วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2561

หลักความรับผิดชอบของรัฐตามมาตรา 6 และมาตรา 8 ของสนธิสัญญาอวกาศ

ด้วยความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประกอบกับความทะเยอทะยานของบางประเทศสามารถนำมนุษย์ขึ้นสู่อวกาศ และที่ผ่านมาได้สร้างความก้าวหน้าและสร้างประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ในด้านหลายๆ ด้าน อาทิ ระบบสื่อสารโทรคมนาคม การสำรวจข้อมูลระยะไกล (Remote Sensing) อุตุนิยมวิทยา กิจกรรมด้านการทหาร เป็นต้น และด้วยเหตุที่ประเทศต่างๆ ต้องการใช้อวกาศเพื่อประโยชน์ในด้านต่างๆ จนมีความกังวลว่าอาจกลายเป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศได้ จึงทำให้มีการประชุมร่วมกันของประเทศต่างๆที่มีศักยภาพในการสำรวจและใช้ประโยชน์จากอวกาศเพื่อสร้างกฎเกณฑ์การสำรวจและใช้ประโยชน์อวกาศร่วมกัน โดยกฎหมายอวกาศฉบับแรกคือ สนธิสัญญาอวกาศปี 1967 ซึ่งหลังจากนั้นได้มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์อวกาศอีกหลายฉบับ เช่น ข้อตกลงดวงจันทร์ปี 1979 ข้อตกลงเกี่ยวกับการช่วยเหลือมนุษย์อวกาศ ปี 1968 อนุสัญญาความรับผิดระหว่างประเทศที่ก่อให้เกิดความเสียหายจากวัตถุอวกาศปี 1972 อนุสัญญาและการลงนามในการ ส่งยานอวกาศ ปี 1975 แต่แม้จะมีกฎหมายอวกาศออกมาหลายฉบับ แต่การมีกฎหมายเหล่านี้ได้ทำให้เกิดความขัดแย้งในการตีความตัวกฎหมายขึ้นมา ประเด็นหนึ่งที่ได้รับการถกเถียงกันมากคือเรื่องความรับผิดชอบของรัฐในกิจกรรมอวกาศ

มาตรา 6 และมาตรา 8 ของสนธิสัญญาอวกาศปี ค.ศ. 1967 ได้กำหนดพันธกรณีสำหรับรัฐภาคีสมาชิกให้ปฏิบัติตามในการดำเนินกิจกรรมของตนเองในห้วงอวกาศ โดยมาตรา 6 กำหนดว่ารัฐภาคีสมาชิกต้องมีความรับผิดชอบระหว่างประเทศสำหรับกิจกรรมแห่งชาติในอวกาศ ... ไม่ว่ากิจกรรมดังกล่าวจะดำเนินการโดยองค์กรของรัฐบาลหรือมิใช่องค์กรของรัฐบาลและเพื่อประกันว่ากิจกรรมแห่งชาติได้ดำเนินการสอดคล้องกับข้อบทของสนธิสัญญา ทั้งนี้ ความรับผิดชอบระหว่างประเทศ (responsibility) ในแง่ของมาตรา 6 ของสนธิสัญญาอวกาศครอบคลุมไปยังรัฐของกิจกรรมแห่งชาติทั้งหมดในอวกาศ ผลกระทบที่สำคัญที่เกิดขากความรับผิดชอบตามมาตรา 6 มีการถกเถียงจากรัฐที่ออกกฎหมายในระดับประเทศเพื่อตอบคำถามว่ากิจกรรมอวกาศของเอกชนและผลกระทบทางกฎหมายที่รัฐมีความรับผิดชอบระหว่างประเทศ ประวัติการร่างมาตรา 6 สนธิสัญญาอวกาศแสดงการถกเถียงที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการร่างประกาศขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยหลักกฎหมายกำกับกิจกรรมของรัฐในการสำรวจและใช้ประโยชน์อวกาศ  ปี ค.ศ. 1963 (United Nations Declaration on the Legal Principles Governing the Activities of States in the Exploration and Use of Outer Space)

สหภาพโซเวียตเห็นด้วยกับการผูกขาดโดยรัฐ (state monopoly) ซึ่งตรงกันข้ามกับสหรัฐอเมริกาที่ต้องการให้ภาคเอกชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกิจการอวกาศได้และพยายามลดเงื่อนไขและข้อจำกัดต่างๆ ในมาตรา 6 เป็นการประนีประนอมระหว่างสองประเทศมหาอำนาจ กิจกรรมอวกาศสามรรถดำเนินการได้โดยหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายนอกเหนือจากหน่วยงานรัฐบาล แต่รัฐต้องมีความรับผิดชอบระหว่างประเทศสำหรับกิจกรรมแห่งชาติไม่ว่ากิจกรรมนั้นดำเนินการโดยหน่วยงานรัฐบาลหรือมิใช่หน่วยงานรัฐบาล ในทางตรงกันข้ามกับแนวคิดนี้ใช้บังคับตามกฎหมายระหว่างประเทศคือ หากความรับผิดชอบของรัฐโดยทางตรงต้องเกี่ยวกับการกระทำที่มีส่วนโดยตรงต่อรัฐและรัฐสามารถถูกระบุสำหรับการกระทำโดยเอกชนตามความรับผิดชอบโดยทางอ้อม  (indirect) ความระมัดระวังอย่างเหมาะสม (due care) การดูแลอย่างเหมาะสม (due diligence)  มาตรา 6 มองว่ากิจกรรมของหน่วยงานรัฐบาลและมิใช่รัฐบาลไม่มีความแตกต่างกันไม่ว่ากิจกรรมดังกล่าวรัฐจะเป็นเจ้าของหรือเป็นของเอกชน

ข้อความคิด กิจกรรมแห่งชาติ ที่พิจารณาขอบเขตของความรับผิดชอบของรัฐ โดยเฉพาะในแง่ของประเภทกิจกรรมของเอกชน ข้อความคิดดังกล่าวไม่ได้จำกัดกิจกรรมของรัฐในแง่ที่จำกัด แต่สามารถหมายความรวมกิจกรรมที่มีความสัมพันธ์พิเศษกับรัฐ กิจกรรมแห่งชาติรวมสิ่งที่ดำเนินการโดยรัฐเองโดยผ่านหน่วยงานรัฐบาลโดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ สำหรับกิจกรรมของเอกชน แนวปฏิบัติแสดงว่าเกณฑ์เรื่องคนชาติไม่ได้เด็ดขาด การขาดนิยามความหมายที่ชัดเจนในสนธิสัญญาอวกาศและระดับระหว่างประเทศ รัฐได้ตีความแนวคิดของกิจกรรมแห่งชาติในกฎหมายภายในประเทศในแง่กว้าง รวมทั้งกิจกรรมที่ดำเนินการจากอาณาเขตหรือจากเขตอำนาจรัฐโดยคนชาติอื่น

นอกจากนี้ รัฐยังรวมแนวคิดกิจกรรมแห่งชาติที่ดำเนินการโดยคนชาติจากอาณาเขตของรัฐอื่นหรือจาก res communis omnium เช่น ทะเลหลวงหรือกิจกรรมที่ดำเนินการโดยคนชาติอื่นจากอาณาเขตหรือเขตอำนาจรัฐอื่น ผลลัพธ์ของการประนีประนอมคือมาตรา 6 กำหนดให้รัฐมีพันธกรณีเฉพาะสำหรับกิจกรรมของหน่วยงานที่มิใช่รัฐบาลที่ต้องมีการได้รับอนุญาตและการควบคุมดูแลอย่างต่อเนื่องโดยรัฐภาคีสมาชิกที่เหมาะสม

เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการให้ความหมาย รัฐที่เหมาะสม ที่ถือว่ามีความสำคัญในการระบุรัฐที่ต้องรับผิดชอบระหว่างประเทศสำหรับหน่วยงานที่มิใช่รัฐ แนวทางแก้ไขที่ดีที่สุดในสนธิสัญญาอวกาศ โดยเฉพาะรับที่เหมาะสมเป็นรัฐที่มีเขตอำนาจรัฐและมีอำนาจควบคุมกำกับเหนือวัตถุอวกาศและบุคลากรบนวัตถุอวกาศในนามของรัฐที่จดทะเบียน

มาตรา 8 ของสนธิสัญญาอวกาศกำหนดว่ารัฐภาคีสมาชิกที่จดทะเบียนวัตถุอวกาศต้องมีเขตอำนาจรัฐและอำนาจควบคุมเหนือวัตถุอวกาศดังกล่าว บุคลากรบนวัตถุอวกาศ ในขณะที่อยู่ในห้วงอวกาศหรือเทหวัตถุ ข้อบทดังกล่าวกังวลการใช้อำนาจพิเศษของรัฐผู้ส่งในการจดทะเบียนวัตถุอวกาศและดังนั้นในการใช้เขตอำนาจรัฐและการควบคุมเหนือวัตถุอวกาสดังกล่าว คำว่า เขตอำนาจรัฐและอำนาจควบคุมเป็นผลลัพธ์จากหลักการไม่อ้างเป็นเจ้าของ (non-appropriation principle) และการขาดการอ้างไปยังอธิปไตยของรัฐได้ เขตอำนาจรัฐจึงหมายถึงกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับบุคคลและวัตถุ กฎหมายระหว่างประเทศได้แบ่งแยกระหว่างเขตอำนาจรัฐในเชิงอาณาเขต กึ่งอาณาเขต และบุคคลไว้ เขตอำนาจรัฐจึงเป็นสิ่งหลักในการตัดสินกฎหมายที่ใช้บังคับ

ความสามารถในการควบคุมมีความหมายมากกว่าความสามารถในทางเทคนิค การควบคุมหมายความถึงสถานการณ์จริงและการควบคุมดังกล่าวควรได้รับการประกันโดยวิธีการทางเทคนิค เป็นสิทธิของรัฐที่จดทะเบียนในการรับเอากฎทางเทคนิคเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของวัตถุอวกาศ และในกรณีที่จำเป็น นำทาง ระงับ ปรับปรุง และแก้ไของค์ประกอบของวัตถุอวกาศและเป้าหมายใหม่ให้ถูกต้องได้ ทั้งนี้ มีความแตกต่างระหว่างคำว่า ควบคุม บนวัตถุอวกาศ บนส่วนประกอบของวัตถุอวกาศ หรือ บนบุคลากรบนวัตถุอวกาศในทางเทคนิค คำอธิบายสะท้อนไปยังการจัดตั้งข้อบังคับหลากหลาย

ในการจดทะเบียนตามมาตรา 8 ของสนธิสัญญาอวกาศนั้นประกอบด้วยสามหลักการ ดังนี้
1) สันนิษฐานว่าวัตถุอวกาศทั้งหมดต้องจดทะเบียนในระดับของประเทศ
2) ในการเริ่มต้นวัตถุอวกาศเหล่านั้นอยู่ภายใต้เขตอำนาจรัฐและการควบคุมดูแลของรัฐที่จดทะเบียน
3) วัตถุอวกาศที่ปลดประจำการต้องส่งกลับรัฐที่จดทะเบียน

อย่างไรก็ตาม ในขณะที่สนธิสัญญาสันนิษฐานว่าวัตถุอวกาศจะต้องจดทะเบียน แต่ไม่มีข้อบทใดสำหรับการจดทะเบียน อนุสัญญาว่าด้วยการจดทะเบียนวัตถุที่ส่งไปสู่อวกาศได้แก้ไขปัญหาในเรื่องนี้  เงื่อนไขสำคัญของอนุสัญญาประกอบด้วยสามประการ

ประการแรก อนุสัญญาฯกำหนดให้รัฐผู้ส่งแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุอวกาศแก่นายทะเบียนขององค์การสหประชาชาติ (United Nations Register) วัตถุประสงค์ของการระบุวัตถุอวกาศของอนุสัญญาจดทะเบียนดูได้จากอารัมภบทของอนุสัญญาฯที่ระบุว่า ความปรารถนา (ตามสนธิสัญญาอวกาศ ข้อตกลงว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือและอนุสัญญาว่าด้วยความรับผิด) ในการมีข้อบทสำหรับการจดทะเบียนโดยรัฐผู้ส่งวัตถุอวกาศเพื่อให้รัฐมีวิธีการและกระบวนการขั้นตอนเพิ่มเติมในการช่วยเหลือในการระบุวัตถุอวกาศ โดยใช้ระบบการจดทะเบียนวัตถุอวกาศแบบบังคับ

ประการที่สอง รัฐมีหน้าที่ต้องธำรงรักษาระบบทะเบียนแห่งชาติว่าด้วยวัตถุอวกาศที่ส่งไปสู่อวกาศ และ

ประการที่สาม อนุสัญญาฯได้กำหนดกระบวนการขั้นตอนในการะบุวัตถุที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐภาคีสมาชิกหรือคนชาติหรือนิติบุคคลหรืออาจมีลักษณะที่เป็นอันตรายหรือทำให้เกิดความเสียหายได้ อนุสัญญาฯยังกำหนดให้ประเทศที่จดทะเบียนจัดให้มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับวัตถุอวกาศของตนเองอย่างรวดเร็วเท่าที่จะได้ด้วย

ในแง่นี้ รัฐภาคีสมาชิกสนธิสัญญาอวกาศสามารถดำเนินการตามพันธกรณีระหว่างประเทศได้โดยการออกกฎหมายอวกาศแห่งชาติ กฎหมายภายในประเทศว่าด้วยกิจการอวกาศนี้มักมีสองวัตถุประสงค์ในการอนุวัติการตามพันธกรณีของรัฐและสร้างความชัดเจนถึงกรอบกฎหมายของภาคเอกชน

รัฐควรออกกฎหมายภายในประเทศเพื่ออนุวัตรการและตอบคำถามกิจกรรมอวกาศภาคเอกชนที่ครอบคลุมความรับผิดระหว่างประเทศและผลลัพธ์กฎหมายที่เกิดขึ้น องค์กรปะกอบสำคัญของกฎหมายอวกาศของประเทศมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้ 1) การอนุญาตและการควบคุมกำกับกิจกรรมอวกาศและการจดทะเบียนวัตถุอวกาศ 2) การชดเชย และ 3) ประเด็นสำคัญอื่นๆ ระดับของกฎหมายเฉพาะขึ้นอยู่กับกิจกรรมอวกาศของหน่วยงานที่มิใช่รัฐบาลที่ดำเนินการโดยคนชาติของรัฐหรือจากอาณาเขตของรัฐ

ด้วยการเติบโตของเศรษฐกิจและการพาณิชย์ในกิจกรรมอวกาศทำให้เกิดการพัฒนากฎหมายอวกาศที่กำกับการดำเนินงานของเอกชนเพื่อหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ไม่สอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศของรัฐคนชาติและรัฐที่มีเขตอำนาจรัฐ การยอมรับบทบัญญัติกฎหมายของกิจกรรมอวกาศสามารถสร้างประโยชน์แก่ประเทศหลายทาง รัฐไม่ควรพิจารณาการยกร่างกฎหมายเป็นข้อเสียเปรียบจากการกำกับดูแลกิจกรรมอวกาศที่ดำเนินการโดยเอกชน แม้กฎหมายจะเปิดเผยความรับผิดชอบอย่างชัดแจ้ง

การดำเนินการออกกฎหมายอวกาศมีประโยชน์ รัฐสามารถอ้างเขตอำนานรัฐและสร้างวิธีการที่เป็นไปได้ในการควบคุมกิจกรรมอวกาศของเอกชน ในขณะที่การจดทะเบียนวัตถุอวกาศในฐานะรัฐผู้ส่ง รัฐสามารถเน้นย้ำเขตอำนาจและการควบคุมดูแลเหนือวัตถุอวกาศ แม้ว่าจะมีเอกชนเป็นเจ้าของและดำเนินการ

รัฐหนึ่งรัฐใดสามารถบรรจุบทบัญญัติกฎหมายภายในประเทศเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมภายในประเทศ เช่น เงื่อนไขการบังคับให้ทำประกันภัยรวมกับการจำกัดค่าชดเชย ในการยกร่างกฎหมายอวกาศของประเทศนั้น รัฐสามารถเพิ่มมาตรการเพื่อลดความรับผิดชอบและความรับผิด เช่น การกำหนดให้มีข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัยและการชดเชยค่าเสียหาย อย่างไรก็ตาม องค์ประกอบสำคัญในการลดความรับผิดชอบและความรับผิดคือการพิจารณาข้อตกลงระหว่างประเทศกับรัฐผู้ส่งรัฐอื่น

ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น เนื้อหาของข้อมติของที่ประชุมสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติและการเจรจาของอนุกรรมาธิการกฎหมายยกร่าง UNCOPUOS  ได้เน้นย้ำความสำคัญของกฎหมายภายในประเทศ ข้อมติที่ 59/115 ลงวันที่ 10 ธันวาคม 2004 ว่าด้วยการใช้แนวคิดของรัฐผู้ส่ง (launching State) โดยแนะนำรัฐที่ดำเนินกิจกรรมอวกาศให้พิจารณาออกกฎหมายอนุวัติการเกี่ยวกับการอนุญาตและกำกับดูแลอย่างต่อเนื่องสำหรับกิจกรรมของหน่วยงานที่มิใช่รัฐบาลภายในเขตอำนาจรัฐของตนเอง ยิ่งไปกว่านั้น ข้อมติที่ 62/101 วันที่ 17 ธันวาคม 2007 ได้มีข้อเสนอแนะสำหรับการส่งเสริมแนวปฏิบัติของรัฐและองค์การระหว่างประเทศในการจดทะเบียนวัตถุอวกาศและเชิญชวนหน่วยงานดังกล่าวทำให้แนวปฏิบัติสอดคล้องกันโดยให้มีรูปแบบเดียวกันในประเภทของข้อมูลที่กำหนดโดยเลขาธิการองค์การสหประชาชาติว่าด้วยการจดทะเบียนวัตถุอวกาศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น