วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2567

หลักความจำเป็นทางการทหาร

หลักความจำเป็นทางทหารเป็นหลักกฎหมายที่ให้เหตุผลในการใช้มาตรการที่จำเป็นทั้งหมดในการเอาชนะศัตรูอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ แต่มาตรการดังกล่าวต้องไม่ถูกห้ามตามกฎหมายสงคราม หลักความจำเป็นทางทหารปรากฎในเอกสารของทางทหาร คำพิพากษาของศาล และงานวิชาการ กล่าวได้ว่าหลักความจำเป็นทางทหารเป็นการให้เหตุผลสำหรับการกระทำที่สมเหตุสมผล เช่น การทำลาย ควบคุมบุคคลและยึดทรัพย์สิน ความจำเป็นทางทหารอยู่ภายใต้แนวคิดของกฎหมายสงครามที่ใช้อธิบายเมื่อบุคคลและทรัพย์สินเป็นเป้าหมายของการโจมตี เช่น แนวคิดวัตถุประสงค์ทางการทหาร หรือการยึดส่วนหนึ่งของศัตรู ตวสมจำเป็นทางทหารอาจมีความสมเหตุสมผลในการใช้กำลังความรุนแรงและทำลายทรัพย์สิน แต่เป็นทางเลือกในการลดทอนกำลังศัตรู ตัวอย่างเช่น ความจำเป็นทางทหารอาจสมเหตุสมผลในการจับกุมตัวบุคลากรของศัตรูไว้ หรือมีมาตรการที่ไม่ใช่กำลัง เช่น การโฆษณาชวนเชื่อและการสืบข่าวกรอง ความจำเป็นทางทหารอาจสมเหตุสมผลสำหรับความเสียหายในบางสถานการณ์ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ที่เกิดจากการกระทำที่สมเหตุสมผล ขอบเขตของความจำเป็นทางทหาร เช่น ความเสียหายที่เป็นไปตามหลักความได้สัดส่วน

หลักความจำเป็นทางทหารและกฎภายใต้กฎหมายสงคราม กล่าวคือหลักความจำเป็นทางทหารไม่ได้อนุญาตให้การกระทำที่ถูกห้ามตามกฎหมายว่าด้วยสงครามเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เยอรมันนียืนยันว่าความจำเป็นทางทหารสามารถใช้เป็นข้ออ้างที่ชอบด้วยแทนกฎบางข้อของกฎหมายว่าด้วยสงคราม หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าความจำเป็นทางทหารจะสามารถใช้บังคับแทนการกระทำทั่วไปในช่วงเกิดสงคราม แต่แนวคิดนี้ได้รับการวิจารณ์อย่างรุนแรง หลังสงครามโลกครั้งที่สอง คณะกรรมาธิการอาชญากรสงครามได้วินิจฉัยปฏิเสธการให้เหตุผลดังกล่าว
หลักความจำเป็นทางทหารไม่อนุญาตการถอนกองกำลังแตกต่างจากกฎหมายว่าด้วยสงครามเพราะนัฐสามารถออกกฎหมายสงคราม เป็นการเฉพาะในกรณีเร่งด่วนฉุกเฉิน ในการออกแบบกฎหมายว่าด้วยสงคราม รัฐอาจกำหนดเงื่อนไขของการดำเนินงานของทหารไว้ ดังนั้น ข้อห้ามเกี่ยวกับพฤติกรรมในกฎหมายว่าด้วยสงครามอาจถูกเข้าใจว่าสะท้อนการพิจารณาของรัฐว่าพฤติกรรมดังกล่าวเป็นความจำเป็นทางการทหารด้วยตัวมันเอง 
การบรรจุหลักความจำเป็นทางทหารเข้าไปในกฎหมายว่าด้วยสงคราม แม้ว่าความจำเป็นทางทหารให้เหตุผลแก่การกระทำที่ถูกห้ามตามกฎหมายว่าด้วยสงคราม กฎบางข้อได้สแดงชัดเจนว่าให้นำหลักความจำเป็นทางทหารมาใช้บังคับ เช่น กฎบางข้อของกฎหมายว่าด้วยสงครามระบุให้การออกจากพื้นที่หรือละทิ้งสิ่งของตามที่กฎอนุญาตหากมีความจำเป็นทางทหาร ในกรณีดังกล่าว ความจำเป็นทางทหารต้องไม่รวมหรือปะปนกันด้วยเหตุผลความสะดวก ตัวอย่างของการนำแนวคิดความจำเป็นทางทหารเข้าไปในกฎหมายว่าด้วยสงคราม มีดังนี้
• กิจกรรมของผู้แทนหรือตัวแทนของกลุ่มอำนาจที่ปกป้องต้องถูกจำกัดโดยความจำเป็นทางทหารด้วยความจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
• การกักขังหรือจองจำบุคคลที่ได้รับการปกป้องในสถานที่ที่กำหนดอาจได้รับคำสั่งเพียงเท่าที่การรักษาความปลอดภัยของอำนาจในการกักขังได้พิจารณาถึงกรณีที่มีความจำเป็นเท่านั้น
• หากอำนาจยึดครองพิจารณาถึงความจำเป็นด้วยเหตุผลทางการรักษาความปลอดภัยและมีการดำเนินมาตรการรักษาความปลอดภัยเพื่อปกป้องบุคคลที่ส่วนใหญ่จะอยู่ภายใต้การอารักษาหรือดูแล
• การยึดหรือทำลายทรัพย์สินของศัตรูต้องไม่ทำเกินกว่าความจำเป็นของสงคราม กฎบางข้อของกฎหมายสงครามอาจสั่งการให้บุคคลปฏิบัติตามคำสั่งหรือพันธกรณี โดยขอบเขตที่เป็นไปได้หรือสอดคล้องกับความจำเป็นทางทหาร ตัวอย่างเช่น
• หน้าที่ต้องปฏิบัติบางอย่างต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวังเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อลดความเสี่ยงจากอันตรายที่เกิดขึ้นกับพลเมืองและบุคคลและสิ่งของที่ได้รับการปกป้อง
• บุคลากรทางการแพทย์และศาสนา หากได้รับการจับกุมหรือกักขังโดยไม่มีความจำเป็นจะต้องได้รับการปล่อยตัวทันทีที่เส้นทางคมนาคมเปิดให้เดินทางกลับและต้องได้รับอนุญาตก่อน
• หากมีความจำเป็นทางทหารกำหนดให้ประมาณการณ์จำนวนสิ่งของช่วยเหลือแก่พลเมืองที่ถูกกักขังมีจำกัด ต้องมีการแจ้งที่สมเหตุสมผลไปยังอำนาจที่ปกป้องและคณะกรรมาธิการกาชาดระหว่างประเทศหรือหน่วยงานระหว่างประเทศในการให้ความช่วยเหลือแก่เชลยและต้องรับผิดชอบในการจัดการส่งของที่ขนส่งดังกล่าวด้วย

การบังคับหลักความจำเป็นทางทหาร กล่าวคือหลักความจำเป็นทางทหารเป็นแนวคิดที่ยากในการให้นิยามและใช้บังคับในทางปฏิบัติจริง เช่น อะไรคือความจำเป็นในสงครามโดยอาจขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงและสถานการณ์แวดล้อมในขณะนั้น และบริบทของผู้คนที่เกี่ยวข้องที่มักประเมินความจำเป็นทางทหารแตกต่างกันออกไป ด้วยลักษณะที่มีข้อจำกัดและะไม่แน่ชัดของข้อมูลที่มีในระหว่างสงครามจึงทำให้ยากในการประเมินผลว่าอะไรคือความจำเป็นทางการทหาร ความยากดังกล่าวเพราะกฎหมายว่าด้วยสงครามกำหนดให้ความจำเป็นทางการทหารมีความสำคัญในตัวมันเองและเป็นองค์ประกอบของหลักการและกฎอื่นๆ อีกมาก กฎหมายว่าด้วยสงครามพยายามลดความไม่ชัดเจนของหลักการนี้โดย (1) การอนุญาตให้การพิจารณาความจำเป็นมีขอบเขตที่กว้างขวางมากขึ้นของการชนะสงครามที่ต้องการความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ (2) ตระหนักบางประเภทของการกระทำที่มีลักษณะเป็นความจำเป็นทางการทหารในตัวมันเอง และ (3) ตระหนักว่าบุคคลต้องประเมินความจำเป็นทางทหารของการกระทำด้วยเจตนาดีบนพื้นฐานของข้อมูลที่ปรากฎในช่วงเวลานั้นและต้องไม่ถูกพิจารณาบนพื้นฐานของข้อมูลที่เกิดผลลัพธ์ต่อมาในภายหลัง
การพิจารณาความจำเป็นในการเอาชนะสงครามแบบกว้าง ในการประเมินความจำเป็นทางการทหาร บางคนอาจพิจารณาว่าความจำเป็นในการเอาชนะทางทหารอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเท่าที่จะเป็นไปได้และไม่ได้ถูกจำกัดในการพิจารณาความต้องการของสถานการณ์เฉพาะ หลักการความจำเป็นทางทหารสนับสนุนมาตรการที่จำเป็นในการบรรลุเป้าหมายของสงครามและเป้าหมายของสงครามไม่เพียงแต่เป็นหลักและแต่ยังเหนือกว่าการดำเนินการทางการทหารที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น ในการประเมินความได้เปรียบทางการทหารในการโจมตีเป้าหมาย อาจพิจารณาว่ายุทธศาสตร์สงครามในภาพรวมมากกว่าการได้เปรียบในการโจมตีเป้าหมายทางยุทธการย่อย การตีความความจำเป็นทางทหารที่อนุญาตให้พิจารณาสถานการณ์ที่ทันทีทันใดอาจยืดเยื้อในการสู้รบและเพิ่มความสูญเสียที่เกิดจากสงครามมากขึ้น
นักวิจารณ์บางคนโต้แย้งว่าความจำเป็นทางทหารต้องถูกตีความในเชิงการอนุญาตอะไรที่เป็นความจำเป็นจริงๆ ในสถานการณ์ทีปรากฎเท่านั้น เช่น การกำหนดให้ผู้บัญชาการต้องพยายามจับกุมข้าศึกของศัตรูเท่าที่จะทำได้ดีกว่าการโจมตีหรือสังหาร การตีความดังกล่าวไม่ได้สะท้อนกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศหรือกฎหมายสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่บังคับใช้กับทหาร ตัวอย่างเช่น กฎหมายว่าด้วยสงครามไม่ได้กำหนดให้ข้อศึกต้องได้รับการเตือนก่อนการเข้าโจมตีหรือให้โอกาสในการยอมแพ้
การตระหนักถึงบางประเภทของการกระทำเป็นความจำเป็นทางทหารในตัวมันเอง กฎหมายสงครามตระหนักว่าการกระทำบางประเภทเป็นความจำเป็นทางทหารในตัวมันเอง เช่น การโจมตีทหารของข้าศึกถือเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย ในกรณีคล้ายกันคือการกักขังข้าศึกไว้เป็นเชลยถือว่าชอบด้วยกฎหมาย กฎดังกล่าวถูกมองว่าเป็นตัวอย่างของวิธีการใช้หลักความจำเป็นทางทหาร และความจำเป็นในการอ้างกฎหมายพื้นฐานของสงครามในฐานะเป็นแนวปฏิบัติทั่วไปของการกระทำในช่วงสงคราม
การประเมินความจำเป็นทางทหารด้วยเจตนาดีอิงข้อมูลที่มีอยู่ ซึ่งเรียกว่ากฎเรนดูลิก (Rendulic Rule) กฎหมายว่าด้วยสงครามตระหนักว่าบุคคลต้องประเมินความจำเป็นทางการทหารของการกระทำที่อิงข้อมูลที่มีอยู่ ณ เวลานั้น ไม่สามารถถูกตัดสินบนพื้นฐานของผลลพธ์ที่เกิดขึ้นตามมาภายหลัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น