วันศุกร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2557

ป้ายโฆษณาหรืองานศิลปะที่ต้องห้าม ?

เจ้าของธุรกิจขายดอกไม้และของขวัญในชานเมือง ชื่อแซลลี่ ซึ่งมีแผนทำการตลาดและปรับปรุงร้านใหม่โดยได้ว่าจ้างศิลปินท้องถิ่นวาดภาพดอกไม้ที่สดใสบนกำแพงภายนอกรอบ ๆ ตัวตึกของร้าน แซลลี่เชื่อว่าเป็นงานศิลปะที่งดงามและคนเมืองจะได้ชื่นชมความสวยงามดังกล่าว ไม่กี่สัปดาห์ต่อมา แซลลี่ได้รับหนังสือจากหน่วยงานผังเมืองของเมืองแวนด้า (Wanda Zoning Administrator) ว่าการทาสีกำแพงของแซลลี่ฝ่าฝืนข้อกำหนดของเมืองว่าด้วยป้ายโฆษณา (town sign ordinance) ที่กำหนดห้ามติดป้ายโฆษณาที่โล่งเกินกว่า 60 ตารางฟุต เพราะกำแพงของแซลลี่มีภาพดอกไม้และวาดบนตึกอาคารพาณิชย์ กำแพงจะถูกถือว่าเป็นป้ายตามข้อบังคับ เมืองแวนด้าแจ้งว่าหากกำแพงวาดรูปอื่นนอกเหนือจากดอกไม้ เช่น หมีแพนด้า ต้นปาล์ม อาจถือว่าเป็นงานศิลป์ ไม่ใช่ป้ายโฆษณา เมืองจึงมีคำสั่งให้แซลลี่รื้อภาพวาดออกหรือมิฉะนั้นจะถูกปรับในอัตราที่สูง แซลลี่เชื่อว่าคณะกรรมการผังเมืองละเมิดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก (right to free speech)
          ตามบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่หนึ่งกำหนดว่า รัฐสภาห้ามออกกฎหมายจำกัดเสรีภาพการแสดงออก “Congress shall make no law . . . abridging the freedom of speech . . . .” ข้อจำกัดดังกล่าวขยายไปยังมลรัฐและรัฐบาลท้องถิ่นโดยผ่านหลักกระบวนการชอบธรรม (Due Process) ของบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่สิบสี่ และมีบทบาทสำคัญในการกำกับดูแลของเมืองเกี่ยวกับป้ายโฆษณา ในขณะที่เมืองอาจกำหนดข้อจำกัดทั่วไปเกี่ยวกับเวลา สถานที่ และพฤติกรรมของป้ายในที่โล่งเพื่อรักษาความสวยงามของชุมชนและประกันความปลอดภัยในการใช้ถนน ซึ่งอาจเป็นการเลือกปฏิบัติกับป้ายโฆษณาที่ส่งเสริมมุมมองบางอย่างหรือมีเนื้อหาบางประการ
ข้อกำหนดของกำแพงศิลปะในที่โล่งเป็นป้ายเป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจในปัจจุบัน มีศาลสี่แห่งที่ได้วิเคราะห์อย่างชัดเจนว่าความชอบด้วยรัฐธรรมนูญในการกำกับดูแลศิลปะบนกำแผงตามเงื่อนไขของข้อกำหนดป้ายโฆษณาของเมือง แม้ว่ากฎหมายว่าด้วยกำแพงจะยังคงเพิ่งเกิด กฎหมายที่พัฒนานำไปสู่สงครามที่ต่อสู้ในหลายเมือง ข้อพิพาทระหว่างกฎหมายผังเมืองเจ้าของกำแพงที่มองว่ากำแพงเป็นงานศิลปะหรือป้าย ข้อพิพาทเหล่านี้มีความซับซ้อนเพราะงานศิลปะที่ชอบด้วยกฎหมายอาจทำหน้าที่เป็นป้ายโฆษณาด้วย ซึ่งมักเกิดจากความไม่ตั้งใจ คดีต่างๆ นำไปสู่ประเด็นว่างานศิลปะบนกำแพงถือเป็นคำพูดเชิงพาณิชย์หรือไม่ซึ่งจะได้รับความคุ้มครองน้อยกว่าคำพูดทั่วไป
ความพยายามในการกำกับดูแลกำแพงในที่โล่งภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายป้ายโฆษณา เมืองอาจไม่สามารถแยกระหว่างกำแพงที่มีการแสดงความเห็นเชิงพาณิชย์และสิ่งที่ไม่ใช่การแสดงความเห็นเชิงพาณิชย์ การบังคับใช้เกณฑฺแบ่งแยกดังกล่าวไม่เพียงเป็นการกำกับดูแลเชิงเนื้อหาที่ไม่ได้รับอนุญาต แต่ยังยืนยันว่าขัดแย้งกับหลักกฎหมายเสรีภาพการแสดงออกด้วย ในทางเลือกนั้น หากไม่คำนึงถึงเนื้อหาทุกกำแพงควรถูกกำกับดูแลตามหลักเกณฑ์หรือข้อจำกัดเดียวกัน
          ป้ายนอกอาคารมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งรูปแบบและขนาด ป้ายดังกล่าวอาจตั้งอยู่บนตัวอาคารหรือนอกตัวอาคารที่อยู่บนที่ดินของเอกชนหรือของรัฐ และอาจยึดติดอยู่กับอาคาร สื่อที่จับต้องได้ในการสื่อสารกับผู้คน การกำกับดูแลป้ายนอกอาคารมีประเด็นทางกฎหมาย ลักษณะทางกายภาพของป้ายมีทั้งประเด็นเรื่องขนาด ความสูง รูปร่าง พื้นที่ จำนวน ระยะห่าง และสถานที่ รูปแบบการสื่อสารของป้ายมักประกอบด้วยเนื้อหาและข้อความที่มีผลต่อมุมมองทางกฎหมายรัฐธรรมนูญ คำพูดในป้ายได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญจากการกำกับดูแลของรัฐบาล
กฎหมายป้ายเป็นการใช้อำนาจกำกับดูแลของเมืองได้รับการประกันบนสองวัตถุประสงค์ ความสวยงามของชุมชนและความปลอดภัยในการจราจร ในปัจจุบันนี้ ความสวยงามกลายเป็นการให้เหตุผลโดยใช้สามัญสำนึก ในทางข้อเท็จจริง ความเห็นเสียงส่วนใหญ่ของศาลตระหนักว่าความสวยงามเท่านั้นไม่เพียงพอในการให้เหตุผลที่จะกำกับดูแลป้ายที่ชอบด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญ กระแสดังกล่าวจากข้อยุติในศาลระบุว่ารัฐบาลท้องถิ่นมีอำนาจในการพิจารณาว่าชุมชนมีความสวยงาม และนอกจากความสวยงาม เมืองกำหนดข้อบังคับป้ายเพื่อจัดการกับอันตรายแก่คนเดินเท้าและคนขับขี่ยานยนต์ทั่วไปที่อาจดึงดูดโดยป้ายที่แสดงและเพื่อประกันวิสัยทัศน์ในการมองที่ชัดเจนของป้านสัญญาณจราจรและป้ายต่าง ๆ

การกำกับดูแลดังกล่าวมักถูกมองว่าเป็นการกำกับดูแลเชิงเนื้อหาหรือความเป็นกลางของเนื้อหา ลักษณะของป้ายมีประเด็นที่สำคัญในการประเมินความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของข้อบังคับเรื่องป้าย การกำกับดูแลความเป็นกลางของเนื้อหาอาจจำกัดหรือกำหนดเงื่อนไขกับป้ายโดยไม่คำนึงถึงเนื้อหาของคำพูดที่อยู่บนป้าย ตัวอย่างที่ชัดเจนของข้อบังคับความเป็นกลางของป้ายคือการจำกัดระยะเวลา สถานที่ และลักษณะทั่วไป ตัวอย่างเช่น ข้อบังคับอาจห้ามป้ายชั่วคราวจากการปิดประกาศนานกว่าสองเดือน (ข้อจำกัดด้านเวลา) อาจห้ามระยะห่างจากถนนไม่เกิน 15 ฟุต (ข้อจำกัดเรื่องสถานที่) และอาจจำกัดว่าขนาดป้ายห้ามเกิน 200 ตารางฟุต (ข้อจำกัดเรื่องลักษณะ)  การกำกับดูแลความเป็นกลางของเนื้อหามักถือว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ข้อบังคับอยู่ภายใต้การตรวจสอบของศาลปานกลางและค่อนข้างยืดหยุ่น ตามมาตรฐานดังกล่าวเมืองต้องแสดงว่าข้อจำกัดคำพูดเป็นผลประโยชน์ของรับบาลซึ่งผลประโยชน์ดังกล่าวไม่ได้มีเจตนาในการระงับคำพูด และข้อบังคับมีความกว้างกว่าความจำเป็นในการสร้างประโยชน์หรือวิธีการทางเลือกที่เพียงพอในการสื่อสารข้อความที่เปิดกว้าง ศาลให้นิยามความสวยงามของชุมชนและความปลอดภัยสาธารณะเป็นผลประโยชน์สาธารณะ ในทางกลับกัน การกำกับดูแลเชิงเนื้อหาเป็นการจำกัดป้ายโดยอิงที่ข้อความที่นำเสนอบนป้ายหรืออัตลักษณ์ของผู้พูดที่แสดงบนป้าย ตัวอย่างของการกำกับดูแลเชิงเนื้อหาเป็นข้อบังคับป้ายที่กำหนดป้ายทางการเมืองที่ได้รับอนุญาตล่วงหน้าก่อนจะติดตั้ง แต่ได้รับการยกเว้นระยะเวลาของป้าย การกำกับดูแลเชิงเนื้อหาไม่ค่อยได้รับความนิยมและมักถูกตีความว่าไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และมักถูกตรวจสอบในระดับที่เข้มงวดและจะส่งเสริมหากเมืองสามารถพิสูจน์ภาระของข้อจำกัดคำพูดผลประโยชน์ของรัฐและการกำหนดอย่างแคบในการรักษาประโยชน์ ศาลตีความว่าความปลอดภัยการจราจรและความสวยงามของชุมชนไม่ได้เข้าข่ายผลประโยชน์ของรัฐที่บังคับ (compelling state interests)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น