1. ความสามารถในการผลิต (Productivity) มีคำถามว่ารัฐบาลสามารถผลิตสินค้าหรือบริการที่ใช้เงินหรือต้นทุนที่ลดลง กล่าวอีกนัยหนึ่งการดำเนินงานของรัฐบาลควรมีประสิทธิภาพมากขึ้น รัฐบาลต้องหาหนทางในการลดต้นทุนการให้บริการและลดขนาดรัฐบาล
2. กระบวนการจำหน่ายสินค้าหรือบริการ (Marketization) คำถามว่ารัฐบาลสามารถใช้แรงจูงใตในรูปแบบการทำการตลาดแบบภาคเอกชนเพื่อปรับปรุงระบบราชการดั้งเดิม บางรัฐบาลได้แปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างกว้างขวาง หรือบางรัฐบาลมุ่งเน้นพันธมิตรภาคเอกชนในการให้บริการสาธารณะมากขึ้น แต่ทั้งสองกรณีรัฐบาลต้องต่อสู้กับความเปลี่ยนแปลงในการผลักดันนโยบายสาธารณะที่สร้างแรงจูงใจดังกล่าวที่จะมาทดแทนแนวทางเดิมคือการควบคุมและสั่งการ ที่เป็นความยากลำบากเพราะต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของพนักงานและเจ้าหน้าที่ของของรัฐ
3. การมุ่งเน้นการให้บริการ (Service orientation) คำถามคือรัฐบาลสามารถเชื่อมโยงหรือมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับประชาชนได้อย่างไร การสำรวจความคิดเห็นของสาธารณชนแสดงให้เห็นว่าความเชื่อมั่นของสาธารณชนในสถาบันรัฐบาลลดลงและไม่ค่อยดีเนื่องจากโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาลไม่ค่อยตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน ในการสร้างโครงการที่ตอบสนองต่อประชาชนมากขึ้นนั้น รัฐบาลพยายามเปลี่ยนระบบการให้บริการภาครัฐใหม่ โดยการออกแบบโครงการต่าง ๆของรัฐที่เดิมมุ่งเน้นหรือมีมุมมองจากผู้ให้บริการ (คือเจ้าหน้าที่ของรัฐ) และการจัดการด้วยระบบโครงสร้างราชการแบบเดิมมาเป็นมุมมองของผู้รับบริการหรือประชาชนเป็นหลัก (ทฤษฎีทางเลือกสาธารณะ) ในบางกรณี ยุทธศาสตร์ของรัฐบาลคือการให้ทางเลือกแก่ประชาชนในการรับบริการจากภาครัฐ ในบางกรณีมีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อพัฒนาการให้บริการของภาครัฐ ซึ่งอิงเน้นทางของกลไกตลาด กล่าวคือ การปฏิรูปจะใช้กลไกตลาดที่ให้ประชาชนมีทางเลือกในการรับบริการของภาครัฐ ตัวอย่างเช่น บริการรับชำระค่าปรับหรือค่าธรรมเนียมผ่านช่องทางไปรษณีย์หรือมีการเปิดให้บริการในห้างสรรพสินค้านอกเวลาราชการ
4. การกระจายอำนาจ (Decentralization) คำถามหลักคือรัฐบาลสามารถสร้างโครงการที่ตอบสนองและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในหลายประเทศ ยุทธศาสตร์การปฏิรูปได้มีการกระจายอำนาจแก่หน่วยงานในระดับต่ำลงมา ในประเทศที่เป็นสหพันธรัฐมีการกระจายอำนาจไปยังรัฐบาลหรือกน่วยงานระดับมลรัฐมากขึ้น เช่น ออสเตรเลีย แคนาดา สวิตเซอร์แลนด์ และสหรัฐอเมริกา แนวทางดังกล่าวเป็นการโอนอำนาจภายในระบบ ในขณะที่หลายประเทศมีการถ่ายโอนอำนาจและความรับผิดชอบในการให้บริการสาธารณะไปยังรัฐบาลท้องถิ่นเพื่อให้โครงการของรัฐบาลสามารถตอบสนองต่อประชาชนได้มากขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น บางประเทศก็มีการกระจายอำนาจและความรับผิดชอบไปยังหน่วยงานรัฐที่สัมผัสกับประชาชนเพื่อสร้างแรงจูงใจและเพิ่มความสามารถในการตอบสนองความต้อกงารของประชาชน ไม่ต้องรอการให้บริการจากหน่วยงานกลาง
5. นโยบาย (Policy) คำถามคือรัฐบาลจะปรับปรุงขีดความสามารถในการออกแบบและติดตามนโยบายสาธารณะได้อย่างไร หลายประเทศเดินตามแนวทางของนิวซีแลนด์ที่มีการแบ่งแยกบทบาทของรัฐบาลในฐานะของผู้ซื้อบริการ (ในฐานะจัดทำนโยบาย) จากบทบาทในการให้บริการ (ในฐานะให้บริการ) รัฐบาลดังกล่าวได่พยายามพัฒนาประสิทธิภาพของการให้บริการที่อาจจะรักษาอำนาจให้อยู่ในมือของรัฐบาลในขณะที่พยายามปรังปรุงความสามารถในการจัดซื้อจัดจ้างแทน
6. ความรับผิดชอบต่อผลการกระทำ (Accountability for results) คำถามสำคัญคือรัฐบาลสามารถพัฒนาความสามารถในการให้บริการตามที่ได้ให้คำมั่นสัญญาไว้อย่างไร รัฐบาลพยายามทดแทนจากระบบความรับผิดชอบที่เน้นกฎและจากบนลงล่างมากเป็นระบบเน้นผลลัพธ์และจากล่างขึ้นบน ซึ่งควรมุ่งเน้นผลผลิตและผลลัพธ์แทนกระบวนการและโครงสร้าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น