วันพฤหัสบดีที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2561

การสื่อข่าวกับเสรีภาพในการแสดงออก


การยกเว้นการละเมิดสิทธิส่วนตัวจากการใช้โดรนในการสอดแนมเป็นประเด็นที่สังคมให้ความสนใจอย่างมาก ซึ่งต้องมีการชั่งน้ำหนักระหว่างความกังวลของสาธารณะในการให้เกิดการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสารที่ส่งเสริมตลาดความคิดเสรี โดรนหรือเครื่องบินไร้คนขับสามารถช่วยสื่อมวลชนและความสามารถของสาธารณะในการแสวงหาหรือรวบรวมข่าวสารได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยสามารถให้ดำเนินการหาข่าวสารได้ในบริเวณพื้นที่อันตรายโดยไม่ต้องให้คนมีความเสี่ยง และสามารถใช้เทคโนโลยีสอดแนมที่ทันสมัยในการก็บรวบรวมข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถบินเข้าไปในพื้นที่ซึ่งเครื่องบินแบบดั้งเดิมไม่สามารถเข้าไปได้ และสามารถบินอยู่ได้นานกว่าด้วย

แต่ความท้าทายเกิดขึ้นจากความพยายามในการสร้างจุดสมดุลที่เหมาะสมระหว่างผลประโยชน์ในการหาข่าวสารแบะผบประโยชน์ในสิทธิส่วนตัว บทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่หนึ่งของหสรัฐอเมริกากำหนดว่า "รัฐสภาต้องไม่ออกกฎหมาย ... จำกัดเสรีภาพของคำพูดหรือของสื่อ ... " ศาลได้ตีความถ้อยคำว่าครอบคลุมทั้งรูปแบบของคำพูดแบบดั้งเดิม เช่น คำพูดทางการเมืองหรือบทความทางวิชาการ และรวมถึงรูปแบบในพฤติกรรมที่จำเป็นและเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงออก เช่น การกระจายวรรณกรรมทางการเมืองหรือการหาเสียงแบบถึงประตูบ้าน

นอกจากนี้ ศาลยังได่ขยายความขอเขตของการคุ้มครองตามบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่หนึ่งให้รวมถึงพฤติกรรมอื่นด้วยไม่มีเป็นการแสดงที่้ชัดเจนในตนเอง แต่จำเป้นที่สอดคล้องกับความหมายและเนื้อหาเพื่อคุ้มครอง เช่น ศาลระบุว่าสาธารณะมีสิทธิที่จะได้รับข่าวสารในฐานะที่เป็นสิทธิเกี่ยวเนื่องจากสิทธิแสดงความเห็นอย่างเสรี ศาลได้ตัดสินหลายคดีในทำนองเดียวกันมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 ว่าสาธารณะและสื่อมวลชนมีสิทธิในการหาและเก็รวบรวมข่าวสารตามรัฐธรรมนูญ เริ่มด้วยคดี Zemel v. Rusk ศาลให้ข้อสังเกตว่าสิทธิในการพูดและตีพิมพ์ไม่ได้มีพร้อมกับสิทธิในการสื่อข่าวหรือสิทธิในการแสวงหาข่าวของสื่อมวลชนอย่างไม่มีข้อจำกัด ศาลจึงมีความลังเลใจในการขยายสิทธฺดังกล่าวที่อาจส่งสัญญาณในประเด็นกังวลดังกล่าวว่าสิทธิในการสื่อข่าวโดยไม่มีเงื่อนไขจำกัดสามารถยกเว้นกฎระเบียบของรัฐที่กำหนดเงื่อนไขหรือข้อจำกัดการสื่อข่าวไว้ได้ แต่ในหลายปีต่อมา ศาลระบุไว้ในคดี Branzburg v. Hayes ที่แม้ว่ากฎหมายที่ใช้บังคับทั่วไปอยู่สามารถใช้บังคับอย่างเท่าเทียมกับผู้สื่อข่าวเช่นเดียวกับสาธารณะชนทั่วไป โดยไม่มีข้อยกเว้น การสื่อข่าวหรือแสวงหาข้อเท็จจริงของผู้สื่อข่าวได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่หนึ่ง และได้รับความคุ้มครองในการแสวงหาข่าว มิฉะนั้น เสรีภาพของผู้สื่อข่าวอาจลดทอนลง แต่ศาลก็ไม่ได้กำหนดขอบเขตของการคุ้มครองที่ชัดเจน ในคดี Cohen v. Cowles Media Co. ศาลยึดติดกับแนวคิดว่ามีเส้นที่ชัดเจนอยู่แล้วว่ากฎหมายที่บังคับใช้ทั่วไปในปัจจุบันไม่ได้ขัดแย้งกับบทบบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่หนึ่งเพียง้พราะว่าการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวมีผลต่อผู้สื่อข่าวในการแสวงหาข่าวสารและสื่อข่าวสารต่อสาธารณะเช่นเดียวกันกับประชาชนอื่นทั่วไป ศาลวินิจฉัยเพิ่มเติมว่าหนังสือพิมพ์ไม่ได้สิทธิคุ้มกันเป็นพิเศษจากการบังคับใช้กฎหมายทั่วไป และไม่ได้มีสิทธิพิเศษในการละเมิดสิทธิของผู้อื่น ซึ่งต่อมาได้ ศาลอื่นๆก็ได้เดินตามแนวทางดังกล่าวในการกรณีเกี่ยวกับการถ่ายภาพและบันทึกเสียงของผู้สื่อข่าวที่มีการอ้างสิทธิคุ้มกันตามรัฐธรรมนูญ

ต่อมาในคดี Dietemann v. Time, Inc. ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ได้ตีความในประเด็นว่านักข่าวสามารถใช้วิธีพรางตัวหรือปลอมตัวเพื่อแสวงหาข่าวได้หรือไม่ ซึ่งในคดีนี้บริษัท Time Life ได้ส่งผู้สื่อข่าวแฝงตัวเข้าไปในบ้านของคนที่อ้างว่าในบ้านมาแร่ที่สามารถรักษาโรคให้หายขาดได้ ผู้สื่อข่าวได้ซ่อนกล้องเพื่อเก็บภาพของผู้ชายเจ้าของบ้านและซ่อนไมโครโฟนเพื่อบันทึกสื่อและเผยแพร่บทสนทนา ผู้สื่อข่าวได้อ้างสิทธิการสื่อข่าวตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญเมื่อถูกฟ้องร้องดำเนินคดี ศาลอธิบายว่าแม้ว่าเจ้าของบ้านจะมีความเสี่ยงในการเชิญบุคคภายนอกเข้าไปในบ้าน เพราะว่าแขกที่เข้าไปในบ้านอาจนำบทสนทนามาเผยแพร่ได้ แต่เจ้าของบ้านไม่ควรจะต้องแบกรับความเสี่ยงว่าอะไรที่ได้ยินหรือเห็นจะส่งออกไปภายนอกด้วยการถ่ายภาพหรือการบันทึกเสียง ดังนั้น อุปกรณ์ล้ำสมัยที่ซ่อนไว้ไม่ถือว่าเป็นเครื่องมือในการรายงานข่าวสืบสวนที่ขาดไม่ได้แฃะบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่หนึ่งไม่ได้ถูกตีความให้ความคุ้มกันผู้สื่อข่าวจากการละเมิดหรือการก่ออาชญากรรมที่ดำเนินการในระหว่างการแสวงหาข่าวหรือสื่อข่าวแต่ประการใด

ในคดี Galella v. Onassis นายกัลเลอล่า ซึ่งเป็นผู้ที่อ้างตนเองว่าเป็นผู้สื่อข่าวที่เกาะติดนางแจ๊คเกอร์ลีน เคนเนดี้ โดยได้คอยติดตามถ่ายภาพและรังครานครอบครัวของนางแจ๊คเกอร์ลีนตลอดเวลา ศาลอุทธรณ์ภาคสองได้ตัดสินว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการล่วงละเมิดสิทธิส่วนตัว แต่นายกัลเลอล่าอ้างว่าตนเองเป็นผู้สื่อข่าวจะได้รับการคุ้มครองอย่างสมบูรณ์ตามรัฐธรรมนูญ ศาลอุทธรณ์ภาคสองได้ปฏิเสธข้ออ้างดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่าขอบเขตการคุ้มครองสิทธิของบทบัญญัติรัฐธรรมนูฐฉบับแก้ไขที่หนึ่งไม่ได้ให้ความคุ้มครองครอบคลุมถึงกรณีดังกล่าวตามที่อ้าง การก่ออาชญากรรมและการละเมิดสิทธิผู้อื่นในระหว่างการแสวงหาข่าวไม่ได้รับความคุ้มครอง จึงไม่มีภัยคุกคามใดในการนำเสนอข่าวอย่างเสรีที่ผู้สื่อข่าวต้องปฏิบัติตามกฎหมาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น