วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2567

หลักความแตกต่าง (Distinction) ในกฎหมายสงคราม

หลักความแตกต่างหรือบางครั้งเรียกว่าหลักเลือกปฎิบัติ เป็นหลักที่กำหนดให้คู่กรณีในความขัดแย้งต้องแบ่งแยกระหว่างกองกำลังทหารและพลเรือน และระหว่างสิ่งที่ต้องคุ้มครองและไม่คุ้มครองจากการทำสงคราม หลักความแตกต่างอาจเข้าใจว่าเป็นการรวมกลุ่มภาระหน้าที่ของทหารสองชุดเข้าด้วยกัน กล่าวคือคู่กรณีในความขัดแย้งต้องใช้กรอบประเภทกฎหมายสำหรับบุคคลและวัตถุสิ่งของโดยประการแรกต้องเลือกปฎิบัติในการดำเนินโจมตีต่อศัตรู และประการที่สองการแบ่งแยกบุคคลและวัตถุสิ่งของของคู่กรณี
หลักการแบ่งแยกถือเป็นกรอบประเภทของกฎหมายเพราะหลักความแตกต่างกำหนดให้คู่กรรีในความขัดแย้งต้องใช้กรอบประเภทกฎหมายสำหรับบุคคลและสิ่งของ โดยในแต่ละประเภทได้มีการกำหนดคุณลักษณะที่มีสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบที่แตกต่างกันในแต่ละประเภท โดยส่วนใหญ่แล้ว หลักความแบ่งแยกได้พยาามแบ่งแยกกองกำลังทหารออกจากพลเรือน แต่ในบางกรณี เช่น แพทย์ทหารและบุคลากรด้านศาสนาที่อาจถือว่าเป็นกองกำลังทหารในบางกรณี เช่น การถูกจองจำหรือกักขัง แต่อาจถือเป้นพลเรือนในบางกรณี เช่น ไม่ถือเป็นเป้าหมายในการโจมตี แต่ตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย บุคคลต้องไม่อ้างสิทธิที่แตกต่างเพื่อได้ประโยชน์ว่าเป็นทั้งทหารและพลเรือนในเวลาเดียวกัน
การเลือกปฏิบัติในการโจมตีต่อศัตรูนั้น หลักการแบ่งแยกกำหนดให้คู่กรณีในความขัดแย้งต้องเลือกปฏิบัติระหว่างกองกำลังทหารกับพลเรือน โดยต้องสอกคล้องกับหลักความจำเป็นทางทหารและหลักสิทธิมนุษยชนด้วย กล่าวคือคู่กรณีอาจกำหนดให้ทหารหรือเป้าทางทหารอื่นเป็นเป้าหมายในการโจมตีได้ และในขณะเดียวกันต้องไม่โจมตีพลเรือนและบุคคลที่ได้รับความคุ้มครอง นอกจากนี้ บุคคลที่ใช้กำลังโจมตีต้องเลือกปฏิบัติระหว่างเป้าหมายที่ชอบด้วยกฎหมายและไม่ชอบด้วยกฎหมายบนพื้นฐานของเจตนาสุจริตและข้อมูลที่มี ณ เวลานั้น
การแบ่งแยกบุคคลและสิ่งของที่เป็นของคู่กรณี โดยกำหนดให้คู่กรณีต้องควบคุมพลเรือนให้ใช้ความพยายามที่ดีที่สุดในการแบ่งแยกหรือจัดประเภทกองกำลังทหารและกิจกรรมในการทำสงครามจากสมาชิกของพลเรือนเพื่อให้มีความเป็นไปได้มากที่สุดเพื่อความสูญเสียของพลเรือนหรือความเสียหายต่อสิ่งของของพลเรือนที่เกิดขึ้นจากการโจมตีเป้าหมายทางทหารจะลดน้อยมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
คู่กรณีในความขัดแย้งต้องมีหน้าที่ ประการแรกคือการดำเนินมาตรการเพื่อช่วยประกันว่ากองกำลังทหารและพลเรือนสามารถแบ่งแยกความแตกต่างได้ด้วยสายตา และประการที่สอง การแบ่งแยกทางกายภาพระหว่างวัตถุประสงค์ทางทหารและพลเรือนและบุคคลหรือสิ่งของที่ไ้ดรับความคุ้มครอง ถ้าเป็นไปได้ และประการที่สาม คือ ห้ามการใช้บุคคลและสิ่งของที่ได้รับความคุ้มครองเป็นเกราะกำบังเป้าทางทหาร กล่าวคือ คู่กรณีที่ขัดแย้งมีหน้าที่ (1) ดำเนินมาตรการที่ชัดเจนเพื่อช่วยประกันกองกำลังทางทหารและพลเรือนสามารถแบ่งแยกได้ด้วยสายตา (2) การแบ่งแยกทางกายภาพเท่าที่จะเป็นไปได้ระหว่างเป้าหมายทางทหารและพลเรือน รวมทั้งบุคคลและสิ่งของที่ได้รับการคุ้มครอง และ (3) ห้ามจากการใช้บุคคลที่ได้รับการคุ้มครองเป็นเกราะกำบังโดยมิชอบ
มาตรการในการช่วยประกันว่ากองกำลังทหารและพลเรือนสามารถแบ่งแยกได้ด้วยสายตาหรือการมองเห็นจากคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง ประการแรก คู่กรณีที่ขัดแย้งต้องไม่ปลอมปนกองกำลังที่ติดอาวุธเป็นพลเรือนหรือบุคคลประเภทที่ได้รับความคุ้มครองเพื่อสังหารหรือทำร้ายศัตรู ประการที่สอง กฎอื่นกำหนดให้คู่กรณีต้องทำเครื่องหมายบุคคลหรือสิ่งของที่ได้รับความคุ้มครองเพื่อช่วยประกันว่าบุคคลนั้นจะได้รับความคุ้มครองตามสถานะ ประการที่สาม กฎบางข้อส่งเสริมคู่กรณีที่ขัดแย้งในการระบุบุคคลหรือวัตถุบางประเภทในฐานะที่ไม่ได้รับความคุ้มครอง ตัวอย่างเช่น ระหว่างมีการสู้รบด้วยอาวุธ สมาชิกของขบวนการต่อต้านต้องสมใส่เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ที่ติดไว้ชัดเจนที่มองเห็นด้วยสายตาและติดอาวุธโดยเปิดเผยเพื่อทำให้แตกต่างจกาพลเรือนเพื่อสมาชิกของกลุ่มจะได้รับสถานะ POW
มาตรการที่เป็นไปได้ในการแบ่งแยกวัตถุประสงค์ทางการทหารที่เป็นของคู่กรณีอีกฝ่ายจากพลเรือนและบุคคลและสิ่งของที่ได้รับความคุ้มครอง หลักความแตกต่างได้สร้างพันธะกรณีสำหรับคู่กรณีที่ขัดแย้งในการดำเนินมาตรการที่เป็นไปได้เพื่อแบ่งแยกในทางกายภาพเป้าหมายทางการทหารจากพลเรือนและบุคคลหรือสิ่งของที่ได้รับความคุ้มครอง ตัวอย่างเช่น ความเหมาะสมในการอพยพพลเรือนจากพื้นที่อันตราย หรือหากเป็นไปได้ผู้บัญชาการทหารควรหลีกเลี่ยงการวางเป้าหมายทางทหารในพื้นที่หนาแน่นปะปนกับพลเรือน และในความเมหาะสมอาจจัดตั้งพื้นที่ที่พลเรือนและบุคคลหรือสิ่งของที่ได้รับการปกป้องในที่ปลอดภัย
การห้ามการใช้ บุคคลและสิ่งของที่ไ้ดรับความคุ้มครองเป็นเหราะเพื่อวัตถุประสงค์ทางการทหาร ตัวอย่างเช่น มีการห้ามนำตัวเชลยศึกหรือบุคคลอื่นที่ได้รับความคุ้มครองเพื่อให้ได้รับอันตรายโดยจงใจเพื่อวัตถุประสงค์ชะลอการดำเนินการทางทหารของศัตรู การใช้บุคคลที่ได้รับความคุ้มครองเพื่อเป็นเกราะป้องกันเป้าหมายทางการทหารโดยมิชอบถือว่าเป็นการกระทำผิดทางเกียรติยศของทหาร เพราะเป็นการกระทำที่ละเมิดความเชื่อถือต่อศัตรูและไม่เคารพกฎหมายว่าด้วยสงคราม
อนึ่ง มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับหลักความแตกต่าง กล่าวคือหลักความแตกต่างพยายามประกันว่าบุคคลที่ได้รับความคุ้มครองและประเภทที่ไม่ได้รับความคุ้มครองมีความแตกต่างระหว่างกัน ตัวอย่างเช่น การใช้ยุทธวิธีการพรางตัวต้องสอดคล้องกับหลักความแตกต่างเพราะการพรางตัวด้วยใบไม้ถือว่าอยู่ในประเภทที่ไม่ได้รับความคุ้มครองและเครื่องแบบทหารที่กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อม แต่ก็ต้องมีความแตกต่างจากพลเรือน
 หลักความแตกต่างได้ระบุในเรื่องสิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบที่แตกต่างกันตามประเภทที่มีการแบ่งแยก โดยไม่ได้กำหนดว่าบุคคลหรือสิ่งของเฉพาะใดจะต้องอยู่ภายใต้ประเภทใด ตัวอย่างเช่น หลักความแตกต่างไม่ได้ห้ามวิตถุหรือสิ่งของของพลเรือนในการใช้งานเพื่อวัตถุประสงค์ทางทหาร ดังนั้น อาจถือว่าเป้นประเภทของสิ่งของทางการทหารได้ แต่หากสิ่งของดังกล่าวถูกยึดโดยศัตรู สิ่งของดังกล่าวอาจถูกยึดได้เมื่อมีเหตุผลความจำเป็นทางสงคราม หรือในกรณีที่บุคคลที่ได้รับการฝึกอบรมหรือมีความรู้ทางการแพทย์หรือบุคคลที่สามารถช่วยด้านการรักษาพยาบาลได้ในสงครามอาจไม่จำเป็นต้องเป็นบุคลากรทหารและไม่ต้องถูกระบุว่าเป็นทหาร รัฐต้องสงวนความสามารถในการใช้งานบุคคลดังกล่าวในฐานะศัตรูด้วยการห้ามจากการกำหนดให้เป็นเพียงกิจกรรมทางการแพทย์เท่านั้นได้
หน้าที่เสริม การโจมตีและการแบ่งแยกบุคคลของตนเองนั้น การเลือกปฏิบัติในการดำเนินการโจมตีศัตรูและแบ่งแยกบุคคลและสิ่งของของฝ่ายตนเองเป็นการเสริมแรง ฝ่ายหนึ่งจะไม่ได้รับการปลดเปลื้องภาระหน้าที่ในการเลือกปฏิบัติในการโจมตีจากการที่ฝ่ายตรงข้ามไม่สามารถแยกแยะ วัตถุประสงค์ทางทหารจากบุคคลและวัตถุที่ได้รับการคุ้มครองได้ อย่างไรก็ตาม ความสามารถในทางปฏิบัติของฝ่ายในความขัดแย้งในการเลือกปฏิบัติในการโจมตีมักขึ้นอยู่กับระดับที่ศัตรูแยกแยะวัตถุประสงค์ทางทหารจากบุคคลและวัตถุที่ได้รับการคุ้มครองได้ ตัวอย่างเช่น หากกองกำลังของศัตรูปะปนกับพลเรือน ฝ่ายนั้นก็อาจไม่สามารถหลีกเลี่ยงการทำร้ายพลเรือนโดยบังเอิญได้
นอกจากนี้ ระดับที่กองกำลังของศัตรูเลือกปฏิบัติในการโจมตีอาจส่งผลต่อการที่ฝ่ายนั้นแยกแยะบุคคลและวัตถุที่ได้รับการคุ้มครองจากวัตถุประสงค์ทางทหารได้หรือไม่ ตัวอย่างเช่น หากกองกำลังศัตรูไม่เคารพสัญลักษณ์กาชาด แต่โจมตีบุคคลที่สวมสัญลักษณ์ดังกล่าวโดยเฉพาะ ฝ่ายที่ถูกโจมตีจะมีโอกาสแยกแยะบุคลากรทางการแพทย์กับยานพาหนะของตนได้น้อยลง ในทำนองเดียวกัน หากผู้ก่อความไม่สงบพยายามโจมตีพลเรือนในความขัดแย้งด้วยอาวุธที่ไม่ใช่ระหว่างประเทศ การจัดวางกองกำลังทหารไว้ใกล้กับประชากรพลเรือนอาจมีความจำเป็นต่อการปกป้องประชากรพลเรือน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น