์สินทางปัญญาของตนเองประสบความสำเร็จและสนับสนุนธุรกิจของบริษัท การดำเนินการดังกล่าวเป็นเพียงจุดเริ่มต้นในการบริหารจัดการและวางกลยุทธ์ทรัพย์สินทางปัญญาทั้งหมด

3. พิจารณากำหนดสถานะของทรัพย์สินทางปัญญาที่ต้องการ
สำหรับหลายบริษัท ทรัพย์สินทางปัญญาอาจเป็นทรัพย์สินที่น่าจะเป็นเจ้าของมากกว่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนความเจริญเติบโตของบริษัท โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมบริการ ซึ่งความแตกต่างคือ ราคา คุณภาพ และประสิทธิภาพในการให้บริการ เป็นต้น อุตสาหกรรมบริการมักจะพึ่งพาความรู้และประสบการณ์เป็นตัวขับดันการเจริญเติบโต แต่อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมบริการเริ่มมีการลอกเลียนแบบ จึงเริ่มมีการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญามากขึ้น เช่น กรณีของ British Airways ที่ขอรับความคุ้มครองการออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับที่นอนบนเครื่องบินและอีกกรณีหนึ่งคือบริษัท Amazon ที่ขอรับความคุ้มครองกระบวนการสั่งซื้อสินค้าทางอินเตอร์เน็ท ซึ่งกลายเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญในการซื้อสินค้าบนอินเตอร์เน็ท

4. กำหนดแนวทางในการสร้างทรัพย์สินทางปัญญา
ในการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาที่ดีจำเป็นต้องมีการกำหนดทิศทางและตำแหน่งของทรัพย์สินทางปัญญาและตำแหน่งของทรัพย์สินทางปัญญาที่ต้องการ การกำหนดแนวทางในการสร้างทรัพย์สินทางปัญญาเป็นขั้นตอนต่อมาโดยการกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมที่สุดในการดำเนินการสร้างทรัพยืสินทางปัญญา ในบางบริษัทมีทรัพย์สินทางปัญญาน้อยหรือไม่มีเลย จึงจำเป็นต้องมีการสร้างทรัพย์สินทางปัญญาขึ้นมาเพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจให้มีความเข้มแข็งขึ้น สำหรับกรณีขององค์กรที่มีทรัพย์สินทางปัญญาอยู่แล้วก้อาจมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการทบทวนทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่และเพิ่มเติมทรัพย์สินทางปัญญาให้สอดคล้องกับทิศทางหรือสถานะภาพในอนาคตที่กำหนดไว้
ในขั้นตอนนี้อาจต้องพิจารณาว่าทรัพย์สินทางปัญญาใดที่บริษัทต้องการได้มาหรือพัฒนาเอง หรือทรัพย์สินทางปัญญาใดควรจะขาย ดังนั้นการพิจารณาสร้างทรัพย์สินทางปัญญาว่าควรจะสร้างทรัพย์สินทางปัญญาไปในทิศทางใด โดยอามีแผนระยะสองหรือห้าปี


5. หาแหล่งใหม่ของทรัพย์สินทางปัญญา
องค์ประกอบที่สำคัญคือการสร้างและบำรุงรักษาทรัพย์สินทางปัญญาคือการสามารถเข้าถึงข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญาของบุคคลภายนอกได้ หลายบริษัทให้ความสำคัญกับการเสาะหาเทคโนโลยีหรือทรัพย์สินทางปัญญาจากภายนอก เนืองจากอาจเป็นวิธีการที่ง่าย สะดวก และรวดเร็วกว่าการลงทุนทำวิจัยและพัฒนาเอง โดยทั่วไปแหล่งทรัพย์สินทางปัญญาอาจหาได้จาก 1) มหาวิทยาลัยหรือสถาบันวิจัย 2) บริษัทที่มีการทำวิจัยและพัฒนาที่อยู่นอกอุตสาหกรรมของตนเอง และ 3) คู่แข่งขันหรือพันธมิตรทางการค้าในภาคอุตสาหกรรมของตน


6. พัฒนาสถานะของทรัพย์สินทางปัญญา
ในขั้นตอนนี้คือการมุ่งเน้นพัฒนาภาพลักษณ์ทรัพย์สินทางปัญญาสำคัญของบริษัท ซึ่งเป้นการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่ก่อให้เกิดรายได้แก่บริษัทโดยกไกหรือเครื่องมือที่ถูกต้องไม่ว่าจะเป็นการอนุยาตให้ใช้สิทธิหรือซื้อเทคโนโลยีที่ขาดหายไป เพื่อเป้นการสร้างโอกาสและความแข็งแกร่งในการแข่งขันหรือลดการแข่งขันในตลาดลง
ประเด็นสำคัญในการสร้างทรัพย์สินทางปัญญาคือการใช้เครื่องมือที่ถูกต้อง ตัวอย่างเช่น หากเป็นบริษัทที่ให้บริการสื่อผสม (multimedia) ซึ่งต้องการประชุมผ่านระบบอินเตอร์เน็ต บริษัทอาจจำเป็นต้องขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาดังต่อไปนี้
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำงานกับระบบนี้
ชื่อบริษัท โลโก้ และเครื่องหมายการค้าหรือบริการ
เว็บไซท์ โดเมนเนม และ
การออกแบบ เป็นต้น

7. สร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพย์สินทางปัญญา
จากขั้นตอนที่หนึ่งถึงหกแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการสร้างประโยชน์หรือมูลค่าจากทรัพย์สินทางปัญญา บริษัทอาจมีแนวทางในการสร้างประโยชน์ได้ดังนี้
การขาย – แนวทางนี้เหมาะกับกรณีของทรัพย์สินทางปัญญาที่ไม่มีความสำคัญหรือเกี่ยวข้องกับสายการผลิตหรือบริการหรืออยู่ในตลาดของบริษัท
การอนุญาตให้ใช้สิทธิ –ในกรณีทรัพย์สินทางปัญญาบางประเภทจำเป็นต้องอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้สิทธิเพราะต้องขายสินค้าหรือให้บริการแก่ลูกค้าอย่างกว้างขวางและบริษัทเองอาจมีขีดความสามารถในการผลิตและให้บริการที่จำกัด และอีกประการหนึ่งอาจเป้นการสร้างมาตรฐานสินค้าก็ได้ การอนุยาตให้ใช้สิทธิอาจถือว่าเป็นวิธีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
การแยกบริษัทออกมา – ในบางครั้งการแยหบริษัทออกมาดำเนินการใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญาก็เป็นวิธีการที่นิยมกัน โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยหรือสถาบันวิจัย ที่ต้องการแยกนิติบุคคลออกจากบริษัทแม่
การใช้ภายในบริษัท - การใช้ภายในบริษัทก็เป้าหมายแรกของการตัดสินใจเลือกในการใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญา เพราะก่อให้เกิดรายได้โดยตรงแก่บริษัทได้ดีกว่า

8. สร้างความสามารถขององค์กร
ความสามารถขององคืกรมีความสำคัญอย่างมากต่อการบริหารจัดการและใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาอย่างมีประสิทธิภาพ การดำเนินการตามขั้นตอนนี้อาจจะทำได้ตั้งแต่การจัดให้มีการฝึกอบรมพนักงานลูกจ้างอย่างสม่ำเสมอ หรือการว่าจ้างบุคคลภายนอกที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญหรือบุคคลที่มีประสบการณ์ทีงานมาจากบริษัทใหญ่ ๆ  แต่หากต้องรีบเร่งดำเนินการว่าจ้าวบริษัทภายนอกเข้ามาจัดการให้ในระยะแรก ๆ

9. ประเมินผลการดำเนินงาน
ผลการดำเนินงานบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาจำเป็นต้องมีการประเมินและประเด็นสำคัญคือการหามาตรการที่เหมาะสมในการประเมิน ซึ่งการประเมินจะประเมินตั้งแต่การทำวิจัยและพัฒนาและการทำการตลาด  รวมทั้งเปรียบเทียบผลกับบริษัทคู่แข่ง เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาการทำงานต่อไป

10. ดูแลและตรวจทานอย่างสม่ำเสมอ
การบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาไม่ใช่เป็นเพียงเหตุการณ์หนึ่ง แต่เป็นกระบวนการที่ต้องใช้ระยะเวลา ต้องมีการสร้างวัฒนาธรรมในเรื่องดังกล่าวให้เกิดในองค์กร ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการตรวจสอบติดตามการดำเนินการ นอกจากนี้ การติดตามตรวจสอบการดำเนินการก็อาจช่วยเป็นการปรับปรุงหรือพัฒนาการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพอยู่อย่างสม่ำเสมอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น