วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

หลักกระบวนการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม


ประเด็นที่ถกเถียงกันมาในช่วงหลังนี้เกี่ยวกับบทบัญญัติสิทธิมนุษยชนของสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่หนึ่ง เสรีภาพการแสดงออก กับบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่หก การประกันสิทธิผู้ต้องหาคดีอาญาในกระบวนการพิจารณาคดีที่เป็นธรรมโดยลูกขุนที่เป็นกลาง ซึ่งที่ผ่านมาศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาได้วางหลักการพื้นฐานไว้ดังนี้

ในคดีแรก Sheppard v Maxwell เกี่ยวข้องกับคดีฆาตกรรมที่โด่งดังซึ่งเชื่อกันว่าได้รับแรงบันดาลใจจากรายการทีวีและภาพยนตร์เรื่อง Fugitive กล่าวคือนายเชฟเฟิร์ดผู้ถูกกล่าวหาในคดีฆาตกรรมภรรยาสาวเมื่อ 12 ปีที่แล้วชนะคดีหลังจากทนายความนายลี เบลลีย์ได้ยื่นขอพิจารณาคดีใหม่ ซึ่งใช้กลยุทธ์กล่าวหาว่าศาลสูงสุดถูกอิทธิพลและแรงกดดันจากสื่อมวลชน ดังนั้น ในการพิจารณาคดีในครั้งแรกจึงขัดต่อหลักการกระบวนพิจารณาคดีที่เป็นธรรม  ในที่สุดนายเชฟเฟิร์ดก็ได้รับการพิจาราว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ หลักฐานที่นายเชฟเฟิร์ดแสดงต่อศาลว่าสื่อมวลชนที่ขาดการควบคุมกำกับดูแลได้เรียกร้องให้มีการจับกุมนายเชฟเฟิร์ดและกล่าวหาว่าเป็นคนโกหก ตีพิมพ์เรื่องราวว่านายเชฟเฟิร์ดปฏิเสธเข้ารับการทดสอบเครื่องจับเท็จและตรวจสอบรูปภาพในสถานที่เกิดเหตุ พร้อมชี้นำว่าอาวุธที่ใช้การสังหารภรรยาคือเครื่องมือผ่าตัด ศาลสูงสุดจึงตัดสินว่าการดำเนินคดีดังกล่าวอยู่ภายใต้บรรยากาศที่สื่อมวลชนสร้างสถานการณ์เร่งเร้าและมีการชี้แนะว่าศาลควรตัดสินใช้มาตรการที่เข้มงวดในการคุ้มครองสิทธิในการได้รับการพิจารณาภายใต้กระบวนการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม 
ใน 10 ปีต่อมา ศาลพิจารณาว่าความเหมาะสมของมาตรการที่เข้มงวดของศาลในคดีฆาตกรรมในมลรัฐเนวาด้า คดี Nebraska Press v Stuart  พิจารณาว่าคำสั่งห้ามสื่อมวลชนตีพิมพ์หรือเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการสารภาพของจำเลยในคดีอาญาหรือปัจจัยอื่นส่งผลร้ายต่อผู้ถูกกล่าวหาอย่างมีนัยสำคัญว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญ   ศาลสูงสุดตัดสินโดยมติเอกฉันท์คำสั่งห้ามดังกล่าวฝ่าฝืนบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่หนึ่งที่คุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออก คำสั่งก้ามดังกล่าวชอบด้วยรัฐธรรมนูญเมื่อสามารถอธิบายเหตุผลที่สมเหตุสมผลได้และเมื่อไม่มีทางเลือกอื่นในการกำกับดูแลเพื่อปกป้องกระบวนการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม ความเห็นของผู้พิพากษาอีกสามท่านเห็นพ้องว่าคำสั่งห้ามดังกล่าวเป็นรูปแบบหนึ่งของการข้อห้ามล่วงหน้า (prior restraints) ที่มักถูกพิจารณาว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ ในขณะที่ผู้พิพากษาอีกสองท่านแสดงความสงสัยเชิงกังวลว่าคำสั่งห้ามดังกล่าวอาจคาบเส้นว่าจะขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ 

ในคดี Gentile v State Bar of Nevada (1991) ศาลพิจารณาว่าทนายจำเลยในคดีอาญาอาจถูกลงโทษโดยเนติบัณฑิตยสภาของมลรัฐสำหรับการพูดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีก่อนเริ่มกระบวนการพิจารณาคดี ในประเด็นแรก ผู้พิพากษา 5 ท่านเห็นด้วยว่ารัฐธรรมนูญอนุญาตให้รัฐสามารถกำหนดข้อจำกัดการพูดหรือการแสดงออกของทนายที่ไม่อนุญาตให้พูดกับผู้สื่อข่าว ในขณะที่ผู้พิพากษาอีก 4 ท่านยืนยันว่าการจำกัดการแสดออกหรือการพูดของทนายความสมเหตุสมในแง่ของการปกป้องประโยชน์สาธารณะและบังคับใช้อย่างเฉพาะเจาะจง แต่โจทก์ในคดีนี้ชนะในการอุทธรณ์เนื่องจากผู้พิพากษาเสียงข้างมากท่านหนึ่งเห็นด้วยในประเด็นว่าการลงโทษโจทก์นั้นไม่ชอบเนื่องจากไม่ได้มีการเตือนหรือแจ้งให้ทราบอย่างเหมาะสม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น