วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ภาคผนวกว่าด้วยบริการขนส่งทางอากาศ

ความตกลงว่าด้วยการค้าบริการ (GATS) เป็นความตกลงหลายฝ่ายที่ใช้บังคับกับการค้าบริการทุกประเภท สร้างหลักเกณฑ์สำหรับใช้บังคับกับการค้าบริการ เพื่อให้การค้าบริการสามารถขยายตัวได้ภายใต้เงื่อนไขของความโปร่งใสและการเปิดเสรีตามลำดับ (จาก paragraph 2 of preamble of GATS) และเนื่องจากการขนส่งทางอากาศ จัดเป็นการค้าบริการประเภทหนึ่ง ดังนั้น กฎเกณฑ์ต่างๆ ที่กำหนดไว้ในความตกลงว่าด้วยการค้าบริการ จึงต้องนำมาใช้บังคับกับการขนส่งทางอากาศด้วย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการขนส่งทางอากาศ จัดเป็นการค้าบริการประเภทหนึ่งที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากการค้าบริการประเภทอื่นๆ จึงต้องมีการจัดทำกฎเกณฑ์เฉพาะเพื่อใช้กับการขนส่งทางอากาศ โดยจัดทำเป็นภาคผนวกว่าด้วยการขนส่งทางอากาศ และภาคผนวกนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของความตกลงว่าด้วยการค้าบริการ ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 29 แห่งความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ

อนึ่ง ภาคผนวกว่าด้วยบริการขนส่งทางอากาศเป็นการประนีประนอมระหว่างประเทศสมาชิกที่ต้องการให้รักษาระบบชิคาโกไว้กับประเทศสมาชิกที่ต้องการให้ระบบการบินพลเรือนระหว่างประเทศกลายเป็นระบบพหุภาคีภายใต้องค์การการค้าโลก รายละเอียดของงภาคผนวกมีดังนี้

ขอบเขตการบังคับใช้ (Para. 1, Sentence 1)
ตามบทบัญญัติในประโยคที่หนึ่งวรรคแรกของภาคผนวกว่าด้วยบริการขนส่งทางอากาศ ภาคผนวกใช้บังคับกับมาตรการที่มีผลกระทบต่อการค้าบริการขนส่งทางอากาศไม่ว่าจะเป็นบริการมีตารางเวลาประจำหรือไม่ประจำ และบริการต่อเนื่อง แม้ว่าการค้าบริการขนส่งทางอากาศหรือบริการต่อเนื่องจะไม่มีการให้คำจำกัดความไว้ชัดเจนก็ตาม แต่ก็ชัดจนว่าขอบเขตการบังคับใช้ค่อนข้างกว้าง ประการแรกประเภทของบริการขนส่งทางอากาศครอบคลุมทั้งการขนส่งผู้โดยสาร การขนส่งสินค้า หรือการขนส่งไปรษณียภัณฑ์ไม่ว่าจะประจำเส้นทางหรือไม่ก็ตาม และบริการต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เช่น การจัดการภาคพื้น ประการที่สอง ไม่ใช่มาตรการที่มีเป้าหมายเกี่ยวข้องโดยตรงกับบริการขนส่งทางอากาศครอบคลุม การอยู่ภายใต้ขอบเขตดังกล่าวเพียงพอที่มาตรการจะส่งผลต่อการขนส่งทางอากาศ ตามวัตถุประสงค์ของการรวมมาตรการใด ๆ ที่อาจเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของการแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการภายในประเทศและต่างประเทศ คำว่า มีผลกระทบ ควรต้องตีความอย่างกว้าง โดยรวมทุกอย่างที่มีผลกระทบโดยตรงหรือทางอ้อมต่อบริการขนส่งทางอากาศ

ข้อยกเว้นทั่วไป (General Carve-Out (Para. 2)
สำหรับวรรคสองของภาคผนวกว่าด้วยการขนส่งทางอากาศได้ยกเว้นสิทธิการบินและบริการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการใช้สิทธิการบินจากขอบเขตของข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ ถ้อยคำที่ยกเว้นอุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศแทบจะทั้งหมดจากข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ การยกเว้นดังกล่าวเป็นหนึ่งในสาขาเฉพาะซึ่งเหตุผลหลักของการยกเว้นทั้งสาขาบริการเพราะประเทศสมาชิกยังคงเครือข่ายของข้อตกลงทวิภาคีที่ซับซ้อนอยู่
 สิทธิการบินถูกให้คำจำกัดความในวรรคหก (d) ของภาคผนวกว่าหมายถึงสิทธิของบริการขนส่งประจำเส้นทางและไม่ประจำเส้นทางในการให้บริการและหรือขนส่งคนโดยสาร สินค้า และไปรษณีย์ภัณฑ์เพื่อค่าตอบแทนหรือรับจ้างจาก ไปยัง ภายใน หรือข้ามเขตแดนของประเทศสมาชิก รวมถึงจากจุดหนึ่งที่ให้บริการ เส้นทางที่ให้บริการ ประเภทของจราจรที่ขนส่ง ความจุในการให้บริการ อัตราค่าบริการ และเงื่อนไขและหลักเกณฑ์สำหรับเป้าหมายปลายทางของสายการบิน รวมทั้งเกณฑ์ของจำนวน ความเป็นเจ้าของ และการควบคุม ข้อความคิดของบริการที่เกี่ยวข้องโดยตรงไม่ได้ถูกนิยามไว้แต่อาจหมายความรวมถึงสิทธิใดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจกับการดำเนินบริการการบืนระหว่างประเทศ

บริการที่ครอบคลุม (Services Covered)
บริการที่ครอบคลุมอย่างชัดเจน (Paras 3, 6 lit. a–c)
บทบัญญัตอวรรคสามของภาคผนวกว่าด้วยการขนส่งทางอากาศได้ระบุสามบริการอย่างชัดเจนใครอบคลุมอยู่ภายใต้ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการประกอบด้วย (1) บริการซ่อมและบำรุงรักษาเครื่องบิน (2) บริการจำหน่ายและการตลาดบริการขนส่งทางอากาศ และบริการสำรองที่นั่งด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการให้ความมายไว้ในภาคผนวกวรรคหกและถือว่าอยู่ในขอบเขตของข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ ประเทศสมาชิกมีอิสระที่จะตัดสินใจทำข้อผูกพันในสามบริการดังกล่าว
a) บริการซ่อมและบำรุงอากาศยาน (Repair and Maintenance)
ตามบทบัญญัติวรรคหก (a) ของภาคผนวก บริการซ่อมและบำรุงรักษาอากาศยาน ประกอบด้วยกิจกรรมที่ดำเนินการบนอากาศยานหรือบางส่วนของอากาศยานในขณะที่มีการยกเลิกบริการและไม่รวมถึงการบำรุงรักษาตามสายการผลิต (line maintenance)
b) บริการจำหน่ายและการตลาด (Selling and Marketing)
ตามบทัญญัติวรรคหก (b) ประโยคแรกของภาคผนวก การจำหน่ายและการตลาดของบริการขนนส่งทางอากาศอ้างอิงถึงโอกาสของผู้ประกอบการขนส่งทางอากาศในการจำหน่ายและการทำตลาดโดยอิสระสำหรับบริการขนส่งทางอากาศของตน รวมถึงทุกแง่มุมของการทำการตลาด เช่น การทำวิจัยการตลาด การโฆษณา และการกระจายบริการ บทบัญญัติวรรคหก (b) ประโยคที่สองระบุว่ายกเว้นจากขอบเขตของคำนิยามการกำหนดค่าบริการขนส่งทางอากาศและเงื่อนไขที่ใช้บังคับ

c) บริการสำรองที่นั่งด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer Reservation System)
ในท้ายที่สุดบทบัญญัติวรรคหก (c) ของภาคผนวกระบุทุกบริการที่กำหนดโดยระบบคอมพิวเตอร์ที่มีข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับตารางเวลาของผู้ประกอบกิจการขนส่ง ความมีอยู่ของบริการ อัตราค่าบริการและกฎค่าบริการ โดยผ่านระบบการสำรองที่นั่งล่วงหน้าหรือการออกตั๋วโดยสาร เป็นระบบการสำรองที่นั่งผ่านคอมพิวเตอร์ (Computer reservation system หรือ CRS) ปัจจุบันนี้ไม่เหมือนในเวลาของรอบอุรุกกวัย บริการจองผ่านระบบคอมพิวเตอร์ไม่ได้จำกัดการผ่านตัวแทนจำหน่าย พัฒนาการด้านเทคโนโลยีผ่านระบบอินเทอร์เน็ทเป็นช่องทางจัดจำหน่ายโดยตรงและทางเดียว ความท้าทายในการตีความคือข้อเท็จจริงที่ว่าถ้อยคำดังกล่าวประกอบด้วยการใช้อินเทอร์เน็ทโดยผู้ใช้บริการหรือนักท่องเที่ยว ซึ่งจำเป็นต้องสร้างความชัดเจนถึงขอบเขตของบทบัญญัติวรรคหก (c) ของภาคผนวก
ย้อนกลับไปในปี ค.ศ. 1993 คำนิยามหมายความถึงระบบรวมศูนย์ขนาดใหญ่ที่ดำเนินงานและเป็นเจ้าของโดยสายการบิน เช่น Sabre, Galileo, Amadeus, Worldspan และ Abacus เป็นต้น ซึ่งจะประกันการจองตั๋วโดยสารผ่านตัวแทนจำหน่าย การนิยามดังกล่าวไม่ถูกต้องนั้น แต่ควรขยายครอบคลุมระบบการสำรองที่นั่งผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่ให้บริการโดยตัวแทนจำหน่ายออนไลน์ เช่น Expedia และ Lastminute.com หรือเว็บไซต์ของตัวแทนจำหน่ายดั้งเดิม เช่น Thomascook.com เว็บการประมูลท่า เช่น Priceline.com หรือเว็บไซต์ท่าที่รวบรวมโดยสาบการบินเอง เช่น Opodo และ Orbitz หรือเว็บไซต์กลุ่มพันธมิตร เช่น Star.com และ Skyteam เป็นต้น และแม้กระทั่งเว็บไซต์ของสายการบินก็น่าจะรวมถึงด้วย ซึ่งกรณีดังกล่าวอาจจะคาบเกี่ยวกับบริการจำหน่ายและการตลาด

บริการที่เกี่ยวข้องโดยตรง (Directly Related Services)
ในเนื้อหาของบทบัญญัติวรรคสองของภาคผนวกยกเว้นสิทธิการบินและบริการที่เกี่ยวข้องโดยตรงจากขอบเขตข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยการขนส่งทางอากาศ ซึ่งนำไปสู่ขอบเขตของบริการขนส่งทางอากาศโดยข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ ประเด็นคือบริการที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการใช้สิทธิการบินภายในความหมายของบทบัญยัติวรรคสองของภาคผนวกจะถูแครอบคลุมภายใต้ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการหรือว่าขอบเขตถุกจำกัดสาขาย่อยที่ระบุ-ว้ชัดเจนในขอบเขตของข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการในบทบัญญัติวรรคสามของภาคผนวก (บริการซ่อมแซมและบำรุงรักษา บริการจำหน่ายและการตลาดของบริการขนส่งทางอากาศ และการจองผ่านระบบคอมพิวเตอร์) ประเทศสมาชิกบางประเทศทำข้อผูกพันนอกเหนือจากสาขาย่อยทั้งามสาขา ในทางปฏิบัติ การโต้แย้งในการตีความเนื่องมาจากข้อเท็จจริงว่าบทบัญญัติวรรคสองของภาคผนวกส่งเสริมกฎทั่วไปของการยกเว้นไม่อธิบายความสัมพันธ์การยกเว้นกฎดังกล่าวตามที่ระบุไว้ในบทบัญญัติวรรคสามของภาคผนวกหรือการตามถ้อยคำการบินระหว่างประเทศในจารีตประเพณี ทั้งสองล้วนอยู่ในข้อตกลงทวิภาคี โดยทั่วไปถ้อยคำการบินระหว่างประเทศแยกความแตกต่างระหว่างสิทธิชัดเจน (hard right) ที่อ้างอิงถึงสิทธิการบิน และสิทธิอ่อนกว่า (soft rights) ทั้งสองอยู่ในข้อตกลงทวิภาคี ที่เรียกว่าสิทธิชัดเจนรวมถึงเรื่องเกี่ยกวับการจราจรและสิทธิเส้นทางการจราจร เป้าหมายปลายทางของสายการบิน การควบคุมความจุ และการกำหนดค่าบริการ สำหรับสิทธิอ่อนกว่าเกี่ยกวับการช่วยเหลือการดำเนิการให้บริการขนส่งทางอากาศ เช่น การแลกเปลี่ยนเงินตรา การจัดการภาคพื้นดินและสัมภาระ การบริการอาหาร การตลาด และการใช้บริการสนามบิน จึงไม่น่าแปลกใจมีการถกเถียงกันของประเทศสมาชิกในเรื่องเดียวกันในระหว่างการเจรจารอบอุรุกกวัย ประเทศสมาชิกกลุ่มหนึ่งต้องการเสริมสร้างบทบาทขององค์การการค้าโลกในบริการขนส่งทางอากาศโต้แย้งว่ามีความล่าช้าแต่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องของขอบเขตของบริการที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรง ประเทศสมาชิกเชื่อว่าการจัดการภาคพื้นดินและสัมภาระมีความเชื่อมโยงกับการขนส่งทางอากาศเป็นส่วนใหญ่เพราะบริการเหล่านี้มีประสบการณ์ในการเปิดเสรีและการขยายตัวนับตั้งแต่รอบอุรุกกวัย ในอีกฝ่ายหนึ่งประเทศสมาชิกที่ต้องการเครือข่ายข้อตกลงทวิภาคีโต้แย้งว่าบริการเหล่านี้อ้างถึงบทบัญญัติวรรคสามของภาคผนวกครอบคลุมโดยข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ ข้อโต้แย้งดังกล่าวว่าวัตถุประสงค์หลักของภาคผนวกเป็นการรักษาของข้อตกลงทวิภาคีสนับสนุนความเห็นดังกล่าว
ข้อผูกพันในปัจจุบัน
ข้อผูกพันในบริการขนส่งทางอากาศไม่ได้สูง มีเพียงสามสิบสองประเทศสมาชิกที่ยอมผูกพันในบริการสำรองที่นั่งด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และสามสิบหกประเทศที่จัดทำข้อผูกพันในบริการจำหน่ายและการตลาด

V. เงื่อน Grandfather Clause (Para. 1, Sentence 2)
แม้ว่าจะไม่มีการบังคับใช้ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ ประเทศสมาชิกก็มีส่วนในเครือข่ายข้อตกลงทวิภาคีด้านการเดินอากาศ บทบัญญัติวรรคหนึ่งประโยคสองของภาคผนวกเป็น grandfather โดยกำหนดว่าข้อตกลงทวิภาคีที่มีอยู่ก่อนเหนือกว่าภาคผนวก ภาคผนวกจะเหนือกว่าข้อตกลทวิภาคหรือข้อตกลงภูมิภาคที่มีผลใช้บังคับหลังจากวันที่ข้อตกลงองค์การการค้าโลกมีผลใช้บังคับเท่านั้นคือวันที่ 1 มกราคม 1995 กฎให้ประโยชน์กับประเทศสมาชิกที่มีข้อตกลงทวิภาคีที่พัฒนาแล้ว ทันท่วงที และมีเนื้อหาครอบคลุมกว้างขวางเพื่อตอบสนองความต้องการของสายการบินเนื่องจากประเทศเหล่านั้นไม่ได้ถูกบังคับให้เข้าเจรจาทำสัญญาฉบับใหม่และตกอยู่ภายใต้ขอบเขตของภาคผนวก แต่ความกังวลดังกล่าวอาจกล่าวอ้างเกินจริงเพราะจำนวนข้อตกลงทวิภาคีจำนวนมากเกิดขึ้นก่อนภาคผนวกมีการตกลงกันในและหลังปี ค.ศ. 1995

การระงับข้อพิพาท (Dispute Settlement (Para. 4)
ในบทบัญญัติวรรคสี่ของภาคผนวกเรื่องการระงับข้อพิพาทเทียมเท่ากับเงื่อนไข grandfather สารบัญญัติในวรรคหนึ่งประโยคที่สองของภาคผนวกในเรื่องระดับด้านกระบวนการ สอดคล้อกงันกับที่ประกาศว่าระบบกลไกระงับข้อพิพาทขององค์การการค้าโลกตามความเข้าใจเรื่องการระงับข้อพิพาทอาจเพิกถอนบริการขนส่งทางอากาศได้หากกลไกระงับข้อพิพาทในข้อตกลงระดับทวิภาคีหรือพหุภาคีอื่นสิ้นสุดลง และหากขอบเขตของพันธกรณีหรือข้อผูกพันเฉพาะได้ดำเนินการโดยประเทศสมาชิกคู่กรณี ข้อกำหนดต่อมาคือลักษณะจองการประกาศ ข้อกำหนดแรกปรากฎเพิ่มข้ออุปสรรคในทางข้อเท้จริงกับประเภทของการระงับข้อพิพาทในองค์การการค้าโลกที่กลไกระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับการบินระหว่างประเทศไม่เคยเกิดขึ้น แม้ว่าจะมีข้อพิพาทเกิดขึ้น ดังนั้น ไม่ต้องประหลาดใจที่ไม่มีข้อพิพาทด้านการบินระหว่างประเทศเกิดขึ้นในองค์การการค้าโลก
กลไกการทบทวน (Para. 5)
บทบัญญัติวรรคห้าของภาคผนวกว่าด้วยการขนส่งทางอากาศต้องการให้มีการทบทวนอยู่สม่ำเสมอในสาขาบริการขนส่งทางอากาศและข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยการขนส่งทางอากาศในแง่มุมมีการรวมบริการการขนส่งทางอากาศเข้ามาในขอบเขตของข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยการขนส่งทางอากาศ ในระหว่างการเจรจารอบอุรุกกวัย กลไกการทบทวนมีการประนีประนอมระหว่างประเทศสมาชิกที่ต้องการให้มีการเปิดเสรีอย่างก้าวหน้ามากขึ้นกับประเทศสมาชิกที่ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงสถานะของระบบชิคาโก ค่อตอบแทนในการยกเว้นสิทธิการบินและบริการที่เกี่ยวข้องจากขอบเขตของข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการในบทบัญญัติวรรคสองของภาคผนวก จึงตกลงให้มีการทบทวนเป็นระยะ การทบทวนในระยะแรกเกิดขึ้นในเดือนกันยายนปี ค.ศ. 2000 และเดือนพฤศจิกายน 2003 ในการประชุมสี่ช่วงของสภาการค้าบริการ การถกแถลงระหว่างตัวแทนประเทศสมาชิกไม่ได้แสดงอะไรมากไปกว่ามุมมองที่แตกต่างใหม่ ๆ ที่เคยตกลงกันไปแล้วในรอบอุรุกกวัย จึงไม่มีการพิจารณาใหม่ทั้งในแง่ของการเปิดประเด็นขึ้นใหม่ในการตีความภาคผนวกหรือการขยายภาคผนวกดังกล่าว ในขณะที่ประเทศกลุ่มหนึ่งกดดันความจำกัดของระบบการเจรจาทวิภาคี ประเทศอื่นเน้นว่าการทบทวนควรเสร็จสมบูรณ์ครั้งแรกก่อนจะถกแถลงการบังคบัใช้ภาคผนวก ยิ่งกว่านั้นประเทศสมาชิกเหล่านั้นชอบการพัฒนาระบบการเจรจาทวิภาคี เช่น สหรัฐอเมริกาที่ต้องการให้เวทีการทบทวนไม่ควรให้มีการตีความภาคผนวก สำหรับการทบทวนในครั้งสองเริ่มในเดือนกันยายนปี ค.ศ. 2006

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น