ในปี ค.ศ. 1976 ในคดี Young v American Mini Theaters (1976) ศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาวินิจฉัยว่ายืนยันความชอบด้วยกฎหมายของเทศบัญญัติเมืองอีรีสในมลรัฐดีทรอย์ที่กำหนดผังเมืองซึ่งห้ามโรงภาพยนต์ไม่ให้ตั้งอยู่ใกล้บริเวณชุมชนที่อยู่อาศัยหรือภายในระยะ
1,000 ฟุตของพื้นที่เขตธุรกิจสำหรับผู้ใหญ่ โดยกฎหมายอนุญาตสถานที่ตั้งว่าต้องอยู่ภายใน 5%
ของเมืองและที่ดินส่วนใหญ่ไม่ได้มีไว้ขายหรือไม่ให้โอกาสสำหรับธุรกิจที่สามารถทำผลกำไรได้เท่านั้น ศาลให้ความเห็นว่ากฎหมายดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของชุมชน
ต่อมาในคดี City of Renton v Playtime Theatres (1986) ศาลสูงสุดต้องเจอปัญหาในลักษณะเดียวกัน กล่าวคือ เมืองเรนทอนในมลรัฐวอชิงตันได้ออกเทศบัญญัติกำหนดผังเมืองที่ห้ามมิให้โรงภาพยนต์สำหรับผู้ใหญ่ตั้งอยู่ในบริเวณเขตชุมชนอยู่อาศัย โบสถ์ สวนสาธารณะ หรือโรงเรียน เป็นต้น ศาลสูงสุดวินิจฉัยว่าเทศบัญญัติดังกล่าวไม่ได้มีเจตนารมย์หลักในการจำกัดภาพยนต์สำหรับผู้ใหญ่ (ซึ่งเป็นเนื้อหาของการแสดงออก) แต่วัตถุประสงค์ของเทศบัญญัติดังกล่าวคือเพื่อจัดการกับผลกระทบทางลบที่อาจเกิดขึ้นจากการมีธุรกิจบังเทิงสำหรับผู้ใหญ่ในเขตพื้นที่ดังกล่าว เช่น ปัญหาโสเภณี อาชญากรรม หรือทำให้เขตพื้นที่มีมูลค่าลดต่ำลงเพราะกลายเป็นแหล่งอาชญกรรม เป็นต้น ศาลสูงสุดวินิจฉัยว่ากฎหมายดังกล่าวมีความเป็นกลางทางเนื้อหา ศาลสูงสุดจึงรับรองเทศบัญญัติที่ใช้การตรวจสอบเข้มงวดน้อยลง โดยเกณฑ์ที่ใช้ของศาลใช้ได้กับความเป็นกลางทางเนื้อหาทั้งในกฎที่กำกับระะยเวลา สถานที่ และพฤติกรรม อย่างไรก็ตามศาลสูงสุดเสียงข้างน้อยโต้แย้งว่าข้อจำกัดตามกฎหมายอิงเนื้อหาของภาพยนต์เป็นหลักและดังนั้นกฎหมายควรต้องสอดคล้องกับมาตรฐานที่มีอยู่ที่ใช้กับการกำกับดูแลอิงเนื้อหาของการแสดงออก
ต่อมาในคดี City of Renton v Playtime Theatres (1986) ศาลสูงสุดต้องเจอปัญหาในลักษณะเดียวกัน กล่าวคือ เมืองเรนทอนในมลรัฐวอชิงตันได้ออกเทศบัญญัติกำหนดผังเมืองที่ห้ามมิให้โรงภาพยนต์สำหรับผู้ใหญ่ตั้งอยู่ในบริเวณเขตชุมชนอยู่อาศัย โบสถ์ สวนสาธารณะ หรือโรงเรียน เป็นต้น ศาลสูงสุดวินิจฉัยว่าเทศบัญญัติดังกล่าวไม่ได้มีเจตนารมย์หลักในการจำกัดภาพยนต์สำหรับผู้ใหญ่ (ซึ่งเป็นเนื้อหาของการแสดงออก) แต่วัตถุประสงค์ของเทศบัญญัติดังกล่าวคือเพื่อจัดการกับผลกระทบทางลบที่อาจเกิดขึ้นจากการมีธุรกิจบังเทิงสำหรับผู้ใหญ่ในเขตพื้นที่ดังกล่าว เช่น ปัญหาโสเภณี อาชญากรรม หรือทำให้เขตพื้นที่มีมูลค่าลดต่ำลงเพราะกลายเป็นแหล่งอาชญกรรม เป็นต้น ศาลสูงสุดวินิจฉัยว่ากฎหมายดังกล่าวมีความเป็นกลางทางเนื้อหา ศาลสูงสุดจึงรับรองเทศบัญญัติที่ใช้การตรวจสอบเข้มงวดน้อยลง โดยเกณฑ์ที่ใช้ของศาลใช้ได้กับความเป็นกลางทางเนื้อหาทั้งในกฎที่กำกับระะยเวลา สถานที่ และพฤติกรรม อย่างไรก็ตามศาลสูงสุดเสียงข้างน้อยโต้แย้งว่าข้อจำกัดตามกฎหมายอิงเนื้อหาของภาพยนต์เป็นหลักและดังนั้นกฎหมายควรต้องสอดคล้องกับมาตรฐานที่มีอยู่ที่ใช้กับการกำกับดูแลอิงเนื้อหาของการแสดงออก
ในคดี Barnes v Glen Theater ศาลสูงสุดได้พิจารณา ประเด็นเรื่องการเปลือยกายในสถานที่สาธารณะกล่าวคือ มลรัฐอินเดียน่าได้ดำเนินคดีกับสถานบริการที่จัดให้มีการเต้นเปลือยกาย
แม้ว่าศาลเสียงส่วนใหญ่เห็นว่าควรใช้เกณฑ์การชั่งน้ำหนัก (Balancing Test) แต่ศาลสสูงสุดก็ใช้เกณฑ์โอไบอันในการพิจารณากรณีนี้ ศาลสูงสุดสรุปว่าผลกระโยชน์ของมลรัฐในการคุ้มครองศีลธรรมหรือการป้องกันผลกระทบลำดับสองที่ส่งผลทางลบของธุรกิจบังเทิงมีเหตุผลเพียงพอ ดังนั้น บังคับใช้กฎหมายของมลรัฐอินเดียน่าในการห้ามมิให้มีการเปลือยกายในสถานที่สาธารณะ
เช่น โรงภาพยนต์และคลับ เป็นต้นจึงชอบด้วยรัฐธรรมนูญ แต่ศาลก็ให้ความเห็นว่าหากการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวกับการแสดงทั่วไปอาจฝ่าฝืนบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่
1
ในคดี City of Erie v Pap's A.M., ศาลสูงสุดสรุปว่าการห้ามเปลือยกายในที่สาธารณะของมลรัฐเพนซิวาเนียไม่สามารถบังคับใช้ได้กับนักเต้นเปลือยกายในบาร์หรือสถานบังเทิงของผู้ใหญ่ เพราะกฎหมายไม่ได้มุ่งยับยั้งการเต้นแบบยั่วยวนของนักเต้นเปลือยกาย แต่วัตถุประสงค์ของกฎหมายคือการห้ามการกระทำประเภทที่นำไปสู่บรรยากาศที่รุนแรง
คุกคามทางเพศ สร้างมลพิษต่อสาธารณะ โสเภณี การแพร่กระจายของโรคทางเพศ
และผลกระทบที่เลวร้ายอื่น เช่นเดียวกันกับคดีก่อนหน้านี้ศาลสูงสุดใช้เกณฑ์โอไบอันในการพิจารณาสำหรับกฎที่กำกับดูแลเนื้อหา
ศาลสูงสุดให้ความเห็นว่าหากมีการใส่กางเกงในอาจจะช่วยลดผลกระทบลงอย่างมากในสายตาของศาล เรียกว่าผลกระทบลำดับสอง
(secondary effect) และศาลชอบที่จะพิจารณาสิทธิของชุมชนเพื่อส่งเสริมศีลธรรมอันดีของชุมชน
ต่อมาในคดี City of Los Angeles v Alameda Books (2002) ศาลสูงสุดเสียงส่วนใหญ่ (5 ต่อ 4 เสียง) วินิจฉัยว่าเห็นชอบกับกฎหมายที่ห้ามจัดตั้งบริษัทที่ทำธุรกิจบังเทิงสำหรับผู้ใหญ่มากกว่าหนึ่งบริษัทในตึกเดียวกัน โดยใช้หลักผลกระทบลำดับสอง ศาลสูงสุดให้เหตุผลว่ากฎหมายดังกล่าวไม่ใช่กฎที่กำกับดูแลเนื้อหาแบบเป็นกลาง พราะลักษณะของกฎหมายนี้เป็นการจำกัดการใช้ที่ดินมากกว่าการจำกัดการแสดงออก ผู้พิพากษาเสียงส่วนน้อยโต้แย้งว่าเป็นกฎหมายที่มีผลเกี่ยวพันกับเนื้อหาและมลรัฐก็ไม่มีหลักฐานเพียงพอในการแสดงว่าการมีสองธุรกิจบังเทิงสำหรับผู้ใหญ่ในตึกเดียวกันส่งผลทางลบอย่างไร
ต่อมาในคดี City of Los Angeles v Alameda Books (2002) ศาลสูงสุดเสียงส่วนใหญ่ (5 ต่อ 4 เสียง) วินิจฉัยว่าเห็นชอบกับกฎหมายที่ห้ามจัดตั้งบริษัทที่ทำธุรกิจบังเทิงสำหรับผู้ใหญ่มากกว่าหนึ่งบริษัทในตึกเดียวกัน โดยใช้หลักผลกระทบลำดับสอง ศาลสูงสุดให้เหตุผลว่ากฎหมายดังกล่าวไม่ใช่กฎที่กำกับดูแลเนื้อหาแบบเป็นกลาง พราะลักษณะของกฎหมายนี้เป็นการจำกัดการใช้ที่ดินมากกว่าการจำกัดการแสดงออก ผู้พิพากษาเสียงส่วนน้อยโต้แย้งว่าเป็นกฎหมายที่มีผลเกี่ยวพันกับเนื้อหาและมลรัฐก็ไม่มีหลักฐานเพียงพอในการแสดงว่าการมีสองธุรกิจบังเทิงสำหรับผู้ใหญ่ในตึกเดียวกันส่งผลทางลบอย่างไร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น