ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2018 ศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกาได้วินิจฉัยในคดี Digital Realty Trust, Inc. v. Somers ว่าการคุ้มครองมิให้มีการตอบโต้ (anti-retaliation protections) ตามกฎหมาย Dodd-Frank Wall Street Reform and Consumer Protection Act of 2010 (นิยมเรียกโดยย่อว่ากฎหมาย Dodd-Frank) ซึ่งใช้บังคับกับผู้ที่เปิดเผยการกระทำผิด (whistleblowers) ที่รายงานว่าสงสัยจะมีการฝ่าฝืนกฎหมายหลักทรัพย์ต่อคณะกรรมหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (Securities and Exchange Commission หรือ SEC) เท่านั้น ศาลปฏิเสธที่จะไม่ตีความขยายกฎหมาย Dodd-Frank ในการให้ความคุ้มครองผู้เปิดเผยข้อมูลการกระทำผิดในกรณีรายงานการฝ่าฝืนกฎหมายหลักทรัพย์ที่เกิดขึ้นภายในองค์กรและได้รับความเดือดร้อนจากการตอบโต้จากการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว แม้ว่าจะยังไม่ได้มีการรายงานไปยังคณะกรรมหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แน่นอนว่าคำวินิจฉัยดังกล่าวมีผลอย่างมีนัยสำคัญสำหรับลักษณะและจำนวนของการกระทำของผู้ที่เปิดเผยข้อมูลการกระทำผิดตามกฎหมายหลักทรัพย์
ในคดี Digital Realty ในชั้นศาลอุทธรณ์ นาย Somer ได้อ้างว่าตนเองควรได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย Dodd-Frank จากการที่ได้รายงานว่าสงสัยจะมีการฝ่าฝืนกฎหมายหลักทรัพย์โดยฝ่ายบริหารของบริษัท Digital Realty แม้ว่าเป็นการายงานภายในองค์กรและยังไม่มีการรายงานไปยังคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เลย ในขณะที่กฎหมาย Sarbanes-Oxley Act of 2002 (หรือกฎหมาย SOX) ได้ให้การคุ้มครองแก่ลูกจ้างหรือพนักงานจากากรตอบโต้ในกรณีที่มีการรายงานภายในองค์กรในบางเรื่องก็ตาม แต่กฎหมาย Dodd-Frank ให้ความคุ้มครองที่กว้างกว่ากับผู้ที่เปิดเผยข้อมูลการทุจริตดังกล่าว รวมทั้งสามารถยื่นฟ้องต่อศาลชั้นต้นของสหพันธ์รับได้ด้วยโดยไม่ต้องดำเนินกระบวนการทางปกครองก่อน มีอายุความที่ยาวนานกว่า และสามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้สูงถึงสองเท่าพร้อมดอกเบี้ย ในคดี Digital Realty จึงมีประเด็นว่าการคุ้มครองตามกฎหมาย Dodd-Frank กำหนดประเภทของบุคคลไว้แคบกว่าการคุ้มครองตามกฎหมาย SOX หรือไม่ อย่างไร
กฎหมาย Dodd-Frank ได้ให้คำจำกัดความ "ผู้เปิดเผยข้อมูล" (whistleblower) ว่าหมายถึงบุคคลใดที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการฝ่าฝืนกฎหมายหลักทรัพย์ต่อคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ แต่ในบทบัญญัติของกฎหมาย Dodd-Frank ห้ามนายจ้างในการเลือกปฏิบัติต่อผู้เปิดเผยข้อมูลที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย SOX เพราะกฎหมาย SOX ได้ให้ความคุ้มครองการรายงานภายในองค์กรด้วย นาย Somer จึงอ้างว่าบทบัญญัติตามกฎหมาย Dodd-Frank ได้ครอบคลุมผู้ที่เปิดเผยข้อมูลภายในองค์กรด้วย
ศาลสูงสุดได้วินิจฉัยด้วยมติเอกฉันท์ว่านิยามคำว่า "ผู้เปิดเผยข้อมูล" มีความชัดเจนโดยยืนยันหลักการว่าหากกฎหมายมีคำจำกัดความที่ชัดเจน ศาลต้องตีความตามคำจำกัดความนั้น เพราะมิฉะนั้นผลของคำตัดสินอาจไม่สอดคล้องกับเจตนารมย์ของรัฐสภาในการผ่านกฎหมาย ศาลได้เน้นย้ำหลายครั้งในคำวินิจฉัยว่าวัตถุประสงค์ของบทบัญยัติคุ้มครองผู้เปิดเผยข้อมูลคือการสร้างแรงจูงใจให้บุคคลที่รู้ข้อมูลว่ามีการฝ่าฝืนกฎหมายหลักทรัพย์ให้รายงานต่อคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งมีการระบุไว้ในรายงานการประชุมยกร่างกฎหมายในชั้นวุฒิสภาอย่างชัดเจน ดังนั้น ศาลสูงสุดจึงได้ปฏิเสธข้อโต้แย้งของนาย Somer ว่าการรายงานจองคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้อยู่ในคำจำกัดความ "ผู้เปิดเผยข้อมูล" อาจนำไปสูงผลที่ไม่สอดคล้องกับเจตนารมย์ของรัฐสภาที่ผ่านกฎหมายดังกล่าว
ตัวอย่างที่ศาลให้เหตุผลว่ากฎหมาย Dodd-Frank ให้ความคุ้มครองแก่ผู้เปิดเผยข้อมูลโดยอ้างอิงกฎหมาย SOX นั้นอาจยังคงมีความหมายตามคำนิยามที่แคบอยู่ดีเพราะการให้ความคุ้มครองแก่บุคคลที่รายงานเปิดเผยข้อมูลทั้งภายในองค์กรและต่อคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งกฎหมายให้ความคุ้มครองรวมถึงกรณีที่อาจมีการตอบโต่หรือกลั่นแกล้งในระดับองค์กรเกิดขึ้นจากการรายงานภายในองค์กรก็ได้ ศาลให้ข้อสังเกตว่ากรณีดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้เป็นเรื่องปกติเพราะจากข้อมูลของคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่นำเสนอต่อศาลแสดงว่าประมาณร้อยละ 80 ของบุคคลที่เปิดเผยข้อมูลต่อคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในปี 2016 นั้นเป็นเรื่องการรายงานภายในองค์กรแล้วก่อนที่จะรายงานต่อคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการตีความขอบเขตของคำจำกัดความที่แคบในคดี Digital Realty นั้นยังคงไม่ชัดเจน ฝ่ายที่สนับสนุนคำวินิจดังกล่าว เช่น หอการค้าสหรัฐอเมริกา (U.S. Chamber of Commerce) ได้มีแถลงการณ์สนับสนุนให้ศาลตีความอย่างแคบเนื่องจากการตีความขยายให้ครอบคุลมผู้เปิดเผยข้อมูลภายในองค์กรอาจทำให้จำนวนของการฟ้องร้องคดีเพิ่มสูงขึ้นและมีคำถามเกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบภายในและการพิจารณาของฝ่ายบริหารก่อน ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ที่กฎหมาย SOX วางหลักการไว้ แต่ก็มีเสียงวิจารณ์ว่าผลของคำพิพากษานี้ทำให้ผู้เปิดเผยข้อมูลมีแนวโน้มจะรายงานตรงต่อคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แทนที่จะรายงานภายในองค์กรเพื่อให้มีการแก้ไขปัญหาภายในอง๕ืกรก่อน อันจะนำไปสู่การดำเนินคดีทางปกครองและต้นทุนแก่บริษัทเพิ่มมากขึ้น
ในคดี Digital Realty ศาลสูงสุดตีความในประเด้นคำจำกัดความโดยพิจารณาจากประวัติการยกร่างกฎหมายและถ้อยคำตามกฎหมายประกอบกัน แต่ผู้พิพากษาสามท่านไม่เห็นด้วยที่ใช้รายงานการยกร่างกฎหมายในชั้นวุฒิสภามาพิจารณาประกอบ แม้จะเป็นเอกสารอธิบายเจตนารมย์ในชั้นยกร่างกฎหมายในรัฐสภาก็ตาม ก็ไม่ควรนำมาพิจารณา และเห็นว่าควรตีความตามตัวอักษรที่ปรากฎเท่านั้น แต่ผู้พิพากษาอีกสองท่านกลับเห็นว่ากรณีนี้มีความเหมาะสมที่จะนำประวัติการยกร่างกฎหมายมาช่วยในการตีความและช่วยให้ศาลเข้าใจถ้อยคำในกฎหมาย จึงเป็นประเด็นที่สำคัญในวงการนิติศาสตร์เกี่ยวกับวิธีการตีความกฎหมายด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น