วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

กฎหมายว่าด้วยการรับรองข้อมูลในต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา

เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายของสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นมักจะพยายามเข้าถึงการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ เช่น อีเมลและการโพต์บนโปรแกรมโซเซียลมีเดีย เซิร์ฟเวอร์ที่จัดเก็บข้อมูลและศูนย์ข้อมูลในต่างประเทศ เพราะโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมของอินเทอร์เน็ตยอมให้บริษัทเทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลในระยะไกลได้จากสถานที่ตั้งทางกายภาพของลูกค้าหรือผู้ใช้ยริการ ระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ยังสามารถใช้เป็นหลักฐานในคดีอาญาที่ไม่ได้จัดเก็บไว้ในประเทศหรือสถานที่คดีอาญาเกิดขึ้น

การขาดการเชื่อมต่อกันเป็นสาเหตุให้รัฐบาลของสหรัฐอเมริกาและรัฐบาลของประเทศอื่นต้องพยายามหาหนทางเข้าถึงข้อมูลที่จัดเก็บไว้นอกอาณาจักร ตามกฎหมายแนวทางการใช้ข้อมูลต่างประเทศที่ชอบด้วยกฎหมาย (Clarifying Lawful Oversea Use of Data หรือ CLOUD) ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีความสำคัญในการอนุญาตให้เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายเข้าถึงข้อมูลสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ที่บริหารจัดการโดยบริษัทเอกชน กล่าวคือเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายสหรัฐอเมริกาสามารถบังคับบริษัทเทคโนโลยีให้เปิดเผยเนื้อหาที่ขัดเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์และศูนย์ข้อมูลในต่างประเทศได้ กฎหมายการสื่อสารที่ขัดเก็บ (Stored Comminications Act หรือ SCA) ที่ปรับปรุงแก้ไขหมวดสองของกฎหมายสิทธิความเป้นส่วนตัวสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Communications Privacy Act of 1986) โดยกำหนดว่าบริษัทเทคโนโลยีต้องเปิดเผยเนื้อหาในระบบอิเล็กทรอนิกส์ตามหมายศาลในกรณีใช้เป็นหลักฐานในการพิสูจน์การก่ออาชญากรรม

แต่กรณีพิพาทที่เกิดขึ้นว่าหมายศาลที่ออกตามกฎหมายนี้สามารถบังคับบริษัทสหรัฐอเมริกาในการเปิดเผยเนื้อหาในระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดเก็บไว้อกประเทศได้หรือไม่ เมื่อบริษัทไมโครซอฟท์ได้ปฏิเสธในการเปิดเผยเนื้อหาในระบบอีเมลของเว็บไซต์ MSN.com ที่จัดเก็บไว้ในศูนย์ข้อมูลในประเทศไอร์แบนด์ ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2018 ศาลสูงสุดได้วินิจฉัยไว้ในคดี United States v. Microsoft Corp. ว่ากฎหมาย CLOUD ได้ปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย SCA ที่กำหนดให้บริษัทเทคโนโลยีต้องจัดหาข้อมูลที่อยู่ในความครอบครอง ดูแลรักษา หรือควบคุมของตนตามหมายศาลไม่ว่าข้อมูลดังกล่าวจะจัดเก็บไว้สหรัฐอเมริกาหรือไม่

สาระสำคัญของกฎหมาย CLOUD
ประการแรกกฎหมาย CLOUD ระบุถึงความขัดแย้งที่เป็นไปได้และอาจเกิดขึ้นจากการที่รัฐสหรัฐอเมริกาต้องการข้อมูลที่จัดเก็ยในประเทศอื่นและกฎหมายในประเทศดังกล่าวห้ามมิให้มีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว กฎหมาย CLOUD พยายามแก้ไขประเด็นปัญหาหรือข้อติดขัดดังกล่าวด้วยหลักมิตรไมตรีระหว่างประเทศ (Principle of Comity) และเคารพอธิปไตยของประเทศ กล่าวคือหลักมิตรไมตรีระหว่างประเทศได้อนุญาตให้ศาลมีอำนาจยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายได้ในบางกรณี หากมีการร้องขอเพื่อให้บังคับให้เป็นไปตามกฎหมายของประเทศอื่น

ที่ผ่านมาก่อนมีกฎหมาย CLOUD หากมีความต้องการข้อมูลข้ามประเทศตามกฎหมาย SCA อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งหรือผิดกฎหมายในบางประเทศที่สหรัฐอเมริกามีข้อตกลงแบ่งปันข้อมูลระหว่างกัน กฎหมาย CLOUD ได้บัญญัติการวิเคราะห์ตามหลักมิตรไมตรีระหว่างประเทศตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายเพื่อระบุความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น การวิเคราะห์ดังกล่าวกำหนดให้ศาลสหรัฐอเมริกาพิจารณาปัจจัยที่ระบุไว้ตามกฎหมายหลายประการ สำหรับประเทศที่ไม่ได้ทำข้อตกลงแบ่งปันข้อมูลกับสหรับอเมริกา กฎหมายระบุไม่ให้ใช้เกณฑ์การวิเคราะห์ดังกล่าว โดยให้ใช้หลักกฎหมายคอมมอนลอว์ทั่วไปว่าด้วยหลักมิตรไมตรีระหว่างประเทศในการพิจารณา

รูปแบบใหม่ของสัญญาแบ่งปันข้อมูลระหว่างประเทศ (International Data Sharing Agreement) กล่าวคือกฎหมาย CLOUD ระบุประเด็นต่างตอบแทนของความสามารถของรัฐบาลต่างประเทศในการเข้าถึงข้อมูลในสหรัฐอเมริกาในฐานะเป้นส่วนหนึ่งของการสอบสวนและฟ้องร้องในคดีอาญา เนื่องจากก่อนที่กฎหมาย CLOUD จะมีผลใช้บังคับ รัฐบาลของประเทศต่างๆ ที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลในสหรัฐอมเริกาต้องมีคำร้องขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาโดยผ่านสนธิสัญญาความช่วนเหลือทางกฎหมายซึ่งกันและกัน (mutual legal assistance treaties หรือเรียกว่า MLATs) หรือกระบวนการทางศาลที่เรียกว่า letters rogatory คำร้องขอดังกล่าวต้องได้รับการพิจารณาจากศาลสหรัฐอเมริกาก่อนที่จะมีการอนุยาตให้เปิดเผยข้อมูลต่อรัฐบาลของต่างประเทศ ซึ่งเจ้าหน้าที่ของสหรัฐอเมริกาและต่างประเทศได้วิจารณ์ว่าขั้นตอนและกระบวนการดังกล่าวไม่มีประสิทธิภาพและไม่สามารถตอบสนองจำนวนคำร้องขอที่เพิ่มขึ้นอย่างมากจากความห้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัลและอินเทอร์เน็ต

ด้วยเหตุผลดังกล่าว กฎหมาย CLOUD จึงได้พยายามปรับปรุงระบบการอนุญาตของฝ่ายบริหารในการจัดทำข้อตกลงแบ่งปันข้อมูลระหว่างประเทศโดยการเลือกประเทศที่สามารถขอข้อมูลจากบริษัทเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกาได้โดยตรง โดยไม่ต้องให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาพิจารณาก่อน สัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวต้องได้รับการอนุญาตตามกฎหมาย CLOUD เพื่อขจัดหรือลดข้อจำกัดตามกฎหมายของประเทศอื่นในการขอข้อมูลได้โดยตรงจากบริษัทเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกาในกรณีคดีอาญาที่สำคัญ หากข้อมูลที่ร้องขอไม่ได้มีคนสหรัฐอเมริกาเป็นเป้าหมายและตราบใดที่ฝ่ายบริหารพิจารณาว่ากฎหมายของประเทศนั้นได้ให้ความคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลและเสรีภาพแ่พลเมืองอย่างเพียงพอ

ก่อนการทำสัญญาแบ่งปันข้อมูลตามกฎหมาย CLOUD นั้น อัยการสูงสุดพร้อมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (Secretary of State) ต้องจัดทำหนังสือรับรองจำนวน 4 ฉบับเสนอต่อรัฐสภาดังนี้ 1) กฎหมายภายในของประเทศที่จะเข้าทำสัญญาด้วยมีการคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัวและเสรีภาพของพลเมืองทั้งด้านกระบวนการพิจารณาและสารบัญญัติที่เข้มแข็งในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล โดยพิจารณาจาก 7 ปัจจัยตามที่กฎหมายกำหนด 2) รัฐสามารถยอมรับกระบวนการที่เหมาะสมเพื่อลดการได้มา การเก้บรักษา และการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลของสหรัฐอเมริกา 3. สัญญาฝ่ายบริหารจะไม่สร้างพันธกรณีให้ผู้ให้บริการมีสิทธิถอดรหัสข้อมูลได้ และ 4. สัญยาฝ่ายบริหารจะต้องระบุว่าคำสั่งที่ออกตามเงื่อนไขจะต้องอยู่ภายใต้ข้อกำหนดด้านกระบวนการและสารบัญญัติเพิ่มเติม

กฎหมาย CLOUD ได้รับการวิจารณ์ว่าการอนุญาตตามกฎหมาย CLOUD ในการแบ่งปันข้อมูลข้ามประเทศนั้นเป็นการเยียวหรือแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องการเข้าถึงพยานหลักฐานที่จัดเก็บในต่างประเทศสำหรับคดีอาญา ซึ่งข้อมูลดังกล่าวนั้นจัดเก็บโดยบริษัทสหรัฐอเมริกา และแนวทางในการได้มาซึ่งข้อมูลดังกล่าวในอดีตนั้นเป็นภาระมาก ขาดประสิทธิภาพ และใช้ระยะเวลานาน บ่อยครั้งเมื่อได้ข้อมูลมาก็พบว่าข้อมูลดังกล่าวล้าสมัย 

บริษัทยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกา อาทิ บริษัท Apple, Facebook, Google, Microsoft และ Oath ได้ออกแถลงการณ์สนับสนุนการออกกฎหมายและเชื่อว่าจะช่วยลดความเสี่ยงในประเด็นการขัดกันของกฎหมาย นักวิชาการได้วิจารณ์ว่่ากฎหมาย CLOUD สร้างความเสี่ยงต่อเสรีภาพของประชาชนและสิทธิมนุษยชน เพระาเป็นการลดมาตรฐานการได้มาซึ่งพยานหลักฐานในการดำเนินคดีและสืบสวนสอบสวนคดีอาญาระหว่างประเทศ ทั้งนี้ การตัดสินใจของฝ่ายบริหารที่่จะรับรองประเทศที่ได้มาตรฐานตามกฎหมาย CLOUD ควรต้องอยู่ภายใต้การตรวจสอบของศาลด้วย และการกระบวนการรับรองเป็นประเด้นปัญหาเพราะในทางปฏิบัติแล้วรัฐบาลของต่างประเทศอาจไม่ปฏิบัติตามกฎหมายภายในของตนเองและอาจเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อระยะเวลาผ่านไป

นอกจากนี้ ยังมีประเด็นสหคัญอีกประการหนึ่งคือ ในบทบัญญัติกฎหมาย CLOUD ได้บัญญัติว่าให้รัฐสภาสหรัฐอเมริกามีหน้าที่พิจารณาทบทวนภายในระยะเวลา 180 วันก่อนสัญญาแบ่งปันข้อมูลจะมีผลใช้บังคับ กฎหมายนี้ยังกำหนดกระบวนการพิาณณาอนุญาตของรัฐสภาในการลงมจิร่วมไม่เห็นชอบสัญญาของฝ่ายบริหารในกระบวนการพิจารณาแบบด่วน รัฐสหาสามารถห้ามหรือระงับผลการบังคับใช้สัญญาด้วยการมีมติร่วมในการไม่เห็นชอบภายในระยะเวลา 180 วันดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อเป้นการรักษาดุลอำนาจระหว่างฝ่ายบริการและรัฐสภา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น