ในวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ศาลปกครองของอังกฤษได้ปฏิเสธคำขอของบริษัท ICO Satellite Limited หรือ ICO ในการทบทวนคำวินิจฉัยทางปกครองของสำนักงานกำกับดูแลกิจการสื่อสารหรือ OFCOM ในการยื่นต่อสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ในการยกเลิกคำขอของบริษัท ICO ต่อนายทะเบียนหลักคลื่นความถี่ระหว่างประเทศ (Master International Frequency Register หรือ MIFR) สำหรับระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมในกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ICO-P ในคำพิพากษา ICO v. OFCOM มีสาระสำคัญว่าบทบาทของสำนักงานกำกับดูแลกิจการสื่อสารในฐานะหน่วยงานของประเทศในการประสานงานกับสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิในคลื่นความถี่ในระดับระหว่างประเทศและในการติดตามตรวจสอบการใช้คลื่นความถี่ที่ได้จัดสรรแก่ผู้ประกอบการการดาวเทียมสื่อสาร กระบวนการของสำนักงานกำกับดูแลกิจการสื่อสารเกี่ยวกับการบริหารการยื่นขอให้บริการดาวเทียมสื่อสารได้กำหนดรายละเอียดของรายงานสถานะของการดำเนินการเกี่ยวกับคลื่นความถี่ที่ผู้ประกอบการได้รับการจัดสรรแก่สำนักงานกำกับดูแลกิจการสื่อสาร หลักฐานต้องประกอบด้วยแผนธุรกิจของผู้ประกอบการ ความคืบหน้าและสถานะของการประสานงานคลื่นความถี่ตามข้อมูลที่ได้รับจากผู้ประกอบ สำนักงานกำกับดูแลกิจการสื่อสารมีอำนาจในการสั่งยกเลิกการยื่นคำขอต่อสหภาพโทรคมนคามระหว่างประเทศได้
ข้อเท็จจริง
ประเด็นหลักของคดีนี้คือ ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2004 OFCOM ได้แจ้งสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศว่าโครงข่ายดาวเทียมของ ICO-P ได้มีการนำมาใช้งานตามหลักเกณฑ์ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศตามที่ ICO ได้ยื่นคำขอไว้ แผนธุรกิจที่ยื่นต่อ OFCOM นั้น ICO ระบุว่าโครงข่ายดาวเทียม ICO-P ประกอบด้วยโครงข่ายของดาวเทียม 12 ดวง และดาวเทียมทุกดวงได้ยิงขึ้นในปี ค.ศ. 2005 ปัจจุบันนี้ ICO ได้ยิงดาวเทียมขึ้นเพียงหนึ่งดวงเท่านั้น
สามวันหลังจากที่ OFCOM ประกาศแจ้ง ICO ได้ยุติการก่อสร้างดาวเทียมและสัญญาปล่อยดาวเทียมขึ้นกับบริษัท Boeing เนื่องจากเกิดข้อพิพาทในการปฏิบัติตามสัญญา ข้อพิพาทดังกล่าวศาลชั้นต้นในประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีคำพิพากษาให้ ICO ชนะ แต่บริษัท Boeing ได้อุทธรณ์คำพิพากษาต่อและยังคงอยู่ในชั้นพิจารณาอุทธรณ์ ในช่วงเวลาดังกล่าว OFCOM ไม่ได้แจ้งข่าวสารใด ๆ จาก ICO ในเรื่องดังกล่าวและทราบเรื่องจากการรายงานข่าวของสื่อมวลชน ในการโต้ตอบสื่อสารระหว่าง OFCOM กับ ICO นั้น OFCOM ได้มีหนังสือถึง ICO ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2006 แจ้งให้ ICO แสดงหลักฐานข้อมูลภายในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2007 ซึ่ง ICO มีสัญญาในการดำเนินการและปล่อยดาวเทียมที่เหลืออยู่ตามโครงการโครงข่ายดาวเทียม และมีเงินทุนที่จำเป็นในการดำเนินการตามโครงการดังกล่าว
ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2008 ICO ไม่ได้แสดงหลักฐานหรือข้อมูลอย่างเพียงพอที่แสดงให้เห็นว่าดาวเทียม ICO-P พร้อมที่ยิงขึ้นดำเนินการ เช่น สัญญาที่จำเป็นที่ทดแทนการยิงดาวเทียมอื่นหรือ ICO มีงบประมาณในการยิงดาวเทียม OFCOM จึงแจ้ง ICO เกี่ยวกับคำวินิจฉัยชั่วคราวที่แจ้งต่อ ITU เพื่อยกเลิกการยื่นของ ICO-P ในชั้น MIFR ภายใต้เงื่อนไขว่ามีการแสดงหลักฐานจาก ICO ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 OFCOM แจ้ง ICO ว่า OFCOM ได้พิจารณาแจ้งต่อ ITU ขอยกเลิกคำขอของ ICO-P เนื่องจาก ICO ไม่แสดงหลักฐานให้เป็นที่ประจักษ์ตามที่ OFCOM กำหนดแจ้งไว้แล้วในสองเรื่องดังกล่าว
ข้อโต้แย้งของบริษัท ICO
ICO ได้ยื่นขอให้ศาลยุติธรรมทบทวนคำวินิจฉัยของ OFCOM ในสามประเด็นคือ
• OFCOM กำหนดปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูลพื้นฐานที่ผิดพลาดว่า OFCOM มีหน้าที่ตามหลักเกณฑ์ของ ITU ในการแจ้งยกเลิกคำขอของ ICO เนื่องจากเหตุผลในเรื่องความล่าช้าในการก่อสร้างและดำเนินการโครงการดาวเทียมภายในระยะเวลาที่กำหนดโดย OFCOM
• OFCOM ไม่ได้พิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น
• ขาดการแจ้งที่จำเป็นในการยกเลิกคำขอ ICO-P ในชั้น MIFR ในเวลาดังกล่าว และขาดการแจ้งต่อบุคคลที่สาม
• ผลกระทบทางลบของคำวินิจฉัยของ OFCOM ต่อ ICO
• ความเป็นไปได้ของข้อพิพาทกับบริษัท Boeing ที่อาจเสร็จสิ้นในระหว่างกระบวนการอุทธรณ์ในสหรัฐอเมริกา
• มาตรา 13.6 ของข้อบังคับวิทยุคมนาคมของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ที่กำหนดว่าขอบเขตของของการกระทำสามารถดำเนินการได้หลากหลายในแต่ละสถานการณ์ ซึ่งการยกเลิกเป็นทางเลือกหนึ่ง
• คำวินิจฉัยของ OFCOM จากสถานการณ์ดังกล่าวไม่สอดคล้องกับหลักการการได้สัดส่วน
คำพิพากษา
ผู้พิพากษา Lloyd Jones ของศาลปกครองปฏิเสธข้อกล่าวอ้างทั้งสามข้อของ ICO
ประการแรก OFCOM ไม่ได้ตัดสินใจตามปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้อง ไม่ได้ดำเนินกระบวนการตามที่ OFCOM ,หน้าที่ของระบบสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศในการยกเลิกคำขอของ ICO ในสถานการณ์ดังกล่าว OFCOM เพียงดำเนินการตามแนวปฏิบัติ ซึ่ง ICO ไม่ได้โต้แย้งในคดีนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้ว OFCOM มีสิทธิสอบถาม ICO ให้แสดงหลักฐานในเรื่องดังกล่าวและคำวินิจฉัยของ OFCOM ก็พิจารณาตามพื้นฐานว่า ICO ไม่ได้ดำเนินการตามที่ OFCOM กำหนด
ประการที่สอง OFCOM ไม่ได้พิจารณาข้อมูลหรือปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ
• ไม่มีเอกสารของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศแนะนำว่าจำเป็นหรือเหมาะสมในการพิจารณาว่าอาจกระทบถึงบุคคลที่สามในการยื่นคำขอก่อนที่จะยกเลิกคำขอ การกำหนดให้ OFCOMพิจารณาผลกระทบที่อาจเกิดต่อบุคคลที่สามนั้นไม่สามารถใช้บังคับได้เพราะเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติสำหรับ OFCOM ในการประเมินผลจากการคาดการณ์ของการยื่นคำขอดาวเทียมอื่นทั้งหมดและรวมถึงการยื่นคำขอดาวเทียมในอนาคตด้วย
• ไม่มีเอกสารของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศหรือแนวปฏิบัติที่สนับสนุนผลกระทบของการยกเลิกคำขอรับการจัดสรรคลื่นความถี่แก่ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องเป็นข้อพิจารณาสำคัญ ข้อเท็จจริงเพียงว่ามีการลงทุนมหาศาลโดยรวมมากกว่า 3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯในการยื่นคำขอดาวเทียม ICO-P ไม่สามารถนำมาใช้สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะที่แจ้งไว้ซึ่งไม่สามารถได้รับความคุ้มกันจากการยกเลิกดังกล่าว ในทางกลับกันศาลสังเกตว่าการแนบข้อมูลดังกล่าวเพื่อพิจารณาปัจจัยดังกล่าวอาจทำให้ทำร้ายวัตถุประสงค์ของระบบการกำกับดูแลที่มีเหตุผล การใช้งานคลื่นความถี่ที่มีประสิทธิภาพและประหยัด
• OFCOM ได้พิจารณาอย่างรอบคอบถึงผลลัพธ์ที่เป็นไปได้กับ Boeing แต่ OFCOM มีสิทธิชัดเจนในการตัดสินใจว่า ICO ไม่ได้แสดงหลักฐานที่เพียงพอว่า ICO สามารถสรุปสัญญากับ Boeing ได้ ICO ไม่ได้ล้มเหลวตามมาตรา 13.6 ของข้อบังคับวิทยุของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ
• ในประเด็นเรื่องความได้สัดส่วนนั้น ศาลเห็นว่าการบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว คำตัดสินของ OFCOM มีความจำเป็นเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของแนวปฏิบัติและโดยเฉพาะอย่างยิ่งหาก OFCO< ใช้มาตรการบังคับที่ลดความรุนแรงลงในสถานการณ์ดังกล่าว ศาลตัดสินว่าหน่วยธุรการของประเทศพิจารณาว่าการยื่นไม่ได้ใช้งานตามความเป็นจริงและไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะโต้แย้ง ซึ่งหากมีการแก้ไขปรับปรุงหรือระงับไว้ชั่วคราวของคำขอดังกล่าวอาจมีความเหมาะสมนั้น การยกเลิกก็มีความจำเป็นและไม่มีวิธีการแก้ไขเยียวยาที่มีประสิทธิภาพอื่นมีอยู่ให้เลือก
• บทเรียนที่ได้จากคำพิพากษานี้ สรุปได้ดังนี้
• การใช้คลื่นความถี่และตำแหน่งวงโคจรดาวเทียม ทรัพยากรที่จำกัดและมีมูลค่า โดยเฉพาะในปัจจุบันมีความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นสำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่และกิจการสื่อสารไร้สายคือการประสานงานในระหว่างระหว่างประเทศโดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้สหประชาชาติมีประเทศสมาชิก 191 ประเทศ รวมถึงสหราชอาณาจักร การประสานคลื่นความถี่มีความจำเป็นเพื่อหลีกเลี่ยงการรบกวนอย่างรุนแรงในการส่งสัญญาณวิทยุและประกันการใช้ทรัพยากรอย่างสมเหตุสมผล คุ้มค่า และมีประสิทธิภาพ ผู้ประกอบการในสหราชอาณาจักรที่ประสงค์จะยื่นคำขอรับจากสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศในการบริหารจัดการและดำเนินการเกี่ยวกับการยื่นขอรับอนุญาตในกิจการดาวเทียมต้องดำเนินการผ่านสำนักงานกำกับดูแลกิจการสื่อสาร (OFCOM) การยื่นคำขอรับดังกล่าวต่อสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศเพื่อขอรับอนุญาตการใช้คลื่นความถี่ที่ประสงค์จะใช่สามารถจดทะเบียนได้ที่ MIFR และได้รับการยอมรับในระหว่างประเทศ
ผลกระทบต่อผู้ประกอบการดาวเทียม
• ประการแรก คำวินิจฉัยเน้นการดำเนินการที่มุ่งมั่นที่กำหนดโดย OFCOM ในแนวปฏิบัติซึ่งกำหนดเงื่อนไขมากกว่าหลักเกณฑ์ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในข้อ 5.3 ของแนวปฏิบัติ OFCOM กำหนดข้อมูลเชิงพาณิชย์ในรายละเอียดจากผู้ยื่นคำขอเพื่อพิจารณาประกอบการยื่นจัดตั้งให้บริการโครงข่ายดาวเทียมว่าต้องมีเงินทุนสนับสนุนเพียงพอ
• ประการที่สอง OFCOM จะติดตามตรวจสอบความก้าวหน้าของการดำเนินงานของผู้ยื่นคำขอใบอนุญาตใช้งานคลื่นความถี่วิทยุโดยอ้างอิงกับแผนธุรกิจรวมทั้งระบบทางเทคนิคและกรอบเวลาที่ระบุไว้ว่าผู้ประกอบการยื่นไว้กับ OFCOM ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวังรอบคอบในการจัดเตรียมแผนธุรกิจเพื่อสนับสนุนการยื่นต่อสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการดาวเทียมควรต้องกำหนดให้แผนธุรกิจมีความยืดหยุ่นซึ่งอาจเกิดจากข้อพิพาทที่เกี่ยวเนื่องที่อาจมีผลกระทบต่อการใช้งานคลื่นความถี่
• ประการสุดท้ายคำวินิจฉัยเน้นความสำคัญของความจำเป็นที่ผู้ประกอบการดาวเทียมต้องดำเนินการด้วยความเหมาะสมและในโอกาสต้องแจ้ง OFCOM โดยเฉพาะในกรณีที่ความสามารถของผู้ประกอบการในการก่อสร้างโครงข่ายตามลักษณะที่แจ้งไว้โดยผู้ประกอบการที่เปลี่ยนแปลงนอกเหนือจากการควบคุมของ
หมายเหตุ โครงการ ICO-P เป็นโครงข่ายดาวเทียมวงโคจรระดับกลางที่จะให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในช่วงความถี่ 2 GHz โดยใช้ดาวเทียม 10 ดวงเพื่อสามารถให้บริการครอบคลุมทั่วโลก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น