บทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 ได้ให้ความคุ้มครองการจำกัดเสรีภาพการพูดและการแสดงออก แต่มีประเด็นว่าอะไรคือ การพูด (Speech) ที่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ
ในปี ค.ศ. 1968 มีขอบเขตแค่ไหน ? ศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาได้พิจารณาประเด็นดังกล่าวในคดี United States v. O'Brien, 391 U.S. 367 (1968) ซึ่งเป็นกรณีที่นายโอไบอันซึ่งเผาใบฉลากเกณฑ์ทหาร (draft card) ในระหว่างที่มีการคัดเลือกทหารเกณฑ์
ซึ่งนายโอไบอันได้อ้างว่าการกระทำเผาฉลากดังกล่าวได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่
1 เพื่อการกระทำดังกล่าวต้องการแสดงออกเพื่อคัดค้านการเข้าไปทำสงครามเวียดนามของรัฐบาล
ศาลสูงสุดพิจารณาว่านายโอไบอันถูกลงโทษสำหรับพฤติกรรมซึ่งเผาใบฉลากเกณฑ์ทหาร
แต่ไม่ใช่สิ่งที่นายโอไบอันพยายามจะแสดงออกเกี่ยวกับการต่อต้านสงคราม
โดยศาลสูงสุดวางเกณฑ์ในการพิจารณาว่าทั้งองค์ประกอบของคำพูดและพฤติกรรมนำเสนอว่ากฎของรัฐบาลมีเหตุผลเพียงพอ
หากอยู่ภายใต้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ หากมีผลประโยชน์ของรัฐบาลที่สำคัญ หากผลประโยชน์ของรัฐบาลไม่เกี่ยวข้องกับการจำกัดหรือกีดกันการแสดงออก
และหากเป็นข้อจำกัดต่อเสรีภาพตามบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 ไม่ได้มากกว่าผลประโยชน์ดังกล่าว
อนึ่ง เกณฑ์ในคดีโอไบอันได้ถูกศาลใช้เป็นบรรทัดฐานในคดีต่อ
ๆ มา เช่น ในคดี Texas v. Johnson ศาลสูงสุดพิจารณาการประท้วงนโยบายของรัฐบาลซึ่งผู้ประท้วงได้เผาธงชาติ
ณ การประชุมพรรครีพับรีกัน ศาลสูงสุดด้วยคะแนนเสียง 5 ต่อ 4
เสียงได้กลับคำพิพากษาที่ตัดสินให้นายจอห์นสันมีความผิดในฐานเผาธงชาติเนื่องจากการเผาดังกล่าวครบองค์ประกอบของการสื่อสารเพื่อสื่อบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่
1 และเป็นคำพูดที่ประท้วงดังกล่าวตามบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่
1 ในคดี Buckley v Valeo ยกประเด็น
ว่าเงินในรูปของการบริจาครณรงค์หาเสียง หรือค่าใช้จ่ายในการรณรงค์หาเสียงเป็นรูปแบบหนึ่งขิงคำพูดหรือไม่
ศาลสูงสุดตัดสินว่าอาจจะเป็นโดยให้ข้อสังเกตว่าการรณรงค์ในสมัยใหม่เป็นไปไม่ได้ที่จะไม่ใช้เงิน
ในคดี South
Florida Free Beaches v Miami ที่ตัดสินโดยศาลอุทธรณ์เขต 11 ศาลอุทธรณ์ตัดสินว่าข้อโต้แย้งที่ว่าการบังตับใช้กฎหมายของเมืองไมอามี่
ที่ห้ามการเปลือยกายในสถานที่สาธารณะเป็นการจำกัดสิทธิตามบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่
1 ซึ่งโจทก์ต้องการสื่อสารปรัชญาว่าร่างการมนุษย์เป็นหนึ่งเดียว
ศาลไม่เห็นด้วยกับข้อโต้แย้งดังกล่าว และให้ความเห็นว่าการเปลือยกายต้องเชื่อมโยงกับกิจกรรมที่แสดงออก
เช่น การเต้น หรือละคร เพื่อยกประเด็นของบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1
ในคดี
Doe v Reed (2010) ศาลสูงสุดได้พิจารณาว่าคำร้องขอรัฐบาลจัดทำการออกเสียงประชามติเป็นคำพูดภายใต้ความหมายของบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่
1 หากเป็นคำพูดตามบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 การเปิดเผยชื่อของผู้ร้องโดยรัฐเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่
1 ตุลาการ 8 คนเห็นด้วยว่าการลงนามในคำร้องขอจัดทำประชามติเป็นการกระทำที่แสดงออกที่สื่ออยู่ในบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่
1 แต่ผู้พิพากษาสกาเลียเห็นว่าการลงนามเป็นการกระทำทางนิติบัญญัติ
จึงไม่อยู่ภายใต้สิทธิเสรีภาพของคำพูดหรือการแสดงออก แต่เห็นด้วยว่าประเด็นในคดีนี้คือ
ผู้ลงนามในคำร้องดังกล่าวมีสิทธิตามบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 หรือไม่ในปกปิดชื่อหรือตัวตนของผู้ยื่นคำร้อง ตุลาการทั้ง 8 คนเห็นว่ากรณีดังกล่าวไม่มีสิทธิ แม้ว่าสภาพการณ์เฉพาะที่เกิดขึ้นของการจัดให้มีการทำประชามติอาจก่อให้เกิดสิทธิในการปกปิดชื่อตนเอง