ในคดี Bowers
v. Hardwick (1986) ศาลสูงสุดวินิจฉัยว่ารัฐธรรมนูญไม่ได้ให้ความคุ้มครองสิทธิของคนรักร่วมเพศในการมีพฤติกรรมทางเพศโดยสมัครใจแม้จะในสถานที่ส่วนบุคคล
คดีนี้เริ่มในปี ค.ศ. 1982 เมื่อตำรวจในเมืองแอ็ทแลนต้าเข้าไปที่พักอาศัยของนายไมเคิล
ฮาร์ดวิทเพื่อจับกุมในข้อหาขัดขืนหมายเรียกโดยไม่มารายงานตัวในข้อหาดื่มเครื่องดื่มมึนเมาในที่สาธารณะ
ทั้งนี้
เพื่อนร่วมบ้านได้ปล่อยให้ตำรวจเข้าบ้านและตำรวจได้ตรวจค้นนายฮาร์ดวิทภายในบ้านและพบว่าประตูห้องเปิดแง้มอยู่
จึงบุกเข้าไปเพื่อจับกุมและพบว่านายฮาร์ดวิทและเพื่อนชายกำลังมีความสัมพันธ์ทางเพศ
ทั้งคู่ถูกจับกุมในข้อหาฝ่าฝืนกฎหมายพฤติกรรมวิปริตทางเพศของมลรัฐจอร์เจีย
นายฮาร์ดวิทฟ้องมลรัฐจอร์เจียโดยอ้างว่ากฎหมายพฤติกรรมวิปริตทางเพศดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ
หลังจากนายฮาร์ดวิทชนะในคดี มลรัฐจอร์เจียจึงอุทธรณ์ต่อศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาในปี
ค.ศ. 1986
ศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาวินิจฉัยด้วยคะแนนเสียง
5 ต่อ 4 ว่าสิทธิของผู้รักร่วมเพศในการกระทำที่วิปริตทางเพศซึ่งไม่ได้รับความคุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญ
ศาลสูงสุดโต้แย้งว่าสิทธิส่วนตัวที่ได้รับความคุ้มครองโดยบทบัญญัติกระบวนการชอบด้วยกฎหมายไม่ได้ให้สิทธิในการรักร่วมเพศ
ในขณะที่สิทธิส่วนตัวคุ้มครองในแง่มุมการแต่งงาน การคุมกำเนิด
ความสัมพันธ์ในครอบครัว และการเลี้ยงดูเด็กจากการแทรกแซงของมลรัฐ
ซึ่งไม่ได้ฝห้ความคุ้มครองคนรักร่วมเพศเพราะไม่มีความเชื่อมโยงกับการแต่งงาน
ครอบครัว หรือการคุมกำเนิดในขณะที่กิจการรักร่วมเพศได้มีการแสดงออก
ศาลสูงสุดวินิจฉัยว่าสิทธิในการมีพฤติกรรมวิปริตทางเพศไม่ใช่สิทธิพื้นฐานในตัวมันเองที่ได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติกระบวนการชอบด้วยกฎหมาย
ศาลสูงสุดโต้แย้งว่าบทบัญญัติที่คุ้มครองจากการแทรกแซงของมลรัฐที่ประกอบด้วยสิทธิพื้นฐานที่เป็นกิจกรรมที่สื่อให้เห็นถึงแนวคิดของเสรีภาพที่ถูกกำกับดูแล
ที่มาและพื้นฐานดั้งเดิมของสังคมสหรัฐอเมริกา ศาลสูงสุดไม่พบกฎหมายที่ตีความคำว่า
พฤติกรรมรักร่วมเพศ ในฐานะเป็นสิทธิพื้นฐานที่สมควรได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ
ศาลสูงสุดให้ข้อสังเกตว่าพฤติกรรมวิปริตถูกห้ามในมลรัฐดั้งเดิมทั้ง 13
รัฐและอีก 50 มลรัฐจนกระทั่งปี ค.ศ. 1961
ในขณะที่มีคำพิพากษา Bowers ในปี ค.ศ. 1986
พฤติกรรมดังกล่าวถือมีความผิดเกือบครึ่งหนึ่งของมลรัฐทั้งหมด
ในท้ายที่สุดศาลสูงสุดปฏิเสธข้อโต้แย้งของนายฮาร์ดวิทว่าแม้ว่าพฤติกรรมวิปริตทางเพศไม่ใช่สิทธิพื้นฐานที่ต้องได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายของมลรัฐที่ไม่สมเหตุสมผลที่โต้แย้งว่ากฎหมายมลรัฐจอร์เจียสมเหตุสมผลแม้ว่าวัตถุประสงค์ทำใช้ด้วยด้วยกฎหมายด้ายเหตุผลทางจริยธรรม
ศาลสูงสุดยืนยันว่ากฎหมายทั้งหมดมีรากฐานมากจากศีลธรรมและถูกตีตกเพราะศีลธรรมอาจตีกฎหมายทั้หมดตกไปได้
ศาลสูงสุดวินิจฉัยว่ากฎหมายจอร์เจียชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกล่าวหาว่านายฮาร์ดวิทชอบแล้ว
ในคดี
Bowers v. Hardwick ส่งผลต่อกลุ่มคนรักร่วมเพศค่อนข้างมาก
จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2003 ในคดี Lawrence v. Texas ศาลสูงสุดประกาศว่ากฎหมายต่อต้านพฤติกรรมวิปริตทางเพศของมลรัฐเท็กซัสไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาระบุว่าพฤติกรรมรักร่วมเพศเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิพื้นฐานของบุคคลผู้ใหญ่ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางเพศเป็นการส่วนตัว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น