วันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557

ทฤษฎีกฎหมายความรับผิดในสินค้าที่บกพร่องในสหรัฐอเมริกา

กฎหมายความรับผิดในสินค้าที่บกพร่องเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ผู้ขายสินค้าต่อสาธารณะจะต้องมีความรับผิดชอบสำหรับอันตรายหรือความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่บกพร่อง ในสหรัฐอเมริกา การฟ้องร้องดำเนินคดีทั่วไปเกี่ยวกับความรับผิดในสินค้าคือการประเชมาทเลิ่นเล่อ ความรับผิดโดยเคร่งครัด การละเมิดสัญญารับประกันสินค้า และการคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายความรับผิดในสินค้าส่วนใหญ่เป็นกฎหมายระดับมลรัฐและแตกต่างกันไปในแต่ละมลรัฐ แต่ละประเภทของการฟ้องร้องคดีจึงแตกต่างกันในการพิสูจน์ตามองค์ประกอบของกฎหมาย ซึ่งสรุปได้ดังนี้  
  
หลักละเมิดการรับประกันสินค้า (Breach of Warranty) 
การละเมิดการรับประกันมีที่มาจากกฎหมายสัญญา กล่าวคือการรับประกันสินค้าระหว่างผู้ซื้อสินค้าและผู้ขายสินค้า การรับประกันสินค้าเป็นเหมือนกับกรณีผู้ค้ำประกันซึ่งอาจเป็นการรับประกันที่ชัดเจนและทางอ้อม การรับประกันโดยชัดแจ้งเป็นถ้อยคำว่าผู้ขายว่าครีมโลชั่นนี้จะรักษาอาการศีรษะล้านภายในสามสิบวัน ส่วนการรับประกันทางอ้อมเป็นสิ่งที่กฎหมายกำหนดกับผู้ซื้อ การรับประกันทางอ้อมมีสองประการคือความสามารถในการค้าขายได้ (merchantability) และความเหมาะสม (fitness) ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด ความสามารถในการค้าขายได้หมายถึงสินค้าสอดคล้องกับความคาดหวังของตลาด ตัวอย่างคือผู้ซื้อคาดหวังว่าการซื้อรถยนต์จะต้องมีล้อ การรับประกันสำหรับความเหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะหมายถึงสินค้าดังกล่าวจะทำงานตามหน้าที่ตามวัตถุประสงค์ของสินค้า ตัวอย่างเช่น รถยนต์ออฟโรด์ต้องมีความสามารถใช้งานนอกถนนทั่วไปได้           
การละเมิดสัญญารับประกันสินค้ามักใช้ในการฟ้องร้องความรับผิดในสินค้าที่บกพร่อง การละเมิดการรับประกันสินค้ามีข้อจำกัดที่จำกัดการใช้ประโยชน์ของสินค้า ประการแรก การละเมิดการรับประกันสินค้าอิงสัญญาเป็นข้อตกลงระหว่างคู่กรณีที่ได้รับความเสียหายและผู้ขาย ข้อตกลงหมายถึงสัญญาโดยตรงระหว่างคู่กรณี ดังนั้น การละเมิดการรับประกันสินค้า ผู้ได้รับความเสียหายสามารถฟ้องร้องผู้ขายสินค้า ไม่ใช่ผู้ผลิตหรือคู่กรณีอื่นที่ทำให้เกิดความบกพร่อง ปัญหาต่อมาของการละเมิดการรับประกันสินค้าคือว่าผู้ขายมักกำหนดข้อจำกัดในการรับประกันสินค้าไว้ในสัญญาที่สามารถจำกัดว่าอะไรบุคคลที่เสียหายสามารถตกลงได้

หลักความประมาทเลินเล่อ (Negligence) 
หลักความประมาทเลินเล่อหมายถึงการขาดความระมัดระวังเยี่ยงวิญญูชนทั่วไป หากบุคคลหรือบริษัทประมาทเลินเล่อทำให้สินค้ามีข้อบกพร่อง บุคคลหรือบริษัทนั้นต้องรับผิดสำหรับอันตรายที่เกิดขึ้น คู่กรณีที่ประมาทเลินเล่ออาจเป็นผู้ผลิต ผู้ออกแบบ ผู้จัดจำหน่าย ผู้ขายชิ้นส่วน หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องที่มีความรับผิดชอบในสินค้าที่มีข้อบกพร่อง หลักการพื้นฐานดังกล่าวนิยมใช้แต่ไม่อยู่ภายใต้ข้อจำกัดของการละเมิดสัยญารับประกันสินค้า บุคคลที่ประมาทเลินเล่อมีส่วนต่อสินค้าที่ก่อให้เกิดความเสียหายต้องมีความรับผิด ความพยายามในการจำกัดการรับประกันสินค้าไม่ได้ให้ความสำคัญกับการฟ้องร้องเรื่องประมาทเลินเล่อ  ปัญหาประการหนึ่งของการประมาทเลินเล่อคือการพิสูจน์ว่าคู่กรณีที่มีความรับผิดชอบแท้จริงต่อสินค้าที่บกพร่อง อย่างไรก็ไม่มีความชัดเจนและต้องมีการตรวจสอบในรายละเอียด
     
 หลักความรับผิดโดยเคร่งครัด (Strict Liability) 
คล้ายกับหลักความประมาทเลินเล่อ หลักความรับผิดโดยเคร่งครัดอนุญาตให้คู่กรณีที่ได้รับความเสียหายเรียกร้องค่าเสียหายจากบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบสินค้าที่มีข้อบกพร่องหรือไม่ปลอดภัย แต่แตกต่างกับหลักความประมาทเลินเล่อว่าบุคคลที่ได้รับอันตรายไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ว่าใครไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ หลักความรับผิดโดยเคร่งครัดใช้กับกรณีของสินค้าที่มีข้อบกพร่องและอันตรายอย่างไม่สมเหตุสมผลเท่านั้น คู่กรณีใดที่เกี่ยวข้องในทางการพาณิชย์สามารถรับผิดตามหลักความรับผิดโดยเคร่งครัดไม่ว่าจะเป็นจะผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ผู้ขาย หรือผู้ประกอบชิ้นส่วน ซึ่งอนุญาตให้คู่กรณีที่เสียหายสามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้ง่ายและถูกกว่า โดยเฉพาะถ้าผู้ผลิตสินค้ามีสถานที่ประกอบการอยู่ต่างประเทศ ผู้จัดจำหน่ายและผู้ขายในสหรัฐอเมริกาสามารถถูกฟ้องร้องโดยไม่ต้องเรียกให้ผุ้ผลิตสินค้าต่างชาติต้องถูกฟ้องโดยบุคคลที่เสียหาย

หลักคุ้มครองผู้บริโภค (Consumer Protection)
นอกจากการฟ้องร้องตามหลักกฎหมายคอมมอนลอว์ดังกล่าวข้างต้น มลรัฐต่าง ๆ ได้บัญญัติกฎหมายลายลักษณ์อักษรคุ้มครองผู้บริโภคที่กำหนดการแก้ไขเยี่ยวยาสำหรับข้อบกพร่องของสินค้า การเยียวยาตามกฎหมายลายลักษณ์อักษรของมลรัฐมักข้อบกพร่องที่ทำให้สินค้าไม่สามารถใช้งานได้และก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ แต่ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายทางร่างกายหรือความเสียหายกับทรัพย์สิน หลักความสูญเสียทางเศรษฐกิจหมายถึงความรับผิดโดยเคร่งครัดไม่สามารถใช้ได้ในกรณีสินค้าก่อให้เกิดความเสียหายกับตนเองเท่านั้น ตัวอย่างที่ชัดเจนคือกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคสำหรับสินค้าที่ไม่ปลอดภัยมักใช้กับกรณีของรถยนต์




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น