จุดเริ่มต้นของการต่อสู้เพื่อสิทธิในการลงคะแนนเลือกตั้งของผู้หญิงเกิดขึ้นจากปฏิญาณ "Declaration of
Sentiments" ที่จัดทำในการประชุมใหญ่เรื่องสิทธิผู้หญิงครั้งแรกในเมืองซีราคิวส์
ปี ค.ศ. 1852 ซูซาน
แอนโทนีได้ต่อสู้และโต้แย้งว่าผู้หญิงควรมีสิทธิในการลงคะแนนเลือกตั้ง
ในระหว่างการยกร่างบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีการขยายสิทธิลงคะแนนเสียงของทาสที่ได้รับการปลดปล่อยเป็นเสรี
กลุ่มดังกล่าวพยายามผลักดันอย่างมากให้ขยายครอบคลุมถึงกลุ่มสตรีด้วย
แต่ยังคงไม่ประสบความสำเร็จ
ในปี ค.ศ. 1872
ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งฟ้องร้องต่อศาลหลายคดีในประเด็นว่าการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นสิทธิพิเศษ
(Privilege) ของประชาชนสหรัฐอเมริกา
ซึ่งเป็นของผู้หญิงด้วยตามบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญแก้ไขฉบับที่ 14 นอกจากนี้ ยังมีการฟ้องร้องคดีอาญากับนางซูซาน
แอนโทนีที่ใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1872 ว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย
ในคดีแรกศาลสูงสุดวางหลักการไว้ในคดี Minor vs Happersett (1875) ซึ่งศาลตัดสินด้วยมติเอกฉันท์ว่าบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิพิเศษและการคุ้มกัน
และบทบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองที่เท่าเทียมกันของบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่
14 ไม่ได้ขยายครอบคลุมถึงสิทธิลงคะแนนเสียงของผู้หญิง
กลุ่มสนับสนุนจึงได้หันไปรณรงค์กับมลรัฐและรัฐสภาให้ออกกฎหมายรับรอง
ต่อมาในปี ค.ศ. 1878 ได้มีการยื่นเสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้ขยายสิทธิลงคะแนนเสียงของผู้หญิง
ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จ
แต่ก็มีความพยายามยื่นข้อเสนอในลักษณะดังกล่าวแทบทุกปีเป็นระยะเวลา 41 ปี
ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1890 อาณาเขตไวโอมิ่งในขณะนั้นอนุญาตให้ผู้หญิงมีสิทธิลงคะแนนในการเลือกตั้ง
ต่อมาเมื่อไวโอมิ่งได้รับอนุญาตให้เป็นมลรัฐของสหรัฐอเมริกา
จึงกลายเป็นมลรัฐแรกที่อนุญาตให้ผู้หญิงมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ก่อนปี ค.ศ. 1900
มลรัฐยูท่าห์ โคโลราโด และไอดาโฮ
ก็ออกกฎหมายอนุญาตให้ผู้หญิงมีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งเช่นเดียวกับมลรัฐไวโอมิ่ง
ในปี ค.ศ. 1912 พรรคก้าวหน้าของธีโอโด รูสเวลส์กลายเป็นพรรคการเมืองพรรคแรกที่มีนโยบายสนับสนุนให้ผู้หญิงมีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง
แต่ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ
ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1919 การแก้ไขกฎหมายเพื่อให้ผู้หญิงมีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งจำเป็นต้องได้รับคะแนนเสียงสองในสาม
และต้องได้รับการให้สัตยาบันจากมลรัฐต่าง ๆ ด้วย ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1920 มลรัฐทางตอนใต้ของประเทศคัดค้านการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว
โดยได้มีการประชุมที่มลรัฐเทนเนสซี่ เพื่อพิจารณาหาข้อสรุปการให้สัตยาบัน
ซึ่งในที่สุดมลรัฐทางใต้ได้ลงมติให้ความเห็นชอบให้สัตยาบันด้วยคะแนนเสียงแบบฉิวเฉียด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น