เป็นที่รู้กันทั่วไปว่ากฎหมายสิ่งแวดล้อมก่อให้เกิดต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในตลาดและบุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งอาจเป็นผุ้ผลิตหรือผู้ซื้อสินค้าหรือบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ในแนวคิดว่าด้วยความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม (Environmental Justice) จึงมุ่งเน้นว่าภาระต้นทุนจากความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมและกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมต่าง
ๆ จะมีการบริหารและจัดสรรภาระดังกล่าวอย่างไรระหว่างกลุ่มบุคคลและบุคคลต่าง ๆ ในสังคม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ในอดีตกฎหมายสิ่งแวดล้อมมักละเลยประเด็นการกระจายภาระหรือต้นทุนดังกล่าว เนื่องจากผู้สนับสนุนกฎหมายสิ่งแวดล้อมให้ความสำคัญกับสิทธิในสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก มองสิ่งแวดล้อมต้องได้รับความปกป้องหรือรักษาเป็นหลัก จึงกำหนดภาระหน้าที่หรือผลักต้นทุนเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นเป้าหมายอันดับแรก แม้ว่าจะให้ความสำคัญกับประเด็นทางเศรษฐศาสตร์โดยเฉพาะเรื่องต้นทุน แต่ไม่มีบุคคลใดตั้งคำถามว่าจะกระจายภาระดังกล่าวอย่างไร
แนวคิดนี้จึงเริ่มขึ้นเพื่อเปลี่ยนแปลงในปี ค.ศ. 1978
เมื่อนายเจมส์ ฮันท์
ผู้ว่าการรัฐโคโรไรน่าเหนือได้เสนอให้ทิ้งดินที่ปนเปื้อนเคมีที่มีสารพิษในสถานที่ฝังกลบขยะแห่งใหม่ที่จะเปิดในเขตเมืองเวอร์เรนท์ซึ่งเป็นเขตถิ่นที่อยู่ของคนยากจนของมลรัฐอันประกอบด้วยประชากรผิวดำร้อยละ
64 และชาวอินเดียแดงพื้นเมือง
ผู้นำด้านสิทธิมนุษยชนและชาวเมืองได้ต่อต้านการเข้ามาถมขยะในเขตเมืองดังกล่าวเป็นเวลากว่าสองสัปดาห์
ในการนำขยะพิษมาทิ้งในสถานที่หรือเขตดังกล่าวมีเหตุผลว่าเป้นชุมชนคนกลุ่มน้อยที่มีอำนาจต่อรองทางการเมืองต่ำ
แม้จะมีการเดินขบวนประท้วงแต่ก็ล้มเหลว
อย่างไรก็ตามก็ได้รับความสนใจอย่างมากในประเด็นความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม
และในที่สุดก็มีการผลักดันให้ผู้ว่าการรัฐสนับสนุนให้มีกฎหมายห้ามการถมหรือทิ้งขยะพิษในเขตดังกล่าวในเวลาต่อมา
ข้อมูลต่าง ๆ
ได้รับการพัฒนาขึ้นหลังจากกรณีการประท้วงในเขตเวอร์เรนท์ชี้ให้เห็นว่าชุมชนที่ยากจนและชนกลุ่มน้อยจะต้องแบกรับสัดส่วนที่ไม่เป็นธรรมของภาระสิ่งแวดล้อม โโยมักจะต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษจากการทิ้งขยะหรือสารพิษ หรือการบำบัดน้ำเสียหรือของเสีย
ชุมชนกลุ่มน้อยยังได้แบกรับภาระที่ไม่ได้สัดส่วนที่เป็นธรรมในเรื่องอากาศมลพิษและมีแนวโน้มที่ส่งผลเสียต่อสุขอนามัย
แม้ว่าตัวเลขทางสถิติในการศึกษาต่าง ๆ ยังเป็นที่สงสัยอยู่
การศึกษาจำนวนมากแสดงให้เห็นว่าเกิดการกระจายภาระทางสิ่งแวดล้อมที่ไม่ถูกต้องในสหรัฐอเมริกา
คำถามหลักคือทำไมภาระทางสิ่งแวดล้อมจึงกระจายอย่างไม่เท่าเทียมกันและการกระจายที่ผิดนั้นสามารถแก้ไขปรับปรุงได้อย่างไร
จึงเกิดการโต้แย้งอย่างมากในสหรัฐอเมริกาที่มุ่งเน้นการกำหนดเขตพื้นที่ของชุนชนกลุ่มน้อยที่มีการถมหรือทิ้งขยะหรือสารพิษจากอุตสาหกรรมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของคนในชุมชน
ชาวบ้านที่อาศัยอยู่เชื่อว่าเกิดจากเลือกปฏิบัติทางสีผิวและเชื้อชาติและพยายามต่อสู้กับโรงงานที่ตั้งอยู่ในเขตดังกล่าว
จึงเกิดข้อความคิดใหม่นิยมเรียกว่า การเลือกปฏิบัติทางสิ่งแวดล้อมต่อสีผิว (environmental racism) ไม่ต้องคำนึงว่าหน่วยงานรัฐที่กำกับดูแลการกำหนดสถานที่ตั้งและการอนุญาตของสถานที่ดังกล่าวตั้งใจจะเลือกปฏิบัติหรือไม่ก็ตาม
ชุมชนกลุ่มน้อยมักมีสิทธิมีสเสียงทางการเมืองน้อยและอาจเสียเปรียบเปรียบในการดำเนินกระบวนการต่าง
ๆ
ประชาชนในถิ่นดังกล่าวอาจพบว่ายากที่จะเข้าร่วมในกระบวนการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะที่จัดโดยหน่วยงานภาครัฐหรือจัดที่เมืองหลวงซึ่งอาจห่างไกลออกมากจากสถานที่มีผลกระทบดังกล่าว
หน่วยงานของรัฐอาจไม่ประกาศหรือแจ้งหรือจัดทำเอกสารเป้นภาษาอังกฤษซึ่งชุมใชนกลุ่มน้อยอาจยากที่จะเข้าใจ
นอกจากนี้
ชุมชนกลุ่มน้อยยังขาดแคลนทรัพยากรในการว่าจ้างนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญในการต่อสู้คดีกับโรงงาน
เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
รัฐบาลกลางจึงมีมาตรการหลายประการเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมทางสิ่งแวดล้อม ในปี
ค.ศ. 1994 ประธานาธิบดีบิล คลินตัน ออกประกาศประธานาธิบดีที่กำหนดว่าหน่วยงานรัฐทุกหน่วยต้องคำนึงถึงหลักความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อมในการตัดสินใจโดยการระบุและหยิบยกผลกระทบที่ไม่ได้สัดส่วนอย่างสูงของสุขอนามัยมนุษย์และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
หน่วยงานรัฐบาลบางหน่วยได้พัฒนานโยบายที่จะลดโอกาสที่คำตัดสินจะมีผลกระทบต่อชุมชนกลุ่มน้อยบนพื้นฐานที่ไม่ได้สัดส่วน
ตัวอย่างเช่น ในการออกใบอนุญาตโรงงานนิวเคลียส์ คณะกรรมการกำกับกิจการนิวเคลียส์เตรียมการวิเคราะห์ความเท่าเทียมทางสิ่งแวดล้อมที่ออกแบบเพื่อระบุและหลีกเลี่ยงการเลือกปฏิบัติอย่างตั้งใจและภาระที่ไม่ได้สัดส่วน
ในปี ค.ศ. 1997 คณะกรรมการได้ปฏิเสธคำขอในการสร้างโรงงานยูเรเนียมในชุมชนโฮเมอร์ซึ่งเป็นชุมชนแอฟริกันอเมริกันในมลรัฐหลุยเซียน่าเพระาคณะกรรมการฯมีบทบาทในกระบวนการคัดเลือกที่ตั้งโรงงาน
ชุมชนต่าง ๆ
มองหาโรงงานที่ก่อให้เกิดสารพิษออกจากเขตพื้นที่โดยการใช้หมวดหกของกฎหมายสิทธิพลเมืองปี
ค.ศ. 1964 เพื่อหยิบยกประเด็นการเลือกปฏิบัติทางสิ่งแวดล้อมต่อสีผิวเชื้อชาติ
หมวดหกห้ามโครงการหรือกิจกรรมที่ได้รับการอุดหนนุทางการเงินจากรัฐบาลกลางจากการเลือกปฏิบัติบนพื้นฐานของเชื้อชาติ
สีผิว หรือชาติกำเนิด โครงการหรือกิจกรรมของรัฐบาลมลรัฐและท้องถิ่นส่วนใหญ่ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลกลางจึงต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขของบทบัญญัติหมวดหก
แม้ว่าโจทก์จะฟ้องร้องตามหมวดหกก็ต้องพิสูจน์ว่ามีการเลือกปฏิบัติอย่างจงใจเกิดขึ้น
หน่วยงานรัฐบาลกลางอาจยอมรับภาระการพิสูจน์ขั้นต่ำสำหรับกระบวนการทางปกครองเท่านั้น
สำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมห้ามผลกระทบที่ไม่ได้สัดส่วนไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากการเบือกปฏิบัติโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม
ในโครงการทีไ่ด้รับการอุดหนุนจากกองทุนของสำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในปี ค.ศ. 1998
สำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมต้องเผชิญกับการร้องเรียนตามหมวดหกจำนวนมาก
จึงได้ออกแนวปฏิบัติชั่วคราวในการสอบสวนการร้องเรียนดังกล่าว
ซึ่งแนวปฏิบัติดังกล่าวเกิดข้อโต้แย้งอย่างมากมายกับหน่วยงานมลรัฐและท้องถิ่นที่สำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมยังไม่ได้ออกแนวปฏิบัติฉบับถาวร
การตัดสินใจเลือกสถานที่ตั้งอย่างเลือกปฏิบัติอาจไม่เพียงเป็นเหตุผลหลักว่าทำไมสถานที่หรือโรงงานที่กอ่ให้เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมมักจะลงหลักปักฐานในแหล่งชุมชนกลุ่มน้อยอย่างไม่ได้สัดส่วน
แม้ว่าผลการศึกษาเห็นว่าโรงงานและสถานที่มักจัดตั้งในชุมชนยากจนและคนกลุ่มน้อยที่เป็นคนพูดภาษาสเปนมากกว่าชุมชนผิวดำ
แม้ว่าการถกแถลงความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อมได้มุ่งเน้นการจัดตั้งโรงงานที่อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
ซึ่งกำหนดกรอบการพูดถึงนโยบายสิ่งแวดล้อมอย่างกว้าง
ผู้สนับสนุนแนวคิดนี้ได้ให้ข้อสังเกตว่ารัฐบาลให้ความคุ้มครองสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มแข็งในบางเรื่องบางประเด็ร
เช่น ความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งมีความสำคัญเพียงเล้กน้อยกับประชาชนที่ยากจน
และได้เพิกเฉยหรือให้ความสำคัญเพียงเล้กน้อยกับสารพิษตกค้างในอาหารที่มีผลกระทบต่อประชาชน
เช่น กฎหมายสายพันธุ์ที่ตกอยู่ในอันตราย (Endangered
Species Act) ไม่ได้สนใจต้นทุนในสายพันธุ์ที่ตกอยู่ในอันตราย แต่ในขณะที่กฎหมายการฆ่าแมลง
เชื้อรา และหนู (Federal Insecticide, Fungicide, and Rodenticide Act) ไม่อนุญาตให้ต้นทุนถูกพิจารณาในการตัดสินว่าการอนุญาตให้ใช้สารฆ่าแมลงในสหรัฐอเมริกา
ผู้สนับสนุนความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อมเสนอแนะว่ารัฐบาลควรพิจารณาผลกระทบจากการกระจายในการเลือกและออกแบบเครื่องมือทางกฎหมายและกำกับดูแล
รัฐบาลมีประสบการณ์จากการให้เครดิตการปล่อยมลพิษแบบแลกเปลี่ยนได้ตามกฎหมายอากาศสะอาด
ซึ่งตามโครงการดังกล่าวโรงงานพบว่าค่อนข้างถูกในการลดการปล่อยอากาศเสียโดยสามารถลดการปล่อยมลพิษมากกว่าที่กฎหมายกำหนดและขายเครดิตให้แก่โรงงานที่พบว่ามีต้นทุนที่สูงและแพงในการลดการปล่อยมลพิษจากการผลิต
ซึ่งโรงงานที่สองสามารถใช้เครดิตของโรงงานแรกในการช่วยให้ผ่านเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด
การแลกเปลี่ยนเครดิตบรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยมลพิษในภาพรวมทั้งหมดด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าเดิมและถือว่ามีประสิทธิภาพในทางเศรษฐศาสตร์
แต่หากพิจารณาในเชิงสังคมแล้ว
ระบบการแลกเปลี่ยนเครดิตดังกล่าวไม่ได้มีการออกแบบและดำเนินการอย่างระมัดระวัง
โรงงานในเขตที่มีชุมชนยากจนอาจกลายเป็นผู้ซื้อเครดิตสุทธิซึ่งทำให้มีการปล่อยมลพิษในเขตพื้นที่ดังกล่าวมากกว่าเขตอื่น
ผู้ที่รับกรรมก็เป็นบุคคลที่อยู่ในบริเวณดังกล่าว
ซึ่งไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจดังกล่าวเลย
ดังนั้น
ความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อมมุ่งเน้นการกระจายภาระทางด้านสิ่งแวดล้อมและนโยบายที่เกี่ยวข้อง
และถือเป็นกระบวนการตัดสินใจในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ผู้สนับสนุนแนวคิดนี้ส่วนใหญ่เห็นว่าชุมชนท้องถิ่นให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวแม้ว่าจะไม่ได้ควบคุมเสียงส่วนใหญ่ในการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมที่มีผลกระทบต่อสภาพแวด้อมในชุมชน
กระบวนการตัดสินใจควรเปิดกว้างต่อประชาชนในชุมชนทั้งหมดโดยควรให้มีการเข้าถึงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และทรัพยากรที่จำเป็นในการเข้าใจและประเมินข้อเสนอดังกล่าว
จึงมีการพยายามผลักดันให้การตัดสินใจในระดับท้องถิ่นโดยกระบวนการประชาธิปไตย
ซึ่งอาจขัดแย้งกับแนวปฏิบัติในปัจจุบันที่กระทำการตัดสินใจในระดับรัฐบาลกลาง
นอกจากนี้ ผู้สนับสนุนแนวคิดดังกล่าวยังแสดงออกว่ามีความเชื่อมั่นเพียงเล็กน้อยกับหน่วยงานทางสิ่งแวดล้อมด้วยที่จะผลักดันในเรื่องนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น