ในปี ค.ศ. 1786 ชาวอเมริกาตระหนักว่าบทบัญญัติของสมาพันธรัฐ (Article of Confederation) ซึ่งเอกสารก่อตั้งประเทศที่ได้รับความเห็นชอบจากการประชุมก่อตั้งประเทศในปี ค.ศ. 1777 บทบัญญัติดังกล่าวแทบจะไม่ได้ให้อำนาจรัฐสภาในการกำกับดูแลกิจการภายในประเทศ ไม่มีอำนาจในการจัดเก็บภาษี และไม่มีอำนาจกำกับดูแลกิจการเชิงพาณิชย์แต่ประการใด เมื่อไม่มีอำนาจในเชิงบังคับใช้ รัฐสภากลางของสหรัฐ ต้องพึงพาการบริจาคเงินงบประมาณจากมลรัฐสมาชิกและสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งคือมลรัฐต่าง ๆ มักจะปฏิเสธให้เงินงบประมาณตามที่รัฐสภาร้องขอ ดังนัน้ รัฐสภากลางของสหรัฐ จึงไม่มีเงินที่จะจ่ายให้แก่ทหารหรือกองกำลังเพื่อทำสงครามปฏิวัติ (Revolutionary War) หรือชำระเงินกู้จากต่างประเทศที่ยืมเพื่อทำสงครามปฏิวัติ ต่อมาในปี ค.ศ. 1786 สถานะทางการเงินของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาถึงขั้นล้มละลาย ยิ่งไปกว่านั้น ประเทศที่พึ่งเกิดใหม่อย่างสหรัฐอเมริกาต้องเผชิญกับปัญหาความท้าทายมากมาย มลรัฐต่าง ๆ มีความขัดแย้งในทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างกันโดยไม่มีท่าทีจะตกลงกันได้ เช่น มลรัฐทางตอนใต้ขัดแย้งกับมลรัฐทางตอนเหนือเพื่อแย่งชิงความได้เปรียบทางเศรษฐกิจ ประเทศสหรัฐอเมริกาจึงไม่อยู่ในสภาพที่ดีนักในการต่อสู้กับสงครามเศรษฐกิจดังกล่าว ประเทศที่เป็นพันธมิตรเป็นห่วงกังวลค่อนข้างมาก โดยเฉพาะประเทศเจ้าหนี้ของสหรัฐอเมริกา
ในขณะเดียวกัน
มลรัฐที่เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของรับบาลกลางอย่างเช่นมลรัฐโรดไอแลนด์ก็เป็นกังวลเช่นกัน
รัฐสภาของมลรัฐที่เสียงส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเจ้าหนี้ได้ออกกฎหมายยกหนี้ทั้งหมดเพราะเห็นว่าเป็นมาตรการกระจายทรัพย์สินใหม่ในทุก
13 ปี
ในขณะที่มลรัฐแมสซาซูเซสซึ่งมีกลุ่มเกษตรกรที่โกรธแค้นได้ประท้วงเพื่อให้มีการบรรเทาหนี้
ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1787
ปัญหาเริ่มบานปลายนำไปสู่การเรียกร้องให้มีการประชุมรัฐสภาในเดือนพฤษภาคม ณ เมืองฟิลาเดลเฟียเพื่อออกแบบการปกครองโดยรัฐบาลกลางใหม่และแก้ไขปรับปรุงกฎหมายรัฐธรรมนูญ
และประชาชนทั่วประเทศก็เรียกร้องสิทธิเสรีภาพอย่างกว้างขวาง
แต่ยังไม่สามารถหาข้อสรุปถึงขอบเขตของสิทธิเสรีภาพที่ควรได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ
บางสิทธิเสรีภาพยังไม่มีความชัดเจน เช่น สิทธิเสรีภาพในการเป็นเจ้าของทาส
การประชุมยกร่างรัฐธรรมนูญในฟิลาเดลเฟีย (Convention in Philadelphia)
ในวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1787
หนึ่งสัปดาห์ก่อนกำหนดการประชุมยกร่างรัฐธรรมนูญ ผู้แทนจากมลรัฐต่าง ๆ
ได้ประชุมหารือในห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎร์ของมลรัฐเพนซิวาเนียในเมืองฟิลาเดลเฟีย
ในวาระแรกมีการเลือกนายพลจอร์จ วอชิงตันเป็นประธานของการประชุม และมีการกำหนดข้อบังคับการประชุม
ซึ่งในขณะนั้นเป็นการประชุมลับ
วาระการประชุมหลักเริ่มสี่วันต่อมาหลังจากผู้ว่าการมลรัฐเวอร์จิเนีย นายเอ็ดมุนด์
แรนดอล์ฟได้นำเสนอร่างแผนโครงสร้างใหม่ของรัฐบาล (เรียกว่า แผนเวอร์จิเนีย)
ซึ่งยกร่างโดยเจมส์ แมดิสันผู้แทน โดยแผนดังกล่าวมุ่งหวังให้รัฐบาลแห่งชาติมีความเข้มแข็ง
รัฐบาลเลือกตั้งตามสัดส่วนของจำนวนประชากร
แผนให้รัฐบาลกลางเพื่อออกกฎหมายในทถกมลรัฐที่มลรัฐแบ่งแยกไม่มีความสามารถเพียงพอและให้สภาแห่ชาติเพื่อแก้ไขอำนาจในคัดค้านรัฐสภาของมลรัฐ
ผู้แทนจากมลรัฐเล็ก ๆ และมลรัฐที่ไม่เห็นด้วยกับการให้อำนาจรัฐบาลกลางอย่างกว้างขวางต่อต้านแผนดังกล่าว
เช่น
มลรัฐแคโรไรน่าใต้ได้ถามว่าผู้สนับสนุนแผนดังกล่าวหมายถึงการยกเลิกรัฐบาลมลรัฐหรือไม่
ต่อมาในวันที่ 14 มิถุนายน
นายวิลเลี่ยม ปีเตอร์สันผู้แทนจากมลรัฐนิวเจอร์ซี่ได้นำเสนอร่างแผน (เรียกว่า
แผนนิวเจอร์ซี) ซึ่งเสนอให้รัฐบาลกลางยังคงมีอำนาจมากขึ้น
ในการประชุมหารือในช่วงสามเดือน ผู้แทนจากมลรัฐต่าง ๆ ได้เจรจาต่อรองตามแผนทั้งสอง
ในที่ประชุมมีการเพิ่มอำนาจแก่รัฐสภาใหม่ ๆ เช่น อำนาจในการกำกับดูแลเศรษฐกิจ
เงินตรา และการป้องกันประเทศ แต่ที่ประชุมปฏิเสธที่จะให้อำนาจรัฐบาลกลางในการคัดค้านกฎหมายของมลรัฐที่ออกใหม่
นอกจากนี้
ผู้แทนจากมลรัฐตอนใต้คัดค้านว่ารัฐสภาไม่ควรมีอำนาจในการจัดกัดการค้าทาสและการมีทาส
ประเด็นสำคัญที่มีการถกเถียงกันอย่างมากคือการลงคะแนนเสียง
โดยเฉพาะมลรัฐที่มีขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ในการแบ่งสัดส่วนที่นั่งและเสียงในสาภผู้แทนราษฎร์
ในที่สุดก็ตกลงให้จัดสรรจำนวนผู้แทนราษฎร์ตามสัดส่วนประชากรและวุฒิสภาให้แต่ละมลรัฐมีสองที่นั่งเท่ากันตามข้อเสนอของนายโรเจอร์
เชอร์แมน ผู้แทนของมบรนัฐคอนเน็ตติกัต (เรียกว่าการประนีประนอมคอนเน็ตติกัต)
ในเดือนกันยายน การประนีประนอมครั้งสุดท้ายสามารถบรรลุได้
เงื่อนไขสุดท้ายได้มีการปรับปรุงและผ่านความเห็นชอบ ในการประชุมดังกล่าว
แต่ละมลรัฐมีเพียงหนึ่งเสียง ดังนั้น
แต่ละมลรัฐมีความเห็นแย้งค่อนข้างมากและไม่มีท่าทีว่าจะสำเร็จ
แต่ในท้ายที่สุดผู้แทน 39 มลรัฐจาก 55 มลรัฐสนับสนุนการยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ดังกล่าว
ซึ่งก็เพียงพอในการชนะจากแต่ละผู้แทนจาก 12 มลรัฐ
(มลรัฐโรดไอแลนด์ไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว
จึงไม่ส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุม) ต่อมามีพิธีลงนามรัฐธรรมนูญในวันที่ 17 กันยายนในปีเดียวกัน ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวยังคงมีผลใช้บังคับอยู่จนถึงปัจจุบัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น