วันจันทร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2560

กฎหมายและศีลธรรม

ในอดีตกฎหมายและศีลธรรมยากที่แบ่งแยกออกจากกัน มีคำพูดของนักปราชญ์ชาวกรีกที่เสนอแนะว่าคนดีเป็นบุคคลที่จะทำสิ่งใดที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งในยุคแรกคนดีเป็นผู้สร้างกฎหมายโดยเป็นคนที่พิจารณาตัดสินว่าอะไรดีและอะไรผิด ต่อมามีนักปราชญ์พยายามหาความแตกต่างระหว่างอะไรที่เป็นกฎหมายและอะไรที่ถูกต้องตามกฎหมายตามผู้มีอำนาจทางการเมืองและอะไรที่ควรเป็นกฎหมายสอดคล้องกับอะไรที่ถูกต้องและเป็นธรรม ตัวอย่างเช่น อะไรที่เราควรเรียกว่าถูกต้องตามศีลธรรม เราสามารถแบ่งแยกระหว่างอะไรที่เป็นกฎหมายหรืออะไรที่ถูกต้องตามจารีตประเพณีและอะไรที่ถูกต้องตามธรรมชาติ หรือที่เรียกว่าชอบด้วยศีลธรรม

บางครั้งมีความชัดเจนในทางตรงกันข้ามระหว่างอะไรที่เป็นคำสั่งของพระเจ้า เช่น อะไรที่ชอบด้วยศีลธรรม และอะไรคือคำสั่งของผู้มีอำนาจทางการเมือง เช่น อะไรที่ชอบด้วยกฎหมาย ในบทละครแอนทราโกนีได้อธิบายไว้ในกรณีที่ตัวเอกท้าทายคำส่งของกษัตริย์ซึ่งถือเป็นแหล่งความชอบด้วยกฎหมายในสถานการณ์ดังกล่าวและหน้าที่ฝังศพของพี่ชายซึ่งเป็นการกระทำที่ชอบด้วยศีลธรรม ความย้อนแย้งดังกล่าวระหว่างสิ่งที่รัฐกำหนดและสิ่งที่พระเจ้าสั่งสอนไม่ใช่หนทางหรือวิธีการที่แบ่งแยกระหว่างกฎหมายและศีลธรรมได้อย่างชัดเจน

กฎหมายเป็นข้อความคิดที่ยากจะกำหนดนิยามความหมายที่ชัดเจนซึ่งมีการถกเถียงกันอย่างมากในเชิงวิชาการ แต่ที่นิยมให้คำจำกัดความว่าหมายถึงกฎที่กำกับสังคมที่มนุษย์อยู่ร่วมกันเพื่อให้การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในสังคม กฎดังกล่าวถูกสร้างด้วยความกังวลในแง่มุมของพฤติกรรมและการกระทำของมนุษย์ ตั้งแต่สัญญา ละเมิด ทรัพย์สิน การจราจร และการกำกับดูแลด้านความปลอดภัยของมนุษย์ในแง่ต่างๆ  ตามสารานุกรมบริทานิกาได้อธิบายคำว่า กฎหมาย หมายถึงรูปแบบเฉพาะของการควบคุมในสังคมที่มีการจัดระเบียบทางการเมืองและศีลธรรม วัตถุประสงค์ของกฎหมายของมนุษย์คือความดีร่วมมากกว่าความดีของแต่ละตัวบุคคล เพื่อให้เกิดการสร้างความเรียบร้อยอย่างใดอย่างหนึ่งที่ชัดเจนเพื่อปกป้องสังคมโดยรวม หากปราศจากกฎหมายจะไม่มีสังคม รูปแบบแรกของกฎหมายในความหมายนี้ก็คือวัฒนธรรมของชุมชนที่แสวงหาความยุติธรรมเพื่อให้เกิดประโยชน์ในชุมชนในลักษณะที่ก่อตัวเป็นอารยธรรมในเวลาต่อมา

สำหรับศีลธรรมได้รับการอธิบายแตกต่างออกไป ว่าหมายถึงประมวลความเชื่อ ค่านิยม หลักการ และมาตรฐานของพฤติกรรมมนุษย์ ในบางครั้งกฎหมายก็อิงศีลธรรม ตามความเห็นของนักสังคมวิทยา เอมิล ดูรไกม์ อธิบายว่าเป็นการยากที่จะระบุกลุ่มของค่านิยมทางศีลธรรมที่เป้นที่ยอมรับของสมาชิกในสังคมสมัยใหม่ทั้งหมดได้ ศีลธรรมเป็นจิตสำนึกของบุคคลเกี่ยวกับถูกหรือผิดที่อาจได้รับอิทธิพลมาจากหลายแหล่งที่แตกต่างกัน เช่น พ่อแม่ เพื่อน สื่อ โรงเรียน ที่ทำงาน เป็นต้น ดังนั้น ศีลธรรมจึงเป็นศาสตร์ว่าด้วยสิ่งที่มนุษย์ควรกระทำ เช่น อะไรเป็นหนทางที่ถูกต้อในการกระทำและอะไรเป็นสิ่งผิด แนวคิดพื้นฐานของศีลธรรมเป็นความผิดชอบชั่วดีเป็นสิ่งสากลในสังคมหรือชุมชนนั้น หากภายในจิตใจของคนไม่มีเรื่องของศีลธรรม ก็จะลดทอนความศักดิ์สิทธิของกฎหมายลง ความผูกันหรือยอมปฏิบัติตามกฎหมายนั้นเนื่องจากการกลัวถูกลงโทษจากการบังคับใช้กฎหมาย วัตถุประสงค์ของศีลธรรมจึงเป็นเรื่องประกันความถูกต้องของจิตสำนึกของมนุษย์รายบุคคลซึ่งกฎหมายไม่สามารถบังคับจิตสำนึกให้ปฏิบัติตามได้


นักปราชญ์ชาวกรีก เพลโต้ ที่กล่าวถึงความแตกต่างระหว่างการมีอยู่และความเป็นจริง หรือระหว่างสิ่งที่ดูเหมือนอย่างผิวเผินหรือปรากฎในกรณีศึกษา และสิ่งที่ผ่านเปิดเผยและมีการตรวจสอบอย่างสมเหตุสมผล ตัวอย่างเช่น เพลโต้อธิบายว่าความรู้ของสิ่งที่เป็นธรรมหรือศีลธรรม และความสามารถในการแบ่งแยกความแตกต่างระหว่างความยุติธรรมที่แท้จริงหรือศีลธรรมจากสิ่งที่เห็นได้ชัดว่าเป็นธรรมซึ่งขึ้นอยู่กับพัฒนการและการใช้เหตุผลของมนุษย์ จึงมีความใกล้ชิดกันระหว่างความยุติธรรมที่แท้จริงหรือศีลธรรมและความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์หรือความรุ่งเรือง การจัดการทางกฎหมายและทางการเมืองแตกต่างจากความยุติธรรมที่แท้จริงที่ควรถูกทดแทนด้วยการจัดการที่ส่งเสริมให้เกิดความยุติธรรมที่ดีขึ้นและดังนั้นความอยู่ดีกินดี


สำหรับในโลกยุคใหม่ก็เช่นกัน กฎหมายและศีลธรรมก็ยังคงถือว่าเป็นศาสตร์ที่แยกออกจากกันไม่เกี่ยวข้องกัน แต่มีความเกี่ยวข้องกันคือจริยธรรมเชิงกฎหมาย (legal ethics) ที่เป็นเรื่องของความซื่อสัตย์ทางวิชาชีพของนักกฎหมาย แต่ก็ไม่ได้อิงความคิดความถูกต้องหรือความผิดชอบชั่วดีของกฎหมายใดเป็นการเฉพาะ ซึ่งถูกวิจารณ์ว่าอาจเป็นผลมาจากการลดลงของอิทธิพลแนวคิดของความจริวเกี่ยวกับมนุษย์และกฎหมายธรรมชาติ ที่ปล่อยให้สิทธิของมนุษย์ลดลงในการต่อต้านกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมและเปิดโอกาสให้เกิดเผด็จการในการใช้กฎหมายหรือการใช้อำนาจในทางกฎหมายเพิ่มมากขึ้นในหลากหลายรูปแบบ ที่จริงแล้วเรื่องดังกล่าวสามารถมองเห็นและเข้าใจได้ไม่ยาก แต่เนื่องจากผู้คนจำนวนมากมองเรื่องดังกล่าวอย่างผิวเผินไม่มีปฏิกิริยาต่อเรื่องนี้เว้นแต่ตนเองต้องเผชิญกับเรื่องดังกล่าว จึงจะสามารถสะท้อนแนวคิดดังกล่าวนี้ 

นักวิจารณ์บางคนได้สรุปว่าแม้ว่ากฎหมายและศีลธรรมไม่ได้ในความหมายในลักษณะเดียวกัน ทั้งที่ควรจะเป็นเนื่องจากมีความพึ่งพาระหว่างกัน กฎศีลธรรมแบ่งแยกความผิดชอบชั่วดีของการกระทำของมนุษย์ โดยมีเป้าหมายให้มนุษย์ทั้งหมดดีขึ้นพัฒนาขึ้นทั้งในแง่ของตนเองและสังคม ในขณะที่กฎหมายในแง่ของการเมืองมีเป้าหมายที่ทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันในสังคมหรือชุมชนโดยยึดหลักความยุติธรรม สงบสันติ และมีเสรีภาพ ซึ่งแน่นอนส่งผลให้เกิดเงื่อนไขบางประการในแง่ของความยุติธรรมตามความจริงและพฤติกรรมของมนุษย์ที่เป็นผลลัพท์ทางอ้อม อารยธรรมของมนุษย์ไม่อาจเกิดขึ้นได้โดยปราศจากกฎหมายและศีลธรรมที่ยนหยัดอยู่เคียงข้างกันค้ำชู วิกฤตต่างๆที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาได้เขย่าวัฒธรรมและความเจริญทางอารยธรรมไปยังรากฐานเนื่องจากการแบ่งแยกกฎหมายและศีลธรรมออกจากกัน รวมถึงการปฏิเสธแนวคิดของความจริงในการรวมมนุษย์เข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว การผูกพันให้เป็นหนึ่งเดียวระหว่างมนุษย์นั้นมีความเปราะบางและไม่เข้มแข็งในกรณีที่ต้องมีการแบ่งปันผลประโยชน์โดยเฉพาะด้านวัตถุและกรณีที่ผลประโยชน์ส่วนตัวอาจชักนำให้มีการแตกแยกหรือปะทะกันเกิดขึ้น ความเข้มแข็งของการรวมกลุ่มจะเกิดขึ้นต่อต้านกับการแบ่งแยกก็ต่อเมื่อมนุษย์มีคุณค่าร่วมกันในการมองและแก้ไขปัญหาไม่ว่าจะเป้นการแบ่งปันทางคุณค่า ค่านิยม ความรักชาติ หรือความเชื่อศรัทธาทางศาสนา เป็นต้น

ดังนั้น จริยธรรมอ้างสิทธิในการวิจารณ์การจัดการทางกฎหมายและแนะนำการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น การโต้เถียงในประเด็นกฎหมาย บ่อยครั้งทีโต้เถียงในประเด็นทางศีลธรรมด้วย
ความสัมพันธ์ระหว่างศีลธรรมกีบกฎหมายสรุปได้ดังนี้
(1) การมีอยู่ของกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม เช่น กฎหมายทาส เป็นข้อพิสูจน์ว่ากฎหมายกับศีลธรรมไม่ใช่สิ่งเดียวกันและไม่ได้เกิดจากสิ่งเดียวกัน
(2) การมีอยู่ของกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันคุณค่าพื้นฐาน เช่น กฎหมายอาญาที่ลงโทษการฆาตกรรม การขโมย ข่มชืนหรือทำร้ายร่างกาย เป็นต้น  เป้นสิ่งพิสูจน์ว่าทั้งกฎหมายและศีลธรรมสามารถทำงานร่วมกันได้
(3) กฎหมายสามารถกำหนดอะไรคือการกระทำผิดที่ถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดและควรถูกลงโทษ แม้ว่ากฎหมายจะละเลยเจตนาของบุคคลหรือความคิดของบุคคลก็ตาม เพราะกฎหมายไม่สามารถจัดการได้ ในขณะที่ศีลธรรมจะตัดสินบุคคลบนเจตนาและคุรลักษณะซึ่งแตกต่างจากกฎหมาย
(4) กฎหมายควบคุมพฤติกรรมอย่างน้อยบางส่วนจากความกลัวถูกลงโทษ ศีลธรรมจะกลายเป็นนิสัยหรือลักษณะที่ควบคุมพฤติกรรมโดยไม่ต้องมีการใช้กำลัง เพราะบุคคลต้องควบคุมตนเอง บุคคลที่มีศีลธรรมกระทำในสิ่งที่เหมาะสมเพราะเป็นสิ่งที่ดีที่ควรจะกระทำ
(5) ศีลธรรมสามารถมีอิทธิพลต่อกฎหมายในแง่ที่ว่าสามารถให้เหตุผลว่าทำไม่การกระทำดังกล่าวผิดกฎหมาย
(6) กฎหมายสามารถแสดงออกทางศีลธรรมต่อสาธารณะได้โดยการทำให้เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นหลักากรพื้นฐานของพฤติกรรมที่คนในสังคมทั่วไปให้การยอมรับ พร้อมทั้งเป้นแนวทางในการให้การศึกษาแก่คนรุ่นต่อไปให้ทราบคุณค่าทางสังคมที่ต้องการปลูกฝั

1 ความคิดเห็น: