วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สิทธิในการทำแท้งในสหรัฐอเมริกา

ในสหรัฐอเมริกาศตวรรษที่ 20 ไม่มีคำวินิจฉัยของศาลสูงสุดใดที่มีการวิจารณ์มากเท่ากับ คดี Roe v. Wade ซึ่งตัดสินในปี ค.ศ. 1973  ศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาวินิจฉัยว่า ผู้หญิงมีสิทธิในการเลือกที่จะทำแท้งในระหว่างแรกของระยะเวลาการตั้งครรภ์ ทนายของฝ่าย Roe ฟ้องร้องว่าบทบัญญัติของกฎหมายมลรัฐเท็กซัสซึ่งห้ามการทำแท้ง เว้นแต่กรณีมีความจำเป็นเพื่อรักษาชีวิตของมารดาที่ตั้งครรภ์ ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหลายมาตรา อาทิ บทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 การปฏิเสธการให้ความคุ้มครองที่เท่าเทียมกัน และการฝ่าฝืนบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 9 ซึ่งระบุว่าสิทธิบางประการไม่ได้บรรจุอยู่ในบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งแปดฉบับแรกเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป

ทั้งนี้ ศาลในคดี Roe v. Wade เลือกที่จะอิงตามคำวินิจฉัยของบทบัญญัติกระบวนการที่ชอบด้วยกฎหมาย (Due Process) ของบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 14 และที่เรียกว่า "สิทธิส่วนตัว" (Right of Privacy) ที่ได้รับความคุ้มครองตามคำวินิจฉัยเดิมในคดี Griswold v. Connecticut ที่เกี่ยวกับการห้ามการใช้ จำหน่าย และจ่ายแจกอุปกรณ์คุมกำเนิด ในคดี Planned Parenthood v. Casey ได้กลับหลักคำพิพากษาคดี Roe v. Wade ซึ่งคดี Casey นี้ศาลได้ยึดหลักการกำกับดุแลการทำแท้งโดยใช้เกณฑ์ใหม่ คือ การกำกับดูแลดังกล่าวสร้างภาระเกินสมควรแก่สิทธิของผู้หญิงในการเลือกทำแท้งหรือไม่ 

ต่อมาในปี ค.ศ. 2007 คดี Gonzales v Carhart ศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาได้รับรองกฎหมายรัฐบาลกลางที่ห้ามการทำแท้งบางกรณี (partial birth abortions) รัฐสภาประกาศกระบวนการการทำแท้งในการตั้งครรภ์ระยะหลังที่ไม่ต้องมีความเห็นทางการแพทย์ว่า "ไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์" สมาคมแพทย์บางสมาคมไม่เห็นด้วยความคำวินิจฉัยของศาลและศาลไม่ได้วินิจฉัยการออกกฎหมายที่ผู้หญิงอาจโต้แย้งว่า กระบวนการดังกล่าวเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการรักษาสุขภาพของตน แม้ว่าในระยะเวลาและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในการนำผลมาท้าทาย ทางเลือกดังกล่าวอาจไม่มีทางรอดมากนัก  แพทย์ที่อยู่ระหว่างในระหว่างการทำแท้งที่ต้องตัดสินกระบวนการทำแท้งบางกรณีที่มีความอันตรายน้อย กฎหมายว่าด้วยการแสดงภาพทารกในครรภ์ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ ในมลรัฐแคโรไลน่าเหนือและอีกหลายมลรัฐได้ออกกฎหมายที่ห้ามผู้หญิงทำแท้ง เว้นแต่จะมีการตรวจสอบด้วยการทำอัลตร้าซาว์นและแพทย์แสดงรูปภาพทารกให้ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์เห็น กฎหมายดังกล่าวถูกท้าทายว่าขัดต่อบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 โดยในปี ค.ศ. 2011 ศาลชั้นต้นของสหพันธ์รัฐในเขตมลรัฐแคโรไลน่าเหนือได้มีคำสั่งระงับการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวโดยใช้เกณฑ์การพิจารณาแบบเคร่งครัดและให้เหตุผลว่ากฎหมายดังกล่าวฝ่าฝืนสิทธิของแพทย์ตามบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 เนื่องจากเป็นการคำพูดที่ถูกบังคับ (Compelled speech) โดยการบังคับให้แพทย์ต้องแสดงภาพทารกจากการอัลตร้าซาว์นกับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์และมลรัฐไม่มีอำนาจหรือผลประโยชน์ในการบังคับดังกล่าวและไม่ได้มีมาตรการที่เฉพาะอย่างเหมาะสมเพื่อคุ้มครองสิทธิของคนป่วยจากความทุกข์ทั้งทางจิตใจและอารมณ์ในภายหลังอย่างเพียงพอ แต่ศาลไม่ได้ใช้หลักกระบวนการชอบด้วยกฎหมายในสารบัญญัติ (substantive due process claim)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น