วันพุธที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2557

สื่อลามกอนาจารกับเสรีภาพการแสดงออก

หนึ่งในประเด็นที่เกี่ยวกับการกำกับดูแลการแสดงออกความเห็นที่มีความซับซ้อนคือประเด็นเรื่องลามกอนาจาร ศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาได้วางเกณฑ์ในการพิจารณาหลายเกณฑ์เพื่อพิจารณาว่าอะไรที่รัฐธรรมนูญถือว่าเป็นสื่อลามกและถูกห้าม ซึ่งทุกวันนี้ยังมีความเห็นที่แตกต่างอยู่ ความยากในการกำหนดนิยามของสื่อลามกสามารถสรุปได้จากความเห็นของผู้พิพากษาสจ๊วตในคดี Jacobellis v. Ohio, 378 US 184 (1964) ที่กล่าวว่า "ฉันรู้ว่าอะไรคือลามกอนาจารเมื่อฉันเห็นมัน" (I know it when I see it) ซึ่งฝ่ายนิติบัญญัติเองก็มีปฏิกิริยาต่อคำพิพากษาดังกล่าว จึงพยายามสร้างแนวทางที่ชัดเจนขึ้น โดยคณะกรรมาธิการล๊อคฮาร์ทในปี ค.ศ. 1970 ได้เสนอแนะให้ยกเลิกการลงโทษทางอาญาทั้งหมดสำหรับสื่อลามกอนาจร เว้นแต่สื่อลามกอนาจรเด็กหรือการจำหน่ายจ่ายแจกสื่อลามกอนาจารแก่เด็กและผู้เยาว์ และอีกคณะกรรมาธิการมีสซี่ที่แต่งตั้งโดยประธานาธิบดีเรแกนได้เสนอแนวทางที่แตกต่างออกไป กล่าวคือแนะนำให้บังคับใช้กฎหมายเดิมต่อไปในการกำกับดูแลสื่อลามกอนาจารที่รุนแรงแม้ว่าผู้อ่านหรือผู้ชมจะเป็นผู้ใหญ่ก็ตาม

ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ศาลสูงสุดต้องเผชิญกับประเด็นเรื่องภาพลามกอนาจาร แต่มักไม่รวมถึงหนังสือที่มีการเขียนอธิบายกิจกรรมทางเพศ การต่อสู้ทางกฎหมายของสื่อที่ล่อแหลมดังกล่าวมักเกี่ยวข้องกับงานประพันธ์หรือนวนิยายที่มีชื่อเสียง เช่น  James Joyce's Ulysses หรือ  D. H. Lawrence's Lady Chatterly's Lover แต่คดีที่โด่งดังอีกคดีคือคดีนักร้องวงแร็พ Two Live Crew ที่ร้องเพลงที่มีเนื้อหาทางเพศที่ชัดแจ้ง ซึ่งถูกดำเนินคดีโดยมลรัฐฟอริด้า แต่ในที่สุดศาลยกฟ้อง
             
ในคดี Stanley v Georgia (1969) ถือว่ามีความสำคัญโดยศาลสูงสุดได้สรุปว่ากฎหมายของมลรัฐจอร์เจียไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 การกำหนดบทลงโทษบุคคลที่ครอบครองสื่อลามกเป้นการส่วนตัว แม้ว่าการจำหน่ายหรือแจกจ่ายสื่อลามกดังกล่าวจะไม่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ศาลวินิจฉัยต่อว่าทุกคนมีสิทธิในการตอบสนองความต้องการทางอารมณ์ของตนเองภายในสถานที่ส่วนบุคคลหรือในบ้านของตนเอง แต่ต่อมาในปี ค.ศ. 1990 ศาลสูงสุดวินิจฉัยด้วยคะแนนเสียง 6 ต่อ 3 ว่าการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญสำหรับการครอบครองสื่อลามกเป้นการส่วนตัวไม่ครอบคลุมถึงสื่อลามกที่เกี่ยวข้องกับเด็ก

ในคดี Smith v California เกี่ยวกับร้านขายหนังสือลามก ศาลสูงสุดวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 กำหนดให้รัฐบาลมีหน้าที่พิสูจน์มากกว่าเพียงว่าร้านขายหนังสือมีหนังสือลามกที่ต้องห้ามไว้จำหน่าย รัฐบาลต้องพิสูจน์ว่าเจ้าของร้านหนังสือรู้ว่าตนเองขายหนังสือลามกเพื่อจะได้ไม่มีผลกระทบข้างเคียงกับคำพูดที่อาจได้รับความคุ้มครอง  

ต่อมาในคดี Miller v California กำหนดว่าเกณฑ์สมัยใหม่เกี่ยวกับสื่อลามก ศาลสูงสุดได้วางหลักเกณฑ์ใหม่ในการวินิจฉัยกฎหมายห้ามสื่อลามกว่า (1) สื่อลามกที่ต้องห้ามต้องวาดหรืออธิบายพฤติกรรมทางเพศในลักษณะที่กระทำผิดอย่างชัดแจ้ง (2) พฤติกรรมดังกล่าวต้องถูกระบุไว้ในกฎหมายอย่างชัดเจน และ (3) งานดังกล่าวต้องขาดคุณค่าและต้องดึงดูดให้เกิดผลประโยชน์ในทางเพศ แต่อะไรคือการกระทำผิดอย่างชัดเจนจะถูกกำหนดโดยการใช้ค่านิมของชุมชน แต่คำต้ดสินของคณะลูกขุนในหลายคดีอยู่ภายใต้การทบทวนทางรัฐธรรมนูญอย่างอิสระตามคำวินิจฉัยในคดี Jenkins v Georgia ที่วางกรอบไว้


วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2557

คดีเกี่ยวกับสิทธิของคนรักร่วมเพศ

ในคดี Bowers v. Hardwick (1986) ศาลสูงสุดวินิจฉัยว่ารัฐธรรมนูญไม่ได้ให้ความคุ้มครองสิทธิของคนรักร่วมเพศในการมีพฤติกรรมทางเพศโดยสมัครใจแม้จะในสถานที่ส่วนบุคคล คดีนี้เริ่มในปี ค.ศ. 1982 เมื่อตำรวจในเมืองแอ็ทแลนต้าเข้าไปที่พักอาศัยของนายไมเคิล ฮาร์ดวิทเพื่อจับกุมในข้อหาขัดขืนหมายเรียกโดยไม่มารายงานตัวในข้อหาดื่มเครื่องดื่มมึนเมาในที่สาธารณะ ทั้งนี้ เพื่อนร่วมบ้านได้ปล่อยให้ตำรวจเข้าบ้านและตำรวจได้ตรวจค้นนายฮาร์ดวิทภายในบ้านและพบว่าประตูห้องเปิดแง้มอยู่ จึงบุกเข้าไปเพื่อจับกุมและพบว่านายฮาร์ดวิทและเพื่อนชายกำลังมีความสัมพันธ์ทางเพศ ทั้งคู่ถูกจับกุมในข้อหาฝ่าฝืนกฎหมายพฤติกรรมวิปริตทางเพศของมลรัฐจอร์เจีย นายฮาร์ดวิทฟ้องมลรัฐจอร์เจียโดยอ้างว่ากฎหมายพฤติกรรมวิปริตทางเพศดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ หลังจากนายฮาร์ดวิทชนะในคดี มลรัฐจอร์เจียจึงอุทธรณ์ต่อศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1986

ศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาวินิจฉัยด้วยคะแนนเสียง 5 ต่อ 4 ว่าสิทธิของผู้รักร่วมเพศในการกระทำที่วิปริตทางเพศซึ่งไม่ได้รับความคุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญ ศาลสูงสุดโต้แย้งว่าสิทธิส่วนตัวที่ได้รับความคุ้มครองโดยบทบัญญัติกระบวนการชอบด้วยกฎหมายไม่ได้ให้สิทธิในการรักร่วมเพศ ในขณะที่สิทธิส่วนตัวคุ้มครองในแง่มุมการแต่งงาน การคุมกำเนิด ความสัมพันธ์ในครอบครัว และการเลี้ยงดูเด็กจากการแทรกแซงของมลรัฐ ซึ่งไม่ได้ฝห้ความคุ้มครองคนรักร่วมเพศเพราะไม่มีความเชื่อมโยงกับการแต่งงาน ครอบครัว หรือการคุมกำเนิดในขณะที่กิจการรักร่วมเพศได้มีการแสดงออก

ศาลสูงสุดวินิจฉัยว่าสิทธิในการมีพฤติกรรมวิปริตทางเพศไม่ใช่สิทธิพื้นฐานในตัวมันเองที่ได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติกระบวนการชอบด้วยกฎหมาย ศาลสูงสุดโต้แย้งว่าบทบัญญัติที่คุ้มครองจากการแทรกแซงของมลรัฐที่ประกอบด้วยสิทธิพื้นฐานที่เป็นกิจกรรมที่สื่อให้เห็นถึงแนวคิดของเสรีภาพที่ถูกกำกับดูแล ที่มาและพื้นฐานดั้งเดิมของสังคมสหรัฐอเมริกา ศาลสูงสุดไม่พบกฎหมายที่ตีความคำว่า พฤติกรรมรักร่วมเพศ ในฐานะเป็นสิทธิพื้นฐานที่สมควรได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ศาลสูงสุดให้ข้อสังเกตว่าพฤติกรรมวิปริตถูกห้ามในมลรัฐดั้งเดิมทั้ง 13 รัฐและอีก 50 มลรัฐจนกระทั่งปี ค.ศ. 1961 ในขณะที่มีคำพิพากษา Bowers ในปี ค.ศ. 1986 พฤติกรรมดังกล่าวถือมีความผิดเกือบครึ่งหนึ่งของมลรัฐทั้งหมด

ในท้ายที่สุดศาลสูงสุดปฏิเสธข้อโต้แย้งของนายฮาร์ดวิทว่าแม้ว่าพฤติกรรมวิปริตทางเพศไม่ใช่สิทธิพื้นฐานที่ต้องได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายของมลรัฐที่ไม่สมเหตุสมผลที่โต้แย้งว่ากฎหมายมลรัฐจอร์เจียสมเหตุสมผลแม้ว่าวัตถุประสงค์ทำใช้ด้วยด้วยกฎหมายด้ายเหตุผลทางจริยธรรม ศาลสูงสุดยืนยันว่ากฎหมายทั้งหมดมีรากฐานมากจากศีลธรรมและถูกตีตกเพราะศีลธรรมอาจตีกฎหมายทั้หมดตกไปได้ ศาลสูงสุดวินิจฉัยว่ากฎหมายจอร์เจียชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกล่าวหาว่านายฮาร์ดวิทชอบแล้ว 

ในคดี Bowers v. Hardwick ส่งผลต่อกลุ่มคนรักร่วมเพศค่อนข้างมาก จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2003 ในคดี Lawrence v. Texas ศาลสูงสุดประกาศว่ากฎหมายต่อต้านพฤติกรรมวิปริตทางเพศของมลรัฐเท็กซัสไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำพิพากษาระบุว่าพฤติกรรมรักร่วมเพศเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิพื้นฐานของบุคคลผู้ใหญ่ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางเพศเป็นการส่วนตัว