มีคำถามเชิงวิชาการว่าบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมญฉบับที่ 1 ของสหรัฐอเมริกาหรือบทบัญญัติคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออก (Freedom of Speech) อนุญาตให้รัฐบาลใช้คำพูดของเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างของรัฐเป็นเหตุผลในการเลิกจ้างหรือไม่เลื่อนตำแหน่งได้หรือไม่ คำตอบของศาลสูงสุดคือ ใช้ได้ โดยศาลกล่าวว่าแม้ว่าจะมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญที่ให้ความคุ้มครองคำพูดหรือการแสดงออกทางการเมือง
แต่ก็ไม่มีสิทธิตามรัฐธรรมนูญที่จะคุ้มครองหรือรับรองการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งความแตกต่างของสิทธิและสิทธิพิเศษยังคงมีอยู่ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1952 ในคดี Adler
v Board of Education ศาลกล่าวว่า โจทก์มีสิทธิตามรัฐในการพูดและคิด
แต่ไม่มีสิทธิตามรัฐธรรมนูญที่จะทำงานให้กับรัฐบาล ในปี ค.ศ. 1967 ศาลสูงสุดให้ข้อสังเกตว่าหลักการสำคัญของคดี Adler ถูกปฏิเสธและแทนที่ด้วยหลักการใหม่ว่ารัฐบาลไม่ควรสามารถทำโดยทางอ้อมกับสิ่งที่ไม่สามารถทำได้โดยตรง
ศาลเห็นว่าบทบาทของการจ้างงานของรัฐบาลไม่สามารถเป็นเงื่อนไขในการยกเลิกสิทธิตามรัฐธรรมนูญ
ปัญหาของศาลกลายเป็นว่าวิธีการรักษาสมดุลผลประโยชน์ของรัฐบาลในการคงไว้ซึ่งสภาวะการทำงานที่มีประสิทธิภาพกับผลประโยชน์ของลูกจ้างรายบุคคลในการแสดงออกอย่างเสรี
ในคดี Pickering v Board of Education ศาลได้พิจารณากรณีครูโรงเรียนสาธารณะถูกไล่ออกเนื่องจากได้เขียนจดหมายลงหนังสือพิมพ์วิจารณ์คณะกรรมการโรงเรียน
ศาลพิจารณากรณีดังกล่าวแล้วเห็นว่าเนือ้หาจดหมายของลูกจ้างรัฐบาลที่เกี่ยวกับประเด็นสาธารณะไม่สามารถเป็นเหตุในการเลิกจ้างได้
เว้นแต่คำแถลงดังกล่าวมีเนื้อหาที่เป็นเท็จโดยจงใจหรือประมาทเลิ่นเล่อหรือคำแถลงเป็นเนื้อหาประเภทที่ก่อให้เกิดการรบกวนอย่างรุนแรงกับความสามารถในลูกจ้างในการทำงาน
ในคดี Mt.
Healthy v Doyle เกี่ยวข้องกับการเลิกจ้างครูเนื่องได้โทรศัพท์กับผู้จัดรายการสถานีวิทยุเพื่อแจ้งเกี่ยวกับบันทึกที่ส่งถึงคุณครูทุกคนเกี่ยวกับระเบียบการแต่งกายของครูฉบับใหม่
แต่ครูได้ให้การว่ารัฐบาลได้ไล่ออกอีกเหตุผลหนึ่งว่าเนื่องจากได้ด่าทอนักเรียนด้วยภาษากาย
(ชูนิ้วกลาง)
ศาลได้มีคำสั่งให้มีการพิจารณาคดีใหม่เป็นประเด็นว่าครูถูกเลิกจ้างแม้ว่าครูคนดังกล่าวได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่แสดงออกในการโทรศัพท์ไปแสดงความเห็นในรายการวิทยุ
ศาลกล่าวว่าหากมีการเลิกจ้างอยู่เดิม การเลิกจ้างดังกล่าวก็ชอบด้วยกฎหมาย
ในคดี Connick (1983) และคดี McPherson (1987) มีประเด็นเกี่ยวกับอะไรคือคำพูดที่เกี่ยวข้องกับสาธารณะ (public concern) ซึ่งมีความสำคัญเนื่องจากหากว่าคำพูดไม่เกี่ยวข้องกับความกังวลของสาธารณะ
การปราศจากสถานการณ์ที่พิเศษอย่างยิ่งยวด
การเลิกจ้างจะไม่ใช่ประเด็นของบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 สำหรับศาลสูงสุดในการพิจารณาของศาล กล่าวคือในคดี
Connick คำพิพากษาเสียงส่วนใหญ่ 5 ต่อ 4 ของศาลสรุปว่าคำพูดเกี่ยวกับการดำเนินงานภายในของสำนักงานอัยการเขตไม่ใช่ผลประโยชน์ของสาธารณะ
ศาลยืนยันว่า ศาลยืนยันว่าการแจกจ่ายแบบสอบถามโดยเจ้าหน้าที่ที่ถูกไล่ออกจากงานเกิดประเด็นคำถามว่าการบริหารสำนักงานอาจถูกพิจารณาว่าสมเหตุสมผลที่สร้างความเสียหายเพียงพอที่มีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับการให้เหตุผลในการไล่ออก
คดี Branti (1980) เป็นหนึ่งในคดีที่ศาลป้องกันการไล่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกจากงานอันเนื่องมาจากความเชื่อทางการเมืองของเจ้าหน้าที่ของรัฐ นายเบรนติเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกไล่ออกจากหน่วยงานของรัฐเพียงเพราะเขาเป็นพวกรีพับริกันและหัวหน้าคนใหม่เป็นพรรคแดโมแคท ศาลให้ความเห็นว่าในบางครั้งอาจอนุญาตให้ใช้ความพึงพอใจทางการเมืองเป็นฐานในการตัดสินใจไล่คนออกจากงานได้ เช่น ประธานาธิบดีอาจตัดสินใจไล่รัฐมนตรีหรือเจ้าหน้าที่เขียนสุนทรพจน์ได้เนื่องเจ้าต้องการบุคคลที่มีความคิดทางเมืองที่สอดคล้องกัน แต่ในกรรีดังกล่าวตำแหน่งหน้าที่ของนายเบรนติไม่ใช่ตำแหน่งที่มีอำนาจในการตัดสินใจที่จะให้ใช้ความชอบทางการเมืองมาพิจารณาไล่ออกได้อย่างเหมาะสม
สิบปีต่อมา ในคดี Rutan v Republican Party of Illinois ซึ่งเป็นคดีเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ของคุกในมลรัฐอิลลินอยส์ ศาลได้ตีความขยายการคุ้มครองความเชื่อทางการเมืองในการตัดสินใจจ้างงานในครั้งแรกและการตัดสินใจเกี่ยวกับการส่งเสริมและโอนย้ายตำแหน่งด้วย
ในปี ค.ศ. 2006
คดี Garcetti v Ceballos ศาลสูงสุดพิจารณาบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่
1 ที่ฟ้องร้องโดยอัยการในเมืองลอสแอนเจอลิสซึ่งถูกย้ายออกจากตำแหน่งเพราะเขาได้เขียนบันทึกถึงหัวหน้าอัยการโดยวิจารณ์ความน่าเชื่อถือของคำแถลงการณ์ที่นำมาเป็นพยานหลักฐานในคดีที่จัดทำโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ศาลสูงสุดด้วยคะแนนเสียง 5 ต่อ 4 เสียง ได้ปฏิเสธข้อเรียกร้องของลูกจ้างที่อ้างว่าบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 ไม่ได้คุ้มครองลูกจ้างของรัฐสำหรับการมีแถลงการณ์เกี่ยกวับหน้าที่ของตน ศาลอธิบายว่าข้อเท็จจริงสำคัญในคดีคือการแสดงออกของลูกจ้างของรัฐที่ทำตามหน้าที่การงานในฐานะพนักงานอัยการของรัฐที่ให้คำปรึกษากับเจ้านายในการดำเนินการกับคดีที่ค้าง ซึ่งแตกต่างจากคดี Ceballos ที่ได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 จากการลงโทษทางวินัย