การใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญาของตนเอง
บริษัทหรือบุคคลสามารถหาประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาได้หลากหลายรูปแบบ เช่น
• การจัดตั้งบริษัทใหม่ (new venture) เพื่อพัฒนา ผลิต และขายผลิตภัณฑ์ ความเสี่ยงสำหรับทางเลือกจัดตั้งบริษัทใหม่นี้ค่อนข้างสูง เนื่องจากทั้งผลิตภัณฑ์และโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนต้องสร้างหรือพัฒนาขึ้นใหม่ จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนในระยะแรกค่อนข้างสูง ก่อนที่จะสามารถขายผลิตภัณฑ์หรือไม่มีรายได้
• การซื้อกิจการของบริษัทที่มีอยู่ (acquisition) พร้อมทรัพย์สินที่ต้องการ หรือการซื้อสายการผลิตจะมีความเสี่ยงน้อย เพราะการพัฒนาเทคโนโลยีค่อนข้างสมบูรณ์แล้ว โครงสร้างพื้นฐานของธุรกิจก็มีอยู่แล้ว ดังนั้น ระยะเวลาในการผลิตสินค้าสู่ตลาดก็อาจใช้ระยะเวลาไม่นานกว่าการจัดตั้งบริษัทใหม่ และขณะเดียวกันสามารถรักษาการควบคุมคุณภาพได้ อย่างไรก็ตามการลงทุนค่อนข้างจะสูง ฉะนั้น ผลตอบแทนจึงลดลง การคืนทุนจะยาวนานขึ้น ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นคือวัฒนธรรมขององค์กรหรือบริษัทที่ซื้อกิจการมาอาจมีความแตกต่าง จึงต้องทำความเข้าใจกับวัฒนาธรรมขององค์กรใหม่และอาจต้องหล่อหล่อมให้เข้ากัน ซึ่งจัดได้ว่าเป็นงานที่ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่บริษัทใหญ่ได้ซื้อกิจการบริษัทขนาดเล็ก การซื้อทั้งบริษัทอาจได้ทรัพย์สินที่ไม่ต้องการหรือความรับผิดชอบที่พึงปรารถนา
• การจัดตั้งบริษัทกิจการร่วมค้า (joint venture) เป็นการรวมกิจการของอย่างน้อยสองบริษัทเป็นหน่วยธุรกิจใหม่ขึ้นมา มีการแบ่งความเสี่ยง ผลกำไรปละการควบคุมบริหารจัดการ อย่างไรก็ตามถือได้ว่าความเสี่ยงยังคงสูงอยู่ ระดับของความเสี่ยงขึ้นอยู่กับสัดส่วนของลงทุนในบริษัทใหม่ องค์ประกอบสำคัญที่จะชี้วัดความสำเร็จคือองค์ประกอบในเรื่องการผสมผสานทักษะและความสามารถของทรัพยากรของผู้ร่วมกิจการ ปัญหาหลักของการควบรวมกิจการคือการยากที่จะบริหารจัดการ เนื่องจากบริษัทที่ร่วมกิจการอาจมีเป้าหมายหรือแนวทางการบริหารจัดการที่แตกต่างกัน
• การอนุญาตให้ใช้สิทธิ (licensing) การอนุญาตให้ใช้สิทธิเป็นการลดความเสี่ยงประการหนึ่ง โดยลดความเสี่ยงในการลงทุน การใช้ทรัพยากรของบริษัทก็น้อยลงเพราะใช้เฉพาะที่จำเป็นในการดำเนินการอนุญาตให้ใช้สิทธิเท่านั้น ไม่ต้องดำเนินการผลิตและจัดจำหน่ายด้วยตนเองทั้งหมด ความเสี่ยงเหล่านั้นจะโอนไปเป็นของผู้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิ ที่มีภาระหน้าที่รับผิดชอบในการพัฒนา ผลิต และทำการตลาดผลิตภัณฑ์นั้น อย่างไรก็ตามผู้อนุญาตให้ใช้สิทธิอาจได้รับผลตอบแทนที่จำกัดพาะค่าอนุญาตให้ใช้สิทธิเท่านั้นทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่ารูปแบบและกลยุทธของการอนุญาตให้ใช้สิทธิที่แตกต่างกันอาจกำหนดระดับของความเสี่ยงและรายได้ไม่เท่ากัน
• การหาพันธมิตรทางกลยุทธ์ (strategies alliance) ในบางครั้งบริษัทอาจหาพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อร่วมมือกันดำเนินการใช้ประโยชน์ในเทคโนโลยี โดยมีการแบ่งปันผลกำไร เนื่องจากขีดความสามารถที่จำกัดของบริษัทเองในการหาหรือใช้ประโยชน์ในทรัพยืสินทางปัญญานั้น พันธมิตรทางธุรกิจที่จะมาเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธนั้นอาจเป็นธุรกิจที่อยู่ในสายการผลิตหรือธุรกิจประเภทเดียวกันก็ได้ ทั้งนี้ ความเสี่ยงของแนวทางนี้คือการถูกจำกัดให้อยู่ในขอบเขตของความร่วมมือระหว่างกัน การขยายกิจการอาจติดขัดมีปัญหากับพันธมิตรได้ หากมีความคาบเกี่ยวกัน
• การขายสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาให้แก่บุคคลอื่น (sale) ในบางกรณีนั้นการขายเทคโนโลยีที่ไม่ต้องการอาจเป็นทางเลือกที่ดี เป็นแนวทางที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด เพราะความเสี่ยงจะตกไปอยู่กับผู้ซื้อ อย่างไรก็ตาม ข้อเสียคือผลตอบแทนอาจจะได้น้อยกว่า หากขายเทคโนโลยีนั้นต่ำกว่ามูลค่าหรือจากการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีนั้นเอง
ทั้งนี้ แต่ละแนวทางก็มีระดับของความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ไม่เหมือนกัน
การอนุญาตให้ใช้สิทธิ (Licensing out)
ก่อนที่จะตัดสินใจอนุญาตให้ใช้สิทธิประการแรกที่ควรจะดำเนินการคือการพิจารณาว่าการอนุญาตให้ใช้สิทธิเป็นวิธีการที่ดี ซึ่ง ขั้นตอนนี้ถือว่ามีความสำคัญมากขั้นตอนหนึ่งที่ไม่ควรจะละเลยและควรจะใช้ความละเอียดละออในการในการศึกษาและประเมินวิธีการใช้ประโยชน์อื่น ๆ ด้วย การศึกษาควรเริ่มด้วยข้อสันนิษฐานว่าวิธีการที่น่าจะเหมาะสมที่สุดคือการนำทรัพย์สินทางปัญญานั้นในการใช้ประโยชน์กับบริษัทโดยการใช้ในการผลิตหรือขายผลิตภัณฑ์ แต่หากการผลิตหรือขายผลิตภัณธ์ไม่สามารถดำเนินการได้ก็ควรจะศึกษาดูว่ามีทางเลือกอื่นที่เหมาะสมอีกหรือไม่
อย่างไรก็ตามก่อนที่จะดำเนินการอนุญาตให้ใช้สิทธิ จะต้องเข้าใจว่าการอนุญาตให้ใช้สิทธิมิใช่เรื่องง่ายและถูก แต่คนโดยทั่วไปเชื่อว่าเป็นรูปแบบธุรกิจที่ทำกำไรสูง ผู้อนุญาตให้ใช้สิทธิต้องจัดสรรทรัพยากร ทั้งด้านการเงินและบุคลากร เพื่อดำเนินการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งให้การสนับสนุนข้อมูล การให้ความช่วยเหลือผู้รับอนุญาตให้สิทธิ การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การเจรจาสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ และการจัดเตรียมค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นหลังจากการตกลงสัญญา ซึ่งอาจรวมทั้งกรณีมีการยกเลิกสัญญา
ผู้อนุญาตให้ใช้สิทธิต้องพิจารณาวงจรชีวิตการใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยี และต้องคำนึงถึงการพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาแข่งขันโดยคู่แข่งขันด้วย ตัวอย่างเช่น หากเทคโนโลยีที่จะอนุญาตให้ใช้สิทธิสามารถถูกทดแทนได้ง่ายเพราะวงจรชีวิตการใช้งานจะสั้น ดังนั้น ประการที่สำคัญในการอนุยาตให้ใช้สิทธิคือการผูกพันในระยะยาวซึ่งจะให้แหล่งรายได้ในระยะยาวด้วย การอนุญาตให้ใช้สิทธิเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง เหตุผลสำหรับการอนุญาตให้ใช้สิทธิ รวมถึงกรณีดังต่อไปนี้
1. ก่อให้เกิดรายได้จากทรัพย์สินทางปัญญา – หากบริษัทไม่ได้ผลิตหรือขายผลิตภัณฑ์ที่มีทรัพย์สินทางปัญญาไม่ว่าด้วยเหตุผลใด เช่น การขาดทรัพยากรที่จะใช้ในการผลิต รายได้จะไม่มีหากไม่ได้อนุญาตให้ใช้สิทธิ
2. การให้แหล่งสนับสนุนสำรอง – หากความสามารถในการผลิตมีจำกัด การผลิตสินค้าจะไม่ผลคุ้มค่าในทางเศรษฐกิจและในทางปฏิบัติในการผลิตสินค้าเพียงรายเดียว หรือกรณีที่ตลาดลังเลที่จะยอมรับอุปกรณ์ที่มาจากแหล่งผลิตเดียว บริษัทอาจเลือกที่จะอนุญาตให้ใช้สิทธิ
3. การหาประโยชน์ตลาดอื่น – หากสิ่งประดิษฐ์สามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอุตสาหกรรมหรือหลายสาขาวิทยาการ จะเป็นสิ่งที่ยากที่บริษัทจะผลิตหรือขายสินค้าในทุกตลาด การอนุญาตให้ใช้สิทธิอาจเป็นทางเลือกที่ดี
4. ก่อให้เกิดประโยชน์อื่น ๆ – การอนุญาตให้ใช้สิทธิสามารถก่อให้เกิดผลประโยชน์เพิ่มเติมท่ำคัญก่อผู้อนุญาตให้ใช้สิทธิ เช่น การเพิ่มความแพร่หลายของเครื่องหมายการค้าที่ผู้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิได้ช่วยทำการตลาด
5. ลดค่าใช้จ่ายทางกฎหมาย – การอนุญาตให้ใช้สิทธิอาจลดจำนวนผู้กระทำละเมิด เนื่องจากผู้ที่มีแนวโน้มจะกระทำละเมิดอาจตัดสินใจขออนุญาตใช้สิทธิ
6. ก่อให้เกิดรายได้ในตลาดต่างประเทศ – การอนุญาตให้ใช้สิทธิสามารถดำเนินการได้ในตลาดต่างประเทศที่ผู้อนุญาตให้ใช้สิทธิไม่มีความเชี่ยวชาญหรือคุ้นเคย
สิ่งที่ควรดำเนินการหลังจากตัดสินใจอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิ
เมื่อมีการอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิ มีประเด็นสำคัญที่ต้องตัดสินใจมีดังนี้
อะไรที่ควรจะอนุญาตให้ใช้สิทธิ – เมื่อได้เลือกผลิตภัณฑ์หรือเทคโนโลยีที่จะอนุญาตให้ใช้สิทธิ และการพิจารณาสายผลิตภัณฑ์และตลาดที่ผู้อนุญาตให้ใช้สิทธิดำเนินการอยู่นั้น โอกาสความเป็นไปได้ที่จะแข่งขันกับผู้รับอนุญาตใช้สิทธิและความสำคัญของเทคโนโลยีหรือผลิตภัณฑ์ต่อผุ้อนุยาตให้ใช้สิทธิในเชิงกลยุทธ์ในภาพรวมของบริษัท
ที่ปรึกษา – ที่ปรึกษาด้านกฎหมายเป็นสิ่งจำเป็นในการให้คำปรึกษาประเด็นทางด้านทรัพย์สินทางปัญญาและกฎระเบียบด้านธุรกิจ เช่น ภาษี และรูปแบบการดำเนินธุรกรรม เป็นต้น ที่ปรึกษาจะช่วยในการประเมินข้อดีและข้อเสียของทรัพย์สินทางปัญญาที่จะอนุญาตให้ใช้สิทธิและการจัดเตรียมและดำเนินการตามกลยุทธ์อนุญาตให้ใช้สิทธิ
กลยุทธการอนุญาตให้ใช้สิทธิ – เป้าหมายรวมของโครงการอนุญาตให้ใช้สิทธิจะต้องมีการพัฒนาขึ้นมา ตัวอย่างเช่น ผู้อนุญาตให้ใช้สิทธิควรพิจารณาว่าเป้าหมายในการอนุญาตให้ใช้สิทธิจะดำเนินการในระยะยาวหรือจะดำเนินการแบบระยะสั้น แล้วหันไปดำเนินการอย่างอื่น
การวิเคราะห์การตลาด – ต้องพิจารณาว่าในตลาดในที่ควรอนุญาตให้ใช้สิทธิและบริษัทใดที่ดำเนินการอยู่ในตลาด การวิเคราะห์และระบุเทคโนโลยีของคู่แข่งขัน รวมทั้งการประเมินขนาดของโอกาสของตลาด
การประเมินรายได้ที่คาดว่าจะได้รับข้อจำกัดของทรัพยากร - โดยการพิจารณาจากจุดแข็งของทรัพย์สินทางปัญญาและการวิเคราะห์การแข่งขัน ต้องพิจารณาขนาดของโอกาสในการทำตลาดและอัตราค่าตอบแทนการอนุญาตให้ใช้สิทธิที่เหมาะสม
ข้อจำกัดด้านทรัพยากร – ในการอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิ บางครั้งจำเป็นต้องมีพนักงานเพิ่มขึ้น ทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายดำเนินการ รวมทั้งรายได้ที่คาดหวังจะเหมาะสมกับค่าใช้จ่ายและความพยายามที่ดำเนินการ
การพิจารณาด้านการเงิน (Financial Consideration)
ค่าใช้จ่ายหลักในการอนุญาตให้ใช้สิทธิมีดังนี้
บุคลากร – รวมถึงการบริหาร การจัดการสัญญา ทรัพย์สินทางปัญญาและข้อมูลทางเทคนิคที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้สิทธิ นอกจากนี้อาจรวมถึงบุคลากรด้านการตลาด และวิศวกรเพื่อสนับสนุนการอนุญาตให้ใช้สิทธิ
ค่าติดต่อสื่อสารและเดินทาง – ค่าใช้จ่ายเหล่านี้อาจจะสูงหาไม่มีการควบคุมการใช้จ่ายให้ดี โดยค่าใช้จ่ายเหล่านี้รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการเจรจาต่อรอง การพบปะผู้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิ การให้บริการหลังการทำสัญญา
ค่าผู้เชี่ยวชาญ – ผู้เชี่ยวชาญรวมทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านกำหมาย ภาษีอากร และที่ปรึกษาที่ต้องใช้ในโครงการอนุญาตให้ใช้สิทธิ
การบังคับใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา
การได้มาซึ่งทรัพย์สินทางปัญญาและการบำรุงรักษาทรัพย์สินทางปัญยาจะไร้ประโยชน์ หากไม่สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาไม่สามารถบังคับใช้สิทธิได้ ระบบการบังคับใช้สิทธิที่มีประสิทธิภาพเป็นกลไกสำคัญของระบบทรัพย์สินทางปัญญาที่ดี
วัตถุประสงค์สำคัญของการได้รับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาคือให้บริษัทสามารถเก้บเกี่ยวผลประโยชน์จากสิ่งประดิษฐ์หรือผลงานสร้างสรรค์ที่มาจากทรัพย์สินทางปัญญาของตน ทรัพย์สินทางปัญญาสามารถนำไปสู่ผลประโยชน์เมื่อทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้มาสามารถบังคับใช้สิทธิได้ มิฉะนั้นแล้วผู้ละเมิดหรือผุ้ลอกเลียนแบบจะสามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งจะทำให้เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาขาดรายได้ที่ควรจะได้รับ การบังคับใช้ทรัพย์สินทางปัญญาจึงมีความสำคัญอย่างมากต่อบริษัท เพื่อ
• รักษาความสมบูรณ์ทางกฎหมายของทรัพย์สินทางปัญญากับหน่วยงานที่มีอำนาจของรัฐ
• ปกป้องการละเมิดในตลาดหรือในอนาคตเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหาย รวมทั้งการสูญเสียชื่อเสียง
• หาค่าชดเชยจากความเสียหายที่แท้จริง เช่น ขาดกำไร
แนวปฏิบัติที่ดีสำหรับการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ใหม่
• จัดทำนโยบายและโครงการเกี่ยวกับการรักษาข้อมูลไว้เป็นความลับเพื่อประกันว่าความคิดและนวัตกรรมจะได้รับการเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี
• ควรดำเนินการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา หากมีความเหมาะสม
• ไม่ตีพิมพ์ความคิดหรือการออกแบบใหม่ ๆ จนกระทั่งได้มีการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาตามกฎหมายแล้ว
• ประกันว่าพนักงานหรือลูกจ้างเข้าใจในภาระหน้าที่ในการเก็บรักษาความลับและผูกพันต่อบริษัทตามสัญญาห้ามเปิดเผยข้อมูลของบริษัทและสัญญาห้ามแข่งขันกับบริษัท
• ในช่วงต้นของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ควรจะทำให้มั่นใจว่าทรัพย์สินทางปัญญาได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย
• ประกันว่าการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง การพัฒนาความคิดใหม่หรือนวัตกรรมได้รับการดูแลหรือติดตาม และหากมีความจำเป็นควรได้รับความคุ้มครอง
• ก่อนที่จะใช้บริการที่ปรึกษาซึ่งเป็นบุคคลภายนอกต้องทำให้มั่นใจว่าสัญญาระหว่างกันกำหนดไว่ให้ชัดเจนว่าบริษัทเป็นเจ้าของความคิดนั้นและคู่สัญญามีหน้าที่เก้บรักษาเป็นความลับ
• การติดตามตรวจสอบสภาพแวดล้อมภายนอก รวมทั้งการติดตามตรวจสอบเอกสารสิทธิบัตรอื่น ๆ โดยการสืบค้นสิทธิบัตรหรือเครื่องหมายการค้า การตรวจสอบว่ามีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาหรือไม่ด้วย
• ทำการตรวจสอบและติดตามดูแลทรัพย์สินทางปัญญาอย่างสม่ำเสมอ
• ประกันว่าความกังวลต่าง ๆ ได้รับการเข้าใจและจัดเตรียมต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการขอรับความคุ้มครองและการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา
• จัดทำนโยบายหรือกลยุทธ์ทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ของบริษัทและนโยบายธุรกิจของบริษัท การจัดการทรัพย์สินทางปัญญาเป็นสิ่งสำคัญ โดยอาจจำเป็นต้องใช้บริการหรือคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ
• ระบุทรัพย์สินทางปัญญาไว้ในแผนธุรกิจสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ทั้งในบริษัทเดิมหรือบริษัทจัดตั้งใหม่
บริษัทหรือบุคคลสามารถหาประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาได้หลากหลายรูปแบบ เช่น
• การจัดตั้งบริษัทใหม่ (new venture) เพื่อพัฒนา ผลิต และขายผลิตภัณฑ์ ความเสี่ยงสำหรับทางเลือกจัดตั้งบริษัทใหม่นี้ค่อนข้างสูง เนื่องจากทั้งผลิตภัณฑ์และโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนต้องสร้างหรือพัฒนาขึ้นใหม่ จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนในระยะแรกค่อนข้างสูง ก่อนที่จะสามารถขายผลิตภัณฑ์หรือไม่มีรายได้
• การซื้อกิจการของบริษัทที่มีอยู่ (acquisition) พร้อมทรัพย์สินที่ต้องการ หรือการซื้อสายการผลิตจะมีความเสี่ยงน้อย เพราะการพัฒนาเทคโนโลยีค่อนข้างสมบูรณ์แล้ว โครงสร้างพื้นฐานของธุรกิจก็มีอยู่แล้ว ดังนั้น ระยะเวลาในการผลิตสินค้าสู่ตลาดก็อาจใช้ระยะเวลาไม่นานกว่าการจัดตั้งบริษัทใหม่ และขณะเดียวกันสามารถรักษาการควบคุมคุณภาพได้ อย่างไรก็ตามการลงทุนค่อนข้างจะสูง ฉะนั้น ผลตอบแทนจึงลดลง การคืนทุนจะยาวนานขึ้น ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นคือวัฒนธรรมขององค์กรหรือบริษัทที่ซื้อกิจการมาอาจมีความแตกต่าง จึงต้องทำความเข้าใจกับวัฒนาธรรมขององค์กรใหม่และอาจต้องหล่อหล่อมให้เข้ากัน ซึ่งจัดได้ว่าเป็นงานที่ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่บริษัทใหญ่ได้ซื้อกิจการบริษัทขนาดเล็ก การซื้อทั้งบริษัทอาจได้ทรัพย์สินที่ไม่ต้องการหรือความรับผิดชอบที่พึงปรารถนา
• การจัดตั้งบริษัทกิจการร่วมค้า (joint venture) เป็นการรวมกิจการของอย่างน้อยสองบริษัทเป็นหน่วยธุรกิจใหม่ขึ้นมา มีการแบ่งความเสี่ยง ผลกำไรปละการควบคุมบริหารจัดการ อย่างไรก็ตามถือได้ว่าความเสี่ยงยังคงสูงอยู่ ระดับของความเสี่ยงขึ้นอยู่กับสัดส่วนของลงทุนในบริษัทใหม่ องค์ประกอบสำคัญที่จะชี้วัดความสำเร็จคือองค์ประกอบในเรื่องการผสมผสานทักษะและความสามารถของทรัพยากรของผู้ร่วมกิจการ ปัญหาหลักของการควบรวมกิจการคือการยากที่จะบริหารจัดการ เนื่องจากบริษัทที่ร่วมกิจการอาจมีเป้าหมายหรือแนวทางการบริหารจัดการที่แตกต่างกัน
• การอนุญาตให้ใช้สิทธิ (licensing) การอนุญาตให้ใช้สิทธิเป็นการลดความเสี่ยงประการหนึ่ง โดยลดความเสี่ยงในการลงทุน การใช้ทรัพยากรของบริษัทก็น้อยลงเพราะใช้เฉพาะที่จำเป็นในการดำเนินการอนุญาตให้ใช้สิทธิเท่านั้น ไม่ต้องดำเนินการผลิตและจัดจำหน่ายด้วยตนเองทั้งหมด ความเสี่ยงเหล่านั้นจะโอนไปเป็นของผู้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิ ที่มีภาระหน้าที่รับผิดชอบในการพัฒนา ผลิต และทำการตลาดผลิตภัณฑ์นั้น อย่างไรก็ตามผู้อนุญาตให้ใช้สิทธิอาจได้รับผลตอบแทนที่จำกัดพาะค่าอนุญาตให้ใช้สิทธิเท่านั้นทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่ารูปแบบและกลยุทธของการอนุญาตให้ใช้สิทธิที่แตกต่างกันอาจกำหนดระดับของความเสี่ยงและรายได้ไม่เท่ากัน
• การหาพันธมิตรทางกลยุทธ์ (strategies alliance) ในบางครั้งบริษัทอาจหาพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อร่วมมือกันดำเนินการใช้ประโยชน์ในเทคโนโลยี โดยมีการแบ่งปันผลกำไร เนื่องจากขีดความสามารถที่จำกัดของบริษัทเองในการหาหรือใช้ประโยชน์ในทรัพยืสินทางปัญญานั้น พันธมิตรทางธุรกิจที่จะมาเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธนั้นอาจเป็นธุรกิจที่อยู่ในสายการผลิตหรือธุรกิจประเภทเดียวกันก็ได้ ทั้งนี้ ความเสี่ยงของแนวทางนี้คือการถูกจำกัดให้อยู่ในขอบเขตของความร่วมมือระหว่างกัน การขยายกิจการอาจติดขัดมีปัญหากับพันธมิตรได้ หากมีความคาบเกี่ยวกัน
• การขายสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาให้แก่บุคคลอื่น (sale) ในบางกรณีนั้นการขายเทคโนโลยีที่ไม่ต้องการอาจเป็นทางเลือกที่ดี เป็นแนวทางที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด เพราะความเสี่ยงจะตกไปอยู่กับผู้ซื้อ อย่างไรก็ตาม ข้อเสียคือผลตอบแทนอาจจะได้น้อยกว่า หากขายเทคโนโลยีนั้นต่ำกว่ามูลค่าหรือจากการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีนั้นเอง
ทั้งนี้ แต่ละแนวทางก็มีระดับของความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ไม่เหมือนกัน
การอนุญาตให้ใช้สิทธิ (Licensing out)
ก่อนที่จะตัดสินใจอนุญาตให้ใช้สิทธิประการแรกที่ควรจะดำเนินการคือการพิจารณาว่าการอนุญาตให้ใช้สิทธิเป็นวิธีการที่ดี ซึ่ง ขั้นตอนนี้ถือว่ามีความสำคัญมากขั้นตอนหนึ่งที่ไม่ควรจะละเลยและควรจะใช้ความละเอียดละออในการในการศึกษาและประเมินวิธีการใช้ประโยชน์อื่น ๆ ด้วย การศึกษาควรเริ่มด้วยข้อสันนิษฐานว่าวิธีการที่น่าจะเหมาะสมที่สุดคือการนำทรัพย์สินทางปัญญานั้นในการใช้ประโยชน์กับบริษัทโดยการใช้ในการผลิตหรือขายผลิตภัณฑ์ แต่หากการผลิตหรือขายผลิตภัณธ์ไม่สามารถดำเนินการได้ก็ควรจะศึกษาดูว่ามีทางเลือกอื่นที่เหมาะสมอีกหรือไม่
อย่างไรก็ตามก่อนที่จะดำเนินการอนุญาตให้ใช้สิทธิ จะต้องเข้าใจว่าการอนุญาตให้ใช้สิทธิมิใช่เรื่องง่ายและถูก แต่คนโดยทั่วไปเชื่อว่าเป็นรูปแบบธุรกิจที่ทำกำไรสูง ผู้อนุญาตให้ใช้สิทธิต้องจัดสรรทรัพยากร ทั้งด้านการเงินและบุคลากร เพื่อดำเนินการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งให้การสนับสนุนข้อมูล การให้ความช่วยเหลือผู้รับอนุญาตให้สิทธิ การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การเจรจาสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ และการจัดเตรียมค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นหลังจากการตกลงสัญญา ซึ่งอาจรวมทั้งกรณีมีการยกเลิกสัญญา
ผู้อนุญาตให้ใช้สิทธิต้องพิจารณาวงจรชีวิตการใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยี และต้องคำนึงถึงการพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาแข่งขันโดยคู่แข่งขันด้วย ตัวอย่างเช่น หากเทคโนโลยีที่จะอนุญาตให้ใช้สิทธิสามารถถูกทดแทนได้ง่ายเพราะวงจรชีวิตการใช้งานจะสั้น ดังนั้น ประการที่สำคัญในการอนุยาตให้ใช้สิทธิคือการผูกพันในระยะยาวซึ่งจะให้แหล่งรายได้ในระยะยาวด้วย การอนุญาตให้ใช้สิทธิเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง เหตุผลสำหรับการอนุญาตให้ใช้สิทธิ รวมถึงกรณีดังต่อไปนี้
1. ก่อให้เกิดรายได้จากทรัพย์สินทางปัญญา – หากบริษัทไม่ได้ผลิตหรือขายผลิตภัณฑ์ที่มีทรัพย์สินทางปัญญาไม่ว่าด้วยเหตุผลใด เช่น การขาดทรัพยากรที่จะใช้ในการผลิต รายได้จะไม่มีหากไม่ได้อนุญาตให้ใช้สิทธิ
2. การให้แหล่งสนับสนุนสำรอง – หากความสามารถในการผลิตมีจำกัด การผลิตสินค้าจะไม่ผลคุ้มค่าในทางเศรษฐกิจและในทางปฏิบัติในการผลิตสินค้าเพียงรายเดียว หรือกรณีที่ตลาดลังเลที่จะยอมรับอุปกรณ์ที่มาจากแหล่งผลิตเดียว บริษัทอาจเลือกที่จะอนุญาตให้ใช้สิทธิ
3. การหาประโยชน์ตลาดอื่น – หากสิ่งประดิษฐ์สามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอุตสาหกรรมหรือหลายสาขาวิทยาการ จะเป็นสิ่งที่ยากที่บริษัทจะผลิตหรือขายสินค้าในทุกตลาด การอนุญาตให้ใช้สิทธิอาจเป็นทางเลือกที่ดี
4. ก่อให้เกิดประโยชน์อื่น ๆ – การอนุญาตให้ใช้สิทธิสามารถก่อให้เกิดผลประโยชน์เพิ่มเติมท่ำคัญก่อผู้อนุญาตให้ใช้สิทธิ เช่น การเพิ่มความแพร่หลายของเครื่องหมายการค้าที่ผู้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิได้ช่วยทำการตลาด
5. ลดค่าใช้จ่ายทางกฎหมาย – การอนุญาตให้ใช้สิทธิอาจลดจำนวนผู้กระทำละเมิด เนื่องจากผู้ที่มีแนวโน้มจะกระทำละเมิดอาจตัดสินใจขออนุญาตใช้สิทธิ
6. ก่อให้เกิดรายได้ในตลาดต่างประเทศ – การอนุญาตให้ใช้สิทธิสามารถดำเนินการได้ในตลาดต่างประเทศที่ผู้อนุญาตให้ใช้สิทธิไม่มีความเชี่ยวชาญหรือคุ้นเคย
สิ่งที่ควรดำเนินการหลังจากตัดสินใจอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิ
เมื่อมีการอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิ มีประเด็นสำคัญที่ต้องตัดสินใจมีดังนี้
อะไรที่ควรจะอนุญาตให้ใช้สิทธิ – เมื่อได้เลือกผลิตภัณฑ์หรือเทคโนโลยีที่จะอนุญาตให้ใช้สิทธิ และการพิจารณาสายผลิตภัณฑ์และตลาดที่ผู้อนุญาตให้ใช้สิทธิดำเนินการอยู่นั้น โอกาสความเป็นไปได้ที่จะแข่งขันกับผู้รับอนุญาตใช้สิทธิและความสำคัญของเทคโนโลยีหรือผลิตภัณฑ์ต่อผุ้อนุยาตให้ใช้สิทธิในเชิงกลยุทธ์ในภาพรวมของบริษัท
ที่ปรึกษา – ที่ปรึกษาด้านกฎหมายเป็นสิ่งจำเป็นในการให้คำปรึกษาประเด็นทางด้านทรัพย์สินทางปัญญาและกฎระเบียบด้านธุรกิจ เช่น ภาษี และรูปแบบการดำเนินธุรกรรม เป็นต้น ที่ปรึกษาจะช่วยในการประเมินข้อดีและข้อเสียของทรัพย์สินทางปัญญาที่จะอนุญาตให้ใช้สิทธิและการจัดเตรียมและดำเนินการตามกลยุทธ์อนุญาตให้ใช้สิทธิ
กลยุทธการอนุญาตให้ใช้สิทธิ – เป้าหมายรวมของโครงการอนุญาตให้ใช้สิทธิจะต้องมีการพัฒนาขึ้นมา ตัวอย่างเช่น ผู้อนุญาตให้ใช้สิทธิควรพิจารณาว่าเป้าหมายในการอนุญาตให้ใช้สิทธิจะดำเนินการในระยะยาวหรือจะดำเนินการแบบระยะสั้น แล้วหันไปดำเนินการอย่างอื่น
การวิเคราะห์การตลาด – ต้องพิจารณาว่าในตลาดในที่ควรอนุญาตให้ใช้สิทธิและบริษัทใดที่ดำเนินการอยู่ในตลาด การวิเคราะห์และระบุเทคโนโลยีของคู่แข่งขัน รวมทั้งการประเมินขนาดของโอกาสของตลาด
การประเมินรายได้ที่คาดว่าจะได้รับข้อจำกัดของทรัพยากร - โดยการพิจารณาจากจุดแข็งของทรัพย์สินทางปัญญาและการวิเคราะห์การแข่งขัน ต้องพิจารณาขนาดของโอกาสในการทำตลาดและอัตราค่าตอบแทนการอนุญาตให้ใช้สิทธิที่เหมาะสม
ข้อจำกัดด้านทรัพยากร – ในการอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิ บางครั้งจำเป็นต้องมีพนักงานเพิ่มขึ้น ทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายดำเนินการ รวมทั้งรายได้ที่คาดหวังจะเหมาะสมกับค่าใช้จ่ายและความพยายามที่ดำเนินการ
การพิจารณาด้านการเงิน (Financial Consideration)
ค่าใช้จ่ายหลักในการอนุญาตให้ใช้สิทธิมีดังนี้
บุคลากร – รวมถึงการบริหาร การจัดการสัญญา ทรัพย์สินทางปัญญาและข้อมูลทางเทคนิคที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้สิทธิ นอกจากนี้อาจรวมถึงบุคลากรด้านการตลาด และวิศวกรเพื่อสนับสนุนการอนุญาตให้ใช้สิทธิ
ค่าติดต่อสื่อสารและเดินทาง – ค่าใช้จ่ายเหล่านี้อาจจะสูงหาไม่มีการควบคุมการใช้จ่ายให้ดี โดยค่าใช้จ่ายเหล่านี้รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการเจรจาต่อรอง การพบปะผู้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิ การให้บริการหลังการทำสัญญา
ค่าผู้เชี่ยวชาญ – ผู้เชี่ยวชาญรวมทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านกำหมาย ภาษีอากร และที่ปรึกษาที่ต้องใช้ในโครงการอนุญาตให้ใช้สิทธิ
การบังคับใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา
การได้มาซึ่งทรัพย์สินทางปัญญาและการบำรุงรักษาทรัพย์สินทางปัญยาจะไร้ประโยชน์ หากไม่สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาไม่สามารถบังคับใช้สิทธิได้ ระบบการบังคับใช้สิทธิที่มีประสิทธิภาพเป็นกลไกสำคัญของระบบทรัพย์สินทางปัญญาที่ดี
วัตถุประสงค์สำคัญของการได้รับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาคือให้บริษัทสามารถเก้บเกี่ยวผลประโยชน์จากสิ่งประดิษฐ์หรือผลงานสร้างสรรค์ที่มาจากทรัพย์สินทางปัญญาของตน ทรัพย์สินทางปัญญาสามารถนำไปสู่ผลประโยชน์เมื่อทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้มาสามารถบังคับใช้สิทธิได้ มิฉะนั้นแล้วผู้ละเมิดหรือผุ้ลอกเลียนแบบจะสามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งจะทำให้เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาขาดรายได้ที่ควรจะได้รับ การบังคับใช้ทรัพย์สินทางปัญญาจึงมีความสำคัญอย่างมากต่อบริษัท เพื่อ
• รักษาความสมบูรณ์ทางกฎหมายของทรัพย์สินทางปัญญากับหน่วยงานที่มีอำนาจของรัฐ
• ปกป้องการละเมิดในตลาดหรือในอนาคตเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหาย รวมทั้งการสูญเสียชื่อเสียง
• หาค่าชดเชยจากความเสียหายที่แท้จริง เช่น ขาดกำไร
แนวปฏิบัติที่ดีสำหรับการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ใหม่
• จัดทำนโยบายและโครงการเกี่ยวกับการรักษาข้อมูลไว้เป็นความลับเพื่อประกันว่าความคิดและนวัตกรรมจะได้รับการเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี
• ควรดำเนินการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา หากมีความเหมาะสม
• ไม่ตีพิมพ์ความคิดหรือการออกแบบใหม่ ๆ จนกระทั่งได้มีการขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาตามกฎหมายแล้ว
• ประกันว่าพนักงานหรือลูกจ้างเข้าใจในภาระหน้าที่ในการเก็บรักษาความลับและผูกพันต่อบริษัทตามสัญญาห้ามเปิดเผยข้อมูลของบริษัทและสัญญาห้ามแข่งขันกับบริษัท
• ในช่วงต้นของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ควรจะทำให้มั่นใจว่าทรัพย์สินทางปัญญาได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย
• ประกันว่าการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง การพัฒนาความคิดใหม่หรือนวัตกรรมได้รับการดูแลหรือติดตาม และหากมีความจำเป็นควรได้รับความคุ้มครอง
• ก่อนที่จะใช้บริการที่ปรึกษาซึ่งเป็นบุคคลภายนอกต้องทำให้มั่นใจว่าสัญญาระหว่างกันกำหนดไว่ให้ชัดเจนว่าบริษัทเป็นเจ้าของความคิดนั้นและคู่สัญญามีหน้าที่เก้บรักษาเป็นความลับ
• การติดตามตรวจสอบสภาพแวดล้อมภายนอก รวมทั้งการติดตามตรวจสอบเอกสารสิทธิบัตรอื่น ๆ โดยการสืบค้นสิทธิบัตรหรือเครื่องหมายการค้า การตรวจสอบว่ามีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาหรือไม่ด้วย
• ทำการตรวจสอบและติดตามดูแลทรัพย์สินทางปัญญาอย่างสม่ำเสมอ
• ประกันว่าความกังวลต่าง ๆ ได้รับการเข้าใจและจัดเตรียมต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการขอรับความคุ้มครองและการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา
• จัดทำนโยบายหรือกลยุทธ์ทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ของบริษัทและนโยบายธุรกิจของบริษัท การจัดการทรัพย์สินทางปัญญาเป็นสิ่งสำคัญ โดยอาจจำเป็นต้องใช้บริการหรือคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ
• ระบุทรัพย์สินทางปัญญาไว้ในแผนธุรกิจสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ทั้งในบริษัทเดิมหรือบริษัทจัดตั้งใหม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น