ในบทความนี้ ขอนำเสนอแนวคำพิพากษาของศาลสูงสุดของสำหรับอเมริกาเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของบุคคลภายในบ้านที่อยู่อาศัย ขอเริ่มในคดี Poe v. Ullman (1961) ศาลสูงสุดได้วินิจฉัยว่ากฎหมายของมลรัฐคอนเน็ตติกัตที่ห้ามการใช้อุปกรณ์ควบกำเนิดนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญ โดยการที่เจ้าหน้าที่ละเมิดสิทธิส่วนตัวภายในบ้านของจำเลย ต่อมาในคดี Griswold v Connecticut ศาลก็ยืนยันแนวคำพิพากษาเช่นเดิม ซึ่งคำว่าบ้านปรากฏสองครั้งในบทบัญญัติสิทธิพลเมือง คำว่า "บ้าน" ปรากฏในบทบัญญัติประกาศสิทธิมนุษยชนที่ระบุว่าผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญได้คุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัวในบ้าน บทบัญญัติแก้ไขฉบับที่ 3 ห้ามทหารเข้าไปตรวจค้นภายในบ้านของประชาชนโดยปราศความยินยอมของเจ้าของบ้านในช่วงสงบสุข บทบัญญัติดังกล่าวเป็นปฏิกิริยาที่ต่อต้านกฎหมายตรวจค้นของอังกฤษที่ใช้บังคับในช่วงก่อนปฏิวัติอเมริกา
ไม่น่าแปลกใจที่บทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 มีข้อพิพาทเกิดขึ้นน้อย
ศาลอุทธรณ์เขตสองวางหลักการพื้นฐานในคดี Engblom v Carey (1982) ว่าสิทธิที่ถูกสร้างขึ้นใช้บังคับกับมลรัฐได้โดยผ่านบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่
14 และมีแนวโน้มที่จะขัดกับคำพิพากษาของมลรัฐนิวยอร์กในการบรรจุทหารในการทำหน้าที่เป็นยามรักษาการณ์ประจำตามบ้านในระหว่างที่มีการประท้วงหยุดงานของพัศดี
ในขณะที่ผู้พิพากษาเสียงข้างน้อยมีความเห็นว่าบ้านที่รัฐเป็นเจ้าของที่เกี่ยวกับคดีนี้ไม่ถือเป็นบ้านตามความหมายของรัฐธรรมนูญ
บทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 ได้ระบุถึง "บ้าน" (house)
ไว้ในลักษณะเป็นสถานที่ซึ่งบุคคลมีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากการตรวจค้นและยึดโดยไม่สมเหตุสมผล
ศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกาตีความการคุ้มครองบ้านครอบคลุมถึงการตรวจค้นทั้งในบ้านและบริเวณใกล้บ้านด้วย
ในคดีที่สำคัญคือคดี Kyllo v United States ในปี
ค.ศ. 2001 ที่ศาลพิจารณาว่าการถ่ายภาพบ้านด้วยอุปกรณ์วัดคลื่นความร้อนเพื่อใช้เป็นหลักฐานว่ามีการปลูกกัญชาขัดต่อบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่
4 หรือไม่
ศาลการใช้อุปกรณ์ถ่ายภาพแบบวัดคลื่นความร้อนถือเป็นการตรวจค้นที่ขัดต่อความคาดหวังเรื่องความเป็นส่วนตัวที่สมเหตุสมผลของเจ้าของบ้าน
เมื่อการกระทำดังกล่าวทำให้เกิดข้อมูลเกี่ยวกับบ้าน
รายละเอียดทั้งหลายถือเป็นรายละเอียดส่วนตัวเพราะพื้นที่ทั้งหมดถือว่ามีความปลอดภัยจากสายตาของรัฐบาล
ประเด็นที่น่าสนใจคือคดีที่ศาลพิจารณาข้อโต้แย้งว่ากิจกรรมที่อาจถูกลงโทษทางอาญาเมื่อกระทำนอกบ้าน
หากกิจกรรมดังกล่าวเกิดขึ้นภายในบ้านย่อมรับความคุ้มครอง ตัวอย่างเช่น ในคดี Stanley v
Georgia (1969) ศาลสูงสุดมีความเห็นเอกฉันท์ว่าการครอบครองวัตถุหรือสิ่งลามกอนาจารภายในบ้านย่อมได้รับความคุ้มครอง
แม้ว่ามลรัฐจะมีอิสระในการลงโทษการขายหรือจัดจำหน่ายวัตถุหรือสิ่งลามากดังกล่าว
แต่ผู้พิพากษาบางคนแย้งว่าสแตนลีนย์เป็นคดีบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1
หรือฉบับที่ 4 แต่ยังคงมีความชัดเจนว่าการปรากฏบ้านในภาพยนตร์ลามกถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่สำคัญ
ในคดี Ravin v State (1975) ศาลสูงสุดมลรัฐอลาสก้าใช้เหตุผลด้านความเป็นส่วนตัวของคดีสแตนลีนย์เป็นขั้นตอนที่ว่าการครอบครองกัญชาสำหรับบริโภคเองเป็นการส่วนตัวได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญของมลรัฐอลาก้า
ล่าสุดในคดี Frisby v Shultz แสดงให้เห็นว่าที่พิจารณากฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวกับบ้าน ศาลศูงสุดได้ให้เหตุผลในการจำกัดสิทธิตามรัฐธรรมนูญไว้ กล่าวคือในคดีนี้
ศาลสูงสุดตัดสินยืนยันกฎหมายที่ห้ามมิให้มีการประท้วงในเขตพื้นที่ชุมชนอยู่อาศัยว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญ โดยให้เหตุผลว่าสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกด้วยการประท้วงในสถานที่สาธารณะต้องไม่กระทบกระเทือนผลประโยชน์ของการคุ้มครองสิทธิส่วนตัวของเจ้าของบ้าน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น