โดยทั่วไปนั้น
ความเห็นของศาลยุติธรรมที่เกิดจากประเด็นการปรึกษาหารือซึ่งเป็นความเห็นที่ไม่ได้มีผลในการพิจารณาพิพากษาคดี
แต่เป็นการให้คำปรึกษาในเรื่องกฎหมายหรือการตีความกฎหมายเท่านั้นมักจะถือว่าไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย
โดยบางประเทศมีขั้นตอนกระบวนการที่ฝ่ายบริหารหรือฝ่ายนิติบัญญัติอาจขอให้ศาลให้คำปรึกษาประเด็นกฎหมาย
ในบางประเทศศาลถูกห้าในการให้คำปรึกษหรือให้ความเห็นใด ๆ
ศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกาพิจารณาว่าเงื่อนไขสำหรับคดีหรือข้อพิพาทที่ศาลจะมีอำนาจพิจารณาปรากฎในมาตรา
3 ของรัฐธรรมนูญสหรัฐอมเริกาที่ห้ามศาลสหพันธรัฐในการให้คำปรึกษาหารือ
ดังนั้น ก่อนที่ศาลจะรับฟังคดี
ศาลจะต้องพิจารณาว่าคู่กรณีมีผลประโยชน์ที่จับต้องได้เป้นประเด็นของคดี
และต้องมีความพร้อมในการจะตัดสินโดยทางศาลในเวลาที่ศาลจะตัดสินคดี
ในอดีตประธานาธิบดีจอร์จ วอชิงตันเคยมีหนังสือขอความเห้นทางกฎหมายจากสษลสูงสุด
ซึ่งประธานศาลสูงสุดในขณะนั้นจอห์น
เจย์ตอบกลับว่าอาจละเมิดการแบ่งแยกอำนาจของศาลสูงสุด
ศาลที่ให้ความเห็นหรือคำปรึกษาหรือเห็นว่าประธานาธิบดีสามารถเชื่อคำปรึกษาหารือของหน่วยงานภายในฝ่ายบริหารตามมาตรา
2 ของรัฐธรรมนูญที่อนุญาตให้ประธานาธิบดีมีอำนาจให้เจ้าหน้าที่สูงสุดของหน่วยงานฝ่ายบริหารให้ความเห็นเป็นลายลักษณ์อักษรในหัวข้อที่อยูในอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานดังกล่าว
เช่น การสอยถามประเด็นข้อกฎหมายกับสำนักงานอัยการสูงสุด
ในศตวรรษที่ผ่านมาศาลได้ยกฟ้องคดีต่าง ๆ
เพราะไม่มีข้อพิพาทเกิดขึ้นจริงระหว่างคู่กรณี ดังนั้น ความเห็นดังกล่าวจึงถือเป็นเพียงคำปรึกษาหารือ
ศาลของหลายมลรัฐถูกห้ามในการให้คำปรึกษาหารือ
แม้วา่จะมีข้อยกเว้นจากข้อจำกัดดังกล่าว ในบางมลรัฐ เช่น
มลรัฐโรดไอแลนด์อนุญาตให้ผู้ว่าการรัฐขอให้ศาลสูงสุดของมลรัฐตีความประเด็นความชอบด้วยกฎหมายของรัฐธรรมนูญ
บางมลรัฐกำหนดให้ศาลสูงสุดให้คำปรึกษาหารือในบางเรื่องบางประเด็น เช่น
การยื่นของแก้ไขบทบัญญัติรัฐธรรมนูญของมลรัฐว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา
แปดมลรัฐมีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญอนุญาตหรือกำหนดให้ศาลสูงสุดมลรัฐในการให้คำปรึกษากับผู้ว่าการรัฐหรือรัฐสภาของมลรัฐได้
เช่น โคโลราโด้ ฟอริด้า เมนน์ แมสซาซูเส็จ มิชิแกน นิวแฮมเชียร์ โรดไอแลนด์
และดาโกต้าใต้
สำหรับมลรัฐอาลาบาม้าและดาลาแวร์กำหนดให้ศาลสูงสุดของมลรัฐมีอำนาจให้คำปรึกษาได้ตามกฎหมายทั่วไป
ทั้งนี้
คำปรึกษาดังกล่าวต้องไม่สับสนกับประเด็นคำถามที่ยื่นถามโดยศาลหนึ่งไปยังอีกศาลหนึ่ง
ซึ่งอนุญาตให้ศาลสหพันธรัฐที่มีประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงแล้วและคำพิพากาาของศาลสหพันธรัฐอาจมีผลต่อกฎหมายของมลรัฐทั้งหมดหรือบางส่วน
เช่นในคดี Erie หรือคดีล้มละลาย
บ่อยครั้งศาลสูงสุดของมลรัฐได้ตอบคำถามในประเด็นกฎหมายของมลรัฐ
ซึ่งศาลสหพันธรัฐจะนำไปใช้ในการพิจารณาคดีของตนเอง เช่น คดี Pullman abstention
เพราะศาลมลรัฐในสภาวการณ์ดังกล่าวได้ให้ความเห็นที่มีผลกระทบต่อคดีที่เกิดขึ้นจริงเท่านั้น
จะไม่ถือว่าเป็นกรณีการให้คำปรึกษาหารือ
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International
Court of Justice)
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศทีอำนาจในการให้ความเห็นตามหมวด 4
(Chapter IV) ของกฎหมายซึ่งเป็นภาคผนวกของปฏิญาณสหประชาชาติ (United
Nations Charter) เมื่อได้รับการร้องขอจากหน่วยงานขององค์การสหประชาชาติ
ความเห็นดังกล่าวไม่มีผลผูกพัน แต่ศาสตราจารย์ Pieter H.F. Bekker โต้แย้งว่าการไม่มีผลผูกพันไม่ได้หมายความว่าคำปรึกษาหารือดังกล่าวจะไม่มีผลใด
ๆ ทางกฎหมาย เพราะการให้เหตุผลทางกฎหมายที่อยู่ในคำปรึกษาหารือ
ดังกล่าวสะท้อนมุมมองของศาลที่มีอำนาจในประเด็นกฎหมายระหว่างประเทศ
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และวิธีการดังกล่าวที่กำหนดให้คำพิพากษาของศาลมีผลผูกพันในคดีอื่น
ๆ ด้วย ที่สำคัญ คำปรึกษาหารือดังกล่าวมาจากกฎหมายและมีอำนาจในการให้คำปรึกษา
ประกอบกับประกาศโดยหน่วยงานขององค์การสหประชาชาติอย่างเป็นทางการ
แต่คำปรึกษาหารือมักจะมีประเด็นโต้แย้งกันบ่อยครั้ง เพราะประเด็นคำถามมีกจะเป็นประเด็นที่ท้าทายและวิพากษ์วิจารณ์กันมาก
หรือเพราะข้อพิพาทถูกจัดการในลักษณะนำคดีมาสู่ศาลทางอ้อม
คดีและคำปรึกษาหารือที่นำมาสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศนั้บตั้งแต่ตั้งในปี ค.ศ. 1946
มีจำนวน 161 คดี
อำนาจของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมีจำกัด มีเพียงประเทศสมาชิกที่จะฟ้องร้องต่ออีกประเทศสมาชิกได้และต้องได้รับความยินยอมจากประเทศสมาชิกที่ถูกฟ้องร้องดัวย
อย่างไรก็ตามหน่วยงานขององค์การสหประชาชาติ เช่น
ที่ประชุมใหญ่ทั่วไปขององค์การสหประชาชาติ (UN General Assembly) มีอำนาจในการยื่นประเด็นคำถามเพื่อขอปรึกษาหารือได้
แม้ว่าความเห็นในการให้คำปรึกษาหารือจะไม่มีผลผูกพันตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศก็ตาม
ความเห็นดังกล่าวก็ไม่ถือว่าเป็นการตีความว่าอะไรคือกฎหมายระหว่างประเทศ
ศาลสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศของอเมริกา (Inter-American
Court of Human Rights)
ศาลสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศของอเมริกาสามารถให้คำปรึกษาที่ยื่นโดยหน่วยงานและประเทศสมาชิกขององค์การประเทศอเมริกา
(Organization of American States) ที่เกี่ยวกับการตีความอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนแห่งอเมริกา
(American Convention of Human Rights) หรือกฎหมายอื่น ๆ
เกี่ยกวับสิทธิมนุษยชนในอเมริกา
รวมทั้งมีอำนาจในการให้คำปรึกษาหารือในประเด็นว่ากฎหมายภายในประเทศและร่างกฎหมายสอดคล้องกับบทบัญญัติของอนุสัญญาหรือไม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น