กลยุทธ์ในการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา
1. การใช้สิทธิบัตรเป็นเครื่องมือเชิงรุก (using patents a s an aggressive tool) ในปัจจุบันนี้ ทรัพย์สินทางปัญญาถูกใช้เป็นกลไกในการปกป้องทางกฎหมายแทนที่จะโอกาสในการหารายได้เพียงอย่างเดียวหรือแบบปกป้อง แนวทางใหม่ ๆ ของบริษัทเริ่มมีการใช้สิทธิบัตรโจมตีคู่แข่ง ซึ่งกลยุทธ์ใหม่ ๆ มีดังนี้
• กำแพงสิทธิบัตรหรือตั๋วสิทธิบัตร (patent walls or patent thickets) ใช้เพื่อปกป้องขอบเขตเทคโนโลยีเพื่อมิให้คู่แข่งขันเข้ามาแข่งขันในขอบเขตนั้นได้ ตัวอย่างเช่น กรณีของมีดโกน sensor ของบริษัท Gillette ที่มีแบบผลิตภัณฑ์ประมาณเจ็ดแบบ แต่เลือกเพียงแบบเดียวที่สามารถขอรับความคุ้มครองได้ โดยได้จดสิทธิบัตรประมาณยี่สิบกว่าฉบับซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การทำงานของใบมีดจนกระทั่งกลไกการเปิดกล่อง
• ใช้สิทธิบัตรยึดตลาดใหม่ (land grabbing) เป็นการใช้สิทธิบัตรเพื่อยึดตลาดใหม่ ก่อนที่จะเข้าสู่สาขาใหม่ จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์สิทธิบัตรที่มีอยู่เพื่อหาตลาดเฉพาะ
• การอนุญาตให้ใช้สิทธิไขว้กัน (cross licensing) การค้นหาว่าลูกค้ารายใดที่มีศักยภาพที่ละเมิดสิทธิบัตร ก็จะดำเนินการฟ้องร้อง แล้วก็พยายามระงับข้อพิพาทโดยการเสนอให้เกิดข้อตกลงอนุญาตให้ใช้สิทธิไขว้กัน ซึ่งอาจจะซื้อสินค้าจำนวนหนึ่งจากตนเองด้วย ตัวอย่างเช่น กรณีของบริษัทไอบีเอ็ม
• การจำกัดการสร้างสิทธิบัตรรอบสิทธิบัตรแรกของคู่แข่งหรือผลิตภัณฑ์ (restricting) การจดสิทธิบัตรกระบวนการผลิตที่คู่แข่งใช้ผลิตภัณฑ์ ซึ่งก็เท่ากับสามารถห้ามหรือขัดขวางการผลิตผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งขันได้
2. การใช้สิทธิบัตรร่วมกัน (patent pooling) เป็นกรณีที่บริษัทได้อนุญาตให้พันธมิตรใช้เทคโนโลยีที่ได้สิทธิบัตรของตนร่วมกันกับเทคโนโลยีของพันธมิตรรายอื่น ๆ เพื่อนำมาผลิตสินค้าที่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีที่ได้สิทธิบัตรของพันธมิตรร่วมกัน กล่าวได้ว่ากรณีเช่นนี้ถือว่าเป็นการสร้างมาตรฐานเทคโนโลยีหรือสินค้า ผู้ได้รับอนุญาตชอบวิธีการพูลสิทธิบัตรรวมกันมากกว่าการขออนุญาตใช้สิทธิเป็นราย ๆ ไป เพราะสามารถระบุเทคโนโลยีที่จะขออนุญาตใช้สิทธิได้ง่ายและสะดวกกว่า บริษัทที่ไม่ได้พูลสิทธิบัตรก็ไม่สามารถขออนุญาตใช้สิทธิได้ และขณะเดียวกันบริษัทที่ได้พูลสิทธิบัตรของตนไม่อาจปฏิเสธมิให้พันธมิตรที่พูลสิทธิบัตรใช้ประโยชน์ในสิทธิบัตร เว้นแต่การพูลนั้นไม่ได้กระทำในลักษณะที่สมเหตุสมผลและพึงพาการพูลในการบังคับใช้สิทธิ
ตัวอย่างเช่นในมาตรฐานระบบวีดีโอ MPEG-2 ซึ่งเป็นระบบมาตรฐานในการบีบอัดข้อมูลวิดีโอ การพูลรวมสิทธิบัตรดำเนินการโดยบริษัท MPEG LA ของสหรัฐอเมริกามีสิทธิบัตรเข้าร่วมประมาณ 275 สิทธิบัตร บริษัทที่เข้าร่วมขอรับใบอนุญาต เช่น Hitachi, Pioneer และ Motorola
อีกตัวย่างหนึ่งคือเทคโนโลยีดีวีดี ซึ่งมีการพูลสิทธิบัตรสองแหล่งคือ 6C และ 3C ซึ่งทั้งสองต้องการค่าอนุญาตให้ใช้สิทธิประมาณ 3% และ 4% ต่อเครื่องเล่น ตามลำดับ โดยในกลุ่ม 6C นั้นประกอบด้วย Toshiba, Matsushita, JVC, Mitsubishi, Hitachi และ Time Warner เป็นต้น ส่วนกลุ่ม 3C ประกอบด้วย Phillips, Sony และ Pioneer เป็นต้น ทั้งสองกลุ่มได้แบ่งเทคโนโลยีกันและร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยี
นอกจากนี้ กรณีของเทคโนโลยี Bluetooth ในอุปกรณ์สื่อสารไร้สายที่เริ่มพัฒนาโดยบริษัท Ericsson ในปี ค.ศ. 1994 แต่ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นของร่วมกันในกลุ่มบริษัท Ericsson, IBM, Nokia และ Toshiba ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวทำให้ร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีและขยายขอบเขตของผลิตภัณฑ์และการใช้เทคโนโลยีนี้ไปได้รวดเร็ว
3. กลยุทธ์ทางการเงิน (financial strategies) ทรัพย์สินทางปัญญาบางชนิดมีแหล่งรายได้ที่มั่นคง ซึ่งบริษัทสามารถใช้ทรัพย์สินทางปัญญานั้นเป็นหลักทรัพย์เพื่อได้รับรายได้ในวันนี้แทนที่จะต้องรอต่อไปในอนาคต ตัวอย่างเห็นได้ในธุรกิจอุตสาหกรรมดนตรี อย่างกรณีของเดวิด โบวี่ที่มีการออกใบกู้ประมาณ 55 ล้านเหรียญเป็นเวลา 15 ปี โดยอิงจากค่าอนุญาตให้ใช้สิทธิที่จะได้รับจากการตีพิมพ์และสิทธิในสิ่งบันทึกเสียงของประมาณ 300 เพลง แนวความคิดนี้เริ่มเป็นที่นิยมในวงการดนตรีและบันเทิง ซึ่งต่อมาก็ได้มีนักร้องอื่น ๆ ดำเนินการตาม เช่น Rolling Stones, Prince, Neil Diamond และ Luciano Pavarotti เป็นต้น ซึ่งข้อดีของกลยุทธ์ทางการเงิน โดยเฉพาะต่อบริษัทที่เริ่มจัดตั้งคืบริษัที่มีสิทธิบัตรจำนวนหนึ่งและมีศักยภาพ สามารถระดมเงินทุนเพื่อดำเนินกิจการต่อไปนี้ นอกจากนี้ สิทธิบัตรที่ได้รับก็เป็นการประกันว่าการดำเนินธุรกิจไม่มีความเสี่ยงในการจะถูกฟ้องร้องละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น
1. การใช้สิทธิบัตรเป็นเครื่องมือเชิงรุก (using patents a s an aggressive tool) ในปัจจุบันนี้ ทรัพย์สินทางปัญญาถูกใช้เป็นกลไกในการปกป้องทางกฎหมายแทนที่จะโอกาสในการหารายได้เพียงอย่างเดียวหรือแบบปกป้อง แนวทางใหม่ ๆ ของบริษัทเริ่มมีการใช้สิทธิบัตรโจมตีคู่แข่ง ซึ่งกลยุทธ์ใหม่ ๆ มีดังนี้
• กำแพงสิทธิบัตรหรือตั๋วสิทธิบัตร (patent walls or patent thickets) ใช้เพื่อปกป้องขอบเขตเทคโนโลยีเพื่อมิให้คู่แข่งขันเข้ามาแข่งขันในขอบเขตนั้นได้ ตัวอย่างเช่น กรณีของมีดโกน sensor ของบริษัท Gillette ที่มีแบบผลิตภัณฑ์ประมาณเจ็ดแบบ แต่เลือกเพียงแบบเดียวที่สามารถขอรับความคุ้มครองได้ โดยได้จดสิทธิบัตรประมาณยี่สิบกว่าฉบับซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การทำงานของใบมีดจนกระทั่งกลไกการเปิดกล่อง
• ใช้สิทธิบัตรยึดตลาดใหม่ (land grabbing) เป็นการใช้สิทธิบัตรเพื่อยึดตลาดใหม่ ก่อนที่จะเข้าสู่สาขาใหม่ จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์สิทธิบัตรที่มีอยู่เพื่อหาตลาดเฉพาะ
• การอนุญาตให้ใช้สิทธิไขว้กัน (cross licensing) การค้นหาว่าลูกค้ารายใดที่มีศักยภาพที่ละเมิดสิทธิบัตร ก็จะดำเนินการฟ้องร้อง แล้วก็พยายามระงับข้อพิพาทโดยการเสนอให้เกิดข้อตกลงอนุญาตให้ใช้สิทธิไขว้กัน ซึ่งอาจจะซื้อสินค้าจำนวนหนึ่งจากตนเองด้วย ตัวอย่างเช่น กรณีของบริษัทไอบีเอ็ม
• การจำกัดการสร้างสิทธิบัตรรอบสิทธิบัตรแรกของคู่แข่งหรือผลิตภัณฑ์ (restricting) การจดสิทธิบัตรกระบวนการผลิตที่คู่แข่งใช้ผลิตภัณฑ์ ซึ่งก็เท่ากับสามารถห้ามหรือขัดขวางการผลิตผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งขันได้
2. การใช้สิทธิบัตรร่วมกัน (patent pooling) เป็นกรณีที่บริษัทได้อนุญาตให้พันธมิตรใช้เทคโนโลยีที่ได้สิทธิบัตรของตนร่วมกันกับเทคโนโลยีของพันธมิตรรายอื่น ๆ เพื่อนำมาผลิตสินค้าที่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีที่ได้สิทธิบัตรของพันธมิตรร่วมกัน กล่าวได้ว่ากรณีเช่นนี้ถือว่าเป็นการสร้างมาตรฐานเทคโนโลยีหรือสินค้า ผู้ได้รับอนุญาตชอบวิธีการพูลสิทธิบัตรรวมกันมากกว่าการขออนุญาตใช้สิทธิเป็นราย ๆ ไป เพราะสามารถระบุเทคโนโลยีที่จะขออนุญาตใช้สิทธิได้ง่ายและสะดวกกว่า บริษัทที่ไม่ได้พูลสิทธิบัตรก็ไม่สามารถขออนุญาตใช้สิทธิได้ และขณะเดียวกันบริษัทที่ได้พูลสิทธิบัตรของตนไม่อาจปฏิเสธมิให้พันธมิตรที่พูลสิทธิบัตรใช้ประโยชน์ในสิทธิบัตร เว้นแต่การพูลนั้นไม่ได้กระทำในลักษณะที่สมเหตุสมผลและพึงพาการพูลในการบังคับใช้สิทธิ
ตัวอย่างเช่นในมาตรฐานระบบวีดีโอ MPEG-2 ซึ่งเป็นระบบมาตรฐานในการบีบอัดข้อมูลวิดีโอ การพูลรวมสิทธิบัตรดำเนินการโดยบริษัท MPEG LA ของสหรัฐอเมริกามีสิทธิบัตรเข้าร่วมประมาณ 275 สิทธิบัตร บริษัทที่เข้าร่วมขอรับใบอนุญาต เช่น Hitachi, Pioneer และ Motorola
อีกตัวย่างหนึ่งคือเทคโนโลยีดีวีดี ซึ่งมีการพูลสิทธิบัตรสองแหล่งคือ 6C และ 3C ซึ่งทั้งสองต้องการค่าอนุญาตให้ใช้สิทธิประมาณ 3% และ 4% ต่อเครื่องเล่น ตามลำดับ โดยในกลุ่ม 6C นั้นประกอบด้วย Toshiba, Matsushita, JVC, Mitsubishi, Hitachi และ Time Warner เป็นต้น ส่วนกลุ่ม 3C ประกอบด้วย Phillips, Sony และ Pioneer เป็นต้น ทั้งสองกลุ่มได้แบ่งเทคโนโลยีกันและร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยี
นอกจากนี้ กรณีของเทคโนโลยี Bluetooth ในอุปกรณ์สื่อสารไร้สายที่เริ่มพัฒนาโดยบริษัท Ericsson ในปี ค.ศ. 1994 แต่ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นของร่วมกันในกลุ่มบริษัท Ericsson, IBM, Nokia และ Toshiba ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวทำให้ร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีและขยายขอบเขตของผลิตภัณฑ์และการใช้เทคโนโลยีนี้ไปได้รวดเร็ว
3. กลยุทธ์ทางการเงิน (financial strategies) ทรัพย์สินทางปัญญาบางชนิดมีแหล่งรายได้ที่มั่นคง ซึ่งบริษัทสามารถใช้ทรัพย์สินทางปัญญานั้นเป็นหลักทรัพย์เพื่อได้รับรายได้ในวันนี้แทนที่จะต้องรอต่อไปในอนาคต ตัวอย่างเห็นได้ในธุรกิจอุตสาหกรรมดนตรี อย่างกรณีของเดวิด โบวี่ที่มีการออกใบกู้ประมาณ 55 ล้านเหรียญเป็นเวลา 15 ปี โดยอิงจากค่าอนุญาตให้ใช้สิทธิที่จะได้รับจากการตีพิมพ์และสิทธิในสิ่งบันทึกเสียงของประมาณ 300 เพลง แนวความคิดนี้เริ่มเป็นที่นิยมในวงการดนตรีและบันเทิง ซึ่งต่อมาก็ได้มีนักร้องอื่น ๆ ดำเนินการตาม เช่น Rolling Stones, Prince, Neil Diamond และ Luciano Pavarotti เป็นต้น ซึ่งข้อดีของกลยุทธ์ทางการเงิน โดยเฉพาะต่อบริษัทที่เริ่มจัดตั้งคืบริษัที่มีสิทธิบัตรจำนวนหนึ่งและมีศักยภาพ สามารถระดมเงินทุนเพื่อดำเนินกิจการต่อไปนี้ นอกจากนี้ สิทธิบัตรที่ได้รับก็เป็นการประกันว่าการดำเนินธุรกิจไม่มีความเสี่ยงในการจะถูกฟ้องร้องละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น