วิธีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา
คุณค่าของทรัพย์สินทางปัญญา
เมื่อมีการพูดถึงประเมินราคาทรัพย์สินทางปัญญา คนส่วนใหญ่จะนึกถึงการตีราคาอสังหาริมทรัพย์ อาทิ ที่ดินหรือเครื่องจักร เป็นต้น แต่การประเมินราคาทรัพย์สินทางปัญญาเป็นการวัดคุณค่าที่ผู้บริโภคเป็นคนกำหนดและสถาบันการเงินต่างๆ จะประเมินจากศักยภาพในการสร้างรายได้ของทรัพย์สินทางปัญญานั้นๆ
สินค้าบางประเภทมีปริมาตรมากใช้เวลาในการทำนานและต้นทุนการผลิตด้านวัสดุสูง แต่ไม่สามารถขายได้ในราคาสูงเท่ากับสินค้าอีกประเภทหนึ่ง อาทิ เมื่อเทียบระหว่างวัสดุสิ่งก่อสร้างซึ่งมีต้นทุนด้านวัสดุสูงแต่สามารถขายได้ในราคาไม่สูงนัก กับเทปเพลงหรือซีดีเพลงซึ่งต้นทุนด้านวัสดุต่ำมากสามารถขายได้ในราคาที่สูงกว่ามาก และยังมีความต้องการจากผู้บริโภคมากกว่าอีกด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากสิ่งที่ขายนั้นเป็นเนื้อเพลง ทำนอง เสียงร้องที่บรรจุในแผ่นซีดี ซึ่งที่จริงแล้วไม่สามารถจับต้องได้ หรือในสินค้าประเภทเดียวกันแต่มีการออกแบบแตกต่างกันออกไป สินค้าที่มีการออกแบบดีกว่า ทันสมัยกว่า ใช้ได้สะดวกกว่า หรือมีการทำการตลาดที่ดีกว่า ก็จะสามารถขายได้ในราคาที่ดีกว่า ส่วนต่างทางราคาของสินค้านั้นก็อาจเทียบได้ว่าเป็นคุณค่าของทรัพย์สินอันเกิดจากปัญญานั้นเอง
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า คุณค่าของทรัพย์สินทางปัญญามาในหลายรูปแบบมาก ยากที่จะวางกฎเกณฑ์ที่แน่ชัดได้ การประเมินคุณค่าและราคาของทรัพย์สินทางปัญญาจึงสามารถทำได้เป็นรายกรณีไป และจะขึ้นอยู่กับความสามารถของเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญานั้นๆ ที่จะสร้างคุณค่าขึ้นมาให้เป็นที่ประจักษ์และสร้างความเชื่อมั่นให้กับสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องได้
หลักการประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาโดยสังเขป
การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาถือเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการดำเนินนโยบายแปลงทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็นทุนเท่านั้น เนื่องจากในทางปฏิบัติทรัพย์สินทางปัญญาเป็นส่วนหนึ่งสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน (Intangible Asset) จึงทำให้การประเมินมูลค่ามีความละเอียดอ่อนมากและมีความแน่นอนน้อยกว่า อย่างไรก็ตาม การให้กู้ยืมเงินหากไม่ใช่เป็นธนบัตรรัฐบาลก็จะมีความเสี่ยงเป็นส่วนประกอบทั้งสิ้น จะมากหรือน้อยเท่านั้นเอง
การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาจึงเป็นการประเมินศักยภาพของการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องในการผลิตสินค้าและบริการเพื่อจำหน่าย โดยมีสิทธิพิเศษทางการตลาดตามระยะเวลาที่ระบบทรัพย์สินทางปัญญาให้ความคุ้มครอง หรือให้อำนาจผู้ถือสิทธิ์เหนืออำนาจของตลาดปกติ ทำให้ผู้ถือสิทธิ์สามารถกำหนดราคาสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งควบคุมวิวัฒนาการของตลาดสำหรับสินค้าหรือบริการดังกล่าว
ดังนั้น หลักการสำคัญในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาคือการใช้การคำนวณมูลค่าปัจจุบันของกผลประโยชน์หรือรายได้ (Present Value) ที่เกิดจากการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาในการผลิตสินค้าหรือบริการตลอดระยะเวลาที่ทรัพย์สินทางปัญญาดังกล่าวได้รับการคุ้มครองหรือสามารถสร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจนั้นๆ ได้ (Future Value of Cash Flow) ซึ่งจะถูกทดทอนโดยอัตราการทดทอน (Discount Rate, r) เนื่องจากผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นในอนาคตมีองค์ประกอบของการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าของเงิน อาทิ ความเสี่ยงของการลงทุน (risk factor) และอัตราดอกเบี้ยธนบัตรรัฐบาลซึ่งถือว่าเป็น “ค่าเสียโอกาส” ของก้อนเงินดังกล่าว
เมื่อสามารถประเมินผลตอบแทนของการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาในการผลิตสินค้าหรือบริการแล้ว ผู้ประเมินยังต้องประเมินสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งรวมถึงแผนธุรกิจ (Business Plan) ของผู้ขอกู้อีกด้วย ทั้งนี้ ผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาจะต้องมีความเข้าใจถึงสภาวะสิ่งแวดล้อมของธุรกรรมดังกล่าว
การประเมินมูลค่าของทรัพย์สินเป็นประเด็นหนึ่งที่ยากสำหรับการเจรจาอนุญาตให้ใช้สิทธิเพราะต้องนำมาคิดคำนวณอัตราค่าอนุญาตให้ใช้สิทธิ (Royalty) โดยทั่วไปการพัฒนาอัตราค่าอนุญาตให้ใช้สิทธิจะอิงกับสามแหล่วหลักคือ (1) ลูกค้า (2) จากแนวปฏิบัติทั่วไปในทางการค้า และ (3) คำวินิจฉัยของศาล
มูลค่าเป็นตัวชี้วัดหรือตัวแสดงผลประโยชน์ในอนาคตของเจ้าของ ดังนั้น มูลค่ามีการเปลี่ยนแปลงสม่ำเสมอ เพราะผลประโยชน์อนาคตเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากระยะเวลาหรือสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากมูลค่าไม่ปรากฏในรูปนามธรรม และต้องมีระยะเวลา สถานที่ เจ้าของและผู้ใช้ในอนาคต
1.1 ลักษณะการใช้สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา
ก). การผลิตและจำหน่ายด้วยตนเอง เจ้าของสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาจะต้องเป็นผู้ลงทุนในการผลิต การตลาดและการกระจายสินค้าเอง ผลประโยชน์ที่จะได้รับจะอยู่ในรูปของผลประกอบการโดยรวม
ในกรณีนี้ หากเจ้าของสิทธิ์เป็นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องอยู่แล้วก็จะสามารถผลิตและกระจายสินค้าดังกล่าวได้ดีกว่าเจ้าของสิทธิ์ที่ไม่ได้เป็นผู้ประกอบการ ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะมีความแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับความสามารถของเจ้าของสิทธิ์แต่ละราย
ข). การขายสิทธิ์ให้กับผู้ประกอบการ เจ้าของสิทธิ์สามารถขายสิทธิ์หรือมอบสิทธิ์ให้ผู้ประกอบการดำเนินการผลิตและกระจายสินค้า โดยเจ้าของสิทธิ์มักจะต้องเป็นผู้พัฒนาทรัพย์สินทางปัญญาให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถนำไปใช้ได้ในอุตสาหกรรมโดยตรง ในกรณีนี้ การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาอาจเกิดขึ้นในการขอกู้เงินเพื่อใช้ในการพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญานั้นๆ โดยเจ้าของสิทธิ์เป็นผู้ต้องการประเมิน เจ้าของสิทธิ์สามารถได้รับค่าตอบแทนทั้งในรูปแบบของเงินก้อนชำระครั้งเดียวและ/หรือชำระเป็นส่วนแบ่งของผลประกอบการที่เกี่ยวข้อง การประเมินผลตอบแทนจะต้องเป็นการคาดการณ์ผลประกอบการของผู้ที่รับช่วงในทรัพย์สินทางปัญญาดังกล่าว
ในทรัพย์สินทางปัญญาบางประเภท การพัฒนารูปแบบอาจไม่จำเป็นต้องแล้วเสร็จก่อนที่จะสามารถมีการถ่ายโอนได้ ดังนั้น อาจไม่มีการกู้ยืมเงินเกิดขึ้น
ดังนั้น หากผู้รับมอบสิทธิ์เป็นผู้กู้ยืมเงินเพื่อลงทุนในการผลิตและกระจายสินค้าและจะเป็นผู้ขอให้มีการประเมินมูลค่า อาจพิจารณาจากราคาที่มีการขายโอนสิทธิ์ได้ ในกรณีนี้ ผลตอบแทนต่อทรัพย์สินทางปัญญาจะเป็นผลประกอบการของธุรกิจดังกล่าว (ปรับลดเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญานั้นๆ)
ค). การร่วมทุน เจ้าของสิทธิ์อาจจัดหาผู้ร่วมทุนในระยะต่างๆ ของการพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญา ดังนี้
ระยะพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญา การประเมินทรัพย์สินทางปัญญาอาจใช้เป็นตัววัดสัดส่วนของการร่วมทุน และอาจใช้เป็นทรัพย์สินเพื่อใช้ในการกู้เงินเพื่อเป็นการลงทุน ในกรณีนี้ ผลตอบแทนจะขึ้นอยู่กับความสำเร็จของการพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญา การกู้ยืมเงินอาจเป็นการรับผิดชอบร่วมระหว่างเจ้าของสิทธิ์และผู้ประกอบการ ผลลัพธ์ที่จะได้รับจะมาจากผลการประกอบการ และความสำเร็จของการพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญาหากประสบความสำเร็จในการพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญาดังกล่าว
หลังจากพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว การประเมินทรัพย์สินทางปัญญาจะมีความชัดเจนมากกว่า เนื่องจากสามารถประเมินได้ว่า ทรัพย์สินทางปัญญาดังกล่าวจะสามารถสร้างมูลค่าทางอุตสาหกรรมหรือการค้าได้เพียงใด โดยอาจดูจากผลประกอบการของธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
1.2 ตัวแปรที่มีผลกับมูลค่าของทรัพย์สินทางปัญญา
ทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละประเภทมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป แต่ปัจจัยหลักที่มีส่วนทำให้ทรัพย์สินทางปัญญามีคุณค่าหรือมีความผันแปรในมูลค่าสามารถแยกหลักๆ (ทั้งนี้ อาจมีมากกว่าที่ได้ระบุในเอกสารนี้ได้) ได้แก่
ก). ค่าตอบแทนรวม (Royalty) คือค่าตอบแทนในการใช้สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งสามารถชำระได้เป็นงวดๆ หรือเป็นจำนวนเต็ม ขึ้นอยู่กับการเจรจาระหว่างเจ้าของสิทธิ์และผู้ที่ต้องการใช้ทรัพย์สินทางปัญญานั้นๆ และในกรณีที่เจ้าของสิทธิ์เป็นผู้ลงทุนเองอาจพิจารณาได้จากผลประกอบการของธุรกิจนั้นๆ
ปริมาณของค่าภาคหลวงขึ้นอยู่กับความสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญาในการประกอบธุรกิจ หรือสัดส่วนความสำคัญในการผลิตสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ อาจรวมถึงความสามารถในการประกอบกิจการนั้นๆ ด้วย
ข). ระยะเวลาคุ้มครอง (Protection Period) คือระยะเวลาที่เจ้าของสิทธิ์ได้รับความคุ้มครองในทรัพย์สินทางปัญญาตามกฎหมาย หรือระยะเวลาที่เจ้าของสิทธิ์มีอำนาจเหนือตลาดโดยการมีสิทธิ์เฉพาะ (Exclusivity) ระยะเวลาคุ้มครองยิ่งนานก็จะทำให้เจ้าของสิทธิ์สามารถเก็บเกี่ยวผลตอบแทนได้มากยิ่งขึ้น แต่เจ้าของสิทธิ์จะต้องมีการปกป้องสิทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้สามารถเก็บเกี่ยวผลตอบแทนได้อย่างเต็มที่
ค). ความแปลกใหม่ (Novelty) คือความสามารถของผลิตภัณฑ์อันเป็นผลของการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาที่จะนำตลาดและปกป้องสัดส่วนของตลาดไว้ได้ในระยะเวลาที่ได้รับการคุ้มครอง เนื่องจากอำนาจเหนือตลาดจะยั่งยืนได้ต้องไม่มีการแข่งขันอันจะเกิดจากผลิตภัณฑ์ที่ใหม่หรือแปลกกว่า หรือไม่มีผู้ประกอบการอื่นสามารถสร้างสรรสินค้าหรือบริการที่ทัดเทียมได้
ง). ความยืดหยุ่นในการใช้งาน (Flexibility) คือความสามารถของทรัพย์สินทางปัญญาในการปรับเปลี่ยนการใช้งานได้อย่างหลากหลาย เนื่องจากทรัพย์สินทางปัญญาบางประเภทสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายวิธีและอาจได้รับผลตอบแทนจากหลายแหล่งในเวลาเดียวกัน และในบางกรณี การใช้ทรัพย์สินทางปัญญาให้ถูกทางก็สามารถสร้างคุณค่าให้กับทรัพย์สินทางปัญญานั้นๆ มากกว่าการใช้งานตามเจตนารมณ์เดิมได้
จ). ความยืดหยุ่นในการถ่ายโอน (Transferability) คือความสามารถของทรัพย์สินทางปัญญาในการถ่ายโอนสิทธิ์ความเป็นเจ้าของซึ่งจะสามารถเพิ่มมูลค่า
ฉ). แผนดำเนินการของธุรกิจ (Business Plan) คือแผนการสร้างคุณค่าให้กับทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ แผนการตลาด (Marketing Plan) เพื่อเพิ่มความคุ้นเคยและความนิยมของตลาดต่อสินค้าหรือบริการ แผนการผลิต (Production Plan)
1.3 ปัจจัยชี้วัดคุณค่าของทรัพย์สินทางปัญญา
ก). กระแสรายได้ (Cash Flow) กระแสรายได้ทั้งหมดต่อช่วงเวลาในอนาคตที่จะเกิดจากกิจกรรมที่ใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นส่วนหนึ่งของสินค้าและหรือบริการ ทั้งนี้ หากเป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าและหรือบริการที่เกิดจากทรัพย์สินทางปัญญามากกว่า 1 อย่างต้องมีการระบุชัดเจนว่า รายได้ดังกล่าวเกิดจากทรัพย์สินทางปัญญาใด
ข). ช่วงเวลาของกระแสรายได้ (Period, t) คือช่วงเวลาในการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็นประโยชน์ ซึ่งอาจรวมถึงช่วงเวลาที่ใช้ในการพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องให้สามารถใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ โดยในระยะแรกของการลงทุนอาจยังไม่มีรายได้จากทรัพย์สินทางปัญญาแต่จะมีเพียงการลงทุนเพื่อพัฒนาซึ่งเปรียบเสมือนรายได้ที่เป็นลบเท่านั้น และการสร้างรายได้ (กระแสรายได้ที่มีค่าเป็นบวก) ของทรัพย์สินทางปัญญามักจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาและไม่มีการแข่งขันจากผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการอื่น
ค). อัตราการลดค่ารายได้ (Discount Factor, r) ได้แก่การทดทอนกระแสรายได้ให้สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินที่มีค่าลดน้อยลงหากรายได้นั้นเป็นการคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต (ในจำนวนเงินที่เท่ากัน เงินดังกล่าวในอนาคตจะมีค่าน้อยกว่าเงินจำนวนเดียวกันในปัจจุบัน) ซึ่งจะประกอบด้วยปัจจัยต่างๆ คือ ความเสี่ยง (Risk) อัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาล (interest on Thailand’s treasury bill)
ง). แผนธุรกิจ (Business Plan) หมายความถึงเอกสารแสดงโครงการและแผนการดำเนินธุรกิจที่จะใช้ทรัพย์สินทางปัญญาในการผลิตสินค้าหรือบริการ ต้องครอบคลุมระยะเวลาดำเนินการตลอดอายุโครงการที่ต้องการกู้ยืมเงิน
เอกสารโครงการนี้ควรต้องสามารถแสดงรายละเอียดของกิจกรรมที่ใช้ทรัพย์สินทางปัญญา ดังนี้
• กิจกรรมต่างๆ ที่จะดำเนินการเพื่อผลิตสินค้าและบริการโดยใช้ทรัพย์สินทางปัญญา
• ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากกิจกรรมที่ใช้ทรัพย์สินทางปัญญาต่อช่วงตลอดโครงการ
• โครงสร้างขององค์ประกอบด้านบุคลากรของธุรกิจที่ใช้ทรัพย์สินทางปัญญา
• นโยบายการตลาดประกอบด้วย กลุ่มผู้บริโภคที่คาดว่าจะเป็นผู้ใช้บริการหรือซื้อสินค้า
2. ระบบการคำนวณมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา
2.1 การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการแปลงสินทรัพย์ด้านทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็นทุนเท่านั้น เพราะที่แท้จริงแล้ว การแปลงทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็นทุนจะต้องศึกษาและประเมินศักยภาพของกิจกรรมที่จะใช้ทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็นประโยชน์ทางการค้า เพื่อให้เกิดผลตอบแทนเพียงพอที่จะให้ความมั่นใจกับผู้ลงทุน แม้ว่าสำหรับทรัพย์สินทางปัญญาบางประเภท ผู้ประเมินอาจสามารถคำนวณได้จากต้นทุนการผลิตของทรัพย์สินทางปัญญานั้น
2.2 มูลค่าของทรัพย์สินทางปัญญาจึงไม่ใช่การประเมิน ”ราคาตลาด” (Market Price) หรือ “ต้นทุนการผลิต” (Cost of Production) ของทรัพย์สินทางปัญญานั้นๆ แต่เป็นการกำหนดมูลค่าของศักยภาพของการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาดังกล่าวให้เป็นประโยชน์ตามระยะเวลาที่กำหนด (Fair Market Value)
ดังนั้น จึงสามารถสรุปคำนิยามของมูลค่าของทรัพย์สินทางปัญญาได้ว่า “เป็นก้อนเงินจำนวนหนึ่งที่ใช้ในการชำระหรือใช้จ่ายเพื่อให้ได้มา ณ จุดเวลาหนึ่ง ซึ่งสิทธิ์ในการรับผลตอบแทนจากการเป็นเจ้าของกิจการหนึ่งกิจการใด โดยรวมมาเป็นจำนวนเงินมูลค่าปัจจุบัน”
3. ระบบรายได้ (Present Value of Future Expected Cash Flow)
3.1 การคำนวณมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาวิธีหนึ่งได้แก่ การประเมินผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับภายใต้การใช้ทรัพย์สินทางปัญญาในการผลิตสินค้าและบริการตลอดอายุของทรัพย์สินทางปัญญาดังกล่าว ดังนั้น จึงเป็นการใช้หลักของ “มูลค่าปัจจุบัน” (Present Value: PV) มาใช้เป็นฐานในการประเมินศักยภาพของการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็นประโยชน์ เมื่อ
Present Value = Future Value / (1 + rt)
Future Value (FV) = ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตจากการใช้ทรัพย์สินทางปัญญา
T = ช่วงเวลาที่เกิดผลประโยชน์ซึ่งนับจากปัจจุบันจะนับเป็น ปี เดือน หรือสัปดาห์ก็ได้
r = Discount Rate หรือ อัตราการลดทอนผลประโยชน์อันเกิดจากความไม่แน่นอนของมูลค่าที่ประมาณได้ในอนาคตซึ่งจะมีอัตราต่อช่วงเวลาสอดคล้องกับช่วงเวลา t
3.2 เมื่อมีการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละประเภทมากกว่า 1 ช่วงเวลา คือ ช่วงเวลา (t = 1,…,T) การคำนวณผลตอบแทนจะขยายเป็น “ผลตอบแทนเทียบเท่าปัจจุบัน” (Present Value) คือ
PV = Sum {FCF (t) / (1+ r)t }, t = 1,…, T
เมื่อ
FCF (t) = Future Expected Cash Flow หรือผลประโยชน์ที่คาดจะได้รับจากการใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญาในอนาคต ณ ช่วงเวลา t เมื่อ t = 1, 2, 3, 4,…, T
T = ช่วงเวลาที่การใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญาสิ้นสุดลง
3.3 การใช้หลักการ Present Value ของ Cash Flow สามารถแสดงถึงการหาประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาที่มีการปรับเปลี่ยนการดำเนินการได้โดยการแยกระยะเวลา และปรับเปลี่ยนอัตราการทดทอนมูลค่า ( r ) ได้ด้วย อาทิ การแบ่งระยะเวลาในการหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาเป็น 2 ช่วงได้แก่ t1 = 1, …, T1 และ t2 = 1,…, T2 ซึ่งจะทำให้การประเมินศักยภาพของทรัพย์สินทางปัญญานี้สามารถแสดงให้เห็นว่า ลักษณะการใช้ประโยชน์สามารถแยกเป็น 2 ประเภท เป็นต้น
4. การพิจารณาอัตราทดทอน ( r ) (อัตราด้อยค่าของทรัพย์สิน)
4.1 ทรัพย์สินทางปัญญามีความหลากหลายมาก และมีความหยืดหยุ่นในการใช้งานมาก ทำให้อัตราความเสี่ยงในบางกรณีค่อนข้างสูงกว่าการคำนวณมูลค่าของทรัพย์สินประเภทอื่นๆ ดังที่ได้กล่าวถึงข้างต้นแล้ว ดังนั้น การบัญญัติค่าของ “อัตราทดทอน” (Discount Rate) จึงมีความสำคัญต่อการประเมินศักยภาพของทรัพย์สินทางปัญญาเป็นอย่างมาก
4.2 อัตราทดทอนมักจะมีองค์ประกอบของปัจจัยต่างๆ ดังนี้
ก). อัตราค่าเสื่อมของเงินตามระยะเวลา ซึ่งมักจะวัดได้จากอัตราเงินเฟ้อ (inflation, ) ของประเทศนั้นๆ ซึ่งจะแสดงถึงเงิน 1 บาทที่ได้รับในอนาคตอาจมีค่าน้อยกว่าเงิน 1 บาทในปัจจุบันและอัตราเงินเฟ้อนี้เองจะเป็นตัวแปรที่ทดทอนค่าของผลประโยชน์ที่จะได้รับในอนาคตเป็นปัจจุบัน
ข). อัตราค่าเสี่ยงของการลงทุน (risk factor, ) ซึ่งสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุดหรือตามหลักทฤษฎีถือว่าเป็น “ศูนย์” ได้แก่ ธนบัตรรัฐบาล(Government Bond) กล่าวคือ ไม่ว่าจะเป็นอย่างไรก็ตาม เมื่อถึงกำหนดเวลา รัฐบาลมีหน้าที่ที่จะชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยให้กับผู้ถือพันธบัตรดังกล่าว และโอกาสที่รัฐบาลจะสูญหายนั้นก็ไม่มีแน่ ดังนั้น ในกรณีนี้ = 0 โดยปกติแล้ว การลงทุนในสินทรัพย์ทุกประเภทมีความเสี่ยง เพียงแต่จะมีมากหรือน้อยต่างกันเท่านั้นเอง
อัตราความเสี่ยงสามารถวัดได้จาก “ความเป็นไปได้” (Probability) ที่สิ่งหนึ่งสิ่งใดจะเกิดขึ้นและอาจเป็นความรู้สึกของผู้ให้กู้ค่อนข้างมาก (Subjective) ดังนั้น ผู้ให้กู้อาจต้องตั้งคำถามต่างๆ และประเมิน “ความเป็นไปได้” ตามลำดับ อาทิ
• โอกาสที่อัตราการขยายตัวของรายได้ที่จะเกิดจากการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาจะเป็นไปตามที่เจ้าของโครงการเสนอคิดเป็นร้อยละเท่าไร
• โอกาสที่ผลประโยชน์อันเกิดจากทรัพย์สินทางปัญญาจะมีระยะเวลาเท่ากับที่เจ้าของโครงการเสนอคิดเป็นร้อยละเท่าไร
• โอกาสที่สภาวะตลาดสำหรับสินค้าหรือบริการอันเกิดจากการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาจะมีการเปลี่ยนแปลงทำให้ผลประโยชน์ที่คาดการณ์ไว้เปลี่ยนแปลงไปคิดเป็นร้อยละเท่าไร, ฯลฯ
• โอกาสที่จะมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเจ้าของโครงการ ซึ่งรวมถึงองค์ประกอบของการบริหารโครงการคิดเป็นร้อยละเท่าไร
เมื่อสามารถบัญญัติค่าของ “ความเป็นไปได้” ต่างๆ แล้ว จึงนำตัวเลขเหล่านี้มารวมกันเพื่อคำนวณอัตราความเสี่ยงรวมของผู้ให้กู้ และนำมารวมกับปัจจัยอื่นๆ ที่ใช้ในการทดทอนรายได้ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
5. ระบบตลาด (Market Approach)
5.1 การประเมินทรัพย์สินทางปัญญาโดยใช้ระบบตลาดคือการระบุมูลค่าของทรัพย์สินทางปัญญาเป็นส่วนต่างระหว่างราคาที่เหมาะสม (Fair Market Value) ของธุรกิจและมูลค่าของทรัพย์สินต่างๆ ของธุรกิจนั้นๆ
5.2 ในการนี้ ผู้ประเมินจำเป็นต้องมีการประเมินมูลค่าของธุรกิจดังกล่าวหรือประเภทเดียวกับที่เป็นโครงการในการข้อกู้เงิน และจึงหักลบมูลค่าของทรัพย์สินประเภทอื่นๆ ออกหมดแล้ว จะเหลือเพียงมูลค่าของทรัพย์สินทางปัญญาหรือมูลค่าของทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตน
5.3 สำหรับทรัพย์สินทางปัญญาที่ยังไม่มีการผลิตเพื่อจำหน่ายหรือยังไม่มีธุรกรรมประเภทเดียวกัน ผู้ประเมินอาจใช้ธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันเป็นจุดเริ่มต้นของมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา และใช้ข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ มาประกอบเพื่อให้สามารถกำหนดมูลค่าของทรัพย์สินทางปัญญาที่ต้องการประเมินได้
5.4 สิ่งสำคัญในการใช้ระบบตลาด ผู้ประเมินต้องสามารถแยกแยะทรัพย์สินประเภทต่างๆ และสามารถกำหนดมูลค่าของทรัพย์สินประเภทอื่นๆ ได้อย่างค่อนข้างแม่นยำจึงจะสามารถกำหนดมูลค่าของทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องได้
6. การเปรียบเทียบวิธีคำนวณมูลค่าสำหรับประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา
ประเภททรัพย์สิน ดีมาก ดี อ่อนที่สุด
สิทธิบัตรและเทคโนโลยี ระบบรายได้ ระบบตลาด ต้นทุนการผลิต
เครื่องหมายการค้า ระบบรายได้ ระบบตลาด ต้นทุนการผลิต
ลิขสิทธิ์ ระบบรายได้ ระบบตลาด ต้นทุนการผลิต
โปรแกรมข้อมูลธุรกิจ ต้นทุนการผลิต ระบบตลาด ระบบรายได้
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ระบบรายได้ ระบบตลาด ต้นทุนการผลิต
สิทธิ์ Franchise ระบบรายได้ ระบบตลาด ต้นทุนการผลิต
ในส่วนของทรัพย์สินทางปัญญายังไม่มีปรากฏว่ามีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนมารองรับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักการและความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละประเภท หรือการประเมินค่าเพื่อใช้เป็นฐานในการคำนวณทางการเงิน ทั้งนี้ หากพิจารณาแล้ว ทรัพย์สินทางปัญญาทุกแขนงเป็นสินทรัพย์ที่เกิดจากการใช้ปัญญาทั้งหลาย และควรที่จะได้รับการตีมูลค่าที่สูงกว่าผลิตภัณฑ์ด้วยซ้ำไป
ด้งนั้น ในการแปลงสินทรัพย์ในส่วนของทรัพย์สินทางปัญญาจะต้องมีการดำเนินการใน 2 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ การจัดให้ประชาชนเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญามีหนังสือรับรองการแจ้งข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อให้สามารถใช้เป็นหลักฐานได้ และในขั้นต่อไปก็จะต้องหารือกับสถาบันการเงินเพื่อกำหนดหลักปฏิบัติและแนวทางการจัดการให้สามารถดำเนินนโยบายต่อไปได้ โดยเริ่มจากสถาบันการเงินของรัฐก่อน
ดังนั้น จึงสามารถสรุปได้ว่า หนังสือสำคัญทรัพย์สินทางปัญญาที่สามารถนำมาใช้ในโครงการแปลงทรัพย์สินให้เป็นทุนจะมี (1) เอกสารสิทธิ์เดิมที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาออกให้กับผู้ที่ยื่นขอจดทะเบียนสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร เครื่องหมายการค้าและแผนภูมิวงจรรวม และ (2) หนังสือรับรองการแจ้งข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญาแขนงอื่นๆ ที่เดิมไม่มีการออกหนังสือสำคัญให้
ในส่วนของกระบวนการออกหนังสือรับรองนั้น เมื่อสำนักงานพาณิชย์จังหวัดได้รับคำขอรับหนังสือรับรองแล้ว จะทำการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ปรากฏในเอกสารคำขอดังกล่าว และหากเห็นว่ามีความครบถ้วนและถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของการออกหนังสือรับรอง ก็จะสามารถออกหนังสือรับรองดังกล่าวได้ทันที เพื่อยื่นให้กับผู้ขอ ในขณะเดียวกันก็จะจัดส่งสำเนาให้กับกรมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อทำการรวบรวมและประกาศให้เป็นทราบทั่วกันผ่านระบบ Internet ของกรมทรัพย์สินทางปัญญาที่จะมีการจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ว่ามีข้อมูลอะไร ประเภทไหนบ้าง และในอนาคตอันใกล้ก็เป็นที่คาดว่า จะสามารถให้ข้อมูลได้ว่า ทรัพย์สินทางปัญญาประเภทใดมีการตีราคากันไว้อย่างไร แต่ก็คงต้องเป็นเรื่องที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาจะได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ธนาคารและองค์กรต่างๆ ที่ทำการให้กู้เงินหรือให้ความช่วยเหลือธุรกิจในด้านการเงิน กรมทรัพย์สินทางปัญญาจะสามารถทำได้เพียงอย่างเดียวคือการให้ความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาประเภทต่างๆ โดยเฉพาะในส่วนที่จะสามารถใช้เป็นทรัพย์สินของธุรกิจได้
เวลากล่าวถึงทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว ผู้ประกอบการหรือเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญามักจะนึกถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งกับสินค้าใดหนึ่งเท่านั้น อาทิ เครื่องหมายการค้ากับสินค้าหนึ่ง แต่หารู้ไม่ว่า ในสินค้านั้นยังมีเรื่องของสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ ลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
ดังนั้น ในความเป็นจริงแล้ว ในสินค้าหนึ่งอย่างอาจมีทรัพย์สินทางปัญญาประกอบอยู่ในสินค้านั้นมากกว่า 1 ประเภทก็ได้ อาทิ สินค้าหนึ่งตัวอาจมีทั้งเครื่องหมายการค้าที่เป็นของบริษัทผู้ผลิตสินค้านั้นๆ มีสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ผู้ผลิตได้จดทะเบียนไว้กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์สำหรับสินค้านั้น และยังอาจเป็นสินค้าที่มีความลับทางการค้าประกอบอยู่ด้วย ดังนั้น ความเข้าใจถึงความหมายและขอบเขตของทรัพย์สินทางปัญญาในทุกประเภทจึงมีความจำเป็นสำหรับผู้ประกอบการเป็นอย่างยิ่ง ในประเทศที่พัฒนาแล้วหรือในบริษัทยักษ์ใหญ่ต่างๆ มักจะมีหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาคอยดูแล เพื่อให้สินค้านั้นๆ ได้รับการคุ้มครองในทุกรูปแบบและสามารถบังคับใช้ได้ในทุกประเทศที่มีความสำคัญกับธุรกิจ
(1) แนวทางด้านต้นทุน (Cost approach)
แนวทางด้านต้นทุนมุ่งหาการประเมินผลประโยชน์ในอนาคตของเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาโดยการวัดจากจำนวนเงินที่ต้องการหรือทดแทนความสามารถให้บริการในอนาคตของทรัพย์สินนั้น แนวทางนี้มีสองวิธีการย่อยคือ
1. ต้นทุนการผลิตใหม่ (Cost of reproduction new: CRN)
2. ต้นทุนการทดแทน (Cost of replacement: COR)
แนวทางต้นทุนนี้ไม่ค่อยมีประโยชน์ในการประเมินมูลค่าของเทคโนโลยีในระยะเริ่มแรก ต้นทุนของการพัฒนาเทคโนโลยีไม่ได้สะท้อนกับมูลค่าของเทคโนโลยีแต่ประการใด ตัวอย่างเช่น โครงการวิจัยที่มีต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายสูงอาจได้งานวิจัยที่มีมูลค่าน้อยหรือล้มเหลวก็ได้ ในขณะที่โครงการวิจัยที่มีมูลค่าน้อยอาจให้ผลตอบแทนสูง
แนวทางด้านต้นทุนอิงแนวความคิดทางด้านเศรษฐศาสตร์ดังต่อไปนี้
• การทดแทน (substitution) –
• อุปสงค์และอุปทาน (supply and demand) –
• ผลกระทบภายนอก (externalities) –
• ความล้าสมัยของการทำงาน (functional obsolescence) –
• ความล้าสมัยทางด้านเทคโนโลยี (technological obsolescence) –
• ความล้าสมัยของเศรษฐกิจ (economic obsolescence) –
(2) แนวทางด้านตลาด (Market approach)
แนวทางด้านการตลาดเป็นวิธีการประเมินมูลค่าที่ตรงไปตรงมาและเข้าใจง่าย โดยจะประเมินมูลค่า ณ ปัจจุบันของผลประโยชน์ในอนาคตของเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งวีการนี้ต้องการ (1) ตลาดเปิดที่ทำงาน และ (2) การแลกเปลี่ยนกับทรัพย์สินอื่นที่เทียบเคียงได้
1. ตลาดที่ทำงาน (active market)
2. ตลาดที่เปิด (public market)
3. ทรัพย์สินที่เทียบเคียงได้ (comparable properties)
ขั้นตอนของการประเมินมูลค่าทางด้านการตลาดสรุปได้ดังนี้
• วิจัยหาตลาดที่เหมาะสมสำหรับข้อมูลธุรกรรมการขาย การจัดทำรายชื่อ และการเสนอซื้อหรืออนุญาตให้ใช้สิทธิกับทรัพย์สินทางปัญญาที่สามารถเปรียบเทียบได้ ความสามรถเปรียบเทียบได้ถูกประเมินกับปัจจัยอื่น ๆ เช่น ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา การใช้ทรัพย์สินทางปัญญา อุตสาหกรรมซึ่งมีการใช้ทรัพย์สินทางปัญญา และวันที่มีการขายหรืออนุญาตให้ใช้สิทธิ เป็นต้น
• ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดยการยืนยันว่าข้อมูลตลาดที่ได้รับมีความถูกต้องและธุรกรรมการขายหรืออนุญาตให้ใช้สิทธิสะท้อนข้อพิจารณาของตลาดที่ครอบคลุมถึง กระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงอาจมีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเงื่อนไขหรือสภาพตลาดในปัจจุบันสำหรับการขายหรืออนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้อง
• คัดเลือกหน่วยที่เกี่ยวข้องของการเปรียบเทียบ เช่น จำนวนเงินต่อหน่วย และการพัฒนาการวิเคราะห์การกำหนดราคาประเมินโดยเปรียบเทียบสำหรับหน่วยที่เปรียบเทียบ
• เปรียบเทียบแนวทางของการขายทรัพย์สินทางปัญญาและหรืออนุญาตให้ใช้สิทธิกับทรัพย์สินทางปัญญา ใช้องค์ประกอบเปรียบเทียบ และปรับราคาให้มีความเหมาะสม
• จัดทำให้การชี้วัดมูลค่าที่หลากหลายกลายเป็นตัวชี้วัดตัวเดียว
องค์ประกอบพื้นฐานในการเปรียบเทียบเพื่อพิจารณาคัดเลือกและวิเคราะห์แนวทางการขายหรืออนุญาตให้ใช้สิทธิมีสิบประการ ดังนี้
• สิทธิทางกฎหมายเฉพาะของเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาในธุรกรรมที่เกี่ยวข้อง
• เงื่อนไขการเงินพิเศษหรือข้อตกลงอื่น ๆ
• องค์ประกอบของเงื่อนไขการขายหรืออนุญาตให้ใช้สิทธิ
• เงื่อนไขทางด้านเศรษฐกิจที่ปรากฏตลาดรองที่เหมาะสม ณ เวลาที่มีธุรกรรมขายหรืออนุญาตให้ใช้สิทธิ
• อุตสาหกรรมที่แนวทางทรัพย์สินทางปัญญาถูกใช้หรือจะใช้
• ลักษณะเฉพาะทางกายภาพของทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นแนวทาง โดยเปรียบเทียบกับทรัพย์สินทางปัญญาเป้าหมาย
• ลักษณะเฉพาะด้านการทำงานของทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นแนวทาง โดยเปรียบเทียบกับทรัพย์สินทางปัญญาเป้าหมาย
• ลักษณะเฉพาะทางเทคโนโลยีของทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นแนวทาง โดยเปรียบเทียบกับทรัพย์สินทางปัญญาเป้าหมาย
• ลักษณะเฉพาะทางเศรษฐกิจของทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นแนวทาง โดยเปรียบเทียบกับทรัพย์สินทางปัญญาเป้าหมาย
• การรวมกับทรัพย์สินอื่นที่ไม่ใช่ทรัพย์สินทางปัญญาในแนวทาง โดยอาจรวมถึงการขายทรัพย์สินเป็นชุด ซึ่งอาจรวมทรัพย์สินที่จับต้องได้หรือที่ดิน และทรัพย์สินทางปัญญา
อย่างไรก็ตาม แนวทางด้านตลาดนี้ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนักในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา
(3) แนวทางด้านรายได้ (Income approach)
แนวทางรายได้มุ่งเน้นความสามารถในการก่อให้เกิดรายได้ของทรัพย์สินที่ประเมิน แนวทางนี้วางอยู่บนพื้นฐานความคิดว่ามูลค่าของทรัพย์สินสามารถวัดได้จากมูลค่า ณ ปัจจุบันของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจสุทธิที่ได้รับตลอดระยะเวลาอายุของทรัพย์สิน
องค์ประกอบสำคัญสามประการของแนวทางรายได้คือ
1. จำนวนรายได้ที่เกิดจากทรัพย์สินและรูปแบบของเงินได้ที่จะได้รับ
2. ข้อสันนิษฐานระยะเวลาของแหล่งเงินได้
3. ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในการทำนายหรือคาดการณ์จำนวนรายได้
การวัดรายได้ของทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันอาจส่งผลให้แนวทางประเมินมูลค่าแบบรายได้ที่แตกต่างกันได้ ตัวอย่างของการวัดรายได้มีดังนี้
• รายได้สุทธิหรือยอดรวม (gross or net revenues)
• กำไรยอดรวม (gross profit)
• รายได้การดำเนินงานสุทธิ (net operating income)
• รายได้ก่อนหักภาษี (pretax income)
• รายได้สุทธิหลังหักภาษี (net income after tax)
• กระแสเงินสดที่ไหลเวียน (operating cash flow)
• กระแสเงินสดสุทธิ (net cash flow)
• รายได้ที่เพิ่มขึ้น (incremental income) และ
• การประหยัดต้นทุน (cost savings)
แนวทางรายได้นิยมใช้กันมากในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา แต่ปัญหาก็คือแม้ว่าวิธีการจะง่ายแต่ข้อมูลที่จะใช้ในการประเมินกลับยาก ตัวอย่างเช่น ง่ายที่จะคาดการณ์รายได้และกระแสเงินสดสุทธิของธุรกิจที่เติบโตแล้ว แต่ก็จะเป็นการยากที่จะคาดการณ์กระแสเงินสดสุทธิในเทคโนโลยีหนึ่ง โดยเฉพาะในระยะเริ่มแรก
จำนวนรายได้
การคาดการณ์จำนวนเงินได้ว่าทรัพย์สินทางปัญญามีความสามารถในการก่อรายได้ในอนาคตเป็นสิ่งที่ไม่ง่ายในการประเมิน ต้องใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญและทรัพยากรจำนวนมาก โดยทั่วไปทรัพย์สินทางปัญญาจะเพิ่มรายได้หรือลดรายจ่าย ไม่ว่าจะก่อให้เกิดเงินได้
คุณค่าของทรัพย์สินทางปัญญา
เมื่อมีการพูดถึงประเมินราคาทรัพย์สินทางปัญญา คนส่วนใหญ่จะนึกถึงการตีราคาอสังหาริมทรัพย์ อาทิ ที่ดินหรือเครื่องจักร เป็นต้น แต่การประเมินราคาทรัพย์สินทางปัญญาเป็นการวัดคุณค่าที่ผู้บริโภคเป็นคนกำหนดและสถาบันการเงินต่างๆ จะประเมินจากศักยภาพในการสร้างรายได้ของทรัพย์สินทางปัญญานั้นๆ
สินค้าบางประเภทมีปริมาตรมากใช้เวลาในการทำนานและต้นทุนการผลิตด้านวัสดุสูง แต่ไม่สามารถขายได้ในราคาสูงเท่ากับสินค้าอีกประเภทหนึ่ง อาทิ เมื่อเทียบระหว่างวัสดุสิ่งก่อสร้างซึ่งมีต้นทุนด้านวัสดุสูงแต่สามารถขายได้ในราคาไม่สูงนัก กับเทปเพลงหรือซีดีเพลงซึ่งต้นทุนด้านวัสดุต่ำมากสามารถขายได้ในราคาที่สูงกว่ามาก และยังมีความต้องการจากผู้บริโภคมากกว่าอีกด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากสิ่งที่ขายนั้นเป็นเนื้อเพลง ทำนอง เสียงร้องที่บรรจุในแผ่นซีดี ซึ่งที่จริงแล้วไม่สามารถจับต้องได้ หรือในสินค้าประเภทเดียวกันแต่มีการออกแบบแตกต่างกันออกไป สินค้าที่มีการออกแบบดีกว่า ทันสมัยกว่า ใช้ได้สะดวกกว่า หรือมีการทำการตลาดที่ดีกว่า ก็จะสามารถขายได้ในราคาที่ดีกว่า ส่วนต่างทางราคาของสินค้านั้นก็อาจเทียบได้ว่าเป็นคุณค่าของทรัพย์สินอันเกิดจากปัญญานั้นเอง
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า คุณค่าของทรัพย์สินทางปัญญามาในหลายรูปแบบมาก ยากที่จะวางกฎเกณฑ์ที่แน่ชัดได้ การประเมินคุณค่าและราคาของทรัพย์สินทางปัญญาจึงสามารถทำได้เป็นรายกรณีไป และจะขึ้นอยู่กับความสามารถของเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญานั้นๆ ที่จะสร้างคุณค่าขึ้นมาให้เป็นที่ประจักษ์และสร้างความเชื่อมั่นให้กับสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องได้
หลักการประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาโดยสังเขป
การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาถือเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการดำเนินนโยบายแปลงทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็นทุนเท่านั้น เนื่องจากในทางปฏิบัติทรัพย์สินทางปัญญาเป็นส่วนหนึ่งสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน (Intangible Asset) จึงทำให้การประเมินมูลค่ามีความละเอียดอ่อนมากและมีความแน่นอนน้อยกว่า อย่างไรก็ตาม การให้กู้ยืมเงินหากไม่ใช่เป็นธนบัตรรัฐบาลก็จะมีความเสี่ยงเป็นส่วนประกอบทั้งสิ้น จะมากหรือน้อยเท่านั้นเอง
การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาจึงเป็นการประเมินศักยภาพของการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องในการผลิตสินค้าและบริการเพื่อจำหน่าย โดยมีสิทธิพิเศษทางการตลาดตามระยะเวลาที่ระบบทรัพย์สินทางปัญญาให้ความคุ้มครอง หรือให้อำนาจผู้ถือสิทธิ์เหนืออำนาจของตลาดปกติ ทำให้ผู้ถือสิทธิ์สามารถกำหนดราคาสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งควบคุมวิวัฒนาการของตลาดสำหรับสินค้าหรือบริการดังกล่าว
ดังนั้น หลักการสำคัญในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาคือการใช้การคำนวณมูลค่าปัจจุบันของกผลประโยชน์หรือรายได้ (Present Value) ที่เกิดจากการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาในการผลิตสินค้าหรือบริการตลอดระยะเวลาที่ทรัพย์สินทางปัญญาดังกล่าวได้รับการคุ้มครองหรือสามารถสร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจนั้นๆ ได้ (Future Value of Cash Flow) ซึ่งจะถูกทดทอนโดยอัตราการทดทอน (Discount Rate, r) เนื่องจากผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นในอนาคตมีองค์ประกอบของการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าของเงิน อาทิ ความเสี่ยงของการลงทุน (risk factor) และอัตราดอกเบี้ยธนบัตรรัฐบาลซึ่งถือว่าเป็น “ค่าเสียโอกาส” ของก้อนเงินดังกล่าว
เมื่อสามารถประเมินผลตอบแทนของการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาในการผลิตสินค้าหรือบริการแล้ว ผู้ประเมินยังต้องประเมินสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งรวมถึงแผนธุรกิจ (Business Plan) ของผู้ขอกู้อีกด้วย ทั้งนี้ ผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาจะต้องมีความเข้าใจถึงสภาวะสิ่งแวดล้อมของธุรกรรมดังกล่าว
การประเมินมูลค่าของทรัพย์สินเป็นประเด็นหนึ่งที่ยากสำหรับการเจรจาอนุญาตให้ใช้สิทธิเพราะต้องนำมาคิดคำนวณอัตราค่าอนุญาตให้ใช้สิทธิ (Royalty) โดยทั่วไปการพัฒนาอัตราค่าอนุญาตให้ใช้สิทธิจะอิงกับสามแหล่วหลักคือ (1) ลูกค้า (2) จากแนวปฏิบัติทั่วไปในทางการค้า และ (3) คำวินิจฉัยของศาล
มูลค่าเป็นตัวชี้วัดหรือตัวแสดงผลประโยชน์ในอนาคตของเจ้าของ ดังนั้น มูลค่ามีการเปลี่ยนแปลงสม่ำเสมอ เพราะผลประโยชน์อนาคตเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากระยะเวลาหรือสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากมูลค่าไม่ปรากฏในรูปนามธรรม และต้องมีระยะเวลา สถานที่ เจ้าของและผู้ใช้ในอนาคต
1.1 ลักษณะการใช้สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา
ก). การผลิตและจำหน่ายด้วยตนเอง เจ้าของสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาจะต้องเป็นผู้ลงทุนในการผลิต การตลาดและการกระจายสินค้าเอง ผลประโยชน์ที่จะได้รับจะอยู่ในรูปของผลประกอบการโดยรวม
ในกรณีนี้ หากเจ้าของสิทธิ์เป็นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องอยู่แล้วก็จะสามารถผลิตและกระจายสินค้าดังกล่าวได้ดีกว่าเจ้าของสิทธิ์ที่ไม่ได้เป็นผู้ประกอบการ ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะมีความแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับความสามารถของเจ้าของสิทธิ์แต่ละราย
ข). การขายสิทธิ์ให้กับผู้ประกอบการ เจ้าของสิทธิ์สามารถขายสิทธิ์หรือมอบสิทธิ์ให้ผู้ประกอบการดำเนินการผลิตและกระจายสินค้า โดยเจ้าของสิทธิ์มักจะต้องเป็นผู้พัฒนาทรัพย์สินทางปัญญาให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถนำไปใช้ได้ในอุตสาหกรรมโดยตรง ในกรณีนี้ การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาอาจเกิดขึ้นในการขอกู้เงินเพื่อใช้ในการพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญานั้นๆ โดยเจ้าของสิทธิ์เป็นผู้ต้องการประเมิน เจ้าของสิทธิ์สามารถได้รับค่าตอบแทนทั้งในรูปแบบของเงินก้อนชำระครั้งเดียวและ/หรือชำระเป็นส่วนแบ่งของผลประกอบการที่เกี่ยวข้อง การประเมินผลตอบแทนจะต้องเป็นการคาดการณ์ผลประกอบการของผู้ที่รับช่วงในทรัพย์สินทางปัญญาดังกล่าว
ในทรัพย์สินทางปัญญาบางประเภท การพัฒนารูปแบบอาจไม่จำเป็นต้องแล้วเสร็จก่อนที่จะสามารถมีการถ่ายโอนได้ ดังนั้น อาจไม่มีการกู้ยืมเงินเกิดขึ้น
ดังนั้น หากผู้รับมอบสิทธิ์เป็นผู้กู้ยืมเงินเพื่อลงทุนในการผลิตและกระจายสินค้าและจะเป็นผู้ขอให้มีการประเมินมูลค่า อาจพิจารณาจากราคาที่มีการขายโอนสิทธิ์ได้ ในกรณีนี้ ผลตอบแทนต่อทรัพย์สินทางปัญญาจะเป็นผลประกอบการของธุรกิจดังกล่าว (ปรับลดเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญานั้นๆ)
ค). การร่วมทุน เจ้าของสิทธิ์อาจจัดหาผู้ร่วมทุนในระยะต่างๆ ของการพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญา ดังนี้
ระยะพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญา การประเมินทรัพย์สินทางปัญญาอาจใช้เป็นตัววัดสัดส่วนของการร่วมทุน และอาจใช้เป็นทรัพย์สินเพื่อใช้ในการกู้เงินเพื่อเป็นการลงทุน ในกรณีนี้ ผลตอบแทนจะขึ้นอยู่กับความสำเร็จของการพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญา การกู้ยืมเงินอาจเป็นการรับผิดชอบร่วมระหว่างเจ้าของสิทธิ์และผู้ประกอบการ ผลลัพธ์ที่จะได้รับจะมาจากผลการประกอบการ และความสำเร็จของการพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญาหากประสบความสำเร็จในการพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญาดังกล่าว
หลังจากพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว การประเมินทรัพย์สินทางปัญญาจะมีความชัดเจนมากกว่า เนื่องจากสามารถประเมินได้ว่า ทรัพย์สินทางปัญญาดังกล่าวจะสามารถสร้างมูลค่าทางอุตสาหกรรมหรือการค้าได้เพียงใด โดยอาจดูจากผลประกอบการของธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
1.2 ตัวแปรที่มีผลกับมูลค่าของทรัพย์สินทางปัญญา
ทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละประเภทมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป แต่ปัจจัยหลักที่มีส่วนทำให้ทรัพย์สินทางปัญญามีคุณค่าหรือมีความผันแปรในมูลค่าสามารถแยกหลักๆ (ทั้งนี้ อาจมีมากกว่าที่ได้ระบุในเอกสารนี้ได้) ได้แก่
ก). ค่าตอบแทนรวม (Royalty) คือค่าตอบแทนในการใช้สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งสามารถชำระได้เป็นงวดๆ หรือเป็นจำนวนเต็ม ขึ้นอยู่กับการเจรจาระหว่างเจ้าของสิทธิ์และผู้ที่ต้องการใช้ทรัพย์สินทางปัญญานั้นๆ และในกรณีที่เจ้าของสิทธิ์เป็นผู้ลงทุนเองอาจพิจารณาได้จากผลประกอบการของธุรกิจนั้นๆ
ปริมาณของค่าภาคหลวงขึ้นอยู่กับความสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญาในการประกอบธุรกิจ หรือสัดส่วนความสำคัญในการผลิตสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ อาจรวมถึงความสามารถในการประกอบกิจการนั้นๆ ด้วย
ข). ระยะเวลาคุ้มครอง (Protection Period) คือระยะเวลาที่เจ้าของสิทธิ์ได้รับความคุ้มครองในทรัพย์สินทางปัญญาตามกฎหมาย หรือระยะเวลาที่เจ้าของสิทธิ์มีอำนาจเหนือตลาดโดยการมีสิทธิ์เฉพาะ (Exclusivity) ระยะเวลาคุ้มครองยิ่งนานก็จะทำให้เจ้าของสิทธิ์สามารถเก็บเกี่ยวผลตอบแทนได้มากยิ่งขึ้น แต่เจ้าของสิทธิ์จะต้องมีการปกป้องสิทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้สามารถเก็บเกี่ยวผลตอบแทนได้อย่างเต็มที่
ค). ความแปลกใหม่ (Novelty) คือความสามารถของผลิตภัณฑ์อันเป็นผลของการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาที่จะนำตลาดและปกป้องสัดส่วนของตลาดไว้ได้ในระยะเวลาที่ได้รับการคุ้มครอง เนื่องจากอำนาจเหนือตลาดจะยั่งยืนได้ต้องไม่มีการแข่งขันอันจะเกิดจากผลิตภัณฑ์ที่ใหม่หรือแปลกกว่า หรือไม่มีผู้ประกอบการอื่นสามารถสร้างสรรสินค้าหรือบริการที่ทัดเทียมได้
ง). ความยืดหยุ่นในการใช้งาน (Flexibility) คือความสามารถของทรัพย์สินทางปัญญาในการปรับเปลี่ยนการใช้งานได้อย่างหลากหลาย เนื่องจากทรัพย์สินทางปัญญาบางประเภทสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายวิธีและอาจได้รับผลตอบแทนจากหลายแหล่งในเวลาเดียวกัน และในบางกรณี การใช้ทรัพย์สินทางปัญญาให้ถูกทางก็สามารถสร้างคุณค่าให้กับทรัพย์สินทางปัญญานั้นๆ มากกว่าการใช้งานตามเจตนารมณ์เดิมได้
จ). ความยืดหยุ่นในการถ่ายโอน (Transferability) คือความสามารถของทรัพย์สินทางปัญญาในการถ่ายโอนสิทธิ์ความเป็นเจ้าของซึ่งจะสามารถเพิ่มมูลค่า
ฉ). แผนดำเนินการของธุรกิจ (Business Plan) คือแผนการสร้างคุณค่าให้กับทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ แผนการตลาด (Marketing Plan) เพื่อเพิ่มความคุ้นเคยและความนิยมของตลาดต่อสินค้าหรือบริการ แผนการผลิต (Production Plan)
1.3 ปัจจัยชี้วัดคุณค่าของทรัพย์สินทางปัญญา
ก). กระแสรายได้ (Cash Flow) กระแสรายได้ทั้งหมดต่อช่วงเวลาในอนาคตที่จะเกิดจากกิจกรรมที่ใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นส่วนหนึ่งของสินค้าและหรือบริการ ทั้งนี้ หากเป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าและหรือบริการที่เกิดจากทรัพย์สินทางปัญญามากกว่า 1 อย่างต้องมีการระบุชัดเจนว่า รายได้ดังกล่าวเกิดจากทรัพย์สินทางปัญญาใด
ข). ช่วงเวลาของกระแสรายได้ (Period, t) คือช่วงเวลาในการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็นประโยชน์ ซึ่งอาจรวมถึงช่วงเวลาที่ใช้ในการพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องให้สามารถใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ โดยในระยะแรกของการลงทุนอาจยังไม่มีรายได้จากทรัพย์สินทางปัญญาแต่จะมีเพียงการลงทุนเพื่อพัฒนาซึ่งเปรียบเสมือนรายได้ที่เป็นลบเท่านั้น และการสร้างรายได้ (กระแสรายได้ที่มีค่าเป็นบวก) ของทรัพย์สินทางปัญญามักจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาและไม่มีการแข่งขันจากผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการอื่น
ค). อัตราการลดค่ารายได้ (Discount Factor, r) ได้แก่การทดทอนกระแสรายได้ให้สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินที่มีค่าลดน้อยลงหากรายได้นั้นเป็นการคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต (ในจำนวนเงินที่เท่ากัน เงินดังกล่าวในอนาคตจะมีค่าน้อยกว่าเงินจำนวนเดียวกันในปัจจุบัน) ซึ่งจะประกอบด้วยปัจจัยต่างๆ คือ ความเสี่ยง (Risk) อัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาล (interest on Thailand’s treasury bill)
ง). แผนธุรกิจ (Business Plan) หมายความถึงเอกสารแสดงโครงการและแผนการดำเนินธุรกิจที่จะใช้ทรัพย์สินทางปัญญาในการผลิตสินค้าหรือบริการ ต้องครอบคลุมระยะเวลาดำเนินการตลอดอายุโครงการที่ต้องการกู้ยืมเงิน
เอกสารโครงการนี้ควรต้องสามารถแสดงรายละเอียดของกิจกรรมที่ใช้ทรัพย์สินทางปัญญา ดังนี้
• กิจกรรมต่างๆ ที่จะดำเนินการเพื่อผลิตสินค้าและบริการโดยใช้ทรัพย์สินทางปัญญา
• ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากกิจกรรมที่ใช้ทรัพย์สินทางปัญญาต่อช่วงตลอดโครงการ
• โครงสร้างขององค์ประกอบด้านบุคลากรของธุรกิจที่ใช้ทรัพย์สินทางปัญญา
• นโยบายการตลาดประกอบด้วย กลุ่มผู้บริโภคที่คาดว่าจะเป็นผู้ใช้บริการหรือซื้อสินค้า
2. ระบบการคำนวณมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา
2.1 การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการแปลงสินทรัพย์ด้านทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็นทุนเท่านั้น เพราะที่แท้จริงแล้ว การแปลงทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็นทุนจะต้องศึกษาและประเมินศักยภาพของกิจกรรมที่จะใช้ทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็นประโยชน์ทางการค้า เพื่อให้เกิดผลตอบแทนเพียงพอที่จะให้ความมั่นใจกับผู้ลงทุน แม้ว่าสำหรับทรัพย์สินทางปัญญาบางประเภท ผู้ประเมินอาจสามารถคำนวณได้จากต้นทุนการผลิตของทรัพย์สินทางปัญญานั้น
2.2 มูลค่าของทรัพย์สินทางปัญญาจึงไม่ใช่การประเมิน ”ราคาตลาด” (Market Price) หรือ “ต้นทุนการผลิต” (Cost of Production) ของทรัพย์สินทางปัญญานั้นๆ แต่เป็นการกำหนดมูลค่าของศักยภาพของการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาดังกล่าวให้เป็นประโยชน์ตามระยะเวลาที่กำหนด (Fair Market Value)
ดังนั้น จึงสามารถสรุปคำนิยามของมูลค่าของทรัพย์สินทางปัญญาได้ว่า “เป็นก้อนเงินจำนวนหนึ่งที่ใช้ในการชำระหรือใช้จ่ายเพื่อให้ได้มา ณ จุดเวลาหนึ่ง ซึ่งสิทธิ์ในการรับผลตอบแทนจากการเป็นเจ้าของกิจการหนึ่งกิจการใด โดยรวมมาเป็นจำนวนเงินมูลค่าปัจจุบัน”
3. ระบบรายได้ (Present Value of Future Expected Cash Flow)
3.1 การคำนวณมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาวิธีหนึ่งได้แก่ การประเมินผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับภายใต้การใช้ทรัพย์สินทางปัญญาในการผลิตสินค้าและบริการตลอดอายุของทรัพย์สินทางปัญญาดังกล่าว ดังนั้น จึงเป็นการใช้หลักของ “มูลค่าปัจจุบัน” (Present Value: PV) มาใช้เป็นฐานในการประเมินศักยภาพของการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็นประโยชน์ เมื่อ
Present Value = Future Value / (1 + rt)
Future Value (FV) = ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตจากการใช้ทรัพย์สินทางปัญญา
T = ช่วงเวลาที่เกิดผลประโยชน์ซึ่งนับจากปัจจุบันจะนับเป็น ปี เดือน หรือสัปดาห์ก็ได้
r = Discount Rate หรือ อัตราการลดทอนผลประโยชน์อันเกิดจากความไม่แน่นอนของมูลค่าที่ประมาณได้ในอนาคตซึ่งจะมีอัตราต่อช่วงเวลาสอดคล้องกับช่วงเวลา t
3.2 เมื่อมีการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละประเภทมากกว่า 1 ช่วงเวลา คือ ช่วงเวลา (t = 1,…,T) การคำนวณผลตอบแทนจะขยายเป็น “ผลตอบแทนเทียบเท่าปัจจุบัน” (Present Value) คือ
PV = Sum {FCF (t) / (1+ r)t }, t = 1,…, T
เมื่อ
FCF (t) = Future Expected Cash Flow หรือผลประโยชน์ที่คาดจะได้รับจากการใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญาในอนาคต ณ ช่วงเวลา t เมื่อ t = 1, 2, 3, 4,…, T
T = ช่วงเวลาที่การใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญาสิ้นสุดลง
3.3 การใช้หลักการ Present Value ของ Cash Flow สามารถแสดงถึงการหาประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาที่มีการปรับเปลี่ยนการดำเนินการได้โดยการแยกระยะเวลา และปรับเปลี่ยนอัตราการทดทอนมูลค่า ( r ) ได้ด้วย อาทิ การแบ่งระยะเวลาในการหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาเป็น 2 ช่วงได้แก่ t1 = 1, …, T1 และ t2 = 1,…, T2 ซึ่งจะทำให้การประเมินศักยภาพของทรัพย์สินทางปัญญานี้สามารถแสดงให้เห็นว่า ลักษณะการใช้ประโยชน์สามารถแยกเป็น 2 ประเภท เป็นต้น
4. การพิจารณาอัตราทดทอน ( r ) (อัตราด้อยค่าของทรัพย์สิน)
4.1 ทรัพย์สินทางปัญญามีความหลากหลายมาก และมีความหยืดหยุ่นในการใช้งานมาก ทำให้อัตราความเสี่ยงในบางกรณีค่อนข้างสูงกว่าการคำนวณมูลค่าของทรัพย์สินประเภทอื่นๆ ดังที่ได้กล่าวถึงข้างต้นแล้ว ดังนั้น การบัญญัติค่าของ “อัตราทดทอน” (Discount Rate) จึงมีความสำคัญต่อการประเมินศักยภาพของทรัพย์สินทางปัญญาเป็นอย่างมาก
4.2 อัตราทดทอนมักจะมีองค์ประกอบของปัจจัยต่างๆ ดังนี้
ก). อัตราค่าเสื่อมของเงินตามระยะเวลา ซึ่งมักจะวัดได้จากอัตราเงินเฟ้อ (inflation, ) ของประเทศนั้นๆ ซึ่งจะแสดงถึงเงิน 1 บาทที่ได้รับในอนาคตอาจมีค่าน้อยกว่าเงิน 1 บาทในปัจจุบันและอัตราเงินเฟ้อนี้เองจะเป็นตัวแปรที่ทดทอนค่าของผลประโยชน์ที่จะได้รับในอนาคตเป็นปัจจุบัน
ข). อัตราค่าเสี่ยงของการลงทุน (risk factor, ) ซึ่งสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุดหรือตามหลักทฤษฎีถือว่าเป็น “ศูนย์” ได้แก่ ธนบัตรรัฐบาล(Government Bond) กล่าวคือ ไม่ว่าจะเป็นอย่างไรก็ตาม เมื่อถึงกำหนดเวลา รัฐบาลมีหน้าที่ที่จะชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยให้กับผู้ถือพันธบัตรดังกล่าว และโอกาสที่รัฐบาลจะสูญหายนั้นก็ไม่มีแน่ ดังนั้น ในกรณีนี้ = 0 โดยปกติแล้ว การลงทุนในสินทรัพย์ทุกประเภทมีความเสี่ยง เพียงแต่จะมีมากหรือน้อยต่างกันเท่านั้นเอง
อัตราความเสี่ยงสามารถวัดได้จาก “ความเป็นไปได้” (Probability) ที่สิ่งหนึ่งสิ่งใดจะเกิดขึ้นและอาจเป็นความรู้สึกของผู้ให้กู้ค่อนข้างมาก (Subjective) ดังนั้น ผู้ให้กู้อาจต้องตั้งคำถามต่างๆ และประเมิน “ความเป็นไปได้” ตามลำดับ อาทิ
• โอกาสที่อัตราการขยายตัวของรายได้ที่จะเกิดจากการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาจะเป็นไปตามที่เจ้าของโครงการเสนอคิดเป็นร้อยละเท่าไร
• โอกาสที่ผลประโยชน์อันเกิดจากทรัพย์สินทางปัญญาจะมีระยะเวลาเท่ากับที่เจ้าของโครงการเสนอคิดเป็นร้อยละเท่าไร
• โอกาสที่สภาวะตลาดสำหรับสินค้าหรือบริการอันเกิดจากการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาจะมีการเปลี่ยนแปลงทำให้ผลประโยชน์ที่คาดการณ์ไว้เปลี่ยนแปลงไปคิดเป็นร้อยละเท่าไร, ฯลฯ
• โอกาสที่จะมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเจ้าของโครงการ ซึ่งรวมถึงองค์ประกอบของการบริหารโครงการคิดเป็นร้อยละเท่าไร
เมื่อสามารถบัญญัติค่าของ “ความเป็นไปได้” ต่างๆ แล้ว จึงนำตัวเลขเหล่านี้มารวมกันเพื่อคำนวณอัตราความเสี่ยงรวมของผู้ให้กู้ และนำมารวมกับปัจจัยอื่นๆ ที่ใช้ในการทดทอนรายได้ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
5. ระบบตลาด (Market Approach)
5.1 การประเมินทรัพย์สินทางปัญญาโดยใช้ระบบตลาดคือการระบุมูลค่าของทรัพย์สินทางปัญญาเป็นส่วนต่างระหว่างราคาที่เหมาะสม (Fair Market Value) ของธุรกิจและมูลค่าของทรัพย์สินต่างๆ ของธุรกิจนั้นๆ
5.2 ในการนี้ ผู้ประเมินจำเป็นต้องมีการประเมินมูลค่าของธุรกิจดังกล่าวหรือประเภทเดียวกับที่เป็นโครงการในการข้อกู้เงิน และจึงหักลบมูลค่าของทรัพย์สินประเภทอื่นๆ ออกหมดแล้ว จะเหลือเพียงมูลค่าของทรัพย์สินทางปัญญาหรือมูลค่าของทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตน
5.3 สำหรับทรัพย์สินทางปัญญาที่ยังไม่มีการผลิตเพื่อจำหน่ายหรือยังไม่มีธุรกรรมประเภทเดียวกัน ผู้ประเมินอาจใช้ธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันเป็นจุดเริ่มต้นของมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา และใช้ข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ มาประกอบเพื่อให้สามารถกำหนดมูลค่าของทรัพย์สินทางปัญญาที่ต้องการประเมินได้
5.4 สิ่งสำคัญในการใช้ระบบตลาด ผู้ประเมินต้องสามารถแยกแยะทรัพย์สินประเภทต่างๆ และสามารถกำหนดมูลค่าของทรัพย์สินประเภทอื่นๆ ได้อย่างค่อนข้างแม่นยำจึงจะสามารถกำหนดมูลค่าของทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องได้
6. การเปรียบเทียบวิธีคำนวณมูลค่าสำหรับประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา
ประเภททรัพย์สิน ดีมาก ดี อ่อนที่สุด
สิทธิบัตรและเทคโนโลยี ระบบรายได้ ระบบตลาด ต้นทุนการผลิต
เครื่องหมายการค้า ระบบรายได้ ระบบตลาด ต้นทุนการผลิต
ลิขสิทธิ์ ระบบรายได้ ระบบตลาด ต้นทุนการผลิต
โปรแกรมข้อมูลธุรกิจ ต้นทุนการผลิต ระบบตลาด ระบบรายได้
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ระบบรายได้ ระบบตลาด ต้นทุนการผลิต
สิทธิ์ Franchise ระบบรายได้ ระบบตลาด ต้นทุนการผลิต
ในส่วนของทรัพย์สินทางปัญญายังไม่มีปรากฏว่ามีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนมารองรับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักการและความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละประเภท หรือการประเมินค่าเพื่อใช้เป็นฐานในการคำนวณทางการเงิน ทั้งนี้ หากพิจารณาแล้ว ทรัพย์สินทางปัญญาทุกแขนงเป็นสินทรัพย์ที่เกิดจากการใช้ปัญญาทั้งหลาย และควรที่จะได้รับการตีมูลค่าที่สูงกว่าผลิตภัณฑ์ด้วยซ้ำไป
ด้งนั้น ในการแปลงสินทรัพย์ในส่วนของทรัพย์สินทางปัญญาจะต้องมีการดำเนินการใน 2 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ การจัดให้ประชาชนเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญามีหนังสือรับรองการแจ้งข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อให้สามารถใช้เป็นหลักฐานได้ และในขั้นต่อไปก็จะต้องหารือกับสถาบันการเงินเพื่อกำหนดหลักปฏิบัติและแนวทางการจัดการให้สามารถดำเนินนโยบายต่อไปได้ โดยเริ่มจากสถาบันการเงินของรัฐก่อน
ดังนั้น จึงสามารถสรุปได้ว่า หนังสือสำคัญทรัพย์สินทางปัญญาที่สามารถนำมาใช้ในโครงการแปลงทรัพย์สินให้เป็นทุนจะมี (1) เอกสารสิทธิ์เดิมที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาออกให้กับผู้ที่ยื่นขอจดทะเบียนสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร เครื่องหมายการค้าและแผนภูมิวงจรรวม และ (2) หนังสือรับรองการแจ้งข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญาแขนงอื่นๆ ที่เดิมไม่มีการออกหนังสือสำคัญให้
ในส่วนของกระบวนการออกหนังสือรับรองนั้น เมื่อสำนักงานพาณิชย์จังหวัดได้รับคำขอรับหนังสือรับรองแล้ว จะทำการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ปรากฏในเอกสารคำขอดังกล่าว และหากเห็นว่ามีความครบถ้วนและถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของการออกหนังสือรับรอง ก็จะสามารถออกหนังสือรับรองดังกล่าวได้ทันที เพื่อยื่นให้กับผู้ขอ ในขณะเดียวกันก็จะจัดส่งสำเนาให้กับกรมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อทำการรวบรวมและประกาศให้เป็นทราบทั่วกันผ่านระบบ Internet ของกรมทรัพย์สินทางปัญญาที่จะมีการจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ว่ามีข้อมูลอะไร ประเภทไหนบ้าง และในอนาคตอันใกล้ก็เป็นที่คาดว่า จะสามารถให้ข้อมูลได้ว่า ทรัพย์สินทางปัญญาประเภทใดมีการตีราคากันไว้อย่างไร แต่ก็คงต้องเป็นเรื่องที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาจะได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ธนาคารและองค์กรต่างๆ ที่ทำการให้กู้เงินหรือให้ความช่วยเหลือธุรกิจในด้านการเงิน กรมทรัพย์สินทางปัญญาจะสามารถทำได้เพียงอย่างเดียวคือการให้ความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาประเภทต่างๆ โดยเฉพาะในส่วนที่จะสามารถใช้เป็นทรัพย์สินของธุรกิจได้
เวลากล่าวถึงทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว ผู้ประกอบการหรือเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญามักจะนึกถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งกับสินค้าใดหนึ่งเท่านั้น อาทิ เครื่องหมายการค้ากับสินค้าหนึ่ง แต่หารู้ไม่ว่า ในสินค้านั้นยังมีเรื่องของสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ ลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
ดังนั้น ในความเป็นจริงแล้ว ในสินค้าหนึ่งอย่างอาจมีทรัพย์สินทางปัญญาประกอบอยู่ในสินค้านั้นมากกว่า 1 ประเภทก็ได้ อาทิ สินค้าหนึ่งตัวอาจมีทั้งเครื่องหมายการค้าที่เป็นของบริษัทผู้ผลิตสินค้านั้นๆ มีสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ผู้ผลิตได้จดทะเบียนไว้กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์สำหรับสินค้านั้น และยังอาจเป็นสินค้าที่มีความลับทางการค้าประกอบอยู่ด้วย ดังนั้น ความเข้าใจถึงความหมายและขอบเขตของทรัพย์สินทางปัญญาในทุกประเภทจึงมีความจำเป็นสำหรับผู้ประกอบการเป็นอย่างยิ่ง ในประเทศที่พัฒนาแล้วหรือในบริษัทยักษ์ใหญ่ต่างๆ มักจะมีหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาคอยดูแล เพื่อให้สินค้านั้นๆ ได้รับการคุ้มครองในทุกรูปแบบและสามารถบังคับใช้ได้ในทุกประเทศที่มีความสำคัญกับธุรกิจ
(1) แนวทางด้านต้นทุน (Cost approach)
แนวทางด้านต้นทุนมุ่งหาการประเมินผลประโยชน์ในอนาคตของเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาโดยการวัดจากจำนวนเงินที่ต้องการหรือทดแทนความสามารถให้บริการในอนาคตของทรัพย์สินนั้น แนวทางนี้มีสองวิธีการย่อยคือ
1. ต้นทุนการผลิตใหม่ (Cost of reproduction new: CRN)
2. ต้นทุนการทดแทน (Cost of replacement: COR)
แนวทางต้นทุนนี้ไม่ค่อยมีประโยชน์ในการประเมินมูลค่าของเทคโนโลยีในระยะเริ่มแรก ต้นทุนของการพัฒนาเทคโนโลยีไม่ได้สะท้อนกับมูลค่าของเทคโนโลยีแต่ประการใด ตัวอย่างเช่น โครงการวิจัยที่มีต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายสูงอาจได้งานวิจัยที่มีมูลค่าน้อยหรือล้มเหลวก็ได้ ในขณะที่โครงการวิจัยที่มีมูลค่าน้อยอาจให้ผลตอบแทนสูง
แนวทางด้านต้นทุนอิงแนวความคิดทางด้านเศรษฐศาสตร์ดังต่อไปนี้
• การทดแทน (substitution) –
• อุปสงค์และอุปทาน (supply and demand) –
• ผลกระทบภายนอก (externalities) –
• ความล้าสมัยของการทำงาน (functional obsolescence) –
• ความล้าสมัยทางด้านเทคโนโลยี (technological obsolescence) –
• ความล้าสมัยของเศรษฐกิจ (economic obsolescence) –
(2) แนวทางด้านตลาด (Market approach)
แนวทางด้านการตลาดเป็นวิธีการประเมินมูลค่าที่ตรงไปตรงมาและเข้าใจง่าย โดยจะประเมินมูลค่า ณ ปัจจุบันของผลประโยชน์ในอนาคตของเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งวีการนี้ต้องการ (1) ตลาดเปิดที่ทำงาน และ (2) การแลกเปลี่ยนกับทรัพย์สินอื่นที่เทียบเคียงได้
1. ตลาดที่ทำงาน (active market)
2. ตลาดที่เปิด (public market)
3. ทรัพย์สินที่เทียบเคียงได้ (comparable properties)
ขั้นตอนของการประเมินมูลค่าทางด้านการตลาดสรุปได้ดังนี้
• วิจัยหาตลาดที่เหมาะสมสำหรับข้อมูลธุรกรรมการขาย การจัดทำรายชื่อ และการเสนอซื้อหรืออนุญาตให้ใช้สิทธิกับทรัพย์สินทางปัญญาที่สามารถเปรียบเทียบได้ ความสามรถเปรียบเทียบได้ถูกประเมินกับปัจจัยอื่น ๆ เช่น ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา การใช้ทรัพย์สินทางปัญญา อุตสาหกรรมซึ่งมีการใช้ทรัพย์สินทางปัญญา และวันที่มีการขายหรืออนุญาตให้ใช้สิทธิ เป็นต้น
• ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดยการยืนยันว่าข้อมูลตลาดที่ได้รับมีความถูกต้องและธุรกรรมการขายหรืออนุญาตให้ใช้สิทธิสะท้อนข้อพิจารณาของตลาดที่ครอบคลุมถึง กระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงอาจมีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเงื่อนไขหรือสภาพตลาดในปัจจุบันสำหรับการขายหรืออนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้อง
• คัดเลือกหน่วยที่เกี่ยวข้องของการเปรียบเทียบ เช่น จำนวนเงินต่อหน่วย และการพัฒนาการวิเคราะห์การกำหนดราคาประเมินโดยเปรียบเทียบสำหรับหน่วยที่เปรียบเทียบ
• เปรียบเทียบแนวทางของการขายทรัพย์สินทางปัญญาและหรืออนุญาตให้ใช้สิทธิกับทรัพย์สินทางปัญญา ใช้องค์ประกอบเปรียบเทียบ และปรับราคาให้มีความเหมาะสม
• จัดทำให้การชี้วัดมูลค่าที่หลากหลายกลายเป็นตัวชี้วัดตัวเดียว
องค์ประกอบพื้นฐานในการเปรียบเทียบเพื่อพิจารณาคัดเลือกและวิเคราะห์แนวทางการขายหรืออนุญาตให้ใช้สิทธิมีสิบประการ ดังนี้
• สิทธิทางกฎหมายเฉพาะของเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาในธุรกรรมที่เกี่ยวข้อง
• เงื่อนไขการเงินพิเศษหรือข้อตกลงอื่น ๆ
• องค์ประกอบของเงื่อนไขการขายหรืออนุญาตให้ใช้สิทธิ
• เงื่อนไขทางด้านเศรษฐกิจที่ปรากฏตลาดรองที่เหมาะสม ณ เวลาที่มีธุรกรรมขายหรืออนุญาตให้ใช้สิทธิ
• อุตสาหกรรมที่แนวทางทรัพย์สินทางปัญญาถูกใช้หรือจะใช้
• ลักษณะเฉพาะทางกายภาพของทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นแนวทาง โดยเปรียบเทียบกับทรัพย์สินทางปัญญาเป้าหมาย
• ลักษณะเฉพาะด้านการทำงานของทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นแนวทาง โดยเปรียบเทียบกับทรัพย์สินทางปัญญาเป้าหมาย
• ลักษณะเฉพาะทางเทคโนโลยีของทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นแนวทาง โดยเปรียบเทียบกับทรัพย์สินทางปัญญาเป้าหมาย
• ลักษณะเฉพาะทางเศรษฐกิจของทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นแนวทาง โดยเปรียบเทียบกับทรัพย์สินทางปัญญาเป้าหมาย
• การรวมกับทรัพย์สินอื่นที่ไม่ใช่ทรัพย์สินทางปัญญาในแนวทาง โดยอาจรวมถึงการขายทรัพย์สินเป็นชุด ซึ่งอาจรวมทรัพย์สินที่จับต้องได้หรือที่ดิน และทรัพย์สินทางปัญญา
อย่างไรก็ตาม แนวทางด้านตลาดนี้ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนักในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา
(3) แนวทางด้านรายได้ (Income approach)
แนวทางรายได้มุ่งเน้นความสามารถในการก่อให้เกิดรายได้ของทรัพย์สินที่ประเมิน แนวทางนี้วางอยู่บนพื้นฐานความคิดว่ามูลค่าของทรัพย์สินสามารถวัดได้จากมูลค่า ณ ปัจจุบันของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจสุทธิที่ได้รับตลอดระยะเวลาอายุของทรัพย์สิน
องค์ประกอบสำคัญสามประการของแนวทางรายได้คือ
1. จำนวนรายได้ที่เกิดจากทรัพย์สินและรูปแบบของเงินได้ที่จะได้รับ
2. ข้อสันนิษฐานระยะเวลาของแหล่งเงินได้
3. ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในการทำนายหรือคาดการณ์จำนวนรายได้
การวัดรายได้ของทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันอาจส่งผลให้แนวทางประเมินมูลค่าแบบรายได้ที่แตกต่างกันได้ ตัวอย่างของการวัดรายได้มีดังนี้
• รายได้สุทธิหรือยอดรวม (gross or net revenues)
• กำไรยอดรวม (gross profit)
• รายได้การดำเนินงานสุทธิ (net operating income)
• รายได้ก่อนหักภาษี (pretax income)
• รายได้สุทธิหลังหักภาษี (net income after tax)
• กระแสเงินสดที่ไหลเวียน (operating cash flow)
• กระแสเงินสดสุทธิ (net cash flow)
• รายได้ที่เพิ่มขึ้น (incremental income) และ
• การประหยัดต้นทุน (cost savings)
แนวทางรายได้นิยมใช้กันมากในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา แต่ปัญหาก็คือแม้ว่าวิธีการจะง่ายแต่ข้อมูลที่จะใช้ในการประเมินกลับยาก ตัวอย่างเช่น ง่ายที่จะคาดการณ์รายได้และกระแสเงินสดสุทธิของธุรกิจที่เติบโตแล้ว แต่ก็จะเป็นการยากที่จะคาดการณ์กระแสเงินสดสุทธิในเทคโนโลยีหนึ่ง โดยเฉพาะในระยะเริ่มแรก
จำนวนรายได้
การคาดการณ์จำนวนเงินได้ว่าทรัพย์สินทางปัญญามีความสามารถในการก่อรายได้ในอนาคตเป็นสิ่งที่ไม่ง่ายในการประเมิน ต้องใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญและทรัพยากรจำนวนมาก โดยทั่วไปทรัพย์สินทางปัญญาจะเพิ่มรายได้หรือลดรายจ่าย ไม่ว่าจะก่อให้เกิดเงินได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น