แนวทางการใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญาในทางธุรกิจ
สิ่งประดิษฐ์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้หลากหลายวิธีการขึ้นอยู่กับเป้าหมายว่าจะดำเนินการอย่างไรจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท
การใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินทางปัญญาบ่อยครั้งจะเป็นเป้าหมายสูงสุดในกระบวนการสร้างทรัพย์สินทางปัญญา หรืออาจเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการเจาะหรือหาตลาดใหม่หรือปกป้องส่วนแบ่งตลาดที่มีอยู่เดิม โดยทั่วไปผลงานวิจัยและการประดิษฐ์ในระยะแรกเริ่มที่จะหาประโยชน์ได้ เมื่อสามารถดึงดูดใจผู้ใช้ที่ประสงค์จะพัฒนาความคิดหรือการประดิษฐ์นั้นต่อไป เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ในรูปของผลิตภัณฑ์หรือเทคโนโลยี
(1) การประเมินและวัดผล
จุดเริ่มต้นของการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินทางปัญญาคือการรู้จักมูลค่าหรือคุณค่าของทรัพย์สินทางปัญญานั้น ๆ ฉะนั้น การประเมินมูลค่าหรือประเมินคุณค่าของทรัพย์สินทางปัญญาจึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น แต่การประเมินมูลค่าหรือคุณค่าของทรัพย์สินทางปัญญาอาจมีความยุ่งยากและสลับซับซ้อน เนื่องจากมูลค่าหรือคุณค่าของทรัพย์สินทางปัญญาอาจสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกับต้นทุนในการสร้างหรือบำรุงรักษาน้อยมาก เพราะต้นทุนของทรัพย์สินทางปัญญาอาจอยู่ในรูปของต้นทุนที่ลงทุนสร้างทรัพย์สินทางปัญญานั้น หรือมูลค่าอาจเป็นการประมาณมูค่าของทรัพย์สินทางปัญญาที่มีคุณค่าต่อเจ้าของหรือผู้ซื้อ หรือมูลค่าของทรัพย์สินทางปัญญาเป็นมูลค่าของเงินที่ผู้ซื้อยินดีจะจ่าย
จากประสบการณ์แสดงว่าการประเมินผลและการบริหารจัดการอย่างดี เพียงหนึ่งโครงการจากสิบโครงการจะทำกำไรและหนึ่งครงการในหนึ่งร้อยโครงการจะถือว่าประสบความสำเร็จ ระยะเวลาก่อนที่สิ่งประดิษฐ์จะเข้าสู่ตลาดนั้นต้องใช้เวลาพอสมควรอย่างน้อยห้าปี การประเมินโครงการที่ดีจะช่วยเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จ กระบวนการประเมินดังกล่าวสรุปได้ดังนี้
การประเมินทางเทคนิค (technical assessment)
การประเมินทางเทคนิคเปรียบเทียบผลงานวิจัยใหม่กับผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการผลิตที่มีอยู่ในตลาดในปัจจุบันและหาระบุข้อดีและข้อเสีย รวมทั้งบันทึกความสำคัญทางการค้าของบริษัท เทคโนโลยีใหม่ที่พัฒนาขึ้นมาเนื่องจากความต้องการของตลาดมักจะมีแนวโน้มที่จะหาประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้ดีกว่าเทคโนโลยีที่มีการใช้อยู่ในวงจำกัด นอกจากนี้ หากมีการพัฒนาเทคโนโลยีให้สูงขึ้นจากเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วก็จะทำให้ง่ายแก่การหาประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้มากกว่าการคิดค้นหรือประดิษฐ์เทคโนโลยีใหม่เลย เพราะอาจเป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ โดยเฉพาะในวงการอิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่เทคโนโลยีที่บุกเบิกใหม่ (breakthroughs) ก็อาจประสบความสำเร็จในการหาประโยชน์เชิงพาณิชย์ก็ได้หากสามารถใช้ประโยชน์ได้โดยทั่วไป
ภาพลักษณ์ของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (intellectual property right portfolio)
ด้วยการเพิ่มความตื่นตัวในเรื่องความสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับธุรกิจ บริษัทต่าง ๆ ได้พยายามสร้างภาพลักษณ์ของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาในระหว่างที่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือทำการตลาด ในบางครั้งเหตุผลสำคัญหลักของการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาก็เพื่อลดแรงจูงใจการลอกเลยีแบบ
การเพิ่มจำนวนของบริษัทที่ตื่นตัวในความสำคัญของสิทธิในทรัพยืสินทางปัญญานั้นสามารถก่อให้เกิดผลประโยชน์หลายประการ คือ
- การเข้าถึงตลาดใหม่
- การลดต้นทุนการพัฒนา
- การแนะนำเทคโนโลยีใหม่ของบริษัท
- การควบคุมการแพร่กระจายเทคโนโลยีโดยการอนุญาตให้ใช้สิทธิคืน
- การสร้างองค์กรมาตรฐานและสร้างมาตรฐานอุตสาหกรรมใหม่
การตรวจสอบทรัพย์สินทางปัญญาในระดับบริษัทสามารถลดต้นทุนและระบุโอกาสในการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตให้ใช้สิทธิ
การประเมินทรัพย์สินทางปัญญา (intellectual property assessment)
ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นรากฐานสำคัญของธุรกิจ โดยทั่วไป สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาเกิดขึ้นในรูปของความคิดหรือการค้นพบใหม่ ๆ ซึ่งเป็นข้อมูลที่เป็นความลับ ข้อมูลความลับหากมีการเขียนบันทึกก็อาจได้รับความคุ้มครองในฐานะงานลิขสิทธิ์ และหากต่อมาได้มีการวิจัยและพัฒนาต่อไปก็อาจขอรับความคุ้มครองในฐานะงานสิทธิบัตรได้
ดังนั้น จึงมีความสำคัญต้องประเมิน ดังต่อไปนี้
- องค์ประกอบทรัพย์สินทางปัญญาในโครงการ ว่าโครงการสามารถก่อให้เกิดทรัพย์สินทางปัญญาหรือไม่
- ใครจะเป็นเจ้าของโครงการหรือทรัพย์สินทางปัญญา
- สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาสามารถโอนให้กับบริษัทได้หรือไม่
- อะไรพร้อมที่จะเปิดเผย
- สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาจะได้รับการคุ้มครองอย่างไร
- จะสร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพย์สินทางปัญญาได้อย่างไร
- มีการละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของบุคคลอื่นหรือไม่
- ต้นทุนของการคุ้มครองและบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา
ความจำเป็นในการพัฒนาต่อ (need of further development)
สิ่งประดิษฐ์หรืองานวิจัยในระยะแรกเริ่มนั้นน้อยครั้งที่จะสามารถนำออกหาประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้โดยไม่มีการพัฒนาต่อ ตัวอย่างเช่น การแสดงความเป็นไปได้ทางเทคนิคของงานวิจัยหรือการสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบ การประมาณการณ์ต้นทุนต่อหน่วยในการผลิตสินค้าขั้นสุดท้ายหรือต้นทุนในการใช้กระบวนการใหม่ในกระบวนการผลิตเป็นสิ่งต้องการในการช่วยพิจารณาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการใช้ประโยชน์
การประเมินทางการตลาด (market assessment)
ขั้นตอนที่สำคัญคือการตรวจสอบความเป็นไปได้ในทางการตลาด เช่น ทำเลของตลาด ปริมาณ มูลค่า คู่แข่งขัน และพันธมิตร รวมทั้งอัตราการเจริญเติบโตในภาพรวม ข้อมูลที่จำเป็นต้องเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ คือ
- ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตที่เกิดจากสิ่งประดิษฐ์
- ทำเลที่ตั้งของตลาด
- มูลค่าทางการเงินของตลาด
- ขนาดของตลาด
- ผลิตภัณฑ์คู่แข่ง รวมทั้งราคาขายและปริมาณในตลาด
- บริษัทคู่แข่งและองค์กรวิจัยและพัฒนา
- พันธมิตรทางการค้า
ประเด็นด้านกฎหมาย (regulatory issues)
ในหลายประเทศได้กำหนดกฎระเบียบควบคุมกำกับดูแลพฤติกรรมของการดำเนินธุรกิจ ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่อการพัฒนาและการทำการตลาดผลิตภัณฑ์ใหม่หรือกระบวนการใหม่ ตัวอย่างเช่น ในอุตสาหกรรมยา การจะทำการตลาดผลิตภัณฑ์ยาได้ จำเป็นต้องผ่านการยอมรับจากองค์กรอาหารและยาของประเทศนั้น ๆ ก่อน ซึ่งกฎระเบียบเหล่านี้จะมีความยุ่งยากและอาจมีต้นทุนที่สูง ใช้ระยะเวลายาวนาน ดังนั้น ต้นทุนและเงื่อนไขเหล่านี้ต้องคำนึงไว้ในการวางแผนด้วย
เงื่อนไขทางการเงิน (financial requirements)
การแสวงหาประโยชน์เชิงพาณิชย์งานวิจัยและพัฒนานั้นสามารถดำเนินการได้โดยการลงทุนเพิ่มเติม ในการพัฒนากลยุทธ์ทางธุรกิจ อาจต้องมีการกำหนดความต้องการทางการเงินสำหรับโครงการทั้งในรูปของจำนวนเงินและประเภทของนักลงทุนต้องการเพื่อให้โครงการเดินต่อไปได้ ลักษณะเฉพาะของนักลงทุนที่ควรพิจารณาคือความสามารถ ความแข็งแกร่งทางการเงิน และความมุ่งมั่นในการพัฒนาโครงการ
คณะทำงานด้านวิจัยและพัฒนา (R&D team)
การประเมินควรดำเนินการพิจารณาศักยภาพของนักวิจัยในการดำเนินการกับผู้อื่นและบรรลุวัตถุประสงค์เป้าหมายภายในระยะเวลา นักวิจัยมักจะไม่มีประสบการณ์ในการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา การค้า การเงิน และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การผลิตและการทำการตลาด เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ยังมีความจำเป็นในการเพิ่มมูลค่าของเทคโนโลยีและความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ทั้งหมด
(2) การใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อผลกำไรสูงสุด
ในการพิจารณาว่าโครงการใดควรดำเนินการต่อไปนั้น จำเป็นต้องพิจารณาถึงการบริหารจัดการโครงการเพื่อเพิ่มมูลค่าและผลตอบแทนให้มากที่สุด
โดยทั่วไป มูลค่าที่เพิ่มขึ้นสามารถเพิ่มได้ก่อนที่เกี่ยวข้องกับบุคคลอื่นจะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า การให้เงินสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาเพิ่มขึ้นและการสนับสนุนต้นทุนในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาและบริหารโครงการมักใช้ระยะเวลาหลายปี เมื่อตัดสินใจให้มีการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์จะต้องมีการเตรียมที่จะยอมรับความเสี่ยงเพื่เอให้ได้ผลตอบแทนที่สูง เมื่อมุ่งที่จะเข้าสู่กระบวนการหาประโยชน์เชิงพาณิชยต้องคำนึงถึงดังต่อไปนี้
มูลค่าเพิ่มของโครงการ (add value to the project)
ประกอบด้วยสององค์ ประกอบคือ
- การเพิ่มมูลค่าทางเทคนิค (technical value adding) โดยการพัฒนาทางเทคนิคต่อเพื่อให้ตรงตามความต้องการของตลาด
- การเพิ่มมูลค่าทางพาณิชย์ (commercial value adding) โดยการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การเข้าใจความต้องการของตลาด ความเข้าใจของนักลงทุนและคู่แข่ง การประเมินความสมบูรณ์ของการดำเนินการทางการค้า และการจัดเตรียมการเพื่อดึงดูดนักลงทุน
การลดความเสี่ยงสำหรับนักลงทุน (reduce apparent risk for investors)
การลดความเสี่ยงสามารถกระทำได้หลายวิธี เช่น
- การตรวจสอบความเป็นไปได้ทางเทคนิคและทางวิทยาศาสตร์ของโครงการ ไม่ว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญในบริษัทหรือผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก
- การตรวจสอบในเชิงพาณิชย์ (commercial diligence) เช่น การดำเนินการสืบค้นสิทธิบัตร การประเมินความแข็งแกร่งของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและเทคนิค ความเป็นไปได้ในการทำตลาด และความเป็นไปได้ในการพัฒนาเทคโนโลยี
การรวมกลยุทธ์ทางการค้าและทางเทคนิค (harmonize technical and commercial strategies)
ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานทาฃเทคนิคและการตลาดนั้นเป็นสิ่งสำคัญ
- ปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยและพัฒนาต่าง ๆที่เกี่ยวข้อง ต้องระมัดระวังไม่ให้มีเปิดเผยข้อมูลความลับแก่บุคคลภายนอก ควรใช้สัญญาเก็บรักษาความลับกับบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องเช่น Confidential Disclosure Agreements และ Supply of Materials Agreements เป็นต้น
- ติดตามดูแลเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา การทำสัญญา CDA และ SMA กับบุคคลภายนอกควรมีการติดตามดูแลอย่างระมัดระวัง การให้ทุนวิจัยหรือว่าจ้างวิจัยก็ควรระมัดระวังในเรื่องความเป็นเจ้าของในทรัพย์สินทางปัญญา
- สร้างนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาที่ให้สิ่งจูงใจแก่นักวิจัย
การเจรจาและบริหารจัดการข้อตกลง (negotiation and management of deals)
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีและทรัพย์สินทางปัญญาไปสู่ภาคอุตสาหกรรมและผู้ทำการตลาดจำเป็นต้องมีการเจรจาต่อรองข้อตกลง การเจรจาที่มีทักษะและการบริหารจัดการข้อตกลงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการหาประโยชน์เชิงพาณิชย์ผลงานวิจัย ข้อแนะนำที่ควรดำเนินการมีดังนี้
- เป้าหมายเฉพาะเจาะจงที่เหมาะสมกับผู้ลงทุนหรือผู้พัฒนา
- การรู้จักธุรกิจเป้าหมาย
- ยืดหยุ่นและเปิดใจให้กว้าง
- นักลงทุนให้คุณค่าโครงการโดยคำนึงรายได้ทางการเงิน
- สำหรับเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญานั้น มูลค่าของโครงการคือสิ่งที่ตลาดจะจ่าย
- เสาะหาคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญที่ดี
- ข้อตกลงที่ดียากที่จะดำเนินไปได้ด้วยดี
- สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคู่สัญญาและนักวิจัยตั้งแต่เริ่มต้น
การวิจัยและใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ (research and commercialization)
การใช้ประโยชน์ในการประดิษฐ์และผลงานวิจัย รวมทั้งทรัพย์สินทางปัญญาต้องการการถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยี และโนว์ฮาว์ และการจัดตั้งความสัมพันธ์ในการผลิตระหว่างบุคคล ผู้ให้เทคโนโลยีหรือผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีควรดำเนินการติดตามตรวจสอบกิจกรรมในเชิงพาณิชย์ของผู้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีในระหว่างระยะเวลาของสัญญา การบริหารจัดการที่ดีจะช่วยดูแลความสัมพันธ์ในการผลิตและพบปัญหาตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นก่อนที่จะก่อให้เกิดปัญหา
การบริหารจัดการโครงการได้สร้างภาระและต้นทุนแก่ผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งต้องคำนึงถึงการประเมินครั้งแรกในเรื่องความเป็นไปได้ในการทำกำไรของการพัฒนาเทคโนโลยีทางเลือกและการถ่ายทอดเทคโนโลยี ในทางทฤษฎี ภาระดังกล่าวควรจะมีในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิน้อยกว่าสัญญาร่วมกิจการซึ่งต้องการการบริหารจัดการร่วมกันในทุกแง่ของกระบวนการหาประโยชน์เชิงพาณิชย์
สิ่งประดิษฐ์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้หลากหลายวิธีการขึ้นอยู่กับเป้าหมายว่าจะดำเนินการอย่างไรจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท
การใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินทางปัญญาบ่อยครั้งจะเป็นเป้าหมายสูงสุดในกระบวนการสร้างทรัพย์สินทางปัญญา หรืออาจเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการเจาะหรือหาตลาดใหม่หรือปกป้องส่วนแบ่งตลาดที่มีอยู่เดิม โดยทั่วไปผลงานวิจัยและการประดิษฐ์ในระยะแรกเริ่มที่จะหาประโยชน์ได้ เมื่อสามารถดึงดูดใจผู้ใช้ที่ประสงค์จะพัฒนาความคิดหรือการประดิษฐ์นั้นต่อไป เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ในรูปของผลิตภัณฑ์หรือเทคโนโลยี
(1) การประเมินและวัดผล
จุดเริ่มต้นของการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินทางปัญญาคือการรู้จักมูลค่าหรือคุณค่าของทรัพย์สินทางปัญญานั้น ๆ ฉะนั้น การประเมินมูลค่าหรือประเมินคุณค่าของทรัพย์สินทางปัญญาจึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น แต่การประเมินมูลค่าหรือคุณค่าของทรัพย์สินทางปัญญาอาจมีความยุ่งยากและสลับซับซ้อน เนื่องจากมูลค่าหรือคุณค่าของทรัพย์สินทางปัญญาอาจสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกับต้นทุนในการสร้างหรือบำรุงรักษาน้อยมาก เพราะต้นทุนของทรัพย์สินทางปัญญาอาจอยู่ในรูปของต้นทุนที่ลงทุนสร้างทรัพย์สินทางปัญญานั้น หรือมูลค่าอาจเป็นการประมาณมูค่าของทรัพย์สินทางปัญญาที่มีคุณค่าต่อเจ้าของหรือผู้ซื้อ หรือมูลค่าของทรัพย์สินทางปัญญาเป็นมูลค่าของเงินที่ผู้ซื้อยินดีจะจ่าย
จากประสบการณ์แสดงว่าการประเมินผลและการบริหารจัดการอย่างดี เพียงหนึ่งโครงการจากสิบโครงการจะทำกำไรและหนึ่งครงการในหนึ่งร้อยโครงการจะถือว่าประสบความสำเร็จ ระยะเวลาก่อนที่สิ่งประดิษฐ์จะเข้าสู่ตลาดนั้นต้องใช้เวลาพอสมควรอย่างน้อยห้าปี การประเมินโครงการที่ดีจะช่วยเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จ กระบวนการประเมินดังกล่าวสรุปได้ดังนี้
การประเมินทางเทคนิค (technical assessment)
การประเมินทางเทคนิคเปรียบเทียบผลงานวิจัยใหม่กับผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการผลิตที่มีอยู่ในตลาดในปัจจุบันและหาระบุข้อดีและข้อเสีย รวมทั้งบันทึกความสำคัญทางการค้าของบริษัท เทคโนโลยีใหม่ที่พัฒนาขึ้นมาเนื่องจากความต้องการของตลาดมักจะมีแนวโน้มที่จะหาประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้ดีกว่าเทคโนโลยีที่มีการใช้อยู่ในวงจำกัด นอกจากนี้ หากมีการพัฒนาเทคโนโลยีให้สูงขึ้นจากเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วก็จะทำให้ง่ายแก่การหาประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้มากกว่าการคิดค้นหรือประดิษฐ์เทคโนโลยีใหม่เลย เพราะอาจเป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ โดยเฉพาะในวงการอิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่เทคโนโลยีที่บุกเบิกใหม่ (breakthroughs) ก็อาจประสบความสำเร็จในการหาประโยชน์เชิงพาณิชย์ก็ได้หากสามารถใช้ประโยชน์ได้โดยทั่วไป
ภาพลักษณ์ของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (intellectual property right portfolio)
ด้วยการเพิ่มความตื่นตัวในเรื่องความสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับธุรกิจ บริษัทต่าง ๆ ได้พยายามสร้างภาพลักษณ์ของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาในระหว่างที่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือทำการตลาด ในบางครั้งเหตุผลสำคัญหลักของการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาก็เพื่อลดแรงจูงใจการลอกเลยีแบบ
การเพิ่มจำนวนของบริษัทที่ตื่นตัวในความสำคัญของสิทธิในทรัพยืสินทางปัญญานั้นสามารถก่อให้เกิดผลประโยชน์หลายประการ คือ
- การเข้าถึงตลาดใหม่
- การลดต้นทุนการพัฒนา
- การแนะนำเทคโนโลยีใหม่ของบริษัท
- การควบคุมการแพร่กระจายเทคโนโลยีโดยการอนุญาตให้ใช้สิทธิคืน
- การสร้างองค์กรมาตรฐานและสร้างมาตรฐานอุตสาหกรรมใหม่
การตรวจสอบทรัพย์สินทางปัญญาในระดับบริษัทสามารถลดต้นทุนและระบุโอกาสในการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตให้ใช้สิทธิ
การประเมินทรัพย์สินทางปัญญา (intellectual property assessment)
ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นรากฐานสำคัญของธุรกิจ โดยทั่วไป สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาเกิดขึ้นในรูปของความคิดหรือการค้นพบใหม่ ๆ ซึ่งเป็นข้อมูลที่เป็นความลับ ข้อมูลความลับหากมีการเขียนบันทึกก็อาจได้รับความคุ้มครองในฐานะงานลิขสิทธิ์ และหากต่อมาได้มีการวิจัยและพัฒนาต่อไปก็อาจขอรับความคุ้มครองในฐานะงานสิทธิบัตรได้
ดังนั้น จึงมีความสำคัญต้องประเมิน ดังต่อไปนี้
- องค์ประกอบทรัพย์สินทางปัญญาในโครงการ ว่าโครงการสามารถก่อให้เกิดทรัพย์สินทางปัญญาหรือไม่
- ใครจะเป็นเจ้าของโครงการหรือทรัพย์สินทางปัญญา
- สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาสามารถโอนให้กับบริษัทได้หรือไม่
- อะไรพร้อมที่จะเปิดเผย
- สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาจะได้รับการคุ้มครองอย่างไร
- จะสร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพย์สินทางปัญญาได้อย่างไร
- มีการละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของบุคคลอื่นหรือไม่
- ต้นทุนของการคุ้มครองและบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา
ความจำเป็นในการพัฒนาต่อ (need of further development)
สิ่งประดิษฐ์หรืองานวิจัยในระยะแรกเริ่มนั้นน้อยครั้งที่จะสามารถนำออกหาประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้โดยไม่มีการพัฒนาต่อ ตัวอย่างเช่น การแสดงความเป็นไปได้ทางเทคนิคของงานวิจัยหรือการสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบ การประมาณการณ์ต้นทุนต่อหน่วยในการผลิตสินค้าขั้นสุดท้ายหรือต้นทุนในการใช้กระบวนการใหม่ในกระบวนการผลิตเป็นสิ่งต้องการในการช่วยพิจารณาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการใช้ประโยชน์
การประเมินทางการตลาด (market assessment)
ขั้นตอนที่สำคัญคือการตรวจสอบความเป็นไปได้ในทางการตลาด เช่น ทำเลของตลาด ปริมาณ มูลค่า คู่แข่งขัน และพันธมิตร รวมทั้งอัตราการเจริญเติบโตในภาพรวม ข้อมูลที่จำเป็นต้องเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ คือ
- ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตที่เกิดจากสิ่งประดิษฐ์
- ทำเลที่ตั้งของตลาด
- มูลค่าทางการเงินของตลาด
- ขนาดของตลาด
- ผลิตภัณฑ์คู่แข่ง รวมทั้งราคาขายและปริมาณในตลาด
- บริษัทคู่แข่งและองค์กรวิจัยและพัฒนา
- พันธมิตรทางการค้า
ประเด็นด้านกฎหมาย (regulatory issues)
ในหลายประเทศได้กำหนดกฎระเบียบควบคุมกำกับดูแลพฤติกรรมของการดำเนินธุรกิจ ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่อการพัฒนาและการทำการตลาดผลิตภัณฑ์ใหม่หรือกระบวนการใหม่ ตัวอย่างเช่น ในอุตสาหกรรมยา การจะทำการตลาดผลิตภัณฑ์ยาได้ จำเป็นต้องผ่านการยอมรับจากองค์กรอาหารและยาของประเทศนั้น ๆ ก่อน ซึ่งกฎระเบียบเหล่านี้จะมีความยุ่งยากและอาจมีต้นทุนที่สูง ใช้ระยะเวลายาวนาน ดังนั้น ต้นทุนและเงื่อนไขเหล่านี้ต้องคำนึงไว้ในการวางแผนด้วย
เงื่อนไขทางการเงิน (financial requirements)
การแสวงหาประโยชน์เชิงพาณิชย์งานวิจัยและพัฒนานั้นสามารถดำเนินการได้โดยการลงทุนเพิ่มเติม ในการพัฒนากลยุทธ์ทางธุรกิจ อาจต้องมีการกำหนดความต้องการทางการเงินสำหรับโครงการทั้งในรูปของจำนวนเงินและประเภทของนักลงทุนต้องการเพื่อให้โครงการเดินต่อไปได้ ลักษณะเฉพาะของนักลงทุนที่ควรพิจารณาคือความสามารถ ความแข็งแกร่งทางการเงิน และความมุ่งมั่นในการพัฒนาโครงการ
คณะทำงานด้านวิจัยและพัฒนา (R&D team)
การประเมินควรดำเนินการพิจารณาศักยภาพของนักวิจัยในการดำเนินการกับผู้อื่นและบรรลุวัตถุประสงค์เป้าหมายภายในระยะเวลา นักวิจัยมักจะไม่มีประสบการณ์ในการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา การค้า การเงิน และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การผลิตและการทำการตลาด เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ยังมีความจำเป็นในการเพิ่มมูลค่าของเทคโนโลยีและความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ทั้งหมด
(2) การใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อผลกำไรสูงสุด
ในการพิจารณาว่าโครงการใดควรดำเนินการต่อไปนั้น จำเป็นต้องพิจารณาถึงการบริหารจัดการโครงการเพื่อเพิ่มมูลค่าและผลตอบแทนให้มากที่สุด
โดยทั่วไป มูลค่าที่เพิ่มขึ้นสามารถเพิ่มได้ก่อนที่เกี่ยวข้องกับบุคคลอื่นจะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า การให้เงินสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาเพิ่มขึ้นและการสนับสนุนต้นทุนในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาและบริหารโครงการมักใช้ระยะเวลาหลายปี เมื่อตัดสินใจให้มีการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์จะต้องมีการเตรียมที่จะยอมรับความเสี่ยงเพื่เอให้ได้ผลตอบแทนที่สูง เมื่อมุ่งที่จะเข้าสู่กระบวนการหาประโยชน์เชิงพาณิชยต้องคำนึงถึงดังต่อไปนี้
มูลค่าเพิ่มของโครงการ (add value to the project)
ประกอบด้วยสององค์ ประกอบคือ
- การเพิ่มมูลค่าทางเทคนิค (technical value adding) โดยการพัฒนาทางเทคนิคต่อเพื่อให้ตรงตามความต้องการของตลาด
- การเพิ่มมูลค่าทางพาณิชย์ (commercial value adding) โดยการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การเข้าใจความต้องการของตลาด ความเข้าใจของนักลงทุนและคู่แข่ง การประเมินความสมบูรณ์ของการดำเนินการทางการค้า และการจัดเตรียมการเพื่อดึงดูดนักลงทุน
การลดความเสี่ยงสำหรับนักลงทุน (reduce apparent risk for investors)
การลดความเสี่ยงสามารถกระทำได้หลายวิธี เช่น
- การตรวจสอบความเป็นไปได้ทางเทคนิคและทางวิทยาศาสตร์ของโครงการ ไม่ว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญในบริษัทหรือผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก
- การตรวจสอบในเชิงพาณิชย์ (commercial diligence) เช่น การดำเนินการสืบค้นสิทธิบัตร การประเมินความแข็งแกร่งของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและเทคนิค ความเป็นไปได้ในการทำตลาด และความเป็นไปได้ในการพัฒนาเทคโนโลยี
การรวมกลยุทธ์ทางการค้าและทางเทคนิค (harmonize technical and commercial strategies)
ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานทาฃเทคนิคและการตลาดนั้นเป็นสิ่งสำคัญ
- ปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยและพัฒนาต่าง ๆที่เกี่ยวข้อง ต้องระมัดระวังไม่ให้มีเปิดเผยข้อมูลความลับแก่บุคคลภายนอก ควรใช้สัญญาเก็บรักษาความลับกับบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องเช่น Confidential Disclosure Agreements และ Supply of Materials Agreements เป็นต้น
- ติดตามดูแลเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา การทำสัญญา CDA และ SMA กับบุคคลภายนอกควรมีการติดตามดูแลอย่างระมัดระวัง การให้ทุนวิจัยหรือว่าจ้างวิจัยก็ควรระมัดระวังในเรื่องความเป็นเจ้าของในทรัพย์สินทางปัญญา
- สร้างนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาที่ให้สิ่งจูงใจแก่นักวิจัย
การเจรจาและบริหารจัดการข้อตกลง (negotiation and management of deals)
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีและทรัพย์สินทางปัญญาไปสู่ภาคอุตสาหกรรมและผู้ทำการตลาดจำเป็นต้องมีการเจรจาต่อรองข้อตกลง การเจรจาที่มีทักษะและการบริหารจัดการข้อตกลงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการหาประโยชน์เชิงพาณิชย์ผลงานวิจัย ข้อแนะนำที่ควรดำเนินการมีดังนี้
- เป้าหมายเฉพาะเจาะจงที่เหมาะสมกับผู้ลงทุนหรือผู้พัฒนา
- การรู้จักธุรกิจเป้าหมาย
- ยืดหยุ่นและเปิดใจให้กว้าง
- นักลงทุนให้คุณค่าโครงการโดยคำนึงรายได้ทางการเงิน
- สำหรับเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญานั้น มูลค่าของโครงการคือสิ่งที่ตลาดจะจ่าย
- เสาะหาคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญที่ดี
- ข้อตกลงที่ดียากที่จะดำเนินไปได้ด้วยดี
- สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคู่สัญญาและนักวิจัยตั้งแต่เริ่มต้น
การวิจัยและใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ (research and commercialization)
การใช้ประโยชน์ในการประดิษฐ์และผลงานวิจัย รวมทั้งทรัพย์สินทางปัญญาต้องการการถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยี และโนว์ฮาว์ และการจัดตั้งความสัมพันธ์ในการผลิตระหว่างบุคคล ผู้ให้เทคโนโลยีหรือผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีควรดำเนินการติดตามตรวจสอบกิจกรรมในเชิงพาณิชย์ของผู้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีในระหว่างระยะเวลาของสัญญา การบริหารจัดการที่ดีจะช่วยดูแลความสัมพันธ์ในการผลิตและพบปัญหาตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นก่อนที่จะก่อให้เกิดปัญหา
การบริหารจัดการโครงการได้สร้างภาระและต้นทุนแก่ผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งต้องคำนึงถึงการประเมินครั้งแรกในเรื่องความเป็นไปได้ในการทำกำไรของการพัฒนาเทคโนโลยีทางเลือกและการถ่ายทอดเทคโนโลยี ในทางทฤษฎี ภาระดังกล่าวควรจะมีในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิน้อยกว่าสัญญาร่วมกิจการซึ่งต้องการการบริหารจัดการร่วมกันในทุกแง่ของกระบวนการหาประโยชน์เชิงพาณิชย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น