ศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาพิจารณาการบังคับใช้โทษประหารชีวิตในทศวรรษที่
1940-1950 ในแต่ละคดีศาลสูงสุดได้รับรองการกระทำของมลรัฐโดยมิได้มีการกล่าวถึงความชอบด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญของโทษประหารชีวิต
ตัวอย่างเช่น ในปี ค.ศ. 1947 ศาลสูงสุดได้พิจารณาคดีวิลลี่
ฟรานซิส (Willie
Francis) ซึ่งเป็นนักโทษในมลรัฐหลุยเซียน่าที่ในครั้งแรกถูกลงโทษประหารชีวิตด้วยการช็อคด้วยไฟฟ้าแต่ไม่ประสบความสำเร็จ
ซึ่งต้องพบกับความเจ็บปวดทรมาน
และมาประสบความสำเร็จในครั้งที่สองด้วยวิธีการช็อคด้วยไฟฟ้า ซึ่งนายฟรานซิสอ้างว่าความวิตกกังวลจากประสบการณ์ครั้งแรกที่ต้องนั่งเก้าอี้ไฟฟ้าทำการต้องนั่งเก้าอี้ไฟฟ้าในครั้งที่สองถือว่าเป็นการลงโทษที่โหดร้ายและผิดธรรมชาติ
แต่ศาลสูงสุดยังคงยืนยันด้วยคะแนนเสียง 5 ต่อ 4 เสียงว่าความทารุณโหดร้ายเป็นส่วนหนึ่งของวิธีการลงโทษอยู่แล้วและไม่ถูกคาดหมายว่าจะไม่มีความโหดร้ายจากการลงโทษได้อยู่แล้ว
ในปี ค.ศ. 1958 คดี Trop v Dulles ศาลสูงสุดวินิจฉัยด้วยคะแนนเสีย 5 ต่อ 4 เสียงที่ยกเลิกสัญชาติถือเป็นการลงโทษสำหรับการก่ออาชญากรรมที่โหดร้ายและผิดธรรมชาติ
ซึ่งศาลได้วางหลักการว่าเพื่อเป็นแนวทางในการวิเคราะห์สำหรับคดีต้องโทษประหารชีวิตในอนาคต
โดยให้เหตุผลว่าบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 8
เรียกร้องให้การลงโทษต้องสอดคล้องกับมาตรฐานเหมาะสมตามทำนองครองธรรม
ในทศวรรษที่ 1960
กองทุนต่อสู้ทางกฎหมายของสมาคม NAACP ที่นำโดยศาตราจารย์แอนโทนี
อาร์มเตอร์ดัมได้รณรงค์ต่อต้านการลงโทษประหารชีวิตอย่างเข้มข้น โดยเสนอให้ระงับการลงโทษประหารชีวิตไว้ชั่วคราว
ซึ่งประสบความสำเร็จในชั้นแรก กล่าวคือมลรัฐต่าง ๆ
ยอมระงับการลงโทษประหารชีวิตไว้ชั่วคราวเป็นระยะเวลา 5 ปี และสมาคมคาดว่าการรณรงค์ดังกล่าวจะประสบความสำเร็จในท้ายที่สุด
ต่อมาในคดี Furman v Georgia (1972) ศาลสูงสุดมีมติด้วยคะแนน 5 ต่อ 4 เสียงในการยกเลิกกฎหมายประหารชีวิตด้วยเหตุผลอาจก่อให้เกิดการใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ
โดยมีคำพูดประชดประชันว่าการตัดสินลงโทษประหารชีวิตในสหรัฐอเมริกาเหมือนกับการเสี่ยงโชคซึ่งเปรียบเทียบได้กับการถูกฟ้าผ่า
ผู้สังเกตการณ์ส่วนใหญ่สรุปว่าไม่ควรจะมีการลงโทษประหารชีวิตในสหรัฐอเมริกาอีกต่อไป
แต่ก็ไม่เป็นไปตามนั้น ในปี ค.ศ. 1976 คดี Gregg v. Georgia ศาลสูงสุดยืนยันว่ากระบวนการลงโทษประหารชีวิตฉบับใหม่ของมลรัฐจอร์เจียชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
เนื่องจากกฎหมายดังกล่าวมีเกณฑ์ที่ชัดเจนเพียงพอในการพิจารณาลดการใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษประหารชีวิตเมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายฉบับเดิม
และในคดีดังกล่าวศาลพิจารณาสองขั้นตอนในขั้นตอนแรกศาลพิจารณาว่ามีความผิดหรือไม่
และในขั้นตอนที่สองศาลจะพิจารณาว่าควรลงโทษประหารชีวิตหรือไม่
ซึ่งกฎหมายดังกล่าวจึงกลายเป็นรูปแบบและแนวทางของกฎหมายลงโทษประหารชีวิตของมลรัฐอื่น
ๆ ในเวลาต่อมา ในชั้นของการพิจาราลงโทษประหารชีวิต คณะลูกขุนมีหน้าที่ต้องพิจารณามีเหตุหรือปัจจัยลดหย่อนหรือเพิ่มโทษสำหรับการก่ออาชญากรรมของจำเลย
อย่างไรก็ตาม ศาลยังคงต้องเผชิญปัญหาเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายลงโทษประหารชีวิต
เช่น เป็นผู้ลงมือฆาตกรรมหรือไม่ เป็นผู้เยาว์หรือไม่ เป็นผู้มีความบกพร่องทางสมองหรือทางจิตหรือไม่
หรือเป็นคนกลุ่มน้อยในสังคมหรือไม่
เป็นต้น คดีที่น่าสนใจคดีหนึ่งคือ McCleskey v. Kemp (1987) ซึ่งมีการใช้ผลการศึกษาที่แสดงว่าฆาตกรที่ฆ่าคนผิวขาวมักจะถูกลงโทษประหารชีวิตมากกว่าการฆ่าคนผิดสีอย่างมาก
ศาลสูงสุดยังคงยืนยันความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของการลงโทษประหารชีวิตอยู่ดี
ต่อมาในปี ค.ศ. 2002 ศาลสูงสุดในคดี Atkins v Virginia ตัดสินด้วยคะแนนเสียง
6 ต่อ 3 เสียงว่าการลงโทษประหารชีวิตไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหากใช้กับผู้มีความบกพร่องทางสมอง
การลงโทษประหารชีวิตผู้มีความบกพร่องหรือพิการทางสมองผิดหลักเกณฑ์มาตรฐานที่ดี
ซึ่งเกณฑ์ดังกล่าวถูกหยิบยกมาใช้อีกครั้งในคดี Roper v Simmons ในปี ค.ศ. 2005 ซึ่งศาลด้วยคะแนนเสียง
5 ต่อ 4 เสียงตัดสินว่าไม่ควรลงโทษประหารชีวิตกับบุคคลที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ณ
เวลาที่ก่ออาชญากรรม ซึ่งได้รับการวิจารณ์ว่าสหรัฐอเมริกาเป็นเพียงประเทศเดียวในโลกที่ยังคงต้องเผชิญกับปัญหาการลงโทษประหารชีวิตเยาวชน เนื่องจากคำพิพากษาในคดี Roper เป็นการกลับคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เมื่อ 16 ปีที่แล้วที่กำหนดโทษประหารชีวิตบุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น